อาวัชชนจิต และ โวฎฐัพพนจิต คืออะไร ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Beee_bu, 17 กรกฎาคม 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. Beee_bu

    Beee_bu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +108
    สวัสดีค่ะ ตอนนี้ศึกษาบทเรียนของการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ อยู่ค่ะ ถึงชุดที่ ๓ แล้ว แต่มีคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยค่ะ

    หัวข้อ อเหตุกกริยาจิต มี ๓ ดวง

    ไม่เข้าใจตรงส่วนของ ดวงที่ ๒ ที่อธิบายว่า

    "ดวงที่ ๒ จิตที่เกิดขึ้นทางใจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบทางมโนทวาร และทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้งห้า เรียกว่า มโนทวาราวัชชนจิต ถ้าจิตดวงนี้เกิดขึ้นทางมโนทวารวิถี จะทำหน้าที่อาวัชชนจิต ถ้าจิตดวงนี้เกิดขึ้นทางปัญจทวารวิถี จะทำหน้าที่โวฎฐัพพนจิต"

    เขียนไว้อย่างนี้ค่ะ แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจว่า มันแปลว่าอะไรคะ ? เกิดทางมโนทวารวิถี คือทางไหน ? ทำหน้าที่ อาวัชชนจิต คือทำหน้าที่อะไร ?
    เกิดทางปัญจทวารวิถี คือทางไหน ? ทำหน้าที่ โวฎฐัพพนจิต คือทำหน้าที่อะไร ? ช่วยแปลให้เข้าใจด้วยค่ะ อ่านแล้วงงมาก


    ขอบคุณมากค่ะ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การจะเรียนอภิธรรมทางไปรษรีย์ให้พอเข้าใจ จนถึงเข้าใจก่อนอ่าน ผมมีเคล็ดลับ

    โจทย์ความยากนั้นคือ ทวารทั้ง6 และมันจะยังยากอยู่ หากแยก มโนทวาร ยังไม่ออก
    ว่าคือส่วนไหน ถ้าแยกออกก็จะเข้าใจว่า 5ทวารคืออะไร ที่เรียกกันสวยๆว่า ปัญจทวาร
    คืออะไร และทำไมถึงกล่าวแยกกับ มโนทวาร

    ทั้ง ปัญจทวาร และ มโนทวาร หากแยกออกได้แล้ว เข้าใจด้วยการลัดเข้ารู้ด้วยใจ
    เราแล้ว การจะเติม prefix suffix เพื่อบ่งบอกความเป็น Adverb หรือ Adjective
    เราก็จะไม่สับสนอีก

    เคล็ดลับก็คือ หา "ใจ" ให้เจอก่อน ซึ่งก็คือ หามโน ให้เจอ

    วิธีการนั้นง่ายมากๆ คนโบราณได้ให้คำไขไว้แล้วคือ "ลมหายใจ"

    คนโบราณบัญญัติคำนี้ขึ้นมาด้วยภูมิธรรมล้ำลึก เพื่อที่จะบอกว่า เมื่อไหร่
    "ลมหาย" ก็จะเจอ "ใจ"

    คำคนโบราณคำนี้ ตกทอดมาถึงคนปัจจุบันแต่กร่อนความหมายไป และโดน
    ศาสนาอื่นแอบกลืนกิน จนไปตีความกันว่า ลมหาย คือ ไม่หายใจเป็นระยะ
    เวลานานที่เรียกกัน ฌาณ หรือ ฌาณ4 แล้วแต่ความผิดปรกติในการตีความ

    จริงๆแล้ว แค่จังหวะ "ลมหาย" แค่ช่วงสลับเปลี่ยนวิถีการหายใจเข้าออก ตอน
    นั้นก็ปรากฏใจแล้ว

    เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็ลองทดลองดู คือ แค่กลั้นหายใจเอาพอระยะหนึ่ง กลั้นตอน
    แรกๆจะเห็นความดิ้นรนของทวารทั้ง6 กลั้นต่ออีกหน่อนจะค่อยๆเห็น ความดิ้น
    รนของใจแต่ยังไม่ชัด เมื่อเราแยบคายในการระลึกถึงเฉพาะช่วง ปล่อยคลายลม
    หายใจกลับไปกลับมา เอาตอนที่เกิดวิถีการหายใจใหม่ ช่วงนั้นแหละ จะมีแต่"ใจ"
    ที่แสดงอาการดิ้นรน แสดงอาการเลือก แสดงอาการคงวิถี แสดงอาการเลือกที่
    จะหมุนวน แสดงอาการรำพึงในอารมณ์ที่พึ่งดับ แสดงอาการรำพันในอารมณ์ที่
    ปรากฏแต่ไม่ได้หยิบขึ้นมาหมุน

    เมื่อเห็นอาการของ ใจ หรือ มโนทวาร แสดงอาการดังกล่าว ก็แยบคายจำแนก
    แยกแยะ เสร็จแล้ว ค่อยมาอ่านอภิธรรม เอาผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง ที่ระลึก
    ได้นำการจดจำ จะทำให้เราปลอดโปร่ง โล่งเบา ในการศึกษากายใจ

    ก็จบเทคนิคสั้นๆ ในการหาใจ โดยคำโบราราณ "ลมหายใจ" ที่ไม่ใช่การทำให้ลม
    หายใจหายไปแบบฌาณ เอาแค่ลมหายใจหายไปตามจังหวะธรรมดาๆ ที่เราหาย
    ใจนี่แหละ ก็เจอแล้วโดยอาศัย ความแปรปรวน ความไม่เที่ยง เข้ามาขั้น ระลึกเพื่อ
    จำแนกแยกแยะอาการต่างๆ ของใจ การรำพึงในอารมณ์ที่ดับไป(อาวัชชนจิต) การ
    รำพึงในอารมณ์ที่ดับไปแต่ไม่ได้เสวยหรือหยิบจับ(โวฏฐัพพนจิต) และอื่นๆ

    ลองดูนะครับ เราสามาถเอาวิธีการปฏิบัติง่ายๆ แค่ใช้ "ลมหายใจ" เป็นเครื่องมือ
    แล้วคุณจะสนุกการการเรียน ไม่เครียด แถม รู้ได้ก่อนที่จะอ่านอีกด้วย ที่ไม่เครียด
    เพราะไม่ใช่การจดจำ แต่เป็นเพียงการ ระลึกได้ มันจึงสบายผิดกัน
     
  3. Beee_bu

    Beee_bu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +108
    ขอบคุณมากค่ะ คำตอบชัดเจน แถมได้ความรู้ด้วยค่ะ

    เป็นวิธีการที่ง่ายแต่ละเอียดลึกซึ้งจริง ๆ ค่ะ ^_^

    ขออนุญาตคุณนิวรณ์ นำบทความที่พิมพ์ไว้นี้ ไปลงเผยแพร่ในเวปของพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ด้วยนะคะ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์และความรู้แก่ผู้อื่นต่อไปด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...