อานิสงส์ของการ ถวายผ้ากฐิน และการถวายที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ?

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 5 พฤศจิกายน 2021.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +53
    027390fdfbf17219ea20b1e6ab2b3ebf.md.jpg

    กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐิน ของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ
    กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ า เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้าง ความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด

    กฐิน เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ า เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้าง ความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด

    ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่อง เกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายาน บางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรง ห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือ การทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์ โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ยกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ ลงมติ(ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับ ได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

    การถวายผ้ากฐิน
    การถวายผ้ากฐินนั้น คือเมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้

    คำถวายผ้ากฐิน
    ” อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ “
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย และ เมื่อรับแล้วขอจงกรานใช้ กฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ

    วัดที่จะรับกฐินได้จะต้องมีพระอยู่จำพรรษาจำนวน 5 รูป หรือ 5 รูปขึ้นไปครบองค์สงฆ์จึงจะเป็น กฐิน และจะต้องรับ กฐินที่อาวาสของตัวเองเท่านั้นจึงจะถูกต้อง พระรูปเดียวที่จำพรรษาอยู่ในอาวาสหนึ่งอาวาสใด ถ้ารับกฐินก็จะเรียกว่ารับกฐินไม่ได้ เพราะว่าไม่ครบองค์สงฆ์

    อานิสงส์ของการถวายผ้ากฐิน
    – สร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท
    – เป็นการสั่งสมทุนคือบุญกุศลไว้ในภายภาคหน้า
    – ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
    – ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ตามพระวินัยซึ่งเป็นไปตามพระบรมพุทธานุญาต
    – เป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามสืบกันไป
    – เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา
    – ทำตนให้เป็นประโยชน์ สละทรัพย์ให้มีประโยชน์ต่อพุทธศาสนา
    – เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง

    เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้
     

แชร์หน้านี้

Loading...