"อัฟกานิสถาน แหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกในโลก"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 9 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%"><TBODY><TR bgColor=white><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    [​IMG]

    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD></TR><TR bgColor=white><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    สัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในยุคแรกๆ ไม่มีการสร้างพระพุทธรูป แต่ใช้รูปม้าทรงที่ว่างเปล่า ให้รู้ว่านี่คือพุทธองค์ที่เคยทรงนั่งบนหลังม้าตัวนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ความคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    "ว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดสร้างพระพุทธรูป"
    คัดลอกบางส่วนจาก หนังสือ "อัฟกานิสถาน แหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกในโลก"
    โดย สำนักพิมพ์มติชน
    สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ


    เรื่องที่จะเกิดมีพระพุทธรูปขึ้นนั้น มีในหนังสือเรื่องตำนานพระแก่นจันทร์ (๑)
    กล่าวว่าเมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปประทานเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ค้างอยู่ในดาวดึงส์พรรษาหนึ่งนั้น
    พระเจ้าปเสนชิตกรุงโกศลราฐมิได้เห็นพระพุทธองค์ช้านานมีความรำลึกถึงจึงตรัสสั่งให้นายช่าง
    ทำพระพุทธรูปขึ้นด้วยแก่นจันทร์แดงประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ

    ครั้นพระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์มาถึงที่ประทับ
    พระแก่นจันทร์ลุกขึ้นปฏิสันถารพระพุทธองค์ด้วยปาฏิหาริย์
    แต่พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้พระแก่นจันทร์กลับไปยังที่ประทับเพื่อรักษาไว้เป็นตัวอย่าง
    พระพุทธรูปซึ่งสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่างสร้างพระพุทธรูปเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว

    ความที่กล่าวในตำนานประสงค์จะอ้างว่าพระพุทธรูปแก่นจันทร์องค์นั้นเป็นต้นแบบอย่างของพระพุทธรูป
    ซึ่งสร้างกันต่อมาภายหลังหรือถ้าว่าอีกนัยหนึ่งคืออ้างว่า พระพุทธรูปมีขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต
    และเหมือนพระพุทธองค์ เพราะตัวอย่างตรงไหนจะต้องทำพระพุทธรูป คิดทำรูปสิ่งอื่นเช่น
    รอยพระพุทธบาท หรือพระธรรมจักรและพุทธอาสน์เป็นต้น สมมติแทนพระพุทธรูปทุกแห่งไป
    ข้อนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า ประเพณีที่ทำพระพุทธรูปยังไม่มีในสมัยนั้นหรือยังเป็นข้อห้ามในมัชฌิมประเทศ
    จนถึงพ.ศ. ๔๐๐*


    ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าตำนานเรื่องพระแก่นจันทร์นั้นจะเกิดขึ้นต่อสมัยเมื่อมีประเพณีสร้างพระพุทธรูป
    กันแพร่หลายแล้ว ราวในพ.ศ. ๗๐๐ หรือ ๘๐๐ ปี เรื่องสร้างพระพุทธรูปนักปราชญ์ในชั้นหลัง
    สอบเรื่องพงศาวดารประกอบกับพิจารณาโบราณวัตถุที่ตรวจพบในอินเดียได้ความเป็นหลักฐานว่า
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ๑ ได้แปลพิมพ์เป็นภาษาไทยแล้ว
    * ความจริงจนถึงราวพ.ศ. ๖๐๐ กว่า
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    พระพุทธรูปเป็นของพวกโยนก (คือฝรั่งชาติกรีก)
    ซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเริ่มคิดประดิษฐ์ขึ้นในคันธารราฐเมื่อราวพ.ศ. ๓๗๐ *


    มีเรื่องตำนานดังจะกล่าวต่อไป คือครั้งพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราช
    สามารถแผ่อาณาเขตตั้งแต่ยุโรปตลอดมาจนในอินเดียข้างฝ่ายเหนือเมื่อพ.ศ. ๒๑๗ นั้น
    ตั้งพวกโยนกที่เป็นแม่ทัพนายกองครองบ้านเมืองรักษาพระราชอาณาเขตตลอดมา
    ครั้นพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ผู้อื่นไม่สามารถจะรับรัชทายาทได้
    ราชอาณาเขตก็กลับแยกกันออกเป็นประเทศต่างๆ ทางฝ่ายเอเชียนี้พวกโยนก
    ที่เป็นเจ้าบ้านพานเมืองต่างก็ตั้งตนขึ้นเป็นอิสระหลายอาณาเขตด้วยกัน
    แล้วชักชวนชาวโยนกพรรคพวกของตนให้มาตั้งภูมิลำเนาทำมาหากิน
    เป็นมูลเหตุที่จะมีพวกโยนกมาอยู่ในแผ่นดินอินเดียตอนชายแดนข้างด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
    ซึ่งเรียกว่าอาณาเขตคันธารราฐ (๑)
    ในสมัยนั้นขึ้นอยู่ในประเทศบัคเตรียซึ่งแม่ทัพโยนกคนหนึ่งตั้งตัวเป็นเจ้า

    ครั้นต่อมาเจ้าเมืองบัคเตรียแพ้สงครามต้องตัดอาณาเขตคันธารราฐให้แก่พระเจ้าจันทรคุปต์
    ต้นราชวงศ์โมริยะ อันเป็นองค์พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่นั้นคันธารราฐก็ตกมาเป็น
    เมืองขึ้นของมคธราฐ เพราะฉะนั้น เมื่อพระเจ้าอโศกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจึงให้ไปประดิษฐาน
    พระพุทธศาสนาในคันธารราฐ และพึงสันนิษฐานว่าพวกโยนกที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้นคงเข้ารีต
    เลื่อมใสมิมากก็น้อย แต่เมื่อพ้นสมัยราชวงศ์โมริยะมาถึงสมัยราชวงศ์ศุงคะ
    ราชวงศ์ศุงคะมีอานุภาพน้อยไม่สามารถปกครองไปถึงคันธารราฐได้
    พวกโยนกในสร้างขึ้นแต่ในครั้งพุทธกาล
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    * ปัจจุบันเชื่อกันว่าราวพ.ศ. ๖๐๐ กว่า
    ๑ อาณาเขตคันธารราฐเดี๋ยวนี้อยู่ในแดนประเทศอัฟกานิสถานบ้าง อยู่ในแดนอินเดียของอังกฤษ
    มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือบ้าง (ปัจจุบันนี้เป็นประเทศปากีสถาน)
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่าหนังสือเรื่องตำนานพระแก่นจันทร์จะเกิดขึ้นในลังกาทวีป
    แต่มาพบในหนังสือจดหมายระยะทางของหลวงจีนฟาเหียนซึ่งไปอินเดียเมื่อราวพ.ศ. ๙๕๐ *
    กล่าวว่าเมื่อไปถึงเมืองสาวัตถี ได้ฟังเล่าเรื่องพระเจ้าปเสนชิตให้สร้างพระพุทธรูป
    ตรงกับที่กล่าวในหนังสือตำนานพระแก่นจันทร์ จึงรู้ว่าเป็นเรื่องตำนานในอินเดียมีมาแต่โบราณ

    ถึงกระนั้นความที่กล่าวในตำนานก็ขัดกับหลักฐานที่มีโบราณวัตถุเป็นเครื่องพิสูจน์เป็นต้นว่า
    ถ้าเคยสร้างพระพุทธรูปแต่เมื่อในครั้งพุทธกาลและพระพุทธองค์ได้โปรดประทานพระบรมพุทธานุญาต
    ให้สร้างกันต่อมาดังอ้างในตำนานไซร้ พระเจ้าอโศกมหาราชก็คงสร้างพระพุทธรูปเป็นเจดียวัตถุอย่างหนึ่ง
    เช่นเราชอบสร้างกันในชั้นหลัง แต่ในบรรดาพุทธเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกสร้างไว้หามีพระพุทธรูปไม่


    ใช่แต่เท่านั้นแม้อุเทสิกะเจดีย์ที่สร้างกันเมื่อล่วงสมัยพระเจ้าอโศกแล้วจนราวพ.ศ. ๔๐๐**
    เช่น ลายจำหลักรูปภาพเรื่องพุทธประวัติซึ่งทำเป็นเครื่องประดับพระมหาธาตุเจดีย์ดังกล่าวมา
    ในตอนก่อน ทำแต่รูปคนอื่น

    ประเทศบัคเตรียก็ขยายอาณาเขตรุกแดนอินเดียเข้ามาโดยลำดับจนได้คันธารราฐและบ้านเมือง
    ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีเมืองตักศิลาไว้ในอาณาเขตโดยมากจึงรวมอาณาเขตชอบใจคนทั้งหลาย
    ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (๑)
    ก็ในขณะเมื่อแรกคิดแบบพระพุทธรูปนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วหลายร้อยปี
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
    * พระภิกษุฟาเหียนอยู่ในประเทศอินเดียตั้งแต่พ.ศ. ๙๔๔ จนถึง พ.ศ. ๙๕๔
    ** ความจริงจนถึงราวพ.ศ. ๖๐๐ กว่า
    ๑ ในประกาศพระราชพิธีจรดพระนังคัลว่าชาวคันธารราฐคิดสร้างพระพุทธรูป (ปางขอฝน) ขึ้น
    และในหนังสือรัตนพิมพวงศ์ว่าเทวดานฤมิตพระพุทธรูปแก้วมรกตถวายพระนาคเสนในเมืองปาฎลีบุตร
    (ร่วมสมัยกับพระเจ้ามิลินท์) ตรงตามตำนาน แต่ผู้แต่งจะได้หลักฐานมาจากที่ไหนหาปรากฏไม่
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    รูปพรรณสัณฐานของพระพุทธองค์จะเป็นอย่างไรก็ไม่มีตัวผู้เคยเห็น
    มีแต่คำบอกเล่ากล่าวกันสืบมาว่าเป็นเช่นนั้นๆเช่นว่ามีลักษณะอย่างมหาบุรุษในคัมภีร์ปุริสลักขณ
    ของพราหมณ์ ซึ่งแต่งไว้แต่ก่อนพุทธกาลเป็นต้น ช่างผู้คิดทำพระพุทธรูปได้อาศัยคำบอกเล่า
    เช่นว่าอย่างหนึ่ง กับอาศัยความรู้เรื่องพุทธประวัติเช่นว่าพระพุทธองค์เป็นกษัตริย์ชาวมัชฌิมประเทศ
    เสด็จออกทรงผนวชเป็นสมณะเป็นต้นอย่างหนึ่ง กับอาศัยแบบอย่างอันปรากฏอยู่ในจารีตประเพณีของ
    ชาวมัชฌิมประเทศดังเช่นกิริยาที่นั่งขัดสมาธิและครองผ้ากาสาวพัสตร์เหมือนเช่นพระภิกษุซึ่งยังมีอยู่
    ในสมัยนั้นเป็นต้นอีกอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นก็อาศัยแต่คติที่นิยมว่าดีงามในกระบวนช่างของโยนก
    เป็นหลักความคิดที่ทำพระพุทธรูปขึ้นโดยรู้อยู่ว่าไม่เหมือนพระองค์พระพุทธเจ้า
    เพราะฉะนั้นที่สามารถให้คนทั้งหลายนิยมยอมนับถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้
    ต้องนับว่าเป็นความคิดฉลาดแท้ทีเดียว

    ลักษณะพระพุทธรูปโบราณที่ช่างโยนกคิดทำขึ้นในคันธารราฐสังเกตเห็นได้ว่าอนุโลมตามคัมภีร์
    มหาปุริสลักขณหลายข้อเป็นต้น คือข้อว่าอุณฺณา โลมา ภมุกนฺตเร ทำพระอุณาโลมไว้ที่หว่าง
    พระขนงอย่างหนึ่ง บางทีจะเอาความในบทอุณหิสสิโส อันแปลว่าพระเศียรเหมือนทรงอุณหิส (๑)
    มาคิดอนุโลมทำให้พระเศียรพระพุทธรูปมีพระเกตุมาลาอีกอย่างหนึ่ง แต่พระเกตุมาลาตามแบบช่างโยนก
    ทำเป็นพระเกศายาวกระหมวดมุ่นเป็นเมาลีไว้บนพระเศียรอย่างพระเกศากษัตริย์เป็นแต่ไม่มีเครื่องศิราภรณ์
    ความคิดเรื่องทำพระเกตุมาลานี้ศาตราจารย์ฟูเชร์ *
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ๑ คำว่า อุณหิส แปลกันหลายอย่างว่า กรอบหน้าบ้าง ผ้าโพกบ้าง มงกุฎบ้าง
    แต่รวมความเป็นอันเดียวกันว่า เครื่องทรงที่พระเศียร
    * นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    สันนิษฐานว่าจะเกิดโดยจำเป็นในกระบวนช่างด้วยในลายจำหลักเรื่องพระพุทธประวัติมีสภาพสมณะ
    ทั้งพระพุทธรูปและรูปพระภิกษุพุทธสาวก ถ้าทำพระพุทธรูปแต่เป็นอย่างสมณะก็จะสังเกตยากว่า
    พระพุทธรูปหรือรูปพระสาวกช่างโยนกประสงค์จะให้คนดูรู้จักพระพุทธรูปได้โดยง่ายจึงถือเอาเหตุ
    ที่พระพุทธองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติและเป็นสมณะโดยเพศนั้น
    ทำพระพุทธรูปให้ส่วนพระองค์ทรงครองผ้าอย่างสมณะแต่ส่วนพระเศียร
    ทำให้เหมือนอย่างพระเศียรกษัตริย์ เป็นแต่ลดเครื่องศิราภรณ์ออกเสีย

    พระพุทธรูปจึงแปลกกับรูปภาพอื่นๆ ถึงจะอยู่ปะปนกับรูปใครๆก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้า
    ความคิดข้อนี้ช่างพวกอื่นในสมัยชั้นหลังต่อมาไม่สามารถจะคิดแก้ไขไปเป็นอย่างอื่นได้
    ก็ต้องเอาแบบอย่างของช่างโยนกทำต่อมา พระพุทธรูปจึงมีพระเกตุมาลาด้วยประการฉะนี้ (๑)
    ลักษณะที่ทำตามจารีตประเพณีในมัชฌิมประเทศนั้นเช่น อาการทรงนั่งขัดสมาธิ
    (ช่างโยนกทำนั่งขัดสมาธิเพชรอย่างเดียว) และอาการที่ทรงครองผ้าทำทั้งอย่างห่มดองและห่มคลุม
    แต่มักชอบทำห่มคลุมจำหลักกลีบผ้าให้เหมือนจริงตามกระบวนช่างโยนก
    นอกจากที่กล่าวมาในบรรดาลักษณะซึ่งมิได้มีที่บังคับแล้ว พวกช่างโยนก
    ทำตามคติของชาวโยนกทั้งนั้น เป็นต้นว่าดวงพระพักตร์พระพุทธรูป
    ก็ทำอย่างเทวรูปที่งามของชาวโยนก (๒)
    พระรัศมีก็ทำอย่างประภามณฑลเป็นวงกลมอยู่ด้านหลังพระพุทธรูปตามแบบรัศมีของภาพโยนก
    ส่วนกิริยาท่าทางของพระพุทธรูปนั้น เพราะทำพระพุทธรูปในลายเรื่องพระพุทธประวัติ
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ๑ คำอธิบายเช่นกล่าวในหนังสือปฐมสมโพธิว่ารูปพระเศียรเป็นเช่นนั้นเองผิดธรรมดา
    เห็นว่าจะเป็นความคิดเกิดขึ้นเมื่อมีพระพุทธรูปแล้ว
    ๒ คือเทวรูปอปอลโล
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    พระพุทธรูปซึ่งทำตรงเรื่องตอนไหนช่างก็คิดทำกิริยาท่าทางพระพุทธรูปให้เข้ากับเรื่องตอนนั้น
    เป็นต้นว่าพระพุทธรูปตรงเรื่องเมื่อก่อนเวลาตรัสรู้ ทำนั่งซ้อนพระหัตถ์เป็นกิริยาสมาธิ
    พระพุทธรูปตรงเมื่อชนะพยามารทำพระหัตถ์ขวามาห้อยที่พระเพลา
    แสดงว่าทรงชี้อ้างพระธรณีเป็นพยาน
    พระพุทธรูปตรงเมื่อประทานปฐมเทศนาทำจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลมหมายความว่า พระธรรมจักร *
    พระพุทธรูปตรงเมื่อมหาปาฏิหาริย์ (คือ ยมกปาฏิหาริย์) ทำเป็นพระพุทธรูปมีดอกบัวรอง
    คิดทำตามเรื่องพระพุทธประวัติทำนองดังกล่าวมานี้ (รูปที่ ๔ )
    ต่อไปตลอดจนถึงเมื่อเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก็ทำเป็นรูปพระพุทธไสยา (รูปที่ ๕) **
    เมื่อพระพุทธรูปมีขึ้นใครเห็นก็คงชอบใจจึงเลยเป็นเหตุให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในการสร้างพระพุทธรูป
    ในคันธารราฐ แต่ความนิยมยังไม่แพร่หลายไปถึงประเทศอื่นในอินเดีย
    ด้วยอาณาเขตคันธารราฐเมื่อสมัยพระเจ้ามิลินท์ไม่กว้างขวางเท่าใดนัก
    ซ้ำเมื่อสิ้นพระเจ้ามิลินท์แล้วเชื้อวงศ์ได้ครองคันธารราฐต่อมาเพียงสัก ๓๐ ปี
    ก็เสียบ้านเมืองแก่พวกศะกะซึ่งลงมาจากกลางทวีปเอเชีย
    พวกศะกะได้ครองคันธารราฐอยู่ชั่วระยะเวลาตอนหนึ่งแล้วก็มีพวกกุษาณะ(๑)
    ยกมาจากทางปลายแดนประเทศจีนชิงได้คันธารราฐจากพวกศะกะอีกเล่า
    แต่ในสมัยเมื่อพวกกุษาณะครอบครองคันธารราฐนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินในกุษาณะราชวงศ์องค์หนึ่ง
    ทรงพระนามว่า พระเจ้ากนิษกะ ได้ครองราชสมบัติในระหว่างพ.ศ. ๖๖๓ จนพ.ศ. ๗๐๕
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    * พระหัตถ์ซ้ายประคองทำท่ากำลังหมุน
    ** ตามการค้นคว้าในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์เริ่มเกิดมีขึ้น
    เป็นครั้งแรกในแคว้นคันธารราฐในรัชกาลของพระเจ้ากนิษกะวงศ์กุษาณะราวพุทธศตวรรษที่ ๗
    และเป็นฝีมือของช่างกรีก – โรมัน
    ๑ จีนเรียกว่า ยิวชิ Yuel – chi
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    สามารถแผ่ราชอาณาเขตออกไปทางข้างเหนือและข้างใต้ได้มัชฌิมประเทศทั้งหมด
    ไว้ในราชอาณาเขตเป็นพระเจ้าราชาธิราชขึ้นเหมือนอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช
    ชะรอยเมื่อพระเจ้ากนิษกะคิดหาวิธีปกครองพระราชอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล
    จะได้ทราบวิธีการปกครองของพระเจ้าอโศกซึ่งรวมพุทธจักรกับอาณาจักรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    พระเจ้ากนิษกะก็เลื่อมใสในพุทธศาสนาประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก
    ปกครองพระราชอาณาเขตตามแบบอย่างครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช
    ก็แต่พฤติการณ์ต่างๆในสมัยพระเจ้ากนิษกะผิดกันกับสมัยพระเจ้าอโศกเป็นข้อสำคัญ
    อยู่หลายอย่างเป็นต้นเรื่องสร้างพุทธเจดีย์ ปรากฏว่าเจดียสถานที่เกิดขึ้นในคันธารราฐ
    เมื่อครั้งพระเจ้ากนิษกะมีทั้งพระธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ แต่ภูมิประเทศต่างกัน
    ด้วยพระเจ้าอโศกมหาราชตั้งราชธานีอยู่ ณ เมืองปาฏลีบุตรในมัชฌิมประเทศอันเป็นท้องถิ่น
    ที่พระพุทธเจ้าเที่ยวทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนา มีเจดียสถานที่เนื่องต่อพระพุทธองค์
    และพระพุทธประวัติเป็นเครื่องบำรุงความเลื่อมใส

    แต่พระเจ้ากนิษกะตั้งราชธานีอยู่ ณ เมืองบุรุษบุรี (๑) ในคันธารราฐอันเป็นปัจจันตประเทศ
    ปลายแดนอินเดียซึ่งพึ่งได้รู้จักพระพุทธศาสนาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชให้ไปสั่งสอนอีกประการหนึ่ง
    พระไตรปิฎกที่รวบรวมพระธรรมวินัยมาจนถึงเวลานั้นก็เป็นภาษามคธของชาวมัชฌิมประเทศ
    แต่ชาวคันธารราฐเป็นคนต่างชาติต่างภาษาถึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็ยาก
    ที่จะเข้าใจพระธรรมวินัยได้ซึมทราบเหมือนอย่างชาวมัชฌิมประเทศ
    เพราะเหตุดังกล่าวมาเมื่อพระเจ้ากนิษกะฟื้นพระพุทธศาสนาแม้พยายามตามแบบอย่างครั้ง
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ๑ เดี๋ยวนี้เรียกว่าเมืองเปษวาร์
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------

    พระเจ้าอโศกมหาราชทั้งในการสร้างพุทธเจดีย์
    การสังคยนาพระธรรมวินัยและให้เที่ยวสั่งสอนพระพุทธศาสนายังนานาประเทศก็ดี
    ลักษณะการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาครั้งพระเจ้ากนิษกะจึงผิดกับครั้งพระเจ้าอโศก
    จะพรรณนาแต่เป็นที่สำคัญ เจดีย์และอุเทสิกะเจดีย์ พระธาตุเจดีย์นั้นพระเจ้ากนิษกะ
    ให้เสาะหาพระบรมธาตุที่ในมัชฌิมประเทศเชิญไปสร้างพระสถูปบรรจุไว้ปรากฏอยู่หลายแห่ง
    ส่วนบริโภคเจดีย์นั้น เพราะในคันธารราฐไม่มีสถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ได้ประทานอนุญาต
    ไว้ให้เป็นพระบริโภคเจดีย์เหมือนเช่นที่มีในมัชฌิมประเทศจึงสมมติที่ตำบลต่างๆ
    ซึ่งอ้างเข้าเรื่องพุทธประวัติเช่นว่าเมื่อพระพุทธองค์ยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์
    ทรงบำเพ็ญบารมีอย่างนั้นๆ ณ ที่ตำบลนั้นๆ
    แล้วสร้างพระพุทธเจดีย์ขึ้นเป็นบริโภคเจดีย์ (๑) (รูปที่ ๖)

    คติอันนี้ภายหลังมาเลยสมมติต่อไปจนอ้างว่าพระอดีตพุทธเจ้าคือ พระกกุสัณฑ พระโกนาคมน์
    และพระกัสสป ทั้งสามองค์ได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ในคันธารราฐแล้วสร้างบริโภคเจดีย์
    เนื่องในเรื่องประวัติของพระอดีตพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นด้วย (๒)
    เลยเป็นปัจจัยถึงคติของพวกถือลัทธิมหายานซึ่งจะกล่าวในที่อื่นต่อไปข้างหน้า
    ส่วนอุเทสิกะเจดีย์นั้นเพราะพวกโยนกได้คิดทำพระพุทธรูปขึ้นในคันธารราฐตั้งแต่ครั้งพระเจ้ามิลินท์
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ๑ เรื่องบริโภคเจดีย์ในคันธารราฐกล่าวตามอธิบายในหนังสือพรรณนา
    ระยะทางของหลวงจีนฟาเหียนและหลวงจีนฮ่วนเจียง
    ที่ไปถึงคันธารราฐ เมื่อราวพ.ศ. ๙๔๔ และพ.ศ. ๑๑๗๓
    ๒ คติ ที่ถือกันว่าคันธารราฐเป็นที่พระอดีตพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์
    ได้ทรงประดิษฐานพระศาสนาปรากฏอยู่ในหนังสือพรรณนาระยะทางของหลวงจีนฮ่วนเจียงซึ่งไปถึง
    คันธารราฐเมื่อพ.ศ. ๑๑๗๓ แต่อาจจะถือกันขึ้นต่อเมื่อภายหลังรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะก็เป็นได้
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    พระเจ้ากนิษกะก็เป็นเชื้อชาวต่างประเทศจึงเลื่อมใสในการสร้างพระพุทธรูป
    ให้ช่างชาวโยนกที่มีฝีมือดีมาคิดทำพระพุทธรูปให้งามสง่ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
    จึงเกิดความคิดแก้ไขแบบพุทธเจดีย์ให้มีพระพุทธรูปเป็นประธานแต่นั้นมา
    เป็นต้นว่าแต่ก่อนมาเคยจำหลักเรื่องพุทธประวัติเป็นลายประดับพระสถูป แก้ทำเป็นซุ้มจรนำ ๔ ทิศ
    ติดกับองค์ (ระฆัง) พระสถูปแล้วทำพระพุทธรูปให้เป็นขนาดใหญ่กิริยาต่างกันตามเค้าพระพุทธรูป
    ในลายเรื่องพระพุทธประวัติในซุ้มจรนำนั้นใครเห็นก็รู้ได้ว่าเป็นพระพุทธรูปเมื่อตอนไหน
    ในเรื่องพุทธประวัติ อันนี้น่าจะเป็นต้นเค้าที่สร้างแต่เฉพาะพระพุทธรูปตั้งเป็นประธานในเจดียสถานต่างๆ
    (อย่างวัดที่สร้างกันภายหลัง) รูปพระโพธิสัตว์ก็สร้าง (รูปที่ ๗)

    แต่ในสมัยนั้นสร้างแต่รูปพระสักยโพธิสัตว์ เมื่อก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า *
    ความที่กล่าวมามีหลักฐานด้วยพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ของโบราณที่ค้นพบในคันธารราฐ
    โดยเฉพาะที่ทำงามอย่างยิ่งเป็นฝีมือช่างโยนกสร้างในสมัยพระเจ้ากนิษกะเป็นพื้น ใช่แต่เท่านั้น
    พระพุทธรูปโบราณที่พบทางกลางทวีปเอเชียก็ดี ที่พบในมัชฌิมประเทศเช่นที่เมืองพาราณสี
    เมืองมถุรา (รูปที่ ๘) และทางฝ่ายใต้จนเมืองอมราวดี (รูปที่ ๙) ก็ดี
    ที่เป็นชั้นเก่าล้วนเอาแบบอย่างพระพุทธรูปคันธารราฐไปทำทั้งนั้น

    จึงยุติได้ว่าการสร้างพระพุทธรูปแพร่หลายต่อไปถึงนานาประเทศแต่ครั้งพระเจ้ากนิษกะบำรุง
    พระพุทธศาสนาเป็นต้นมา **

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------

    * รูปพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ก็มี
    ** พระพุทธรูปแบบมถุราในชั้นเดิมไม่ได้รับอิทธิพลของศิลปะคันธารราฐเลย
    แต่เป็นแบบอินเดียแท้สันนิษฐานว่าช่างอินเดียคงจะได้ทราบข่าวว่าช่างคันธารราฐคิดทำพรพุทธรูป
    เป็นมนุษย์ขึ้น จึงคิดทำขึ้นบ้าง ส่วนพระพุทธรูปแบบอมราวดีนั้น
    แก้ไขแบบจีวรเป็นอีกอย่างหนึ่ง และเปลี่ยนเส้นพระเกศาเป็นขมวด

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%"><TBODY><TR bgColor=lightgrey><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    [​IMG]

    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD></TR><TR bgColor=lightgrey><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    พระธรรมจักร ก็เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ที่แสดงถึง “ พระธรรมคำสอน ” ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชได้ใช้เป็นตราแผ่นดิน และปัจจุบันยังเป็นส่วนหนึ่งของธงชาติอินเดีย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    ปราชญ์อีกท่านหนึ่งที่ไ้ด้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปคือ
    อาจารย์เสถียร โพธินันทะ นับเป็นผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาท่านหนึ่ง
    มีความรอบรู้เรื่องพระพุทธศาสนาทั้งในด้านหลักคำสอนและประวัติศาสตร์เป็นอย่างดียิ่ง

    คัดลอกบางส่วนจาก CD – ROM พระไตรปิฎก ฉบับเรียนพระไตรปิฎก
    ในหมวดหนังสือทั่วไปลำดับที่ ๑๙ ชื่อหนังสือ ประวัติพุทธ (๑)



    ประวัติพุทธ(๑) - หน้าที่ 108 บ่อเกิดพุทธศิลป์

    ในสมัยพุทธกาล การก่อสร้างอาคารในพุทธศาสนามีเพียงสัณฐาคารสำหรับประชุมตามวัดใหญ่ๆ เช่น
    เชตวัน ปุปพาราม หรือโฆสิตาราม ตลอดจนชีวกัมพวัน ล้วนมีสัณฐาคารบรรจุสงฆ์จำนวนพัน
    ในบาลีสามัญญผลสูตร พระเจ้าอชาตศัตรูไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกไม่ทรงรู้จักพระองค์
    เพราะพระศาสดาประทับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ในสัณฐาคาร หมอชีวกต้องทูลกำหนดพุทธลักษณะถวาย

    ในคัมภีร์ชั้นหลังกล่าวถึงกำเนิดพระแก่นจันทน์ เล่าว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จขึ้นไปประทับบนดาวดึงส์
    พระเจ้าปเสนทิทรงอนุสรณ์ถึง ทรงขอร้องให้พระโมคคัลลานะพานายช่างขึ้นไปบนดาวดึงส์
    จำลองพุทธลักษณะด้วยไม้แก่นจันทน์และทรงปฏิบัติพระพุทธรูปองค์นี้ดุจเดียวกับพระศาสดาประทับอยู่
    ครั้นออกพรรษาพระพุทธองค์เสด็จลงสู่โลกมนุษย์ พระแก่นจันทน์ได้ลุกขึ้นรับเสด็จ ก็มีพุทธดำรัสว่า
    ให้พระแก่นจันทน์สนองหน้าที่พระองค์ต่อไปเถิด ถ้าเชื่อตามตำนานนี้
    ก็แสดงว่า พระพุทรูปมีในครั้งพุทธกาลแล้ว

    แต่ข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่นในบรรดาโบราณสถานซึ่งพระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น
    มิได้มีพระพุทธรูปอยู่เลย ในที่ใดถ้าประสงค์แสดงพุทธประวัติ ก็ใช้สัญลักษณ์อื่นแทนทั้งนั้น
    เช่น ตอนประสูติก็มีแต่รูปพุทธมารดาประทับยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ และมีรูปดอกบัว ๗ ดอกอยู่ข้างๆ
    หามีพระกุมารไม่ ตอนตรัสรู้ก็ทำเป็นโพธิบัลลังก์เปล่าๆตอนแสดงธรรมจักรก็ทำเป็นแท่นพระธรรมจักร
    มีกวางหมอบอยู่สองข้าง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าธรรมเนียมของชาวอินเดียสมัยนั้น ถือว่าการสร้าง
    รูปเคารพในครุฐานิยบุคคลเป็นการไม่สมควร


    ประวัติพุทธ(๑) - หน้าที่ 109

    แต่จำเนียรกาลล่วงมาเมื่อศิลปะกรีกและศีลปะของพวกอินโดไซเธียนเข้าผสมปนเป ประเพณีนี้ก็ค่อยๆ
    หมดไป ชนชาติแรกที่ผลิตพุทธปฏิมาขึ้นคือชาติกรีกในอินเดียซึ่งในเวลานั้นนับถือพุทธศาสนาแล้ว
    พระพุทธรูปองค์แรกได้เกิดขึ้นในโลกในเขตคันธาระและอาฟกานิสถาน ชนชาติกรีกเป็นเจ้าศิลปะ
    การแกะสลัก เทวรูปของเขาเช่นอะปอลโล วีนัส ฯลฯ ย่อมแกะสลักให้เป็นเหมือนมนุษย์ที่สุด
    เมื่อเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ศิลปากรเหล่านี้ได้รับความบันดาลใจในพุทธประวัติอย่างลึกซึ้ง
    เป็นเหตุให้ผลิตพุทธปฏิมาขึ้นบูชาแทนเทวรูป แม้ระยะกาลจะห่างจากพุทธกาลถึง ๕๐๐ ปีก็จริง
    แต่พระพุทธรูปเหล่านี้ เป็นผลแห่งจินตนาการที่ซาบซึ้งในพุทธคุณของศิลปากร
    เพราะฉะนั้นจึงสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติแห่งพระปัญญา ความบริสุทธิ์ ความกรุณาในรูปปฏิมา
    สามัญชนเพียงแต่เห็นเท่านั้นก็รู้สึกว่าท่านผู้เป็นเจ้าของรูปนี้เป็นผู้หมดจากกิเลสแล้ว
    มีพระเมตตาต่อโลกอย่างมากมาย พระพุทธรูปรุ่นแรกเรียกกันว่า แบบคันธาระ ดวงพระพักตร์กลม
    พระนาสิกโด่งอย่างฝรั่ง พระเนตรอยู่ในอาการครึ่งสมาธิ บางครั้งมีพระมัสสุ
    พระเกสามุนเกล้าเป็นเมาลี มิได้ขมวดเป็นก้นหอย

    ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์จริงๆ นั้นปลงพระเกสา แต่ศิลปกรกรีกมีความคิดว่า
    ถ้าให้พระพุทธรูปปลงพระเกสาอย่างพระสาวก ก็จะไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายว่าองค์ใดเป็นพระศาสดา
    องค์ใดเป็นพระสาวก อีกประการหนึ่งเนื่องจากพระศาสดาอยู่ในวรรณะกษัตริย์ไว้พระเกสายาวรัดเกล้า
    เพราะฉะนั้นจึงสร้างพระพุทธรูปให้มีพระเกสา ส่วนพระวรกาย

    ประวัติพุทธ(๑) - หน้าที่ 110

    นั้นนายช่างกรีก ได้สร้างให้เห็นองคาพยพ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอย่างชัดเจนภายใต้จีวรบางๆ
    พระพุทธรูปแบบที่ว่านี้ได้มีการขุดพบทั่วไปในอินเดียตอนเหนือและอาฟกานิสถาน

    ต่อมาไม่นานก็เกิดพุทธศิลป์แบบอินเดียแท้ขึ้น มีศูนย์ผลิตอยู่ที่เมืองมถุราและเมืองอมราวดี
    ที่เมืองอมราวดีนี้ เป็นเมืองสำคัญของรัฐอันธระในอินเดียใต้ ปกครองโดยราชวงศ์กษัตริย์สาตวาหนะ
    พุทธศาสนาในที่นี่รุ่งเรืองมาก ในพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ มีการสร้างพระสถูปใหญ่ๆ และพระพุทธรูป
    พระพุทธรูปแบบอินเดียบริสุทธิ์ พระเกสาขมวดเป็นก้นหอย องคาพยพมีลักษณะเหมือนมนุษย์
    ไม่เป็นอย่างแบบคันธาระ จำเดิมแต่นั้นมา พุทธศิลปะก็แพร่หลายไป



    ผลงานการค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูป
    โดย ศ. ดร. ผาสุข อินทราวุธ คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
    คัดลอกบางส่วนจาก หนังสือ "อัฟกานิสถาน แหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกในโลก"
    โดย สำนักพิมพ์มติชน
    สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ


    ประเทศอัฟกานิสถาน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอินเดีย อิหร่าน และเอเชียกลาง
    สภาพภูมิประเทศของอัฟกานิสถานอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วน
    พื้นที่ทางตอนใต้คือบริเวณหุบเขาและลุ่มแม่น้ำคาบูล (Kabul Valley) นั้น
    เป็นพื้นที่ผืนเดียวกันกับอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือคือตั้งแต่
    ภูเขาฮินดูกูษ (Hindu Kush) ขึ้นไปถึงแม่น้ำอ๊อกซุส (Oxus) หรือบริเวณแคว้นแบคเตรีย (Bactria) นั้น
    เป็นพื้นที่ผืนเดียวกันกับเอเชียกลาง ถ้าพิจารณาสภาพภูมิประเทศซึ่งประกอบด้วยเทือกเขาสูงติดต่อกัน
    เป็นทิวยาวแล้วจัดว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีตเท่าใดนัก

    จึงเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนร่อนเร่และอนารยชนเผ่าต่างๆ เหมาะเป็นที่หลบซ่อนตัวของพวกมิจฉาชีพ
    ในอดีตกาลมักมีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับดินแดนแห่งนี้ในทำนองนิยายสยองขวัญอันเนื่องมาจากความป่าเถื่อน
    ของชนพื้นเมืองกระตุ้นให้นักผจญภัยเกิดความกระหายที่จะเข้าไปค้นหาความเร้นลับในดินแดนแห่งนี้

    จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อนักภูมิศาสตร์ชาวยุโรปได้เข้าไปสำรวจสภาพภูมิประเทศ
    ในอัฟกานิสถาน ได้ค้นพบโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางโบราณคดีจำนวนมากบริเวณหุบเขา
    และลุ่มแม่น้ำคาบูล (Kabul Valley) โดยได้พบเหรียญแบบกรีกและประติมากรรมเนื่องในพุทธศาสนา
    อันเป็นผลงานของสกุลคันธารระ (ค.ศ. ๑๐๐ – ๗๐๐) ซึ่งเป็นสกุลแรกที่สร้างพระพุทธรูป
    ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะของประเทศอินเดีย

    อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆเกี่ยวกับการเปิดเผยเรื่องราวในอดีตอันรุ่งเรือง
    ของอัฟกานิสถาน เนื่องจากชาวอัฟกานิสถานเองไม่ชอบเสวนากับชาวต่างชาติมากนัก
    มีนโยบายปิดประเทศไม่ยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐

    นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสผู้มีความสามารถคือนายอัลเฟรด ฟูเช (Alfred Foucher) และคณะ
    ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอัฟกานิสถานให้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีได้ ในปีค.ศ. ๑๙๒๒

    จึงทำให้ชาวโลกได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมโบราณในอัฟกานิสถาน
    จากตำแหน่งที่ตั้งของอัฟกานิสถานคือด้านตะวันออกอยู่ติดชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
    ส่วนด้านตะวันตกอยู่ติดประเทศอิหร่านและเอเชียกลาง ทำให้อัฟกานิสถานกลายเป็นปากประตู
    ของอารยธรรมตะวันออกที่เปิดสู่โลกตะวันตกเป็นอู่อารยธรรมที่หล่อหลอมอารยธรรมอิหร่าน (เปอร์เซีย)
    และอารยธรรมอินเดียเข้าด้วยกัน และยังได้รับอารยธรรมกรีก – โรมันมาผสมผสานอีกด้วย

    ที่สำคัญคือ อัฟกานิสถานเคยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่ส่งอิทธิพลไปยังเอเชียกลาง
    จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตผลงานทางพุทธศิลป์ของสกุลคันธารระ (ค.ศ. ๑๐๐ – ๗๐๐)
    ซึ่งเป็นสกุลแรกที่เริ่มสร้างพระพุทธรูปในราว ๕๑๖ ปีก่อนค.ศ......

    ในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ สกุลคันธารระได้ผลิตผลงานด้านพุทธศิลป์ซึ่งประกอบด้วยผลงาน
    ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม จัดว่าเป็นสกุลแรกที่เริ่มสร้างรูปพระพุทธเจ้า
    เป็นรูปมนุษย์ (ในสมัยพระเจ้าอโศกยังนิยมสร้างแต่รูปสัญลักษณ์เช่น รอยพระบาท)


    เนื่องจากสุกลช่างนี้ตั้งอยู่ในแคว้นคันธารระซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกรีกและโรมัน
    (ดังได้กล่าวมาแล้ว) ดังนั้นพระพุทธรูปสกุลช่างคันธารระจึงมีลักษณะเหมือนประติมากรรม
    แบบกรีก – โรมัน แต่คติการสร้างยังเป็นคติความเชื่อของชาวอินเดียที่สัมพันธ์กับลักษณะมหาบุรุษ
    ๓๒ ประการของพระพุทธเจ้า(ตามคติความเชื่อของนิกายมหายาน
    ที่ให้อิทธิพลต่อนิกายหินยานในยุคต่อมา) พระพุทธรูปคันธารระจึงมีพระพักตร์คล้าย
    เทพอพอลโลของกรีก มีพระเกศาหยิกสลวย (ยังไม่เป็นขมวดก้นหอย)
    และมีอิทธิพลโรมันในการทำริ้วจีวรเป็นริ้วผ้าธรรมชาติ
    ตามแบบประติมากรรมโรมันในสมัยของจักรพรรดิออกุสตุส

    อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะมหาบุรุษบางประการปรากฏอยู่ด้วยคือมีอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว)
    มีอุษณีษะศีรษะ (กะโหลกศีรษะโปร่งตอนบน) และมีพระกรรณยาว (หูยาว)
    นอกจากจะริเริ่มสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์แล้วสกุลคันธารระยังริเริ่มสร้างรูปโพธิสัตว์อีกด้วย

    คือรูปเจ้าชายสิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    โดยทำเป็นรูปเจ้าชายอินเดียมีเครื่องประดับตกแต่งแบบชนชั้นสูงในสมัยนั้น
    ผลงานของสกุลคันธารระยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนานิกายหินยาน (นิกายสรวาสสติวาท
    ซึ่งพระเจ้ากนิษกะทรงเป็นองค์อุปถัมภ์) โดยนิยมสร้างเพียงพระพุทธรูป
    ซึ่งเป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา
    และสร้างรูปพระอนาคตพุทธเจ้าคือพระศรีอาริยเมไตรยะ

    แม้ว่าจะมีการสร้างรูปพระโพธิสัตว์แต่ก็เป็นเพียงรูปเจ้าชายสิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    อย่างไรก็ตามเมื่อนิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองในอินเดียภาคเหนือสกุลคันธารระยังได้เริ่มสร้างรูป
    พระโพธิสัตว์ตามคติมหายานอีกหลายองค์เป็นต้นว่ารูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

    นอกจากนี้สกุลคันธารระยังได้เริ่มสร้างภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติแบ่งเป็นตอน (ตามแบบศิลปะโรมัน)
    ผลงานด้านพุทธศิลป์ของสกุลคันธารระนอกจากจะมีศูนย์กลางอยู่ในแคว้นคันธารระแล้วยังมีศูนย์กลางอยู่ใน
    ประเทศอัฟกานิสถานอีกหลายแห่งที่สำคัญคือที่เมืองกปิศะ (Kapisa)
    ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางภาคเหนือของพระเจ้ากนิษกะ และในปัจจุบันคือเมืองเบคราม (Begram)
    ที่เมืองฮัดดา (Hadda) ซึ่งอยู่ใกล้เมืองเชลาลาบัด (Jelalabad) ในปัจจุบัน
    และที่เมืองบามิยาน (Bamiyan) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เทือกเขาฮินดูกูษ

    ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ แคว้นคันธารระถูกพวกฮั่น (Huns) โจมตีและยึดครอง
    อย่างไรก็ตามผลงานของสกุลนี้ยังปรากฏต่อมาในอัฟกานิสถานและในแคว้นแคชมีร์จนถึงศตวรรษที่ ๗
    ประติมากรรมของสกุลคันธารระจะมีทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่ที่แกะสลักจากหิน (blue schist and green phyllite)
    และขนาดเล็กที่ทำด้วยปูนปั้น

    ประติมากรรมสลักหินรูปพระพุทธรูปที่งดงามที่เหลือให้เห็นในปัจจุบันคือ
    ประติมากรรมแสดงภาพมหาปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าที่เมืองเบคราม (Begram)
    และประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งที่เมืองตักห์ติบาไฮ (Takht – i – Bahi)

    และเมื่อพุทธศาสนานิกายมหายานจากอัฟกานิสถานแพร่ไปยังจีนและญี่ปุ่น
    อิทธิพลการทำริ้วผ้าแบบโรมันก็ได้ไปปรากฏที่จีนและญี่ปุ่นด้วย
    พุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองมากในอัฟกานิสถานโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกปิศะ
    หลวงจีนฮวนซัง (Hsuan – tsang) ซึ่งเดินทางเข้าไปในอัฟกานิสถานในคริสต์ศตวรรษที่ ๗
    ได้บรรยายไว้ว่าเมืองกปิศะเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายมหายานมีสถูปขนาดใหญ่และสังฆาราม
    จำนวนมาก นอกจากเมืองกปิศะ ก็มีผลงานด้านพุทธศิลป์จำนวนมากที่เมืองฮัดดา
    และเมืองบามิยาน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๓ – ๕
    งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาที่โดดเด่นที่แสดงถึงความผสมผสาน
    ระหว่างศิลปะอินเดีย อิหร่าน และเอเชียกลาง ปรากฏเด่นชัดที่เมืองบามิยาน

    หลวงจีนฮวนซังได้บรรยายไว้ว่าเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความงดงาม
    โรแมนติกมาก วัดวาอารามที่เมืองบามิยานทุกวัดจะสร้างโดยการเจาะเข้าไปในหน้าผาหินทรายที่มี
    ความยาวเป็นไมล์โดยทำเป็นคูหาเรียงรายกันเป็นแถวดูเหมือนรังผึ้ง ภายในคูหานอกจากภาพสลักรูป
    พระพุทธเจ้าแล้วที่ผนังคูหาเหล่านี้ยังมีภาพจิตรกรรมแบบเดียวกับจิตรกรรมในถ้ำอชันตา
    (ภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย) โดยแสดงเป็นภาพพระโพธิสัตว์ในคติมหายาน
    ภาพเทวดาและนางฟ้า

    ในบรรดาคูหาที่เป็นโบสถ์วิหารและกุฏิเหล่านี้มีอยู่ ๒ คูหาที่มีขนาดใหญ่มาก
    ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินสลักขนาดสูง ๑๒๐ ฟุต และ ๑๗๕ ฟุตตามลำดับ
    พระพุทธรูปสลักหิน ๒ องค์นี้มีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๓ (พุทธศตวรรษที่ ๘ – ๙)

    อย่างไรก็ตามประติมากรรมหินสลักขนาดใหญ่ที่เมืองบามิยานมิได้สลักเป็นองค์พระพุทธรูปที่สมบูรณ์
    ทั้งหมด เพียงแต่สลักส่วนลำตัวและส่วนพระพักตร์ให้เป็นรูปทรงคร่าวๆเท่านั้น ส่วนรายละเอียดต่างๆ
    ตลอดจนการทำจีวรเป็นริ้วนั้นทำโดยการใช้ดินผสมฟางพอกให้ได้รูปทรงปิดทับด้วยปูนแล้วจึงทาสี
    และปิดทองคำเปลวประทับลงไป นับว่าการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ๒ องค์นี้ที่เมืองบามิยาน
    เป็นการริเริ่มที่จะแสดงภาพพระพุทธเจ้าให้มีขนาดใหญ่เหนือมนุษย์ธรรมดาซึ่งเป็นการแสดงถึงสถานภาพ
    ของพระองค์ว่าอยู่เหนือมนุษย์ทั่วไปทรงเป็นมหาบุรุษและอยู่เหนือโลก (โลกุตตร) ซึ่งเป็นคติความเชื่อ
    ในพุทธศาสนานิกายมหายาน
    จากเมืองบามิยานแนวคิดในการสร้างพระพุทธรูปให้มีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์
    ธรรมดาก็ได้แพร่ไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งได้นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานและได้สร้าง
    พระพุทธรูปขนาดใหญ่แบบเมืองบามิยาน ในประเทศจีนจะพบภาพสลักพระพุทธรูปขนาดใหญ่
    ที่ถ้ำย่งกัง และถ้ำหลงเหมิน ส่วนในประเทศญี่ปุ่นนั้นเราก็ได้เห็นประติมากรรมสำริด
    พระธยานิพุทธไวโรจนะขนาดใหญ่ที่เมืองนาราซึ่งสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๘

    สรุปได้ว่าอัฟกานิสถานไม่เพียงแต่จะเป็นอู่อารยธรรมที่หล่อหลอมอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก
    เข้าด้วยกัน หากแต่ยังเป็นแหล่งผลิตผลงานด้านพุทธศิลป์ของสกุลคันธารระซึ่งเป็นสกุลแรก
    ที่เริ่มสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์
    นอกจากนี้อัฟกานิสถานยังเคยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา
    นิกายมหายานที่ส่งอิทธิพลไปยังเอเชียกลาง จีน เกาหลี และญี่ปุ่น



    และผลงานการค้นคว้าของ คุณวรณัย พงศาชลากร ซึ่งเป็นนักค้นคว้าอิสระ
    คัดลอกบางส่วนจาก หนังสือ "อัฟกานิสถาน แหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกในโลก"
    โดย สำนักพิมพ์มติชน
    สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ


    เมนนันเดอร์กษัตริย์กรีก – อารยัน
    แห่งแบคเตรียสร้างพุทธประติมากรรมครั้งแรกที่แคว้นคันธารราฐ


    หลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าอโศกมหาราชา ประมาณปีพุทธศักราช ๓๑๙
    ราชวงศ์โมลียะของพระองค์ก็สิ้นสุดลงในเวลาอีกเพียง ๕๐ ปีต่อมา
    จากความขัดแย้งทางความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาที่ซ่อนตัวอยู่ในการเมืองของราชสำนัก
    มหาอำมาตย์บุษปมิตรผู้นิยมพราหมณ์ฮินดูเข้าชิงอำนาจที่นครหลวงปาฏลีบุตรเป็นผลสำเร็จ
    นำราชวงศ์สุงคะหรือศากยวงศ์ผู้เลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์เข้ามาปกครอง
    พราหมณ์เข้าทำลายล้างอิทธิพลของคณะสงฆ์ในพุทธศาสนาไปทั่วแว่นแคว้นของมคธราช
    มีการประหารพระภิกษุสงฆ์ ทำลายศาสนสถานและวัตถุธรรมในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้น
    ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชตามนครต่างๆรวมทั้งในนครตักศิลา

    จนมีตำนานเล่าว่ากษัตริย์พราหมณ์แห่งปาฏลีบุตรตั้งรางวัลเป็นค่าหัวพระภิกษุสงฆ์
    "มันผู้ใดนำศีรษะสมณะมาให้แก่เรา เราจะให้รางวัลหนึ่งร้อยกินาร์แก่ผู้นั้น"
    แต่เหตุผลสำคัญของการทำลายล้างพุทธศาสนาคงอยู่ที่เรื่องของการเมืองการปกครองมากกว่า
    เรื่องความแตกต่างทางศาสนา เพราะเวลานั้นคณะสงฆ์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชามีอำนาจ
    และอิทธิพลต่อระบบการเมืองการปกครองของจักรวรรดิอย่างมาก หลายๆรัฐและแว่นแคว้น
    ของจักรวรรดิมคธราชถือโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ เหตุผลหนึ่งเพื่อหลบเลี่ยงการทำลายล้างพุทธศาสนา
    ของพราหมณ์แห่งราชวงศ์สุงคะ รวมทั้งจักรวรรดิมคธราชเองก็อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด

    ทางแคว้นคันธารราฐในลุ่มน้ำคาบูลและสินธุถูกพระเจ้าเดเมตริอุส (Demetrius)
    แห่งจักรวรรดิแบคเตรียของชาวกรีกผสมกลับเข้ามายึดครองจนถึงนครตักศิลา
    ยุติการทำลายล้างพระพุทธศาสนาในนครตักศิลาลงเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๓๖๐

    อาณาจักรแบคเตรียขยายจักรวรรดิเข้ามาทางช่องเขาไคเบอร์ ปัญจาบ อินเดียเหนือ
    ต่อมาจนถึงนครปาฏลีบุตร เข้าล้อมพราหมณ์นครแห่งแคว้นมคธราช แต่เกิดเหตุการณ์จลาจลใน
    ดินแดนเปอร์เซียขึ้นเสียก่อนที่จะสามารถหักเอานครแห่งนี้ได้
    เดเมตริอุส จึงจำต้องยกกองทัพกลับสู่ตะวันตก พระเจ้าปุษยมิตรแห่งราชวงศ์สุงคะ (ศากยะ)
    ยกกองทัพเข้าขับไล่กองทัพกรีกที่ปักหลักอยู่ในลุ่มแม่น้ำคงคาให้ถอยกลับไปตั้งรับในแคว้นปัญจาบ
    ลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่ทัพกรีกนามเมนันเดอร์ ( Menander) หรือพระเจ้ามิลินท์
    ผู้พ่ายวาทะแห่งเหตุและผลต่อพระนาคเสนในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาได้สร้างนครสกลขึ้น
    ใกล้กับนครตักศิลาเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรขยายดินแดนจรดเมืองมถุรา
    ในลุ่มแม่น้ำยมุนาในช่วงเวลาต่อมา

    อิทธิพลของกองทัพและวัฒนธรรมแบบกรีก – เปอร์เซีย ในสมัยกษัตริย์เมนันเดอร์แห่งแบคเตรีย
    ก่อให้เกิดการนับถือรูปเคารพมากขึ้นในลุ่มน้ำคาบูลและสินธุของแคว้นคันธารราฐ
    ผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์ในนครตักศิลานอกจากจะมีความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
    แบบดั้งเดิมแล้วยังมีวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาในสายมหายานที่มีความเชื่อในเรื่องพระโพธิสัตว์
    อิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธประวัติ ความเชื่อในไสยศาสตร์ คาถา เวทมนต์ ดูจะเป็นที่นิยม
    และสามารถเข้ากับชาวอารยันที่นับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเดิม ได้ดีกว่านิกายเถรวาทหรือ
    หินยานที่เคร่งครัดในหลักธรรมตามตัวบทบัญญัติในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา


    รูปแบบเทวนิยมนิกายมหายานจึงกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งของชาวกรีกผสมอารยันที่มีความเชื่อดั้งเดิม
    แบบเทวนิยมหรืออำนาจเหนือธรรมชาติในรูปของบุคคลอยู่แล้ว ทางเลือกที่ผสมผสานทางวัฒนธรรมนี้
    ง่ายต่อการบูชาสรรเสริญ บวงสรวง และอ้อนวอนในพิธีกรรมต่างๆ


    รูปปั้นเทพเจ้าดั้งเดิมของชาวกรีกประกอบไปด้วยมหาเทพซีอุส (Zeus)
    เทพเจ้าที่สำคัญที่สุดของชาวกรีกโบราณเป็นเทพผู้อำนวยชัยชนะในสงครามและการกีฬา
    เป็นเทพแห่งศีลธรรม มิตรภาพ และการลงโทษผู้กระทำผิด

    เทพโพไซดอน (Poseidon) พี่ชายของมหาเทพซีอุสทรงเป็นเทพแห่งท้องทะเล
    และการเดินทางทางน้ำ
    เทพเจ้าอพอลโล (Apollo) เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง
    กวีนิพนธ์ ดนตรี และคำทำนายโชคชะตาต่างๆ
    เทวีฮีรา (Hera) มเหสีของมหาเทพซีอุส
    เทพอริส(Ares) โอรสของมหาเทพซีอุสเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม
    เทพเดมีเตอร์ (Demeter) คือน้องสาวของมหาเทพซีอุส
    พระแม่ธรณีเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์หรือเทวีแห่งการเกษตรกรรม

    นอกจากนี้ชาวกรีกยังนับถือเทพไดโอนิซัส (Dionyus)
    โอรสของมหาเทพซีอุส เทพเจ้าแห่งเครื่องสังเวยและเหล้าองุ่น
    เทพแห่งพืชพันธุ์และเจ้าแห่งการละคร
    เทวีอาเธน่า (Athena) เทวีแห่งเอเธนส์ ผู้ปราดเปรื่องเฉลียวฉลาด
    เทวีอโฟรไดต์ (Aphrodite) เทวีผู้เกิดจากฟองทะเล เทวีแห่งความรักและความงดงาม
    เทวีอาร์เตมีส (Artemis) เทวีแห่งดวงจันทร์ พฤกษาเทวีและเทวีผู้พิทักษ์สัตว์ป่าต่างๆ
    เทพเจ้าเฮอร์มิส (Hermes) โอรสของมหาเทพซีอุส เทพเจ้าแห่งวิทยาศาสตร์และการค้า
    เทพแอสเคลปิโอส (Asclepios) คือเทพเจ้าแห่งการแพทย์
    เทพเจ้าพลูโต (Pluto) พี่ของซีอุส เทพแห่งนรกและความตาย
    ทั้ง ๑๒ องค์เทพเจ้า ชาวกรีกเชื่อว่าประทับบนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus)

    ในขณะที่ชาวอารยัน – กรีก ที่เชื่อและศรัทธาในศาสนาพราหมณ์และฮินดู
    ก็ยังคงนับถือรูปแบบของเทพเจ้าเช่นเดียวกับชาวกรีกดังที่เรารู้จักกันดีหลายๆพระองค์เช่น
    พระศิวะหรืออิศวร พระวิษณุหรือพระนารายณ์ พระพรหม เทวีอุมา พระอินทร์
    และเทพเจ้าอีกมากมายหลายองค์เทพจะประอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ


    ในความเหมาะเจาะลงตัวที่นิกายมหายานก็นับถือในกึ่งเทวนิยมกับพระพุทธบัญญัติ
    ความศรัทธาของความเชื่อที่ผสมผสานนี้นำไปสู่ความต้องการ
    ในการสร้างรูปเคารพที่แตกต่างออกไปจากเดิมของชาวอารยันผสมกรีกในแคว้นคันธารราฐ


    ในช่วงที่พระเจ้าอโศกมหาราชยังครองคันธารราฐไม่มีพุทธศาสนานิกายใดกล้าที่จะสร้างรูปเคารพ
    ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเชื่อถือกันว่าเป็นการดูหมิ่นไม่ให้ความเคารพ


    แต่เมื่อวัฒนธรรมของกรีกและเปอร์เซียเข้ามาที่คันธารราฐ
    ในจักรวรรดิแบคเตรียเองก็มีการสร้างรูปเคารพ อิทธิพลแรกๆของกรีกแบคเตรียส่งให้มีการสร้าง
    รูปเคารพในสมัยพระเจ้าอโศกแกะสลักเป็นรูปสมมุติขึ้นแทนรูปเคารพบุคคลเช่น
    รูปดอกบัวแทนสัญลักษณ์ของการประสูติ รูปม้าที่ไม่มีคนขี่และรอยพระพุทธบาทแทนการเสด็จ
    ออกมหาภิเนษกรมณ์ รูปพระแท่นและรูปต้นโพธิ์แสดงตอนตรัสรู้ รูปกงจักรหมายความถึงวงล้อ
    ของการเวียนว่ายตายเกิด รูปกวางหมอบคู่หนึ่งหน้าธรรมจักรหมายถึงสวนกวางของป่ามฤคทายวัน

    รวมทั้งพระสถูปเป็นสัญลักษณ์แสดงตอนปรินิพพาน รูปแบบสมมุติทางพุทธศาสนานี้กระจาย
    ไปทั่วโลกตามเส้นทางทั้งเก้าเส้นที่สมณะทูตของพระเจ้าอโศกมหาราชาเดินทางไปเพื่อ
    เผยแพร่พระพุทธศาสนา เมื่อจักรวรรดิกรีกผสมกลับเข้ามาสู่นครตักศิลาในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์อีกครั้ง
    ชาวกรีกผสมอารยันเริ่มที่จะยอมรับนับถือเลื่อมใสศรัทธาในความเชื่อทางพุทธวัฒนธรรม

    ช่างปฏิมากรชาวกรีกในนครตักศิลาและแคว้นคันธารราฐจึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์แรกขึ้น
    ในความหมายของพระโพธิสัตว์ของมหายาน มหาบุรุษในคัมภีร์มหาปุริสลักขณะของพราหมณ์
    ผสมผสานกับเทพเจ้าแห่งความเมตตาของชาวกรีกมหาเทพซีอุสหรือเทพอพอลโล

    ในรูปแบบของสรีระมนุษย์เพื่อประดับสถูปสถานเจดีย์ในพุทธศาสนา รูปแบบพุทธปฏิมากรรม
    ของช่างกรีกในเริ่มต้นนี้จึงน่าจะเรียกว่าศิลปะแบบสกุลช่างแบคเตรียแห่งแคว้นคันธารราฐอยู่
    ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๔

    คติในการสร้างพุทธปฏิมาของช่างกรีกน่าจะเริ่มต้นมาจากการนำพุทธประวัติมาใช้เป็นแนวทาง
    ในการสร้างผสมกับลักษณะของมหาบุรุษในคัมภีร์ของพราหมณ์ที่ให้พระเศียรทรงอุณหิสมงกุฏ
    หรือเครื่องทรงที่พระเศียร พุทธปฏิมาองค์แรกจึงมีพระเกศายาวขมวดมุ่นเป็นเมาฬีไว้บนพระเศียร
    อย่างเกศาของกษัตริย์แต่ไม่มีเครื่องประดับ ด้วยความแตกต่างของรูปที่มีพระเกศานี้เชื่อว่าในคราว
    ที่ช่างกรีกได้สร้างพระอัครสาวกถ้าหากมีพระเกศาด้วยจะทำให้แยกพระพุทธองค์กับพระสาวกออกจากกัน
    ได้ยาก จึงจำต้องใช้คติความเชื่อแบบมหายานผสมพราหมณ์

    โดยให้ถือเหตุที่พระพุทธองค์เป็นกษัตริย์หรือพระโพธิสัตว์จึงมีพระเกศามาลาให้แตกต่างไปจาก
    รูปพุทธสาวก คติดังกล่าวสืบทอดมาสู่ศิลปะคันธารราฐแบบมถุราของช่างกุษาณะในช่วงเวลาต่อมา
    ในช่วงแรกๆนั้น ช่างกรีกจะแกะสลักพระพุทธโพธิสัตว์ในปางนั่งสมาธิเพชรเพียงอย่างเดียว
    (หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้างขึ้น) การครองผ้าทำทั้งอย่างห่มดองและห่มคลุมทำลวดลายผ้า
    ตามความเป็นจริงเช่นเดียวกับเทพเจ้าของชาวกรีก รวมทั้งทำดวงพระพักตร์ให้งดงามเช่นเดียว
    กับเทพเจ้า พระรัศมีทำอย่างประภามณฑลเป็นแผ่นวงกลมอยู่ข้างหลังพระเศียร

    กิริยาท่าทางทำตามพุทธประวัติแบบมหายาน เช่น ในตอนตรัสรู้ก็จะทำรูปนั่งซ้อนพระหัตถ์เป็น
    กิริยาสมาธิ ในตอนชนะมารทำพระหัตถ์ขวาห้อยลงมาที่พระเพลาแสดงองค์ว่าทรงชี้อ้าง
    พระแม่ธรณีเป็นพยาน ในคราวปฐมเทศนารูปพระโพธิสัตว์จะจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลม
    หมายถึงพระธรรมจักร ในปางยมกปาฏิหาริย์สร้างเป็นรูปประทับนั่งอยู่บนดอกบัว
    ส่วนเมื่อคราวปรินิพพานก็ทำเป็นรูปประทับนอน

    หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเมนันเดอร์ ต่อมาอีก ๓๐ ปีชนเผ่าศกะหรือซินเถียน
    ลงมาจากทางภาคเหนือเข้าสู่ลุ่มน้ำโอซุสทำสงครามพิชิตจักรวรรดิกรีกแบคเตรีย
    และเข้าครอบครองแคว้นคันธารราฐรวมทั้งบ้านเมืองในลุ่มน้ำสินธุ
    สถาปนาอาณาจักรปาเที่ยน (Parthian) ขึ้น
    ชนชาติกรีกที่แบคเตรียถูกทำลายล้างจนสิ้นสุดลงในปลายพุทธศตวรรษที่ ๔...



    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%"><TBODY><TR bgColor=white><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    [​IMG]

    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD></TR><TR bgColor=white><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    พระพุทธรูปศิลปะกรีก หรือศิลปะคันธาราช มีเทพฮีราเคิ่ล (เฮอคิวลิส) ยืนคุ้มกันอยู่ข้างหลัง และจีวรก็เป็นอาภรณ์ของกรีกอย่างชัดเจน

    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD></TR><TR bgColor=lightgrey><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">


    [​IMG]

    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD></TR><TR bgColor=lightgrey><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    เหรียญพระพุทธรูปสมัย พระเจ้ากานีสกะ ในดินแดนแห่งอาณาจักรคันธาราช เป็นศิลปะเครื่องแต่งกายของกรีก

    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD></TR><TR bgColor=white><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD></TR><TR bgColor=white><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px"> </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px">
    [​IMG]

    พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่หน้าผาหิน เมือง บามียัน ประเทศอัฟกานีสถาน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ได้ยกเอาพระธรรมเทศนาบางส่วนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    จากหนังสือ "จาริกบุญ – จารึกธรรม" ซึ่งได้กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปไว้ด้วยเช่นกัน
    พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนาง สุวลักษณ์ จันทนะศิริ
    ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
    พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์สุรวัฒน์


    ต้นโพธิ์ – พระสถูป – พระพุทธรูป ทยอยมา อชันตา – เอลโลรา
    แถมมีโพธิสัตว์รูปด้วย


    ในเรื่องถ้ำเหล่านี้ ยังมีสิ่งที่ควรรู้ซ่อนอยู่อีกดังได้พูดไปแล้วว่า
    ถ้ำพระพุทธศาสนายุคแรกเป็นเถรวาท แล้วต่อมายุคหลังเป็นมหายาน
    ความแตกต่างที่จะเห็นได้ชัดระหว่างถ้ำเถรวาทกับถ้ำมหายานก็คือ

    ในพุทธศาสนาเถรวาทยุคแรกนั้นไม่มีพระพุทธรูป
    เหมือนในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งยังไม่มีพระพุทธรูป
    เพราะว่าชาวอินเดียแต่โบราณนับถือพระพุทธเจ้ามาก
    จนไม่กล้าสร้างรูป ไม่ใช่หมายความว่ารังเกียจรูป แต่เคารพมาก จึงไม่กล้าสร้างรูป


    ต่อมา พวกกรีกที่สืบสายมาจากแม่ทัพต่างๆ ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตั้งทิ้งไว้ได้มาเป็นมหากษัตริย์
    ปกครองดินแดนถิ่นแคว้นต่างๆ ในอินเดียสืบกันมา พวกเชื้อสายกรีกเหล่านี้ก็มีความนิยมตามแนว
    วัฒนธรรมเดิมของตนในการสร้างรูปเคารพเมื่อนับถือพระพุทธศาสนาก็เลยสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา
    ประมาณกันว่าราว พ.ศ. ๕๐๐ ได้เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาโดยศิลปะแบบกรีก

    ถ้ำของเถรวาทนั้น เมื่อกี้นี้บอกแล้วว่าสร้างประมาณ พ.ศ. ๓๕๐ ถึง ๕๐๐ หรือ ๕๕๐
    ในยุคนั้นเริ่มต้นก็ยังไม่มีพระพุทธรูป มีแต่พระสถูป


    ต่อมาตอนหลังๆ เมื่อถึงยุคมหายาน ก็มีพระพุทธรูปชัดเจน
    แต่ถ้ำยุคแรกๆเองต่อมาก็มีการไปสร้างพระพุทธรูปเติมเข้าในภายหลัง
    ที่ว่าไม่มีพระพุทธรูปนั้นหมายถึงเถรวาทยุคแรก แต่เถรวาทยุคต่อมาก็มีพระพุทธรูปเหมือนกัน

    ยิ่งกว่านี้ยังมีตำนาน แต่ไม่ใช่ตำนานของเก่าแท้ที่บอกว่ามีการสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทร์
    ตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังอยู่แต่ไม่ใช่เป็นหลักฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับ


    อย่างไรก็ตามในสมัยเดิมนั้นถึงแม้ไม่มีพระพุทธรูปก็มีสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เป็นเครื่องเตือนใจ
    เป็นที่ระลึกแทนพระพุทธเจ้าเช่น ต้นโพธิ์ ยกตัวอย่างตอนที่พระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่พระเชตวัน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐีระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็คิดว่าทำอย่างไรดีจะได้มีอะไรเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า
    พระอานนท์ก็เลยได้ปลูกต้นโพธิ์ขึ้นต้นหนึ่ง ต้นโพธิ์นั้นอยู่ที่พระเชตวันเรียกว่า อานันทโพธิ
    คือต้นโพธิ์ของพระอานนท์ สำหรับเป็นเครื่องระลึกถึงแทนองค์พระพุทธเจ้า

    อย่างไรก็ตามเรื่องพระพุทธรูปยังไม่สำคัญเท่าไหร่อันนั้นเป็นเรื่องประวัติศาสตร์เท่านั้น
    เพราะว่าเมื่อเวลาผ่านมาชาวพุทธเถรวาทก็มีพระพุทธรูปตามสมัย

    ที่สำคัญก็คือคติพระโพธิสัตว์ที่โยมไปทุกถ้ำของมหายานจะมีพระโพธิสัตว์เป็นเหมือนองครักษ์
    อยู่ ๒ ข้างของพระพุทธรูปและโดยทั่วไปจะมีองค์ขวาชื่อว่าปัทมปาณี กับองค์ซ้ายชื่อวัชรปาณี

    ที่ว่าปัทมปาณีก็มาจาก ปัทม หรือ ปทุม แปลว่า ดอกบัว + ปาณี แปลว่า มือ
    ปัทมปาณีจึงแปลว่า มีดอกบัวอยู่ในมือ
    ส่วน วัชรปาณีก็แปลว่า มีวัชรคือสายฟ้าอยู่ในมือ

    นี้เป็นพระโพธิสัตว์ ๒ องค์ที่เป็นเหมือนองครักษ์อยู่ ๒ ข้างของพระพุทธรูปในถ้ำของมหายาน
    ปัทมปาณีนั้นเป็นนามหนึ่งของพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งมหากรุณา

    ส่วนวัชรปาณีเป็นพระโพธิสัตว์แห่งฤทธานุภาพ
    (ในชุด ๓ จะมีพระมัญชุศรีพระโพธิสัตว์แห่งปัญญาอีกองค์หนึ่ง)
    คติพระโพธิสัตว์นี้แหละที่เป็นเรื่องน่าสังเกตและเป็นเรื่องที่สันนิษฐานว่าเป็นวิวัฒนาการ
    ของพระพุทธศาสนายุคที่จะเริ่มกลมกลืนเข้ากับศาสนาฮินดู ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของการเสียหลัก
    ของพระพุทธศาสนา เสียหลักอย่างไร ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่า
    ศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์นั้น
    ถือเรื่องเทพเจ้าเป็นใหญ่และมีพิธีบูชายัญ หมายความว่า ตัวเทพเจ้าเองเป็นสิ่งสูงสุดมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
    และอำนาจดลบันดาล ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเหล่านั้นคือการอ้อนวอนเพื่อขอผลให้แก่ตน

    ครั้นมาในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทคือเดิมแท้นี้
    พระพุทธเจ้าได้ดึงจากเทพมาสู่ธรรมโดยถือคติของกฏธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
    ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกฎธรรมชาติคือการกระทำเหตุนั่นคือหลักกรรม


    ต่างจากศาสนาพราหมณ์ที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพคือการเซ่นสรวงอ้อนวอน
    เอาอกเอาใจ บูชายัญ ความสัมพันธ์ตามหลักพระพุทธศาสนาระหว่างมนุษย์กับธรรมคือกรรมนี้
    โยมคงแยกได้นะ ของเขามีเทพแล้วมนุษย์สัมพันธ์กับเทพโดยวิธีบูชายัญ ส่วนของพระพุทธศาสนานั้น
    พระพุทธศาสนาสอนธรรมคือ ตัวกฎธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมคือกรรม
    ได้แก่การกระทำตามเหตุผลด้วยความรู้ธรรมนั้น ถ้าเรายิ่งรู้ธรรมด้วยปัญญามากเท่าไหร่
    เราก็พัฒนากรรมของเราให้ดีขึ้นเท่านั้น เราพัฒนากรรมด้วยการที่มีสิกขา
    คือการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตน พระพุทธศาสนาแบบเดิมมีหลักการมาอย่างนี้


    พระโพธิสัตว์ : เสริมพลังเดินหน้า หรือพาเขวออกจากทาง

    ต่อมาพระพุทธศาสนายุคหลัง ต้องแข่งกับฮินดูมากขึ้น
    ฮินดูมีเทพเจ้าไว้ให้ชาวบ้านอ้อนวอน บวงสรวง
    ศาสนาพราหมณ์นั้นก็เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว เขามีพิธีบูชายัญขนาดเอาคนบูชายัญ

    สภาพความเชื่อถือแบบนี้ล้างยากมาก คนจำนวนมากก็ชอบที่จะให้คนอื่นมาช่วย
    ยิ่งเป็นอำนาจยิ่งใหญ่อัศจรรย์มาช่วยก็ยิ่งครึ้มใจ
    ส่วนเรื่องที่จะเพียรพยายามด้วยตัวเอง โดยใช้ปัญญานั้นมันแสนยาก
    มนุษย์จำนวนมากจึงมีความโน้มเอียงที่จะหันไปหาการอ้อนวอนขอผลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์


    เป็นไปได้ว่า พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนี้ได้พยายามเริ่มเอาอกเอาใจประชาชน
    ด้วยการสนองความต้องการแบบนี้ขึ้นมาบ้างโดยคิดว่า
    ทำอย่างไรดีจะหาอะไรมาช่วยปลอบขวัญประชาชนให้เขามีสิ่งที่จะมาช่วยบ้าง
    ทีนี้ก็คิดไปถึง คติพระโพธิสัตว์ คือเรามีคติพระโพธิสัตว์อยู่เดิมก่อนแล้ว
    พระโพธิสัตว์ก็คือพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ หมายถึงท่านผู้บำเพ็ญบารมีมาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้า
    พระโพธิสัตว์นั้นตั้งใจบำเพ็ญความดีอย่างยอดยิ่ง อย่างสูงสุด โดยไม่ยอมแก่ความลำบากยากแค้น
    และสามารถเสียสละแม้แต่ชีวิตตนเองเพื่อบำเพ็ญความดี ในการบำเพ็ญความดีนั้นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ
    การช่วยเหลือผู้อื่นอย่างที่เห็นในชาดกต่างๆ

    ที่พระโพธิสัตว์เสียสละตัวเอง เสียสละทรัพย์สินสมบัติ เสียสละเลือดเนื้ออวัยวะ
    และเสียสละแม้แต่ชีวิตเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หรือสัตว์อื่นได้ ก็เป็นอันว่าพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี
    มีความเสียสละที่จะช่วยผู้อื่น แต่คติพระโพธิสัตว์เดิมนั้นมีความหมายสำหรับชาวพุทธอย่างไร
    คติโพธิสัตว์เดิมมีความหมายต่อชาวพุทธว่า พระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างแก่เราทุกคนในการทำความดี
    ให้ชาวพุทธเอาอย่างพระโพธิสัตว์ในการที่จะทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ตัวเองเลย
    ยอมเสียสละแม้แต่ชีวิตของตัวเองเพื่อทำความดี และเพื่อช่วยเหลือผู้อี่นได้
    เป็นคติที่สอนเพื่อให้ทำตามอย่างพระโพธิสัตว์

    แต่มหายานทำไปทำมา คนกลายเป็นมองคติโพธิสัตว์ใหม่ในแง่ว่า
    พระโพธิสัตว์ท่านมีมหากรุณาและอานุภาพยิ่งใหญ่ที่จะช่วยเหลือสัตว์ทั้งหลาย
    เลยทำให้เกิดจุดเน้นไปว่า ถ้ามนุษย์เราหวังความช่วยเหลือ
    เราก็ไปหาพระโพธิสัตว์ขอให้ท่านช่วยได้ คล้ายกับไปขอผลจากเทวดา
    ตกลงก็เลยมีคติโพธิสัตว์แบบมหายานขึ้นมา


    อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์ที่เราพูดถึงทั่วไปแต่เดิม คือพระโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้สิ้นชีวิตไปก่อนหมดแล้ว พระโพธิสัตว์ของเถรวาท
    มุ่งเอาโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันซึ่งได้ทำความดีไว้เป็นแบบอย่างให้เราทำอย่างนั้นบ้าง
    แต่ท่านสิ้นชีวิตไปหมดแล้ว แม้แต่องค์พระพุทธเจ้าเองก็ได้ปรินิพพานไปแล้ว

    มหายานก็คิดว่า แล้วจะทำอย่างไรให้มีพระโพธิสัตว์ที่ยังรอช่วยผู้คนอยู่ได้
    ถึงตอนนี้ก็นึกได้หลักการแต่เดิมที่ว่า ความเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ผูกขาดอยู่กับพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
    ใครบำเพ็ญบารมีจนครบบริบูรณ์ก็เป็นพระพุทธเจ้าได้ พระพุทธเจ้าก็มีเรื่อยไป

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้าอีกมากมายก็ยังบำเพ็ญบารมีเป็นโพธิสัตว์อยู่
    คือยังช่วยเหลือสัตว์โลกอยู่ ถ้าอย่างนั้นเราก็เอาพระโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้ามาสิ
    จะได้มาช่วยมนุษย์ในปัจจุบันได้ ตกลงมหายานก็เลยไม่เอาพระโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

    แต่หันไปหาพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ตรัสรู้ ยังไม่เป็นพุทธะ ซึ่งยังบำเพ็ญบารมีอยู่
    แล้วเอามาให้ชาวพุทธนับถือจะได้มาช่วยเหลือคนทั้งหลายได้
    ตอนนี้ก็เท่ากับว่าทางพุทธศาสนามหายานนี้ได้คู่แข่งที่จะมาชดเชยความเชื่อแบบอ้อนวอนเทพเจ้าแล้ว


    คือมีพระโพธิสัตว์มาช่วย สัตว์ทั้งหลายที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถขอร้องพระโพธิสัตว์
    พระอวโลกิเตศวร ผู้เต็มไปด้วยพระมหากรุณาให้มาช่วยเรา เพราะฉะนั้นชาวพุทธก็ไปขอร้อง
    ไปอ้อนวอนพระโพธิสัตว์แบบใหม่นี้ ท่านก็มาช่วยเหลือ

    คราวนี้คุณไม่ต้องไปอ้อนวอนเทพเจ้าฮินดูนะ ไม่ต้องไปอ้อนวอนพระพรหม
    ไม่ต้องไปอ้อนวอนพระนารายณ์แต่คุณมาหาพระโพธิสัตว์ก็ได้ พระโพธิสัตว์ก็ช่วยได้
    เป็นอันว่าพระพุทธศาสนามหายานก็มีพระโพธิสัตว์มาแข่งกับเทพเจ้าฮินดู

    แต่ก็อีกนั่นแหละ ของพุทธนี่แข่งไม่ได้เต็มที่ เพราะว่าเทพเจ้าฮินดูนั้นเขาแสดงกิเลส
    ได้เต็มที่ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ ว่ากันได้เต็มที่
    เทพเจ้าสามารถใช้ฤทธิ์ประหัตประหารคนอื่น ยกทัพทำสงครามกันก็ได้

    แต่พระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาท่านบำเพ็ญคุณธรรม มีแต่ความดีไม่มีการทำร้ายใคร
    ทีนี้มนุษย์ที่เป็นปุถุชนนี้มันมีเรื่องโกรธแค้นกัน อยากจะทำร้ายผู้อื่นบ้าง
    อยากจะหาผลประโยชน์ให้แก่ตัวให้เต็มที่โดยไม่ต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของใครบ้าง
    เมื่อมาหาเทพเจ้าๆก็สนองความต้องการได้เต็มที่ จะฆ่า จะทำลายศัตรูก็ได้
    แต่ถ้ามาหาพระโพธิสัตว์ ท่านมีคุณธรรม มีแต่เมตตากรุณา ท่านไม่ทำสิ่งที่ร้าย
    เพราะฉะนั้นการอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ก็ไม่สามารถแทนเทพเจ้าของฮินดูได้จริง
    เพราะจำกัดด้วยขอบเขตของคุณธรรม

    ถึงตอนนี้ก็คือ พระพุทธศาสนานอกจากเสียหลักแล้ว ยังเสียเปรียบเขาด้วย
    คติโพธิสัตว์เดิมนั้นคือเป็นแบบอย่างให้ทุกคนจะต้องเพียรพยายามทำความดีให้ได้อย่างนั้นๆ
    แม้แต่เสียสละตนเองหรือชีวิตของตนเพื่อทำความดีอย่างเต็มที่


    แต่ตอนนี้ตามคติโพธิสัตว์ใหม่ กลายเป็นว่ามีพระโพธิสัตว์ผู้เสียสละคอยช่วยเหลือเราอยู่แล้ว
    เราก็ไปขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ เราไม่ต้องทำ เมื่อเป็นอย่างนี้ความหมายของพระโพธิสัตว์
    ก็พลิกไปเลย ถ้าเรามาดูในปัจจุบันนี้ ที่นับถือกันอย่างเจ้าแม่กวนอิม ก็คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
    ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์เดิมที่เกิดมีขึ้นในอินเดียตามหลักมหายาน ที่ว่าเมื่อกี้

    ต่อมาเมื่อเข้าไปในเมืองจีน แปลชื่อเป็นภาษาจีนแล้ว ศัพท์กร่อนลงมาเหลือแค่กวนอิม
    และเพศก็กลายเป็นหญิงไป ตามเรื่องที่เคยเล่าหลายครั้งแล้ว ตำนานหนึ่งเล่าว่า
    ครั้งหนึ่งพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีนประชวรหนักไม่มีแพทย์หลวงหรือแพทย์ราษฎร์ที่ไหนจะรักษาได้
    ก็เลยร้อนถึงพระอวโลกิเตศวรกวนอิมนี้จะมาช่วยรักษา แต่ว่าในราชสำนักนั้น ผู้ชายเข้าไปไม่ได้
    พระอวโลกิเตศวรก็เลยต้องแปลงร่างเป็นสตรี แล้วก็เข้าไปรักษาพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีนให้หาย
    เสร็จแล้วแปลงร่างกลับไม่ได้ก็เลยเป็นผู้หญิงสืบมา

    ปราชญ์สันนิษฐานว่า คติพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหรือกวนอิมนี้ เข้าไปจีนราวพ.ศ. ๖๐๐
    ซึ่งก็เป็นระยะแรกๆของการเกิดคติโพธิสัตว์แบบมหายาน น่าสังเกตว่าพระโพธิสัตว์พระองค์ต่างๆ
    ของมหายานนี้พัฒนาขึ้นในระยะเดียวกับพระศิวะ (อิศวร) และวิษณุ (นารายณ์)
    กำลังเริ่มปรากฏองค์เด่นขึ้นมาในศาสนาฮินดู (พระพรหมด้อยลง)


    และเป็นยุคเดียวกันกับที่ศาสนาคริสต์ก็กำลังเกิดขึ้นด้วย
    แต่รวมแล้วก็เป็นคติที่แข่งกับฮินดูซึ่งมีการอ้อนวอนขอผล ถ้าเราไม่ระวังรักษาหลักการให้ดี
    พระพุทธศาสนาก็จะโน้มเอียงไปทางศาสนาฮินดู เมื่อมหายานมาเป็นอย่างนี้ ก็ต้องถือว่าเสียหลัก
    และการที่เสียหลักนี้ ก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กลืนกับศาสนาฮินดูได้ต่อมา

    การที่เสียหลักก็คือ ย้ายจุดเน้นจากการที่ใช้ความเพียรพยายามทำกรรมดีต่างๆด้วย
    ฉันทะ วิริยะ อุตสาหะ ไปเป็นลัทธิอ้อนวอนขอผลอะไรต่างๆ ก็เลยไปใกล้กับศาสนาฮินดู
    ไปๆมาๆราวพ.ศ. ๑๐๐๐ ฮินดูก็เริ่มแต่งเรื่องเอาพระพุทธเจ้าเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ ๙ ไปเลย

    เดี๋ยวนี้ฮินดูที่นับถือพระวิษณุสร้างเทวาลัย
    บางแห่งวางรูปพระนารายณ์ไว้ตรงกลางแล้วก็เอารูปพระพุทธเจ้า ไปวางไว้ข้างๆเป็นบริวารเลย
    ที่ว่านี้ก็เป็นเรื่องของวิวัฒนาการซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่มีในถ้ำที่อชันตา – เอลโลรา
    ด้วยก็เป็นได้ แต่วันนี้อาตมาเล่าโดยสัมพันธ์กับเรื่องของประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาทั่วไป...


    อ้างอิงจากหนังสือ "อัฟกานิสถาน แหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกในโลก"


    [​IMG]


    อ้างอิงจากหนังสือ " จารึกบุญ จารึกธรรม "


    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...