อัปปสุตสูตร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เฟลม, 13 พฤศจิกายน 2011.

  1. เฟลม

    เฟลม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +15
    อัปปสุตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน

    คือ บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
    บุคคลผู้มีสุตะน้อย เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
    บุคคลผู้มีสุตะมาก ไม่เข้าถึงด้วยสุตะ ๑
    บุคคลผู้มีสุตะมาก เข้าถึงด้วยสุตะ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อย ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
    อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย
    เขาหาได้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
    บุคคลผู้มีสุตะน้อยไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย
    เขาย่อมรู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    บุคคลผู้มีสุตะน้อยเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมาก ไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก
    เขาหาได้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่
    บุคคลผู้มีสุตะมากไม่เข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสุตะมากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างไร
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก
    เขารู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    บุคคลผู้มีสุตะมากเข้าถึงด้วยสุตะอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

    ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์
    ทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้งโดยศีลและสุตะทั้งสอง ถ้า
    บุคคลแม้มีสุตะน้อย ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อม
    สรรเสริญเขาโดยศีล แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์ ถ้าบุคคล
    แม้มีสุตะมาก ไม่ตั้งมั่นแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมติเตียน
    เขาโดยศีล แต่สุตะของเขาสมบูรณ์ ถ้าบุคคลแม้มีสุตะ
    มาก ตั้งมั่นดีแล้วในศีล นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญเขา ทั้ง
    โดยศีล และสุตะทั้งสอง ใครควรเพื่อจะติเตียนเขาผู้เป็น
    พหูสูต ผู้ทรงธรรม เป็นพุทธสาวกผู้มีปัญญา ผู้เป็นประดุจ
    แท่งทอง ชมพูนุช แม้เทวดาก็ย่อมชมเชย แม้พรหมก็
    สรรเสริญ ฯ

     
  2. เฟลม

    เฟลม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +15
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    นวังคสัตถุสาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 — the Teacher’s nine-factored dispensation the Master’s ninefold teaching)
    1. สุตฺตํ (สูตร ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือ สุตตันตะ กล่าวง่ายคือ วินัยปิฎก คัมภีร์นิทเทสทั้งสอง และพระสูตรทั้งหลาย — threads; discourses)
    2. เคยฺยํ (เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน หมายเอาพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย — discourses mixed with verses; songs)
    3. เวยฺยากรณํ (ไวยากรณ์ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ 8 ข้อที่เหลือ — prose-expositions)
    4. คาถา (คาถา ได้แก่ ความร้อยกรองล้วน หมายเอา ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร — verses)
    5. อุทานํ (อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ พร้อมทั้งข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร 82 สูตร — exclamations; psalms; verses of uplift)
    6. อิติวุตตกํ (อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร 110 สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา — thus-said discourses)
    7. ชาตกํ (ชาดก ได้แก่ ชาดก 550 เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น — birth-stories)
    8. อพฺภูตธมฺมํ (อัพภูตธรรม หรือเรื่องอัศจรรย์ ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยข้ออัศจรรย์ ไม่เคยมี ทุกสูตร เช่น ที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี 4 อย่างนี้ หาได้ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น — marvelous ideas)
    9. เวทลฺลํ (เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถามตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจ ถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น — question and-answer; catechetical suttas)

    คำว่า นวังคสัตถุสาสน์ นี้ เป็นคำรุ่นคัมภีร์อปทาน พุทธวงส์ และอรรถกถาทั้งหลาย บางทีเรียกว่า ชินสาสน์ บ้าง พุทธวจนะ บ้าง ส่วนในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ธรรม บ้าง สุตะ บ้าง

    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=302
     
  3. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ
    ในการให้พระธรรมเป็นทานด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...