ออกพรรษ กฐิน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 5 ตุลาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    โดย ปถพีรดี

    ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา จึงมีประเพณี

    และวันสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธ

    ศาสนิกชนบำเพ็ญบุญกุศลเป็นเนื้อนาบุญของตน

    และสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระสัมมา

    สัมพุทธเจ้า ที่ประทานพระบวรพุทธศาสนาไว้เป็น

    แนวทางแห่งสัมมาปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางสร้างสรรค์

    ความสุข สงบ และสันติแก่ตน แก่ครอบครัวและ

    ประเทศชาติ ตามประเพณีทางพุทธศาสนาของ

    ไทย มีวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ

    และน้อมนำตนให้ยึดมั่นในสัมมาปฏิบัติ หรือปฏิบัติดี

    ปฏิบัติชอบหลายวันตลอดปี เช่น วันมาฆบูชา

    (กุมภาพันธ์) วันสงกรานต์ (เมษายน) วันวิสาขบูชา

    (พฤษภาคม) วันอาสาฬหบูชา (กรกฎาคม) วันเข้าพรรษา

    (กรกฎาคม) วันออกพรรษา (ตุลาคม) โดยเฉพาะวันออก

    พรรษานั้นในปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ นี้ ตรงกับวันที่ ๑๙

    ตุลาคม จะมีประเพณีทอดกฐินตามมา


    พระคุณเจ้าพระธรรกิตติวงค์ (ทองดี สุรเตโช)

    เปรียญธรรม ๙ วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ) และราช

    บัณฑิต สำนักศิลปกรรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้

    อรรถาธิบายคำว่า ออกพรรษา และกฐิน ไว้ในหนังสือ

    พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำจัด ซึ่ง

    พระคุณเจ้ามีเมตตาอนุญาตให้ผู้สนใจนำความรู้ออก

    เผยแพร่เป็นประโยชน์แก่มหาชนได้ ดังนี้

    ๑. ออกพรรษา หมายถึงการพ้นกำหนดระยะเวลา

    การเข้าพรรษาครบ ๓ เดือนแล้ว

    ออกพรรษา ไม่ต้องกล่าวคำอธิษฐานเหมือนเข้าพรรษา

    เมื่อครบกำหนด ๓ เดือนแล้วก็เป็นอันออกพรรษา

    ออกพรรษา มีระยะกาล ๒ ครั้ง เหมือนเข้าพรรษา คือ ถ้า

    เข้าปุริมพรรษาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ออกพรรษาก็เป็นวัน

    ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าเข้าปัจจิมพรรษาออกพรรษาก็

    เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

    ในวันออกพรรษา พระวินัยกำหนดให้พระสงฆ์อยู่

    จำพรรษาทำปวารณาก่อนที่จะแยกย้ายกันไป วันออก

    พรรษาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา (คำวัด
    หน้า ๑,๒๙๖)

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา

    เป็นฤดูกาลบำเพ็ญกุศลกฐินทาน หนังสือคำวัด

    อธิบายเกี่ยวกับกฐินไว้ ดังนี้

    กฐิน เป็นภาษาพระวินัย เป็นชื่อเรียกผ้าพิเศษ

    ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ ๓

    เดือนแล้ว รับมานุ่งห่มได้

    กฐิน แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้หรือ

    ไม้แบบสำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร ผ้าที่เย็บสำเร็จ

    จากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน

    กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้า

    ชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วัน

    แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

    (วันเพ็ญเดือน ๑๒) ระยะนี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะ

    เวลาทอดกฐินหรือเทศกาลทอดกฐิน

    มีคำที่เกี่ยวกับเรื่องกฐินที่ควรทราบหลายคำ เช่น

    กฐินทาน จองกฐิน ทอดกฐิน องค์กฐิน บริวารกฐิน

    (ซึ่งจะอธิบายต่อไป) และกฐินก็มีหลายชนิด ได้แก่

    กฐินหลวง กฐินราษฎร์ กฐินตกค้าง กฐินโจร

    กฐินทาน แปลว่า การถวายผ้ากฐิน การทอดกฐินสิ่ง

    ของถวายร่วมกับผ้ากฐิน กฐินทานหมายถึงการที่

    ทายกทายิกาผู้มีศรัทธา นำผ้าพร้อมทั้งบริวารไป

    ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาครบ ๓ เดือน ที่วัดใดวัดหนึ่ง

    ภายในเขตกำหนด (คือ ๑ เดือน นับแต่วันออกพรรษา)

    เพื่อให้สงฆ์วัดนั้นประกอบสังฆกรรม ทำเป็นผ้ากฐิน

    แล้วอนุโมทนารับอานิสงส์ตามพระวินัยต่อไป เรียก

    กฐินทานโดยทั่วไปว่า ทอดกฐินบ้าง ถวายกฐินบ้าง

    กฐินทาน มิใช่เฉพาะทายกทายิกาหรือชาวบ้านเท่านั้น

    ที่ทำได้ แม้ภิกษุสามเณรก็สามารถทำคือ เป็นเจ้าภาพ

    กฐินและทอดกฐินได้ แต่ต้องมิใช่วัดที่ตนเองจำพรรษา

    อยู่เท่านั้น ไปทอดวัดอื่น ๆท่านไม่ห้าม

    กฐินหลวง คือ กฐินที่ทอดถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษา

    ในวัดหลวง คือวัดในพระพุทธศาสนาที่ได้รับยกย่อง

    สถาปนาให้เป็นวัดพิเศษจากวัดราษฎร์ทั่วไปเรียกเต็ม

    ว่า พระอารามหลวง วัดที่จะได้รับสถาปนาเป็นพระอาราม

    หลวงนั้นจะต้องมีลักษณะอย่างน้อย ๓ ประการ ดังนี้

    ๑. เป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนา หรือ

    พระราชวงศ์ชั้นสูงสร้าง

    ๒. เป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสนับสนุนให้

    พระราชวงศ์หรือข้าราชบริพารสร้าง

    ๓. เป็นวัดราษฎร์ที่ได้รับการยกขึ้นเป็นพระอาราม

    หลวง โดยได้ลักษณะตามกฎเกณฑ์การยก

    วัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ถาวรวัตถุภาย

    ในพระอารามหลวงที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น

    อุโบสถ วิหาร ระเบียง มณฑป ก็ให้เติมคำว่า

    “พระ” นำหน้าด้วย เป็นพระอุโบสถ พระวิหาร

    พระระเบียง พระมณฑป (คำวัด หน้า ๘๗๐)

    กฐินหลวง แบ่งเป็น ๒ ประเภท

    ๑. ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวาย

    ด้วยพระองค์เองเรียกว่า พระกฐินหลวง

    ๒. พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์

    หน่วยราชการ หรือประชาชนที่กราบบังคมทูลขอพระราช

    ทานไปทอดที่วัดหลวงแทนพระองค์เรียกว่า กฐินพระราช

    ทาน

    ๓. กฐินหลวง ประกอบด้วย องค์กฐิน คือ ผ้ากฐินและ

    บริวารกฐินที่เป็นของทางราชการ มีงบประมาณจัดไว้

    โดยเฉพาะ และมีจำนวนเท่าวัดหลวงในประเทศทั้งหมด

    แต่ผู้ขอพระราชทานทอดกฐินหลวงสามารถจัดบริวาร

    กฐินถวายวัดเพิ่มได้ ไม่มีข้อห้าม


    กฐินต้น คือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำ

    เนินไปถวายที่วัดราษฎร์อย่างไม่เป็นทางราชการ ที่เรียก

    เช่นนี้เพราะเป็นการเนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน มีลักษณะ

    เดียวกับคำว่า ประพาสต้น ช้างต้น ม้าต้น พระธรรมกิต

    ติวงศ์อธิบายเกี่ยวกับกฐินไว้ในหนังสือ คำวัด ดังนี้

    กฐินต้น เป็นกฐินที่ไม่กำหนดวัดแน่นอน แล้วแต่จะ

    ทรงพระกรุณาโปรดวัดใดถือเป็นพระราชกุศลส่วนพระองค์

    ตามพระราชอัธยาศัย ส่วนใหญ่จะเป็นวัดตามหัวเมืองที่ทรง

    พระศรัทธา และมิใช่เป็นวัดหลวง เพราะกฐินวัดหลวงถือว่า

    เป็นของหลวงหรือของพระเจ้าแผ่นดินโดยตรงอยู่แล้ว

    กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฎรหรือชาวบ้านทั่วไป

    จัดการทอดกันเองที่วัดราษฎร์ เช่น วัดในหมู่บ้าน

    (หรือวัดที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างไว้เป็นพุทธบูชาหรือวัดทั่ว

    ไป) กฐินราษฎร์อาจมีเจ้าภาพทอดคนเดียวที่เรียกว่า เจ้า

    ภาพกฐินก็ได้ อาจรวมกันเป็นหมู่เป็นคณะไปทอดร่วมกันที่

    เรียกว่า กฐินสามัคคี ก็ได้ แม้การทอดจุลกฐินก็นับเป็น

    กฐินสามัคคีเช่นกัน กฐินราษฎร์ส่วนใหญ่ทำกันเป็นงาน

    ใหญ่เอิกเกริก ถือว่าเป็นบุญใหญ่ได้บุญอานิสงส์มาก

    เช่น ทำบุญฉลองก่อนนำไปทอดบ้าง เวลานำไปวัด บ้าง

    ก็แห่แหนไปทางน้ำ บ้างก็ไปทางบก บ้างนำขึ้นหลังช้าง

    หลังม้า หรือใส่รถแล้วแห่แหนกันไป ทำให้ดูเป็นงานบุญ

    ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญ

    จุลกฐิน (อ่านว่า จุนละกะถิน) หมายถึง กฐินรีบด่วน

    กฐินที่ใช้เวลาเตรียมน้อย จุลกฐิน เป็นคำเรียกพิธีทอดกฐิน

    ที่ต้องเร่งรีบ ทำให้เสร็จภายในวันเดียว เริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้าย

    ทอเป็นผืนผ้า เย็บ ย้อม ตากแห้งแล้วนำไปทอดเป็นผ้า

    กฐิน พระสงฆ์รับแล้วก็รีบกรานกฐินในวันนั้นด้วย ทำดังนี้

    จึงเป็นจุลกฐิน กว่าจะเป็นจุลกฐินได้จะต้องใช้ผู้คนมาก

    และมีความชำนาญเป็นพิเศษ กะเวลาได้ถูกจึงจะเสร็จ

    ทันเวลา และขณะทำจะดูชุลมุนกันไปหมด เพราะต้อง

    เร่งรีบให้ทัน ด้วยประการฉะนี้แล จึงเกิดมีสำนวนไทย

    เปรียบการทำงานที่ชุลมุนวุ่นวายเป็นโกลาหลเพื่อเร่งให้

    เสร็จทันตามกำหนดว่า “วุ่นเป็นจุลกฐิน”

    (ในปัจจุบัน วิถีชีวิตในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต มี

    สิ่งอำนวยความสะดวกมาก จึงไม่มีการทอดจุลกฐินแล้ว

    หรืออาจมีบ้างก็เพียงเพื่อรักษาประเพณีเท่านั้น)

    กฐินโจร เป็นสำนวนพูด หมายถึง กฐินที่ไปทอดโดย

    ไม่ได้จองล่วงหน้า ไปทอดแบบจู่โจม เรียกว่า กฐินจร ก็มี

    ในการทอดกฐินทั่วไป มีธรรมเนียมว่าต้องจองกฐินล่วง

    หน้า การที่จัดเครื่องกฐินพร้อมสรรพแล้วนำไปทอดที่วัด

    ซึ่งยังไม่มีผู้จองกฐินทันทีทันใดแบบจู่โจม หรือบอก

    กะทันหันแบบตั้งตัวไม่ทันเหมือนโจรบุกขึ้นบ้าน จึงเรียก

    ว่า กฐินโจร หรือเรียกว่า กฐินจร เพราะเป็นกฐินที่สัญจร

    มาโดยไม่มีการนัดหมาย ซึ่งการทอดกฐินแบบนี้ ไม่มีให้

    เห็นแล้วในปัจจุบัน กฐินโจรคำนี้อาจเกิดมาจากล้อคำว่า

    กฐินโจล ซึ่งก็แปลว่า ผ้ากฐิน เพราะมีเสียงคล้ายกัน

    จึงขอยืมมาล้อในกรณีที่มีการทอดกฐินแบบจู่โจม

    หรือไม่มีการบอกล่วงหน้าตามธรรมเนียมกฐินทั่วไป

    จองกฐิน หมายถึง การแสดงความจำนงไว้กับวัดว่า

    จะนำกฐินมาทอดถวายแก่สงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้น จอง

    กฐิน เป็นธรรมเนียมนิยมที่ปฏิบัติกันทั่วไป ผู้ที่ต้องการจะ

    ทอดกฐินวัดใด จะต้องไปจองหรือไปแจ้งความจำนงไว้กับ

    วัดนั้นก่อน เพื่อความแน่นอนและป้องกันการจองกฐินซ้ำ

    ซ้อน การจองกฐินนิยมจองก่อนเข้าพรรษา หรือหลังจาก

    เข้าพรรษาแล้วไม่นาน ที่จองกันข้ามปีก็มี แต่ถ้าไม่มีการ

    จองเลยจนออกพรรษา เรียกว่า กฐินตกค้าง จองกฐินนิยม

    ทำเป็นหนังสือระบุวันเวลาที่จะทอดและรายละเอียดอื่น ๆ

    เมื่อวัดรับรองแล้วจะประกาศให้พระสงฆ์ในวัด และชาว

    บ้านได้ทราบ เพื่อให้รู้ว่าปีนี้ใครเป็นเจ้าภาพกฐิน และเมื่อ

    วัดรับจองกฐินของผู้ใดแล้ว จะไม่รับจองของผู้อื่นอีก

    องค์กฐิน หมายถึง ผ้ากฐิน คือผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน

    จำนวน ๓ ผืน หรือไตรจีวร ที่ผู้มีศรัทธานำไปทอดแก่สงฆ์

    ผู้อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน ณ วัดใดวัดหนึ่ง เมื่อสงฆ์รับ

    แล้วก็นำไปกรานกฐินตามพระวินัยต่อไป

    องค์กฐิน เป็นคำเรียกเฉพาะผ้าผืนใดผืนหนึ่ง ที่พระ

    ท่านอธิษฐานเป็นผ้ากฐิน แต่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า หมาย

    ถึงผ้าไตรทั้ง ๓ ผืนที่เรียกไตรครอง เพราะเมื่อทอดกฐิน

    นิยมทอดถวายครบทั้งไตร แท้จริงแม้พระจะรับทั้งไตร

    แต่เวลาจะกรานกฐิน ท่านจะกำหนดเลือกเพียงผืนใดผืน

    หนึ่งเท่านั้นเป็น ผ้ากฐิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือก สังฆาฏิ

    เพราะสามารถนำติดตัวไปได้สะดวก ส่วนผ้าที่เหลืออีก

    ๒ ผืน รวมทั้งผ้าหรือสิ่งของที่นำไปถวายพร้อมกับองค์

    กฐิน เรียกว่า บริวารกฐิน

    บริวารกฐิน หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จัด

    เตรียมไปถวายวัดร่วมกับองค์กฐิน หรือผ้ากฐิน โดยถือว่า

    เป็นของบริวารหรือเป็นองค์ประกอบของผ้ากฐิน เรียกว่า

    เครื่องกฐิน ก็ได้ บริวารกฐินเป็นสิ่งของที่จัดถวายวัดใน

    วันทอดกฐินตามธรรมเนียม ส่วนใหญ่จะเป็นของจำเป็น

    สำหรับภิกษุใช้สอย เช่น เสื่อ หมอน มุ้ง กาต้มน้ำ

    กระติกน้ำ และของสำหรับใช้สอยร่วมในวัด เช่น ยารักษา

    โรค เครื่องครัว เครื่องมือก่อสร้างซ่อมแซมวัด เครื่องใช้

    ไฟฟ้า ตลอดถึงเครื่องมือทำความสะอาดวัด สิ่งของเหล่า

    นี้นิยมจัดไปถวายวัดที่ไปทอดกฐินทุกแห่ง แม้แต่กฐิน

    หลวงก็จัดสิ่งของเหล่านี้ไปถวายด้วยเหมือนกัน บริวารกฐิน

    นับรวมถึงปัจจัย (เงิน) ผ้าที่นอกจากจากผ้ากฐินและผ้าป่า

    ที่นำไปทอดร่วมกับกฐิน ซึ่งเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐินด้วย

    ทอดกฐิน หมายถึง การทำพิธีถวายผ้ากฐินแก่สงฆ์ผู้

    จำพรรษาครบ ๓ เดือน ณ วัดใดวัดหนึ่ง ทอด เป็นสำนวน

    ที่ใช้เฉพาะในการถวายผ้ากฐินกับผ้าป่าโดยเฉพาะ กล่าว

    คือนิยมใช้ว่า ทอด ไม่ใช้ ถวาย กล่าวคือ ผ้ากฐินกับผ้าป่า

    ไม่นิยมประเคน นิยมนำไปวางทอดต่อหน้าพระเฉย ๆ เป็น

    กิริยาพอให้รู้ว่าถวายเท่านั้น เมื่อพระท่านเห็นผ้า ท่านก็

    กำหนดเองว่านี่เป็นผ้ากฐินหรือผ้าป่า ดังนั้น ในเวลา

    อปโลกน์กฐิน จึงมีคำว่า “ผ้ากฐินทาน ...เป็นของบริสุทธิ์

    ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศ...” ปรากฏอยู่ เพราะเหตุที่

    ทอดถวายไว้ต่อหน้าพระด้วยความเคารพ จึงนิยมเรียกว่า

    ทอด ด้วยประการฉะนี้

    อปโลกน์กฐิน หมายความว่า ประกาศขอความเห็น

    จากสงฆ์ว่า สมควรจะถวายผ้ากฐินซึ่งมีผืนเดียวแก่ภิกษุ

    รูปใด ที่ประชุมตกลงให้ภิกษุรูปใด ก็เป็นไปตามนั้น การ

    ปฏิบัติแบบนี้ พระวินัยเรียกว่า อปโลกนกรรม

    กรานกฐิน เมื่อพระสงฆ์ในวัดรับผ้ากฐินแล้ว จะ

    ประชุมกันทำสังฆกรรมโดยยกผ้ากฐินนั้นให้แก่ภิกษุรูป

    หนึ่ง ภิกษุรูปนั้นรับผ้านั้นแล้วก็นำไปซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม

    ให้เสร็จภายในวันนั้น เสร็จแล้วก็ทำพินทุกัปปะอธิษฐาน

    เป็นผ้าครอง วิธีการทั้งหมดนี้เรียกว่า กรานกฐิน เมื่อ

    อธิษฐานแล้วภิกษุผู้กรานกฐินประกาศให้สงฆ์อนุโมทนา

    สงฆ์ก็รับทราบแล้วอนุโมทนา เรียกว่า อนุโมทนากฐิน

    เมื่อสงฆ์อนุโทนาแล้วก็จะได้รับอานิสงฆ์กฐิน คือได้

    รับยกเว้นพระวินัยบางประการ เช่น ไปในที่ต่าง ๆ โดย

    ไม่ต้องนำผ้าไตรจีวรติดตัวไปครบสามผืนได้

    ปัจจุบัน ผ้ากฐินส่วนใหญ่เป็นผ้าสำเร็จรูป กิจที่ต้องทำ

    เบื้องต้นคือ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม จึงไม่มี ภิกษุผู้กราน

    กฐินทำเพียงพินทุกัปปะ และอธิษฐานเป็นผ้าครองเท่านั้น

    พินทุกัปปะ แปลว่า การทำจุดกลมหรือวงกลมเล็ก ๆ

    การทำจุดเหมือนหยดนำ พินทุกัปปะ เป็นภาษาพระวินัย

    คือ ทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุได้จีวรใหม่มาต้องทำพินทุกัปปะ

    ก่อนใช้ โดยใช้สีอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ สี คือ สีเขียว

    คราม สีโคลน สีดำคล้ำ จุดที่มุมผ้านั้น วิธีจุดท่านสอนว่า

    ให้จุดเป็นวงกลม จุดใหญ่เท่าแววตานกยูง จุดเล็ก

    หลั่งตัวเรือด เรียกว่าทำ พินทุกัปปะ หรือ ทำพินทุ หรือ

    เรียกสั้น ๆ ว่า พินทุ ก็มี ที่ต้องทำท่านให้เหตุผลว่า เพื่อให้

    เสียสี หรือมีตำหนิว่าเป็นของเก่า จะได้ไม่เป็นที่ต้องการ

    ของขโมย และเพื่อให้เป็นเครื่องหมายจำได้ว่าเป็นของตน

    ครองกฐิน หมายถึง ปกครองรักษาผ้ากฐินโดยความ

    เป็นใหญ่ นุ่งห่มผ้ากฐินตามสิทธิที่ได้รับอนุมัติ ในพระวินัย

    กำหนดไว้ว่า พระสงฆ์ในวัดเมื่อได้รับผ้ากฐินแล้ว ต้อง

    ประชุมกันทำสังฆกรรมมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้รู้

    พระวินัยเรื่องกฐินดี เป็นผู้รับผ้ากฐิน ภิกษุผู้ได้รับมอบให้

    เป็นผู้รับผ้ากฐินนั้นก็ไปนุ่งห่มผ้ากฐิน แล้วมาประกาศให้

    พระสงฆ์ที่เหลืออนุโมทนา เรียกภิกษุผู้ได้รับผ้ากฐินนั้น

    ว่า "ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครอง"

    ภิกษุผู้ครองกฐินนั้นจะต้องรักษาผ้ากฐินด้วยการนุ่งห่ม

    เหมือนกับอยู่ในพรรษาตลอดกาลกฐิน คือ ต้องนำติดตัว

    ไปด้วยตลอดเวลา

    ข้อสังเกต ในบทความนี้มีคำว่า "ภิกษุ และพระสงฆ์" ซึ่ง

    ท่านผู้อ่านควรทราบด้วยว่า มีความแตกต่างกัน ภิกษุ เป็น

    คำที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ผู้ที่

    จะเป็นภิกษุได้จะต้องมีคุณสมบัติ และผ่านการพิธี

    อุปสมบทโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัยก่อน เช่น ต้องมี

    อายุ ๒๐ ปี ไม่มีโรคร้ายแรง ต้องมีอุปัชฌาย์รับรอง ต้อง

    ทำพิธีในอุโบสถ นักบวชชายในพระพุทธศาสนาดังกล่าวนี้

    ถ้ากล่าวถึงแต่ละรูปเรียกว่า ภิกษุ ส่วนคำว่า พระสงฆ์ นั้น

    สงฆ์ แปลว่า หมู่ ภิกษุสงฆ์ แปลว่า หมู่ภิกษุ ตามพระวินัย

    ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจึงเรียกว่า สงฆ์ เช่นในคำว่า

    สังฆกรรม หมายความว่า กรรมที่สงฆ์คือภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป

    ขึ้นไปจะพึงทำร่วมกัน

    (ข้อมูล : พระธรรมกิตติวงศ์ ทองดี สุรเตโช ปธ.๙ ราช

    บัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด

    ๒๕๔๘.๑๔๕๓ หน้า...)
     

แชร์หน้านี้

Loading...