อยากสวยหล่อขึ้นร่างกายแข็งแรงไม่ต้องรอถึงชาติหน้าแค่แชร์อย่างน้อยก็ได้บุญจากธรรมทาน

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย ราชันลาง, 3 กรกฎาคม 2023.

  1. ราชันลาง

    ราชันลาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +431
    การบริจาคโลหิตไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโดย 1 คนจะบริจาคโลหิต ครั้งละ 350 – 450 ซีซีหรือคิดเป็นร้อยละ 10 – 12 ของปริมาณโลหิตทั้งหมดในร่างกาย

    หลังจากการบริจาคแล้ว ไขกระดูกในร่างกายจะทำการสร้างเม็ดเลือดใหม่ขึ้นทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่นั้นจะไหลเวียนในร่างกายยาวนานประมาณ 120 วัน

    ประโยชน์ของการบริจาคเลือด

    • ช่วยกระตุ้นการทำงานของโขกระดูก ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
    • ช่วยให้ทราบหมู่โลหิตของตนเองในระบบ ABO และ Rh
    • ช่วยให้มีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดี
    • ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และมีความสุขในการเป็นผู้ให้
    การบริจาคโลหิต

    การสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโลหิต เพราะร่างกายของแต่ละคนมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายจะใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โดยสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน

    เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ

    ทั้งนี้ กระบวนการในการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนจนบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำบริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ประมาณ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

    โลหิต 1 ถุง นำไปช่วยผู้ป่วยได้อย่างไรบ้าง ?

    การจัดหาโลหิตบริจาคให้เพียงพอและปลอดภัยต่อทั้งผู้ให้และผู้รับ แบ่งเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาด้วยการรับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิตกว่าร้อยละ 23 และอีกร้อยละ 77 สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเพื่อใช้ในการผ่าตัด ซึ่งมักจะเป็นการใช้โลหิตในปริมาณมากและเร่งด่วน รวมถึงโรคนานาชนิด

    การบริจาคโลหิตแต่ละครั้ง สามารถปั่นแยกเป็นส่วนประกอบโลหิตได้มากกว่า 3 ส่วน ช่วยชีวิตได้มากกว่า 3 ชีวิต และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิตได้อีกมากมาย เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

    • เกล็ดเลือด นำไปรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ โรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดเลือดขาว
    • เม็ดเลือดแดง นำไปรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ไขกระดูกฝ่อ ผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากการ ผ่าตัดหัวใจ อุบัติเหตุ ตกเลือดจากการคลอดบุตร
    • พลาสมา นำไปรักษาผู้ที่มีอาการช็อกจากการขาดน้ำ ผลิตเซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต 3 ชนิด ได้แก่ แฟกเตอร์ 8 (Factor VIII) รักษา
    • โรคฮีโมฟีเลีย เอ อิมมูโนโกลบูลิน (IVIG) รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง อัลบูมิน (Albumin) รักษาไฟไหม้น้ำร้อนลวก และโรคตับ
    การเตรียมตัวก่อน-หลัง บริจาคโลหิต



    • ก่อนบริจาคโลหิต
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
    • รู้สึกสบายดี สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต หากอยุ่ระหว่างรับประทานยารักษาโรค ให้แจ้งแพทย์/พยาบาล ผู้ตรวจคัดกรองสุขภาพทุกครั้ง
    • รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิขนมหวาน ก่อนมาบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมง เพราะจะทำให้พลาสมามีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้
    • การดื่มน้ำก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ซึ่งเท่ากับปริมาณโลหิตที่เสียไปในการบริจาค จะทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น และช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้
    • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
    • งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี


    ขณะบริจาคโลหิต
    • สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
    • เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
    • ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
    • ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติระหว่างบริจาค เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที


    หลังบริจาคโลหิต



    • นอนพักที่เตียง 5 นาที หากไม่มีอาการผิดปกติ จึงลุกจากเตียง และไปนั่งพัก 10 -15 นาที พร้อมดื่มเครื่องดื่ม และรับประทานอาหารว่าง
    • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
    • รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก วันละ 1 เม็ด หลังอาหารจนหมด เพื่อชดเชยธาตุเหล็กที่เสียไปจากการบริจาคโลหิต เพื่อให้สามารถบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ
    • หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงที่สูง อาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
    • หลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่บริจาคโลหิต เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
    • หลีกเลี่ยงการเดินไปในบริเวณที่แออัด และมีอากาศร้อนอบอ้าว
    • งดกิจกรรมหรือทำงานที่มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ ความเร็ว ความสูง ความลึก เครื่องจักรกล
    • งดออกกำลังกายที่ทำให้เสียเหงื่อ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
    8 ข้อดี! การบริจาคโลหิต

    1. ร่างกายแข็งแรง

    หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าสุขภาพโดยรวมของผู้บริจาคเลือดดีกว่าคนที่ไม่เคยบริจาคเลือด เลือดที่เสียไปจะไม่เป็นผลเสียต่อร่างกายของเราเลย ซ้ำยังทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงตามมาอีกด้วย

    2. ผิวดี หน้าใส

    สาวๆ หลายคนมีความเชื่อกันแบบผิดๆ ว่า ถ้าเราไปบริจาคเลือด ต้องอ้วนขึ้นแน่ๆ เลย ตัดความเชื่อแบบผิดๆ นี้ออกไปจากสมองเราได้เลย จริงๆ แล้วการบริจาคเลือดไม่ได้ทำให้อ้วน แต่กลับทำให้ผู้บริจาคมีรูปร่างที่ดีขึ้น หุ่นเพรียวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล และยังช่วยให้หน้าใส เปล่งประกาย วิ้งๆ แบบไม่ต้องพึ่งการฉีด หรือการกินวิตามินคอลลาเจนต่างๆ กันเลย ง่ายๆแค่บริจาคเลือดก็ทำให้มีผิวพรรณสดใสได้เหมือนกัน

    3. ห่างไกลมะเร็ง

    ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริจาคเลือดมีแนวโน้มจะมีอายุยืน หรือมีโอกาสตายจากโรคต่างๆ น้อยกว่าผู้ที่ไม่บริจาคเลือด นอกจากนี้การบริจาคเลือดมีส่วนลดความเสี่ยงจากมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งคอหอย ในผู้บริจาคเลือด

    4. จิตใจดี รู้สึกดี

    การบริจาคเลือด จะให้ความรู้สึกดี ความรู้สึกว่าเป็นผู้ให้ ได้ทำทาน ได้ช่วยชีวิตคน ทำให้เรารู้สึกสุขใจเพราะได้ช่วยชีวิตผู้อื่นด้วย เรียกได้ว่าเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่ง เป็นการต่อชีวิตที่ส่งผลให้ใครหลายๆ คน มีชีวิตรอดปลอดภัย

    5.ลดความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดแดงตีบ

    มีการวิจัยพบว่าการเจาะเลือดออกเป็นประจำ จะช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาล และ ทำให้สัดส่วนไขมันดีต่อไขมันไม่ดี ดีขึ้น ในคนที่มีกลุ่มอาการทางเมตาโบลิก ซึ่งจะมีความดันสูง น้ำตาลสูง และ ไขมันสูง

    6.ได้ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 3 เดือน เช่น การวัดความดันโลหิต การตรวจภาวะโลหิตจาง

    7.ได้ตรวจสุขภาพไปในตัว

    ผู้ที่บริจาคโลหิตจำเป็นต้องปฎิบัติตัว โดยงดเว้นพฤติกรรมเสี่ยงต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอีกเสบ ซี, ซิฟิลิส และเอดส์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริจาคเอง และ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้รับ

    นอกจากนี้ ผู้บริจาคจะได้รับการตรวจเชื้อเหล่านี้ทุกครั้ง เพราะโลหิตทุกยูนิตที่ได้รับ การบริจาคต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ การที่ผู้บริจาคทราบว่าตนเองมีการติดเชื้อเหล่านี้จะมีประโยชน์มาก เพราะเชื้อทุกตัวมียารักษาได้

    8.ได้รับการตรวจสารเคมีในโลหิต (บริการตรวจให้ปีละ 1 ครั้ง)

    แจ้งความจำนงค์ที่แพทย์ผู้ตรวจวัดความดันโลหิต ในวันทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:00 – 10:00 น. โดยต้องงดอาหารและน้ำหลัง 20:00 มาก่อน


    ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...