อนัตตา แต่เดิมไม่เคยมี หากแต่เป็นเพราะชนรุ่นหลังว่ากันเอง แต่อัตตานั้นมีจริง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย 7starshido, 1 มิถุนายน 2012.

  1. 7starshido

    7starshido สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +7
    เท่าที่ทราบมา พุทธพจน์ นั้นประกอบไปด้วยเหตุและผล อาทิ

    อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ = ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

    ตนเป็นเหตุ ที่พึ่งแห่งตนเป็นผล

    ดังนั้น

    อนิจจํ ทุขขํ อนัตตา จึงไม่ถูกต้องเพราะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งเหตุและผล เป็นการกล่าว 3 คำขึ้นมาลอยๆ หรือถ้าจะแปลความหมายให้เป็นเหตุและผล ก็จะได้ว่า "ความไม่เที่ยง เป็นทกข์ไม่มีตัวตน" คือ ทุกข์ที่จับต้องไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน จึงขึ้นอยู่ที่จิตเอง คือถ้าจิตบอกว่าทุกข์ ก็ทุกข์ จิตบอกว่าไม่ทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ ซึ่งถ้าหากจะแปลแบบนี้ อนิจจํ ความไม่เที่ยง ก็หามีสาระสำคัญแต่อย่างใดไม่

    ดังนั้นที่ถูกนั้นควรจะเป็น

    อนิจจํ ทุขขํ อนันตา = ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่สิ้นสุด


    คือ ความไม่เที่ยง (อนิจจํ) เป็นเหตุ ทุกข์ไม่สิ้นสุด (ทุขขํ อนันตา) เป็นผล

    แต่เป็นเพราะว่า คำหลังสุดที่ได้จารึกไว้นั้น มันได้เลือนลางหรือลบเลือนไป เป็น อนั..า จึงทำให้คิดไปว่า เป็น อนิจจํ ทุขขํ อนัตตา เพราะว่าไปอนุมานเอาตามลักษณะของการ Double อักขระ จาก 2 คำข้างหน้า คือ อนิจจํ และ ทุขขํ ดังนั้นคำที่ตามมาก็น่าจะเป็น อนัตตา

    [หมายเหตุ:แม้ว่าสมัยโน้นยังไม่มีอักขระไทยเช่นปัจจุบัน แต่ลักษณะการเขียนแบบการ Double อักขระ ก็เป็นแบบนี้]

    อนัตตา แต่เดิมไม่เคยมี หากแต่เป็นเพราะชนรุ่นหลังว่ากันเอง แต่อัตตานั้นมีจริง ไม่อย่างนั้น ท่านคงไม่ตรัสว่า "อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ" และพระภิกษุคงไม่เรียกตัวเองว่า "อาตมา"


    yimm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012
  2. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    แล้วถ้าจะแปลความหมายของคำว่า อนัตตา จากไม่มีตัวตน(ตามที่ จขกท เข้าใจ) มาเป็น ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน อะไรประมาณนี้หละ
     
  3. manforlove

    manforlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +216
    12.00 น. เที่ยงแท้ ทุกประเทศ
     
  4. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    อ้าวพูดไปพูดมาหาว่าพระพุทธเจ้าตรัสไม่ถูกซะงั้น เป็นศาสดาเองดีกว่าไหมครับท่าน...
     
  5. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    ผมว่าคุณไม่มีความเข้าใจไตรลักษณ์ก็อย่ามาบิดเบือนคำสอนเลยครับ

    ครูบาอาจารย์ท่านก็สอนกันมาว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ อนันตา

    ถ้าแปลว่า อนิจจํ ทุขขํ อนันตา = ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่สิ้นสุด แล้วจะมีพระนิพพานคือความพ้นทุกข์เหรอครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012
  6. ชีวอน

    ชีวอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2012
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +763
    ขออนุโมทนาสาธุกับทุกโพสและเจ้าของกระทู้ ไม่แปลกใจเลยที่สมัยนี้จะมีผู้รู้มากมาย ที่ออกมาแปลความหมายในพระไตรปิฎกต่างๆนานา ว่าไม่ถูกบ้างผิดบ้าง อันนี้ผมไม่รู้แล้วแต่สติปัญญาของทุกๆท่านจะใช้หลักกาลามสูตรกันเอาเอง แต่พระตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุปัน ที่เราคิดว่าน่าจะเป็นพระอรหันต์หลายๆท่าน ก้อเรียนมาแบบนี้ไม่ใช่เหรอครับ แล้วก้อเทศสอนเรามาแบบนี้เช่นกัน เราๆท่านๆก้อน่าจะรู้นะครับว่าสมัยนี้เลยกึ่งพุทธกาลมาแล้ว ศาสนาพุทธเราจะค่อยๆถูกแปลความหมายจากพระไตรปิฎกออกไปต่างๆนาๆให้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ฉะนั้นเราๆท่านๆจึงต้องช่วยกันดูแลพุทธศาสนาให้คงอยู่แบบเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้จะมีผู้รู้มากมายออกมาว่าความหมายเดิมๆในพระไตรปิฎกนั้นผิดก้อตาม อาจจะเจตนาดีหรือมีอะไรแอบแฝงผมไม่รู้ สุดท้ายทุกอย่างก้ออาศัยหลักกาลามาสูตร ไตรตรองกันเอาเองนะครับ ปล.ผิดถูกประการใดบอกกล่าวด้วย ผมผู้น้อยพูดตามที่ได้เรียนได้ศึกษามา ขอบคุณครับ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คำว่า อัตถิตา คือ ความมี
    คำว่า นัตถิตา คือ ความไม่มี
    คำว่า อัตตา คือ ความเป็นตัวตน
    คำว่า อนัตตา คือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
     
  8. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    นับถือเป็นอย่างสูง.........................
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๕/๒๘๘
    [๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง
    คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
    ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
    ความมีในโลก ย่อมไม่มีโลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก
    ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็น
    ที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่าทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิด
    ขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้อง
    เชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะจึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๖
    [๔๓] ทฺวยนิสฺสิโต โขย กจฺจาน ๑ โลโก เยภุยฺเยน
    อตฺถิตเจว นตฺถิตจ ฯ โลกสมุทย จ ๒ โข กจฺจาน ยถาภูต
    สมฺมปฺปาย ปสฺสโต ยา โลเก นตฺถิตา สา น โหติ ฯ
    โลกนิโรธ โข กจฺจาน ยถาภูต สมฺมปฺปาย ปสฺสโต ยา
    โลเก อตฺถิตา สา น โหติ ฯ อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ ๓
    ขฺวาย กจฺจาน โลโก เยภุยฺเยน ตจาย อุปายุปาทาน เจตโส
    อธิฏฺาน อภินิเวสานุสย น อุเปติ น อุปาทิยติ นาธิฏฺาติ อตฺตา
    เมติ ฯ ทุกฺขเมว อุปฺปชฺชมาน อุปฺปชฺชติ ทุกฺข นิรุชฺฌมาน
    นิรุชฺฌตีติ น กงฺขติ น วิจิกิจฺฉติ ฯ อปรปฺปจฺจยา าณเมวสฺส เอตฺถ
    โหติ ฯ เอตฺตาวตา โข กจฺจาน สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ฯ

    ----
    คำว่า อัตถิตา คือ ความมี
    คำว่า นัตถิตา คือ ความไม่มี
    คำว่า อัตตา คือ ความเป็นตัวตน
    คำว่า อนัตตา คือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
     
  10. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    ผมเองก็ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงขอยกสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมาให้ดูละกัน และจะขอชี้แจงเพิ่มเติม หากเข้าใจตรงไหนผิดก็ชี้แนะได้

    ยกตัวอย่างเนื้อหาจากหนังสือสามเณรประมัย (ขอนำมาเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น)
    หลักธรรม 3 อย่าง มีอยู่เสมอไม่ว่ากาลไหนๆ คือ
    1. สังขารทั้งหมดไม่เที่ยง (ไม่รวมวิสังขาร)
    2. สังขารทั้งหมดเป็นทุกข์
    3. ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา (ธรรมนั้นมีทั้งสังขารกับวิสังขาร)
    พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด ความที่ธาตุดำรงอยู่ ความกำหนดอาการของธาตุ ก็มีอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา

    อนันตลักษณะ เป็นลักษณะมีอยู่ในธรรมธาตุ 2 ชนิด คือ
    ความจริงแห่งธรรมธาตุที่ 1 ดังที่นักวิทยาศาสตร์หรือนักปราชญ์ทั่วโลกเห็นตรงกันว่าทุกสิ่งเป็นของศูนย์เปล่าตามหลักอนัตตาของพระพุทธเจ้า แต่ความรู้อนัตตาของนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นยังหาถูกต้องตามหลักของพระพุทธเจ้าครบถ้วนไม่ "สุญญตทิฏฐิ" ความเห็นว่าศูนย์นั้น ไม่ใช่มติของพระพุทธเจ้า
    ความเห็นว่า ศูนย์ คือ อนัตตา กับความเห็นว่า ศูนย์ เป็น สุญญตทิฏฐิ นั้นต่างกัน
    ทางพระพุทธศาสนาเห็นว่าทุกสิ่งมีเหตุเป็นแดนเกิด เมื่อจะดับไปก็ต้องดับแต่เหตุก่อน จะดับไปลอยๆไม่ได้
    ดังนั้นเมื่อสิ่งมีชีวิตต่างๆเกิดขึ้นสุดท้ายเมื่อตายลงธาตุขันธ์แตกสลายกลับไปสู่สภาวะเดิม นักวิทยาศาสตร์ก็มองว่านี่คืออนัตตา แต่เพราะวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์เรื่องวิญญาณไม่ได้ จึงเห็นต่างกับศาสนาพุทธที่ไม่ได้ปฏิเสธความเกิดอีกในอนาคตของปฏิสนธิวิญญาณ ในเมื่อมีเหตุให้เกิดคืออวิชชาและตัณหายังมีอยู่ ซึ่งผิดจากความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันที่เห็นว่าความเกิดอีกของปฏิสนธิวิญญาณไม่มี ปรโลกไม่มี มีเพียงชาติเดียวเท่านั้น อาศัยเหตุนี้เขาจึงกล่าวว่าศูนย์
    พระพุทธศาสนาเห็นว่าทุกสิ่งเป็นของดำรงอยู่ มีอยู่จริง ทางวิทยาศาสตร์ก็กล่าวว่าสรรพวัตถุมิได้ศูนย์หายไปจากโลก ภายใต้รัศมีแห่งแสงจันทร์ไม่มีอะไรเป็นของใหม่
    แต่ธรรมธาตุที่ 2 เป็นธรรมธาตุที่ละเอียดจะรู้ได้ด้วยโลกุตรฌาณ
    ความรู้อนัตตาในธรรมธาตุ 1 ย่อมเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ความรู้อนัตตาในธรรมธาตุที่ 2 ผู้ที่ไม่รู้อภิปรัชญาส่วนโลกีย์มาก่อน จะไม่สามารถทราบอภิปรัชญาส่วนโลกุตตระได้เลย
    ธรรมธาตุตัวที่ 1 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร แปลว่า ปรุงแต่ง
    ธรรมธาตุตัวที่ 2 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสังขาร แปลว่า ไม่ปรุงแต่ง

    สังขาร และ วิสังขาร อัตตา และ อนัตตา อนัตตาโลกีย์และอนัตตาโลกุตตระ เป็นของคู่กัน
    วิสังขาร หรือ อสังขตธาตุ เป็นอนัตตาตัวที่ 2 สามารถพิสูจน์เข้าใจได้ประจักษ์ชัดด้วยอำนาจญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความรู้เห็นที่หมดจด
    อนัตตาโลกีย์ และ อนัตตาโลกุตตระ เหมือนกันคือไม่มีอัตตาหรือชีวิต แต่ไม่เหมือนกันโดยอาการ
    อนัตตาโลกีย์ เป็นเรื่องของสังขาร
    อนัตตาโลกุตตระ เป็นเรื่องของวิสังขาร
    สังขาร มีความเปลี่ยนแปลง
    วิสังขาร ไม่เปลี่ยนแปลง

    เมื่อค้นคว้าในเรื่องสังขารสิ้นเชิงแล้ว ก็จะรู้จักวิสังขารได้ทันที เพราะสังขารเป็นเครื่องปิดวิสังขาร คล้ายกับเปลือกไม้หุ้มแก่นไม้ ถอดเปลือกออกก็เห็นแก่นทันที
    ญาณทัสสนะที่สามารถเข้าใจในวิสังขารได้ นอกจากญาณทัสสนวิสุทธิแล้ว ยังมีอีกญาณหนึ่ง เรียกว่า "โคตรภูญาณ" เป็นความรู้ระหว่างการพิสูจน์เพื่อความแน่ใจ คล้ายๆนายพรานกำลังตั้งท่าเล็งนกแต่ยังไม่ลั่นไก
    โคตรภูญาณ นี้ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณที่แก่กล้าเต็มที่ มีลำดับแห่งความเปลี่ยนแปลงดังนี้
    1. สังขารุเปกขาญาณ เพ่งเฉยในสังขาร
    2. อนุโลมิกญาณ เพ่งตามเหตุผลที่ปรากฏ
    3. อุปจาร กำลังญาณมุ่งต่อวิสังขาร
    คำว่า ทุกสิ่ง ของพระพุทธศาสนาแยกออกเป็น 2 ชนิด
    1. สังขตธรรม คือ สิ่งที่หมุนเวียนไปตามเหตุที่ปรุงแต่ง
    2. อสังขตธรรม คือ สิ่งที่ไม่หมุนเวียนไปตามเหตุที่ปรุงแต่ง


    ด้วยเหตุนี้ อนัตตา จึงถูกแยกออกเป็น 2 ชนิด ตามสรรพธาตุที่มีอยู่
    สังขตธรรม ก็เป็น อนัตตา
    อสังขตธรรม ก็เป็น อนัตตา

    คำว่า อนัตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ในทางพุทธศาสนาเห็นว่าไม่มีอัตตาหรืออาตมันในสิ่งใดๆเลย ทุกสิ่งเป็นแต่สักว่าของมีอยู่เท่านั้น...

    สรุป คือ ทุกสิ่งเป็นอนัตตา (ไม่ได้แปลว่าว่างเปล่าไม่มีอะไร ทุกสิ่งมีอยู่จริงเพียงแต่ไม่ใช่ของเรา ของเขา) แบ่งเป็น 2 อย่างคือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปรุงแต่ง(สังขาร) กับสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปรุงแต่ง(วิสังขาร)
    ไตรลักษณ์ใช้กับสังขารทั้งปวง (ไม่ได้ใช้กับวิสังขาร) สรรพสิ่งต่างๆที่คนทั่วไปรับรู้ได้มีแค่สังขาร แต่วิสังขารผู้จะรับรู้ได้ต้องมีญาณทัสสนวิสุทธิซึ่งพบในพระอริยะบุคคล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012
  11. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    ในความเห็นผม ขอยกตัวอย่างเรื่องร่างกายของคน
    บางคนแปล อนัตตา ว่าไม่มีตัวตนคือไม่มีร่างกาย ซึ่งไม่ใช่ ร่างกายมีอยู่จับสัมผัสได้ แต่ถ้าพิจารณาให้ดีร่างกายนั้นก็เป็นเพียงธาตุต่างมารวมกันแล้วเราไปเรียกเอาว่านี่คือร่างกายคน ถ้าธาตุเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นแมวก็เรียกว่าร่างกายแมว คือเป็นภาษาที่สมมติขึ้น
    พอบอกว่าสิ่งต่างๆเป็นแค่ สมมติ บางคนเลยไปแปลว่าสิ่งต่างๆไม่มีอยู่ ว่างเปล่า หรือมองถึงขึ้นว่าเป็นแบบหนังเรื่อง matrix ก็มี

    และการที่บอกว่าร่างกายนี้เป็นของๆเรานั้นก็ไม่ใช่ ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา สักวันมันก็ต้องผุพังแตกสลายซึ่งก็คือ อนิจจังหรือความไม่เที่ยง เมื่อร่างกายเกิดความเสื่อม มีโรคภัยไข้เจ็บ ก็เกิดเป็นความเจ็บปวดหรือทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก
    ถ้าเราคิดว่านี่เป็นของๆเรา เราไม่อยากให้มันเสื่อมสลายหายไป นี่เองคือที่มาของทุกข์ เพราะไม่เข้าใจถึงความเป็นจริงในเรื่อง ไตรลักษณ์
    ไม่ว่าจะรถ บ้าน หรือแม้แต่ภูเขา ทุกอย่างก็ย่อมเสื่อมไปตามกาลเวลา กลายเป็นธาตุต่างๆดั้งเดิม เช่น ธาตุดิน เมื่อมีเหตุปัจจัยอีก รถ บ้าน ภูเขาก็เกิดขึ้นอีก การจะแก้เหตุแห่งทุกข์จึงไม่ได้แก้ให้สิ่งต่างๆคงอยู่เป็นนิรันดร์ แต่แก้ที่การไปยึดมั่นถือมั่น การให้มีปัญญาเห็นสภาพต่างๆตามธรรมชาติของมัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012
  12. manforlove

    manforlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +216
    พระพุทธองค์ตรัสถูกแต่ว่าคนจด อาจ จดไม่ถูก ดูดูไปก่อน ว่ามาเลยท่านมีไรอีกไม้
     
  13. white sky

    white sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +118
    ธรรมะมีหลายขั้น หลายบริบทครับ ต้องจับประเด็นจับประโยคดี ๆ ว่าพูดในกาละใด เทศะใด กล่าวในการสอนระดับสมมติบัญญัติหรือปรมัตถ์ จับตีกันมั่วสุดท้ายคำสอนพัง พุทธศาสนาล่มสลายกันพอดี

    เรื่องอนัตตาเป็นการพูดถึงธรรมในระดับสุดท้ายอันเป็นปรมัตถ์ครับ ในสุดท้ายไม่มีตัวตน มีเพียงเหตุปัจจัยกระทบต่อกันเรื่อย ๆ อัตตาคือความไม่แจ้งใน สักกายทิฏฐิอันเป็นสังโยชน์ของปุถุชน ปุถุชนย่อมจะเฉไปสู่อัตตาเสมอ และมักทำให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป เถรวาทมติอันเป็นมติของอรหันต์เจ้าในครั้งสังคายนะ จึงยึดเอาไม่ให้เพิ่มไม่ให้ตัดสิ่งใดของคำสอน เพื่อป้องกันทิฏฐิปุถุชนในภายหลังนี่เอง
     
  14. manforlove

    manforlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +216
    สุดท้ายไม่เหลือ แม้รูปหรือนามใช่ใหมครับ
     
  15. manforlove

    manforlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +216
    ถ้าแปล ทุกขัง อนัตตา ได้ แสดงว่า สภาวะทุกข์ ครอบอนัตตาได้ อนัตตาก็ไม่ใช่สภาวะที่พ้นทุกจริง แล้วเอา สุขขัง ไปครอบ ก็ติดสุขหลงสุขอีก ธรรมที่แท้อยู่ใหนหนอ
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    มีสัมมัปปธานธรรม ๔
    โดยหลักทั่วๆ ไป เป็นหลักกว้างๆ เราถือกันว่ามีอยู่ ๔ กิริยาอาการ.
    การประพฤติธรรมะนี่ มีอยู่ ๔ กิริยาอาการ คือ :–

    ๑. ป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่ควรเกิด;
    ๒. ละสิ่งที่เกิดแล้ว, ที่ไม่ควรจะมีละเสีย;
    ๓. ทําให้เกิดสิ่งที่ควรจะเกิด;
    ๔. ทําสิ่งที่เกิดแล้วนั้นให้เจริญจนถึงที่สุด. กิเลสป้องกันไม่ให้เกิด,

    ความหมายที่หนึง
    ป้องกันไม่ให้เกิด; ครั้นเกิดแล้วละมันเสีย
    นี่กิเลส ละมันเสีย, นี้ความหมายที่สอง; ทีนี้โพธิ สิ่งที่จะกําจัดกิเลส
    ที่ยังไม่เกิดทําให้เกิดขึ้นมา, นี่สาม; ที่นี้สี่โพธิที่เกิดขึ้นแล้ว ทําให้เต็มให้เต็มๆ
    เป็นสัมมาสัมโพธิ ไปเลย.
    นี่จําไว้เถอะว่าในเรื่องต่างๆ ในโลกนี้ แม้ไม่ใช่เรื่องธรรมะ แม้เรื่อง
    ชาวบ้านที่บ้านที่เรือนนั้น มันก็มีหลัก ๔ ประการนี้ ใช้ได้ด้วยกันทั้งนั้นแหละ :
    สิ่งทีไม่ควรจะมี ก็ป้องกันไม่ให้เกิด ๑ ; สิ่งที่ไม่ควรจะมีเกิดขึ้นแล้ว ละมันเสีย ๒ ;
    สิ่งที่ควรจะมี ก็ทําให้มันเกิดขึ้นมา ๓ ; สิ่งที่ควรจะมีเกิดขึ้นแล้ว ก็ทําให้มันเต็ม
    ให้มันสมบรูณ์ ๔.
    ขอให้จําไว้เป็นหลักทั่วไป, ไปใช้ในทุกกรณีไม่ว่าจะทําอะไร ที่เป็นเรื่อง
    ใหญ่เป็นโครงใหญ่ ของเรื่องใหญ่ๆ เป็นชีวิตโดยกว้าง โดยรอบตัว : เรามีหน้าที่
    ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่ควรจะเกิด; เรามีหน้าที่ที่จะละสิ่งที่ควรจะละเสีย;
    เรามีหน้าที่ที่ทําให้เกิดสิ่งที่ควรจะทําให้เกิด; และเรามีหน้าที่จะทําสิ่ง
    นั้นๆ ให้มันเจริญขึ้นไปจนถึงที่สุด.

    มีนิพพานสัปปายธรรมประจําอยู่ในชีวิต
    (พิจารณาเห็นอายตนิกธรรม ๓๐ โดยไตรลักษณ์).
    มีวิธีที่จะปฏิบัติอยูเป็นประจํา เพื่อให้ละสิ่งที่ควรละเพื่อให้เกิด
    สิ่งที่ควรเกิด; ก็มีหลักปฏิบัติเรียกว่ามีนิพพานสัปปายธรรม. คงจะจด
    ยากจํายาก, จําเป็นไทยๆว่ามีธรรมะที่สบายแก่พระนิพพาน, มีธรรมะ
    เป็นทีสบายแก่พระนิพพาน, หมายความว่า เราประพฤติปฏิบัติอย่างไร
    อยู่แล้ว มันง่ายที่จะเกิดนิพพาน นั่นคือธรรมเป็นที่สบายแก่นิพพาน.
    ขอให้ทุกคนมีชีวิตอยู่ด้วยธรรมะที่เป็นที่สบายแก่ พระนิพพาน
    คือง่ายที่พระนิพพานจะเกิด. อันนี้ต้องรู้จักสิ่งที่ควรรู้จักอย่างยิ่ง
    ๕ หมวด, ในบาลีเรียกว่า “อายตนิกธรรม”.

    อายตนิกธรรม แปลว่า ธรรมที่เนื่องกันอยู่กับอายตนะ, สิ่งที่
    เนื่องกันอยูกับอายตนะ; มีอยู่ ๕ หมวด:หมวดที่หนึ่ง คืออายตนะภายใน
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, ๖ อย่างนีเรียกว่า “อายตนะภายใน”;
    หมวดที่สอง: รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์, นี้ “อายตะภายนอก”,
    ๖ เหมือนกัน; หมวดที่สาม : วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณ
    ทางจมูก ฯลฯ วิญญาณทางอายตนะภายใน ๖ นั่นแหละ, หมวด
    วิญญาณมีอยู่ ๖; ที่นี้ครั้นวิญญาณแล้วมันก็มีผัสสะ, ผัสสะก็มี ๖
    :ผัสสะทางอายนะภายใน ๖, คือผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ก็ผัสสะ ๖, นี้ หมวดที่สี่; เมื่อมีผัสสะแล้วก็มีเวทนา, ก็มีเวทนา ๖ ตาม
    ผัสสะแจกไปตามอายตนะภายใน, คือเวทนาที่เกิดจากผัสสะทางตา
    เวทนาที่เกิดจากผัสสะทางหู เวทนาที่เกิดจากผัสสะทางจมูก เวทนา
    ที่เกิดจากผัสสะทางลิ้น เวทนาที่เกิดจากผัสสะทางกาย เวทนาที่เกิด
    จากผัสสะทางใจ, เวทนาก็มี ๖, นี้เป็น หมวดที่ห้า. นี่คือเนื้อตัวของ
    เราแท้ๆ .ตัวธรรมะที่ต้องรู้จักอย่างยิ่งคือธรรมะ ๕ หมวดนี้.

    ธรรมะ ๕ หมวดนี้, ถ้าใครไม่รู้จักธรรมะ ๕ หมวดนี้,
    ๕ หมวดๆ ละ ๖, ไม่รู้จักธรรมะ ๕ หมวดนี้แล้ว ก็ยากที่จะธรรมะ
    ยากที่จะศึกษาธรรมะ มีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะท่องจําไว้ ศึกษาไว้ให้
    ชัดเจนแจ่มแจ้ง; มีประโยชน์ยิ่งกว่าสูตรไหนๆ หรือว่าหลักเกณฑ์
    อะไรๆ ที่เอามาท่องจํากันให้ยุ่งไปหมด. อายตนิกธรรม ๕ หมวดๆ ละ
    ๖ รวมเป็น ๓๐ อย่าง นี้ให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง ให้รู้จักก่อน ให้รู้จักว่า
    มันมีอยู่อย่างไรก่อน.
    ที่นี้ดู ๓๐ อย่างนี้ แต่ละอย่างละอย่างเป็นอนิจจัง คือเปลียนๆๆๆ;
    แต่ละอย่างๆ นั้นน่ะมีลกษณะแห่งความทุกข์หรือว่าไปจับฉวยเอาเป็น
    ของเราแล้วจะเป็นทุกข์ คือมันจะกัดเอา มันพร้อมที่จะให้เกิดทุกข์; มัน
    มีลกษณะแห่งการความมิใช่ตัวตน, เพราะมันไม่เที่ยงและมันพร้อมที่
    จะเป็นทุกข์ อย่างนี้เราจึงว่า เป็นอนัตตา–ไม่ใช่ตน. แง่สําคัญๆ ที่จะ
    ต้องดูก็มีอยู่ ๓ แง่ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง
    อนัตตา ดูสิ่งทั้ง ๓๐ นี้ ให้เห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน หรือตามที่มีเวลาว่าง. ถ้าเวลาทํางานยุ่ง
    ดูไม่ได้ ก็ดูเวลาว่าง. ถ้าจิตมันยังพอระลึกนึกถึงได้ก็ดู; เพราะว่าเวลา
    ที่ทํางานมันก็มีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน : เวลาที่เราทํางานเหน็ดเหนื่อยอยู่
    ก็มีเรื่องของรูป มีเรื่องของตา มีเรื่องของวิญญาณ มีเรื่องของผัสสะ
    ของเวทนา. เพราะผัสสะมันเกิดเมื่อไรก็ได้ เวทนามันเกิดเมื่อไรก็ได้
    กําลังทํางานอยูก็ได้ นั่งพักผ่อนอยู่ก็ได้. ถ้ามันเกิดขึ้นมาเมื่อไร แล้วก็
    เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของมันเมื่อนั้นในทุกสิ่งทุกอย่าง ๓๐ อย่างนี้
    ทุกหนทุกแห่งมันจะเกิดขึ้น.

    เมื่อทําอยู่อย่างนี้เรียกว่า อยู่ด้วยธรรมะที่สบายแก่พระนิพพาน
    หรือทําสิ่งที่สบายแก่พระนิพพาน. สิ่งที่สบายแก่พระนิพพาน คือดู
    สิ่งทั้ง ๓๐ อย่างนี้ ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เป็นประจํา
    ทั้งวันทั้งคืน, ตลอดเวลาที่มีความรู้สึก. นี่เรียกว่า “อยู่ด้วยสิ่งที่
    สบายแก่พระนิพพาน”, พระนิพพานจึงเกิดง่ายๆ เพราะว่าเราอยู่
    ด้วยสิ่งที่สบายแก่พระนิพพาน. พูดเปรียบเทียบก็เหมือนกับว่า เรามี
    สิ่งที่นกมันชอบใจ เอามาล่อนก เป็นเหยื่อดักนก มันก็ได้นก. มันเป็น
    สิ่งที่สบายแก่พระนิพพาน; ถ้าทําอยู่อย่างนี้ พระนิพพานคือความดับทุกข์
    ความดับทุกข์จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย พร้อมที่จะเกิดในที่ทุกหนทุกแห่ง
    ทุกเวลา ทุกสถานที่, เพราะว่าเราอยู่ด้วยสิ่งซึ่งเป็นที่สบายแก่พระ
    นิพพาน. นี่ก็เป็นวิธีปฏิบัติ.

    คัดลอกมาจาก หนังสือเทศนาชุดสุดท้ายของพุทธทาส : หัวใจนิพพาน
    http://palungjit.org/threads/วิธีปฏิบัติให้บรรลุนิพพาน-พุทธทาสภิกขุ.341991/
     
  17. 7starshido

    7starshido สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +7

    มีสิ หากยึดตามคำสอนที่ว่า สรรพสิ่งไม่เที่ยง (อนิจจํ) สังขารไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยงฯลฯ การไปยึดติดกับสิ่งที่ไม่เที่ยง ก็จะเป็นทุกข์ ไม่สิ้นสุด ดังนั้นหากไม่ยึดติดในสิ่งที่ไม่เที่ยง ก็จะไม่เป็นทุกข์ ก็คือพ้นทุกข์ ยิ่งถึงพระนิพพานเร็วขึ้นไปอีก

    ส่วนที่ว่าไตรลักษณ์นั้นยิ่งเลอะไปใหญ่ ทำไมนะหรือ

    ลักษณ์ ย่อมาจาก ลักษณะ

    ที่เรียกว่าลักษณะนั้น ก็ต้องประกอบด้วยสถานะ (ไม่ว่าจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่) สี ฯลฯ

    สีนั้นคงไม่ต้องกล่าวถึงใครไม่รู้ว่าสีคืออะไรก็คงปญอ.แล้ว

    สถานะ ก็คือ การที่คงรูป (ของแข็ง) ไม่คงรูป (ของเหลว) ฟุ้งกระจาย (ก๊าซ) เอาแค่นี้พอไม่ต้องละเอียดมากว่านี้

    ถ้า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นไม่ใช่ไตรลักษณ์เลย

    ความไม่เที่ยง เป็นอาการที่ไม่หยุดนิ่งของสรรพสิ่ง

    เป็นทุกข์ คือที่เรียกว่า Mental Condition มันเป็นเงื่อนไขทางจิตของมนุษย์ ซึ่งคนเราแต่ละคน ก็จะเป็นทุกข์ไม่เท่ากันเมื่อเผชิญกับเหตุที่ก่อให้เกิดทุกข์ในลักษณะเดียวกัน ไม่ได้มีความเป็นลักษณะเลย

    ไม่มีตัวตน ยิ่งแล้วกันไปใหญ่ ไม่มีตัวตน = ไม่มีลักษณะ

    เท่ากับว่าเป็นการจับแพะชนแกะ เพราะ ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 แต่ที่ท่านผู้นั้นนำมาขมวดเข้าด้วยกัน มันคนละเรื่องคนละอย่างกันเลย

    จึงอนุมานได้ว่า เมื่อเห็น อนิจจํ ทุขขํ อนั..า ท่านผู้นั้น ก็คิดว่าเป็น อนนิจจํ ทุขขํ อนัตตา แล้วท่านก็เขียนคำสอนออกมาเองตามที่เข้าใจ และก็เป็นดังนี้เรื่อยมา

    yimm
     
  18. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    คุยด้วยคน
    อีกมุม
    ถ้าห้องนี้ = ห้องวิทย์ , การสนทนา = วิทยาศาสตร์
    เหตุและผลข้างบนจะเห็นว่าไม่เสมอไป เพราะห้องวิทย์เปิดให้อิสระคุยได้ทุกเรื่องที่ไม่ผิดกฏพื้นฐาน

    เดิมๆคำว่าวิทยาศาสตร์ ก็ศาสตร์ที่พูดถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ทุกอย่าง ทั้งจักรวาล จนถึงโลกความคิด แต่วิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนจากสมมุติฐาน จากทฤษฎีมาเป็นกฎก็ต่อเมื่อทดลองแล้วโดยคนทั่วไปในทุกๆสิ่งแวดล้อมภายใต้ทฤษฎีเดียวกันว่าให้ผลเหมือนกัน จึงบอกได้ว่านี่คือกฏ เหมือนกับ วัตถุตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ

    แต่ก็มีเหตุและผลที่รับรู้ได้ด้วยใจ เป็นปัจจัตตัง เฉพาะุบุคคล ที่พิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์และการนึกเดาเอาไม่ได้
    แต่การรับรู้ได้ด้วยใจนี้มีความที่ตรงกันทุกคน ผลเหมือนกันทุกคน ถ้าปฏิบัติมาตามทางเดียวกัน

    ดังนั้นเหตุและผลทางวิทย์ ที่ว่าเมื่อ a=b, a=c ดังนั้น b=c นำมาใช้ไม่ได้กับทางธรรม เพราะ การเท่ากับของ a อาจจะเป็นเพียงการเท่ากับหน่วยย่อยๆนึงของb ไม่ใช่ b ทั้งหมด อาจจะเพราะbส่วนที่เหลือพิสูจน์ไม่ได้ ในทางวิทย์และตรรกะ

    จากทั้งหมดถ้าเกิดคำถามที่ว่า แล้วตำราทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกล่ะ

    พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้บอกให้เชื่อหรือไม่ให้เชื่อเลยทันที ท่านจึงพูดถึงกาลามาสูตรไว้เป็นข้อเตือนใจ แม้แต่ตัวเองเราเองหากยังถูกครอบด้วยกิเลสอยู่ ยึดตัวตนอยู่ ทิฐิอยู่ ,ที่ a = b อาจจะเพราะมีกิเลส การยึดถือ ทิฐิ เป็นตัวกำหนด


    เจริญในธรรมครับ
     
  19. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    ข้างบนเป็นความเห็นเกี่ยวกับตรรกะในทางธรรม
    พูดถึง อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา
    อนิจจัง คือความไม่เทียง ไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    ทุกข์ คือ การที่คงสภาพเดิมไว้ไม่ได้
    อนัตตา คือ การไม่มีตัวตน ไม่อาจจะระบุได้ ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ว่าคืออะไร เป็นอะไร

    เทียบกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน เรารู้ว่าวัตถุทุกชนิดคือก้อนพลังงาน หน่วยย่อยที่สุด จากโมเลกุล ลงไปเป็นอะตอม อะตอมย่อยไปเป็นอนุภาค อนุภาคย่อยลงไป จนถึงความเป็นพลังงานล้วนๆ ปัจจุับันถึง สิ่งที่เรียกว่า Higg ซึ่งอนาคตถ้ามีเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าอาจจะระบุได้ว่า Higg ประกอบไปด้วยอะไร

    การมองวัตถุ หรือสิ่งใดๆ ของคนทั่วไปมักจะมองเป็นเพียงสามมิติ ไม่ได้มองถึงมิติที่เหลือ อย่างมิติที่4 หรือเวลา
    เรารู้มาว่า อนุภาคอิเล็กตรอนในตัวเราวิ่งรอบ โปรตรอนและนิวตรอน ตลอดเวลา ดังนั้นทุกๆเวลา ย่อมมีความเสื่อมจากการสูญเสียพลังงานของอะตอม (ถ้าไม่มีพลังงานภายนอกมากระตุ้น) เซลล์ต่างๆ ย่อมเสื่อมสภาพลง ยิ่งเวลาผ่านไปมากเท่าไหร่ยิ่งเห็นได้ชัดเท่านั้น จนสุดท้ายเซลล์ก็ไม่สามารถคงสภาพเดิม ทำหน้าที่เดิมๆไม่ได้ คืนทุกอย่างกลับสู่ธรรมชาติ
    ลองมองเพียง ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง จะเห็นความเป็น อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกข์ขัง คงเดิมไม่ได้ และอนัตตาสุดท้ายก็ระบุไม่ได้ว่านั่นคือสิ่งนั้น หนังคือหนัง แค่ช่วงเวลานึง แล้วก็กลายเป็นขึ้ไคล ขี้ไหลก็กลายเป็นฝุ่น ฝุ่นเมื่อถูกความร้อนความเย็น ก็เปลี่ยนสภาพ บางส่วนนึงก็กลายเป็นส่วนกอบนึงของต้นไม้ ผัก สัตว์ที่ ถูกเรากินอีกที แล้วก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเซล์ของเรา

    เราห้ามการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ไม่ได้ เพราะมันของธรรมชาติเดิมๆอยู่แล้ว เกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป ระบุไม่ได้จริงๆว่าสิ่งนี้คือสิ่งนี้ เป็นตัวเป็นตน เพราะเราหยุดเวลาไม่ได้

    ตรรกกะ ที่เกิดจากความคิดที่ว่า อัตตามีอยู่ อนัตตาไม่มี จึงเป็นเพียงการปรุงแต่งขึ้นมา ไม่ได้อยู่พื้นฐานของความจริง แม้แต่ทางวิทยาศาสตร์

    ถ้าจะบอกว่า อัตตาคือสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา อนัตตา คือสิ่งที่มีอยู่แล้ว ก็คงไม่ผิด แค่มองความเป็นจริงให้กว้างขึ้น
     
  20. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    - คำว่าลักษณะ คุณมาแปลเอาเองว่า ลักษณะ แปลว่า สถานะ

    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
    ลักษณะ ความหมาย คือ
    [–สะหฺนะ] น.
    สมบัติเฉพาะตัว เช่น น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว ลูกบิลเลียดมีลักษณะกลม ลูกเต๋ามีลักษณะเหลี่ยม คนไทยมีลักษณะอ่อนโยน; ประเภท เช่น ใน ๓ ลักษณะ. (ส.; ป. ลกฺขณ).
    ลักษณะจึงใช้กับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ใช้กับสิ่งที่ไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น ลักษณะแสงสีต่างๆ

    - เรื่องไตรลักษณ์ผมไม่ได้ยกมาปนเอง แต่ในพระไตรปิฎกก็บอกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ไตรลักษณ์

    พระไตรปิฎกคงไม่เพี้ยนขนาดเขียน อนันตา เป็น อนัตตา แล้วยังเขียนผิดเอาไปปนกับเรื่องไตรลักษณ์ด้วยหรอกมั้งครับ

    จากวิกิ
    ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง
    (จริงๆต้องบอกว่าของสังขารทั้งปวง ดังที่อธิบายไปแล้วว่ามีวิสังขารด้วย แต่ต้องเป็นพระอริยะจึงจะรับรู้ว่าอะไรคือวิสังขาร คนทั่วไปจะรู้จักแค่สังขาร)
    - อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
    - ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป
    - อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง


    - อนิจจัง ทุกขัง อนั?ตา
    นี่คือคำ 3 คำโดดๆ มากกว่าจะเป็นรูปประโยคบอกเล่านะ (รบกวนผู้เชี่ยวชาญด้านบาลีให้ข้อมูลอีกที เพราะถ้าเป็นประโยคคงไม่ใช้คำนาม 3 คำแบบนี้ แต่ต้องมีคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ด้วยถ้าอิงตามความหมายของจขกท.)

    จขกท.แปลเอาเองว่า

    ยึดติดกับสิ่งที่ไม่เที่ยง --> ทุกข์ไม่สิ้นสุด จะเกิดคำถามคือ

    1. คำว่า ยึดติด จขกท.เอามาจากไหน?? ถ้าเช่นนั้นพระพุทธเจ้าน่าจะกล่าวว่า อุปาทานอนิจจัง ทุกขังอนันตา มากกว่า (รบกวนผู้รู้แก้คำศัพท์และรูปประโยคอีกที เป็นเพียงการยกตัวอย่างให้ดู)
    2. แน่ล่ะ คงไม่ใช่ลักษณะ 3 ประการแน่ เพราะจะเหลือเพียง 2 คำ คือ อนิจจัง กับ ทุกขัง ส่วนอนันตาเป็นคำขยายความของคำว่าทุกข์ จึงควรเขียนว่า อนิจจัง ทุกขังอนันตา ไม่ควรมีวรรคระหว่างทุกข์กับอนันตาใช่หรือไม่ ซึ่งจริงๆก็ผิดหลักการเขียนบาลี-สันสกฤต ที่คำขยายจะอยู่หน้า จึงควรเขียนว่า อนันตทุกขัง
    3. ถ้ายึดติดกับสิ่งที่เที่ยงล่ะ จะทุกข์หรือไม่ ดังนั้นพระพุทธเจ้าตรัสแค่ ไม่ยึดติดสิ่งต่างๆ ไม่ทุกข์ ง่ายกว่ามั้ยครับ จะได้ไม่ต้องมีคำถามตามมา

    สรุป - ผมว่า อนัตตา นั่นแหละถูกแล้ว ถ้าเราดูสิ่งต่างๆรอบตัวมันก็ใช้อธิบายตามหลักการนี้ได้ หรือจะลองยกตัวอย่างสรรพสิ่งที่คุณรู้จักมาก็ได้ว่ามันเป็นไปตามลักษณะ 3 ประการนั้นหรือไม่ ถ้ามันแย้งได้แสดงว่าคำกล่าวนั้นไม่จริง

    อย่างเช่น กระถางต้นไม้ ถ้าเราพิจารณาให้ละเอียด กระถางนั้นประกอบขึ้นจากดินหลายๆเม็ดมารวมกัน เราไปเรียกมันว่า กระถางต้นไม้ แทนที่จะเรียกว่าก้อนดิน สุดท้ายมันก็จะแตกสลายกลายเป็นดินแต่ละเม็ดเหมือนเดิม กระถางต้นไม้นั้นก็จะไม่มีอีกต่อไป นี่จึงเรียกว่าไม่มีตัวตน หรือ อนัตตา (ไม่ได้แปลว่า ไม่มีกระถางอยู่ตรงนั้น แต่หมายถึงคำว่า"กระถาง"ไม่มี เราไปสร้างคำหรือคิดปรุงแต่งสมมติเจ้าก้อนดินนั้นขึ้นมาเองว่ามันคือ"กระถาง") และเราก็ไม่สามารถทำให้มันคงอยู่ในสภาพกระถางแบบนั้นตลอดกาลได้ (เพราะสังขารต่างๆย่อมเป็นทุกขังและอนิจจังตามกฎของธรรมชาติ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...