อคติ๔ โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 2 พฤศจิกายน 2014.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โดย พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
    วัดป่าเขาน้อย จ. บุรีรัมย์
    เทศน์ ณ วัดภูริทัตตวนาราม มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ?? ? ? ? ? ? เราทั้งหลายพากันตั้งใจปฏิบัติจิตภาวนา เราทราบอยู่แล้วว่าการภาวนาเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเราทั้งหลาย ผู้ต้องการ

    ความสุขและต้องการความเจริญ การภาวนาเพื่อนำจิตใจของเราเข้าสู่ธรรมปฏิบัติธรรม เอาธรรมเป็นที่พึ่งทางใจ ใจของเรา ถ้า

    หากว่าไม่มีธรรมเป็นที่พึ่งแล้ว ใจก็จะต้องปลิวไปตามอารมณ์ต่าง ๆ เหมือนกับนุ่นที่ไม่มีอะไรยึดไว้ ถูกลมพัดแล้วก็ปลิวไป

    ตามลมไม่เลือกทิศเลือกทาง แล้วแต่ลมจะพัดพาไป ไม่เป็นตัวของตัวเอง จิตใจก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น จำเป็นจะต้องอาศัยธรรม

    เป็นเครื่องยึด ธรรมข้อหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ คือ การกระทำจิตให้ตรงที่เรียกว่า ทิฏฐชุกรรม คือทำจิตของเราให้ตรง

    เพียงเท่านี้แหละ ท่านจัดเป็นกุศลมัย เป็นบุญเป็นกุศล สำเร็จเป็นผลให้เกิดความสุขความเจริญ การทำจิตของเราให้ตรงนั้น เอาอะไร

    เป็นหลักคือตรงต่อธรรม อันเป็นเหตุให้นำมาซึ่งความสงบและความสุขนั่นเอง เรียกว่าตรง ถ้าหากเราไม่ยึดหลักธรรมแล้ว ไม่ทราบ

    ว่าตรงไปที่ไหน ชี้ไปที่ไหนมันก็ตรงไปทางนั้น คิดไปทางไหนมันก็ตรงไปทางนั้น

    คำว่าตรงนี้ ต้องมีกฎเกณฑ์ไว้เป็นเครื่องหมาย ให้เว้นจากสิ่งที่ไม่ตรง สิ่งที่ลำเอียงที่เรียกว่า อคติ

    ?????????????สิ่งที่ทำให้จิตไม่ตรงนั้น มันมีอยู่เรียกว่า?ฉันทาคติ?มีอคติเพราะความรัก

    ???????????? เพราะฉะนั้นความรักนี้เป็นส่วนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าให้เราทั้งหลายพิจารณาให้เกิดปัญญาขึ้นมาว่า ความรักนี่มีทั้งคุณมีทั้งโทษ ถ้าเรารักไม่เป็น เกิดอคติขึ้นมา อาจทำทุจริตด้วยกายด้วยวาจาหรือด้วยใจได้เพราะความรัก แต่ความรักที่ประกอบด้วยปัญญา รู้จักเหตุผลก็ทำให้เกิดประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน เพราะแต่ละอย่างละอย่างนั้น อยู่กับเรามีปัญญาหรือไม่มีปัญญาเท่านั้น

    ???????????? เพราะฉะนั้น การอบรมภาวนาเพื่อให้จิตฉลาด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก 

    ?????????????คนส่วนใหญ่ก็เพราะไม่ค่อยจะมีปัญญาในทางธรรม ถ้าเราอบรมปัญญาในทางธรรมแล้ว สิ่งที่รักเหล่านั้นก็รักด้วยจิตเมตตา ด้วยจิตสงสาร ด้วยจิตปรารถนาจะให้เกิดความสุขทั้งตน และบุคคลผู้อื่น มีแนวโน้มไปในทางกุศล ในทางผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์ ตลอดถึงไปในทางสงบ นี่เพราะฉะนั้น ความรักอย่าคิดเห็นว่าเป็นส่วนดีในฝ่ายเดียว ต้องดูแลจิตใจของเรา ถ้าจิตเป็นอคติ น้อมไปรักด้วยความหลงไม่ฉลาดแล้ว จะดึงไปในทางที่เป็นอคติ ทำจิตของเราให้ตรงไม่ได้ เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ ไม่ได้ นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายจิตของเราไม่ให้เที่ยงตรงอยู่ในธรรม

    ?????????????ความโกรธ?ก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้จิตใจของเราไม่ให้ตั้งอยู่ในธรรม มั่นอยู่ในธรรม แน่วแน่หรือเที่ยงตรงอยู่ในธรรม เพราะความโกรธเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมแผดเผาด้วยจิตใจของตนเองให้เศร้าหมอง ไม่ค่อยรู้จัก ขาดการไตร่ตรองพินิจพิจารณา ให้พุ่งไปแรงด้วยอำนาจแห่งความโกรธ เพราะฉะนั้น ความโกรธนี้ก็เป็นภัย เป็นทุกข์เป็นภัย ทำลายความเที่ยงตรง ทำลายการตั้งอยู่ในธรรมได้ ทำให้เกิดอคติขึ้นมา ความโกรธนี่เพราะไปรักส่วนหนึ่ง ไปชังส่วนหนึ่งนั้นเอง เป็นคู่กับความรัก ถ้าไม่รักแล้วมันก็โกรธ สิ่งที่เราไม่ชอบมันก็โกรธ ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความชอบ บางทีเขาพูดดี ๆ ชวนดี ๆ หาว่าเขาเย้ยหยันว่าต่าง ๆ ว่าประชด ว่าต่าง ๆ ที่จริงเขาก็พูดดี ถ้าใจของเราไม่พอใจ ถ้าเกิดความโกรธแล้ว เห็นแต่เขายิ้มใส่ก็นึกว่าเขาเย้ยให้ตัวเอง โกรธขึ้นมาก็มี เรียกว่า อคติเพราะความโกรธ 

    ???????????? ถ้าเราทั้งหลายใช้ความโกรธกับตัวของเราเองและกับข้าศึกคือกิเลสที่มีอยู่ในตัวของเราเองแล้วพยายามเผากิเลสเหล่านั้น เพียรเผาเพื่อให้หมดไป มันก็ได้ประโยชน์ เรียกว่า "ตโป" ความเพียรเผา อาตาปี สัมปชาโน สติมา เพียรแผดเผากิเล ที่นี้เมื่อกิเลสมันอยู่ในตัวเรา เผาตรงไหนล่ะทีนี้ เมื่อกิเลสมันอยู่กับคนอื่น เผาตรงไหนละ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์ เมื่อกิเลสอยู่ในบุคคลใด บุคคลอื่นแล้วเราทำอย่างไร? เราก็ปล่อยวางให้เป็นของคนนั้น เผาแต่ตัวเขา ถ้าเราไม่สามารถที่จะช่วยได้อย่าไปเกี่ยวข้อง เหมือนกับคนพาล พระพุทธเจ้าไม่ให้คบกับคนพาล เพราะอะไร คนพาลนี้กิเลสเป็นไฟกองหนึ่ง จะโกรธให้เราเมื่อไหร่ก็ได้ ทำลายเราเมื่อไหร่ก็ได้ คนพาลนี้ไม่มีสัจจะไม่มีความจริง ตลบตะแลงต่าง ๆ เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่ให้คบคนพาล และไม่คบธรรมที่พาล แม้สิ่งที่ไม่ดีที่อยู่ในตัวเรา เราก็ไม่คบกับมัน ธรรมดาคนแล้ว ปรารถนาดีทุก ๆ คน แต่สิ่งที่ไม่ดีก็คือกิเลสที่เป็นธาตุไม่ดี เป็นธาตุที่ตรงกันข้ามกับกุศล คืออกุศลนั่นเอง มีอยู่ในบุคคลผู้ใดแล้วมันก็ย่อมแผดเผาทุก ๆ คนไม่เลือก แต่ถ้าหากว่า บุคคลรู้จักว่า กิเลสนี้เป็นธรรมภายนอก สลัดออกจากตัวของเรา เราก็เผาได้ ถ้าเรารู้เป็นสิ่งภายนอก ถ้าเรามีอุปทานยึดถือแล้วเผาไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเราต้องใช้ปัญญาพินิจพิจารณา เอาตัวเราออกจากอารมณ์เหล่านั้น แล้วก็เพียรเผากิเลสเหล่านั้น กิเลสก็จะล่วงเลยทรุดโทรมไปตามลำดับ เรื่องความโกรธก็เป็นเหตุให้จิตมีอคติ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องระวังในเรื่องความโกรธ ความพยาบาทอาฆาตต่าง ๆ นี้ คือ โทสาคติ

    ?????????????โมหาคติ?ความหลง ไม่พินิจพิจารณาให้รอบคอบ เชื่อง่ายไม่มีปัญญา 

    ?????????????เพราะฉะนั้นความเชื่อถือสำคัญมาก เราต้องพินิจพิจารณา ตรวจตราด้วยเหตุด้วยผลว่า สิ่งนี้เป็นกุศล สิ่งนี้เป็นอกุศล เมื่อบุคคลกระทำสิ่งที่เป็นอกุศล นั่น ย่อมให้เกิดทุกข์ เกิดโทษขึ้นมา ไม่มีประโยชน์ สิ่งนี้เป็นกุศล ใครก็ตามเมื่อกระทำปฏิบัติแล้ว ก็ย่อมมีผลดีให้ความสุข ความเจริญ ทุกคน เราเชื่ออย่างนี้ ไม่เชื่องมงาย เชื่อด้วยการตรวจตรองพิจารณา ที่เขาพูดเขาชักชวนเขาอ้าง อาจเป็นไปเพื่อความสงบ หรือเป็นไปเพื่อความเศร้าหมองบริสุทธิ์หรือไม่ เราจะไม่เป็นคนหลงมีอคติ เพราะความหลงรักหลงโกรธนั่นเอง หลงถือไม่ใช้สติปัญญาของเราเอง

    ?????????????ภยาคติ?อคติเพราะความกลัว ในตัวของเราบ้าง จากภัยข้างนอกบ้าง แล้วเป็นเหตุให้มีอคติ ให้ประพฤติทุจริตตั้งอยู่ในธรรมไม่ได้ ทุจริตด้วยกายด้วยวาจาและด้วยจิตใจเพราะความกลัว

    ???????????? เพราะฉะนั้น อคติในธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้วางไว้ ที่ทำให้จิตเกิดมีความลำเอียงนั้น มีอยู่ 4 ข้อด้วยกัน คือ?ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก?โทสาคติ?ลำเอียงเพราะโกรธ?โมหาคติ?ลำเอียงเพราะหลง?ภยาคติ

    ???????????? เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะสร้างบารมี ขันติบารมีก็ดี จะตลอดรอดฝั่งก็เพราะต้องเป็นผู้ไม่มีอคติ มีขันติ วิริยะ สัจจะ อธิษฐาน บารมีหรือรักษา ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องการให้จิตตรง ตามอริยมรรคประกอบไปด้วยองค์ 8 ตั้งอยู่ในหลักตรง เที่ยงต่อหาทางการประพฤติปฏิบัติกาย จึงเป็นกายสัมมากัมมันโต วาจาจึงเป็นสัมมาวาจา การเลี้ยงชีพจึงจะสามารถรักษาสัมมาอาชีวะได้ ความเพียรพยายาม จึงสามารถรักษาสัมมาวายามะ ความเพียรชอบได้ สติจึงสามารถระลึกในธรรมที่ชอบได้ สมาธิจึงตั้งมั่นที่ชอบได้ เพราะเหตุใด เพราะมีความเห็นชอบ เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ คือความเห็นชอบนี้เอง ตั้งจิตให้ตรงต่อธรรม ต่อหนทาง ต่อมรรค ต่อผล ต่อนิพพาน เพราะความชอบมาจากความที่ตั้งจิตชอบ คือมีความเห็นชอบ มีความดำริชอบนี่แหละ ถ้าผู้ใดสามารถตั้งอบรมจิตให้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ แล้วอบรมกายให้มีการทำงานชอบ อบรมวาจาให้มีวาจาชอบ การเลี้ยงชีวิตให้ชอบ เพียรพยายามชอบ ตลอดถึงระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ นี้ เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ ทำจิตของตนให้ตรง ตรงต่อหลักธรรมเหล่านี้ครบถ้วนสมบูรณ์ นี้เป็นหนทางที่ก้าวหน้าไปตามลำดับ ถ้าไม่อย่างนั้นจะทำทุจริตผิดศีลธรรมตามเพศตามภูมิของตน ไม่ตรงต่อพุทธบัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงตรัส พระองค์ทรงห้ามกลับไปทำ อคติแล้วพระองค์ให้ทำ กลับไม่ทำ นั่น ไม่เห็นด้วย แก้ตัวไปอย่างอื่น นี่จิตอคติแล้ว ไม่ตรงแล้ว

    ?????????????คำว่าตรงนั้น ต้องพระองค์วางหลักกฎเกณฑ์ให้เรา "ละ" เราก็เพียรพยายาม "ละ" เพราะเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสรู้เล่น ๆ ไม่ได้พูดเล่น ๆ พูดสิ่งใด แม้แต่จะเล็กน้อยว่ามีโทษ ก็ต้องมีโทษจริง พระองค์ไม่ตรัสคำเพ้อเจ้อ พระองค์ตรัสเป็นสัจจะวาจา และสิ่งใดที่เป็นคุณที่พระพุทธเจ้าสอนให้บำเพ็ญ ให้สำรวม ให้ระวังให้รักษา ก็ต้องมีคุณประโยชน์จริง ๆ ถ้าไม่รักษา มันก็ไม่เป็นการดำเนินก้าวหน้าของการปฏิบัติ เพื่อออกจากทุกข์ภัยในวัฏฏสงสาร เราต้องเชื่อพระองค์

    ?????????????ทีนี้มีผู้แก้ว่าในสมัยโน้นอย่างหนึ่ง สมัยนี้อย่างหนึ่ง โน่นสมัยแต่ก่อน ยังไม่เจริญ เหมือนสมัยปัจจุบัน สมัยปัจจุบันนี้เขามีความเจริญ ไปไหนก็ไปรถไปเรือ ผลที่สุดก็เลยถือเอาสมัยนี้เป็นกฎเกณฑ์ในการตัดสินใจของเราเอง เหมือนกับพระพุทธเจ้าไม่มีอนาคตังสญาน ถ้าเราเชื่อความตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว อย่าว่าแต่ปัญญาความผิดความถูก กิเลสในมนุษยโลกอันหยาบ ๆ นี้เลย แม้แต่กิเลสในเทวดา พระองค์ยังรู้ว่า เทวดานั้นติดข้องอยู่ในกิเลสอะไร พรหมติดข้องอยู่ในกิเลสอะไร รูปพรหม อรูปพรหม พระองค์ตรัสรู้หมด ไกล ละเอียดขนาดไหน พระองค์รู้หมด

    ???????????? เพราะฉะนั้น ธรรมบัญญัติ ธรรมวินัยของพระองค์ที่พระองค์พูด ไม่ใช่พระองค์พูดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พระองค์ท่านรู้จักนิสัยของคน กิเลสของคนทุกทั่วโลก กามโลก รูปโลก อรูปโลก เพราะฉะนั้นเราจะอ้างว่า สมัยโน้น สมัยนี้ พระองค์มีอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ รู้หมด รู้ทั่วถึง พระพุทธเจ้าในอดีต ตลอดถึงพระพุทธเจ้า ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตข้างหน้า และธรรมบัญญัติ และเครื่องตรัสรู้ ที่พระพุทธเจ้าจะรู้ในอนาคตข้างหน้า พระองค์ก็รู้หมด จะเพียงกิเลสแค่นี้ จะเพียงแค่ประมาณสองพันกว่าปี สมัยนี้ว่าคนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ พระองค์ไม่รู้กิเลสของคนหรือ จะเอามาอ้างนี่เพราะอะไร เพราะอคติของตัวเอง กลัวจะลำบากบ้าง กลัวอย่างโน้นอย่างนี้บ้าง ไม่สามารถทำตามธรรมวินัย คำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เพราะความหลงบ้าง เพราะความกลัวบ้าง เพราะความชอบบ้าง เพราะความไม่พอใจในบางอย่าง ข้อบัญญัติที่ตนไม่ชอบ ก็บัญญัติยกเลิกไปด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้น สาวกในสุดท้ายภายหลัง จึงแยกเป็นพรรคเป็นพวก จึงมีหลายนิกาย หลายหมู่หลายคณะ ก็เพราะไปจากอคตินี้เอง ไม่ใช่อื่นไกล เพราะอคติ 4 อย่าง เข้ามาพัวพันกับจิตใจของบุคคลผู้นั้น ไม่ยอมรับความจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงพาดำเนิน ประพฤติปฏิบัติตามให้สมบูรณ์ถูกต้อง เพราะพระองค์ทรงบัญญัติว่า ถ้าผู้ใดใครก็ตาม ถ้าปฏิบัติธรรมให้สมบูรณ์ บริบูรณ์ในอริยมรรคประกอบไปด้วยองค์ 8 ประการแล้ว ใครก็ตาม คณะใดก็ตาม ศาสนาไหนก็ตาม ก็ย่อมพ้นจากทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ก็ย่อมสำเร็จอริยมรรคอริยผล ด้วยกันทั้งนั้น เพราะอริยมรรค ประกอบไปด้วยองค์ 8 ประการ นี่เป็นทางเดินของผู้ไม่มีข้าศึก? ที่จะพ้นจากข้าศึก

    ???????????? เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายนักปฏิบัติควรรับทราบเพื่อจะนำประกอบดู ส่องดูจิตใจของเราว่า จิตใจของเราในปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ในอคติอะไร เราปล่อยวางอคติ 4 เหล่า คือฉันทาคติได้แล้วหรือ โทสาคติได้แล้วหรือ โมหาคติได้แล้วหรือ ภยาคติได้แล้วหรือ หรือได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือยังมากน้อยเท่าไหร่ ?เหลือมากน้อยเท่าไหร่ ละได้แล้วเท่าไหร่ อันนี้หน้าที่ของเราต้องสอดส่องดู ถ้ายังมีอยู่ตราบใดแล้ว จิตจะไม่สามารถดำเนินตามทางให้มั่นคง ถูกตรงถูกต้อง เพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้นตามลำดับไปได้

    ???????????? เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายควรสอดส่องพิจารณาแล้วเราอยู่ในท่ามกลาง ไม่อยู่ในอคติเหล่านั้น เราอยู่ในธรรม พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น พระองค์สอนให้สงบให้ภาวนา เราก็ภาวนาตามที่พระองค์สอน ระลึกพุทโธ ๆ ปล่อยวางไปแล้วเชื่อตามเดินทางพระองค์ ทำตามนั้นไม่มีอะไรขัดข้อง ไม่มีอะไรขัดขวาง จิตก็ค่อยอ่อนลงไป จิตก็น้อมเข้าไปสู่พุทโธ จิตก็น้อมเข้าไปสู่ ธัมโม พุทโธกับธัมโม มันแยกกันไม่ออกนะ เมื่อพระองค์ดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว ก็มารวมอยู่ในธัมโม เพราะมันเป็นเพียงอารมณ์เท่านั้นเอง จะได้เห็นปรากฏทางตาเหมือนพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ไม่ได้? ปรากฏได้ก็ปรากฏทางใจ สิ่งใดที่ปรากฏทางใจล้วนเป็นธรรมารมณ์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พุทโธกับธัมโมจึงไม่ต่างกันเป็นอันเดียวกัน ระลึกพุทโธก็แปลว่าเราระลึกธัมโม ในส่วนสังโฆนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับพุทโธ ธัมโม สังโฆ เพราะหมายถึงคุณสมบัติ สุปฏิปันโน ปฏิบัติดี ถ้าจิตของเราระลึกพุทโธ ๆ ด้วยดี มีความสงบด้วยดี สังโฆ ก็อยู่ตรงนั้นอีก เพราะฉะนั้นที่พึ่งทั้ง 3 อย่างนี้ อยู่ในที่เราบริกรรมด้วยดี พุทโธ ๆ คอยรวม อย่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาขัดขวาง ก็ย่อมสงบตั้งมั่นแน่วแน่ผ่องใสสะอาดได้ เมื่อจิตมันตั้งหลักฐานมั่นคงแล้ว เราจะหยิบยกให้เกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในขันธ์ 5 ในรูป ในเวทนา สัญญา สังขาร ที่พระพุทธเจ้าว่าเป็นภาระอันหนักลึก ขันธ์ทั้งหลายทุกข์จริงๆ อันนี้เราจะได้กำหนดรู้ทุกข์ ตามความเป็นจริง ที่เรารับไม่ได้ เพราะจิตใจของเราภูมิกำลังยังไม่เพียงพอ

    ???????????? เพราะฉะนั้น ขอเราทั้งหลายจดจำไว้ให้ดี นำไปประพฤติปฏิบัติ ทำสม่ำเสมอให้สมควร ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง เราก็จะได้ประสบความสุขความเจริญ จากนี้ไปภาวนาต่อ สมควรแก่เวลาแล้วจึง
    เลิกพร้อมกัน

    โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : ไก่แก้ว [ 5 มิ.ย. 2545]?กระทู้ที่?005427

    คัดลอกจากหนังสือครบรอบสิริอายุ 82 ปี ของหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ?
    ช่วยพิมพ์ถวายเป็นธรรมทานโดยน้องนุดีค่ะ

    Home Main Page

    ใครมีโอกาส อย่าลืมไปทำบุญ วัดภูริทัตวนารามนะคะ
    โมทนาสาธุคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...