หลักธรรม เหตุแห่งทุกข์ ข้อที่หนึ่ง ตอนที่ ๒

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 19 มกราคม 2012.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ในกระทู้ตอนที่ ๒ นี้เพื่ออธิบายให้ทุกท่านได้เกิดความเข้าใจในเรื่องของ "ความคิด และการระลึกนึกถึง" จึงได้เขียนแยกแยะรายละเอียด ดังต่อไปนี้.-
    ระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ มีความซับซ้อน และมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ การทำงานของระบบสมองกับหัวใจ ซึ่งจะทำงานเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ในการทำงานเชื่อมโยงกันระหว่าง หัวใจกับสมองนั้น นอกเหนือจากการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง และส่วนต่างๆแล้ว หัวใจและสมองยังทำงานเชื่อมโยงกันในระบบอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่่งหัวใจและสมองจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมต่อกันตลอดเวลา แม้กระทั้งเวลานอนหลับ
    "ความคิด และการระลึกนึกถึง" ของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด "อารมณ์ และความรู้สึก " เนื่องจากความจำ,ความรู้ที่มีอยู่ในสมอง ซึ่งหากจะกล่าวกันในรูปแบบของหลักการทางศาสนาพุทธแล้วละก้อ นั่นก็หมายถึงการที่ หัวใจและสมองจะทำงานร่วมกัน ในการเกิดความรู้สึก ในการเกิดความจำ ในการเกิดการปรุงแต่งผสมผสานความรู้ ความคิด ประสบการณ์ เพื่อการทำงาน การประกอบอาชีพ และอื่นๆอีกมากมายหลายสิ่งหลายประการ
    ดังนั้น คำว่า "ระลึก ดำริ" เป็นเหตุแห่งทุกข์ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำความเข้าใจได้โดยง่าย ต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดของระบบการทำงานของสรีระร่างกาย จึงจะเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้
    การคิด และการระลึกนึกถึง ความหวนนึกถึง ของมนุษย์นั้น หากคิดและระลึกนึกถึง ในเรื่องของความเป็นธรรมดาตามธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ,ความไม่เที่ยง,สรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้น,ตั้งอยู่ ดับไป หรือ คิดแลระลึกนึกถึงว่า รูปกาย ,ความรู้สึก ,ความจำ ,ความปรุงแต่ง เป็นทุกข์ ถ้าคิดแบบที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ในหลักพุทธศาสนา และอาจเป็นการบิดเบือนหลักธรรมคำสอน ด้วยเหตุที่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ (ในที่นี้จะไม่อธิบายให้ได้รู้ว่า หลักธรรมเหล่านั้นมีไว้หรือสอนไว้เพื่ออะไร แต่ให้ท่านทั้งหลายคิดพิจารณาทำความเข้าใจด้วยตนเอง ซึ่งจักทำให้ท่านทั้งหลายได้พัฒนาสมองสติปัญญาให้เป็นไปตามหลักพุทธศาสนา ) เพราะในเรื่องของ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าไม่คิด ไม่ระลึกนึกถึง หรือหวนนึกถึง ย่อมมิใช่ความทุกข์ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่มีผู้ใดหลีกพ้น
    ความทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ฯลฯ ดังที่ได้กล่าวไป
    ถ้าหากเป็นในหลักศาสนาต่างๆ (ในที่นี้ไม่ขอกล่าวชื่อศาสนา) ล้วนไม่มีการคิดหรือระลึกนึกถึง ในเรื่อง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่เที่ยง สรรพสิ่งย่อม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือ ไม่มีการคิดหรือระลึกนึกถึง ในเรื่องของ รูปกาย ,ความรู้สึก ,ความจำ ,ความปรุงแต่ง ว่าเป็นทุกข์ ว่าเป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ แต่ในหลักศาสนาต่าง กลับสอนให้คิดแลระลึกนึกถึง ในพระผู้เป็นเจ้า ในพระเจ้า ในเทพเจ้า ในหลักคำสอนหรือคัมภีร์ ทั้งหลายเหล่านั้น เพื่อจักได้ไปอยู่ใกล้ชิดพระองค์ เพื่อได้ไปรับใช้พระองค์
    ย่อมทำให้เกิดความสบายใจ สบายกาย แม้จะเจ็บป่วยก็ตามที ความทุกข์จึงไม่ปรากฏมี อย่างนี้เป็นต้น

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    (ผู้เขียน)๑๙ ม.ค. ๒๕๕๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...