หลักฐานใหม่...คนไทคิด"ดินปืน" สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 20 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    [FONT=Tahoma,]ศิวพร อ่องศรี



    [​IMG]เมื่อถามถึงที่มาของบรรดาบั้งไฟ หลายคนก็คงนึกถึงชนชาติจีนมหาอำนาจแห่งเอเชีย เจ้าตำรับของสิ่งประดิษฐ์หลายๆ อย่างเป็นอันดับแรก

    แต่ล่าสุด อาจารย์อรไท ผลดี ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำโครงการวิจัย "บั้งไฟ" ขึ้นมา ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้มีการนำเสนอหลักฐานชิ้นใหม่ขึ้นมาว่า ชนเผ่าไท ซึ่งเป็น ชนเผ่าพื้นเมืองเผ่าหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้คิดค้นดินปืนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนชนชาติจีนที่เพิ่งจะคิดได้ในสมัยทวารวดีเสียอีก

    อาจารย์อรไทเล่าว่า ภูมิปัญญาเทคโนโลยีสุดล้ำยุคนี้เป็นของชนเผ่าไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศสาต์ บั้งไฟ เป็นจรวดโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาเทคโนโลยีล้ำยุคของชนเผ่าไทที่คิดค้นขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 5,000 ปี ก่อนจะแยกย้ายมาเป็นเผ่าต่างๆ จุดมุ่งหมายในการทำบั้งไฟนั้น เพื่อใช้ในประเพณีขอฝน ซึ่งปรากฏจากหลักฐานการจุดบั้งไฟ เพื่อใช้ในประเพณีขอฝนของชนเผ่าไท มีหลักฐานปรากฏการจุดบั้งไฟขอฝนในเผ่าไทลื้อ ไท-ยวน ไทพวน ไทอีสาน ไทดำ ไทแดง ไทครั้ง และอื่นๆอีกมากมาย

    อาจารย์อรไทเล่าถึงประเพณีการจุดบั้งไฟของชาวไทลื้อแห่งอาณาจักรสิบสองปันนาว่า ชาวไทลื้อมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ โดยพบหลักฐานว่า ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เจ้า ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี ดังนั้น การจุดบั้งไฟจึงเป็นภูมิปัญญาก่อนประวัติศาสตร์ของชาวไทลื้อแห่งอาณาจักรสิบสองปันนา ในมณฑลยูนนาน ก่อนที่จะอพยพมาอยู่ในประเทศไทย

    ชาวไทลื้อจะนิยมเรียกบั้งไฟว่า **บอกไฟขึ้น** วัตถุประสงค์ในการจุดบอกไฟขึ้น (ฟ้า) เพื่อบูชาพระอินทร์ หรือพระยาแถน ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งจะทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นอกจากนั้น ชาวไทลื้อยังจุดบอกไฟดอก (ดอกไม้ไฟ) ในงานบุญ เช่น งานฉลองที่วัด งานเทศน์มหาชาติ งานผ้าป่า กฐิน จุลกฐิน ฯลฯ

    ส่วนประเพณีการจุดบอกไฟของไท-ยวนแห่งอาณาจักรล้านนา อาจารย์อรไทเล่าว่า ชาวไท-ยวน เป็นชนเผ่าไทเมืองหรือไทมุง ที่อพยพมาจากอาณาจักรไทเดิม ในมณฑลยูนนานไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ได้ก่อตั้งอาณาจักรโยนกนครขึ้นบริเวณลุ่มน้ำโขง ดังนั้น การจุดบอกไฟจึงเป็นประเพณีโบราณของชนเผ่าไท-ยวนมาตั้งแต่อาณาจักรไทเมืองไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ก่อนที่จะอพยพมาตั้งอาณาจักรโยนกนคร เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน ชาวไท-ยวนจะเรียกว่า บอกไฟขึ้น เช่นเดียวกับไทลื้อ และเมื่อทำบอกไฟแล้วจะนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่วัดเรียกว่า การประเคนบั้งไฟ อีกทั้งจะมีการแต่งเพลงที่ใช้เซิ้งบอกไฟ และมีการแห่เซิ้งบอกไฟไปที่ก้าง (ค้าง) บอกไฟ ที่ทำเป็นเสาสูงใช้ไม้ตีเป็นบันไดสูงขึ้นไป เพื่อติดตั้งบอกไฟให้สูงเวลาจุดจะได้ส่งให้บอกไฟขึ้นสูงยิ่งขึ้น ปัจจุบันชาวไท-ยวน ที่ อำเภอลอง จ.แพร่ ยังคงสืบทอดการจุดบอกไฟนี้ประเพณีเช่นเดิม

    ส่วนประเพณีบุญบั้งไฟของชาวไทถิ่นอีสานแห่งอาณาจักรล้านช้างนี้ ชาวไทถิ่นอีสาน เป็นชนเผ่าไทลาวมีประวัติความเป็นมาที่เก่าที่สุด "เตอร์เรียน เดอ ลาคูเปอรี" ศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ ประจำมหาวิทยาลัยลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ของอินโดจีนระบุว่า ชนเผ่าไทมีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ตอนกลางของประเทศจีน ระหว่างแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณหุบเขาระหว่างแคว้นเสฉวนกับแคว้นเชนซี (เซียมไซ) โดยพบหลักฐานการกล่าวถึงอาณาจักรไทเมืองของชนชาติอ้ายลาว มาตั้งแต่ 4,200 ปีมาแล้ว ซึ่งชนชาติอ้ายลาวเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของประเทศจีน ก่อนที่พวกจีนฮั่นจะอพยพมาจากทางเหนือ

    ซึ่งประเพณีบุญบั้งไฟดั้งเดิมของชนเผ่าอ้ายลาว ก่อนที่จะอพยพลงมาตั้งอาณาจักรล้านช้างบนฝั่งแม่น้ำโขงนั้น ชาวอีสานมีตำนานความเชื่อเกี่ยวกับบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ตำนานพระยาคันคาก ตำนานท้าวผาแดง นางไอ่ เป็นต้น ประเพณีจุดบั้งไฟจะทำในเดือนหก ถ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวอีสานจะจุดบั้งไฟเพื่อบูชาและส่งสัญญาณเตือนพระยาแถนหรือวัสสการเทวดา (เทวดาแห่งฝน) ผู้ชอบการบูชาด้วยไฟ เพื่อดลบันดาลให้ฝนตกเพื่อมีน้ำฝนในการทำนาทำไร่

    ในส่วนของชาวไทพวนแห่งอาณาจักรล้านช้างก็มีประเพณีจุดบั้งไฟเช่นเดียวกัน ซึ่งชาวไทพวนเป็นกลุ่มคนไทที่อพยพมาจากเมืองพวนทางตอนใต้ของหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว มาตั้งแต่ พ.ศ.2370 ในสมัยรัชกาลที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานอยู่หลายจังหวัด ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์การจุดบั้งไฟ คือ ที่บ้านหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ชาวไทพวนจะจุดบั้งไฟในวันวิสาขบูชาของทุกปี เพื่อบูชาพระยาแถนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล หรือเป็นการบอกพระภูมิที่นาว่าถึงเวลาทำนาทำไร่แล้ว

    นอกจากนี้ชาวผู้ไทแห่งอาณาจักรสิบสองเจ้าไท ซึ่งเมื่อก่อนมีภูมิลำเนาก่อนประวัติศาสตร์อยู่ที่เมืองแถง (เมืองน้ำน้อยอ้อยหนู) แคว้นสิบสองเจ้าไท ภายหลังเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูแห้งแล้ง จึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองวังในเขตเวียงจันทน์ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ฝ่ายไทยปราบปรามได้ จึงได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทน์รวมทั้งชาวผู้ไทยมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ในจังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี และกาฬสินธุ์

    ประเพณีบุญบั้งไฟก่อนประวัติศาสตร์ของชาวผู้ไท มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองแถง แคว้นสิบสองเจ้าไท ซึ่งปรากฏหลักฐานในตำนานเรื่องท้าวผาแดง นางไอ่ มาตั้งแต่โบราณ จุดประสงค์ของประเพณีบุญบั้งไฟนั้นนอกจากจะเป็นพิธีกรรมบูชาพระยาแถนเพื่อขอฝนแล้ว ยังเป็นการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ซึ่งจะทำกันในเดือนหก เพื่อขอฝนให้ตกลงมาทันการเพาะปลูกข้าวกล้า

    ส่วนในการเตรียมอุปกรณ์บั้งไฟนั้น อาจารย์อรไทบอกว่า มีส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1.ส่วนดินระเบิดเรียกว่า หมื้อ หรือ มื่อ 2.ส่วนกระบอกบั้งไฟ และ 3.ส่วนประกอบและตกแต่งบั้งไฟที่เรียกว่าเอ้บั้งไฟ ในส่วนของดินระเบิดจะใช้สารประกอบ 3 ชนิด คือ ถ่านจากไม้ ดินประสิว และกำมะถัน จากนั้นจะนำดินระเบิดบรรจุลงในกระบอกบั้งไฟ โดยใช้ไม้ไผ่สีสุกและใส่ชนวนระเบิดที่ทำจากด้ายฝ้ายที่คลุกกับดินระเบิด

    และเมื่อประกอบเสร็จทั้งหมดแล้วก็จะมีการตกแต่งบั้งไฟให้สวยงาม โดยนำกระบอกบั้งไฟมาใส่หาง เพื่อให้สมดุลขณะพุ่งสู่ท้องฟ้า และใช้ไม้ไผ่ (ไม้รวก) มามัดรอบกระบอกบั้งไฟเรียกว่า "โหวต" ตัดให้มีขนาดยาวสั้นลดหลั่นลงมา เพื่อให้มีเสียงดังแหลมทุ้มขณะพุ่งลงมายังพื้นดิน แล้วใช้กระดาษสีมาปิดให้สวยงามทำเป็นพญานาค เสร็จแล้วนำเข้ากระบวนแห่ มีการเซิ้งนำไปยังบริเวณงาน

    ส่วนการจุดบั้งไฟนั้น จะต้องมีการทำฐานบั้งไฟที่เรียกว่า "ค้างบั้งไฟ" ซึ่งมีบันไดให้คนปีนไปจุดชนวนได้ ซึ่งหากบั้งไฟขึ้นดี ช่างจะได้รับการยอย่องพาแบกขึ้นบ่าแห่แหนฟ้อนรำกันไปทั่วงาน หากบั้งไฟไม่ขึ้นหรือระเบิดแตกก่อนพุ่งขึ้นฟ้า ช่างจะถูกจับแบกขึ้นบ่าไปโยนลงน้ำหรือหมกโคลน ซึ่งเป็นจารีตที่ปฏิบัติกันมานานไม่มีใครโกรธกันเลย
    [/FONT]

    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01pra05200250&day=2007/02/20&sectionid=0131
     

แชร์หน้านี้

Loading...