หลวงพ่อธุดงค์ผจญเสือร้าย

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 กันยายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]
    ขณะที่อยู่แบบสงัด ก็ปรากฏว่า เวลากลางคืน คืนหลังนี้ไม่ใช่ไสยศาสตร์ เป็นสัตว์ศาสตร์ คำว่า สัตว์ศาสตร์ ก็หมายความว่า สัตว์ที่มีความรู้ นั่นคือ เสือ เสือจริง ๆ พอเวลาประมาณสัก ๓ ทุ่มเศษ ๆ นั่งเจริญกรรมฐานกันอยู่ เมื่อเลิกจากการเจริญกรรมฐานแล้วก็นั่งคุยกัน พอนั่งคุยกัน แต่ว่าคุยกันในกลดต่างคนต่างอยู่ในกลด เพราะออกนอกกลดไม่ได้ ยุงกัด ยุงมันมาก ยุงจะกัด หรือไม่กัด เราก็ไม่อยากออกจากกลด ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ออกจากกลด
    ปรากฏว่า มีเสือมาตัวหนึ่ง กลางคืนเห็นเป็นสีขาว เพราะเดือนหงาย ตัวยาว ใหญ่มาก เดินดมฟึดฟัด ๆๆๆ อยู่รอบกลด เดินสัก ๓-๔ รอบ เดินไปเดินมา เดินมาเดินไป ก็ถามท่านอินทกะว่า เสือนี่จะทำอันตรายได้ไหม ท่านบอก ไม่ได้หรอก ท่านเฉยไว้ก็แล้วกัน ถ้าหากว่า ท่านไม่เฉย ท่านก็ไม่มีอะไรจะสู้ ก็ถามว่า คาถา ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ ตวาดป่าหิมพานต์ จะใช้ได้ไหม ท่านบอก ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ ให้ใช้แต่เวลาที่มีความจำเป็น ในเมื่อประจันหน้ากันจริง ๆ เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ใช้คาถาบทนี้แล้วตวาด ออกเสียงตวาด เสือก็ดี ช้างก็ดี จะหนีไป
    และเวลานี้เสือกำลังจะทำร้าย แต่เดินวนมาวน แต่เข้าในเขตกลดไม่ได้ ก็ไม่ควรจะว่าคาถาบทนี้ให้เฉยไว้เรื่องอันตรายต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของคณะของผม แต่ว่าเสือเดินวนมาวนไปอยู่พักหนึ่ง ก็คุ้ย แกไม่รู้จะทำอย่างไร แกก็คุ้ยดินเข้ากลด หันหลังมาคุ้ยดิน เพื่อให้เราออกจากกลด พวกเราก็ไม่ออก แกเล่นเอาย่ำแย่เหมือนกัน เล่นเอามุ้งตุงไปด้านหลัง คุ้ยดิน คุ้ยเอามาก
    ในที่สุดก็บอกท่านอินทกะว่า นี่จะทนไม่ไหวแล้วนะ คำว่า ทนไม่ไหว ไม่ได้หมายความว่าจะไปสู้กับเสือ เพราะดินเข้าหู เข้าตา เข้าหัว เข้าตัว มุ้งก็กระจุยกระจายไปหมด ท่านอินทกะก็เลยเอามือชี้ไปที่เสือ เพียงแค่ท่านชี้ไปเท่านี้เอง เสือก็วิ่งโชน วิ่งเข้าป่าหายไป
    ถ้าหากว่าพระทั้งหลายที่อ่าน หรือฟัง คิดว่า ใช้คาถาบทไหน คาถาจริงๆ คือบท เมตตญ จ สพพโร ต้องใช้กับ อิติปิโสฯ นี่ ทิ้งไม่ได้ ต้องขึ้นอิติปิโสฯ ก่อน ก็สวดมนต์ธรรมดานี่เอง และนอกจากนั้นก็แผ่เมตตาจิต คือ ใช้พรหมวิหาร ๔ แผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง ถ้าถามว่าแผ่เมตตาแล้ว ทำไมเสือจึงมาเล่นงาน ก็ต้องตอบว่า นั่นเป็นหน้าที่ของเสือ ไม่ใช่หน้าที่ของพระ เสือมันจะมากิน ถ้าถามว่าทำไมจึงเข้าในเขตกลดไม่ได้ก็ต้องตอบว่า ด้วยอำนาจของท้าวมหาราชกับบริวารของท่าน ทำให้เสือเข้ามาในเขตของกลดไม่ได้ หลักเราปักตรงไหน เสือเข้าถึงหลักนั้นไม่ได้หลักผูกสายกลด
    เป็นอันว่า ตอนเช้าชาวบ้านมาเห็นเข้าก็ทราบว่า อันตรายเกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ ถามว่าเมื่อคืนนี้มีอะไรมารบกวนท่านหรือขอรับ ก็บอกว่า มีเสือตัวใหญ่ เขาบอกว่า เสือตัวนี้พวกผมตามล่ามาหลายครั้งแล้วไม่พบมันสักทีหนึ่ง ถ้าพบเมื่อไรต้องยิงมันเมื่อนั้นมันร้ายกาจเหลือเกิน เคยเข้าไปขโมยสุนัขมากินบ้าง ขโมยไก่ไปกินบ้างหรือลูกวัวตัวเล็ก ๆ มันก็คาบเอาไปกิน มันเป็นสัตว์ที่มีความดุร้ายมาก ผมก็คิดไม่ถึงว่า มันจะเข้ามาทำร้ายท่าน คืนนี้ผมจะมานอนเป็นเพื่อน ก็เลยบอก ไม่ต้องหรอกโยม อาตมาเสี่ยงแล้ว ถือว่า ถ้าไม่ดีมันก็ตายไปเอง เทวดาหรือพระไม่ช่วย ถ้าหากว่าเรามีความดี เทวดากับพระท่านช่วยก็ไม่เป็นไร
    หลังจากฉันเสร็จก็ลาญาติโยมทั้งหลาย ถอนกลดเดินทางต่อไป ไปคราวนี้ก็ไม่รู้ว่าไปถึงไหน ไปพบกุฏิหลังหนึ่ง เป็นบ้านเรือนไทยแบบธรรมดาๆ แต่เก่าแล้ว หลังใหญ่หน่อย เป็นบ้านร้าง จะเป็นบ้านร้างหรือวัดร้างก็ไม่ทราบ มันมีหลังเดียวจริง ๆ ก็พากันปักกลดรอบบ้านหลังนั้น ถามท่านอินทกะว่า ที่นี่จะมีอันตรายไหม ท่านบอกว่า ขึ้นชื่อว่าอันตรายมันมีทุกแห่ง ให้คิดไว้เสมอว่า ทุกแห่งมีอันตรายจะต้องระวังไว้ ก็ถามว่า อันตรายอื่นใดจะมีไหม อย่างเสือ เป็นต้น ช้าง เป็นต้น ท่านบอก เสือกับช้างไม่ต้องห่วง ไม่มี เพราะผมกันได้ แต่คืนนี้จะมีอันตรายแตกต่างจากเมื่อก่อนนี้ ก็ถามว่า จะเป็นอะไรท่านบอก เอาไว้ดูเมื่อถึงเวลานั้น
    ก็เป็นอันว่า ในเมื่อคิดว่าจะมีอันตราย ก็ใช้สวด เมตตญ จ สพพโรฯ เพื่อเป็นที่รักของเทวดา มนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย เสร็จก็นั่งภาวนากันตามปกติ ใช้จิตตามสบาย ๆ ถือว่า อันตรายใด ๆ ถ้าจะพึงมีกับเรา ก็ต้องเป็นอันตรายที่เกินวิสัยของเทวดาที่ควบคุมขนาดอินทกะ ถ้าสู้ไม่ได้ เราก็ควรจะตาย ตัดสินใจว่า ถ้าตายเมื่อไร อย่างน้อยที่สุด เราก็ไปเกิดบนสวรรค์หรือเป็นพรหม หรือถ้าบังเอิญกำลังใจเราดี เราก็อาจจะไปนิพพาน แต่ความจริงเวลานั้นไม่ได้หวังอะไรทั้งหมดคิดแต่เพียงว่าเราต้องการบุญอย่างเดียว เมื่อเรามีบุญอยู่จิตมีเฉพาะบุญไม่คิดเป็นศัตรูกับใครอารมณ์ใจเป็นกุศลอย่างน้อยก็ไปสู่สุคติ มีสวรรค์ เป็นต้น
    ที่มา http://praruttanatri.com/v1/special/books/anlen/story20.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...