หลวงปู่ขาวพระอริยะคุณประเสริฐ ตอน การเรียนพระธรรมกับหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 24 สิงหาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    หลวงปู่ขาวพระอริยะคุณประเสริฐ ตอน การเรียนพระธรรมกับหลวงปู่มั่น
    [​IMG]
    ท่านอาจารย์มั่นเข่นใหญ่ เกี่ยวกับปัญหาโลกแตกของเราที่เรียนถาม แม้ไม่เรียนมากมายนัก แต่เวลาท่านหยิบยกออกมา คล้ายกับปัญหานี้เป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนา และท่านตลอดตัวเราเองแบบจะเยียวยาไม่ได้ เรารู้สึกเห็นโทษของตัวและเกิดความไม่สบายใจหลายวัน ทั้งที่ความจริงเราก็มิได้สงสัยว่า สมัยนี้จะไม่มีผู้สามารถบรรลุธรรมได้ ท่านเลยสับเขกเอาเสีย นับว่าพอดีกับคนปากไวอยู่ไม่เป็นสุข แต่ก็ดีอย่างหนึ่งที่ได้ฟังธรรมท่านอย่างถึงใจ

    เท่าที่ผมเล่ามานี้ ยังไม่ถึงเสี้ยวแห่งธรรมลึกซึ้งและเผ็ดร้อนที่ท่านแสดงนั่นเลย นั้นยิ่งลึกซึ้งและเผ็ดร้อนยิ่งกว่ามหาสมุทรสุดสาครและไฟในนรก แม้เรื่องผ่านไปแล้วท่านยังใส่ปัญหาผมอย่างเหน็บแนมเรื่อยมา บางครั้งยังยกปัญหานั้นมาประจานต่อหน้าที่ประชุมอีกด้วย ไม่ให้เสร็จสิ้นลงง่าย ๆ ว่ามิจฉาทิฐิบ้าง เทวทัตทำลายศาสนาบ้าง แหลกไปหมดไม่มีชิ้นดีเลย จนทำให้หมู่เพื่อนสงสัย มาถามก็มี ว่าเป็นดังท่านว่าจริง ๆ หรือ ผมต้องได้ชี้แจงให้ท่านทราบว่าผมมิได้เป็นไปตามปัญหาที่เรียนถามท่าน เป็นแต่อุบายเพื่อฟังธรรมท่านเท่านั้น ปกติถ้าไม่มีอุบายแปลก ๆ ขึ้นเรียนถาม ท่านไม่เทศน์ให้ฟัง แต่การยกอุบายขึ้นเรียนถามนั้นผมเองก็โง่ไป โดดไปคว้าเอาค้อนมาให้ท่านตีหัวเอา แทนที่จะยกอุบายอันราบรื่นดีงามขึ้นเรียนถาม และฟังท่านอธิบายพอหอมปากหอมคอ

    ตามปกติก็เป็นดังหลวงปู่ขาวเล่าให้ฟัง ถ้าไม่มีอะไรแปลก ๆ เรียนถามท่านก็พูดไปธรรมดา แม้เป็นธรรมก็เป็นไปอย่างเรียบ ๆ ไม่ค่อยถึงใจนัก เมื่อเรียนถามปัญหาชนิดแปลก ๆ รู้สึกท่านคึกคักและเนื้อธรรมที่แสดงออกเวลานั้น ก็เหมาะกับความต้องการ ดังที่เคยเรียนแล้วในประวัติท่าน

    ความจริงท่านก็มิได้สงสัยหลวงปู่ขาวว่าเห็นผิดไปต่าง ๆ ดังที่ท่านดุด่าขู่เข็ญ แต่เป็นอุบายของท่านผู้ฉลาดในการแสดงธรรม ย่อมมีการพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ เพื่อปลุกประสาทผู้ฟังให้ได้ข้อคิดเป็นคติเตือนใจไปนาน ๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นก็จะพากันนอนกอดความโง่ไม่สนใจคิดอะไรกันบ้างเลย และจะกลายเป็นกบเฝ้ากอบัวอยู่เปล่า ๆ พอถูกท่านสับเขกเสียบ้างดูเหมือนหูตั้งตาสว่างขึ้นได้บ้าง

    นิสัยพระธุดงคกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่นชอบขู่เข็ญสับเขกอยู่เสมอ จึงพอได้สติปัญญาขบคิดบ้าง ถ้าแสดงไปเรียบ ๆ ฟังไปเงียบ ๆไม่มีที่สะดุดฉุดใจให้ตื่นเต้นตกใจและกลัวบ้าง ใจคอยแต่จะหลับใน ไม่ค่อยได้อุบายพอเป็นเครื่องส่งเสริมสติปัญญาบ้างเลย กิเลสชนิดต่าง ๆ ที่คอยจะแซงหน้าอยู่แล้ว มักได้โอกาส ออกเพ่นพ่านก่อกวนและรังควานใจ เพราะอุบายไม่ทันกับความฉลาดของมัน เมื่อได้รับอุบายแปลก ๆ จากท่านเพราะการเรียนถามปัญหาเป็นสาเหตุ สติปัญญาก็รู้สึกคึกคักแพรวพราวขึ้นบ้าง ดังนั้นที่หลวงปู่ขาวเรียนถามท่านอาจารย์มั่นแม้จะผิดบ้างถูกบ้าง จึงอยู่ในข่ายที่ควรได้รับประโยชน์จากปัญหาธรรมนั้น ๆ ตามสมควรดังที่เคยได้รับเสมอมา

    ท่านว่าปีจำพรรษากับท่านอาจารย์มั่นปีแรกที่เชียงใหม่ เกิดความปีติยินดีอย่างบอกไม่ถูก สมที่พยายามติดตามท่านมาหลายปี แม้จะได้ฟังโอวาทท่านบ้างในที่ต่าง ๆ ก็เพียงชั่วระยะไม่จุใจ เดี๋ยวก็ถูกท่านขับไล่หนีไปอยู่คนละทิศละทาง เมื่อสบโอกาสวาสนาช่วย ได้จำพรรษากับท่านจริง ๆ ในพรรษานั้น จึงดีใจมากและเร่งความเพียรใหญ่แทบไม่ได้หลับนอน บางคืนประกอบความเพียรตลอดรุ่ง คืนวันหนึ่งจิตสงบรวมลงอย่างเต็มที่ไปพักใหญ่จึงถอนขึ้นมา เกิดความอัศจรรย์ในความสว่างไสวของใจซึ่งไม่เคยเป็นถึงขนาดนั้นมาก่อน ทำให้เพลิดเพลินในธรรมจนสว่างคาตาไม่ได้หลับนอนเลย

    ในคืนวันนั้น พอตื่นเช้าได้เวลาเข้าไปทำข้อวัตรอุปัฏฐากท่านอาจารย์มั่นและขนบริขารท่านลงมาที่ฉัน พอท่านออกจากที่ภาวนา ตาท่านจับจ้องมองดูหลวงปู่ขาวจนผิดสังเกต ท่านเองรู้สึกกระดากอายและกลัวท่านว่าตนทำผิดอะไรไปหรืออย่างไร สักประเดี๋ยวท่านก็พูดออกมาว่า

    ท่านขาวนี้ภาวนาอย่างไร คืนนี้จิตจึงสว่างไสวมาก ผิดกับที่เคยเป็นมาทุก ๆ คืน นับแต่มาอยู่กับผม ต้องอย่างนี้ซิ จึงสมกับผู้มาแสวงธรรม ทีนี้ท่านทราบหรือยังว่าธรรมอยู่ที่ไหน คืนนี้สว่างอยู่ที่ไหนล่ะท่านขาว

    สว่างอยู่ที่ใจ ครับผม ท่านเรียนตอบ ทั้งกลัวทั้งอายแทบตัวสั่น ที่ไม่เคยได้รับคำชมเชยแกมคำซักถามเช่นนั้น

    แต่ก่อนธรรมไปอยู่ที่ไหนเล่า ท่านจึงไม่เห็น นั่นแลธรรม ท่านจงทราบเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป ธรรมอยู่ที่ใจนั้นแล ต่อไปท่านจงรักษาระดับจิตระดับความเพียรไว้ให้ดีอย่าให้เสื่อมได้ นั่นแลคือฐานของจิต ฐานของธรรม ฐานของความเชื่อมั่นในธรรม และฐานแห่งมรรคผลนิพพานอยู่ที่นั่นแล จงมั่นใจและเข้มแข็งต่อความเพียรถ้าอยากพ้นทุกข์ การพ้นทุกข์ต้องพ้นที่นั่นแน่นอนไม่มีที่อื่นเป็นที่หลุดพ้น อย่าลูบคลำให้เสียเวลา เรามิใช่คนตาบอดพอจะลูบคลำ คืนนี้ผมส่งกระแสจิตไปดูท่านเห็นจิตสว่างไสวทั่วบริเวณ กำหนดจิตส่งกระแสไปทีไรเห็นเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดจนสว่างเพราะคืนนี้ผมมิได้พักนอนเลย.เข้าสมาธิภาวนาไปบ้าง ต้อนรับแขกเทพบ้างกำหนดจิตดูท่านบ้างเรื่อยมาจนสว่างโดยไม่รู้สึกพอออกจากที่จึงต้องมาถามท่าน เพราะอยากทราบเรื่องของหมู่คณะมานาน สบายไหม อัศจรรย์ไหม ทีนี้ ท่าน (พระอาจารย์มั่น) ถาม

    ท่านเล่าว่า ท่านนิ่งไม่กล้าเรียนตอบท่าน เพราะท่านดูตับดูปอดเราจนหมดแล้ว จะเรียนตอบเพื่อประโยชน์อะไร นับแต่วันนั้นมายิ่งกลัวและระวังท่านมากขึ้น แม้แต่ก่อนก็เชื่อท่านว่ารู้จักใจคนอย่างเต็มใจไม่มีทางสงสัยอยู่แล้ว ยิ่งมาโดนเข้าคืนนั้นก็ยิ่งเชื่อ ยิ่งกลัวท่านมากจนพูดไม่ถูก

    นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ท่านตั้งหลักใจได้อย่างมั่นคงและเจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับไม่มีเสื่อมถอยเลย ท่านอาจารย์มั่นก็จี้ใจเราอยู่เสมอ เผลอตัวไม่ได้ เป็นโดนท่านดุทันทีและดุเร็วยิ่งกว่าแต่ก่อน การที่ท่านช่วยจี้ช่วยเตือนเรื่อยมานั้น ความจริงท่านช่วยรักษาจิตรักษาธรรมให้เรา กลัวจะเสื่อมไปเสีย นับแต่นั้นมาก็ได้จำพรรษากับท่านเรื่อยมา พอออกพรรษาแล้วก็ออกเที่ยวบำเพ็ญในที่ต่าง ๆ ที่เห็นว่าสะดวกแก่ความเพียร ท่านอาจารย์เองก็ไปอีกทางหนึ่งโดยลำพัง ท่านไม่ชอบให้พระติดตาม ต่างองค์ต่างแยกกันไปตามอัธยาศัย เมื่อเกิดข้อข้องใจค่อยไปเรียนลามเพื่อท่านชี้แจงแก้ไขให้เป็นพัก ๆ ไป

    ความเพียรทางใจของหลวงปู่ขาวนับวันเจริญก้าวหน้า สติปัญญาค่อยแตกแขนงออกไปโดยสม่ำเสมอ จนกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจ อิริยาบถต่าง ๆ เป็นอยู่ด้วยความเพียร มีสติกับปัญญาเป็นเพื่อนสอนในการประกอบความเพียร จิตใจรู้สึกอาจหาญชาญชัย ไม่หวั่นเกรงต่ออารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกและแน่ใจต่อทางพ้นทุกข์ ไม่สงสัยแม้ยังไม่หลุดพ้น

    เวลาท่านไม่สบายอยู่ในป่าอยู่ในเขา ท่านไม่ค่อยสนใจกับหยูกยาอะไรเลยยิ่งไปกว่าการระงับด้วยธรรมโอสถ ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กันและยึดเป็นหลักใจระลึกไว้ได้นานกว่าธรรมดา ท่านเคยระงับได้ด้วยวิธีภาวนามาหลายครั้ง จนเป็นที่มั่นใจต่อการพิจารณาเวลาไม่สบาย เริ่มแต่จิตเป็นสมาธิคือมีความสงบเย็นใจ เวลาเป็นไข้ทีไร ท่านต้องตั้งหน้าสู้ตายกับการภาวนาด้วยความมั่นใจที่เคยเห็นผลประจักษ์มาแล้ว

    แรก ๆ ได้อาศัยท่านอาจารย์มั่นคอยให้อุบายเสมอในเวลาเป็นไข้ โดยยกเรื่องท่านขึ้นเป็นพยานว่า ท่านจะได้กำลังใจสำคัญ ๆ ทีไร ต้องได้จากการเจ็บป่วยแทบทั้งสิ้น เจ็บหนัก ป่วยหนักเท่าไร สติปัญญายิ่งหมุนตัวดีและรวดเร็วไปกับเหตุการณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเจ็บป่วย โดยไม่ต้องถูกบังคับให้พิจารณาและไม่สนใจกับความหมายหรือความตายอะไรเลย นอกจากจะพยายามให้รู้ความจริงของทุกขเวทนาทั้งหลายที่เกิดขึ้นและโหมเข้ามาในเวลานั้น ด้วยสติปัญญาที่เคยฝึกหัดอยู่เป็นประจำจนชำนิชำนาญ
    ที่มา หลวงปู่ขาวพระอริยะคุณประเสริฐ ตอน การเรียนพระธรรมกับหลวงปู่มั่น

    ท่านอาจารย์มั่นเข่นใหญ่ เกี่ยวกับปัญหาโลกแตกของเราที่เรียนถาม แม้ไม่เรียนมากมายนัก แต่เวลาท่านหยิบยกออกมา คล้ายกับปัญหานี้เป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนา และท่านตลอดตัวเราเองแบบจะเยียวยาไม่ได้ เรารู้สึกเห็นโทษของตัวและเกิดความไม่สบายใจหลายวัน ทั้งที่ความจริงเราก็มิได้สงสัยว่า สมัยนี้จะไม่มีผู้สามารถบรรลุธรรมได้ ท่านเลยสับเขกเอาเสีย นับว่าพอดีกับคนปากไวอยู่ไม่เป็นสุข แต่ก็ดีอย่างหนึ่งที่ได้ฟังธรรมท่านอย่างถึงใจ

    เท่าที่ผมเล่ามานี้ ยังไม่ถึงเสี้ยวแห่งธรรมลึกซึ้งและเผ็ดร้อนที่ท่านแสดงนั่นเลย นั้นยิ่งลึกซึ้งและเผ็ดร้อนยิ่งกว่ามหาสมุทรสุดสาครและไฟในนรก แม้เรื่องผ่านไปแล้วท่านยังใส่ปัญหาผมอย่างเหน็บแนมเรื่อยมา บางครั้งยังยกปัญหานั้นมาประจานต่อหน้าที่ประชุมอีกด้วย ไม่ให้เสร็จสิ้นลงง่าย ๆ ว่ามิจฉาทิฐิบ้าง เทวทัตทำลายศาสนาบ้าง แหลกไปหมดไม่มีชิ้นดีเลย จนทำให้หมู่เพื่อนสงสัย มาถามก็มี ว่าเป็นดังท่านว่าจริง ๆ หรือ ผมต้องได้ชี้แจงให้ท่านทราบว่าผมมิได้เป็นไปตามปัญหาที่เรียนถามท่าน เป็นแต่อุบายเพื่อฟังธรรมท่านเท่านั้น ปกติถ้าไม่มีอุบายแปลก ๆ ขึ้นเรียนถาม ท่านไม่เทศน์ให้ฟัง แต่การยกอุบายขึ้นเรียนถามนั้นผมเองก็โง่ไป โดดไปคว้าเอาค้อนมาให้ท่านตีหัวเอา แทนที่จะยกอุบายอันราบรื่นดีงามขึ้นเรียนถาม และฟังท่านอธิบายพอหอมปากหอมคอ

    ตามปกติก็เป็นดังหลวงปู่ขาวเล่าให้ฟัง ถ้าไม่มีอะไรแปลก ๆ เรียนถามท่านก็พูดไปธรรมดา แม้เป็นธรรมก็เป็นไปอย่างเรียบ ๆ ไม่ค่อยถึงใจนัก เมื่อเรียนถามปัญหาชนิดแปลก ๆ รู้สึกท่านคึกคักและเนื้อธรรมที่แสดงออกเวลานั้น ก็เหมาะกับความต้องการ ดังที่เคยเรียนแล้วในประวัติท่าน

    ความจริงท่านก็มิได้สงสัยหลวงปู่ขาวว่าเห็นผิดไปต่าง ๆ ดังที่ท่านดุด่าขู่เข็ญ แต่เป็นอุบายของท่านผู้ฉลาดในการแสดงธรรม ย่อมมีการพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ เพื่อปลุกประสาทผู้ฟังให้ได้ข้อคิดเป็นคติเตือนใจไปนาน ๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นก็จะพากันนอนกอดความโง่ไม่สนใจคิดอะไรกันบ้างเลย และจะกลายเป็นกบเฝ้ากอบัวอยู่เปล่า ๆ พอถูกท่านสับเขกเสียบ้างดูเหมือนหูตั้งตาสว่างขึ้นได้บ้าง

    นิสัยพระธุดงคกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่นชอบขู่เข็ญสับเขกอยู่เสมอ จึงพอได้สติปัญญาขบคิดบ้าง ถ้าแสดงไปเรียบ ๆ ฟังไปเงียบ ๆไม่มีที่สะดุดฉุดใจให้ตื่นเต้นตกใจและกลัวบ้าง ใจคอยแต่จะหลับใน ไม่ค่อยได้อุบายพอเป็นเครื่องส่งเสริมสติปัญญาบ้างเลย กิเลสชนิดต่าง ๆ ที่คอยจะแซงหน้าอยู่แล้ว มักได้โอกาส ออกเพ่นพ่านก่อกวนและรังควานใจ เพราะอุบายไม่ทันกับความฉลาดของมัน เมื่อได้รับอุบายแปลก ๆ จากท่านเพราะการเรียนถามปัญหาเป็นสาเหตุ สติปัญญาก็รู้สึกคึกคักแพรวพราวขึ้นบ้าง ดังนั้นที่หลวงปู่ขาวเรียนถามท่านอาจารย์มั่นแม้จะผิดบ้างถูกบ้าง จึงอยู่ในข่ายที่ควรได้รับประโยชน์จากปัญหาธรรมนั้น ๆ ตามสมควรดังที่เคยได้รับเสมอมา

    ท่านว่าปีจำพรรษากับท่านอาจารย์มั่นปีแรกที่เชียงใหม่ เกิดความปีติยินดีอย่างบอกไม่ถูก สมที่พยายามติดตามท่านมาหลายปี แม้จะได้ฟังโอวาทท่านบ้างในที่ต่าง ๆ ก็เพียงชั่วระยะไม่จุใจ เดี๋ยวก็ถูกท่านขับไล่หนีไปอยู่คนละทิศละทาง เมื่อสบโอกาสวาสนาช่วย ได้จำพรรษากับท่านจริง ๆ ในพรรษานั้น จึงดีใจมากและเร่งความเพียรใหญ่แทบไม่ได้หลับนอน บางคืนประกอบความเพียรตลอดรุ่ง คืนวันหนึ่งจิตสงบรวมลงอย่างเต็มที่ไปพักใหญ่จึงถอนขึ้นมา เกิดความอัศจรรย์ในความสว่างไสวของใจซึ่งไม่เคยเป็นถึงขนาดนั้นมาก่อน ทำให้เพลิดเพลินในธรรมจนสว่างคาตาไม่ได้หลับนอนเลย

    ในคืนวันนั้น พอตื่นเช้าได้เวลาเข้าไปทำข้อวัตรอุปัฏฐากท่านอาจารย์มั่นและขนบริขารท่านลงมาที่ฉัน พอท่านออกจากที่ภาวนา ตาท่านจับจ้องมองดูหลวงปู่ขาวจนผิดสังเกต ท่านเองรู้สึกกระดากอายและกลัวท่านว่าตนทำผิดอะไรไปหรืออย่างไร สักประเดี๋ยวท่านก็พูดออกมาว่า

    ท่านขาวนี้ภาวนาอย่างไร คืนนี้จิตจึงสว่างไสวมาก ผิดกับที่เคยเป็นมาทุก ๆ คืน นับแต่มาอยู่กับผม ต้องอย่างนี้ซิ จึงสมกับผู้มาแสวงธรรม ทีนี้ท่านทราบหรือยังว่าธรรมอยู่ที่ไหน คืนนี้สว่างอยู่ที่ไหนล่ะท่านขาว

    สว่างอยู่ที่ใจ ครับผม ท่านเรียนตอบ ทั้งกลัวทั้งอายแทบตัวสั่น ที่ไม่เคยได้รับคำชมเชยแกมคำซักถามเช่นนั้น

    แต่ก่อนธรรมไปอยู่ที่ไหนเล่า ท่านจึงไม่เห็น นั่นแลธรรม ท่านจงทราบเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป ธรรมอยู่ที่ใจนั้นแล ต่อไปท่านจงรักษาระดับจิตระดับความเพียรไว้ให้ดีอย่าให้เสื่อมได้ นั่นแลคือฐานของจิต ฐานของธรรม ฐานของความเชื่อมั่นในธรรม และฐานแห่งมรรคผลนิพพานอยู่ที่นั่นแล จงมั่นใจและเข้มแข็งต่อความเพียรถ้าอยากพ้นทุกข์ การพ้นทุกข์ต้องพ้นที่นั่นแน่นอนไม่มีที่อื่นเป็นที่หลุดพ้น อย่าลูบคลำให้เสียเวลา เรามิใช่คนตาบอดพอจะลูบคลำ คืนนี้ผมส่งกระแสจิตไปดูท่านเห็นจิตสว่างไสวทั่วบริเวณ กำหนดจิตส่งกระแสไปทีไรเห็นเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดจนสว่างเพราะคืนนี้ผมมิได้พักนอนเลย.เข้าสมาธิภาวนาไปบ้าง ต้อนรับแขกเทพบ้างกำหนดจิตดูท่านบ้างเรื่อยมาจนสว่างโดยไม่รู้สึกพอออกจากที่จึงต้องมาถามท่าน เพราะอยากทราบเรื่องของหมู่คณะมานาน สบายไหม อัศจรรย์ไหม ทีนี้ ท่าน (พระอาจารย์มั่น) ถาม

    ท่านเล่าว่า ท่านนิ่งไม่กล้าเรียนตอบท่าน เพราะท่านดูตับดูปอดเราจนหมดแล้ว จะเรียนตอบเพื่อประโยชน์อะไร นับแต่วันนั้นมายิ่งกลัวและระวังท่านมากขึ้น แม้แต่ก่อนก็เชื่อท่านว่ารู้จักใจคนอย่างเต็มใจไม่มีทางสงสัยอยู่แล้ว ยิ่งมาโดนเข้าคืนนั้นก็ยิ่งเชื่อ ยิ่งกลัวท่านมากจนพูดไม่ถูก

    นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ท่านตั้งหลักใจได้อย่างมั่นคงและเจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับไม่มีเสื่อมถอยเลย ท่านอาจารย์มั่นก็จี้ใจเราอยู่เสมอ เผลอตัวไม่ได้ เป็นโดนท่านดุทันทีและดุเร็วยิ่งกว่าแต่ก่อน การที่ท่านช่วยจี้ช่วยเตือนเรื่อยมานั้น ความจริงท่านช่วยรักษาจิตรักษาธรรมให้เรา กลัวจะเสื่อมไปเสีย นับแต่นั้นมาก็ได้จำพรรษากับท่านเรื่อยมา พอออกพรรษาแล้วก็ออกเที่ยวบำเพ็ญในที่ต่าง ๆ ที่เห็นว่าสะดวกแก่ความเพียร ท่านอาจารย์เองก็ไปอีกทางหนึ่งโดยลำพัง ท่านไม่ชอบให้พระติดตาม ต่างองค์ต่างแยกกันไปตามอัธยาศัย เมื่อเกิดข้อข้องใจค่อยไปเรียนลามเพื่อท่านชี้แจงแก้ไขให้เป็นพัก ๆ ไป

    ความเพียรทางใจของหลวงปู่ขาวนับวันเจริญก้าวหน้า สติปัญญาค่อยแตกแขนงออกไปโดยสม่ำเสมอ จนกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจ อิริยาบถต่าง ๆ เป็นอยู่ด้วยความเพียร มีสติกับปัญญาเป็นเพื่อนสอนในการประกอบความเพียร จิตใจรู้สึกอาจหาญชาญชัย ไม่หวั่นเกรงต่ออารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกและแน่ใจต่อทางพ้นทุกข์ ไม่สงสัยแม้ยังไม่หลุดพ้น

    เวลาท่านไม่สบายอยู่ในป่าอยู่ในเขา ท่านไม่ค่อยสนใจกับหยูกยาอะไรเลยยิ่งไปกว่าการระงับด้วยธรรมโอสถ ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กันและยึดเป็นหลักใจระลึกไว้ได้นานกว่าธรรมดา ท่านเคยระงับได้ด้วยวิธีภาวนามาหลายครั้ง จนเป็นที่มั่นใจต่อการพิจารณาเวลาไม่สบาย เริ่มแต่จิตเป็นสมาธิคือมีความสงบเย็นใจ เวลาเป็นไข้ทีไร ท่านต้องตั้งหน้าสู้ตายกับการภาวนาด้วยความมั่นใจที่เคยเห็นผลประจักษ์มาแล้ว

    แรก ๆ ได้อาศัยท่านอาจารย์มั่นคอยให้อุบายเสมอในเวลาเป็นไข้ โดยยกเรื่องท่านขึ้นเป็นพยานว่า ท่านจะได้กำลังใจสำคัญ ๆ ทีไร ต้องได้จากการเจ็บป่วยแทบทั้งสิ้น เจ็บหนัก ป่วยหนักเท่าไร สติปัญญายิ่งหมุนตัวดีและรวดเร็วไปกับเหตุการณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเจ็บป่วย โดยไม่ต้องถูกบังคับให้พิจารณาและไม่สนใจกับความหมายหรือความตายอะไรเลย นอกจากจะพยายามให้รู้ความจริงของทุกขเวทนาทั้งหลายที่เกิดขึ้นและโหมเข้ามาในเวลานั้น ด้วยสติปัญญาที่เคยฝึกหัดอยู่เป็นประจำจนชำนิชำนาญ
    ที่มาhttp://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     

แชร์หน้านี้

Loading...