หลวงตาเล่าเรื่องท่านพ่อลีสอนสมาธิสมเด็จฯ (อ้วน ติสฺโส)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 21 เมษายน 2014.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [​IMG]


    ในเรื่องนี้ขอนำเรื่อง “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร” สอนสมาธิ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)” ที่ “หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน” เล่าไว้ มาถ่ายทอดให้ท่านทั้งหลายได้รับทราบกัน มีความว่า

    “...พระสมเด็จฯ ผู้มีปฏิปทาอย่างนี้ หายากยิ่งนัก เพราะสมัยนี้อย่าหวังว่าจะหาพระสมเด็จฯ ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ยอมลดตน ลดทิฏฐิมานะเพื่อธรรมขั้นสูงนั้นเจอ หาเข็มในมหาสมุทรยังง่ายกว่า !! เป็นไหนๆ ในสมัยที่ท่านพ่อลีอยู่จำพรรษากับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส ปทุมวัน กรุงเทพฯ ท่านได้รับความเมตตาจากสมเด็จฯ เป็นอย่างมาก แต่สมเด็จฯ ท่านไม่ค่อยจะเชื่อน้ำยาพระกรรมฐานสักเท่าไร ท่านเคยออกคำสั่งไล่พระกรรมฐานออกจากป่า แม้หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เองก็เคยถูกท่านไล่มาแล้ว...”

    ท่านพ่อลีจึงคิดหาทางที่จะดัดนิสัยสมเด็จฯ ให้รู้เสียบ้างว่า

    “...ธรรมของจริง ผู้รู้จริงเป็นอย่างไร สมเด็จฯ ท่านอ่านตำรามาก ชอบวิจารณ์วิจัย แต่วันๆ ผ่านไปโดยไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาพิจารณาสังขาร ทำแต่งานภายนอก คิดดูแล้วก็น่าสงสาร ท่านเป็นผู้มีคุณูปการต่อเรา เราต้องปฏิบัติการตอบท่านด้วยธรรมที่รู้เห็นมาตามสติปัญญาที่มี”

    เมื่อท่านพ่อลีคิดอย่างนั้น ท่านก็เริ่มปฏิบัติการเบื้องต้น ท่านจึงกำหนดจิตเพ่งกสิณน้ำและไฟ ในบางคราวเพ่งกสิณน้ำใส่ สมเด็จฯ ก็จะหนาวสะบั้นสั่นเทาเหมือนคนเป็นไข้จับสั่น บางคราวเพ่งกสิณไฟ กำหนดเป็นไฟไปเผา สมเด็จฯ ร้อนรนกระวนกระวายผ่าวไปทั้งร่าง แต่การเพ่งกสิณทั้งนี้ไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กลับเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้บ่อยๆ สมเด็จฯ ท่านจึงเรียกท่านพ่อลีมาถามว่า

    “เอ...วันนี้มัน มันเป็นอะไรกันนะ เดี๋ยวร้อนเหมือนถูกไฟเผา เดี๋ยวหนาวจนสะบั้น”

    เมื่อท่านพ่อลีเข้าไปหา ทำทีจับโน่นจับนี่ พูดว่า “ไหน...ไหน...มันเป็นอะไร” อากาศร้อนหนาวมันก็เปลี่ยนแปลงบ้างแหละ...ขอรับเจ้าประคุณ !

    เมื่อเป็นหลายครั้งหลายหน สมเด็จฯ ท่านเป็นนักปราชญ์ฉลาดหลักแหลม ช่างสังเกตหาเหตุผลเสมอจึงเอะใจ เป็นที่น่าสงสัยเพราะถ้าท่านพ่อมาเมื่อใดอาการนั้นก็หายทันที สมเด็จฯ ท่านจึงพูดกับพระใกล้ชิดว่า “เหตุที่เป็นดังนี้ ท่านลีคงทำเราแหละ เราเคยดูถูกพ่อของพระกรรมฐานคือท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านลี”

    หลังจากนั้นมา สมเด็จฯ ท่านก็เข้าใจพระป่า อุดหนุนส่งเสริมในการสร้างวัดป่ากรรมฐาน เช่น วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นวัดที่สำคัญเป็นกองทัพธรรมกรรมฐานในสมัยนั้น

    [​IMG]

    ต่อมาสมเด็จฯ ท่านขอร้องให้ท่านพ่อลีสอนสมาธิให้ทุกวัน ท่านพ่อลีไปอยู่แห่งหนตำบลใด ท่านก็จดหมายไปตามมาทุกครั้ง นับว่าท่านพ่อลีเป็นผู้ที่ท่านโปรดปรานมาก เมื่อสมเด็จฯ ปฏิบัติได้ถึงขั้นจิตลงสู่ความสงบ ท่านถึงกล่าวชมท่านพ่อลีว่า “...คำพูดของคุณแปลกจากพระกรรมฐานองค์อื่น แม้เราจะทำไม่ได้ไม่ถึง ก็เข้าใจได้ชัดแจ้งไม่สงสัย พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับเรา เราก็ไม่ได้ประโยชน์เหมือนคุณมาอยู่กับเรา เพราะเรารู้สึกมีสิ่งแปลกประหลาดใจหลายอย่างในขณะนั่งสมาธิ”

    แล้วสมเด็จฯ ท่านก็เผยความในใจว่า “...เราไม่เคยนึกเคยฝันเลยว่า การนั่งสมาธิจะมีประโยชน์มากอย่างนี้ เราก็ได้บวชมานาน ไม่เคยเกิดความรู้สึกอย่างนี้เลย แต่ก่อนเราไม่นึกว่าการทำสมาธิเป็นของจำเป็น แต่บัดนี้เราได้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง อันมีผลปรากฏที่ใจแล้ว”

    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กล่าวสรุปไว้อย่างน่าฟังว่า “ท่านพ่อลีนี่เองเป็นผู้ที่สามารถเอาชนะใจสมเด็จฯ ได้ แต่ก่อนนั้นสมเด็จฯ เป็นคนบ้ายศ แล้วเที่ยวขนาบกรรมฐานไปทั่ว เที่ยวไล่ ไล่พระกรรมฐานที่อยู่ในป่าในเขา หลวงปู่มั่นก็เคยถูกไล่”

    ต่อมาในงานเผาศพหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล สมเด็จฯ ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงเดินเข้าไปหาและพูดว่า “เออ! ท่านมั่น เราขอขมาโทษเธอ เราเห็นโทษแล้ว แต่ก่อนเราก็บ้ายศ”

    หลวงตามหาบัวเล่าพร้อมทั้งหัวเราะ มีรอยยิ้มหน่อยๆ ที่ริมฝีปาก เป็นกิริยาที่น่ารักเคารพของพระอริยเจ้าผู้สงบระงับ นี่เองสาระสำคัญในบทนี้ ท่านผู้มีธรรมท่านปฏิบัติต่อกันด้วยความงดงาม ถือธรรมวินัยเป็นใหญ่ ไม่ได้ถือยศตำแหน่งอันกิเลสแต่งแต้มให้ลุ่มหลง ผู้รักธรรมจึงยอมตน สละตนจากความยึดมั่นถือมั่นไปสู่ความว่างเปล่าจากกิเลส แต่เต็มตื้นไปด้วยคุณธรรม เพราะการบรรลุธรรม บรรลุด้วยใจ หาใช่บรรลุด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ เพศภาวะ ชาติตระกูล ญาติพี่น้อง หรือทรัพย์สินเงินทองไม่ หากอยากได้ต้องมีการประพฤติปฏิบัติ พระกรรมฐานมีวิชชา มีธรรม มีศีล และมีชีวิตอันอุดมไปด้วยความดีเท่านั้น เพียงเท่านั้นจริงๆ

    [​IMG]

    ขณะที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) กำลังอาพาธหนัก ท่านได้สั่งว่า “ท่านลี ต้องอยู่กับเราจนตาย ถ้าเรายังไม่ตายจะหนีไปไหนไม่ได้ จะมาเฝ้าหรือไม่เฝ้าอยู่ปฏิบัติก็ตาม ขอให้เรารู้ว่าอยู่กับเราก็พอ”

    ท่านพ่อลีจึงรับปากว่าจะอยู่ปฏิบัติ แต่ก็คิดในใจว่าเป็นกรรมอะไรของเราหนอถึงต้องมาอยู่เหมือนถูกกักขังในเมืองพระนครเช่นนี้ ทันใดนั้นท่านได้กำหนดจิตพิจารณาได้ทราบว่า เป็นกรรมเก่าที่เคยขังนกเขาไว้ ก็เลยต้องจำใจอยู่

    ท่านพ่อลีได้ฝึกสอนให้สมเด็จฯ นั่งสมาธิทุกวัน โดยเจริญอานาปานสติมีข้อสำคัญอยู่ ๗ ข้อ คือ

    ๑. ให้ภาวนา ‘พุท’ ลมเข้ายาวๆ ‘โธ’ ลมออกยาวๆ ก่อน ๓ ครั้ง หรือ ๗ ครั้ง

    ๒. ให้รู้จักลมเข้าลมออกโดยชัดเจน

    ๓. ให้รู้จักสังเกตลมในเวลาเข้าออกว่ามีลักษณะอย่างไร สบายหรือไม่สบาย กว้างหรือแคบ ขัดหรือสะดวก ช้าหรือเร็ว สั้นหรือยาว ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สบายก็ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขจนได้รับความสะดวกสบาย เช่น เข้ายาวออกยาวไม่สบาย ให้เปลี่ยนเป็นเข้าสั้นออกสั้น เป็นต้น จนกว่าจะได้รับความสบาย เมื่อได้รับความสบายสะดวกดีแล้ว ให้กระจายลมที่สบายนั้นไปในส่วนต่างของร่างกาย เช่น สูดลมเข้าไปที่ท้ายทอยปล่อยลงไปในกระดูกสันหลังให้ตลอด ไปตามขาขวาทะลุถึงปลายเท้า แล้วกระจายไปในอากาศ แล้วก็กลับมาสูดใหม่ปล่อยเข้าไปในท้ายทอย ปล่อยลงไปในกระดูกสันหลัง ปล่อยไปตามขาซ้ายทะลุถึงปลายเท้า แล้วกระจายไปในอากาศ แล้วก็กลับมาปล่อยตั้งแต่ท้ายทอยผ่านไหล่ทั้งสองถึงข้อศอก ข้อมือทะลุถึงปลายนิ้ว กระจายไปในอากาศ แล้วก็ปล่อยลงคอหอยกระจายไปที่ขั้วปอดขั้วตับ กระจายเรื่อยลงไปจนถึงกระเพาะเบา กระเพาะหนัก แล้วก็สูดลมหายใจเข้าไปตรงกลางอกทะลุไปจนถึงลำไส้ กระจายลมสบายเหล่านี้ให้ทั่วถึงกัน จะได้รับความสะดวกขึ้นมาก

    ๔. ให้รู้จักขยายลมออกเป็น ๔ แบบ คือ

    ๑) เข้ายาว ออกยาว
    ๒) เข้าสั้น ออกสั้น
    ๓) เข้าสั้น ออกยาว
    ๔) เข้ายาว ออกสั้น

    แบบใดเป็นที่สบายให้เอาแบบนั้น หรือทำให้สบายได้ทุกแบบยิ่งดี เพราะสภาพของบุคคลลมหายใจย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา

    ๕. ให้รู้จักที่ตั้งของจิต ฐานไหนเป็นที่สบายของตัวให้เลือกเอาฐานนั้น (คนที่เป็นโรคเส้นประสาท ปวดศีรษะ ห้ามตั้งข้างบน ให้ตั้งอย่างสูงตั้งแต่คอหอยลงไปและห้ามสะกดจิต สะกดลม ให้ปล่อยลมตามสบาย ปล่อยใจตามลมเข้าลมออกให้สบาย แต่อย่าให้หนีไปจากวงลม) ฐานเหล่านั้นได้แก่

    ๑) ปลายจมูก
    ๒) กลางศีรษะ
    ๓) เพดาน
    ๔) คอหอย
    ๕) ลิ้นปี่
    ๖) ศูนย์ (สะดือ)

    นี้ฐานโดยย่อ คือที่พักของลม

    ๖. ให้รู้จักขยายจิต คือ ทำความรู้ให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย

    ๗. ให้รู้จักประสานลม และขยายจิตออกให้กว้างขวางให้รู้ส่วนต่างๆ ของลม ซึ่งอยู่ในร่างกายนั้นก่อน แล้วจะได้รู้ในส่วนอื่นๆ ทั่วไปอีกมาก คือ ธรรมชาติของลมมีหลายจำพวก ลมเดินในเส้นประสาท ลมเดินหุ้มเส้นประสาททั่วๆ ไป ลมกระจายออกจากเส้นประสาทแล่นแทรกแซงไปทั่วทุกขุมขน ลมให้โทษและให้คุณย่อมมีปนกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน


    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=47621
     

แชร์หน้านี้

Loading...