เรื่องเด่น หรือเวียดนามจะแซงไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก?

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 19 กรกฎาคม 2017.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,702
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,015
    85829_th.jpg
    หรือเวียดนามจะแซงไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก?


    2560-07-17-01-SpkJudiciary12(2).jpg



    23034(4).jpg



    72240(2).jpg



    44613_th.jpg



    34195_142911772391232_6619723_n(1).jpg



    พระครูพิพิธสุตาธร (พระมหาบุญช่วย สิรินฺธโร) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้เดินทางไปร่วมการประชุมนานาชาติ เพื่อนำเสนอบทความทางวิชาการและผลงานวิจัย ของสมาคมวัฒนธรรมและศาสนาแห่งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South and Southeast Asia Association for Culture and Religion – SSEASR) และการประชุมระดับภูมิภาคของสมาคมเพื่อประวัติศาสตร์ศาสนานานาชาติ (International Association for the History of Religions – IAHR) ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์เวียตนาม (Vietnam Buddhist Research Institute) ณ สถาบันธรรมมินห์ ดัง กวาง ระหว่างวันที่ 9 – 11 กรกฎาคม 2560 นี้


    หลังจากนั้นได้สรุปเนื้อหาพร้อมภาพเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวคือ "Phramaha Boonchuay Doojai" ซึ่งได้เห็นมติก็การทำงานร่วมกันทางวิชาการระหว่างผู้นำชาวพุทธ โดยได้เห็นภาพสังฆราชประเทสกัมพูชาและพระผู้นำประเทศเวียดนามได้เข้าร่วมอย่างพร้อมเพียง นั้นแสดงให้เห็นว่าพระเถระผู้นำของประเทศทั้งสองให้ความสำคัญกับงานด้านวิจัยเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนางานต่อและได้เห็นภาพแบบนี้ในหลายๆเวทีทั่วโลก


    ขณะเดียวกันในส่วนของพระครูพิพิธสุตาธรเมื่อได้มีโอกาสร่วมงานวิชาการหรืองานชุมชนแล้วได้สรุปเป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่ายเผยแพร่ต่อทางสื่อออนไลน์จึงนับได้ว่าพระในยุคดิจิทอลหรือพระ4.0ได้อย่างสมบูรณ์แทนที่จะโพสต์ภาพและบอกว่าไปทำอะไรที่ไหนและจบเพียงเท่านี้เหมือนกับพระหรือบุคลากรในวงการพระพุทธศาสนาทั่วไป แต่พระครูพิพิธสุตาธรได้เพิ่มคำอว่างไรเข้าไปด้วย ซึ่งตรงนี้ทำให้ผู้ที่รับข่าวสารข้อมูลได้มีปัญญาเพิ่มขึ้นไปอีกแทนที่จะได้เห็นแต่เพียงภาพเท่านั้น ซึ่งก็มีน้อยมาในวงการพระสงฆ์ไทยที่มีความสามรถที่จะสรุปความแนะนำมาเผยแพร่ จึงนับได้ว่าเป็นการเผยแพร่เชิงรุก


    จากผลการไปร่วมประชุมนานาชาติดังกล่าว พระครูพิพิธสุตาธรได้สรุปเนื้อหาความว่า มีสิ่งที่ได้เรียนรู้มากมาย ดังนี้


    1) การลงทุนเพื่อการพัฒนา


    ในงานครั้งนี้ ได้เห็นศักยภาพของพระสงฆ์เวียตนาม และการบริหารกิจกรรมคณะสงฆ์ที่มีแนวโน้มจะพัฒนาก้าวหน้าไปในระดับนานาชาติได้อย่างมีเป้าหมาย มีระบบ และมีความร่วมมือ โดยงานนี้พระสังฆาธิการระดับสูงได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดประชุม ร่วมพิธีเปิดและปิดการประชุม เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอบทความทางวิชาการและผลงานวิจัยที่ตนเองสนใจตามแต่เวลาจะอำนวย


    ด้านพระภิกษุและภิกษุณีนักวิชาการและนักวิจัย ต่างก็ถูกกำหนดบทบาทให้ทำหน้าที่อย่างเป็นระบบ กลายเป็นฟันเฟืองแห่งความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ หลายรูปเป็นรุ่นน้องที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย เช่น ท่านศาสตราจารย์ ดร. ทิค นัท ตู (Thich Nhat Tu) รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเวียตนาม ทำหน้าที่เป็นประธาน (Chair) จัดประชุม ในการจัดประชุมครั้งนี้ เป็นประธานร่วม (Co-chair) ในการประชุมช่วงต่างๆ เป็นผู้แปลภาษา (Translator) เป็นผู้นำเสนอบทความทางวิชาการและผลงานวิจัย (Speaker) ทั้งในภาคภาษาอังกฤษและภาษาเวียตนาม และเป็นช่างภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเก็บรายละเอียดของงานเพื่อเผยแพร่ ตลอดถึงเป็นอาสาสมัครต้อนรับนักวิชาการที่มาจากหลากหลายประเทศ


    นอกจากจะมีด้านพระภิกษุและภิกษุณีนักวิชาการและนักวิจัย ที่สำเร็จการศึกษามาจากประเทศอินเดียเป็นกำลังหลักสำคัญในการจัดประชุมแล้ว จำนวนหนึ่งก็สำเร็จการศึกษาจากประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็จบจาก มจร นี่เอง ที่ล้วนมีศักยภาพที่จะช่วยจัดการประชุมได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นเรื่องน่าภูมิใจยิ่ง


    อย่างไรก็ตาม จากในอดีตเมื่อสิบกว่าปีก่อนนี้พวกเรานักศึกษาไทยจะมีความรู้สึกว่า นักศึกษาที่เป็นพระภิกษุและภิกษุณีชาวเวียตนามที่ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอินเดียนั้น มีภาษาการสื่อสาร (conversation) ในระดับที่อาจจะด้อยกว่าพระนักศึกษาไทย ส่วนภาษาเขียนนั้นก็ต้องยอมรับว่าพระภิกษุและภิกษุณีชาวเวียตนามเหนือกว่าพระไทยอยู่หลายขุม อาจเป็นเพราะเวียตนามมีความคุ้นเคยกับอักษรโรมันมากกว่าพระนักศึกษาไทยเรานั่นเอง


    แต่จากการที่การพระพุทธศาสนาในประเทศเวียตนาม ลงทุนส่งพระภิกษุและภิกษุณีไปศึกษาต่อในต่างประเทศจำนวนมากทั้งในประเทศอินเดีย (บางปีการศึกษามีนักศึกษาพระภิกษุและภิกษุณีชาวเวียตนามร่วม 100 ชีวิต) บัดนี้ได้ส่งผลให้เห็นชัดเจน จากการสังเกตในการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ว่า หากพิจารณาถึงความก้าวหน้าสู่ความเป็นพระพุทธศาสนานานาชาติ(ในภูมิภาคอาเซียน)แล้ว นับได้ว่ามีแนวโน้มที่พระภิกษุและภิกษุณีชาวเวียตนามนั้นได้พัฒนาไปไกลพอสมควร


    2. ปัจจัยความก้าวหน้า


    2.1 การสนับสนุนจากฝ่ายบริหารกิจการพระพุทธศาสนาและกิจการคณะสงฆ์ โดยภาครัฐบาลได้เปิดโอกาสให้พระภิกษุและภิกษุณีชาวเวียตนามไปศึกษาพัฒนาตนเองในระดับบัณฑิตศึกษาในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา ฝ่ายส่วนฝ่ายคณะสงฆ์ก็เป็นโอกาสและสนับสนุนในการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการจัดหาทุนการศึกษา และส่งเสริมให้สอบขอทุนจากต่างประเทศ เช่น ทุน ICCR ของรัฐบาลอินเดีย เป็นต้น


    2.2 การสนับสนุนทุนการศึกษา จากพุทธศาสนิกชนชานเวียตนามพ้นทะเล ที่อพยพหนีภัยสงครามไปอยู่ต่างประเทศ ทั้งจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น


    2.3 การทำความร่วมมือทางการศึกษากับ มจร ผ่าน ICDV และ IABU ที่ทำให้มีพระภิกษุและภิกษุณีชาวเวียตนามได้โอกาสรับทุนการศึกษา เข้ามาศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น


    2.4 ความพยายามในการจัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติให้บ่อย เพื่อเป็นเวทีในการพัฒนาบุคลากร ทั้งการจัดประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติในการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก การจัดประชุม SSEASR และ IAHR ในครั้งนี้ด้วย ไม่ใช่จัดเวทีด้วยความเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้คนอื่นมาใช้ในการพัฒนา


    2.5 การทำงานเป็นทีม สังเกตได้จากการประชุมครั้งนี้ ที่ทีมทำงานต่างทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี ที่น่าสนใจคือทีมแปลภาษาที่ได้ใช้พระภิกษุและภิกษุณีเป็นทีมทำงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมชาวเวียตนามได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ลักษณะที่เรียกกันว่า “One Man Show” อย่างที่พวกเราคุ้นเคย


    2.6 การมีพื้นฐานการใช้อักษรโรมันในภาษาเวียตนาม และความสนใจในภาษาอังกฤษที่มีเพิ่มมากขึ้น จากตัวอย่างของพระเถระและนักวิชาการชาวเวียตนามรุ่นก่อนๆ และ


    2.7 ความกล้าหาญในการสื่อสาร การใช้ภาษา โดยที่ไม่มีความรู้สึกเคอะเขิน ทำให้ปัจจุบันสำเนียงภาษาอังกฤษของพระภิกษุและภิกษุณีชาวเวียตนามมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ที่พระนักศึกษาไทยเคยล้อ ว่า “ภังเต” บัดนี้ล้อไม่ได้แล้วครับ


    นอกจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ที่คาดกันว่าอีกไม่นาน “เวียตนาม” จะก้าวนำประเทศไทย เหมือนที่เราเคยพัฒนาคู่กันมากับประเทศญี่ปุ่นเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา และเหมือนประเทศเกาหลีใต้ที่บัดนี้เหนือกว่าประเทศไทยไปหลายขุม ในการเดินทางไปประชุมที่ประเทศเวียตนามครั้งนี้ เท่าที่สังเกตจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ก็คิดว่าคงเป็นไปได้ในไม่ช้านี้ ที่เวียตนามจะก้าวนำไทยไปอีกประเทศ


    ครั้นมาดูการพัฒนาพระพุทธศาสนา แม้เวียตนามจะไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก” หรือประกาศตัวเองว่าเป็นคู่แข่งของประเทศไทย ในการพัฒนาไปสู่ความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก แต่จากบทเรียนที่กล่าวมาข้างต้น กอรปกับความป๊อบปูลาร์ของพระมหาเถระชาวเวียตนามอย่างท่านหลวงปู่ Thich Nhat Han ที่เป็นแบบอย่างการปฏิบัติในสิ่งที่สอน จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกแล้ว ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าความเป็น “International” ของพระพุทธศาสนาเวียตนาม ไม่น่าจะเป็นคำกล่าวที่เกินความเป็นจริงอย่างแน่นอน หากพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเรายังคง “ติดหล่ม” หลายต่อหลายเรื่อง อย่างที่คงไม่ต้องอธิบายว่ามี “หล่ม” อะไรบ้าง เพราะคนวงในเราก็รู้กันเป็นอย่างดี


    จากเนื้อหาข้อมูลตามที่พระครูพิพิธสุตาธรได้สรุป จึงได้ตั้งเป็นคำถามข้างต้นว่า "หรือเวียดนามจะแซงไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก?" เพราะชาวพุทธไทยมัวแต่ตีกันนอกเข่งอยู่ขณะนี้


    ที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/85829
     

แชร์หน้านี้

Loading...