หยุดเป็นตัวสำเร็จ ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 20 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ว่าด้วยอุเบกขา
    [๙๗๒] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่
    จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา
    มีจิตตั้งมั่น. ความหยุด ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
    ความที่ใจไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ความเป็นผู้
    มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน
    เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๗ - ๑๑๗๗๗. หน้าที่ ๔๒๖ - ๔๙๔.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
     
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

    ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอ
    หมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ
    อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญว่านี้ทุกข์ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
    ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
    ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
    แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน
    ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม
    มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง
    ธรรมโดยชอบ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๒๔๔ - ๑๓๐๐. หน้าที่ ๕๓ - ๕๕.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
     
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต



    ฌานสูตร
    [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
    นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อม
    พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
    อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
    ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอ
    ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่ง
    สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
    ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
    จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
    เพราะโอรัมภาคิย-
    *สังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย
    หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
    ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
    บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
    ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
    แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
    แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
    อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
    เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
    อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
    อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
    โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา
    เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
    แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
    อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
    อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
    นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
    ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
    เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
    หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
    ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
    ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
    เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตน-
    *ฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
    ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสา-
    *นัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
    ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน
    เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน
    ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาย
    ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ
    กองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
    ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
    อากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เรา
    อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
    ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
    ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
    คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
    คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
    ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
    ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
    อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน
    ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
    ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
    หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมา
    เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
    ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
    หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม
    เหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
    ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน
    นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลก
    นั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
    ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญา-
    *ปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานา-
    *สัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
    และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ
    จบสูตรที่ ๕
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๐๔๑ - ๙๑๔๕. หน้าที่ ๓๙๐ - ๓๙๔.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
     
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



    ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

    ๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
    ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
    มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่งมรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
    เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่

    มรรคย่อม
    เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
    นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่

    มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
    เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
    สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่

    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
    หนึ่ง ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๕๘๙. หน้าที่ ๓๑๓ - ๓๑๔.
     
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



    ๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)


    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่

    เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ

    มหาสุญญตสูตร ที่ ๒
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๘๔๖ - ๕๐๘๙. หน้าที่ ๒๐๖ - ๒๑๕.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
     
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    [๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ
    จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

    ดูกรอานนท์ ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
    สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
    ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
    เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
    ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน
    สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ
    มหาสุญญตสูตร ที่ ๒
    มหาสุญญตสูตร ที่ ๒
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๘๔๖ - ๕๐๘๙. หน้าที่ ๒๐๖ - ๒๑๕.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0<!-- m -->
     
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖


    เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน
    ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
    บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์
    ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง
    ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า
    พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง
    ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖


    เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน
    ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
    บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์
    ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง
    ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า
    พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง
    ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖


    เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน
    ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
    บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์
    ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง
    ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า
    พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง
    ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR class=row2><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖


    เรากล่าวบุคคลผู้เพ่งฌาน
    ปราศจากธุลี นั่งอยู่ผู้เดียว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
    บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ พระอาทิตย์
    ย่อมส่องแสงสว่างในกลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงสว่าง
    ในกลางคืน กษัตริย์ทรงผูกสอดเครื่องครบย่อมมีสง่า
    พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรือง
    ด้วยพระเดชตลอดวันและคืนทั้งสิ้น




    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR class=row2><TD class=profile align=middle></TD><TD height=22></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    Quote Tipitaka:
    ผู้บริสุทธิ์ มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เหมือนพระจันทร์
    ปราศจากมลทินนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เรากล่าวผู้ล่วงทาง
    ลื่น ทางที่ไปได้ยาก สงสาร และโมหะนี้เสียได้ เป็น
    ผู้ข้ามแล้ว ถึงฝั่ง เพ่ง (ฌาน) ไม่หวั่นไหว ไม่มีความ
    เคลือบแคลงสงสัย ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์
     
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖


    เรา
    กล่าวผู้ที่รู้ปุพเพนิวาส เห็นสวรรค์และอบาย และได้ถึง
    ความสิ้นไปแห่งชาติ อยู่จบพรหมจรรย์เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี
    อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวงแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ฯ
    ธรรมบท
    -----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๓๐๑ - ๑๔๒๔. หน้าที่ ๕๖ - ๖๑.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0<!-- m -->
     
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



    ๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)


    ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย
    จงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำ
    พร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๐๙๑๒ - ๑๑๐๗๓. หน้าที่ ๔๖๔ - ๔๗๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->
     
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



    ๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ
    รู้สึกตัว
    ในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน
    และเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา ฉัน ดื่ม
    เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน ยืน นั่ง
    นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป
    ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ
    พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    กายคตาสติสูตร ที่ ๙
    -----------------------------------------------------
    @๑. ดูข้อ ๒๕
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๑๘๒ - ๔๔๙๖. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๙๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->
     
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ดุษณีภาพอันประเสริฐเป็นไฉน

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



    ภิกขุสังยุตต์
    ๑. โกลิตสูตร
    [๖๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
    เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้รับคำท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะแล้ว ฯ
    [๖๘๗] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
    ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ผู้เร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่าดุษณี
    ภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ ดังนี้ ดุษณีภาพอันประเสริฐเป็นไฉน
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความดำริได้มีแก่เราดังนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าสู่ทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจใน
    ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    นี้เรียกว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้น เพราะระงับ
    วิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าสู่ทุติยฌานเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเรานั้น
    อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการอันประกอบด้วยวิตก ย่อมฟุ้งขึ้น ดูกร
    ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยฤทธิ์
    ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า โมคคัลลานะๆ ผู้เป็นพราหมณ์อย่าประมาทดุษณีภาพอัน
    ประเสริฐ เธอจงรวมจิตตั้งไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงกระทำจิตให้เป็นธรรม
    เอกผุดขึ้น
    ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงตั้งจิตมั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ
    สมัย
    ต่อมาเรานั้น เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าสู่ทุติยฌาน เป็นความผ่องใส
    แห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
    แต่สมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ หมายถึงบุคคลใด พึงกล่าวว่าสาวกผู้
    อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าว
    โดยชอบ พึงกล่าวหมายถึงเรานั้นว่า สาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้
    บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่แล้ว ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๑
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๑๙๒ - ๗๒๑๙. หน้าที่ ๓๐๙ - ๓๑๐.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->



     
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



    [๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
    พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
    มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก
    วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่
    เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
    ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
    เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว
    ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯ


    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
    พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
    อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
    มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
    ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง
    ญาณทัสสนะ ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๔๙๘๖ - ๕๐๓๑. หน้าที่ ๒๐๕ - ๒๐๗.
    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0
     
  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส



    สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖


    ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา
    [๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
    กาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
    โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
    รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
    ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
    จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
    กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
    แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
    ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
    บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
    ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
    กาลของสมถะ
    ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
    ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
    ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา
    ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาดในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๗ - ๑๑๗๗๗. หน้าที่ ๔๒๖ - ๔๙๔.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0<!-- m -->
     
  15. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



    มหาวรรค อานาปาณกถา

    [๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ
    [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
    แห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปใน
    สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนิน
    ไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถ-
    *นิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่ง
    ปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึง
    กล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
    ท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไป
    สู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
    หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑ จิตมีความปรากฏใน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑ ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่ง
    ปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    [๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    ปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอัน
    เดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
    ที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงาม
    ในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิต
    ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป
    ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม อย่าง ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
    ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วย
    ปัญญา ฯ
    [๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-
    *นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี
    ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-
    *นุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึง
    พร้อมด้วยปัญญา ฯ
    อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตา-
    *นุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
    ขยานุปัสนา วยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตา-
    *นุปัสนา สุญญตานุปัสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะ
    อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค
    สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ
    [๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
    เบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
    เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑
    จิตแล่นไปใน
    สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
    เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่
    สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
    หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏใน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
    เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
    เท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    อรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
    มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
    เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
    อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0<!-- m -->
     
  16. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่ ยังพละ
    ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วย
    ความเป็นธรรมเครื่องนำออก ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ ยัง
    สติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วยความ
    เริ่มตั้ง ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ ยังสัจจะให้ประชุมลงด้วยความ
    ถ่องแท้ ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วย
    ความพิจารณาเห็น ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความมีกิจเป็นอันเดียว
    กัน
    ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
    <!-- m -->http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B<!-- m --> ... agebreak=0
     
  17. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส



    [๗๘๘] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัส
    ก่อนๆ แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจดวิเศษแล้ว
    พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
    [๗๘๙] คำว่า ละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ แล้ว ความว่า พระปัจเจก-
    *สัมพุทธเจ้านั้น บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละสุข ทุกข์
    โสมนัสและโทมนัสก่อนๆ แล้ว.
    [๗๙๐] ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย กิริยาที่หยุดเฉย ความที่จิตระงับ ความที่จิต
    เป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในอุเทศว่า ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทฺธํ ดังนี้.
    ความตั้งอยู่ ความดำรงอยู่ ความหยุดอยู่ ความไม่ส่าย ความไม่ฟุ้งแห่งจิต ความ
    แน่วแน่ ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่าสมถะ.
    อุเบกขาในจตุตถฌาน และสมถะเป็นความหมดจด เป็นความหมดจดวิเศษ เป็นความ
    ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น
    ถึงความไม่หวั่นไหว.
    คำว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจดวิเศษ ความว่า ได้ ได้แล้วซึ่งอุเบกขาในจตุตถฌาน
    และสมถะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจดวิเศษ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
    เหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัส
    ก่อนๆ แล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันหมดจดวิเศษแล้ว
    พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๗๘๔๙ - ๗๘๖๘. หน้าที่ ๓๑๘.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
     
  18. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ภิกษุ ท.! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนักกายจะเมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ, เราจึงได้ดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้ ด้วยหวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.
    http://www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot/01-buddha/2-12.htmlเทวธาวิตักกสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒, ตรัสที่เชตวัน.
     
  19. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
  20. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291

แชร์หน้านี้

Loading...