ส่งการบ้าน...31-064 ๕ (11)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย deneta, 29 พฤษภาคม 2010.

  1. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    [๕๐๙] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีใน
    ขณะเดียวกันด้วยอาการเท่าไร ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ ย่อมมีในขณะเดียวกัน
    ด้วยอาการ ๗ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ เป็นไฉน ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ คือ ด้วยความเป็นใหญ่ ๑
    ด้วยความตั้งมั่น ๑ ด้วยความน้อมจิตไป ๑ ด้วยความนำออกไป ๑ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
    โดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะ
    ต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างนี้ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้งมั่นอย่างไร ฯ
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วย
    สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วย
    สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมตั้งจิตไว้
    มั่นด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้ง
    มั่นอย่างนี้ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความน้อมจิตไปอย่างไร ฯ
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วย
    สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิตไปด้วย
    สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมน้อมจิต
    ไปด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความ
    น้อมจิตไปอย่างนี้ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำออกไปอย่างไร ฯ
    บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่
    นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
    ทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับด้วย
    สามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำออกไป
    อย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ นี้ ฯ
    [๕๑๐] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ คือ ด้วยความประชุม
    ลง ๑ ด้วยความบรรลุ ๑ ด้วยความได้ ๑ ด้วยความแทงตลอด ๑ ด้วยความ
    ทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความถูกต้อง ๑ ด้วยความตรัสรู้ ๑ ฯ
    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ด้วยความ
    บรรลุ ด้วยความได้ ด้วยความแทงตลอด ด้วยความทำให้แจ้ง ด้วยความถูกต้อง
    ด้วยความตรัสรู้ อย่างไร ฯ
    บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมพ้นจากนิมิต เพราะ
    เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลย่อมพ้นจากอารมณ์ใด ย่อมไม่
    ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้ง
    อยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
    สุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะเหตุนั้น
    วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความ
    ประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
    พ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิต-
    *วิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น
    วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด
    เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตใด
    ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓
    ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคล
    มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมพ้นจากความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์
    นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะ
    เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต เพราะนิมิตใด ไม่
    ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้ง
    อยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
    สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ...
    ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ
    [๕๑๑] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นประธานมีอยู่ ธรรมอันเป็นประธาน
    แห่งวิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์
    มีอยู่ วิโมกข์วิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่งวิโมกข์
    มีอยู่ ฯ
    วิโมกข์เป็นไฉน คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต
    วิโมกข์ ฯ
    สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น
    โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุ
    ปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น โดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณ
    ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้น
    จากความยึดมั่นโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความ
    ยึดมั่นโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดย
    เป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความ
    ถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นนิมิต ...
    อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตา-
    *นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็น
    ความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะ
    เหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า
    ในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
    ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ใน
    วิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความ
    เป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การ
    พิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง
    เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.982681/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE cellPadding=6 width=400><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...