"สุขวิถี"คนร่วมสมัย ชีวิตดี..ดี ไม่ได้มีด้านเดียว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 สิงหาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    "สุขวิถี"คนร่วมสมัย ชีวิตดี..ดี ไม่ได้มีด้านเดียว

    โดย เชตวัน เตือประโคน



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>เคยไหม? ทั้งๆ ที่มีผู้คนรายล้อมอยู่รอบกาย แต่ก็ยังรู้สึกเหงา

    "เหงาทั้งๆ ที่มีผู้คน เหงาทั้งๆ ผู้คนมากมาย เธอว่าฉันยังดีกว่าเธอหรือ..." ---จอห์น รัตนเวโรจน์

    นั่งก็เหงา ยืนก็เหงา เดินก็เหงา นอนยิ่งเหงา ความรู้สึกที่เหมือนกำลังแสดงมิวสิควิดีโอเพลงอกหักอยู่ตลอดเวลานี้ กำลังระบาดอยู่ในหมู่คนร่วมสมัย โดยเฉพาะ วัยรุ่น

    หากจะเรียกว่าเป็น "เทรนด์" ก็คงพูดได้ เพราะเคยมีกรณีของบางคน ที่เพื่อนในกลุ่มเหงา ตัวเองไม่ได้เหงา แต่ด้วยความอยากเข้ากลุ่ม เขาหรือเธอจึงต้องทำตัวให้เหงาตามเพื่อนไปด้วย

    ประเด็นที่น่าสนใจนี้ได้มาจากเวทีเสวนาของ "หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ" ในงาน "กระทรวงพลังงาน-มติชน ชวนเที่ยวงานแฟร์ ช่วยกันดูแลสังคม" ที่เพิ่งจะสิ้นสุดลงไป

    กับหัวข้อ "D-Life ชีวิตดีๆ สุขวิถีของคนร่วมสมัย"

    วิทยากรที่มาช่วยเติมสีสันให้กับชีวิตดีๆ ให้ความรู้ในหลากหลายแง่มุมความคิด ประกอบด้วย ท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี พระนักเผยแผ่ธรรมะที่โดนใจคนร่วมสมัย มีงานเขียนมาแล้วมากมายหลายเล่ม เป็นคอลัมนิสต์ที่โดดเด่นผลงานโดนใจวัยรุ่น

    คนที่สองคือ วรสิทธิ์ อิสสระ หรือ "ปลาวาฬ" ทายาทกลุ่มธุรกิจพัฒนาที่ดินที่กำลังมาแรง และอีกคนหนึ่งคือ นักร้อง-พิธีกรคนรุ่นใหม่อย่าง ยุพาพักตร์ วัชราภัย หรือ "อิ๊บ" ที่หลายๆ คนรู้จัก

    ผู้ดำเนินรายการที่ตั้งคำถามได้คมความคิดคือ ทราย เจริญปุระ

    หนึ่งหนุ่ม สองสาว ช่วยกันตั้งคำถามกับความเหงา ให้พระหนึ่งรูปช่วยตอบจนกระจ่างแจ่มแจ้ง

    "อะไรทำให้คนรุ่นใหม่เห็นว่าความเหงาเท่ จนฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง แล้วทำไหมถึงเหงา ทั้งที่เทคโลยีทุกวันนี้ก็มีมากมาย?" ทราย เริ่มต้นคำถามยาวเหยียด

    พระมหาวุฒิชัย บอกว่า สาเหตุของความเหงานั้น เป็นเพราะคนปล่อยจิตให้ว่าง ไม่มีงานให้จิตทำ เทคโนโลยีสูงก็จริง แต่จิตใจคนกลับต่ำลง

    ความเหงา มี 4 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1.การปล่อยจิตให้ฟุ้งไปเรื่อย ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า " กรรมฐาน" ที่แปลว่า "งานของหัวใจ" คนรุ่นใหม่ไม่มีงานให้หัวใจทำ 2.การเอาชีวิตไปพึ่งกับผู้อื่น เช่น พึ่งกับเพื่อน ถ้าเพื่อนไม่โทรศัพท์มาก็โกรธและพาลเหงา 3.คนรุ่นใหม่โดยมากอยู่ในสังคมที่ใกล้ชิดสูง แต่ความห่างเหินมาก ติดต่อกันง่ายด้วยเทคโนโลยี แต่ไม่เคยเห็นหน้าเห็นตัว... <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    และสาเหตุของความเหงาข้อที่ 4 ซึ่งพระรุ่นใหม่ท่านนี้ขอเน้น ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คือ คนรุ่นใหม่ทุกวันนี้ยังหาภารกิจหลักของชีวิตไม่เจอ ยังไม่พบว่าตัวเองเกิดมาเพื่อที่จะเป็นอะไร เคว้งคว้าง ไปทำโน่นทำนี่ หลายอย่าง ไม่จริงจังกับอะไรสักที

    "มันขึ้นอยู่กับว่า เรามีอะไรทำหรือเปล่า อย่างอาตมาบวชมาปีนี้เข้าปีที่ 21 แล้ว ความเหงาค่อนข้างจะไม่เคยมี นั่นเพราะอาตมาเป็นคนบ้าเรียน ก็เขาบอกว่า "บวชเรียน" ใช่ไหม อาตมาก็เลยเรียนมันเต็มที่เลย พอเรียนจบแล้ว อยากทำงานใช่ไหม ก็ทำมันเต็มที่ทุกวันทุกคืนไม่มีจบสิ้น"

    "เหงา" คืออะไร?

    พจนานุกรมฉบับมติชน พ.ศ.2547 ให้ความหมายไว้ว่า ก.ห่อเหี่ยวใจ, เปลี่ยวใจ

    ทางด้านฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.2542 บอกว่า ว. เปลี่ยวใจ, เปล่าเปลี่ยว, ไม่คึกคัก

    แต่สำหรับในความหมายของพระรุ่นใหม่อย่างท่านมหาวุฒิชัย บอกว่าเป็นอาการใจลอยไปอยู่ที่อื่น เพราะถ้ามันอยู่กับตัว ความเหงาก็จะไม่เกิดขึ้น "ตัวอยู่ไหน ใจต้องอยู่นั่น" และแน่นอน เมื่อเหงาสุขจะไม่เกิด

    กล่าวสำหรับความสุข สามารถจำแนกออกได้หลายรูปแบบ แต่ทว่าก็มีความสุขรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า "วิเวกสุข" เช่นกัน คือ เป็นความสุขที่อยู่กับการวิเวก

    ดังคำที่พระพุทธเจ้าเคยตรัส "ความวิเวกมาพร้อมกับความสุข" ดังนั้น หนทางการขจัดความเหงาที่ได้ผลดีที่สุด

    ก็คือการเอาใจกลับมาอยู่ในที่ที่มันควรอยู่ หมายถึงเวลาจะทำอะไรก็ให้มีสติตลอดเวลา กินให้รู้ นั่งให้รู้ เดินให้รู้ ฯลฯ ตรงกับภาษิตธรรมที่ว่า "กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับงาน" และช่วงที่วิเวกนี่เองที่ใจจะกลับมาอยู่กับที่ได้ง่ายที่สุด

    ทางด้าน ยุพาพักตร์ สารภาพว่าเป็นคนขี้เหงามากๆ ที่บ้าน บนชั้น 3 ที่เธอต้องอยู่คนเดียวทั้งชั้นนั้น อิ๊บมักจะชวนเพื่อนๆ มาอยู่ด้วย หรือไม่ก็หาเจ้าตูบมาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน ซึ่งตอนนี้ก็ปาเข้าไปถึง 4 ตัวเข้าให้แล้ว <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "ความเหงา บางทีก็นำมาสู่ความฟุ้งซ่าน?" หญิงสาวถามพระมหาวุฒิชัย

    คำตอบที่ได้รับ สรุปใจความได้ว่า ความเหงามาจากความคิด จิตที่ไม่หยุดคิดคือจิตที่เปิดช่องว่างให้ความเหงาเข้ามา แต่ถ้ามันหยุดคิดเพราะมีสติอยู่กำกับ ความเหงาก็ไม่สามารถเข้ามาได้ ดังนั้น ยิ่งคิดก็ยิ่งฟุ้งซ่าน จนอาจนำมาซึ่งความทุกข์ได้ในที่สุด

    "ความทุกข์มาพร้อมกับความคิด คนบางคน วันจันทร์ถึงศุกร์ไม่เคยมีความทุกข์ เพราะทำงานแทบเป็นแทบตาย แต่พอวันเสาร์-อาทิตย์ มีเวลาว่าง ก็เก็บเรื่องราวต่างๆ มาคิด เอาความทุกข์มาเคี้ยวเล่น นั่งทุกข์ นอนทุกข์ คิดถึงเรื่องที่เจ้านายด่าว่าตั้งแต่วันจันทร์ยันวันศุกร์" พระมหาวุฒิชัย ยกตัวอย่าง และบอกว่า ถ้าไม่อยากให้ความเหงาเข้ามา จนกลายเป็นความฟุ้งซ่าน กระทั่งเกิดเป็นทุกข์ หนทางแก้อย่างหนึ่งคือการมุ่งมั่นกับ " ความฝัน"

    "ความฝันเป็นอันเดียวกับความอยาก?" วรสิทธิ์ ถามบ้าง

    พระมหาวุฒิชัยให้คำอธิบายก่อนว่า คนที่ไม่ฝันมีอยู่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ คนตายแล้วกับพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น คนที่ยังฝันอยู่จึงเป็นคนปกติ และฝันก็มี 2 แบบคือ ฝันตอนหลับและฝันตอนตื่น ฝันตอนหลับเป็นเรื่องปกติ ส่วนฝันตอนตื่นนั้นก็แยกได้อีก 2 แบบเช่นกัน คือ

    1.ฝันกลางวัน เช่น คนสูงร้อยห้าสิบ แต่อยากเป็นแอร์โฮสเตส พวกนี้มักตัดพ้อว่าโลกนี้ทำไมไม่ยุติธรรม เป็นพวกฝันแบบไม่ดูความเป็นจริง

    2.ฝันตอนตื่น เป็นฝันเพื่อที่จะก้าวไปให้ถึง ซึ่งเป็นจินตนาการที่มีรากฐานมาจากความจริง

    "เหมือนตอนที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นอนอยู่และมองขึ้นไปบนฟ้าเห็นแสงวาบ ซึ่งแสงเดินทางเร็วมากๆ ไอสน์สไตน์ก็ฝันว่า ถ้าเราเดินทางเร็วเท่าแสงจะเกิดอะไรขึ้น? นี่เป็นความฝันตอนที่เขาอายุ 16 ปี จากนั้นเขาก็มุ่งมั่นทำตามความฝัน บนฐานของความจริง เขาทำวิจัย ตอบคำถามแรกที่มาจากจินตนาการนี้จนสำเร็จ แล้วพออายุ 26 ปี ไอน์สไตน์ก็ได้รางวัลโนเบลเป็นที่ยอมรับ" พระนักเขียน ยกเอานักวิทยาศาตร์ชื่อก้องโลกมาเป็นตัวอย่าง ก่อนจะตอบคำถามของวรวิทย์ด้วยว่า

    "ความอยากเป็นรูปแบบหนึ่งของความฝัน ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ อยากแล้วไม่ทำ กับ อยากแล้วทำ แบบแรกเรียกกิเลส ส่วนแบบหลังเรียกสร้างสรรค์

    "พระพุทธเจ้าประสบความสำเร็จในการเป็นพระพุทธเจ้าก็โดยเริ่มต้นจากความฝัน ย้อนกลับไปหลายปีจนนับไม่ได้ หรือที่เรียกว่า "อสงไขย" ตอนนั้นพระองค์เป็นดาบส พระทีปังกรพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมา สุเมธดาบสเห็น แล้วรู้สึกทันทีว่า ทำไมคนเป็นพระพุทธเจ้าเท่จังเลย...ถ้าเป็นทุกวันนี้ก็คงเรียกว่า "ไอดอล""

    โลกเคลื่อนไปเพราะความอยาก เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมากมาย ก็ล้วนแล้วมาจากความอยากทั้งนั้น ยกตัวอย่าง ถ้าสองพี่น้องตระกูลไรต์ไม่อยากบินได้ ทุกวันนี้เราก็คงไม่ได้นั่งเครื่องบิน...

    ความอยากเปลี่ยนโลกได้ และอีกด้านหนึ่งก็ทำลายโลกได้เช่นกัน

    พระมหาวุฒิชัยได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับสุขวิถี ที่เราควรจะรับรู้ และนำไปปฏิบัติ 2 เรื่องคือ คนเรามีศักยภาพที่จะมีความสุข และมีสิทธิที่จะไม่ทุกข์

    "ทุกวันนี้สังคมเรา 1.เน้นศักยภาพในการแข่งขัน มากมายมหาศาล แม้แต่ในเด็ก ให้เด็กเรียนเจ็ดวันเต็มไม่มีหยุด ถามว่าเรียนไปทำไม ก็เพื่อให้เด็กมีศักยภาพในการแข่งขันในโลก ว่าแต่ผู้ใหญ่ไม่เคยถามเลยว่าเขามีความสุขไหม 2.เน้นเรื่องสิทธิต่างๆ เราพูดถึงเรื่องสิทธิเยอะมาก แต่ลืมสิทธิอย่างหนึ่งไปนั่นคือ สิทธิที่จะไม่ทุกข์...

    "แท้จริงมนุษย์มีศักยภาพที่จะมีความสุขด้วยตัวเอง และเมื่อมีความสุขแล้ว เราค่อยพัฒนาศักยภาพตรงนี้ไปเป็นการแข่งขันก็ได้ แต่ถ้าเราไม่มีความสุข แล้วไปเน้นแต่ศักยภาพการแข่งขัน ยิ่งแข่งขันมากๆ เราก็ยิ่งจะมองคู่แข่งขันเป็นศัตรู ดูอย่างทุกวันนี้ เรามองผู้อื่นเป็นศัตรูเต็มไปหมด" พระมหาวุฒิชัยกล่าวทิ้งท้าย

    หากนำข้อคิดที่ได้จากเวทีเสวนานี้ไปปฏิบัติ เชื่อว่า "เหงา, ฟุ้งซ่าน" รวมถึง "ทุกข์" ก็คงจะไม่เกิด

    เพราะชีวิตดีๆ ไม่ได้มีแค่ด้านเดียว

    และด้านตรงข้ามของ "ทุกข์" ก็คือ "สุข" นี่แหละธรรมดาโลก...

    ---------------
    ที่มา:มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01pra01230850&day=2007-08-23&sectionid=0131
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...