สีของ ผ้าไตร มีอะไรบ้าง ? รู้ไว้ไม่เสียหลาย !!

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 17 เมษายน 2021.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +52
    6d15bbc097a05f420968298436280a88.jpg

    ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) เป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง
    ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้งได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยเนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล

    ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง ต่อมาทรงอนุญาต ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้

    การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผ้าไตรผู้ซื้อไม่ได้ใช้ จึงไม่เข้าใจว่าจะเลือกอย่างไรพระท่านจึงนำไปใช้ได้จริง คงทน เหมะสมและตัดเย็บถูกต้องตามพระธรรมวินัย ผ้าไตร ที่ซื้อมาถวายส่วนมากจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น เนื่อผ้าหนาเกินไปหรือไม่ระบายอากาศ ควรคำนึงถึงสภาพอากาศ และผ้าหลายชั้นที่พระท่านครอง ผ้าหนาและไม่ระบายอากาศจึงไม่เหมะสมที่จะใช้งาน นอกจากนี้ก็ต้องคำนึงถึง ขนาด สี และความเหมาะสมกับวัดที่นำไปถวาย เช่น มหานิกายใช้สีเหลืองส้ม ต่างจากธรรมยุตที่ใช้สีกรักและเป็นผ้า 9 ขันธ์ เป็นต้น

    สี ผ้าไตร ในประเทศไทยมีพระสงฆ์อยู่สองฝ่าย นุ่งห่มจีวรสีต่างกัน มีหลักๆ คือ

    • พระสงฆ์ธรรมยุต นุ่งห่มจีวรด้วยสีกรักแก่นขนุน สีพระราชทาน
    • พระสงฆ์มหานิกาย นุ่งห่มจีวรด้วยสีเหลืองส้ม สีพระราชทาน
    นอกเหนือจากนี้ สี ผ้าไตร ยังมีอีกหลากหลายสี ทั้งสีกรัก สีแก่นขนุน แก่นบวร สีทอง สีแก่นในวัง(สีพระราชทาน) แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้หลักๆจะเป็นสีทองกับสีแก่นในวัง(สีพระราชทาน) ซึ่งจากการที่ผลิตผ้าไตรจีวรส่งให้ร้านสังฆภัณ์ แหล่งใหญ่ สีผ้าไตรจีวรที่สั่งบ่อยๆ ก็จะมีแค่ 2 สีนี้ นานๆทีจะมีสี กรัก(ยังมีแบ่งเป็นกรักแดงกรักดำอีก) สีแก่นขนุน (สีออกเขียวๆ) แก่นบวร ออเดอร์เข้ามาบ้าง เพราะสีพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นของพระวัดป่าใช้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการถวายผ้าไตรจีวร ไตรครอง ไตรอาศัย สบง อังษะ ผ้าอาบ ควรเลือกสีให้ตรงตามวัดที่นำไปถวายด้วย เพื่อที่พระสามารถนำไปใช้ได้เลย และควรเลือกผ้าไตรจีวร ที่มีการตัดเย็บที่ประณีต และสวยงาม ตะเข็บด้ายไม่ห่างเพราะจะทำให้ผ้าไม่ทนตะเข็บหลุดง่าย เนื้อผ้าดีมีมาตรฐาน ได้ขนาด และสีเดียวกันทั้งผืน

    การเลือกสีของผ้าไตรจีวรนั้นควรพิจารณาว่า ผ้าไตรที่จะนำไปถวายคือวัดไหน และวัดนั้นใช้สีอะไร หรือ ถ้าไม่รู้ก็สามารถเลือกสีพระราชทานไว้ก่อน เพราะผ้าไตรสีพระราชทานเป็นสีที่นิยมใช้กันทั่วไป และนอกจากสีของผ้าไตรควรคำนึงถึงขนาดของผ้าไตรจีวร ดังนี้

    พระภิกษุที่สูง 160 – 170 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 1.9 ม.

    พระภิกษุที่สูง 170 – 180 ซม. ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.0 ม.

    พระภิกษุที่สูง 180 ซม.ขึ้นไปหรือมีรูปร่างสูงใหญ่ ควรใช้จีวรขนาดความสูง 2.1

    หากท่านต้องการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรมาถวายแก่พระภิกษุโดยไม่เจาะจง ขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อผ้าไตรจีวร ขนาดความสูง 2.0 ม.

    เมื่อเรารู้จุดประสงค์ สี และขนาด เรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถเลือกซื้อผ้าไตรได้อย่างถูกต้อง

    อ่านบทความอื่นๆได้ที่ Click >> https://bit.ly/3mTd8al
     

แชร์หน้านี้

Loading...