สิ่งที่ชาวพุทธไม่ควรมองข้าม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ปราณ, 15 กรกฎาคม 2010.

  1. ปราณ

    ปราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +835
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD align=left>




    </TD></TR><TR><TD align=left></TD></TR><TR><TD>ปัจจุบันชาวพุทธฯ ส่วนใหญ่มักจะมีหิ้งพระหรือโต๊ะหมู่เพื่อวางพระพุทธรูป รูปเหมือนพระสงฆ์ รูปเจ้าพ่อเจ้าแม่ พระบรมรูปรัชกาลต่างๆ ไว้สักการะบูชา การตั้งหิ้งไม่ควรตั้งสูงเกินไป ให้อยู่ในระดับที่สามารถเอาธูปปักลงในกระถางธูปได้โดยไม่ต้องต่อเก้าอี้ ง่ายต่อการรักษาความสะอาดและสะดวกในการบูชาพระความสูงต่ำของหิ้งขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของท่านเจ้าของบ้าน
    การวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนหิ้งพระหรือโต๊ะหมู่

    ควรวางตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ

    ๑. พระพุทธรูป
    ๒. พระสังกัจจายน์ พระสิวลี ( อริยสงฆ์ )
    ๓. รูปเหมือนหลวงปู่ หลวงพ่อ ( สมมติสงฆ์ )
    ๔. ฤาษี ( ถ้ามี )
    ๕. นางกวัก แม่โพสพ เสด็จพ่อรัชกาลที่ ๕ กรมหลวงชุมพร ฯ เจ้าพ่อเจ้าแม่

    <<<<< ตามความคิดของข้าพเจ้า ( ผู้พิมพ์ ) ในการวางสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนโต๊ะหมู่บูชานั้น ควรวางตามลำดับความสำคัญ ดังนี้

    ๑. พระพุทธรูป
    ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
    ๓. พระอรหันต์


    เป็นพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลหรือมีประวัติอยู่ในพระสูตรหรือพระปริตร ต่างๆ หรือ พระอรหันต์ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน เช่น พระโกทัณโญ , พระกัสสะโป , พระสารีบุตร , พระโมคคัลลาน์ , พระอุบาลี , พระอานนท์ , พระราหุล , พระควัมปติ ( พระปิดตา ) , พระสิวลี , พระสังกัจจายน์ , พระบัวเข็มหรือพระอุปคุต ฯลฯ

    ๔. พระอริยสงฆ์
    เป็นพระสงฆ์ในปัจจุบัน เช่น หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ , หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส , เจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น
    ๕. รูปเหมือนสมมติสงฆ์
    เป็นพระที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือกันในสมัยปัจจุบัน ( หลวงปู่ หลวงตา หรือ หลวงพ่อต่างๆ )
    ๖. พระสยามเทวาธิราช
    ๗. เสาหลักเมือง
    ๘. พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ไทย
    ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤติในช่วงเวลาต่างๆมาได้ ถึงแม้ในช่วงที่ประเทศชาติถูกรุกรานจากต่างชาติ และอยู่เย็นเป็นสุข เนื่องมาจากพระบารมี พระปรีชาสามารถ ของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน อีกทั้งพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคประสพกับความสันติสุขมาจนทุกวันนี้ เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช , สมเด็จพระนารายณ์มหาราช , สมเด็จพระนเรศวรมหาราช , สมเด็จพระเอกาทศรถ , สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช , พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช , พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ
    ๙. วีรบุรุษ และวีรสตรี ของคนไทยในอดีต
    วีรบุรุษและวีรสตรีผู้กล้าของคนไทยเหล่านี้ ได้ยอมลำบาก ยอมเสียเลือด เสียเนื้อ เสียสละทุกๆอย่าง เพื่อให้ประเทศไทยมีเอกราช อยู่รอดปลอดภัยและประชาชนชาวไทยได้อยู่เย็นเป็นสุขมาจวบจนทุกวันนี้ เช่นพระยาพิชัยดาบหัก , กรมบวรมหาสุรสิงหนาท , กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ , ชาวบ้านบางระจัน , พระนางศรีสุริโยทัย , ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) , ท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร (คุณหญิงมุก คุณหญิงจัน) , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี (สมเด็จย่า) ฯลฯ
    ๑๐. แม่โพสพ , แม่ธรณี , พระแม่กวนอิม ,พระโพธิสัตว์องค์ต่างๆ , เทพเจ้าต่างๆ , ฤาษี
    ในกรณีที่มีเทพเจ้าต่างๆ พระโพธิสัตว์องค์ต่างๆ แม่โพสพ แม่ธรณี ฤาษี ควรจะจัดชั้นอีกต่างหากในโต๊ะหมู่บูชานั้น เช่น พระศิวะ , พระนารายณ์ , พระพรหม , พระพิฆเนศ , เจ้าแม่อุมา , เจ้าแม่กาลี , พระอินทร์ , ท้าวเวสสุวรรณ , ฤาษี , ฮก ลก ซิ่ว , โป๊ยเซียน , พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นต้น ในด้านเทพเจ้านั้น ต้องจัดตามลำดับดังนี้ ๑.พระศิวะ , เจ้าแม่อุมา , เจ้าแม่กาลี ๒.พระนารายณ์ , พระลักษมี ๓.พระพรหม , พระสุรัสวดี ๔.พระพิฆเนศ ๕.พระอินทร์ ๖.ท้าวเวสสุวรรณ , ๗.ฤาษี ฯลฯ อีกด้านหนึ่งต้องจัดเรียงตามลำดับคือ ๑.พระโพธิสัตว์กวนอิม ๒.ฮก ลก ซิ่ว , ๓.โป๊ยเซียน ฯลฯ ส่วนแม่โพสพ แม่ธรณี จัดไว้รวมกัน เหตุที่ต้องจัด แม่โพสพ แม่ธรณี พระโพธิสัตว์ต่างๆ เทพเจ้าต่างๆ มาไว้ในชั้นนี้นั้นเนื่องจาก แม่โพสพ แม่ธรณี พระโพธิสัตว์ต่างๆ เทพเจ้าต่างๆ ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย อยู่ใต้ความเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของวีรบุรุษและวีรสตรีของไทย จึงได้มีโอกาสในการบำเพ็ญบารมีของแต่ละองค์ได้ หากไปอยู่ยังประเทศอื่นๆ เช่น กลุ่มประเทศอาหรับ อิสราเอล ปาเลสไตล์ หรือแม้แต่ในประเทศอังกฤษ เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ก็คงไม่มีโอกาส หรือถ้ามีก็มีน้อยโอกาสในการบำเพ็ญบารมีของแต่ละองค์นั้น
    ๑๑. พระยามัจจุราช
    ๑๒. พันท้ายนรสิงห์ ( เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อสมเด็จพระเจ้าเสือ กษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซื่อสัตย์ต่อกฎมณเฑียรบาล ซื่อสัตย์ต่อกฎหมายบ้านเมือง ) เจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ เจ้าพ่อเสือ , เห้งเจีย , หนุมาน , นางกวัก , เจ้าพ่อกวนอู ฯลฯ
    ๑๓. กุมารทอง ลักยม นกคุ้ม เสือ สิงห์ มังกร วัวธนู ควายธนู ฯลฯ >>>>>>>


    หากมีความจำเป็นที่จะต้องวางรวมบนหิ้งเดียวกัน ก็ควรจะยกพื้นให้พระพุทธรูปสูงกว่าพระ พระองค์อื่นๆ นอกจากนี้รูปภาพพระสงฆ์ไม่ควรแขวนสูงกว่าพระพุทธรูป เพราะพระสงฆ์ยังไหว้พระพุทธ

    การหันหน้าของหิ้งพระหรือโต๊ะหมู่
    ปกติควรหันไปทางทิศตะวันออก หากสถานที่ไม่อำนวยจะหันไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ก็ได้ ยกเว้นทิศตะวันตก

    การสร้างพระพุทธรูปและสัญลักษณ์ต่างๆ ในพระพุทธศาสนา เป็นการสร้างเพื่อเตือนสติให้ระลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างไว้ เมื่อมีรูปแทนคือ พระพุทธรูปก็ดี พระเครื่องก็ดี เหรียญหลวงพ่อ หลวงปู่ต่างๆ อยู่กับตัวหรือบูชาไว้ก็ควรระลึกว่า มีของดีอยู่กับตัว ความชั่วไม่ควรทำ ควรน้อมนำเอาคำสั่งสอนของท่านมาประพฤติปฎิบัติ ก็จะได้รับความสุขกายสุขใจตามสมควรแก่ธรรมนั้นๆ

    เมื่อมีพระพุทธรูป และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่บนหิ้งหรือโต๊ะหมู่ จึงมีการบูชาพระ หากมีพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วไม่บูชาก็เหมือนเอาตุ๊กตามาประดับบ้าน

    การบูชาพระ
    มี ๒ ประการ คือ
    อามิสบูชาบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน สิ่งของต่างๆ
    ปฏิบัติบูชาการปฎิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์สรรเสริญว่า เป็นการบูชาพระองค์โดยแท้จริง
    การสวดมนต์บูชาพระ เป็นการปฏิบัติธรรม เป็นการทำความดีอย่างง่ายๆ อยู่กับบ้าน
    ทานการบริจาคซื้อดอกไม้ ธูป เทียน สิ่งของมาบูชา
    ศีลระหว่างการสวดมนต์ของท่านเป็นผู้ที่มีศีล ๕ บริบูรณ์
    ภาวนาการสวดมนต์ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า

    การจุดธูป เทียน บูชาพระ
    ให้ใช้ ปัญญา พิจารณาดังนี้
    ๑. ก้านธูปที่จุดบูชาพระ อย่าสะสม นั่นคือเชื้อไฟอย่างดี เป็นเหตุให้ไฟไหม้บ้านเรือนที่อยู่อาศัย
    ๒. การปักธูปลงในกระถาง ระวังธูปล้มหรือเอียง
    ๓. วัสดุในกระถางธูป ควรจะเป็นทรายละเอียด ล้างน้ำแล้วตากแห้ง แทนที่จะเป็นข้าวสาร หรือวัสดุอื่นๆ เพราะจะปักธูปได้แน่นกว่า
    ๔. ดับเทียน เมื่อท่านสวดมนต์ไหว้พระเสร็จแล้ว อย่าปล่อยให้หมดโดยไม่มีคนเฝ้า อาจเป็นชนวนเหตุให้ไฟไหม้ <<<<<การดับเทียน ตามความคิดเห็นของผู้พิมพ์ ควรจะใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นเช่น พัด ฯลฯ พัดเทียนให้ดับ ไม่ควรใช้ปาก เป่าเทียนให้ดับ >>>>>


    ๕. ใช้ภาชนะรองรับกระถางธูป เชิงเทียนไว้จะเป็นการดี เป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราท่านก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะพระท่านสอนให้ใช้ปัญญา

    ๖. การบูชาพระด้วยพวงมาลัย ควรใส่พาน จาน หรือถาด นำไปวางที่หิ้งหรือหน้าที่บูชาพระ ไม่ควรคล้องคอ ดูไม่งาม ไม่เหมาะสม เพราะพระไม่ใช่นักร้อง
    ๗. หากท่านออกนอกเคหะสถาน ไม่สะดวกในการจุดธูปเทียนบูชาพระ ก็ให้สวดมนต์ภาวนาในใจ เมื่อกลับบ้านในตอนเย็นหรือค่ำ ก็ควรจะสักการะท่านด้วยธูปเทียน ถ้าหากเดินทางไปค้างแรมต่างถิ่นต่างที่ ก็ให้สวดมนต์ภาวนาเอาเถิด
    ๘. ควรจุดเทียนทั้งสองเล่มก่อน แล้วจึงเอาธูปจุดที่เทียน

    การบนบานศาลกล่าว

    ชาวพุทธฯ บางท่านที่ยังเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย ก็มักจะขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ช่วย ทั้งเจ้าที่เจ้าทาง ผีสาง นางไม้ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ หลวงพ่อ หลวงปู่ ตลอดจนพระพุทธปฎิมากรต่างๆ จะพบเห็นได้ทั่วไป


    ตัวท่านผู้ไปบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเป็นเสมือนผู้ไปทำสัญญาผูกมัดตนเอง คือ ถ้าสำเร็จผลตามที่บนไว้ ก็จะเอาของมาแก้บน แต่ถ้าไม่สำเร็จ ก็จะไม่นำของมาแก้บนให้ ในกรณีที่ไม่สำเร็จแล้วไม่แก้บน ถือว่าท่านยังติดสินบนอยู่ เพราะโดยทั่วไป บนบานไว้ไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ไม่มีการยกเลิกสินบน จึงยังติดสินบนอยู่ ทำให้ขัดข้องในการดำเนินชีวิต การงาน การเงิน ตลอดจนที่อยู่มีปัญหา

    ฉะนั้น การบนบานควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และบอกยกเลิกสินบนเมื่อไม่ได้ตามที่ประสงค์
    ยกตัวอย่างการบนบานที่มีกำหนดเวลาและการยกเลิก
    “ ข้าฯ ขอบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ( เจ้าแม่ เจ้าพ่อ หลวงพ่อ หลวงปู่ ) ขอให้ข้าฯ ขายบ้าน ( เลขที่เท่านั้นเท่านี้ ) สำเร็จในราคา ๕ แสนบาทได้ ระยะเวลา ๑ ปี ถ้าสำเร็จข้าฯจะถวายหัวหมู ๑ หัว ไก่ ๑ ตัว เหล้า ๑ ขวด มาลัย ๑๐ พวง ประทัด ๑๐๐ กล่อง หากพ้นกำหนดเวลา ๑ ปีแล้ว ข้าฯขอยกเลิกสินบน ”
    บางท่านบอกว่า จำไม่ได้ว่าบนอะไรไปบ้าง

    วิธีแก้ให้เอาโต๊ะวางกลางแจ้ง ๑ ตัว ผ้าขาวปู แล้วจัดของไหว้มีผลไม้ ๕ อย่างๆละ ๒ กิโลกรัม ของหวาน ๕ อย่างๆละ ๑ จาน หัวหมู ๑ หัว ไก่ ๑ ตัว เป็ด ๑ ตัว ปู ๔ ตัว กุ้ง ๑/๒ กิโลกรัม ปลาช่อนนึ่งไม่ขอดเกล็ด ๑ ตัว เหล้าขาว ๑ ขวด น้ำ ๑ ขัน น้ำชา ๑ ที่ หมากพลู ๑ จาน
    แล้วจุดธูป ๑๖ ดอก บอกกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ข้าฯ ได้บนบานศาลกล่าวไว้ ระลึกได้ก็ดี ระลึกมิได้ก็ดี ขอให้มารับเครื่องสังเวยที่จัดตั้งไว้ ณ ที่นี้ เมื่อรับแล้ว ขอให้ยกเลิกสินบนที่ได้บนบานไว้ในครั้งก่อน และขอให้อโหสิกรรมแก่ตัวข้าฯ ด้วย
    เมื่อหมดธูปแล้ว ลาเอาของสังเวยไปแจกคนอื่นให้หมด เฉพาะคนที่ติดสินบนอย่าได้กินของแก้บนที่ตนเองนำไปแก้บนเป็นอันขาด ถือว่ายังติดสินบนอยู่

    การจัดพิธีแก้บน

    ควรเป็นเวลาเช้าไม่เกินเที่ยง และไม่ควรแก้บนวันพระ ถ้านำไปถวายตามศาลเจ้าในเทศกาลตรุษสารท ลาเอากลับมากินได้ไม่มีโทษ ข้าฯ ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดมาจากปู่สนั่น ( ตือ ) สุนทร อายุ ๑๐๐ ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาอุปสรรคอันเกิดจากการติดสินบนไว้

    น้ำมนต์

    เมื่อได้รับน้ำมนต์จากที่ต่างๆ มา เช่น วัด หรือ ศาลเจ้า ควรตั้งหน้าหิ้งพระ และสวดมนต์เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ ที่ครูบาอาจารย์แต่ละท่านได้อธิษฐานจิตไว้ เพราะน้ำเป็นธาตุหนึ่งในสี่ธาตุของโลก ย่อมเสื่อมสภาพเป็นน้ำธรรมดาดังเดิม
    เมื่อต้องการจะนำมาอาบด้วยตนเอง ให้เอาน้ำมนต์ใส่ลงในน้ำ แต่อย่าเอาน้ำธรรมดามาเติมลงในน้ำมนต์
    การอาบน้ำมนต์ด้วยตนเอง ข้าฯ ได้รับการถ่ายทอดมาจาก พระอาจารย์อินทร์ ( เสนาะ ) อินทโชโต มีดังนี้
    ท่านให้อาบ ๒ วัน วันแรกตอนที่ดวงอาทิตย์กำลังจะตก ยกถังใส่น้ำค่อนถังเติมน้ำมนต์ลงไป จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ดังนี้
    “ข้าพเจ้า ขออาราธนาบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ขอให้ประสิทธิ์แก่ข้าพเจ้า


    ข้าพเจ้าจะอาบน้ำมนต์ในวันเวลาวันนี้ ขอให้ทุกข์โศก โรคภัย เคราะห์ อุบาทว์ เสนียดจัญไรทั้งหลายของข้าพเจ้า จงตกไปพร้อมกับตะวัน ขอความปรารถนาของข้าพเจ้า จงสำเร็จด้วยเทอญ”

    เวลาอาบน้ำมนต์ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก แล้วอาบให้หมดถัง


    และในวันรุ่งขึ้น ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ยกถังใส่น้ำค่อนถัง เติมน้ำมนต์ลงไป จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อธิฐานดังนี้

    “ข้าพเจ้า ขออาราธนาบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ขอให้ชะตาชีวิตของข้าพเจ้า จงรุ่งเรีองสดใส ดังตะวันที่ขึ้นมาวันนี้ด้วยเถิด ขอความปรารถนาของข้าพเจ้า จงสำเร็จด้วยเทอญ”




    เวลาอาบน้ำมนต์ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ให้ดูวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอกบดบังดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นมา แล้วอาบน้ำมนต์ให้หมดถัง

    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจมั่นของแต่ละท่าน เพื่อจะได้เป็นกำลังใจและขจัดปัดเป่าอุปสรรคให้บรรเทาเบาบางลงไป เราทั้งหลายยังเป็นโลกียบุคคลอยู่ สิ่งนี้เป็นโลกียวิชา จะยังผลสำเร็จแก่เราได้ในระดับหนึ่ง


    พรมน้ำมนต์เคหะสถาน



    แม้เคหะสถานบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่ จะอยู่นานแล้วหรือเพิ่งจะอาศัยอยู่ เอาน้ำมนต์ใส่ขันจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อธิษฐานว่า

    “ข้าพเจ้า ขออาราธนาบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ <<< คุณบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ >>> เจ้าที่ที่ข้าพเจ้าพักอาศัย ขอให้มาประสิทธิ์แก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจะพรมน้ำมนต์เคหะสถานบ้านเรือนแห่งนี้ ขอให้สิ่งไม่ดีทั้งหลายให้ออกไปจากบ้านของข้าพเจ้า ขอความปรารถนาของข้าพเจ้า จงสำเร็จ”


    แล้วพรมน้ำมนต์จากหลังบ้านออกไปหน้าบ้าน และพรมจากหน้าบ้านเข้าไปในบ้าน พร้อมกับอธิษฐานอาราธนาบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นว่า “……… ขอให้มาประสิทธิ์แก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจะประพรมน้ำมนต์เคหะสถานบ้านเรือนแห่งนี้ ขอให้ข้าวของ เงิน ทอง โชคลาภ ความสุข ความเจริญ จงเข้ามาสู่บ้านที่ข้าพเจ้า อาศัยอยู่ด้วยเทอญ”

    ทำให้ได้ดังนี้ ก็จะบังเกิดเป็นสิริมงคลแก่บ้านที่เราอยู่อาศัยดีนักแลฯ

    ความรู้เกี่ยวกับการตั้งศาลพระภูมิ

    ๑. ห้ามไม่ให้เงาบ้านทับศาล
    ๒. ห้ามไม่ให้เงาศาลทับบ้าน
    ๓. ห้ามหันหน้าศาลเข้าหน้าต่าง ประตู กระไดบ้าน
    ๔. ห้ามตั้งใกล้ห้องส้วม กองขยะ ท่อระบายน้ำ
    ๕. ตั้งศาล อย่าให้ศาลเอียง
    ๖. ตัวศาล ควรเป็นแบบโบสถ์มหาอุด คือมีทางเข้าออกประตูเดียว ด้านหลังทึบ ด้านข้างมีหน้าต่าง
    ๗. ตั้งวันที่มีฤกษ์เป็นมงคล
    ทำดังนี้เพื่อความสุขความเจริญของท่านเจ้าบ้าน ร้านค้า อาคารที่อยู่อาศัย กันผลกระทบอันเกิดจากอาถรรพณ์ของการตั้งศาลที่ผิดธรรมเนียมปฏิบัติ



    อานิสงส์ของความดีที่เขียนนี้ ขออุทิศถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับท่านผู้นำไปจัดพิมพ์หรือเผยแพร่ ก็ขอให้อานิสงส์แห่งธรรมทานของท่านติดตัวเป็นภูมิรู้แก่ท่าน เป็นผู้ฉลาดรอบรู้อุดมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง ตลอดจนเป็นผู้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ด้วยเทอญ


    หนังสือญาณทิพย์ ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๘ เดือนเมษายน ๒๕๔๓
    พุทธบูชา ช้าง กจ. ผู้แต่ง
    sithiphong ผู้พิมพ์และพิมพ์แจกเป็นทาน





    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bshrine.jpg
      bshrine.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.3 KB
      เปิดดู:
      193

แชร์หน้านี้

Loading...