สำรวจราชมรรคาเส้นทางสายโบราณ

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 26 สิงหาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    สำรวจ'ราชมรรคา'เส้นทางสายโบราณ

    สำรวจ"ราชมรรคา" เส้นทางสายโบราณ

    มนตรี จิรพรพนิต



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ถนน 5 สาย ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 เมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 แผ่ขยายออกไปทุกทิศทางจาก "นครธม" หรือ "เมืองพระนคร" เป็นเส้นทางสายสำคัญในการขยายอาณาจักรเขมรโบราณออกไป จนกลายเป็นมหาอำนาจบนผืนแผ่นดินอุษาคเนย์ในอดีต

    ถนนทุกสายแยกย้ายกันไปยังเมืองพิมาย จ.นครราชสีมา, ปราสาทวัดภู แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว, สวายจิก, ปราสาทพระขรรค์ กำปงสวาย, และกำปงธม ประเทศเขมร

    หลักศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ภายในเมืองพระนคร บันทึกไว้ว่า "พระเจ้าชัยวรมันที่ 7" พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งปกครองอาณาจักรเขมรโบราณ ในยุคสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ.1724-1761)

    ทรงให้ปลูกสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตลอดรายทาง สำหรับผู้ที่ต้องสัญจรบนถนนทั้ง 5 สาย

    สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้นมีทั้งศาสนสถาน โรงพยาบาล หรือเรียกว่า "อโรคยาศาลา" และบ้านพักคนเดินทาง เรียกว่า "ธรรมศาลา"

    นักวิชาการเรียกถนนทั้งหมดนี้ว่า "เส้นทางสายราชมรรคา"

    ในอดีตที่ผ่านมามีหลักฐานการสำรวจเส้นทางโบราณนี้ และตีพิมพ์ออกมาเมื่อ 100 ปีก่อนเท่านั้น เช่น แผนผังการสำรวจของนักวิชาการ "ลูเนต์ เดอ ลาจองกิแยร์" ชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2450

    แต่ยังไม่มีการสำรวจเส้นทางอย่างจริงจังในปัจจุบัน



    ด้วยเหตุนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร และองค์กรอัปสรา ประเทศกัมพูชา

    ทำโครงการสำรวจเส้นทางต่างๆ ในกัมพูชา เพื่อเป็นงานวิจัยภายใต้ชื่อ โครงการค้นหาและพัฒนาระบบสารสนเทศของถนนโบราณสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือ Living Angkor Road Project (LARP)

    โดยเลือกเส้นทางสายตะวันตกเฉียงเหนือที่มุ่งหน้ามายังเมืองพิมาย มีระยะทางยาวไกลที่สุดในเส้นทางทั้งหมด แสดงถึงความสำคัญของเมืองพิมายในสมัยนั้น และในปัจจุบันนักวิชาการทั่วโลกและกัมพูชาเองต่างยอมรับว่า อดีตกษัตริย์หลายพระองค์ที่ปกครองเขมรโบราณมาจากเมืองพิมาย <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พ.อ.ผศ.ดร.สุรัตน์ เลิศล้ำ หัวหน้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หัวหน้าโครงการ เปิดเผยถึงการทำงานว่า การสำรวจครั้งนี้ใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีภูมิ-สนเทศ เทคโนโลยีธรณีฟิสิกส์ เทคโนโลยีสื่อระยะไกล (Remote Sensing) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) รวมทั้งการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การวิเคราะห์ข้อมูลทางภาคพื้น และการสำรวจ มาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาด้านโบราณคดี ค้นหาและกำหนดตำแหน่งที่แน่นอนของถนนโบราณ จากเมืองพระนครมายังเมืองพิมาย ที่ถูกกล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์ รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

    ทำให้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเส้นทางโบราณสายนี้ เช่น จุดประสงค์ของการใช้งานของถนนสายนี้ในสมัยโบราณ สิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้างขึ้นตามแนวถนนโบราณ ชุมชนโบราณ ชุมชนปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์กับถนนโบราณ

    นอกจากนี้ในโครงการนี้ยังพัฒนาระบบแม่ข่ายสารสนเทศของข้อมูลจากการวิจัยทั้งหมด เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลจากการวิจัยโดยง่าย และพัฒนาระบบจำลองภาพสามมิติของธรรมศาลา อโรคยาศาลา และสะพานโบราณตามแนวถนนโบราณ เพื่อจำลองให้เห็นชีวิตในอดีต เผยแพร่ความรู้จากโครงการสู่เยาวชนในอนาคตอันใกล้ด้วย



    ขณะที่นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน นักวิชาการจากสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวว่า ที่เข้ามาร่วมโครงการเพราะมีความสนใจในเรื่องอารยธรรมที่เกี่ยวข้องกันตามเส้นทางสายนี้ เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องโบราณคดี และที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจน ในความเกี่ยวข้องกันของเส้นทางวัฒนธรรม ระหว่างเมืองพิมายและเมืองพระนคร ทำให้คิดว่าการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในการสำรวจครั้งนี้จะสร้างความชัดเจนให้กระจ่างขึ้น <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "อาจารย์สุรัตน์จะดูแลในเรื่องเทคโนโลยีและข้อมูลต่างๆ ภาพถ่ายดาวเทียม ส่วนผมดูแลในเรื่องเอกสาร ข้อมูลในสมัยโบราณ แผนที่เดินทัพในสมัยโบราณ และแปลความจากเอกสารต่างๆ ก่อนนำมาประมวลความเข้าด้วยกัน เพราะข้อมูลที่อ้างถึงเส้นทางสายตะวันตกเฉียงเหนือ หรือเมืองพระนคร พิมาย มีค่อนข้างกระจัดกระจาย จึงเป็นหน้าที่ของผมที่จะรวบรวมและกำหนดเส้นทาง โดยต้องหาหลักฐานที่ชัดเจนเข้ามาสนับสนุนก่อนเข้าไปสำรวจในพื้นที่จริง" นักโบราณคดีกล่าว

    การทำงานทั้งหมดของโครงการนี้ แบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ การตรวจสอบพื้นที่ในระยะไกลจากภาพถ่ายดาวเทียม เมื่อได้พิกัดที่ชัดเจนจะนำเทคโนโลยีทางธรณีฟิสิกส์มาตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจำกัดขอบเขตให้แน่นอนมากขึ้น ให้อยู่ในพื้นที่ซึ่งแคบลง ก่อนจะเข้าสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี

    นายพงศ์ธันว์อธิบายว่า การสำรวจเราใช้ธรรมศาลา เป็นสิ่งปลูกสร้างที่เห็นได้ชัดเจน เป็นตัวนำทางในการหาตัวเชื่อมระหว่างธรรมศาลาแห่งต่างๆ นั้นคือถนนนั่นเอง เราต้องลงพื้นที่เข้าไปสำรวจและสอบถามชาวบ้าน เมื่อได้จุดหมายที่แน่นอนจึงเริ่มขุดสำรวจ บริเวณรอยต่อชายแดนบริเวณที่เรียกว่าช่องตาเมือน จ.สุรินทร์ พบความชัดเจนของถนนสายนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะตรงนั้นจะมีกลุ่มปราสาทตาเมือนที่มีอยู่ทั้งหมด 3 ปราสาท คือ ปราสาทตาเมือนธม เป็นศาสนสถาน ปราสาทตาเมือนโต๊ต เป็นอโรคยาศาลา ส่วนปราสาทตาเมือนเป็นธรรมศาลา

    เมื่อเข้าไปในป่าบนเทือกเขาพนมดงรักจะพบร่องรอยของถนนสายนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะจะเห็นการก่อสร้าง และปูพื้นถนนด้วยศิลาแลงไว้สำหรับปรับลดความลาดชันของพื้นที่ เพื่อความสะดวกในการเดินทางของผู้คนสมัยนั้น ในการเดินทางเข้าสู่พื้นที่ประเทศไทย ซึ่งมีภูมิประเทศที่อยู่สูงกว่าประเทศกัมพูชามาก



    พอ.ผศ.ดร.สุรัตน์เสริมว่า การสำรวจครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากองค์กรอัปสรา ก่อตั้งโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ร่วมกับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อดูแลโบราณสถานนครวัด นครธม

    ในการสำรวจฝั่งประเทศกัมพูชาทำให้โครงการนี้นอกจากสามารถสำรวจได้ตลอดเส้นทางโบราณสายนี้แล้ว ยังค้นพบธรรมศาลาอีก 2 หลัง ที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ แต่ยังไม่มีใครค้นพบได้ นอกจากนี้ยังพบธรรมศาลาที่ไม่มีอยู่ในจารึกเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง

    "หลังจากรวบรวมเอกสารทุกอย่าง และทำเครื่องหมายพิกัดจุดที่ตั้งของปราสาทแล้ว จะส่งข้อมูลทุกอย่างไปให้ทีมกัมพูชาสำรวจ เริ่มจากการเดินสำรวจและสอบถามจากชาวบ้าน การเดินเข้าพื้นที่สำรวจของกัมพูชาจะลำบากกว่า เพราะต้องเดินผ่านดงกับระเบิด แต่จะสามารถหาข้อมูลได้ง่ายกว่าฝ่ายไทย เพราะชาวบ้านกัมพูชาเกือบทั้งหมดเป็นคนในพื้นที่มาตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย ทำให้มีเรื่องราวเล่าต่อกันมา "อย่างบริเวณปราสาทอัมปึล ในกัมพูชา เจ้าอาวาสวัดในพื้นที่ชี้ให้ดูถนนโบราณแล้วบอกว่าเป็นถนนที่ไปพิมาย แต่แกไม่รู้ว่าพิมายคืออะไรและอยู่ที่ไหน" หัวหน้าโครงการกล่าว

    การสำรวจทั้งหมดในโครงการนี้ไม่ได้ทำเพียงเพื่อเป็นงานวิจัยเท่านั้น แต่คณะวิจัยหวังว่าข้อมูลที่ได้พัฒนาขึ้นมาจากโครงการนี้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของโครงการ นำไปใช้ในการศึกษาในด้านการวางแผนการใช้ที่ดิน การเกษตร สิ่งแวดล้อม ข้อมูลทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา นำไปใช้ในการศึกษาทางสังคมวิทยา

    ที่สำคัญทำให้รับรู้เรื่องราวในอดีตทั้งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ยิ่งขึ้นไปอีก
    ---------------
    ที่มา:ข่าวสด
    http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03hap01260850&day=2007-08-26&sectionid=0317
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...