สาเหตุโรคพระหทัยของในหลวง (อ่านแล้วคุณจะรักในหลวงยิ่งกว่าเดิม)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย Phennapha, 12 ธันวาคม 2012.

  1. Phennapha

    Phennapha สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +16
    ในหลวง กับ สะเมิง


    [​IMG]


    ในปี 2518 นั้นพื้นที่อำเภอสะเมิงยังเป็นชนบทที่ยากลำบากทั้งเส้นทางคมนาคม ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน แค่มีกินแต่ไม่มีเงินใช้จ่าย

    [​IMG]
    [​IMG]

    พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ชาวบ้านอาศัยพื้นที่หุบเขาซึ่งมีไม่มากนักปลูกข้าวในฤดูฝนและหลังนาก็ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สำคัญคือ กระเทียม ยาสูบพันธ์เวอร์จิเนีย และพืชผักอื่นๆ การหาของป่า เช่นน้ำมันสน เปลือกก่อเปลือกไก๋


    [​IMG]

    ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเมือง เป็นชาวไทลื้อ บนยอดภูเขาก็เป็นชาวไทยภูเขาเผ่า ม้ง ปะกากะญอ ลีซอ อะข่า โดยเฉพาะ ม้ง สมัยนั้นยังปลูกฝิ่นกันเต็มภูเขา ทั้งที่ดอยแม่สาใหม่ ต.ยั้งเมิน ต.บ่อแก้ว กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดูดอกฝิ่นกันของพวกเรา สมัยนั้นกิจการท่องเที่ยวยังน้อยมากๆ มีแต่คนเมือง ยังไม่มี Jungle tour ต่อมาการปลูกฝิ่นก็ถูกปราบปรามหนักจนเลิกกันไปในที่สุดที่หาดูไม่ได้แล้วเพราะผิดกฎหมาย

    [​IMG]

    เนื่องจากสะเมิงอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศก่อนและหลังที่ในหลวงเสด็จเพื่อพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในทุกปลายปีช่วงฤดูหนาว นั้น พระองค์ท่านก็จะเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ชนบทป่าเขาทุกปี สะเมิงก็เป็นพื้นที่เป้าหมาย ผู้บันทึกต้องเข้าร่วมรับเสด็จพร้อมกับทางอำเภอและประชาชนชาวสะเมิงทุกปี

    เนื่องจากสะเมิงเป็นพื้นที่ที่มีความหนาวเย็น และไม่ไกลจากตัวจังหวัด จึงเหมาะแก่การทำโครงการหลวงที่เน้นการทดลองนำพืชเมืองหนาวมาเพาะขยาย หรือแม้แต่ข้าวไร่ ที่พระองค์ท่านมีพระราชดำริให้จัดทำขึ้น เมื่อประสบความสำเร็จก็จะได้นำไปแนะนำชาวบ้านปลูกทดแทนฝิ่น และหารายได้ให้แก่ครอบครัวต่อไป

    [​IMG]

    การที่พระองค์ท่านทุ่มเทพระวรกายดังกล่าว จึงก่อให้เกิด ปัญหากับสุขภาพพระองค์ท่านขึ้นโดยไม่คาดคิดเลย ผู้บันทึกได้รับ Forward mail เรื่องนี้มานานแล้ว เพิ่งจะตัดสินนำมาขยายเพราะไปหยิบเรื่องสะเมิงมาเขียน เลยขอเอาเรื่องของพระองค์ท่าน มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่งครับ ผู้ส่ง mail ใช้ชื่อเรื่องว่า “สาเหตุโรคพระหทัยของในหลวง” โดยสรุปดังนี้

    ในหลวงทรงมีพระอาการประชวรเรื้อรังในส่วนของพระหทัยเต้นผิดปกติ หากจำกันได้ ในหลวงเคยต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2538 ครั้งนั้นพสกนิกรทั้งแผ่นดินแทบไม่เป็นอันทำอะไร ใครๆก็รู้ว่าโรคหัวใจไม่ใช่โรคล้อกันเล่นๆได้ ทั้งสมัยนั้นการผ่าตัดหัวใจก็เสี่ยงพอดู แต่ทุกอย่างก็เป็นไปโดยเรียบร้อย แต่ทราบกันหรือไม่ว่าสาเหตุของโรคพระหทัยเต้นผิดปกตินี้ มาจากอะไร?

    [​IMG]

    ราวปี 2530 ในหลวงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงพบว่าชาวบ้านจำนวนมากเป็นโรคคอพอก ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทูลว่า มีการเอาเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประจำ แต่ชาวบ้านไม่ยอมใช้ เพราะไม่รู้จักก็กลัวจะเป็นอันตราย ในหลวงจึงรับสั่งให้นำเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประชาชนด้วยพระหัตถ์ ชาวบ้านได้รับเกลือพระราชทาน จึงยอมเชื่อว่าเกลือชนิดนี้กินได้ จนแพร่หลายต่อๆมา ปัจจุบันไม่มีคนป่วยโรคคอพอกที่สะเมิงแล้ว

    [​IMG]


    นอกจากนี้ยังทรงเสด็จขึ้น-ลงสะเมิงอีกหลายครั้ง เพื่อติดตามแก้ปัญหาเรื่องน้ำและถนน จนชาวบ้านทำกินกันได้เป็นปกติสุข มีรายได้เลี้ยงชีพได้พอเพียง หากกลับเป็นพระองค์เองที่ทรงพระประชวร!
    ในหลวงทรงได้รับเชื้อไมโครพลาสม่าจากการเสด็จไปที่สะเมิงนี้เอง อันเป็นสาเหตุของโรคพระหทัยเต้นผิดปกติเรื้อรังมาถึงปัจจุบัน แม้คณะแพทย์จะพยายามเท่าใด ก็ไม่อาจถวายการรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงถวายพระโอสถประคองพระอาการมาตลอด จนกระทั่งต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่เมื่อปี 2538 ดังเล่ามาแล้ว

    ในหลวงเคยมีพระราชกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...

    “ ฉันขึ้น-ลงสะเมิงอยู่หลายปี จนได้รับเชื้อไมโครพลาสม่า ซึ่งในที่สุดทำให้ฉันเป็นโรคหัวใจเต้นไม่ปกติ จนเกือบต้องเสียชีวิต”

    เป็นถ้อยรับสั่งที่แสนจะเรียบง่าย ราวกับว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยธรรมดาเสียเหลือเกิน!
    อ่านแล้ว...อย่าแค่ผ่านเลยไป ช่วยกันจดกันจำเอาไว้ มีเพื่อนบอกเพื่อน มีครอบครัวขยายต่อให้ทราบทั่วกัน อีกหน่อยมีลูกมีหลาน อย่าลืมเล่าให้พวกเขาฟังด้วยว่า...



    "การรักผู้อื่นยิ่งกว่าชีวิตของตนเองนั้น...ยิ่งใหญ่อย่างไรและเพียงไหน"


    ----------------------------

    ผู้บันทึกไม่มีคำกล่าวใดๆ นอกจากสำนึกในพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านต่อประชาชนที่ยากไร้ในชนบทของประเทศเรา .. เมื่อผู้บันทึกมีโอกาสในการเจริญตามรอยพระบาท ก็ทำด้วยความสำนึกเป็นที่สุด...






    [​IMG] ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับที่มาของเนื้อหาและรูปภาพจาก : 289 ในหลวง กับสะเมิง
     

แชร์หน้านี้

Loading...