สาเหตุการฝึกสมาธิแล้วเสียสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 2 มีนาคม 2015.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    สาเหตุการฝึกสมาธิแล้วเสียสติ แหล่งที่มา

    โทษการฝึกผิด มิจฉาทิฏฐิ สัพมาทิฏฐิสาเหตุที่ผู้ฝึกสมาธิวิปัสสนาเป็นโรคประสาทหรือเสียสติ เป็นเพราะ
    ๑. ฝึกไม่ถูกวิธี และพยายามจะให้ได้ผลดี
    ๒. ฝึกบ่อยครั้งเกินไป หรือฝึกนานเกินควร
    ๓. เกิดความกลัวหรือตกใจมากขณะจิตเริ่มสงบ
    ๔. ผู้ฝึกสมาธิเป็นโรคประสาทหรือโรคจิตอยู่ก่อนแล้ว
    วิธีแก้ไข
    ๑. ฝึกผิดวิธีและพยายามจะให้ได้ผลดี ควรเลือกวิธีที่เหมาะกับจิตและนิสัยของตน วิธีที่เหมาะกับคนทั่วไปคือ วิธีกำหนดลมหายใจ ควรมีครูที่ดีควบคุมใกล้ชิดจนเข้าใจและทำถูกต้อง จึงไปฝึกตามลำพังตนเอง การฝึกไม่ถูกวิธี เช่นที่ตั้งจิตไม่เหมาะกับตน การดำเนินการฝึกไม่ทำตามขั้นตอน ฝึกข้ามขั้นทำให้ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่พยายามจะเร่งให้ได้ผลเร็ว เป็นความโลภ อยากมีอยากได้โดยไร้เหตุผล และทำให้เกิดความเครียดทางจิต จึงเป็นโรคประสาทหรือเสียสติได้
    ๒. การฝึกบ่อยครั้งเกินไป โดยธรรมดาการฝึก อย่างเคร่งครัดวันหนึ่งท่านให้ฝึกไม่เกิน ๓ ครั้ง และครั้งหนึ่งให้ห่างกันมากกว่า ๓ ชั่วโมง ถ้าฝึกมากเกินไป จะเกิดความเครียด ส่วนการฝึกแบบสบายๆ คือจัดลมหายใจแบบสบาย มีสติรู้ลมโดยไม่ต้องภาวนา ดังนี้ทำได้ตลอดไปทั้งในยามว่างหรือระหว่างทำงาน ระหว่างฟังวิทยุก็ทำได้ไม่เคร่งเครียด เผลอไปก็ทำใหม่ได้เรื่อยๆ บางท่านให้ภาวนา “พุท-โธ” ไปเรื่อยๆ ได้ตลอดเวลา หรือนึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน บ้างนึกถึงความไม่สะอาด ความไม่น่ารักของร่างกายบ้าง เหล่านี้ก็นับว่าดี ลองทำดู วิธีใดที่ทำให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่านก็ใช้วิธีนั้น หรือวิธีใดมากระทบใจก็ใช้วิธีนั้น
    การฝึกครั้งหนึ่งอย่าเคร่งครัดนานก็ให้โทษการฝึกตอนต้นๆ จิตสงบลงบ้าง แล้วอย่าไปคิดอย่างอื่นอีก ต้องคอยแก้ให้จิตสงบๆ ใหม่สลับกันไป ดังนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ควรฝึกนานกว่า ๑ ชั่วโมง ถ้าฝึกนานไป จะให้โทษมากกว่าให้คุณ นอกจากจิตเป็นสมาธิติดต่อกันไปสงบและเพลินไปเรื่อย ก็ฝึกนานกว่า ๑ ชั่วโมงได้
    อย่าฝืนฝึกสมาธิวิปัสสนาจนเกินขอบเขตที่จะทนได้ ถ้าง่วงมากหรือเพลียมากฝืนไม่ไหวก็พักเสีย หรือนอนให้สบายเสียก่อนจะดีกว่าพยายามรวมสติอยู่กับลมสบาย ไม่คิดว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร คิดให้มั่นว่าการฝึกสมาธิ วิปัสสนาเป็นการทำความดีเป็นบุญ ผลที่ได้รับต้องดีแน่ คิดว่าฝึกเพื่อให้เกิดความสบาย ไม่เร่งรีบจะเอาผลให้ทันใจ และหมั่นทำไม่ลดละ การฝึกจิตจะต้องปล่อยวาง ในเรื่องความรู้และเรื่องอื่นๆ ไม่สนใจทุกอย่าง สนใจอยู่เฉพาะลมหายใจและมีสติรู้ลม ดูลมด้วยจิตอยู่เสมอ
    ๓. ความกลัวความตกใจ ให้หมั่นพิจารณาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีการเกิดดับอยู่เสมอไม่มีการหยุดยั้งแม้แต่เพียงขณะเดียว ความกลัวความตกใจอาจมีเพราะคนหรือเสียง หรือเกิด ภาพทางใจ(คือนิมิต)ขณะที่จิตสงบสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงมาร หรือสิ่งหลอกลวง ขัดขวางความดีของเรา ทำร้ายอะไรเราไม่ได้ เกิดแล้วก็ดับไปไม่ยั่งยืน ควบคุมจิตใจให้ปกติไว้ ทางที่ดีควรรู้วิธีใช้อำนาจจิตอำนาจคุณพระ ป้องกันอันตราย ก่อนนั่งสมาสิทุกครั้ง ดังนี้จะเป็นการป้องกันที่ดี การปฏิบัติต่อนิมิต หรือการแก้นิมิตดูวิทยาศาสตร์ทางใจฉบับส่องโลก หน้า ๒๕๗
    ๔. ผู้ฝึกสมาธิวิปัสสนาเป็นโรคประสาทเป็นโรคจิตมาก่อนแล้ว หรือเป็นหลังจากฝึกไม่ถูกวิธี แก้โดยให้หยุดฝึกไปก่อนระยะหนึ่ง หาสิ่งที่เพลิดเพลินอย่างอื่นแทนให้หายจากโรคประสาทดีแล้ว จึงฝึกใหม่ และถ้ามีการรักษาด้วยยาด้วยพลังจิตช่วยด้วยก็จะทำให้ได้ผลดี ถ้าโรคประสาทนั้นเกิดเพราะความเสียใจเป็นเหตุก็แก้ความเสียใจ (ดูหลักแก้ความเสียใจในฉบับเปิดโลกหน้า ๔๑๐)
    ตามที่กล่าวมานี้รวบรวมจากพระไตรปิฎก จากท่านผู้รู้ จากพระอาจารย์ในดงและจากประสบการณ์ที่เคยฝึกศิษย์มานานกว่า ๒๕ ปี รายละเอียดการฝึกสมาธิ วิปัสสนาและการใช้อำนาจจิตเพื่อประโยชน์ต่างๆ มีใน วิทยาศาสตร์ทางใจ ฉบับยอดคน ฉบับเปิดโลก และฉบับส่องโลก ส่วนการรักษาต่างๆ ด้วยพลังจิตและยา มีในแพทย์สามแผนนำสมัย
    ในเรื่องพิจารณากายให้เป็นของไม่สะอาด ไม่ใช่ตัวตนนั้น มีวิธีพิจารณาหลายวิธี กล่าวไว้หลายแห่งในพระไตรปิฎก ควรนำมาสรุปรวมกันให้เห็นจริงทุกแง่ทุกมุมที่เหมาะจะให้ตนรังเกียจ ขยะแขยง และเห็นเป็นความว่างเปล่า จนจิตปล่อยวางข้ามพ้นรูปกายทั้งปวงได้ จิตจึงจะเป็นอิสระมีปัญญาแหลมคมจัด ละทิ้งความเห็นผิดในกาม แล้วจึงจะวางจิตได้ เช่น พิจารณาอาการ ๓๒ พิจารณาธาตุ ๔ พิจารณาให้เห็นเป็นอสุภะ เพ่งพินิจ โดยความเป็นธาตุโดยความเป็นอายตนะและโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท พิจารณาโดยแยบคายให้เห็นว่า ร่างกายกำลังเน่าเปื่อย กำลังไหวเคลื่อนอยู่เป็นนิจ ร่างกายมีการเกิดดับอยู่เสมอ ร่างกายเต็มไปด้วยหลุม อุจจาระปัสสาวะ ร่างกายมีนํ้าเน่ามีของเสียไหลออกมาตลอดเวลา ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (มีบรรยายลักษณะของอนิจจังไว้ ๑๐ ประการ ลักษณะทุกข์ ๒๕ ประการ และลักษณะอนัตตา ๕ประการ รวมเป็น ๔๐ ประการ บางแห่งเรียกว่า โต ๔๐)
    พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ หน้า ๒๕๓ กล่าวถึงพระอานนท์ทำความเพียรตลอดคืน ใช้เวลาส่วนมากในการพิจารณากาย ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส ไม่ยึดมั่นเป็นพระอรหันต์ไปสู่ที่ประชุมทำสังคายนาในตอนเช้า
    มีพระพุทธพจน์กล่าวว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นอะไรจะให้โทษร้ายแรงยิ่งกว่ามิจฉาทิฏฐิ”
    มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ให้ผลในทางชั่วทางบาป ทำให้ตกต่ำ ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ หน้า ๒๘๐ มีใจความว่า “เพราะยึดมั่นในรูปจึงเกิดมิจฉาทิฏฐิ” จึงควรที่จะหมั่นพิจารณาให้เห็นรูปกายตามความเป็นจริงให้เห็นชัดแจ้งด้วยสมาธิ ด้วยญาณ ให้จงได้ รูปไม่มี คือก้าวล่วงรูป เพิกถอนรูปได้ด้วยเหตุ ๒ คือ การพิจารณาและโดยเจริญอรูปฌาน ๔ อย่าง
    จากพระไตรปิฎกเล่ม ๒๔ อานันทสูตร ที่ ๔ มีใจความว่า พระวังคีสะ บวชใหม่ๆ มีความกระสันเกิดขึ้น ความกำหนัดยินดีรบกวน เพราะเห็นหญิงแต่งตัวสวยงามหลายคนเที่ยวเดินดูกุฏิพระในวันก่อน ขอให้พระอานนท์บอกวิธีดับราคะ พระอานนท์กล่าวว่า “จิตของท่านรุ่มร้อนเพราะสัญญาวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิตอันสวยงามอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขารทั้งหลายโดยความปรวนแปร โดยความเป็นทุกข์ และ
    อย่าเห็นโดยความเป็นตัวตน เจริญอสุภะกัมมัฏฐานให้เป็นจิตมีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นด้วยดีเถิด ท่านจงมีกายคตาสติ ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความหน่าย ไม่ติดในกามย่อมกำจัดความกระวนกระวายใจเสียได้” ต่อมาไม่นานพระวังคีสะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระอาจารย์วัน อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร ให้อุบายในการฝึกจิตสั้นๆ ว่า “เมื่อฝึกไม่ได้ผลก็ให้ปลอบใจ เมื่อปลอบใจแล้วก็ไม่ได้ผลอีกให้ใช้วิธีขู่”
    กามคุณ พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ มหาทุกขกขันธสูตร มีใจความว่า “กามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส ที่น่าปรารถนาน่าพอใจน่ารักประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ความสุข ความโสมนัส ที่บังเกิดเพราะอาศัยความงามความเปล่งปลั่งนี้เป็นคุณของรูป”
    การเห็นคุณของรูปดังกล่าวเป็นการเห็นผิดจากความเป็นจริง เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” ตรงตามพระไตรปิฎก เล่ม ๒๖ หน้า ๒๘๐ มีใจความว่า “เพราะยึดมั่นในรูปจึงเกิดมิจฉาทิฏฐิ” จึงควรที่จะหมั่นพิจารณาให้เห็นรูป ตามความเป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่สกปรกน่ารังเกียจน่าสะอิดสะเอียน
    พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ อลคัททูปมสูตร กล่าวว่า “โทษแห่งกาม เปรียบด้วยงูพิษ”
    พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ นิวาปสูตร กล่าวว่า “กามคุณคือเหยื่อที่ทำให้สัตว์มัวเมา”
    มิจฉาทิฏฐิมีโทษร้ายแรงและให้โทษยาวนานไปได้หลายชาติจนกว่าจะมีความเห็นถูกต้อง พระพุทธองค์ จึงทรงกล่าวกับพระภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นอะไรจะให้โทษร้ายแรงยิ่งกว่ามิจฉาทิฏฐิ”
    อนัตตริยกรรม หรือ กรรมหนัก ๕ อย่าง ได้แก่ การฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าบิดามารดา เป็นต้น ล้วนให้ผลตกนรกในชาติถัดไป รับโทษหมดแล้วก็เป็นอันหมดไป แต่มิจฉาทิฏฐิให้ผลมาก ให้ผลยาวนาน และให้ผลแก่คนจำนวนมากมาย มีแต่พระอริยคือจากพระโสดาถึงพระอรหันต์เท่านั้นที่ละความยึดมั่นในรูปดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๖ หน้า ๒๘๐ มีใจความว่า “เพราะยึดมั่นรูปจึงเกิดมิจฉาทิฏฐิ” ก็ เกศา โลมา นขา ทันตา” ที่หลงชอบใจอยู่ติดใจอยู่นั้นก็ล้วนเป็นซากศพ ตามที่อธิบายในเรื่องพิจารณากายและที่หลงใหลชอบใจมากนั้น พระอาจารย์ผู้มีสมาธิสูงหลายท่านสอนว่า “หนัง” เป็นสิ่งให้ชอบใจติดใจมากที่สุด ทั้งๆ ที่หนังก็คือซากศพที่ทยอยปลิวออกไปในอากาศตลอดเวลา เพราะถูกตัวชีวิตที่ตายทยอยดันออกมา ที่เห็นผิวหนังอยู่นั้นก็เห็นอยู่เดี๋ยวเดียวก็ปลิวไปในอากาศ เห็นแล้วชอบใจถูกใจและเห็นว่าสวยงามนั่นแหละคือความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิพิจารณาให้ดีให้รอบคอบจะได้รู้ตัวว่าเราเห็นผิด เห็นไม่ตรงตามความเป็นจริง รายละเอียดในการพิจารณากาย ให้เห็นตามความเป็นจริงให้เห็นเป็นไม่งาม เต็มไปด้วยซากศพนั้นได้อธิบายไว้โดยละเอียดในหนังสือยอด อัศจรรย์และธุดงค์ เมื่อฝึกสมาธิมากขึ้น พิจารณามากขึ้น ก็ถึงขั้น “เห็นสักว่าเห็น” เห็นโดยไม่มีความหมาย เห็นเป็นกลาง ไม่เห็นว่างาม ไม่เห็นว่าสวย ไม่เห็นว่าสกปรก น่าเกลียด ถ้าเห็นว่างามก็เกิดชอบใจ นั้นคือเกิดโลภะหรือราคะ ถ้าเห็นว่าสกปรกน่ารังเกียจไม่ชอบใจก็เป็นโทสะ ที่เกิดโลภะโทสะขึ้นได้ก็เพราะมีโมหะคือความไม่รู้ (อวิชชา) ไม่รู้ความจริง หรือโง่นั่นเอง จึงยึดมั่นรูปหรือเกิดมิจฉาทิฏฐินั่นเอง พระไตรปิฎก เล่ม ๒๖ หน้า ๒๘๐ จึงกล่าวว่า “เพราะยึดมั่นรูปจึงเกิดมิจฉาทิฏฐิ’’ มิจฉาทิฏฐิ ให้โทษร้ายแรงจึงทรงกล่าวว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นอะไรจะให้โทษร้ายแรงยิ่งกว่ามิจฉาทิฏฐิ”
    จงตรวจสอบตนเอง เมื่อเห็นกายของคนยังมี การชอบใจ เห็นว่างามน่ารัก เห็นรูปคนที่แบนอยู่ในกระดาษก็สร้างในใจ เห็นเป็นทรวดทรงน่าดู นั่นคือ สอบตกเป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ในคำสอนและบทสวดมนต์ใจความว่า “รูปกาย เรานี้เป็นเพียงธาตุ ๔ มาประชุมกันขึ้นไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา” ให้ล่วงพ้นรูปกายไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในรูป ให้มีความเบื่อหน่ายในรูปเห็นรูปตามความเป็นจริง คือ เกิดความเห็นถูกเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) อันจะทำให้เกิดผลตามแนวของพระธรรมที่กล่าวไว้เป็นคำถามคำตอบ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๖ หน้า ๒๙๑ มีใจความดังนี้
    ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) มีประโยชน์อย่างไร ? มีประโยชน์ทำให้เบื่อหน่าย
    ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร ? มีประโยชย์ ทำให้คลายกำหนัด (อันทำให้มีจิตน้อมไปเพื่อความดับทุกข์คือนิพพาน)
    ความคลายกำหนัดมีประโยชน์อย่างไร ? มีประโยชน์ทำให้หลุดพ้น (หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงที่ เรียกว่า “วิมุตติ”)
    ความหลุดพ้นมีประโยชน์อะไร ? มีประโยชน์ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน
    นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร ? เธอไม่อาจเพื่อเอาที่สุดของปัญหาได้ (ซึ่งหมายถึงนิพพานนั้นละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะตนและผู้มีฌานอันประเสริฐ จะหยั่งรู้ได้)
    ในเรื่องไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นอะไรแน่ ในอริยสัจ ๔ มี ใจความตอนหนึ่งว่า กล่าวโดยย่อทุกข์ทั้งปวงเกิดจาก อุปาทานขันธ์ ๕ (ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ในพระไตรปิฎก เล่ม ๖ หน้า ๒๔ มีกล่าวว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” ในพระไตรปิฎกและในบทสวดมนต์แปล มีใจความใน ธชัคคะสูตร ความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิดความกลัวจะไม่พึงมีแก่ท่านทั้งหลาย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ตาม พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด ความกลัวจะไม่พึงมีแก่ท่าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าจักไม่มีแล” นี่ก็หมายถึงให้ยึดมั่นถือมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เชื่อมั่นจึงจะได้รับผลดี ไม่ถือมั่น ก็ย่อมไม่ได้ผล พระหรือของขลัง คาถา อาคม ถ้าไม่ถือมั่นก็ไม่เกิดผลดี ถึงคราวจะต้องยึดมั่น ถือมั่นก็ต้องยึดมั่นถือมั่น แต่ไม่ยึดติด หรือหลงใหล ธรรมมะมีความละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ต้องพิจารณาด้วยจิตเป็นสมาธิ ทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ระดับ พระโสดาบันก็ไม่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ได้โดยเด็ดขาดได้โดยแน่นอน การไม่ยึดมั่นในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ทำให้การสอนได้ผลไม่ดีพอ เช่น อนุบุพพีกถาให้สอนตามลำดับจากง่ายไปหายาก คือทาน ศีล เรื่องเทวดา โทษความต่ำทรามของกาม อานิสงส์ในการออกจากกาม แล้วจึงสอนอริยสัจ ๔ พระพุทธองค์ ก็ทรงสอนเช่นนี้แต่ในสมัยใหม่ไม่สามารถทำให้เชื่อเรื่องเทวดาและโทษของกามทั้งหลาย จึงได้หลงติดไม่กลัวบาปกรรม สอนวิปัสสนาไม่ทำตามขั้นในมหาสติปัฏฐานสูตรโดยสอนข้าม ส่วนมากจะข้าม ๒ ข้อ คือ หายใจ (ระงับกายสังขาร) และให้เห็นการเกิดดับของรูปก่อน จะพิจารณานาม
    ได้กล่าวมาแล้วว่า พิจารณาความตายก็เห็นอสุภะไปด้วยคือเห็นความสกปรก ไม่สะอาดไปด้วย บางแห่งก็เรียกรวมว่า พิจารณากาย หรือการเจริญกายคตาสติ อันเป็นเหตุให้ละความพอใจในรูปและยังเป็นเหตุให้เกิด สมาธิวิปัสสนาจนถึงขั้นเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ คือ ถึงนิพพาน ดังมีหลักฐานในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ กายคตาสติสูตร กล่าวว่า “กายคตาสติเจริญให้มากอยู่เนืองๆ ด้วยความเพียรย่อมทำให้ละความดำริพล่าน เสียได้” มีอานิสงส์ ๑๐ ประการ คือ
    ๑. กายคตาสติ ทำให้อดทน อดกลั้นต่อความ ยินดีและไม่ยินดีได้
    ๒. อดกลั้น อดทนต่อภัยและความหวาดกลัวได้
    ๓. อดทนต่อความหนาวร้อน ความหิว และอดทนต่อเหลือบยุงได้ ฯ
    ๔. ได้ฌาน ๔ ไม่ยาก ไม่ลำบาก
    ๕. กายคตาสติ ทำให้แสดงฤทธิ์ได้อเนกประการ
    ๖. มีหูทิพย์
    ๗. รู้ใจสัตว์หรือบุคคลอื่นได้
    ๘. ระลึกชาติได้
    ๙. มองเห็นหมู่สัตว์กำลังเกิดและดับ
    ๑๐. กายคตาสติทำให้เข้าใจถึงเจโตวิมุตติและ ปัญญาวิมุตติ (คือเข้าถึงนิพพาน)
    พิจารณากาย หรือพิจารณาความตายและอสุภะ ก็เป็นเรื่องเดียวกัน จึงเป็นธัมมะที่ต้องพิจารณาเนืองนิจ ทุกลมหายใจเข้าออก
    พระพุทธเจ้าเคยทรงยืนยันกับพระสารีบุตรว่า “ตถาคตให้เวลาล่วงไปด้วยสุญญตาวิหาร” ซึ่งหมายความว่า ทำจิตให้อยู่ในความว่าง (ว่างจากตัวตน)ตลอดเวลาเป็นคำสอนเน้นว่าต้องมีธรรมมะประจำจิต อยู่ตลอดเวลา
    ครั้งหนึ่งพระโมคคัลลาถามพระสารีบุตรว่า“อาวุโส วันนี้ผิวกายของท่านผ่องใสนัก ท่านอยู่ในธรรมวิหารใด” พระสารีบุตรตอบว่า “อาวุโส เราอยู่ในวิหาร กายคตาสติ” “ฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา” นอกจากมีการสนใจตั้งใจฟัง ฟังด้วยความเคารพ ฟังด้วยความศรัทธา แล้วเรื่องที่อ่านที่ฟังต้องถูกต้องครบถ้วนตรงตามความเป็นจริงด้วยจึงเกิดปัญญาขั้นต้น (รู้จริง) ถ้าพิจารณาไปด้วยก็ได้ปัญญา ขั้นเห็นจริง ถ้าฟังด้วยพิจารณาด้วย และทำสมาธิด้วย จึงจะได้ปัญญาขั้นเห็นแจ้ง ตามขั้นของสมาธิ เช่น การเกิดดับของรูปกาย ก็ต้องรู้ตามความจริงว่าตัวชีวิต (เซลล์) ในกายเกิดตายทุกขณะจิตจึงนับว่าตรงตามความเป็นจริง รู้จริง แล้วจึงพิจารณาให้เห็นจริง และทำสมาธิพิจารณา จึงเห็นแจ้ง
    พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลได้รับทุกข์เดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุ อย่าประมาท จงละความพอใจในรูปเสีย”
    การพิจารณากายให้ได้ผลดี ให้ได้ผลเร็วก็ต้อง นำธรรมมะข้ออื่นมาประกอบการพิจารณา เช่น นำหัวข้อธรรมมะที่พระพุทธองค์กล่าวไว้เกี่ยวกับกาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าทรงสอนว่า กายเรากำลังเน่าเปื่อยทุกขณะ กายเราเต็มไปด้วยหลุมฝังศพ กายเต็มไปด้วยขี้เยี่ยว กายเต็มไปด้วยของสกปรก ทุกจุดในร่างกายมีการไหวเคลื่อนตลอดเวลา กายเต็มไปด้วยแผลเน่า ร่างกายมีการเกิดและดับอยู่ตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอก กายมีการแตกสลาย ปลิวพลัดพรากออกไปตลอดเวลา ซึ่งได้อธิบายละเอียดเป็นข้อๆ ไว้แล้ว ตลอดถึงกายเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา นั้นอย่างไร การพิจารณากายมีผลประโยชน์คือมีอานิสงส์ถึง ๑๐ ประการ และยังเป็นธรรมะที่จะต้องพิจารณาเป็นลำดับแรกให้รู้จริง เห็นจริงและเห็นแจ้งขึ้นโดยลำดับ พระอาจารย์ผู้มีสมาธิสูงหลายท่านจึงพูดเน้นพูดยํ้าให้พิจารณากายเสียก่อน ดังคำสอนของพระอาจารย์มั่นว่า “กายเป็นเครื่องก่อเหตุ ตาเห็นรูป ทำให้ใจกำเริบ จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อน จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ ทำใจให้สงบได้ พึงทำให้มาก พิจารณาไม่ถอยทีเดียว ”
    อาจินไตย ๔ (สิ่งที่ไม่ควรคิด)
    ๑. วิสัยแห่งพระพุทธเจ้า
    ๒. วิสัยแห่งฌาน หรือวิสัยของผู้เข้าฌาน
    ๓. ผลแห่งกรรม
    ๔. ความคิดของชาวโลก
    ๕. อย่างนี้ไม่ควรคิด เพราะถ้าครุ่นคิดเข้าต้องกลายเป็นคนบ้าคลั่ง
    (จาก สารัตถทีปนี ภาค ๑ หน้า ๑๔๐)
    สิ่งที่ควรคิด
    ๑. ตนเองก็มีทุกข์ มีแก่เจ็บตาย ยังจะแสวงหาสิ่งที่แก่เจ็บตาย มีทุกข์มีโลภโกรธหลง ผนวกเข้ามาอีก ได้โอกาสก็จะถูกโลภโกรธหลงแสดงออกให้ทุกข์หนักขึ้นอีก
    ๒. ผิวหนังที่โปร่งพรุน มีของโสโครกไหลออกตลอด เวลาที่หลงรักหลงชอบเป็นเพราะ ตาหูจมูกของเราไม่ดีพอ จึงไม่เห็นเหมือนตาหูจมูกที่เป็นทิพย์ สู้กล้องขยายหรือตาแร้งจมูกมดก็ไม่ได้ จึงเห็นผิดเพี้ยนไป
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    " ปวดขี้ !!!"




    เป็นอาการโรคปราสาทวิหาร ป่วยอยู่แล้ว เป่าฮับ
     
  3. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    อนุโมทนาสาธุครับที่นำสิ่งดีๆมาให้ได้อ่านกัน สามารถวัดคนได้ว่า เป็นสัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ ถ้ารู้ตนว่าตนเป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วรีบแก้ไขปรับเปลียนตนเองก็ยังมีโอกาสได้พบพุทธภูมิแต่ถ้ายังไม่รู้ตัวเพราะไม่เคยสำรวจตนและไม่เคยปฏิบัติธรรมแล้วคิดว่าตนเก่งเชียวชาญทำได้ขั้นนั้นขั้นนี้หลอกตนเองเค้าเรียกบัวโคลนตมหมดทางเยียวยาแก้ไขได้ย่อมมีอบายภูมิเป็นที่ไปอย่างแน่นอน ก็ขอให้ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิจงสำรวจตนให้ดีอย่าได้มัวแต่สำรวจคนอื่นจนหลงเมื่อหมดโอกาสจะแก้ไขแล้วจะเสียใจว่าไม่น่าเลยเรา. สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2015
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถ้าผู้ปฏิบัติยังติดวนอยู่ในธัมมุทธัจจ์หรือวิปัสสนูปกิเลส 10 แล้ว โอกาสเพี้ยนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่ถ้าข้ามพ้นไปได้แล้ว ที่เคยเพี้ยนๆ ฯลฯ ก็หายจากอาการนั้นๆ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เมื่อปฏิบัติถูกทางข้ามพ้นธัมมุธัจจ์หรือวิปัสสนูปกิเลสแล้ว จิตก้าวหน้าไปถึงสังขารุปเปกขาญาณ นับว่าปลอดภัย



    วิปัสสนาญาณ
    ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา มี ๙ อย่าง คือ

    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาตามเห็นความเกิดขึ้นและดับแห่งสังขาร, ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ

    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด

    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะสังขารทั้งปวงนั้นล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ, ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่ามีข้อบกพร่องระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้

    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

    ๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้วด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ

    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย

    ๘. สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นต้น นั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะ และให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว

    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์, อนุโลมญาณ ก็เรียก
     
  6. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    - ขอถามนะครับ ผมคัดลอกเขามาอย่างนี้่นะครับคือ
    โสฬสญาณ หรือญาณ ๑๖
    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป คือปัญญากำหนดรู้เข้าใจในนามและรูป
    ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญากำหนดรู้ทั้งในนามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย
    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
    ๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙
    ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
    ๑๔. มรรคญาณ(มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค
    ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน
    ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส

    วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
    ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
    ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
    ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
    ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
    ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
    ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
    ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
    ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
    ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
    วิปัสสนูปกิเลส มี ๑๐ อย่าง คือ
    1. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกว่างามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสว อย่างไม่เคยมีมาก่อน
    2. ญาณ ความหยั่งรู้ ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่า จะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด
    3. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่งทั้งตัว
    4. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่า ทั้งกายและใจสงบสนิท เบานุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆ เลย
    5. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่ง แผ่ไปทั่วทั้งตัว
    6. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน
    7.ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง
    8.อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด
    9. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบเที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง
    10. นิกันติ ความพอใจติดใจ ที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการสงบ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่า เป็นกิเลส

    --- ขอถามว่า วิปัสสนูปกิเลส หรือ ธรรมุธัจจ์ จะเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนญาณที่ ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือว่าจะเกิดขึ้นระหว่าง ญาณ อื่นๆที่จะเกิดขึ้น ?


    ----เรื่องนี้ผมเคยฟังซีดี ของพระอาจารย์ โชดก ท่านกล่าวว่า ถ้ามาถูกทางก็จะพบ วิปัสสนุปกิเลส อย่างไดอย่างหนึ่ง ให้ฝึก สติให้เข้มแข็งแล้ว ปัดความหลงในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเสีย ก็จะก้าวล่วงไปได้
    ----กระผมเคยได้ยินว่า ถ้าไม่มีอาจารย์ชี้แนะจะเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะเมื่อเกิด วิปัสสนุปกิเลสแล้ว จะแก้ยาก ท่านให้แนะวิธีแก้โดยสร้างสติให้เข้มแข็ง แล้วปัดสิ่งเหล่านั้นพ้นไป คือต้องมีอาจารย์คอยเตือน ถ้าสติไม่พอ
    ----เป็นว่า ถ้ามาถูกทางก็จะพบวิปัสสนุปกิเลสทุกคน มากน้อยต่างกัน
    ----ในคำสอนถ้าเราฟังจากพระไตรปิฏกก็ไม่เห็นพระองค์เน้นให้กลัว แต่พระองค์ก็ให้สร้างสติ สัมปชัญญะ ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อาศัยหลักการตั้งจิต และการมีสัมมาทิฏฐิอย่างที่กระทู้ข้างบนนั้นแหละ ก็จะก้าวล่วงไปได้

    ----ก็ที่สงสัยมันจะเกิดตอนใหนละครับ ก่อนญาณที่ 1 หรือระหว่างญาณใหน กับญาณใหน ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2015
  7. moonoiija

    moonoiija เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2014
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +198
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วิปัสสนูปกิเลสเริ่มเกิดตั้งแต่ญาณที่ ๒ "นามรูปปัจจยปริคคหญาณ" (หรือ ธัมมัฏฐิติญาณ, ยถาภูตญาณ, สัมมาทัสสนะ)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    (จะนำที่คัมภีร์วิสุทธิมัคค์สรุปไว้ลงให้ดู ยาวหน่อยนะครับ)

    สรุปสาระสำคัญของวิสุทธิมัคค์ทั้งหมด

    ก. ระดับศีล (อธิสิลสิกขา)

    ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ ประพฤติดี เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีศีลตามภูมิชั้นของตน คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวมุ่งเฉพาะการปฏิบัติของพระภิกษุ หมายเอา ปาริสุทธิศีล ๔ คือ

    ๑) ปาฏิโมกข์สังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต รักษาวินัย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย

    ๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ได้แก่ ระวังไม่ให้อกุศลธรรมความชั่วครอบงำจิตใจในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖

    ๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ได้แก่ เลี้ยงชีวิตโดยทางชอบธรรม

    ๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๔ ได้แก่ การใช้สอยปัจจัย ๔ ด้วยปัญญาพิจารณาให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้นๆ ไม่บริโภคด้วยตัณหา ปัจจยปฏิเสวนศีล ก็เรียก

    นอกจากศีล ท่านแนะนำให้เลือกสมาทานคือถือธุดงค์ 13 บางข้อ ที่ทรงอนุญาตและเหมาะกับตน เพื่อส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ สงัด เพียร และเลี้ยงง่าย เป็นต้น เป็นการขูดเกลากิเลส อันจะช่วยให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี และช่วยให้บำเพ็ญข้อวัตรทั้งหลายได้สำเร็จพร้อม เป็นการเกื้อกูลแก่ภาวนาต่อไป

    ข. ระดับสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

    ๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิต หรือพัฒนาคุณภาพและสมรรถภาพของจิต จนเกิดสมาธิ พอเป็นบาท หรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา คัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติทั้ง ๘ และแสดงวิธีเจริญสมาธิ จนถึงได้ผลพิเศษ คือ โลกิยอภิญญาทั้ง ๕

    ค. ระดับปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

    1) ขั้นญาตปริญญา คือ รู้จักสภาวะ

    - ขั้นทุกขววัฏฐาน คือ กำหนดทุกขสัจจ์

    3. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ทำให้ระงับความเข้าใจผิดว่า เป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด บางทีกำหนดเรียกเป็นญาณอย่างหนึ่ง มีชื่อว่า

    ๐) นามรูปปริจเฉทญาณ (1) หรือ เรียกว่า สังขารปริจเฉทบ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง หมายถึง ความรู้จักรูปธรรมนามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และกำหนดได้ว่า ในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม เช่น เมื่อเห็นรูป จักขุประสาท แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณ หรือ การเห็น เป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น

    - ขั้นสมุทัยววัฏฐาน คือ กำหนดสมุทัยสัจ

    4. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย หรือ ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ตาม ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ตาม ตามแนวกระบวนการรับรู้ก็ตาม ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ตาม หรือ ตามแนวอื่นก็ตามว่า นามธรรม และรูปธรรมล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยกัน อันเป็นความรู้ที่ทำให้สิ้นความสงสัยเกี่ยวกับกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต และปัจจุบัน ความรู้นี้ เป็นญาณขั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่า

    ๐) นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ (2) แปลว่า ญาณที่กำหนดปัจจัยของนามรูป ญาณขั้นนี้ เรียกได้หลายชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง

    ผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า “จูฬโสดาบัน” คือพระโสดาบันน้อย เป็นผู้มีคติ คือ ทางไปก้าวหน้า ที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา.

    2) ขั้นตีรณปริญญา คือ รู้สามัญลักษณะ หรือ หยั่งถึงไตรลักษณ์

    - ขั้นมัคคววัฏฐาน คือ กำหนดมรรคสัจ (เฉพาะข้อ 5)

    5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมด จดแห่งญาณ ที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ ยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ทีละอย่างๆ เช่น พิจารณารูป โดยอนิจจลักษณะ โดยทุกขลักษณะ โดยอนัตตลักษณะ แล้วพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามลำดับ และโดยลักษณะแต่ละลักษณะไปทีละอย่าง แล้วพิจารณาข้อธรรมอื่นๆ เช่น ในหมวดอายตนะ 12 ปฏิจจสมุปบาท 12 และอะไรก็ได้ทุกๆอย่าง ฯลฯ (รวมความก็อยู่ในขันธ์ 5 นั่นเอง) จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เรียกว่า เกิดเป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ

    ในช่วงนี้ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ ขึ้นมา ชวนให้หลงผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึด เอาวิปัสสนูปกิเลสนั้นว่าเป็นทางที่ถูก ถ้าหลงไปตามนั้น ก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดแยกได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 นั้นไม่ใช่ทาง แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง พ้นจากอุปกิเลสแล้วว่า นั่นแหละเป็นทาง หรือมรรคาแท้จริง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป เมื่อความรู้นี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.

    ในวิสุทธิข้อนี้ มีเนื้อหาซับซ้อนที่พึงทำความเข้าใจ คือ

    การเจริญวิปัสสนาในขั้นที่จะให้เกิดวิสุทธิข้อนี้ เรียกว่า นยวิปัสสนา (การเจริญวิปัสสนาโดยนัย คือ พิจารณาโดยจับแง่ความหมาย ตามแนววิธีที่ท่านแสดงไว้ในพระบาลี เช่น ว่า รูปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็ตาม ฯลฯ ล้วนไม่เที่ยงดังนี้ เป็นต้น)

    หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลาปสัมมสนะ * (การ พิจารณาเป็นหมวดๆ หรือรวบเป็นกลุ่มๆ อย่างที่อธิบายแล้วข้างบน) และความรู้ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้ บางทีจัดกันเป็นญาณขั้นหนึ่ง เรียกว่า

    ๐) สัมมสนญาณ (3) แปลว่า ญาณที่พิจารณา หรือตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์)

    เมื่อพิจารณาด้วยสัมมสนญาณไป จนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น. และความเสื่อมสลายไปของสิ่งทั้งหลาย มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป มองเห็นการเกิดและดับสลายทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆอยู่และญาณนี้ ตอนนี้เองที่เรียกว่า ตรุณวิปัสสนา หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนาญาณอ่อนๆ)

    ผู้ได้ตรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า อารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มเห็นแจ้ง หรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว) และในตอนนี้เอง วิปัสสนูปกิเลส * เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้น จะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ ถ้ากำหนดรู้เท่าทัน ก็ผ่านพ้นไปได้ กำหนดแยกว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว ก็เป็นอันจบสิ้นวิสุทธิข้อนี้.

    3) ขั้นปหานปริญญา คือ รู้ถึงขั้นละความหลงผิด ถอนตัวเป็นอิสระได้

    6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน โดยสาระแท้ๆ หมายถึงวิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอดด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ 8 กับวิปัสสนาญาณข้อที่ 9 คือ สัจจานุโลมิกญาณ แต่พูดอย่างกว้างๆ วิสุทธิข้อนี้ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 นั่นเอง คือ นับตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ ที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เป็นต้นไป จนสุดทางแห่งความเป็นปุถุชน หรือสุดวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ 9 มีดังนี้

    1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ (4) ญาณหรือปัญญา อันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่ง เบญจขันธ์ (ขันธ์ห้า ) จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่ง ทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้หรือผู้รู้ที่เกิดขึ้นแล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้

    2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ (5) ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้า ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

    4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ (7) ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็น ของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

    5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ (8) ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

    6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ชื่อเดียวกัน 9) ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

    7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ (10) ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอา สังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

    8. สังขารุเปกขาญาณ (ชื่อเดียวกัน 11) ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึง วางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

    9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (12) ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป
    เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

    ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ (13) (ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะปุถุชน กับ ภาวะอริยบุคคล) มาคั่นกลาง แล้วจึงเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

    โคตรภูญาณนี้ ท่านว่าอยู่ระหว่างกลาง ไม่จัดเข้าในวิสุทธิ ไม่ว่าข้อ 6 หรือ ข้อ 7 แต่ให้นับเข้าเป็นวิปัสสนาได้ เพราะอยู่ในกระแสของวิปัสสนา

    7. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ คือ ความรู้อริยมรรค 4 หรือ มรรคญาณ (14) นั่นเอง ซึ่งเกิดถัดจากโคตรภูญาณ เมื่อมรรคญาณเกิดแล้ว ผลญาณ (15) ก็เกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆ ตามลำดับของแต่ละขั้นของความเป็นอริยบุคคล ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิ ข้อนี้ เป็นอันบรรลุที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งหมด.

    ถัดจากบรรลุมรรคผลด้วยมรรคญาณ และ ผลญาณแล้ว ก็จะเกิดญาณอีก อย่างหนึ่งขึ้นพิจารณา มรรค ผล พิจารณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ (16) * เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผลนิพพานขั้นหนึ่งๆ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้างอิง ( ) *

    * ญาณต่างๆที่มีเลขลำดับกำกับอยู่ใน ( ) ข้างหลังนั้น พึงทราบว่า ได้แก่ ญาณที่ในสมัยหลังๆ ได้มีการนับรวมเข้าเป็นชุด เรียกว่า ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ อัน เป็นที่รู้จักกันดีในวงการบำเพ็ญวิปัสสนา โดยเฉพาะใช้ในการตรวจสอบที่เรียกว่า ลำดับญาณ และพึงทราบว่า ในญาณ 16 นี้ เฉพาะมรรคญาณ และผลญาณ สองอย่างเท่านั้น เป็นญาณขั้นโลกุตระ ส่วนอีก 14 อย่างที่เหลือ เป็นญาณขั้นโลกีย์ทั้งสิ้น

    อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนาญาณ 9 นั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนับรวม สัมมสนญาณ (3) เข้าในชุดด้วย จึงเป็น วิปัสสนาญาณ 10 (สงฺคห.55)
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน ๑๖ อย่าง, ญาณ ๑๖ นี้ มิใช่เป็นหมวดธรรมที่มาครบชุดในพระบาลีเดิมโดยตรง แต่พระอาจารย์ปางก่อนได้ประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์ แล้วสอนสืบกันมา บางทีเรียกให้เป็นชื่อชุดเลียนคำบาลี “โสฬสญาณ” หรือเรียกกึ่งไทยว่า “ญาณโสฬส” ทั้งนี้ ท่านตั้งวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักอยู่ตรงกลาง แล้วเติมญาณขั้นต้นๆ ที่ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ เพิ่มเข้าก่อนข้างหน้า และเติมญาณขั้นสูงที่เลยวิปัสสนาญาณไปแล้ว เข้ามาต่อท้ายด้วย ให้เห็นกระบวนการปฏิบัติตลอดแต่ต้นจนจบ จึงเป็นความปรารถนาดีที่เกื้อกูลแก่การศึกษาไม่น้อย
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พึงเข้าใจความหมายของศัพท์สำคัญ

    วิสุทธิ แปล ว่า ความหมดจด คือ ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นเป็นขั้นๆ หมายถึง ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน จำแนกเป็น ๗ ขั้น ดังจะแสดงต่อไป

    ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก หมายถึง การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยครบถ้วน หรือรอบด้าน แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ

    ๑) ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ รู้ตามสภาวะลักษณะ ได้แก่ รู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นตามสภาวะ ของมัน เช่นรู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ นี้คือสัญญา สัญญาคือสิ่งที่มีลักษณะกำหนดได้ หมายรู้ ดังนี้ เป็นต้น (= รู้ว่าคืออะไร)

    ๒) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือ รู้ด้วยปัญญาที่หยั่งลึกซึ้งไปถึงสามัญลักษณะ ได้แก่ รู้ถึงการที่สิ่งนั้น ๆ เป็นตามกฎธรรมดา โดยพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาและสัญญานั้น ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น (= รู้ว่า เป็นอย่างไร)

    ๓) ปหานปริญญา กำหนด รู้ถึงขั้นละได้ คือ รู้ถึงขั้นที่ทำให้ถอนความยึดถือ เป็นอิสระจากสิ่งนั้นๆได้ ไม่เกิดความผูกพันหลงใหล ทำให้วางใจ วางท่าที และปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง เช่น เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสิ่งนั้นๆ ได้ (= รู้ว่าจะทำอย่างไร)

    วิปัสสนาญาณ แปลว่า ญาณ หรือ ปัญญาในวิปัสสนา หรือ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือ ญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา ได้แก่ ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ได้ แบ่งเป็น ๙ ขั้น
     
  13. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    สิ่งที่ควรคิด
    ๑. ตนเองก็มีทุกข์ มีแก่เจ็บตาย ยังจะแสวงหาสิ่งที่แก่เจ็บตาย มีทุกข์มีโลภโกรธหลง ผนวกเข้ามาอีก ได้โอกาสก็จะถูกโลภโกรธหลงแสดงออกให้ทุกข์หนักขึ้นอีก
    ๒. ผิวหนังที่โปร่งพรุน มีของโสโครกไหลออกตลอด เวลาที่หลงรักหลงชอบเป็นเพราะ ตาหูจมูกของเราไม่ดีพอ จึงไม่เห็นเหมือนตาหูจมูกที่เป็นทิพย์ สู้กล้องขยายหรือตาแร้งจมูกมดก็ไม่ได้ จึงเห็นผิดเพี้ยนไป



    ตรงนี้ที่สุดแล้ว
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ต้องไปคิดใหม่นะ..อย่าเดาเอาได้ไม่คุ้มเสีย
     
  15. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    อยากฟังจากท่าน ลุงหมาน ว่าท่านมีความเห็นว่า เกิด ตรงระหว่างญาณใหนครับ และขอขอบคุณ คุณมาจากดินด้วยที่ค้นมาให้อ่าน ผมจะอ่านสักสองรอบนะครับ
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เมื่อเธอยังไม่พร้อม นุ่งกายยังไม่เรียบร้อย ก็ยังไม่ควรจะด่วนออกมารับแขกผู้มาเยือน
     
  17. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ผมไม่เข้าใจความหมายของท่าน ปัญญาผมน้อยนัก ลุงหมานยังไม่ได้นุ่งผ้าเรียบร้อย หรือผมไม่นุ่งผ้าเรียบร้อย งง จริงๆ ผมเป็นคนถามท่านนะ ท่านเข้าใจหรือเปล่าว่าผมเป็นคนถาม ไม่ได้เป็นคนตอบ ผมเป็นแขกผู้มาเยือนนะ ไม่ได้เป็นผู้รับแขก แสดงว่าท่านไม่แน่ในคำตอบใช่หรือเปล่า
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ทั้งพูดให้ฟัง ทั้งนำหลักมาให้ดูครบหมดแล้ว...เหลืออย่างเดียว คือผู้ฟังต้องลงมือลงเท้าพิสูจน์กันเอาเอง แล้วจะรู้ว่าหมู่หรือจ่า :)
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พูดให้ฟัง นำหลักมาให้เทียบ ที่นี้เอาตัวอย่างมั่ง จะได้ครบเครื่อง

    แต่ค่อนข้างมั่นใจว่า ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติว่าอ่านไม่รู้เรื่องหรอก
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704

    ต้องยกญาณ ๑๖ มาประกอบด้วยนะครับ
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
    ๒. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
    ๓. สัมมสนญาณ
    ๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
    ๕. ภังคานุปัสสนาญาณ
    ๖. ภยตูปัฏฐานญาณ
    ๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ มีนัยอันเดียวกันต่างกันโดยพยัญชนะมีอรรถเสมอกัน
    ๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
    ๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ มีนัยอันเดียวกันต่างกันโดยพยัญชนะมีอรรถเสมอกัน
    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ
    ๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ
    ๑๓. โคตรภูญาณ
    ๑๔. มัคคญาณ เป็นโลกุตตรญาณ แสดงถึงความเป็นพระอริยบุคคล
    ๑๕. ผลญาณ
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ

    เมื่อเจริญสัมมสนญาณ คือ ญาณที่ ๓ โดยช่ำชองแลชำนาญแล้ว
    จิตของผู้นั้นย่อมปวัติเข้าสู่ความเห็นในสังขารธรรมทั้งปวงว่าเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณะ คือ
    อนิจจตานุปัสสนา - ทุกขานุปัสสนา - เห็นเป็นอนัตตานุปัสสนา.

    เห็นทุกสิ่งของธรรมชาติว่า เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเองโดยธรรมชาติ ( ตามหลักของปฏิจสมุปบาท )
    เรียกว่า เห็นเกิด- เห็นดับ ( ความเกิดดับของรูป-นาม ) การเห็นเกิดเห็นดับนั้น เห็นได้ในขณะเดียวด้วยวิปัสสนาปัญญา
    จากนั้นจะเห็นด้วยสมถะวิธี คือเห็นด้วยสมาธินั่นเอง

    เมื่อนั้นจิตย่อมก้าวเข้าสู่ญาณที่ ๔ คือ อุทยพยานุปัสสนา (อย่างอ่อน)
    หรืออาจเรียกว่า ตรุณวิปัสสนาญาณ ในระยะนี้วิปัสสนูกิเลส ๑๐ ประการ
    จะเกิดขึ้นทำให้วิปัสสนาหม่นหมอง จนถึงญาณที่ ๑๒ คือ อนุโลมญาณจึงจะพ้นอุปกิเลส ๑๐

    ในระยะตั้งแต่ญาณที่ ๔ นี้ให้พึงปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอน
    ถ้ามิพึงปฏิบัติตามแล้วย่อมทำให้แชออกนอกลู่นอกทาง มองเห็นธรรมนั้นเป็นของวิเศษ
    เหนือบุคคล เหนือธรรมชาติไป ท่านเรียกธรรมอันเป็นเหตุให้ขัดขวาง
    วิปัสสนานี้ว่า “วิปัสสนูกิเลส ๑๐” หรือ “อุปกิเลส ๑๐” ซึ่งจะเป็นตัวขวางกั้น
    ไม่ให้บรรลุผลในวิปัสสนาญาณชั้นสูงต่อไป.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มีนาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...