สายเขาอ้อ ไว้เป็นกรณีศึกษา จะได้ ไมโดนเค้าหลอก(ไม่ให้เช่าดีกว่า)แต่ใครสนใจติดต่อได้นะคับผม

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย แสงธรรมนำทาง, 29 มกราคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    สายเขาอ้อ ไว้เป็นกรณีศึกษา จะได้ ไมโดนเค้าหลอก(ไม่ให้เช่าดีกว่า)แต่ใครสนใจติดต่อได้นะค

    chai_khoa_or.gif
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2009
  2. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
  3. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    วัตถุมงคล รุ่น มงคลจักรวาลพุทธาคมเขาอ้อ 45

    khoa_or4502.gif

    khoa_or4501.gif
     
  4. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    วัตถุมงคล รุ่น หลักเมืองพุทธาคมเขาอ้อ 49



    khoa_or4901.gif

    khoa_or4902.gif

    khoa_or4903.gif

    khoa_or4904.gif

    khoa_or4905.gif
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2009
  5. กิตติ_เจน

    กิตติ_เจน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,657
    ค่าพลัง:
    +1,281
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่ดีๆ
     
  6. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    วัตถุมงคล รุ่น จตุคามรามเทพ วัดเขาอ้อ รุ่น 1
    khoa_or5001.gif
     
  7. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    ประวัติคณาจารย์ ผมขอยกมาเฉพราะชั้นครูเท่านั้นอะคับ​

    พระอาจารย์ทองเฒ่า

    tong.jpg

    พระอาจารย์ทองเฒ่าหรือ พ่อท่านทอง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า " พ่อท่านเขาอ้อ " เป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน เชื่อกันว่าเป็นอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมทางไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป ตรงศรีษะของท่านมีเส้นผมสีขาวกระจุกหนึ่ง เล่ากันว่าไม่สามารถโกนหรือตัดให้ขาดได้


    การสร้างวัตถุมงคล
    1.1 ตะกรุด (มีตะกรุด 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก เป็นต้น)
    1.2 ลูกสะกด
    1.3 ลูกประคำ
    ฯลฯ
    พระอาจารย์ทองเฒ่า ไม่เคยสร้างพระเครื่องแต่ก็มักจะมีการอ้างว่าท่านได้สร้างพระเครื่องไว้ด้วย

    จำไว้ให้ดีนะคับว่าท่านไม่เคยสร้างพระเครื่องเลย​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2009
  8. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    หลวงพ่อเอียด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน
    p31.jpg

    พระครูสิทธิยาภิรัตนมีนามเดิมว่า เอียด ทองโอ่ เกิดที่บ้านดอนนูด ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2425 เป็นบุตรของนายรอด นางพัด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อแก้ว เริ่มการศึกษาหลังจากบิดาได้ถึงแก่กรรมแล้ว โดยมารดาได้นำไปฝากพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ร่ำเรียนจนรู้หนังสือขอมไทย เมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ มีพระอาจารย์ทองเฒ่า เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปทุมสโร ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ต่อมาทางวัดดอนศาลา ว่างเจ้าอาวาสลง คณะพุทธบริษัทของวัดดอนศาลา ได้พร้อมในกันนิมนต์อาจารย์เอียดมาเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาไม่นานท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับในปี 2473 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี 2480 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสิทธิยาภิรัตน์ แต่ชาวบ้านยังนิยมเรียกท่านว่า " พ่อท่านเอียด " หรือ " พ่อท่านดอนศาลา " บางทีก็เรียกว่า " พระครูสิทธิ์ "
    พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอภาค ใครมีความทุกข์ร้อนไปหาท่าน ถ้าท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที เป็นคนที่เคารพในเหตุผล จึงต้องเป็นตุลาการให้คนในหมู่บ้านอยู่เสมอ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้นำชาวบ้านดอนศาลาและบริเวณใกล้เคียงพัฒนาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัด และจัดสร้างอาคารเรียนถาวรให้โรงเรียนวัดดอนศาลาเป็นผลสำเร็จ ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนมาจนทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นผู้นำในการขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน ตัดถนนจากวัดเชื่อต่อกับถนนสายควนขนุน-ปากคลอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อกับตัวอำเภอได้สะดวกยิ่งขึ้น
    เมื่อ พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจน ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารไปร่วมรบในสงครามครั้งนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารอาสาสมัคร และพลเรือนในยามสงคราม พระครูสิทธิยาภิรัตน์ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายชนิด เช่น พระเครื่อง ลูกอม ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ผ้ารองหมวก ตะกรุด ปลอกแขน โดยทำพิธีปลุกเสกที่วัดเขาอ้อ วัตถุมงคลเหล่านี้ได้แจกจ่ายให้แก่ ทหารอาสาสมัคร พลเรือน พระเครื่องที่สำคัญที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คือ พระมหายันต์ และพระมหาว่าน ขาว-ดำ การสร้างเครื่องรางของขลังในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างสนองคุณแก่ประเทศชาติ เยี่ยงพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ที่เคยช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมาแล้วในอดีต
    พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นพระเถระที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติเป็นอันมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2491 รวมอายุได้ 66 ปี

    การสร้างวัตถุมงคล
    หลวงพ่อเอียด เป็นศิษย์อาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ การสร้างวัตถุมงคลในปี พ.ศ.2483 หลวงพ่อเอียดได้ไปประกอบพิธีจัดสร้างที่วัดเขาอ้อชาวบ้านจึงเรียกว่า "พระเขาอ้อ" วัตถุมลคงที่สร้างไว้มีดังต่อไปนี้
    3.1 พระมหาว่านขาว-ดำ หรือ พระกลีบบัววัดเขาอ้อสร้างด้วยว่านผสมผง
    3.2 พระมหายันต์ หรือ พระปิดตาวัดเขาอ้อ มี 2 แบบ คือ พระปิดตา 2 หน้า กับ พระปิดตาหน้าเดียว สร้างด้วยตะกั่วและเงินยวง
    3.3 พระปิดตามหาลาภ สร้างด้วยเนื้อชันรามโลม
    3.4 ลูกประคำดีควาย ผงมหาว่าน เขาวัว ฯลฯ
    3.5 ลูกสะกด สร้างด้วยตะกั่ว เงินยวง ปรอท ฯลฯ
    3.6 ลูกอม สร้างด้วยชันรามโลม ลูกดีควาย ลูกสวาท ลูกลาน ฯลฯ
    3.7 ตะกรุด สร้างด้วยตะกั่ว มี 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก 9 ดอก และ 12 ดอก ฯลฯ
    3.8 แหวนพิรอด เนื้อโลหะผสม
    3.9 หัวมะโม เนื้อโลหะผสม
    3.10 เหรียญพระครูสิทธิยาภิรัต อาจารย์ชุมไชยคีรี สร้างเมื่อ พ.ศ.2498 หลังจากพระครูสิทธิยาภิรัต มรณภาพแล้ว 7 ปี มีทั้งเนื้อทองแดง และ เนื้อเงิน
     
  9. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    4.พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน

    p41.jpg
    พระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางวิทยาคุณ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เจ้าสำนักเขาอ้อ นอกจากจะมีพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร หรือ พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา แล้ว ก็ยังมีอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ท่านผู้นี้นอกจากจะเป็นศิษย์เอกรูปหนึ่งของท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าแล้ว ยังได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากท่านด้วย
    ความจริงแล้วทราบจากศิษย์สายเข้าอ้อหลายท่านว่า ครั้งแรกท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า ได้คัดเลือกศิษย์ที่จะให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักไว้เรียบร้อยแล้ว และได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ที่เจ้าสำนักควรรู้ไปให้หมดแล้ว ศิษย์เอกรูปนั้นคือ พระอาจารย์เอียด ปทุมสโร แต่เพราะความจำเป็นในเรื่องที่วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นวัดสาขา เป็นสำนักที่ถือว่าเป็นแขนขาสำคัญแห่งหนึ่งของสำนักเขาอ้อขาดเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านไปขอพระจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เพราะเห็นว่าวัดแห่งนี้มีความสัมพันธ์ไกล้ชิดต่อเนื่องกันมา และที่สำคัญตอนนั้นวัดที่มีพระที่เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าอาวาสมากที่สุด คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นสำนักใหญ่ที่คึกคักด้วยคณาศิษย์และผู้คนที่เดินทางไปมาหาสู่ ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องส่งคนที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้น ก็คือพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร
    เมื่อต้องสละพระอาจารย์เอียดให้กับวัดดอนศาลาไป ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องคัดเลือกศิษย์รูปใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะให้เป็นทายาทสือทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อแทนท่านอาจารย์เอียด พิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ แล้วในที่สุดท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าก็ตัดสินใจเลือก พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ศิษย์อาวุโสรองจากท่านอาจารย์เอียด
    เรื่องการคัดเลือกศิษย์ที่จะมาเป็นทายาทในการสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักนั้น ถือเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของเจ้าสำนัก ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักหน่วงอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ การที่จะคัดเลือกใครสักคนให้มาทำหน้าที่สำคัญที่สุดในสำนักต้องพิจารณากันหลายๆ ประการ ต้องอาศัยความรอบคอบเป็นพิเศษ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะนำพาสำนักซึ่งโด่งดังและคงความสำคัญมาร่วมพันปีไปสู่ความเสื่อมเสียได้
    ผู้รู้ประวัติสำนักเขาอ้อท่านหนึ่งได้กรุณาอธิบายให้ฟังถึงวิธีการคัดเลือกศิษย์ ที่จะมาเป็นทายาทเจ้าสำนักว่า เนื่องจากวัดเขาอ้อเป็นวัดที่วิวัฒนาการมาจากสำนักทิศาปาโมกข์ ซึ่งแต่ก่อนมีพราหมณาจารย์ หรือ ฤาษี เป็นเจ้าสำนัก สืบทอดวิชาตามตำราของพราหมณ์ ซึ่งในตำรานั้นจารึกวิทยาการไว้มากมายหลายประการ มากเสียจนคนๆ เดียวไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนได้หมด ต้องแบ่งกันศึกษาเล่าเรียน ฉะนั้นการแบ่งนี้ก็ต้องเลือกคนที่ต้องการจะเรียนตามความเหมาะสม การสอนให้คนที่เรียนตามจริต หรือ ความชอบ เพราะวิชาของสำนักเขาอ้อบางอย่างเหมาะกับบรรพชิต บางอย่างเหมาะกับฆราวาส บางอย่างผู้หญิงห้ามแตะต้อง บางอย่างผู้ชายทำไม่ได้ ทำได้แต่ผู้หญิง บางอย่างฆราวาสทำไม่ได้ทำได้แต่บรรพชิต บางอย่างบรรพชิตทำไม่ได้ทำได้แต่ฆราวาส แต่คนที่จะมาทำหน้าที่เจ้าสำนักต้องเรียนทั้งหมด แม้ตัวเองทำไม่ได้ ก็ต้องเรียนรู้ไว้เพื่อจะถ่ายทอดให้คนที่ทำได้เอาไปทำต่อไป ฉะนั้นคนที่เป็นเจ้าสำนักจะต้องมีความรู้มากที่สุด และต้องอาศัยสติปัญญาสูงสุดจึงจะสามารถรับถ่ายทอดวิชาทั้งหมดนั้นได้
    ทีนี้มาว่ากันถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของคนที่จะถูกเลือกเป็นทายาทเจ้าสำนักได้ ผู้รู้ท่านนั้นท่านได้หยิบคุณสมบัติสำคัญอันดับต้นๆมาให้เพียง 3 อย่างนั่นคือ
    ๑. ต้องมีดวงชะตาดี โดยพิจารณาจากการตรวจดวงชะตาแล้ว
    ๒. ต้องมีคุณธรรมดี
    ๓. ต้องมีสติปัญญาเป็นเลิศ
    แล้วท่านก็อธิบายถึงความสำคัญของคุณสมบัติเหล่านี้ให้ฟังว่าที่ต้องเอาคนดวงชะตาดีนั้น เพราะในอนาคตไม่มีใครสามารถกำหนดได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสำนัก คนเราอาจจะดีวันนี้ แต่วันข้างหน้าไม่ดี ตามความเชื่อของพราหมณ์นั้นเชื่อในเรื่องของดวงชะตา ชะตาจะเป็นผู้กำหนดให้มนุษย์เป็นไป ฉะนั้นการตรวจดวงชะตาเป็นการช่วยทำให้ทราบความเป็นไปในอนาคตของมนุษย์ได้
    ความมีคุณธรรมเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของบุคคลที่จะถูกเลือกเป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ เพราะหากขาดคุณสมบัติข้อนี้แล้วไซร้ ปัญหานานาประการอาจจะเกิดขึ้นได้ คุณธรรมที่ต้องมีนั้นยังระบุชัดเจนลงไปว่า
    จะต้องมีเมตตาเป็นเยี่ยม
    จะต้องมีความเสียสละเป็นเลิศ
    จะต้องรักสันโดษมักน้อยเป็นอุปนิสัย
    เพราะว่า หากผู้ถูกเลือกเป็นคนเห็นแก่ตัว ขาดเมตตาธรรม ก็มีโอกาสนำวิชาความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดไป ซึ่งมีมากที่สุด ไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง อาจส่งผลเสียต่อส่วนรวม ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเจ้าสำนักเขาอ้อ สำนักเขาอ้อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ โดยการเอาการเสียสละของเจ้าสำนักเป็นที่ตั้ง
    ความมักน้อยสันโดษเป็นอุปนิสัย ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคุณธรรมข้ออื่นๆ กล่าวคือ หากบุคคลผู้นั้นเป็นคนฟุ่มเฟือย ละโมบโลภมาก ก็อาจนำวิชาความรู้ และหน้าที่ไปใช้เพื่อรับใช้กิเลสส่วนตนมากกว่าจะส่งผลประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
    มีสติปัญญาเป็นเลิศ
    คุณสมบัติข้อนี้ก็สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่จะถูกเลือกเป็นเจ้าสำนักวัดเขาอ้อ ก็อย่างที่เรียนไปแล้วแต่ต้นว่าวิชาของสำนักเขาอ้อนั้นมีมากมายหลายประเภทหลายแขนง แต่ส่วนคนทั่วไป เป็นการแยกสอนให้ตามความเหมาะสม ซึ่งแต่ละส่วนก็นับว่าเรียนยาก ต้องอาศัยสติปัญญาระดับหนึ่งจึงจะเข้าถึงวิชานั้นๆได้ แต่สำหรับคนที่จะต้องทำหน้าที่เจ้าสำนักต่อไปจะต้องใช้สติปัญญาอย่างมาก เพื่อจะต้องเรียนวิชาต่างๆหมดสิ้น รู้ให้หมด ทำให้ได้ เพราะนอกจากจะเรียนเพื่อปฏิบัติเองแล้ว ยังต้องเรียนรู้ขนาดที่จะต้องถ่ายทอดให้คนอื่นในฐานะเจ้าสำนักต่อไปได้ด้วย ฉะนั้นเรื่องระดับสติปัญญานับว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ถูกหยิบยกมาพิจารณาอย่างละเอียด
    หลักเกณฑ์การคัดเลือกเจ้าสำนักดังกล่าวนี้เอง ทำให้สำนักวัดเขาอ้อสามารถรักษาวิชาสำคัญๆ และสืบทอดวิทยาการต่างๆต่อกันมาได้ จนถึงพระอาจารย์ปาล ซึ่งถือเป็นเจ้าสำนักที่ได้รับการคัดเลือกจากเจ้าสำนักรูปก่อน และอาศัยคุณสมบัติดังกล่าวเป็นรูปสุดท้าย เพราะหลังจากสิ้นท่านแล้ว สำนักวัดเขาอ้อก็กลายเป็นวัดธรรมดาๆ วัดหนึ่ง มีพระที่มีพรรษาอาวุโสสูงสุดขึ้นเป็นเจ้าอาวาส โดยการแต่งตั้งของคณะสงฆ์ที่ทำหน้าที่ปกครองในเขตนั้น พิจารณาจากคุณสมบัติทางสงฆ์ ซึ่งถือคุณสมบัติทั่วไป ประเพณีการเลือกเจ้าสำนักอันสืบทอดมาแต่เดิมก็จบสิ้นลงแค่สมัยอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ซึ่งมีเหตุผลให้จบเช่นนั้น สำนักวัดเขาอ้อซึ่งเคยมีฐานะเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ก็เหลือเพียงตำนาน และหลักฐานทางโบราณวัตถุเพียงไม่กี่ชิ้น ซึ่งก็น่าเสียดายอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อพิจารณาให้ดี ก็เห็นว่าความเป็นไปของสำนักนี้ เป็นไปตามกฎธรรมชาติเพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ ไม่มีอะไรถาวร ทุกอย่างย่อมมีการเกิดเป็นจุดเริ่ม การเจริญเติบโตและตั้งอยู่เป็นท่ามกลาง มีความเสื่อมโทรมและสิ้นสุดเป็นที่สุด สำนักเขาอ้อก็ตกอยู่ในสภาพธรรมนี้ ซึ่งเหมือนกับสำนักใหญ่ๆในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นตักศิลานคร ต้นกำเนิดวิทยาการอันยิ่งใหญ่ในอดีต หรือสำนักใหญ่ๆอื่นๆ
    การเสื่อมสลายความสำคัญของสำนักเขาอ้อภายหลังยุคพระอาจารย์ปาล มีเหตุผลอยู่หลายประการ เป็นต้นว่า
    ๑. สังคมเปลี่ยนค่านิยม
    ๒. การคมนาคมเปลี่ยนเส้นทาง
    ๓. วิทยาการสมัยใหม่รุกราน
    ๔. ขาดผู้นำที่เหมาะสมมาสืบทอดต่อ
    และอีกเหตุผลหนึ่งที่คณะศิษย์เขาอ้อลงความเห็นเพิ่มเติม คือ เพราะพระอาจารย์ปาลเป็นเจ้าสำนักรูปแรกและรูปเดียวที่ไม่มีชื่อทองนำหน้าหรือต่อท้าย เหมือนกับเจ้าสำนักรูปอื่นๆที่เคยมี ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย ก็อย่างที่ว่า สำนักเขาอ้อแห่งนี้ตั้งแต่ก่อตั้งมา มีนามว่าทองขึ้นต้นหรือต่อท้ายทุกรูป ตั้งแต่พระอาจารย์ทอง ปฐมาจารย์แห่งสำนักเขาอ้อ จนถึงปรมาจารย์ทองเฒ่า ทองรูปสุดท้าย ข้อสังเกตนี้มีส่วนน่าเชื่อถือแค่ไหน เหตุการณ์ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ปาล เป็นส่วนสนับสนุนได้อีกอย่างหนึ่ง
    สำหรับประวัติพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม นั้น ไม่ค่อยจะมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรให้อ้างถึงได้มากนัก เนื่องจากพระอาจารย์ปาลท่านเป็นพระที่หนักไปในทางสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆ ไม่ค่อยสุงสิงกับสังคมภายนอก ประกอบกับการบันทึกหลักฐานในสมัยท่านยังไม่แพร่หลายมากนัก และที่สำคัญตัวท่านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักฐานทางบ้านเมืองมากนัก กล่าวคือไม่เข้าสู่ระบบการปกครองของคณะสงฆ์ เหมือนกับพระอาจารย์เอียด ที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรและได้เป็นเจ้าคณะตำบล ทางคณะสงฆ์จึงได้บันทึกประวัติและผลงานของท่านไว้ ทำให้มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรให้ศึกษาค้นคว้าถึงได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับกรณีของพระอาจารย์ปาล จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักฐานจากคำบอกเล่าของชาวบ้านไกล้วัดที่เคยได้พบเห็นท่านเป็นสำคัญ
    จากคำบอกเล่าของคุณตามงคล ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติไกล้ชิดกับพ่อท่านปาล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพระอาจารย์ปาลมาว่า บรรพบุรุษของพระอาจารย์ปาลเป็นชาวระโนด จังหวัดสงขลา ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณบ้านเขาอ้อ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าพระอาจารย์ปาลท่านมาเกิดที่เขาอ้อ หรือเกิดที่ระโนดแล้วอพยพตามครอบครัวมา แต่ว่าแม้จะเกิดที่ระโนด ก็คงจะมาตั้งแต่เล็กๆ อย่างน้อยก็ก่อนจะเข้าโรงเรียน
    พระอาจารย์ปาลเป็นญาติกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ส่วนจะเป็นญาติใกล้ชิดกันแค่ไหนก็ไม่สามารถระบุได้ แต่ก็เข้าใจว่าใกล้ชิดกันพอสมควร เพราะพระอาจารย์ทองเฒ่าก็มีพื้นเพเดิมเป็นชาวระโนดเช่นกัน ครอบครัวของพระอาจารย์ปาลคงจะใกล้ชิดและเคารพนับถือพระอาจารย์ทองเฒ่ามาก ด้วยเหตุนี้เมื่อพระอาจารย์ปาลมีอายุพอที่จะเรียนหนังสือได้ พ่อแม่จึงได้พาไปฝากให้อยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดเขาอ้อ ซึ่งสมัยนั้นเป็นสำนักใหญ่และสำคัญที่สุดในละแวกนั้น มีลูกศิษย์มากมาย
    ผู้เฒ่าท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์ปาลเป็นคนเรียนเก่ง แต่ค่อนข้างจะดื้อ มีอุปนิสัยรักสนุก ร่าเริง เป็นนักเสียสละตัวยง เป็นที่รักใคร่ของศิษย์ร่วมสำนักทุกรูปทุกคน ท่านถึงกับเคยรับโทษแทนเพื่อนหลายครั้ง พระอาจารย์ปาลเรียนอยู่ในสำนักวัดเขาอ้อนานจนมีวัยพอที่จะบวชเรียนได้ พระอาจารย์ทองเฒ่าจึงได้จัดการให้บวชเป็นสามเณรแล้วให้อยู่ศึกษาพระธรรมและวิทยาคมต่างๆ อยู่ในสำนักเขาอ้อ
    พระอาจารย์ปาลบวชตั้งแต่สามเณรจนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเขาอ้อ โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่าเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ อุปสมบทแล้วก็ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมและช่วยพระอาจารย์ทองเฒ่าอยู่ที่สำนักเขาอ้อต่อไป จนกระทั่งพระอาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาทเจ้าสำนักถ่ายทอดวิชาสำคัญๆให้จนหมดสิ้น
    ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพลง ในฐานะทายาทเจ้าสำนัก และเป็นพระที่มีพรรษาอาวุโสที่สุด พระอาจารย์ปาลจึงขึ้นเป็นเจ้าสำนักสืบทอดต่อ ทำหน้าที่ต่างๆต่อจากพระอาจารย์ทองเฒ่า
    ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ทองเฒ่า จึงมีศิษย์ของสำนักวัดเขาอ้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังพร้อมกันสองรูป คือ พระอาจารย์เอียด เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ในฐานะศิษย์เอกคนโต และพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม เจ้าสำนักเขาอ้อ แต่เจ้าสำนักทั้งสองต่างเคารพรักใคร่กันมาก ไปมาหาสู่กันไม่ได้ขาด พระอาจารย์เอียด แม้จะมีภาระใหญ่อยู่ที่วัดดอนศาลา แต่ก็ไม่ทอดทิ้งวัดเขาอ้อ เพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเป็นสำนักที่ให้วิชาความรู้ เป็นบ้านที่ท่านเติบโตขึ้นมา ฉะนั้นเมื่อไม่มีพระอาจารย์ทองเฒ่า ก็จะต้องไปดูแลช่วยเหลือพระอาจารย์ปาลทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพราะโดยส่วนตัวพระอาจารย์เอียดรักใคร่เมตตาศิษย์น้องรูปนี้มาก เคยใกล้ชิดสนิทสนมกันเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักที่เขาอ้อ ในสายตาพระอาจารย์เอียด พระอาจารย์ปาลคือศิษย์น้องหัวดื้อ แต่เคารพรักศิษย์พี่อย่างท่านมาก
    ในขณะเดียวกัน ในสายตาพระอาจารย์ปาล พระอาจารย์เอียดคือพี่ชาย คือศิษย์พี่ที่จะต้องเคารพเชื่อฟังต่อจากอาจารย์ และโดยส่วนตัวแล้วเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักกัน ศิษย์พี่รูปนี้คอยช่วยเหลือเจือจุนท่านมามาก ด้วยความเคารพนับถือที่มีต่อกัน ท่านทั้งสองจึงถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ต่างระมัดระวังในบทบาทของกันและกัน ด้วยเกรงว่าจะเด่นกว่าอีกฝ่าย
    ว่ากันว่าโดยธรรมเนียมแล้ว ผู้เป็นประธานหรือควรจะมีบทบาทเด่นที่สุดในสายเขาอ้อขณะนั้น ก็คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ในฐานะเจ้าสำนัก แต่เนื่องจากพระอาจารย์เอียดก็เป็นศิษย์ที่ปรมาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาท ถ่ายทอดวิชาไว้ให้เท่าๆกัน และที่สำคัญมีความอาวุโสมากกว่า พระอาจารย์ปาลจึงเคารพและระมัดระวังบทบาทของตัวเองไม่ให้ยิ่งไปกว่าศิษย์พี่ พระอาจารย์เอียดเองก็ตระหนักในข้อนี้ แม้ว่าท่านจะมีความรู้ความเชียวชาญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาจารย์ปาล มีพรรษาอาวุโสกว่า แต่ก็ตระหนักดีว่าพระอาจารย์ปาลเป็นเจ้าสำนักใหญ่ ทานจึงให้เกียติมาก ระมัดระวังในบทบาทตัวเองอย่างสูง
    ต่อมาดูเหมือนว่าท่านทั้งสองหาทางออกได้ โดนพระอาจารย์ปาลแสดงบทบาทของตัวเองเต็มที่ในสำนัก ส่วนภายนอกมอบให้พระอาจารย์เอียด และตัวพระอาจารย์เอียดเองก็เปลี่ยนไปทำงานให้คณะสงฆ์เสียมากกว่า มอบภาระอันเป็นหน้าที่ของเจ้าสำนักเขาอ้อให้พระอาจารย์ปาลดำเนินการต่อไป ท่านอยู่ในฐานะผู้ช่วยและที่ปรึกษา
    ด้วยเหตุนี้ในสำนักเขาอ้อพ ระอาจารย์ปาลจึงทำหน้าที่เจ้าสำนักได้เต็มที่หน้าที่หลักๆ ของเจ้าสำนักเขาอ้อมีดังนี้
    ๑. เป็นประธานอำนวยการในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เคยดำเนินสืบทอดต่อๆกันมา เป็นต้นว่าพิธีอาบว่าน ปลุกเสกพระ กินน้ำมันงา และพิธีอื่นๆ
    ๒. คัดเลือกศิษย์ ถ่ายทอดวิชา และอบรมศิษย์ในสำนัก
    ๓. ช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากซึ่งเดินทางไปพึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งมีทั้งป่วยทางจิตและทางกาย ท่านก็บำบัดไปตามที่ร่ำเรียนมา ป่วยทางจิตก็ใช้เวทมนต์คาถาเข้าช่วย ป่วยทางกายก็ใช้ยาสมุนไพรเข้าช่วย
    ๔. เป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับสำนักเขาอ้อ ในฐานะที่เป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ เรียกว่าเป็นประธานโดยตำแหน่ง
    ๕. คอยดูแลและว่ากล่าวตักเตือนคณะศิษย์ของเขาอ้อที่ออกจากสำนักไปแล้ว หน้าที่นี้คือคอยดูสอดส่องและให้ความร่วมมือ ในกรณีที่ผู้ที่ร่ำเรียนวิชาจากสำนักเขาอ้อไปสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม อาจจะเป็นผู้ประสานงาน ช่วยเหลือเกลี้ยกล่อม ว่ากล่าวตักเตือน หรือถึงกับให้ความช่วยเหลือในการบำราบปราบปรามเอง เพราะว่าแน่นอนวิชาที่เจ้าสำนักมีอยู่ย่อมมากกว่าคนอื่น ตรงนี้ถือเป็นความรับผิดชอบที่น่าชื่นชมของสำนักแห่งนี้
    ๖. รักษาของสำคัญของสำนัก อันเปรียบเสมือนเครื่องหมายเจ้าสำนักที่แท้จริง ซึ่งมีอยู่หลายประการ ที่สำคัญก็มี ตำรา ลูกประคำดีควายที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ไม้เท้ากายสิทธิ์ ที่ใช้ในการจี้รักษาโรคและปลุกเสกวัตถุมงคล เพราะภายใต้ปลายไม้เท้าบรรจุธาตุศักดิ์สิทธิ์ไว้จำนวนมาก
    โดยสรุปแล้วท่านอาจารย์ปาลก็ทำหน้าที่ต่างๆ อยู่ที่วัดเขาอ้อเสียเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าใหญ่อยู่ที่วัดเขาอ้อ ส่วนข้างนอกให้พระอาจารย์เอียดใหญ่บ้าง ว่ากันโดยวิทยาคุณแล้ว พระอาจารย์ปาลก็เข้มขลังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเจ้าสำนักรูปอื่นๆ ท่านสำเร็จวิชาสำคัญๆ ของสำนักเขาอ้อแทบทุกอย่าง แต่เพราะยุคของท่านเป็นยุคเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม วัดเริ่มถูกลดบทบาทลง โดยเริ่มจากการศึกษา ซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของวัดถูกรัฐบาลเอาไปดำเนินการเสียเอง หน้าที่และความสำคัญหลายอย่างของวัดถูกรัฐบาลนำไปทำเสียเอง วัดเลยลดความสำคัญลงไปมาก พระอาจารย์ปาลก็เลยต้องลดบทบาทลงไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ทำหน้าที่ของเจ้าสำนักวัดเขาอ้อได้สมบูรณ์ตามสถานการณ์จนกระทั่งมรณภาพ
    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่สัดเขาอ้อจนกระทั่งชราภาพมากเข้า ในวาระบั้นปลายของท่าน วัดเขาอ้อเข้าสู่ภาวะซบเซา พระภิกษุสามเณรในวัดมีน้อย ในขณะเดียวกันวัดดอนศาลากลับคึกคักขึ้นมาแทน เมื่อท่านชราภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยสะดวก ศิษย์รูปหนึ่งของท่าน คือพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร รองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ได้นำท่านมาอยู่ที่วัดดอนศาลา เพื่อจะดูแลปรนนิบัติรับใช้ได้สะดวกกว่า
    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่วัดดอนศาลาหลายปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะเกือบจะสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านทราบวาระของตัวเอง จึงขอให้ศิษย์นำกลับไปที่วัดเขาอ้ออีกครั้ง เพื่อที่จะกลับไปมรณภาพที่สำนักวัดเขาอ้อ เหมือนกับเจ้าสำนักรูปก่อนๆ คณะศิษย์เห็นใจ สนองตอบความต้องการของท่าน นำท่านกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อ พระอาจารย์ปาลกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อในสภาพอาพาทหนักด้วยโรคชราไม่ถึงสองเดือน ก็ถึงแก่มรณภาพ
    เรื่องที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับชีวประวัติเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึง คือ เรื่องการสำเร็จวิชานิ้วชี้เพชรของท่านอาจารย์ปาล ในกระบวนวิชาสำคัญๆระดับหัวกะทิที่บุคคลระดับเจ้าสำนักถึงจะได้เรียนนั้น มีวิชานิ้วชี้เพชรเป็นวิชาหนึ่งที่น่าสนใจ เล่ากันว่าใครสำเร็จวิชานี้ นิ้วชี้ด้านขวาจะแข็งเป็นหิน มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ชี้อะไรก็สามารถกำหนดให้เป็นให้ตายได้ ผู้ที่สำเร็จวิชามรณภาพแล้ว แม้สังขารถูกเผาไฟไหม้ส่วนต่างๆได้หมด แต่นิ้วชี้เพชรจะไม่ถูกไฟไหม้ เพราะเหตุนี้ นิ้วของเจ้าสำนักวัดเขาอ้อจึงถูกเก็บไว้ เท่าที่มีผู้คนเคยเห็น ก็มีนิ้วชี้ของท่านพระอาจารย์ทองเฒ่าซึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านสวน วัดสาขาสำคัญอีกวัดหนึ่งของวัดเขาอ้อ สันนิษฐานสาเหตุที่ไปอยู่ที่นั้น ก็เพราะพระอาจารย์คงนำไป คือ เข้าใจว่านิ้วชี้เพชรของท่านอาจารย์ทองเฒ่านั้น ภายหลังจากเผาไม่ไหม้ พระอาจารย์เอียดหรือไม่ก็พระอาจารย์ปาลเก็บรักษาไว้ เมื่อพระอาจารย์มรณภาพ พระอาจารย์คงในฐานะศิษย์ผู้รับมรดกหลายอย่างของพระอาจารย์เอียด ก็ได้รับนิ้วชี้เพชรนั้นไปเก็บรักษาต่อ นิ้วชี้เพชรของปรมาจารย์ทองเฒ่า เคยตั้งให้คนทั่วไปชมอยู่ที่วัดบ้านสวน แต่เมื่อท่านอาจารย์คงมรณภาพก็ถูกเก็บเงียบระยะหนึ่ง แต่ก็มีผู้ยืนยันว่ายังอยู่ที่วัดบ้านสวน แต่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
    ส่วนนิ้วชี้เพชรของพระอาจารย์ปาลนั้นมีผู้ยืนยันว่าเก็บรักษาไว้ที่วัดเขาอ้อ แต่ในปัจจุบันไม่ทราบว่ายังอยู่หรือเปล่า เพราะข้าวของสำคัญๆ ของวัดหลายอย่างได้สูญหายไปภาพหลังท่านมรณภาพ

    การสร้างวัตถุมงคล
    พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม เป็นศิษย์พระอาจารย์ทองเฒ่า เริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ.2483-2519 ระยะแรกสร้างที่วัดเขาอ้อ แต่หลังปี พ.ศ.2503 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดดอนศาลา ระยะหลังจึงสร้างที่วัดดอนศาลา วัตถุมงคลที่สร้างมีดังต่อไปนี้
    4.1 พระปิดตามหาลาภ มหาอุด สร้างด้วยโลหะผสม ตะกั่ง เงินยวง ผงมหาว่านเคลือบครั่ง
    4.2 พระกลีบบัว เนื้อโลหะผสม ปรอท เงินยวง
    4.3 พระกลีบบัว เนื้อผงผสมว่าน สร้างที่วัดเขาอ้อ พ.ศ.2500 และ สร้างที่วัดดอนศาลา เมื่อปี พ.ศ.2511
    4.4 เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2519 สร้างด้วยเนื้อเงิน และ ทองแดง
    4.5 ตะกรุดเนื้อตะกั่ว มี 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก และ 16 ดอก ฯลฯ
    4.6 ลูกอม สร้างด้วยลูกดีควาย ลูกสวาท ลูกอมปรอท เงินยวง ฯลฯ
    4.7 แหวนพิรอด เนื้อโลหะผสม
     
  10. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) วัดบ้านสวน


    p51.jpg

    วัดบ้านสวนตั่งแต่เริ่มก่อสร้างมา มีพระอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ ศึกษาวิชาสายสำนักวัดเขาอ้อสืบต่อกันมา เคียงคู่มากับวัดดอนศาลา แต่ภายหลังต่างเด่นกันคนละทาง อาจจะเป็นการประนีประนอม ไม่ต้องการชิงดีชิงเด่นกัน ในสายวัดดอนศาลานั้นโดดเด่นในทางไสยเวท มีการอาบว่านแช่ยา ทำพิธีกรรมต่างๆ ส่วนวัดบ้านสวนเด่นในทางการรักษาโรคแทน ทราบว่าคณาจารย์วัดนี้ได้สืบทอดวิชาการรักษาโรคต่อกันมาเรื่อยๆจนกระทั่งมาถึงยุคของ พ่อท่านคง
    พ่อท่านคง หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร นั้น ท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา ตามประวัติของท่านที่ทางวัดบันทึกไว้และพิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในพิธีผูกพัทธสีมา วัดบ้านสวน เมื่อวันที่ 4-5 เมษายน 2530 ได้กล่าวถึงประวัติของพ่อท่านคงไว้ว่า "พระครูพิพัฒน์สิริธร นามเดิมว่า คง นามสกุล มากหนู ได้ถือกำเนิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2445 จ.ศ.1264 ร.ศ.121 ณ บ้านทุ่งสำโรง หมู่ที่ 8 ตำบล นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นบุตรของ นายสง มากหนู และ นางแย้ม มากหนู มีพี่น้องท้องเดียวกัน 4 คน คือ
    1. นายปลอด มากหนู
    2. นายกล่ำ มากหนู
    3. นายกราย มากหนู
    4. นายคง มากหนู หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร ในเวลาต่อมา

    ปฐมวัย
    บิดามารดาได้ถึงแก่กรรมเมื่อเด็กชายคงยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงตกอยู่ในอุปการะของ นายชู และ นางแก้ว เกตุนุ้ย ผู้เป็นญาติ เมื่อม่อายุพอสมควรแล้ว นายชูได้นำไปฝากกับพระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา และเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนืออยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ศึกษาอักษรสมัย ในระยะแรกๆได้ศึกษาเล่าเรียนจากพระครูสิทธิยาภิรัตน์โดยตรง ต่อมาเมื่อทางวัดได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นแล้ว เด็กชายคงก็ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนของวัดจนจบชั้นสูงสุดของการศึกษาสมัยนั้นเมื่อ พ.ศ.2462
    บรรพชาอุปสมบท
    เมื่อเด็กชายคงมีอายุได้ 20 ปี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุนทราวาส ต.ปันแต อ.ควนขนุน เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปี จอ ตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคม 2464 โดยมี พระครูกาชาด(แก้ว)วัดพิกุลทอง ตำบลชะมวง อ.ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร)วัดดอนศาลา เป็น พระศีลาจารย์(ผู้ให้ศีล)
    เมื่อบรรพชาแล้วได้กลับไปอยู่วัดดอนศาลากับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ ผู้เป็นอาจารย์ และ ในปีต่อมาก็ได้รับการอุปสมบท เมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปี กุน ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน 2466 ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระครูกาชาด(แก้ว) วัดพิกุลทอง ต.ชะมวง อ.ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหนู วัดเกาะยาง ต.นาขยาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไชยแก้ว วัดป่าตอ ต.โตนดด้วน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สิริมโต" และคงอยู่ที่วัดดอนศาลาตามเดิม
    เมื่ออุปสมบทแล้ว พระคง สิริมโต ได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิกุลทอง จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีนั้น ท่านตั้งใจจะศึกษาให้จบหลักสูตรนักธรรม แต่เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ดี มักจะเจ็บป่วยอยู่เสมอ ประกอบกับในสมัยนั้นการหาครูสอนพระปริยัติธรรมไม่ง่ายนัก จึงเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของท่าน
    นอกจากท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาวิชาทางด้านไสยศาสตร์อีกด้วย และท่านก็ได้ศึกษาจากพระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด) ผู้เป็นอาจารย์ของท่านนั้นเอง
    ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาแขนงนี้จากอาจารย์ของท่านจนมีความรู้แตกฉาน แต่ท่านก็ไม่พอใจอยู่แค่นั้น ได้พยายามศึกษาเพิ่มเติมจากตำหรับตำราไสยศาสตร์ของท่านอาจารย์ผู้เฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในวิชาไสยศาสตร์สมัยนั้น ท่านได้ศึกษาจนมีความรู้แตกฉานและทรงวิทยาคุณในวิชาแขนงนี้ จนในระยะหลังต่อมาท่านได้เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือจากประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่นๆ มีลูกศิษย์ลุกหาอยู่ทั่วไป และต่างก็เรียกนามท่านว่า อาจารย์คง บ้าง หลวงพ่อคงบ้าง แม้ในสมัยหลังที่ท่านได้สมณศักดิ์เป็น พระครูพิพัฒน์สิริธร แล้ว ประชาชนทั่วไปรวมทั้งลูกศิษย์ของท่านก็ยังเรียกท่านว่าอาจารย์คงหรือหลวงพ่อคงอยู่เช่นเดิม แทบจะไม่ได้ยินเรียกจากปากของผู้ใดว่า ท่านพระครูพิพัฒน์สิริธรเลย
    ในระยะที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในสภาพที่ไม่สงบสุขจากผู้ก่อการร้ายในภาคต่างๆของประเทศ ท่านกันอาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้ร่วมกันจัดสร้างพระเครื่องของวัดบ้านสวนขึ้นจำนวนหนึ่ง ประกอบพิธีทั้งพุทธาภิเษก และปลุกเสก ด้วยตัวท่านเองเมื่อเดือนเมษายน 2511 แล้วนำแจกจ่ายบำรุงขวัญ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงอันตราย อยู่ในแดนที่มีผู้ก่อการร้ายในจังหวัดภาคใต้ และภาคเหนือ โดยท่านอาจารย์ชุม ไชยคีรี เดินทางไปแจกจ่ายด้วยตัวเอง และพระเครื่องจำนวนหนึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจหน่วยต่างๆต่อไป
    หลวงพ่อคง ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไฝ่ศึกษาและมีศัทธาตั้งมั่น เมื่อได้มาอยู่วัดบ้านสวน ด้วยความสำนึกว่าเป็นศิษย์สายเขาอ้อ และได้มาครองวัดบ้านสวน อันเป็นสมบัติส่วนหนึ่งของเขาอ้อ และเคยมีชื่อเสียงในไสยเวทและการรักษาโรค ท่านก็เลยสืบทอดเจตนาของบูรพาจารย์ โดยศึกษาการแพทย์แผนโบราณตามตำราของวัดเขาอ้อ แล้วนำวิชาความรู้สงเคราะห์คนเจ็บไข้ได้ป่วย
    หลวงพ่อคงท่านทำหน้าที่นั้นจนกระทั่งมรณภาพ แต่ก็ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ไว้ให้กับศิษย์เอก คือ พระมหาพรหม หรือ พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนในปัจจุบัน


    การสร้างวัตถุมงคล
    หลวงพ่อคงเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเอียด วัดดอนศาลา ถือเป็นศิษย์สายสำนักเขาอ้อ เริ่มสร้างวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2483-2516 วัตถุมงคลที่สำคัญมีดังนี้
    5.1 พระกลีบบัวเนื้อเงินยวง สร้างเมื่อ พ.ศ.2483
    5.2 พระปิดตานอโม เนื้อโลหะผสม และ เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด
    5.3 รูปเหมือนพระอาจารย์ทองเฒ่า เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด
    5.4 พระยอดขุนพล เนื้อผงผสมว่าน
    5.5 รูปเหมือน 2 หน้า หน้าหนึ่งรูปอาจารย์ทองเฒ่า อีกหน้าหนึ่งรูปหลวงพ่อคง
    5.6 พระขุนแผนออกศึก เนื้อผงผสมว่าน
    5.7 พระสิวลี เนื้อผงผสมว่าน
    5.8 เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อคงรุ่นแรก พ.ศ.2516
    5.9 ตะกรุด ลูกอม ผ้ายันต์
    ฯลฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p41.jpg
      p41.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.7 KB
      เปิดดู:
      562
  11. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    6.พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน

    p61.jpg

    พระอาจารย์นำ ชินวโร เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนเก้า (สิงหาคม) พ.ศ.2434 ที่บ้านดอนนูด ตำบลปันแต (บ้านดอนนูดมีอาณาเขาติดต่อกับ 3 ตำบล คือ ตำบลปันแต ตำบลควนขนุน ตำบลมะกอกเหนือ) เป็นบุตรของนายเกลี้ยง นางเอียด แก้วจันทร์ มารดาได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเล็กอยู่ (หลังจากคลอดบุตรหญิงคนสุดท้อง) บิดาเป็นอาจารย์ที่เก่งกล้าทางไสยศาสตร์ ดังนั้นพระอาจารย์นำ จึงได้มีโอกาสศึกษาวิชาทางไสยศาสตร์เบื้องต้นแต่เยาว์วัย นอกจากนั้น บิดายังได้นำไปฝากให้ศึกษาวิชาเวทมนตร์คาถากับพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากสมัยนั้น จนอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 6 พรรษา จึงลาสิกขา แล้วได้สมรสกับนางสาวพุ่ม มีบุตรชาย หญิง ด้วยกัน 4 คน
    จนกระทั่ง พ.ศ.2506 พระอาจารย์นำ ได้ป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ได้มีลูกศิษย์ของท่านประทับทรางหลวงพ่อที่วัดเขาอ้อ (บ้างก็ว่าท่านฝันเห็นพระอาจารย์ทองเฒ่า) บอกว่าหากจะให้หายป่วยจะต้องบวช ซึ่งท่านก็รับว่าถ้าหายป่วยแล้วจะบวชทันที ปรากฏว่าอาการป่วยของท่านก็หายเป็นปกติ ดังนั้นพระอาจารย์นำจึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และได้อยู่ในเพศบรรพชิตตลอดมาจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2519 รวมอายุได้ 85 ปี ต่อมาในปี 2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2520

    การสร้างวัตถุมงคล
    พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เป็นศิษย์พระอาจารย์ทองเฒ่าแห่งสำนักวัดเขาอ้อ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายตั้งแต่ไม่ได้อยู่ในสมณเพศ เมื่อได้อุปสมบทเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อ พ.ศ.2506 ได้สร้างวัตถุมงคลไว้ดังต่อไปนี้
    6.1 พระปิดตา เนื้อชินตะกั่วผสมเงินยวง สร้างเมื่อ พ.ศ.2510-2518
    6.2 พระกลีบบัว เนื้อผงผสมว่าน สร้างเมื่อ พ.ศ.2512
    6.3 พระพุทธทรงสี่เหลี่ยม เนื้อผลผสมว่าน พ.ศ.2512
    6.4 พระยอดขุนพล เนื้อผงผสมว่าน พ.ศ.2512
    6.5 เหรียญรุ่นแรก สร้างที่วัดชิโนรส กรุงเทพฯ พ.ศ.2513 (รุ่นขี่เสือ)
    6.6 เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างที่วัดดอนศาลา พ.ศ.2519 เนื้อทองคำ เงิน และ ทองแดง
    6.7 รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2519
    6.8 รูปเหมือนบูชา เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2519
    6.9 พระกริ่ง เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2519
    6.10 เหรียญรูปเหมือน เนื้อทองแดง รุ่น ภปร. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ศ.2520
    6.11 ตะกรุด ผ้ายันต์ ปลัดขิก ลูกอม แหวนพิรอด
    ฯลฯ
     
  12. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    9.หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ ต.ชัยบุรี อ.เมือง

    p91.jpg
    พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ (ดิษฐ์ ติสฺสโร) เป็นพระเกจิด้านไสยศาสตร์รูปหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พศ.๒๔๒๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู เป็นบุตรนายแก้ว นางนุ้ย หนูแทน เกิดที่บ้านดอนตาสังข์ ต.ปรางหมู่ อ.เมือง พัทลุง ชีวิตในปฐมวัยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก แต่สืบทราบว่าท่านเป็นศิษย์ของอาจารย์รอด วัดควนกรวด ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่ออายุได้ ๒๐ ปีที่วัดปรางหมู่ใน มีฉายาว่า ดิสฺสโร มีพระครูอินทโมฬีฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้จำพรรษาที่วัดควนกรวดประมาณ ๕ พรรษา จนถึงปี พศ.๒๔๔๖ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากสระว่างลง ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมารับตำแหน่งสมภาร และจำพรรษาที่วัดนี้ตลอดมา ปี พศ.๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ เจ้าคณะตำบลไชยบุรี อ.เมือง พัทลุง จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพที่วัดปากสระ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พศ. ๒๕๐๗ อายุ ๘๖ ปี พรรษา ๖๖
    หลวงพ่อดิษฐ์ เป็นพระที่มีอัธยาศัยดี มีเมตตากรุณา ใจคอเยือกเย็น ถือสันโดษไม่ชอบการสะสมทรัพย์สินสมบัติใดๆ ชอบการอุปการะผู้อื่นโดยเฉพาะบุคคลยากไร้ ท่านจึงเป็นผู้ที่มีลูกศิษย์มากมาย ทั้งที่ประกอบอาชีพส่วนตัวและเล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการในหน้าที่การงานสูงจำนวนไม่น้อย ลักษณะพิเศษของท่านคือมีนัยน์ตาคม บางคนเปรียบว่าตาของท่านเหมือนตางูก็มี หลวงพ่อดิษฐ์ชอบการต่อเรือ ถือว่าเป็นงานช่างที่ต้องอาศัยความสามารถสูงอย่างหนึ่ง เรือที่ท่านสร้างนั้นมีหลายลำสามารถออกทะเลแรมคืนไปต่างถิ่นได้ ส่วนเสนาสนะสงฆ์ท่านได้สร้างไว้หลายหลัง ที่ปรากฏอยู่ปัจจุบันเช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ สระน้ำ และสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดปากสระ ได้ใช้เป็นสถานศึกษาของเยาวชนสืบมาจากโรงเรียนขนาดเล็กนักเรียนไม่ถึง ๑๐๐ คน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนประมาณ๔๐๐ กว่าคน งานด้านพัฒนาที่ปรากฏชัดคือ การชักชวนชาวบ้านตัดตัดถนนจากวัดปากสระเชื่อมกับถนนสายพัทลุง-ควนขนุน ช่วยให้การสัญจรไปมาสะดวกสบายไม่ต้องเดือดร้อน ช่วยให้การทำมาหากินของชาวบ้านสะดวกเพิ่มขึ้น สมัยก่อนหมู่บ้านใกล้เคียงวัดปากสระเป็นแหล่งของบุคคลประพฤติมิชอบ มีการลักทรัพย์สิน วัวควายของชาวบ้านอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อดิษฐ์ได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่านช่วยขจัดปัดเป่าให้ผ่อนคลายลง กล่าวกันว่าท่านได้อาศัยวิทยาคมแก้ปัญหาของชาวบ้านสำเร็จลุล่วงมาด้วยดี คาถาอาคมของหลวงพ่อดิษฐ์ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวันฉลองอายุของท่านเองในปี พศ. ๒๕๐๖ เรียกว่า คัมภีร์พระเวทย์ หรือพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ พระคาถา มีความตอนหนึ่งท่านเขียนไว้ว่า ขอท่านจงใช้พระคาถาที่เห็นว่าดี มีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนตนและผู้อื่น คนชั่วอยู่กับผีคนดีอยู่กับพระ มีธรรมคุ้มครองและนำคาถาที่ท่านปรารถนาไปใช้ในทางที่จะเกิดผลแก่ตนและผู้อื่น พระคาถานี้จะได้ผลสมประสงค์และศักดิ์สิทธ์จริง
    หลวงพ่อดิษฐ์ ได้สร้างวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสังกัจจายน์พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก องค์พิมพ์ใหญ่มีพุทธลักษณะแบบขัดสมาธิเพชร ท้องพลุ้ย ปลายนิ้วชนกัน ส่วนพระสังกัจจายน์พิมพ์เล็กมีอักขระที่อกเป็นตัว นะ เส้นนูน หัวกลับ ด้านหลังมีอักขระเป็นตัว เฑาะว์สมาธิ และนอกจากนั้นยังมีพระปิดตา พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก,พระกลีบบัวเนื้อโลหะ.แหวนพิรอด,ลูกอม,ปลอกแขน,ผ้ายันต์และเสื้อยันต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิษฐ์ล้วนแต่เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ว่าเป็นยอดทางด้านมหาอุดอยู่ยงคงกระพัน และมีเมตตามหานิยมแก่ผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น เคยปรากฏเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับความขลังของวัตถุมงคลของท่านหลายครั้ง และที่สำคัญที่สุดคือวันที่ ๑๐ กันยายน พศ.๒๕๒๐พระภิกษุช่วง เขมธมฺโม ผู้เป็นศิษย์ได้นำวัตถุมงคลจำนวนหนึ่งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสทรงเสด็จพระราชดำเนินยกช่อฟ้าอุโบสถ วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง พัทลุง
    หลวงพ่อดิษฐ์ นับได้ว่าท่านเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจิตใจชาวบ้าน โดยเฉพาะชุมชนใกล้วัดปากสระ ให้ฝักใฝ่ด้านประพฤติปฏิบัติธรรม และขยายไปในท้องที่หลายตำบล นับเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพรหมวิหาร ๔ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างแท้จริง ปรากฏหลักฐานพยานคือ รูปปั้นเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่ในศาลาด้านทิศเหนือพระอุโบสถ ทุกๆวันสำคัญจะมีชาวบ้านมาแก้บนที่รูปปั้นของท่าน ขอให้พ้นจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ขอความปลอดภัยและโชคลาภต่างๆ ปัจจุบันนี้มิใช่มีแต่เพียงเฉพาะในท้องถิ่นบ้านปากสระเท่านั้น แต่มีชาวบ้านต่างถิ่นที่รู้เรื่องและศรัทธาต่างได้มาเคารพบูชาที่วัดนี้เป็นประจำเช่นกัน

    การสร้างวัตถุมงคล
    หลวงพ่อดิษฐ์ ตัสสโร เป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังของจังหวัดพัทลุง ท่านได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ พ.ศ.2483 จนถึง พ.ศ.2507 วัตถุมงคลที่สร้างมีจำนวนมากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    9.1 พระปิดตา เนื้อโลหะผสม แบบต่างๆ เช่น พระปิดตามหาลาภ พระปิดตามหาอุด พระปิดตามือไขว้ พระปิดตากุมารในครรภ์
    9.2 พระสังกัจจายน์ เนื้อโลหะผสม
    9.3 พระกลีบบัว เนื้อโลหะผสม
    9.4 พระฤาษี เนื้อโลหะผสม
    9.5 เหรียญรูปเหมือนพระครูเนกขัมมาภิมนฑ์รุ่นแรก เนื้อทองแดง พ.ศ.2500
    9.6 แหวนพิรอด เนื้อโลหะผสม เงินยวง
    9.7 ผ้ายันต์ ลูกอม ลูกประคำ ลูกสะกด
    ฯลฯ
     
  13. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก

    p121.jpg

    พ่อท่านหมุน ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.2439 ณ บ้านม่วง อ.เมือง จ.พัทลุง บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดควนกรวด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระอธิการรอด วัดควนกรวด เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้งอายุครบอุปสมบท จึงเข้ารับการอุปสมบท ที่วัดปรางหมู่ อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมี พระอธิการรอด วัดควนกรวด อ.เมือง จ.พัทลุง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า "ยสโร" อุปสมบทแล้วที่จำพรรษาที่ วัดเขาแดงตะวันออก อ.เมือง จ.พัทลุง มาโดยตลอด
    พ่อท่านหมุน เป็นพระสงฆ์ที่ฝักใฝ่ในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้เลือกจำพรรษาที่วัดเขาแดงตะวันออก เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่ห่างจากชุมชน มีธรรมชาติอันร่มรื่นและสงบเหมาะต่อการบำเพ็ญภาวนา นอกจากนี้ท่านยังมีความสนใจในเรื่องของวิทยาคมและไสยศาสตร์ จึงได้ไปเรียนวิชากับ พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ และมีกิตติคุณเลื่องลือตั้งแต่ภาคใต้ไปตลอดแหลมมลายู จนได้รับขนานนามว่า "ปรมาอาจารย์แห่งไสยศาสตร์ของภาคใต้" ซึ่งการไปเรียนวิชากับอาจารย์ทองเฒ่าทำให้พ่อท่านหมุนมีความสนิทสนมกับพระอาจารย์นำ ซึ่งเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่พระอาจารย์นำมีอาวุโสกว่าพ่อท่านหมุนเล็กน้อย แต่มาเมื่อพระอาจารย์นำสึกออกไปเป็นฆราวาส พ่อท่านหมุนก็ยังคงอยู่ในเพศบรรพชิตมาโดยตลอดจนกระทั่งมรณะภาพ
    พ่อท่านหมุน มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์มาตั้งแต่ยังหนุ่มๆ เป็นพระเกจิอาจารย์หนึ่งเดียวของภาคใต้ก็ว่าได้ที่ได้รับนิมนต์ร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลมากที่สุด ท่านร่วมพิธีปลุกเสกมาตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยร่วมพิธีปลุกเสกพระปิดตามหายันต์และพระกลีบบัวมหาว่าน ที่วัดเขาอ้อ เมื่อ พ.ศ.2483 ไปร่วมพิธีปลุกเสกพระปิดตาโสฬสมงคลรุ่นแรก พ.ศ.2482 และพระซุ้มกอ พ.ศ.2485 ของวัดแหลมทราย จ.สงขลา ช่วงระหว่าง พ.ศ.2505-06 ที่วัดต่างๆ ทางภาคใต้พากันสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดกัน พ่อท่านหมุนก็ไปร่วมพิธีเสกด้วยทั้งนั้น แม้แต่พิธีปลุกเสกวัตถุมงคลของวัดต่างๆ ก็ล้วนแต่อาราธนาพ่อท่านหมุนไปปลุกเสกด้วยเสมอ จังหวัดต่างๆ ทางภาคใต้ทั้งพัทลุง สงขลา สตูล ตรัง และปัตตานี ท่านไปร่วมปลุกเสกมาหมด
    พ่อท่านหมุน ท่านมีตละมหาอำนาจเหมือนพระอาจารย์ทองเฒ่า เคยตวาดคนจนตลึงงุนงงขวัญเสีย ต้องทำน้ำมนต์รดเรียกขวัญจึงหายเป็นปกติมาแล้ว ครั้งหนึ่ง วัดเขาแดงตะวันออกจัดงานประจำปี มีมหรสพมาเล่นและคนมาเที่ยวในงานมากมาย ได้มีชายหนุ่มกลุ่มหนึ่ง 5-6 คน มาเที่ยวงานแล้วดื่มสุราเมามายเที่ยวเอ็ดตะโรส่งเสียงดังในวัด แม้ว่าชายหนุ่มกลุ่มนั้นจะไม่หาเรื่องทะเลาะหรือทำรายร่างกายผู้อื่น แต่ก็ได้สร้างความรำคาญ พ่อท่านหมุน ท่านนั่งอยู่บนกุฏิมีลูกศิษย์และชาวบ้านนั่งอยู่ด้วยหลายคน ท่านบอกว่า "เดี๋ยวให้พวกมันมาทางนี้ก่อน" สักครู่เมื่อคนกลุ่มนั้นเดินส่งเสียงเอะอะผ่านมาทางหน้ากุฏิ พ่อท่านหมุนก็เยี่ยมหน้าออกไปแล้วพูดขึ้นว่า "พวกมึงมาเที่ยวแล้วเมาทำให้คนอื่นเขารำคาญอยู่กันตรงแหละพอหายเมาแล้วค่อยไป" แม้ว่าระยะจากกุฏิไปยังที่คนเมากลุ่มนั้นยืนอยู่จะมีระยะห่างกันมากพอสมควร แต่เสียงพ่อท่านหมุนก็ดังกึกก้องมีมหาอำนาจได้ยินไปทั่ว คนเมากลุ่มนั้นได้ยินต่างพากันตกตลึง ต่างพากันล้มลงกลิ้งเกลือกบนพื้นดินอยู่ตรงนั้น แม้จะพยายามตะเกียกตะกายลุกขึ้นแล้วเดินออกจากที่นั่น แต่ก็เดินออกไปไม่ได้ ภายในรัศมีที่พ่อท่านหมุนกำหนด เลยเดินวนเวียนอยู่ในที่นั้นเหมือนเสือติดจั่น ทั้งเมาและทั้งเหนื่อยเลยพากันนอนหลักอยู่ที่นั้นด้วยกันหมดทุกคน ครั้งพอใกล้จะรุ่งหนังตะลุงเลิกและคนมาเที่ยวงานพากันกลับบ้านหมดแล้ว แต่ขี้เมากลุ่มนี้ก็ยังคงนอนหลับไม่ได้สติอยู่ที่เดิม พอสว่างแดดเริ่มส่องและร้อนขึ้นเรื่อยๆ คนกลุ่มนี้ก็เริ่มฟื้นแต่ก็ยังงัวเงียและยังออกจากที่ตรงนั้นไม่ได้อีก จนพ่อท่านหมุนท่านร้องตะโกนมาจากบนกุฏิว่า "ถ้าหายเมาแล้วก็กลับๆ ไปเสีย ทีหลังก็อย่าทำความรำคาญในวัดอีก" นั่นแหละคนกลุ่มนั้นจึงพากันเดินออกจากบริเวณนั้นได้ แล้วก็พากันเข็ดขี้แตกขี้แตนกับพ่อท่านหมุนไปอีกนาน ถึงขนาดว่าไม่กล้าเข้ามาภายในวัดอีกเลย
    พ่อท่านหมุน มีคุณวิเศษอย่างหนึ่งคล้ายๆ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต คือ จะมีคนเอาแผ่นทองมาปิดตามร่างกายท่านทั้งๆ ที่ยังมีชิวิตอยู่ เนื่องจากชาวบ้านบนบานขอให้ท่านช่วย พอสำเร็จสมปรารถนาจึงพากันมาปิดทองเป็นการแก้บน ตอนพ่อท่านหมุนทานมีชีวิตอยู่ หากใครไปกราบนมัสการก็จะเห็นว่าบางครั้งตามร่างกายของท่านมีแผ่นทองปิดอยู่เหลืองอร่ามเต็มไปหมด
    พ่อท่านหมุนสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแรกๆ ท่านสร้างเครื่องรางจำพวก ตะกรุด ผ้ายันต์ แหวนพิรอด ฯลฯ หลังจากนั้นก็มาสร้างพระปิดตา พระลีลา เป็นต้น ส่วนเหรียญและรูปเหมือนมาสร้างเอาเมื่อขึ้น พ.ศ.2500 มาแล้ว

    การสร้างวัตถุมงคล
    หลวงพ่อหมุน เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพัทลุง ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484-2525 วัตถุมงคลจึงมีมากมาย ดังนี้
    12.1 พระลีลาเกราะเพชร เนื้อโลหะผสมเงินยวง
    12.2 พระปิดตาม เนื้อโลหะผสม
    12.3 เหรียญปาฏิหารย์ (เหรียญพระเจ้าห้าองค์ พ.ศ.2513 และ 2525)
    12.4 เหรียญรูปเหมือน เนื้อทองแดง พ.ศ.2516
    12.5 รูปเหมือนลอยองค์ ปั๊มเนื้อทองเหลือง พ.ศ.2516
    12.6 รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อว่าน พ.ศ.2516
    12.7 รูปเหมือนนูนองค์ เนื้อว่าน พ.ศ.2516
    12.8 พระประจำวันทั้ง 7 วัน เนื้อว่าน สร้าง พฤศจิกายน 2484
    12.9 พระสังกัจจายน์ เนื้อว่าน พ.ศ.2516
    12.10 พระรูปเหมือนขนาดบูชา เนื้อโลหะ เนื้อปูนผสมว่าน
    12.11 แหวนพิรอด เนื้อโลหะ
    12.12 รูปเสือแกะจากเขี้ยวเสือ
    12.13 ผ้ายันต์ ตะกรุด ลูกอมสวาท
     
  14. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    หลวงพ่อเล็ก ปุญญโก วัดประดู่เรียง

    lek01.jpg

    หลวงพ่อเล็ก ปุญญโก เดิมชื่อ ทองแก้ว มธุรส เป็นบุตรของ นางด้วน นายร่ม มธวสู เกิดที่ บ้านควนถบ ลำปำ จ.พัทลุง เมื่อ ปีพศ.2422
    เมื่อ อายุ ได้ 7 ขวบ โยมพ่อได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับหลวงลุง คือ พ่อท่านสมภารเกลื่อม แห่งวัดทะเลน้อย ซึ่งเป็น สหธรรมมิก กับพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ
    ต่อมา เมื่ออายุได้ 14 ปี ก็ได้บวชเณร โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ เป็นพระอุปัฌชาย์ เมื่อบวชแล้ว ท่านก็ได้ ถือวิเวกหลีกเร้น ไปถือปฏิบัติธรรม ณ วัดประดู่เรียง ซึ่งเป็นวัดร้างมานานนม ตั้งแต่อายุท่านได้ 30 ปี จนกระทั่งท่านและชาวบ้าน ได้ช่วยกันทำนุบำรุง ซ่อมแซม ก่อสร้าง จนเป็นวัดได้สำเร็จ ในกาลต่อมา ​

    หลวงพ่อเล็ก ได้จำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสปกครอง วัดประดู่เรียง มาตั้งแต่ราวปี พศ.2455 จนมาถึงแก่กาลมรณภาพ เมื่อปี พศ.2530 ศิริอายุได้ 108 ปี
    หลวงพ่อเล็ก เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของจังหวัดพัทลุง วัตถุมงคลที่สำคัญ ได้แก่
    1.เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.2523 จำนวน 9999 เหรียญ​

    12616-2.jpg 12616-3.jpg

    2.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเล็ก หล่อโลหะผสม ขนาดบูชา 5 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 จำนวน 109 องค์​

    lek201.jpg lek202.jpg

    3.พระรูปเหมือนหล่อขนาดเล็ก เนื้อโลหะผสม สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 จำนวน 2999 องค์​

    lek401.jpg lek402.jpg

    4.พระปิดตา หล่อด้วยโลหะผสม สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 จำนวน 2999 องค์​

    lek301.jpg lek302.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2009
  15. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    วัตถุมงคลสายเขาอ้อ

    เริ่มกันด้วย
    เหรียญที่ระลึกวันมรณะภาพครบ 50 ปี อาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง ออกปี 20 อาจารย์สายเขาอ้อปลุกเสก


    12616-4.jpg

    12616-5.jpg



    เหรียญนี้เริ่มมีของปลอม ให้เห้นแล้ว ข้อสังเกตุที่ดี และเป็นจุดตาย คือ โค๊ด ด้านหน้าของเหรียญ​
     
  16. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    เหรียญอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา

    eid01.jpg

    eid02.jpg



    รูปจากเว็บพระเครื่องเมืองลุง

    ผมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้นะคับ​
     
  17. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    เหรียญอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ


    pan01.jpg

    pan02.jpg

    เหรียญรูปเหมือน อาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ รุ่นแรกสร้าง ปี19 มี เนื้อเงิน 100 เหรียญ เนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ จึงค่อนข้างหาพบยากเพราะสร้างน้อย และราคาแพงที่สุดในบรรดาเหรียญของเกจิฯสายเขาอ้อ สำหรับเหรียญเสริมให้ดูที่จมูก อ.ปาน จะมีเส้นแตกที่ปลายจมูกลงมาที่ปากครับ

    เหรียญรุ่นนี้ปัจจุบันหายากและมีราคาแพง เนื่องจากได้รับการปลุกเสกจาก ท่านอาจารย์ปาน โดยตรง เหรียญอาจารย์ปาน รุ่นแรก ปี 19 นี้ที่พบเห็นมี 2 แบบครับ แบบแรกจมูกไม่แตก (ไม่มีขี้หมูก) พิมพ์นิยมมีราคาแพง ส่วนแบบที่สองที่ใต้จมูกจะมีรอยบล๊อกแตก เรียกกันว่าพิมพ์หมูกแตก ซึ่งว่ากันว่าเป็นเหรียญที่สร้างเสริมขึ้นมาทีหลัง ไม่ทันท่านอาจารย์ปานปลุกเสก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เหรียญรุ่นนี้เมื่อปั๊มไปได้ระยะหนึ่ง ทำให้แม่พิมพ์ด้านหน้าเกิดรอยแตกบริเวณจมูกของท่าน ทางผู้สร้างจึงหยุดปั๊ม และได้เก็บบล๊อกแม่พิมพ์ไว้ และนำเหรียญที่ปั๊มได้ทั้งหมดให้ท่านอาจารย์ปานปลุกเสก นักสะสมจึงได้ยึดถือเอาพิมพ์นี้เป็นพิมพ์นิยม และต่อมาหลังจากท่านอาจารย์ปานมรณะภาพแล้ว ได้มีการนำแม่พิมพ์ตัวเดิมมาปั๊มเหรียญเพิ่มอีกครับ


    รูปจากเว็บพระเครื่องเมืองลุง

    ผมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้นะคับ
     
  18. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    เหรียญอาจารย์คง วัดบ้านสวน ปี 2516

    kong01.jpg

    kong02.jpg



    รูปจากเว็บพระเครื่องเมืองลุง

    ผมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้นะคับ
     
  19. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    เหรียญอาจารย์นำ วัดดอนศาลา ปี 2519



    รูปจากเว็บพระเครื่องเมืองลุง
    ผมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้นะคับ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • num1901.jpg
      num1901.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88.4 KB
      เปิดดู:
      977
    • num1902.jpg
      num1902.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.9 KB
      เปิดดู:
      593
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2009
  20. แสงธรรมนำทาง

    แสงธรรมนำทาง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +4
    เหรียญอาจารย์นำ วัดดอนศาลา ปี 2520(แจกวันพระราชทานเพลิง)

    numphorporor01.jpg

    numphorporor02.jpg
    รูปจากเว็บพระเครื่องเมืองลุง
    ผมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้นะคับ​
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...