สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 18 กรกฎาคม 2007.

  1. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ร่วม [​IMG] อนุโมทนาบุญด้วยครับ.^./|\.^. [​IMG]

    [​IMG]

    "สัจจบารมี"เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วเสด็จออกบวชจนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

    คำว่า "สัจจะ" หมายถึง "จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์ จริงวาจา คือ พูดจริง" และ "จริงการ คือ ทำจริง"
    ส่วนคำว่า "บารมี" หรือ "ปารมี" มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ "อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด" และ "คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง"

    "สัจจบารมี"
    จึงหมายความว่า "บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง" นอกจาก "สัจจบารมี" แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กันเสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ "อธิษฐานบารมี"

    คำว่า "อธิษฐาน" หมายถึง "ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน" คำนี้มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า "สัตย์" ซึ่งเรียกรวมกันว่า "สัตยาธิษฐาน หรือ ตั้งสัตย์อธิษฐาน"

    ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุผลตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนาไว้นั้น จะบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อในคำอธิษฐานนั้น ได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นความจริง และหรือ คุณธรรมที่ตนเชื่อมั่น และได้ถือปฏิบัติอย่างจริงจัง

    พระสูตร หรือ พระปริตร เป็นบทสวดมนต์ที่พระภิกษุสงฆ์นำมาสวด หรือ เจริญพระพุทธมนต์ในพิธี
    มงคลต่างๆ เป็นการตั้งสัตยาธิษฐาน หรือ การกล่าวสัจจวาจาของผู้สวดเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพ และผู้ที่มาร่วมพิธี
    เช่น บทสวดที่ว่า นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเจ้า
    เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยคำกล่าวสัตย์นี้ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
    เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์จะปรากฏผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้สวดได้ถือปฏิบัติ
    ิตามข้อความ หรือ สัจจวาจาที่ได้แสดงไว้ในบทสวดนั้นได้จริงๆ กล่าวคือ ผู้สวดจะต้องมีความเคารพ
    เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปเฉยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น

    การกล่าวสัจจวาจานั้น ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงคุณพระรัตนตรัยเสมอไป ผู้กล่าวจะอ้างอิงความจริงใน
    เรื่องอื่นๆ ของตนก็ได้ เช่นอ้างเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาของตน คือ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา
    เป็นต้น เมื่อได้กล่าวอ้างอิงถึงความจริงแล้ว ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาสิ่งที่พึงเป็นไปได้ไว้ในใจ เช่น
    อธิษฐานขอความคุ้มครองให้ตนพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย มีบทสวดมนต์บทหนึ่งในบทสวด ๗ และ ๑๒ ตำนาน คือ
    วัฏฏปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า อัตถิ โลเก สีเลคุโณ บทสวดนี้ เป็นที่รู้จัก และนับถือกันมาตั้งแต่โบราณจนถึง
    ปัจจุบันว่า " คาถา (นกคุ่ม) ดับไฟ"

    บทสวดมนต์ หรือ คาถาดังกล่าวนี้มีตำนานว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปจำพรรษาที่ตำบลหนึ่งในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง ได้เสด็จออกบิณฑบาต ระหว่างทาง ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้และไฟได้ลามมาใกล้ที่ประทับของพระพุทธองค์ แต่ก็ได้ดับลงไปเองอย่างน่าอัศจรรย์ บรรดาพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ขอให้พระสาริบุตรทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าวัฏฏชาดกซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดมาแล้วในอดีตเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้เสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ่ม (บางทีเรียกว่า นกคุ่มไฟ) ว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟป่าไหม้มาโดยรอบรังนกที่อาศัยอยู่ในป่า และรังหนึ่งเป็นรังของนกคุ่มผัวเมีย มีลูกเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วย เมื่อไฟป่าได้ลุกลามมาใกล้จะถึง บรรดานกทั้งหลายก็พากันบินหนี รวมทั้งนกคุ่มที่เป็นพ่อแม่ด้วย ปล่อยให้ลูกนกคุ่มที่ยังเดินไม่ได้ บินไม่ได้รอความ
    ตายอยู่ในรัง ลูกนกคุ่มนั้นจึงได้ตั้งสัจจกิริยา คือ การกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างอิงถึงคุณของศีล รวมทั้งคุณธรรมอื่นที่มีอยู่ ที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ คุณของพระพุทธเจ้า รวมทั้งความจริงที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็ ็ยังเดินหนีไปไม่ได้ แล้วจึงอธิษฐานอยู่ในใจว่า ขอให้อำนาจแห่งความจริงต่างๆ ที่ตนได้กล่าวไว้จงดลบันดาลให้เกิดผลคือ ขอให้ไฟป่าที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้รอบตัวได้ดับลง

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงแปล มีข้อความตอนหนึ่งในบทสวดนี้ไว้ว่า"คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ความสะอาดและความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจะทำสัจจะกิริยาอันเยี่ยม ข้าพเจ้ารำลึกถึงกำลังแห่งธรรม รำลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา ปีกทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่ก็ยังบินไปไม่ได้ เท้าทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้ มารดาและ บิดาของข้าพเจ้าก็ออกไปแล้ว ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงถอยไป ครั้นเมื่อสัจจะอันข้าพเจ้าทำแล้ว เปลวไฟอันลุกโพลงมากก็สงบ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...