สมาธิ คืออะไร นั่งอย่างไร เบื้องต้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 27 มกราคม 2024.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +52
    สมาธิ คืออะไร
    การสำรวมภาวะของจิตใจ ให้แน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อทำให้จิตใจมีความนิ่งเงียบสงบ และนำไปสู่การเกิดสติปัญญา มักจะเรียกควบคู่ว่า สติสัมปชัญญะ (สติคือ ความรำลึกได้ สัมปรัญญะคือความรู้ตัว) สมาธิต้องอาศัยจิตเข้ามารู้ตัว

    สมาธิ แปลตามบาลีแปลว่าอะไร
    สมาธินั้น ตามบาลีนั้นแปลว่า ความตั้งใจมั่น การทำสมาธิในทางพุทธศาสนา เรียกว่าสมถะ

    สมาธิแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

    1. ขฌิกสมาธิ
    คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ

    ขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดิน

    ขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)

    สมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิต ที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอนตามปกติ ก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย



    2. อุปจารสมาธิ
    สมาธิเฉียด ๆ หรือจวนจะแน่วแน่ อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่า

    อุปจารสมาธิ เหมือนเด็กที่เดินได้คล่องและเร่ิมจะวิ่ง

    เป็นสมาธิที่เริ่มเป็นหนึ่ง ข้อสังเกตง่ายๆ ของผู้ปฏิบัติสมาธิ คืออารมณ์กรรมฐานเริ่มเป็นหนึ่ง เสียงหรืออารมณ์ภายนอกไม่สมารถเข้ามารบกวน ให้อารมณ์กรรมฐานถอยออกมาง่าย



    3. อัปปนาสมาธิ
    สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท เป็นการเจริญสมาธิในขั้นฌาน ถือเป็น ความสำเร็จสูงสุดของการเจริญสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป

    อัปปะนาสมาธิของปฐมฌาน เปรียบดังเด็กที่วิ่งได้อย่างคล่องแคล่ว

    หมายถึงหมดความรู้สึกไปชั่วขณะหรือเป็นขณะๆ หรือเป็นวัน ตามกำลังสมาธิและความชำนาญ


    การฝึกสมาธิเบื้องต้นทำอย่างไร

    การฝึกสามาธิที่นิยมคือ อานาปานสติ คือ กำหนดจิตให้ตั้งมั่นใน ลมหายใจ กำหนดรู้เข้า หายใจออก กำหนดให้รู้ลมหายใจออก เมื่อลมผ่านที่ปลายจมูกเข้ามาให้กำหนดรู้ ค่อยปล่อยผ่านลงท้อง ไม่ต้องไปบังคับมันว่าลมต้องผ่าน ได้เท่าไหนก็ปล่อยลงไปถึงตรงนั้น ถ้าให้ดีค่อย ๆปล่อยถึงท้อง โดยผ่านลงมาจากหน้าอกสู่ท้อง หรือบางครั้งหลายท่านมักเรียกว่า กำหนดลมมาที่สะดือ แล้วปล่อยลมออก มาที่ปลายจมูก รับรู้อย่างนี้เรื่อยไป ไม่ต้องเร่งรีบ ได้เท่าไหนทำเท่านั้น เดี๋ยวจิตจะพัฒนาความรู้สึกไปเรื่อย ไม่ต้องไปบังคับ ปล่อยตามสบายให้ เน้นว่า รู้เท่านั้น ว่าลมเข้ามาแล้ว และลมออกมาแล้วที่ปลายจมูก

    นั่งสมาธิกำหนดกายนั่งอย่างไร

    ตั้งกายให้ตรง สติให้ตั้งมั่น แล้วกำหนดรู้ลม เน้นยำ เอาแค่กำหนดรู้ลม ไม่ต้องไปบังคับ เพราะจิตมนุษย์มันจะชอบท่องเที่ยว พอหลับตาก็จะเหมือนลิงกระโดดไปตามต้นไม้ต่าง ๆ จึงแนะนำว่าให้กำหนดรู้ ถ้าจิตส่งออกไปข้างนอกคิดถึง คนโน้น คนนี้ ก็ปล่อยมัน แล้วพอรู้ตัว ก็มานั่งดูลมหายใจใหม่ ทำอย่างนี้เรื่อยไป สักระยะ จิตจะเร่ิมอยู่กับที่ที่ลมหายใจ จึงเร่ิมเข้าสู่ สมาธิที่เกิดตามระดับต่าง ๆ

    เครดิต จากบทความ https://dharayath.com/
     

แชร์หน้านี้

Loading...