สมถะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 25 มิถุนายน 2015.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ฌานก็ดี สมถะก็ดี องค์ธรรมได้แก่ สมาธิ นั่นเอง

    ฌานลงแล้ว สังเกต ทั้งฌาน ทั้งสมถะ เชื่อมกับสมาธิตรงไหนยังไง

    [​IMG]
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สมถะ

    สมถะ แปลว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่ว ไป หมายถึงวิธีทำใจให้สงบ ขยายความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ (= กัมมัฏฐาน 40 อย่าง มีกสิณ 10 เป็นต้น) จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่งหมายของสมถะคือสมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน

    หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า อารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียก กันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความแน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิตนี้ เรียกว่า "สมาธิ"

    เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียก ว่า “ฌาน

    ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุดหรือติดข้องอย่าง ใดๆ เรียกว่า ปราศจากนิวรณ์ ท่านอนุโลมเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นจาก กิเลสตลอดเวลาที่ยังอยู่ในฌานนั้น (ท่านเรียกว่า เป็นวิกขัมภนนิโรธ หรือวิกขัมภนวิมุตติ)

    ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่า คือตัวสมาธินี้แหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรม และฝ่ายพระสูตร * เพราะ ไม่ว่าจะเจริญสมถะ จนได้ฌานสมาบัติ หรืออภิญญา เป็นผลสำเร็จสูงพิเศษเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถะ หรือตัวสมถะ หรือแก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้างอิงที่ * ข้างบน

    * ทางฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ.34/253/96; 223/90; 206/85 เป็นต้น ทาง ฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก. 20/275/77 อธิบายใน องฺ.อ.2/33 และใน องฺ.ฉกฺก. 22/325/418 เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ท่านใช้คำ ว่า สมถะ แทนสมาธิ และวิปัสสนา แทนปัญญา โดยตรงทีเดียว (เป็น สัทธา สติ วิริยะ สมถะ วิปัสสนา แทนที่จะเป็น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างในความร้อยแก้วตามปกติ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...