ศาสนาพุทธ กับคนทั้งโลก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปังโยะ, 27 มิถุนายน 2011.

  1. ปังโยะ

    ปังโยะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    คือผมอยากทราบอะครับว่า คนต่างชาติเค้ามีการเวี่ยนวายตายเกิดรวมถึง ระบบ บาป-บุญ เหมือนคนไทยรึเปล่าครับ ทั้งที่คนต่างชาติเค้าไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ แล้วเค้าจะไปรู้ได้อย่างไร ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้หลุดพ้น ซึ่งตามปกติแล้วเค้าก็ต้องเชื่อใน ศาสนาที่เค้านับถือ ซึ่งมีมากมายหลายศาสนา รวมไปถึงบางประเทศ คนในประเทศเค้านิยมนับถือวิทยาศาตร์(คือเชื่อว่า เกิดมาเพื่อดำรงเผ่าพันธ์ ไม่ได้เกิดมาเพื่อใช้กรรม ตายไปก็คือจบไม่มีการเวี่ยนวายตอยเกิด) ซึ่งบนโลกนี้ คนนับถือศาสนาพุทธ ถือว่าเป็น ส่วนน้อยก็ว่าได้

    สัดส่วน
    ศาสนาคริสต์ 33%
    ศาสนาอิสลาม 21%
    ไม่นับถือศาสนา/เชื่อในวิทยาศาสตร์แบบตายแล้วสูญ 16%
    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 14%
    ศาสนาพุทธ 6%
     
  2. ปังโยะ

    ปังโยะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    อย่าเพ่งหลุดประเด็นนะครับ คือที่ผมสงสัย คือจะมีแค่พุทธศานิกชนแค่ 6% ของคนบนโลกหรอครับที่รู้ทางหลุดพ้น แล้ว อีก ประมาณ 94% ละครับ
     
  3. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ธรรมชาติก็คือธรรมชาติครับ ฟิสิกส์พิสูจน์กฎหลายๆอย่างได้ก็เพียง 5% ของความเป็นไปทั้งหมด แล้วที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ล่ะ เราจะไม่อยู่ในความเป็นไปนั้นเลยหรือ... แล้วบางทฤษฎีที่ยังคลุมเครือ และทฤษฎีที่รอการล้มล้างอีกล่ะ... สมัยก่อนเคยเชื่อว่าสิ่งใดแตกดับไปก็จบแล้ว แต่สมัยนี้พิสูจน์ได้แล้วว่าไม่หายไปไหนเพียงแต่เปลี่ยนสภาพไป พิสูจน์ได้ว่าสสารคือพลังงาน พลังงานคือสสาร(อนุภาค) แล้วจะมันคืออะไรล่ะครับ... ในทฤษฎีซูปเปอร์สตริง มีมิติเป็นสิบๆมิติ เราเข้าใจในมิติกันเชียว?... สรุปแล้ววิทยาศาสตร์ไขความจริงได้เพียงภววิสัยเพียงตื้นๆ เท่านั้นเมื่อเทียบกับความจริงทั้งหมด

    แล้วความเป็นไปในอัตตวิสัยล่ะ วิทยาศาสตร์เคยอธิบายอะไรได้บ้าง? ก็ต้องสามารถจิตวิทยาเข้ามามีบทบาท... ในความเป็นจิตวิทยาจริงๆ มันเป็นการทำงานของจิตใจเป็นตัวขับเคลื่อน สมองเป็นเหมือนพวงมาลัยรถ เขาว่ากันอย่างนั้น จิตวิทยาจริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องกายภาพอย่างเดียว... บุคคลสำคัญๆในวงการจิตวิทยาเช่น คาล จูง ก็เชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด เพราะอะไรล่ะ? การบำบัดอย่างหนึ่งของการสะกดจิต มันมีการสะกดจิตระลึกชาติ นอกเหนือจากความเชื่อศาสนา และรักษาได้อย่างดีเยี่ยมที่สุด เราจะอธิบายอย่างไรกับความทรงจำที่ปรากฎขึ้น?
     
  4. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แล้วว่า กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ - การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
    การเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากแล้ว การได้พบพุทธศาสนาเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า

    แล้วไม่ใช่ว่าผู้นับถือทั้งหมดจะรู้ทางหลุดพ้นนะครับ จริงๆมีน้อยมากเมื่อเทียบกับประชากรโลก
    ส่วนที่อื่นยังไม่พูดถึง เอาเพียงดาวเคราะห์ดวงนี้ก่อน ที่เห็นๆกัน
     
  5. ปังโยะ

    ปังโยะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมไม่เถียงครับ แล้วสรุปมนุษย์ที่มีฐานะเท่าเทียมกับเราอีก 94% บนโลกเค้าจะรู้หนทางหลุดพ้นได้อย่างไร
     
  6. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    เขามีความเป็นมนุษย์เท่ากันเราครับ อันนี้ถูกต้อง เขาควรมีสิทธิ์ที่จะได้รับสิทธิที่ความได้
    แต่เรื่องความรู้มรรคนั้น มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เขาทำไว้ครับ
    ถ้าอย่างนั้นก็ให้ทุกคนบนโลกจบ Ph.D กันให้หมดเลยนะครับ จะได้เท่าเทียม
     
  7. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    ตรงนี้น่าห่วงสุด ไม่นับถือศาสนา/เชื่อในวิทยาศาสตร์แบบตายแล้วสูญ 16%

    ทุกศาสนาก็มีสูดสูงสุด ตามลักษณะวิถีปฏิบัติเพื่อการเข้าถึง โดยส่วนรวม มุ่งสันติเหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องควรนำมาเปรียบเทียบแต่ควรเรียนรู้ให้รู้จัก คงจะเห็นว่าผลการเข้าถึงบางขั้นตอน เหมือนกัน
     
  8. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    บางทีคนนับถือวิทย์ฯ ตายแล้วสูญ หรือนับถือวิทย์ฯ ตายแล้วไม่สูญ อะไรก็แล้วแต่
    ถ้าเขาไม่ทำตัวให้เดือดร้อนสังคม มันก็น่าพอใจในระดับนึงนะครับ
    ส่วนเขาจะมีความเห็นผิด หรืออะไรก็เป็นไปตามทำ พูด คิด ของเขาแล้วกันครับ
     
  9. ปังโยะ

    ปังโยะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุนมากครับที่ช่วยให้คำแนะนำ สรุปคือต้องมีบุญอยู่พอสมควรถึงจะได้เกิดมาเจอกับพระพุทธศาสนา ดังนั้นแล้วคนไทยทุกคนก็ถือว่ามีบุญ มากกว่าคนอังกฤษ คนบราซิล อย่างงี้หรอครับ ผมว่ามันไม่ค่อยสมเหตุสมผลเลยครับ

    (คือมันเหมือนผมพูดดูถูก ศาสนาพุทธ และคนไทย ผมข้อโทษครับคือผมแค่ต้องการคำตอบ คงเข้าใจกัน คือผมแค่ยกตัวอย่างไม่ได้มีเจตนา)
     
  10. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    แน่นอนว่าวิทยาศาสตร์ ไม่ได้สอนให้หลุดพ้น แต่เป็นประโยชน์ในการช่วยพิจารณาธรรม
    การมองธรรมชาติแบบวิทยาศาสตร์ แล้วสงเคราะห์เข้าหลักธรรมอันเป็นประธานและ
    การมองเอกภพด้วยหลักธรรม ถือเป็นวิธีทบทวนวิธีหนึ่งในการทำความรู้จักธรรมชาติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011
  11. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,307
    ปัจฉิมสาวกและปัจฉิมวาจา (๑๐/๑๖๒)
    ปัจฉิมสาวก หมายถึง สาวกผู้ทันเห็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้าย

    สุภัททปริพาชก ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงเกียรติยศ ประชาชนยกย่องกันว่าเป็นคนดีได้แก่ ปูรณะ กัสสปะ มักขลิ โคศาล อธิตะ เกสกัมพล ปกุ ธะ กัจจายนะ สัญชัย เวลัฏฐบุตร นิครนถ์ นาฏบุตร เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้างหรือไม่ได้รู้ตามที่ตนกล่าว อ้าง หรือบางพวกรู้จริง บางพวกไม่รู้จริง”
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุภัททะ อย่าเลย เรื่องที่เธอถามมาทั้งหมดนั้น เธออย่าได้สนใจเลย เราจะแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าว”
    จากนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสุภัททปริพาชก ผู้เป็นปัจฉิมสาวกว่า

    ธรรมวินัยใดที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมวินัยนั้นย่อมไม่มีอริยบุคคลทั้ง ๔
    ธรรมวินัยใดที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมวินัยนั้นย่อมมีอริยบุคคลทั้ง ๔
    ใน ธรรมวินัยของตถาคตนี้ มีอริยมรรคมีองค์ ๘ อริยบุคคลทั้ง ๔ จึงมีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ลัทธิอื่นทั้งหลายจึงว่างจากอริยบุคคลทั้ง ๔
    สุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายยังเป็นอยู่โดยชอบ (ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘) โลกนี้จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล

    เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใส ทูลขอบรรพชาอุปสมบท เมื่อท่านสุภัททะได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน ก็บรรลุอรหัตตผล นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก องค์สุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    พระปัจฉิมวาจา หมายถึง พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน
    จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้ายว่า
    ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า
    สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด
    นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต
    ในอัปปมาทวรรค ว่าด้วยความไม่ประมาท (๑๙/๗๒) พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า
    “ความไม่ประมาทบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท
    พึงหวังได้ว่า“จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก” ดังนี้แล


    คำถามโพสนี้ทำให้นึกถึงเรื่องราวในพุทธประวัติตอนนี้ เลยหามาให้อ่านดูค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011
  12. ปังโยะ

    ปังโยะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณมากครับ คือ ท่าน dangcarry อาจจะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ผมนั้นยังครับ คือผมมีคำถามในใจมากมายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่กำลังหาคำตอบอยู่ คือผมรู้สึกว่าเราถูกฝังหัวมาตั้งแต่เด็ก ว่าพระพุทธศาสนานั้นดีอย่างไร้ข้อโต้แย้ง คือข้อโทษครับ ผมอาจจะบุญน้อยเองก็ได้ ผมกำลังศึกษาอะไรบางอย่างอยู่ แต่ก็ยังเลื่อนลอยมากครับ
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    คนศาสนาอื่นเขาย่อมเห็นว่าศาสนา เขา มีดี เหมือนพุทธศาสนิกชนคิดเหมือนกัน และมีเป้าหมายสูงสุดของเขาเหมือนกัน มันคงเหมือนธรรมชาติอื่นอื่น ที่นำพาเรามาเกิด เป็น คนไทย รู้จักในหลวง คนอังกฤษเขาก็รักควีนของเขาเหมือนกัน เราภูมิใจในความเป็นไทย เขา ก็ภูมิใจเหมือนกัน อย่าไปคิดมากเลยครับ ภูมิใจและปฎิบัติในส่วนของเราให้ถึงที่สุดก็พอ
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ผมถาม จขกท ครับว่าส่วนใหนที่ยังติดเรื่อง ความเลื่อมใสอยู่ครับ ลองอธิบายสักนิด เผื่อเพื่อนสมาชิก จะ อธิบายบางอย่างได้ครับ?
     
  15. ปังโยะ

    ปังโยะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณมากครับ ตอนนี้มีแต่คำถามที่แม้แต่ผมเองก็ยังเรียบเรียงให้เป็นคำถามไม่ได้เลยครับ มันยังคงเลื่อนลอยอยู่ และผมต้องใช้เวลากับมันสักครู่
     
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ในโลกของวัตถุนิยม ย่อมมีการเห็นการได้มาของจำนวนทรัพย์....ตลอดจนตัวเลขต่างๆ...ความเจริญของประเทศชาติ ตลอดจนการศึกษาทั้งด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เจริญ เป็นตัวตัดสินความเป็นอารยะของประเทศนั้นๆ.....ที่ใดมีมากที่นั้นเจริญมาก ที่ใดมีน้อยที่นั่นเจริญน้อย....

    ในโลกของพุทธศาสนาเน้นด้านจิตใจที่เหนือกว่ากิเลส เป็นอารยะ......หาใช่ความเจริญด้านวัตถุ ตามสังคมโลกในปัจจุบันกล่าวสรรเสริญนั้น.....
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ทั้งนี้ผมเคยศึกษาขั้นบันใดแห่งความสุขตามทฤษฏีของฝรั่งเขานะ.....แต่หาไม่เจอ.....หรืออาจเป็นเพราะว่าจำหัวข้อไม่ได้แล้วก็อาจเป็นไปได้......

    เอาเป็นว่าเรามาลองดูแล้วกันนะครับ....ว่าการแบ่งความสุขนั้น ในทรรศนะของ ท่านอาจารย์พระพรหมคุณาภรณ์ นั้นเป็นอย่างไร....ซึ่งความสุขที่เราเห็นกันนั้นในโลกของวัตถุนิยมนั้นมันเป็นเพียงแค่ความสุขชั้นต้นเท่านั้นเอง......แม้ความสุขที่ประณีตกว่านั้น ก็อาจมีได้เป็นปกติในศาสนาอื่น เช่น ความสุขแห่งการให้ของศาสนาคริสต์.....เป็นต้น....

    ________________________________________________



    [​IMG]




    <CENTER>ความสุข ๕ ขั้น</CENTER>





    <CENTER><DD>จาก คู่มือชีวิต พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) หน้า 141-150</CENTER>




    <DD><DD><DD>[SIZE=-1]ความสุข ๕ ขั้น ขอพูดอย่างย่อ ดังนี้
    [/SIZE]






    <DD>ขั้นที่ ๑ คือ ความสุขจากการเสพวัตถุ หรือสิ่งบำรุงบำเรอภายนอกที่นำมาปรนเปรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา ข้อนี้เป็นความสุขสามัญที่ทุกคนในโลกปรารถนากันมาก





    [SIZE=-1]
    <DD>ความสุขประเภทนี้ขึ้นต่อสิ่งภายนอก เพราะว่าเป็นวัตถุ หรืออามิสภายนอก เมื่อเป็นสิ่งภายนอก อยู่นอกตัว ก็ต้องหา ต้องเอา เพราะฉะนั้นสภาพจิตของคนที่หาความสุขประเภทนี้จึงเต็มไปด้วยความคิดที่จะได้จะเอา แล้วก็ต้องหา และดิ้นรนทะยานไป เมื่อได้มาก ก็มีความสุขมาก แล้วก็เพลิดเพลินไปกับความสุขเหล่านั้น พอได้มาก ๆ เข้า ต่อมาก็นึกว่าตัวเองเก่งมาก ๆ ไป ๆ มา ๆ โดยไม่รู้ตัวก็มีภาวะอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือ ชีวิตและความสุขของตัวเองต้องไปขึ้นกับวัตถุเหล่านั้น อยู่ลำพังง่าย ๆ อย่างเก่า ไม่สุขเสียแล้ว ตอนที่เกิดมาใหม่ ๆ นี้ ไม่ต้องมีอะไรมากก็พอจะมีความสุขได้ ต่อมามีวัตถุมาก เสพมาก ทีนี้ขาดวัตถุเหล่านั้นไม่ได้เสียแล้ว กลายเป็นว่าสูญเสียอิสรภาพ ชีวิตและความสุขต้องไปขึ้นกับวัตถุภายนอก แต่เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง อันนี้เป็นข้อสำคัญที่คนเราหลงลืมไป ทางธรรมจึงเตือนไว้เสมอว่าเรา อย่าสูญเสียอิสรภาพนี้ไป พร้อมทั้งอย่าสูญเสียความสามารถที่จะเป็นสุข





    [SIZE=-1]
    <DD>สิ่งที่คนเราจะพัฒนากันมากก็คือ การพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุข แม้แต่การศึกษา ทำไปทำมาก็ไม่รู้ตัวว่ากลายเป็นการพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุข แต่อีกด้านหนึ่งของชีวิตที่ลืมไปคือการพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข ถ้าเราไม่พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข หรือแม้แต่ไม่รักษามันไว้เราก็สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]





    <DD>อาการของคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข ก็คือยิ่งอยู่ในโลกนานไปก็ยิ่งกลายเป็นคนที่สุขยากขึ้น คนจำนวนมากสมัยนี้มีลักษณะอย่างนี้ คืออยู่ในโลกนานไป เติบโตขึ้น กลายเป็นคนที่สุขได้ยากขึ้น ต่างจากคนที่รักษาดุลยภาพของชีวิตไว้ได้ โดยพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขควบคู่ไปด้วย จะเป็นคนที่มีมีลักษณะตรงข้าม คือยิ่งอยู่ในโลกนานไป ก็ยิ่งเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น






    <DD>ส่วนคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข แม้จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขได้มาก แต่ความสุขก็ที่เดิมเรื่อยไป เพราะข้างนอกได้มา ๑ แต่ข้างในก็ลดลงไป ๑ เลยเหลือ ๐ ที่เดิม กระบวนการวิ่งหาความสุขจึงดำเนินไปไม่รู้จักจบสิ้น เพราะความสุขวิ่งหนีเราไปเรื่อย ๆ






    <DD>เพราะฉะนั้น จะต้องพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขไว้ด้วยคู่กัน เป็นคนที่สุขได้ง่ายก็เป็นอันว่าสบาย อย่างน้อยก็ฝึกตัวเองไว้ อย่าให้ความสุขต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป






    <DD>ศีล ๘ เป็นตัวอย่างของวิธีฝึกไม่ให้เราสูญเสียอิสรภาพ โดยไม่เอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุมากเกินไป แปดวันก็รักษาศีล ๘ ครั้งหนึ่ง ลองหัดดูซิว่าให้ความสุขของเราไม่ต้องขึ้นกับการบำรุงบำเรอทางกายด้วยวัตถุ เริ่มด้วยข้อวิกาลโภชนาฯ ไม่ต้องบำเรอลิ้นด้วยอาหารอร่อยอยู่เรื่อย ไม่คอยตามใจลิ้น กินแค่เที่ยง เพียงที่ที่ร่างกายต้องการเพื่อให้มีสุขภาพดี แข็งแรง ตลอดจนข้อ อุจจาสยนะฯ ไม่บำเรอตัวด้วยการนอน ไม่ต้องนอนบนฟูก ลองนอนง่าย ๆ บนพื้น บนเสื่อธรรมดา ลองไม่ดูการบันเทิงซิ ทุก ๘ วัน เอาครั้งเดียว จะเป็นการรักษาอิสรภาพของชีวิตไว้ และฝึกให้เรามีชีวิตอยู่ดีได้โดยไม่ต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป






    <DD>พอฝึกได้แล้วต่อมาเราจะพูดถึง วัตถุหรือสิ่งบำรุงความสุขเหล่านั้นว่า "มีก็ดี ไม่มีก็ได้" ต่างจากคนที่ไม่พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข ซึ่งจะเอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุ ถ้าไม่มีวัตถุเหล่านั้นเสพแล้วอยู่ไม่ได้ รุรนทุราย ต้องพูดถึงวัตถุหรือสิ่งเสพเหล่านั้นว่า "ต้องมีจึงจะอยู่ได้ ไม่มีอยู่ไม่ได้" คนที่เป็นอย่างนี้จะแย่ ชีวิตนี้สูญเสียอิสรภาพ คนยิ่งอายุมากขึ้นสถานการณ์ก็ไม่แน่นอน ถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายเสพความสุขจากสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ เช่น ลิ้นไม่รับรู้รส กินอาหารก็ไม่อร่อย ถ้าไม่ฝึกไว้ ความสุขของตัว ไปอยู่ที่วัตถุเหล่านั้นเสียหมดแล้ว และตัวก็เสพมันไม่ได้ จิตใจก็ไม่มีความสามารถที่จะมีความสุขด้วยตนเอง ก็จะลำบากมาก ทุกข์มาก เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้ฝึกไว้ รักษาศีล ๘ นี้แปดวันครั้งหนึ่ง จะได้ไม่สูญเสียอิสรภาพนี้ไป






    <DD>เพราะฉะนั้นเอาคำว่า "มีก็ดี ไม่มีก็ได้" นี้ไว้ ถามตัวเอง เป็นการตรวจสอบอยู่เสมอว่า เราถึงขั้นนี้หรือยัง หรือต้องมีจึงจะอยู่ได้ ถ้ายังพูดได้ว่า มีก็ดีไม่มีก็ได้ ก็เบาใจได้ว่า เรายังมีอิสรภาพอยู่ ต่อไปถ้าเราฝึกเก่งขึ้นไปอีก อาจจะมาถึงขั้นที่พูดได้ในบางเรื่องว่า "มีก็ได้ ไม่มีก็ดี" ถ้าได้อย่างนี้ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก






    <DD>คนที่พูดได้อย่างนี้ จะมีความรู้สึกว่าของพวกนี้เกะกะ เราอยู่ของเราง่าย ๆ ดีแล้ว มีก็ได้ไม่มีก็ดี ไม่มีเราก็สบาย ชีวิตเป็นอิสระโปร่งเบาความสุขเริ่มไม่ขึ้นต่อวัตถุอามิสสิ่งเสพภายนอก ความสุขเริ่มไม่ต้องหา






    <DD>-ความสุขที่ต้องหา แสดงว่าเราขาด คือยังไม่มีความสุขนั้นเราหาได้ที เสพทีก็มีสุขที แต่ระหว่างนั้นต้องอยู่ด้วยการอ อยู่ด้วยความหวัง บางทีก็ถึงกับทุรนทุราย กระวนกระวาย เพราะฉะนั้น จะต้องทำตัวให้มีความสุขด้วยตนเองสำรองไว้ให้ได้ ด้วยวิธีฝึกรักษาอิสรภาพของชีวิต และรักษาความสามารถที่จะมีความสุขไว้






    <DD>ขั้นที่ ๒ ความสุขจากการให้ พอเจริญคุณธรรม เช่น มีเมตตากรุณา มีศรัทธา เราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง แต่ก่อนนี้ชีวิตเคยต้องได้วัตถุมาเสพต้องได้ ต้องเอา เมื่อได้จึงจะมีความสุข ถ้าคือเสียก็ไม่มีความสุข แต่คราวนี้ คุณธรรมทำให้ใจเราเปลี่ยนไป เหมือนพ่อแม่ที่มีความสุขเมื่อให้แก่ลูก เพราะรักลูก ความรักคือเมตตา ทำให้อยากให้ลูกมีความสุขพอให้แก่ลูกแล้วเห็นลูกมีความสุข ตัวเองก็มีความสุข เมื่อพัฒนาเมตตากรุณาขยายออกไปถึงใคร ให้แก่คนนั้น ก็ทำให้ตัวเองมีความสุขศรัทธาในพระศาสนาในการทำความดี และในการบำเพ็ญประโยชน์เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน เมื่อให้ด้วยศรัทธา ก็มีความสุขจากการให้นั้น ดังนั้นคุณธรรมที่พัฒนาขึ้นมาในใจ เช่น เมตตากรุณา ศรัทธา จึงทำให้เรามีความสุขจากการให้ การให้กลายเป็นความสุข






    <DD>ขั้นที่ ๓ ความสุขเกิดจากการดำเนินชีวิตถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ไม่หลงอยู่ในโลกของสมมติ ที่ผ่านมานั้นเราอยู่ในโลกของสมมติมาก และบางทีเราก็หลงไปกับความสุขในโลกของสมมตินั้น แล้วก็ถูกสมมติ ล่อหลอกเอา อยู่ด้วยความหวังสุขจากสมมติที่ไม่จริงจังยั่งยืน และพาให้ตัวแปลกแยกจากความจริงของธรรมชาติ และขาดความสุขที่พึงได้จากความเป็นจริงในธรรมชาติเหมือนคนทำสวนที่มัวหวังความสุขจากเงินเดือน เลยมองข้ามผลที่แท้จริงตามธรรมชาติจากการทำงานของตัว คือความเจริญงอกงามของต้นไม้ ทำให้ทำงานด้วยความฝืนใจเป็นทุกข์ ความสุขอยู่ที่การได้เงินเดือนอย่างเดียว ได้แต่รอความสุขที่อยู่ข้างหน้า แต่พอใจมาอยู่กับความเป็นจริงของธรรมชาติ อยากเห็นผลที่แท้จริงตามธรรมชาติของการทำงาน ของตน คือ อยากเห็นต้นไม้เจริญงอกงาม หายหลงสมมติ ก็มีความสุขในทำสวน และได้ความสุข จากการชื่นชมความเจริญงอกงามของต้นไม้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น คนที่ปรับชีวิตได้ เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ จึงสามารถหาความสุขจากการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ได้เสมอ






    <DD><DD>พอปัญญามาบรรจบให้วางใจถูก ชีวิตและความสุขก็ถึงความสมบูรณ์






    <DD>ขั้นที่ ๔ ความสุขจากความสามารถปรุงแต่ง คนเรานี้มีความสามารถในการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์ ปรุงแต่งทุกข์ก็ได้ ปรุงแต่งสุขก็ได้ โดยเฉพาะที่เห็นเด่นชัดก็คือปรุงแต่งความคิดมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ จนมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย






    <DD>ที่สำคัญก็คือในใจของเราเอง เรามักจะใช้ความสามารถในทางที่เป็นผลร้ายแก่ตนเอง แทนที่จะปรุงแต่งความสุข เรามักจะปรุงแต่งทุกข์ คือเก็บเอาอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ขัดใจ ขัดหู ขัดตา เอามาครุ่นคิดให้ไม่สบายใจ ขุ่นมัว เศร้าหมอง โดยเฉพาะคนที่สูงอายุนี่ ต้องระวังมาก ใจคอยจะเก็บอารมณ์ที่กระทบกระเทือน ไม่สบาย แล้วก็มาปรุงแต่ง ให้เกิดความกลุ้มใจ ว้าเหว่ เหงา เรียกใช้ความสามารถไม่เป็น






    <DD>พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักใช้ความสามารถในการปรุงแต่งแทนที่จะปรุงทุกข์ ก็ปรุงสุข เก็บเอาแต่อารมณ์ที่ดีมาปรุงแต่งใจให้สบาย แม้แต่หายใจ ที่ยังให้ปรุงแต่งความสุขไปด้วย ลองฝึกดูก็ได้เวลาหายใจเข้า ก็ทำใจให้เบิกบาน เวลาหายใจออก ก็ทำใจให้โปร่งเบาทานสอนไว้ว่าสภาพจิต 5 อย่างอย่างนี้ ควรปรุงแต่งให้มีในใจอยู่เสมอ คือ






    <DD>๑. ปราโมทย์ ความร่าเริงเบิกปานใจ





    <DD>๒. ปีติ ความอิ่มใจ





    <DD>๓. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น ผ่อนคลายกายใจ ไม่เครียด





    <DD>๔. ความสุข ความโปร่งโล่งใจ คล่องใจ สะดวกใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้น หรือติดขัดคับข้อง และ





    <DD>๕. สมาธิ ภาวะที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ ได้ตามาต้องการ ไม่มีอะไรมารบกวน จิตอยู่ตัวของมัน






    <DD>ขอย้ำว่า ๕ ตัวนี่สร้างไว้ประจำใจให้ได้ เป็นสภาพจิตที่ดีมาก ผู้เจริญในธรรมจะมีคุณสมบัติของจิตใจ ๕ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ" แปลว่า ภิกษุปฏิบัติถูกต้องแล้ว มากด้วยปราโมทย์ มีจิตใจร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ จักทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป ท่านพูดไว้ถึงอย่างนี้






    <DD>ฉะนั้น ท่านผู้เกษียณอายุนั้น ถึงเวลาแล้ว ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ถือเป็นโอกาสดี มาปรุงแต่งใจ แต่ก่อนนี้ปรุงแต่งแต่ทุกข์ทำให้ใจเครียด ขุ่นมัว เศร้าหมอง ตอนนี้ปรุงแต่งใจให้มีธรรม 5 อย่างนี้ คือ ปราโมทย์ มีความร่าเริงเบิกบานใจ ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจ สุข โล่งโปร่งใจ สมาธิ สงบใจตั้งมั่น ไม่มีอะไรมารบกวน อยู่ตัว สบายเลย ทำใจให้ได้อย่างนี้อยู่เสมอ ท่องไว้เลย 5 ตัวนี้ คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ พระพุทธเจ้าประทานไว้แล้ว ทำไมเราไม่เอามาใช้ นี่แหละความสามารถในการปรุงแต่งจิต เอามาใช้ สบายแน่ และก็เจริญงอกงามในธรรมด้วย






    <DD>โดยเฉพาะ ท่านผู้สูงอายุนั้นก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องมีเวลาพักและเวลาว่างที่ว่างจากกิจกรรม มากกว่าคนหนุ่มสาวและคนวัยทำงานที่เขายังมีกำลังร่างกายแข็งแรงดี ว่างจากงานเขาก็ไปเล่นไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้มาก แต่ท่านที่สูงอายุ นอกจากออกกำลังบริหารร่างกายบ้างแล้ว ก็ต้องการเวลาพักผ่อนมากหน่อย จึงมีเวลาว่าง ซึ่งไม่ควรปล่อยให้กายว่างแต่ใจวุ่น






    <DD>เพราะฉะนั้น ในเวลาที่ว่าง ไม่มีอะไรทำ และก็ยังไม่พักผ่อนนอนหลับ หรือนอนแล้วก่อนจะหลับ ก็พักผ่อนจิตใจให้สบาย ขอเสนอวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ไว้อย่างหนึ่งว่า ในเวลาที่ว่างอย่างนั้น ให้สูดลมหายใจเข้าและหายใจออกอย่างสบาย ๆ สม่ำเสมอ ให้ใจอยู่กับลมหายใจที่เข้าและออกนั้น พร้อมกันนั้นก็พูดในใจไปด้วย ตามจังหวะลมหายใจเข้าและออกว่า


    จิตใจเบิกบานหายใจเข้า จิตใจโล่งเบาหายใจออก





    <DD>ในเวลาที่พูดในใจอย่างไร ก็ทำใจให้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ด้วย หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสำนวนใหม่ก็ได้ว่า

    หายใจเข้า สูดเอาความสดชื่น หายใจออก ฟอกใจให้สดใส





    <DD>ถูกกับตัวแบบไหน ก็เลือกเอาแบบนั้น หายใจพร้อมกับทำใจไปด้วยอย่างนี้ตามแต่จะมีเวลาหรือพอใจ ก็จะได้การพักผ่อนที่เสริมพลังทั้งร่างกายและจิตใจ ชีวิตจะมีความหมาย มีคุณค่า และมีความสุขอยู่เรื่อยไป






    <DD>ขั้นที่ ๕ สุดท้าย ความสุขเหนือการปรุงแต่ง คราวนี้ไม่ต้องปรุงแต่ง คืออยู่ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต การเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาเห็นแจ้ง ทำให้วางจิตวางใจลงตัวสนิทสบาย กับทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่อย่างผู้เจนจบชีวิต






    <DD>สภาพจิตนี้จะเปรียบเทียบได้เหมือนสารถีที่เจนจบการขับรถสารถีผู้ชำนาญในการขับรถนั้น จะขับม้าให้นำรถเข้าถนน และวิ่งด้วยความเร็วพอดี ตอนแรกต้องใช้ความพยายาม ใช้แซ่ ดึงบังเหียนอยู่พักหนึ่ง แต่พอรถม้านั้นวิ่งเข้าที่เข้าทางดี ความเร็วพอดี อยู่ตัวแล้ว สารถีผู้เจนจบ ผู้ชำนาญแล้วนั้น จะนั่งสงบสบายเลย แต่ตลอดเวลานั้นเขามีตลอดเวลานั้นเขาไม่มีความประหวั่น ไม่มีความหวาด จิตเรียบสนิท ไม่เหมือนคนที่ยังไม่ชำนาญ จะขับรถนี่ ใจคอไม่ดี หวาดหวั่น ใจคอยกังวลโน่นนี่ ไม่ลงตัว แต่พอรู้เข้าใจความจริงเจนจบดี ด้วยความรู้นี่แหละ จะปรับความรู้สึกให้ลงตัว เป็นสภาพจิตที่เรียบสงบสบายที่สุด






    <DD>คนที่อยู่ในโลกด้วยความรู้เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริง จิตเจนจบกับโลกและชีวิต วางจิตลงตัวพอดี ทุกอย่างเข้าที่อยู่ตัวสนิทอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นจิตอุเบกขา เป็นจิตที่สบาย ไม่มีอะไรกวนเลยเรียบสนิท เป็นตัวของตัวเอง ลงตัว เมื่อทุกสิ่งเข้าที่ของมันแล้ว คนที่จิตลงตัวเช่นนี้ จะมีความสุขอยู่ประจำตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นสุขเต็มอิ่มอยู่ข้างใน ไม่ต้องหาจากข้างนอก และเป็นผู้มีชีวิตที่พร้อมที่จะทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่ เพราะไม่ต้องห่วงกังวลถึงความสุขของตนและไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป จะมองโลกด้วยปัญญาที่รู้ความจริง และด้วยใจที่กว้างขวางและรู้สึกเกื้อกูล






    <DD>คนที่พัฒนาความสุขมาถึงขึ้นสุดท้ายแล้วนี้ เป็นผู้พร้อมที่จะเสวยความสุขทุกอย่างใน ๔ ข้อแรก ไม่เหมือนคนที่ไม่พัฒนา ได้แต่หาความสุขประเภทแรกอย่างเดียว เมื่อหาไม่ได้ก็มีแต่ความทุกข์เต็มที่และในเวลาที่เสพความสุขนั้น จิตใจก็ไม่โปร่งไม่โล่ง มีความหวั่นใจหวาดระแวงขุ่นมัว มีอะไรรบกวนอยู่ในใจ สุขไม่เต็มที่ แต่พอพัฒนาความสุขขึ้นมา ยิ่งพัฒนาถึงขั้นสูงขึ้น ก็มีโอกาสได้รับความสุขเพิ่มขึ้นหลายทาง กลายเป็นว่า ความสุขมีให้เลือกได้มากมาย และจิตใจที่พัฒนาดีแล้ว ช่วยให้เสวยความสุขทุกอย่างได้เต็มที่ โดยที่ในขณะนั้น ๆ ไม่มีอะไรรบกวนให้ขุ่นข้องหมองมัว






    <DD>เป็นอันว่าธรรมะ ช่วยให้เรารู้จักความสุขในการดำเนินชีวิตมากยิ่ง ๆขึ้นไป สู่ความเป็นผู้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ จนกระทั่งความสุขเป็นคุณสมบัติของชีวิตอยู่ภายในตัวเองตลอดทุกเวลา ไม่ต้องหาไม่ต้องรออีกต่อไป






    <CENTER>*******************************************</CENTER>





    <DD>จาก คู่มือชีวิต พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต); พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฎาคม 2547, ศรีชัยการพิมพ์ กรุงเทพฯ, หน้า 141-150.


    [/SIZE]
    [/SIZE]



    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011
  18. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    ตอนเป็นเด็กจนถึงวัยโต ไม่เคยถูกฝังหัวว่า พระพุทธศาสนานั้นดีอย่างไร้ข้อโต้แย้ง คำทำนองนี้ไม่มีใครฝังความคิดให้ พุทธศาสนาแท้จริง เค้าบอกวิธีการเผยแผ่ให้เห็นตามวิธีการที่เป็นไปได้ โดยมีหลักธรรมต่างๆมาประกอบการเรียนรู้ การสรรเสริญศรัทธาพระพุทธองค์เกิดจากความกตัญญูรู้คุณในความมีพระมหาเมตตา กรุณา ในพระองค์ ทำเองเห็นเอง มิใช่เผยแพร่ให้ศรัทธา ตอนเด็กมีแต่ทำบุญตามประเพณีที่พี่พ่อพาไป ฟังธรรมก็ไม่เข้าหู ฟังเสียงพระเจริญมนต์ก็ง่วงนอนอยากหาทางหลีก คงเพราะเพราะผมไม่ได้เกิดเป็นลูกของวัด .........แต่เพราะผมทุกข์มากจึงศึกษาธรรมะตามแนวพุทธ เพื่อบรรเทาทุกข์ทั้งหลายที่เป็นอยู่
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    หวลกลับไปในเรื่องของ บุญ และ บาป ตามที่เจ้าของกระทู้ได้ถามไว้.....

    จริงๆอยากบอกนะครับ....บุญและบาปก็ดี หรือแม้แต่กิเลส ก็ดี หรือการรับผลของการกระทำ(ที่ศาสนาพุทธใช้คำว่าผลของกรรม).....นั้น.....ไม่ได้เป็นของศาสนาใดในโลกเลยนะครับ...แม้แต่ศาสนาพุทธเอง.....

    พระพุทธเจ้าเป็นเพียงแค่ผู้ค้นพบความจริงที่มีอยู่แล้วของธรรมชาติเหล่านี้...แล้วมาเป็นผู้ประกาศแก่ชาวโลก....ซึ่งเรียกว่าพระธรรม....มันเป็นธรรมชาติ กฏแห่งธรรมชาติครับ.....ท่านเป็นผู้ชี้ให้เห็นว่าธรรมชาติที่เราทั้งหลายต่างเห็นกันในบางครั้งว่าดีก็ดี ไม่ดีก็ดี หรือที่เราทั้งหลายต่างยึดตึดหลงใหลในมันนั้น ว่าความจริงมันเป็นอย่างไร.....

    เกิด แก่ เจ็บ ตาย โลภ โกรธ หลง ความอยาก ดีใจ เสียใจ เหล่านี้มันไม่ได้เป็นของศาสนาใดนะครับ....มันเป็นธรรมชาติ เป็นกฏของธรรมชาติ.....ที่มันเป็นของมันอยู่แล้วอย่างนี้.....

    ศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นตรงที่ศาสนาพุทธเป็นสัจนิยม ไม่ใช่ ศรัทธานิยมครับ....

    เรื่องกรรมก็ดี ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จริงๆก็ไม่ได้เป็นของศาสนาพุทธหลอกครับ.....ใครอ่านหนังสือก็สอบได้ ใครไม่อ่านก็สอบไม่ได้ ใครทำผิดก็ต้องรับผิด อย่างนี้มันมีทุกศาสนานะครับ.....แต่เผอิญว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ทรงประกาศกฏนี้ให้ประจักษ์แก่ตาโลก.....ด้วยพระปัญญาธิคุณของพระองค์เองที่ค้นพบ.....ในสิ่งที่เรียกว่าพระธรรมนี้.......

    จะเป็นอะไรไมถ้าผมจะกล่าวคำนี้ว่า "ปรัชญาศาสนาพุทธ เป็นปรัชญาสากลของโลก เพราะเป็นธรรมชาติของโลก และแฝงอยู่ในทุกศาสนาใดในโลก"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ศาสนาใดในโลกนี้ มีศาสนาเดียวนี่หละครับที่สอนถึงความหลุดพ้น....ศาสนาอื่นนั้นไม่มีศาสนาใดในโลกที่สอนถึงความหลุดพ้น.....

    การกล่าวเช่นนี้จะเป็นการกล่าวที่มากเกินไปหรือไม่นั้น.....ก็ลองไปพิจารณาดูนะครับ.....ศาสนาใดที่มีความหวังว่าจะไปอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้าหรือกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้าหรือบำเพ็ญจนได้ของขวัญจากพระเจ้า เกรงกลัวที่จะตกนรก หรือรับโทษในนรก ที่จะตกแล้วตกไปอย่างนิรันดร นั้นมันก็คือ การยึดมั่นในความสุข ความทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์ ด้วยกันทั้งนั้น.....อันนี้หละครับที่อาจกล่าวได้ว่าไม่หลุดพ้น แต่เป็นการกระทำหรือการดำเนินอย่างใดอย่างหนึ่งให้ไปถึงจุดนั้น....เพื่อสุขที่เป็นนิรันดร.....

    ถ้าเรามาพูดถึงจุดสูงสุด หรือเป้าหมายสูงสุดในศาสนาพุทธนั้น...จะแตกต่างจากศาสนาในศรัทธานิยมทั่วไปคือ ละสุข ละทุกข์ หลุดพ้นจากสุขและทุกข์ หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น และนิรันดรนั้น.....อันนี้คือข้อที่แตกต่าง....ซึ่งการที่จะไปถึงจุดนั้นได้ไม่ได้เป็นการกระทำให้ผู้ใดผู้หนึ่งพอใจแล้วให้ของขวัญ...แต่กลับเป็นการเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติแล้วละมันด้วยปัญญา....และความสุขสูงสุดที่กล่าวถึงนั้นกลับเป็นความสุขที่ไม่ยึดมั่น ยึดติด ไม่มีกิเลสเจือในความสุขนั้นเลย(ในความสุขที่ใช้บัญญัตคำที่ใช้ว่าเป็นความสุข หรือ นิพพาน นั้น).....

    อันนี้หละครับคือทำไมที่ว่าศาสนาพุทธนั้นสอนให้ได้ถึงความหลุดพ้น....ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากศาสนาอื่นทั่วไป...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...