ศาลปกครองใหม่ ยุติธรรมนี้เพื่อชาติ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 7 กรกฎาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">ศาลปกครองใหม่ ยุติธรรมนี้เพื่อชาติ [7 ก.ค. 51 - 17:52]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2551 ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และสำนักงานศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ
    อาคารที่ทำการศาลปกครองแห่งใหม่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 12 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง...หลังแรก อาคารที่ทำการศาลปกครอง สถาปัตยกรรมแบบ...โมเดิร์น คลาสสิก สูง 11 ชั้น...มีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น

    ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานตึกสูง 3 ชั้น ทำหน้าที่คล้าย...พาน ของตราสัญลักษณ์ สีของอาคารเป็นสีเทา เป็นสีที่หมายถึงความเป็นกลาง ยุติธรรม และมั่นคง หน้าต่างเป็นกระจกสะท้อนแสงสีน้ำเงิน ดูทันสมัย
    ลักษณะภายใน...ภายนอก ตลอดจนซุ้มประตูทางเข้ามีความสมมาตรกันเปรียบได้กับ...ดุลพาห แสดงถึงความสมดุลเสมอภาค ที่มีความเที่ยงธรรม ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม

    ชั้นบนสุดของอาคาร ประดับด้วยราวระเบียง ดัดเป็นลวดลาย...ช่อชัยพฤกษ์ อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงชัยชนะในการคิด และดำเนินการแห่งสรรพกิจทั้งปวง
    อาคารหลังที่สอง...เป็นอาคารรับรอง ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารที่ทำการ ด้านหน้าอาคารประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงริเริ่มก่อตั้ง เคาน์ซิลออฟสเตด หรือ ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน อันเป็นรากฐานสำคัญของการจัดตั้งศาลปกครองในปัจจุบัน


    ตัวอาคารลักษณะเป็นอาคารทรงโคโลเนียลสีขาว เหนือซุ้มประตูทางเข้าประดิษฐานพระราชลัญจกร ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่รับรองบุคคลสำคัญ รวมถึงการจัดงานพิธีการสำคัญของศาลปกครอง


    ที่อยู่ใหม่...เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์...0-2141-1111
    หรือ...สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนศาลปกครอง...1355
    “ศาลปกครองย้ายที่ทำการใหม่...ความเปลี่ยนแปลงมีเยอะ”
    ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดบอก
    “ในแง่จิตใจ...เป็นเรื่องธรรมดาที่พวกเราทุกคน ตั้งแต่ตุลาการ ข้าราชการ ต้องกระตือรือร้นมากขึ้น เพราะเป็นบ้านถาวรของเรา”


    [​IMG]

    ศ.ดร.อักขราทร บอกว่า เพื่อพัฒนาศาลปกครองให้เดินไปข้างหน้า ประการแรก...ต้องทำสถาบันพัฒนาตุลาการ และข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ให้มีความสมบูรณ์

    คำว่า...สมบูรณ์ในที่นี้ หมายความว่า นอกจากมีการอบรมตุลาการ พนักงานคดีปกครอง ข้าราชการที่สนับสนุนงานศาลปกครองแล้ว ยังผนวกรวมไปถึงการดูแลข้าราชการภายนอกซึ่งเป็นนิติกร ให้เรียนรู้ รับรู้งานของศาลปกครอง
    ความเชื่อมโยงกับศาลปกครองระหว่างประเทศกว่า 50 ประเทศ ในฐานะเคยดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ ศ.ดร.อักขราทร ให้ทัศนะว่า...จะทำให้ได้รับการสนับสนุนเชื่อมโยงข้อมูล ประสบการณ์ ให้ตุลาการศาลปกครองของเราได้รับความรู้ หลักกฎหมาย และเทคโนโลยีใหม่ๆ และการสร้างความเข้าใจร่วมกันก็จะง่ายขึ้น

    ประการต่อมา...ที่ต้องเร่งทำ หอสมุดกฎหมายมหาชน
    “เรามุ่งหวังว่า... ศาลปกครองแห่งใหม่จะทำเป็นหอสมุดกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้เป็นศูนย์กลางหลัก
    ประมวลกฎหมายปกครอง ฉบับปรับปรุงล่าสุดตุลาคม 2550 พิมพ์ครั้งที่ 8 ระบุว่า คุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ ของหลักกฎหมายปกครอง มีดังนี้...

    ประการแรก ต้องเป็นหลักกฎหมายที่แยก งานนโยบาย ออกจากงานประจำได้

    ประการที่สอง ต้องเป็นหลักกฎหมายที่สามารถแยก ดุลพินิจโดยแท้ของงานบริหาร ออกจากการควบคุมของสถาบันฝ่ายกฎหมายปกครองได้

    ประการที่สาม ต้องเป็นหลักกฎหมายที่ไม่ก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของสถาบันอื่นที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

    ประการที่สี่ ต้องเป็นหลักกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ (โดยชอบ) ของเอกชน และในขณะเดียวกัน ก็ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิของสาธารณะ ให้รอดพ้นจากการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของเอกชน

    ประการสุดท้าย ต้องเป็นหลักกฎหมายที่มุ่งไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร บริการสาธารณะภายใต้ระบบความรับผิดชอบ


    ศ.ดร.อักขราทร บอกว่า ข่ายการพิจารณาคดีศาลปกครอง พูดโดยรวมเป็นงานคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายทั้งหมดที่ใช้อยู่ในประเทศ แต่ไม่เกี่ยวกับคดีแพ่ง คดีอาญา ดังนั้น ขอบข่ายศาลคดีปกครองจึงค่อนข้างกว้าง
    หลักสากลในต่างประเทศ...ทุกประเทศต้องการ ให้การบริการราชการแผ่นดินเป็นไปโดยในลักษณะการปกครองแบบ ธรรมาภิบาล (Good Governance)

    “หมายความว่า...ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ให้เหมาะสม ให้ถูกต้อง จะได้ไม่มีเรื่องมีราว...แต่ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้”
    ต่างประเทศมีศาลปกครองเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และวางบรรทัดฐานของการปฏิบัติราชการที่ดี เป็นเรื่องที่ชอบในการที่แต่ละหน่วยงานเข้าใจการ บริหารราชการ

    “ความเป็นจริง...วิธีที่จะทำให้งานศาลปกครองดำเนินไปด้วยความเรียบง่าย และมีผลดีต่อบ้านเมืองอย่างรวดเร็ว มติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องสำคัญ...
    ...ถ้า ครม.มีมติเห็นว่าทำอย่างนี้ ต้องทำตามอย่างที่ศาลเขาว่า วางเป็นระเบียบแบบแผนปฏิบัติราชการของราชการทั่วไป โดยไม่ต้องรอให้เกิดเรื่องในกระทรวงหรือกรมนั้น”
    นี่คือวิธีช่วยการบริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินไปได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

    กรณี...ปราสาทพระวิหาร ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศ.ดร. อักขราทร บอกว่า ถ้าจะให้พูดตรงๆ คงไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของศาล อาจจะไปก้าวล่วงในการใช้อำนาจศาล
    “บอกได้เพียงว่า...เป็นไปตามระบบพิจารณาคดีทั่วไป ถ้ารอให้การตัดสินคดีจนเสร็จ...อาจจะไม่ทันกาล มาตรการทางกฎหมาย เปิดโอกาสให้ใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราว ขอให้ศาลพิจารณาว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน...จะเกิดความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยา”

    ศ.ดร.อักขราทรไม่อยากให้เน้นแค่กรณีนี้ ในภาพรวมทุกเรื่อง ถ้าเป็นวิธี
    การปฏิบัติราชการที่ดี...ที่ชอบ หน่วยราชการต่างๆควรนำไปปฏิบัติ
    ศ.ดร.อักขราทร ย้ำว่า ศาลปกครองทำหน้าที่...ถูกเรื่อง...ถูกงาน การให้เหตุผลเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเหตุผลก็มีฐานจากกฎหมาย นักวิชาการหรือใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่...ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ เพราะคนไม่เท่ากัน
    [​IMG]

    “หลักกฎหมาย การทำหน้าที่ และเหตุผลที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สาธารณะต้องสามารถเข้าใจได้...อะไรที่ควรจะถูก...ไม่ถูก”
    หน้าที่ใครก็ทำหน้าที่นั้น แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล เมื่ออธิบายตามเหตุผลไปแล้ว...ใครจะเชื่อมาก เชื่อน้อย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สังคมต้องหัด เรียนรู้ มีองค์ความรู้ที่เข้าใจ สามารถตัดสินอะไรต่างๆได้ด้วยตนเอง
    เมื่อถึงจุดนั้นเมื่อไหร่...ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมจะน้อยและหมดไป
    “กว่าจะถึงจุดนั้น...คงนาน ต้นปัญหาจริงๆมาจากการศึกษา เราสอนคนให้ท่องจำ ไม่ได้สอนคนให้คิด...คิดแบบมีเหตุผล”
    ประเทศไทย...ชาวบ้านธรรมดายังไม่กล้าเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเอง แม้ว่าปัจจุบันมีมากขึ้น แต่เหตุผลที่เรียกร้อง... ยังถูกจำกัดด้วยองค์ความรู้ โดยมักจะมีความคิดว่า “เรียกร้องไปแล้ว...จะได้ไหม?” “จะทำอย่างไร...จึงจะถูกต้อง?”

    เมื่อเป็นเช่นนี้...ชาวบ้านก็เลยไม่มีคุณค่าในสายตาของผู้ที่มาปฏิสัมพันธ์ ด้วย ทั้งที่ความจริงชาวบ้านมีอะไรอยู่ในใจที่ดี แต่วิธีเข้าถึงยังไม่สมบูรณ์
    ศาลปกครองแห่งใหม่ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถเข้ามาปรึกษาหารือข้อกฎหมาย หรือสอบถามข้อมูลผ่านศูนย์ประชาสัมพันธ์กลางได้ ในเวลาราชการ

    “ทุกข์ร้อนเรื่องอะไร ไม่ต้องกลัว...ถ้าเป็นคดีปกครอง เดินเข้ามาได้เลย เราทุกคนมองทุกท่านเป็นเหมือนญาติ...พี่น้อง”
    ศาสตราจารย์ ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวทิ้งท้าย.


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=96064
     
  2. อุดรเทวะ

    อุดรเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,925
    ค่าพลัง:
    +130
    “ทุกข์ร้อนเรื่องอะไร ไม่ต้องกลัว...ถ้าเป็นคดีปกครอง เดินเข้ามาได้เลย เราทุกคนมองทุกท่านเป็นเหมือนญาติ...พี่น้อง”

    อนุโมทนาสาธุครับ จะได้อุ่นใจกันถ้วนหน้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...