"ศรัทธาแบบพอเพียง" ของ...ชำนาญ พรมสุรินทร์

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 สิงหาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"ศรัทธาแบบพอเพียง" ของ...ชำนาญ พรมสุรินทร์</TD></TR><TR><TD vAlign=top>14 สิงหาคม 2550 17:40 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] "อินเทรนด์" (in trand) หมายถึง ทันสมัย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักพูดถึงอะไรที่ทันสมัย คำคำนี้เป็น๑ คำในจำนวน ๘๐๐ คำ ที่ราชบัณฑิตยสถานถือโอกาสจัดทำ พจนานุกรมคำใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐ ขึ้นซึ่งมีคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มเติม รวมทั้งศัพท์วัยรุ่นรวมอยู่ด้วย

    ในยุคจตุคามรามเทพครองเมืองถ้าจะให้อินเทรนด์และไม่เอาท์ต้องบูชาองค์จตุคามฯ มาแขวนคออย่างน้อย ๑ องค์ ที่สำคัญคือต้องแขวนโชว์ไว้นอกเสื้อด้วย และถ้าจะให้อินเทรนด์มากยิ่งขึ้นต้องคุยเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๗และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
    แต่ถ้าจะนำทั้งสองเรื่องมารวมกันจะกลับกลายเป็นคนละเรื่องเพราะคำว่าพอเพียงสำหรับผู้ศรัทธาและผู้เช่าองค์จตุคามฯ แล้ว มีเท่าไรก็ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้เองนายทุนจึงสร้างจตุคามฯ ออกมาสร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง จนมีคำพูดออกมาว่า "คนเช่าบูชาจตุคามฯ หรือจะรวยเท่าคนสร้างจตุคามฯ"
    สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยแม้ว่าจะไม่มีเงินเช่าบูชาจตุคามฯ แต่เพื่อให้อินเทรนด์กับกระแสจตุคามฯ ต่างก็นำเอาพระขนาดใหญ่ออกมาเลี่ยมแขวนคอ อย่างเช่นที่ จ.หนองคาย ประชาชนในจังหวัดได้นำหลวงพ่อพระใสขนาดใหญ่ (ขนาดตั้งหน้ารถ) ไปเลี่ยมแขวนคอ กลายเป็นพระเครื่องอินเทรนด์กับกระแสจตุคามฯ โดยเข้ากับกระแสเศรษฐกิจแบบพอเพียง
    ส่วนที่เข้ากับกระแสเศรษฐกิจแบบพอเพียงยิ่งกว่าต้องยกให้แนวความคิดและการกะทำของนายชำนาญพรมสุรินทร์ อายุ ๔๕ ปีบ้านอยู่ ต.ลานตากฟ้าอ.นครชัยศรีจ.นครปฐมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้โรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.สามพรานจ.นครปฐมโดยได้นำผ้ายันต์รุ่นมงคลจตุคาม ของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ผืนใหญ่เลี่ยมพลาสติกแขวนคอสร้างความแปลกตาให้ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง
    นายชำนาญบอกว่า สาเหตุที่ตนแขวนผ้ายันต์นั้น ก็สืบเนื่องมาจากว่าความศรัทธาต่อหลวงพ่อวัดไร่ขิงแต่ก็ด้วยความยากจนไม่มีเงินเพียงพอที่จะเช่าพระจึงต้องอาศัยแขวนผ้ายันต์แทน ซึ่งผ้ายันต์รุ่นนี้เป็นผ้ายันต์รุ่นมงคลจตุคาม ซึ่งตนได้รับแจกฟรีจากทางวัด แต่พระเครื่องจตุคามฯ รุ่นมงคลจตุคามนั้น ตนไม่มีเงินเพียงพอที่จะสั่งจองหรือเช่าบูชา เพราะรายได้จากการทำงานเป็นยามวันละ ๒๐๐ บาทต้องเลี้ยงดูครอบครัว และส่งลูกเรียนหนังสืออีก หากนำเงินมาเช่าพระครอบครัวตนก็คงลำบาก
    ตนจึงคิดว่าผ้ายันต์กับพระเครื่องก็คงมีพุทธคุณเหมือนกันจึงได้นำมาเลี่ยมแขวนติดตัวไว้เพื่อป้องกันภัย และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งอาจจะมีบางคนมองตนว่าบ้าหรือสติไม่ดีหรือเปล่า แต่ไม่ใช่หรอกครับ เป็นเพราะเรามีความศรัทธาและเงินน้อยแต่อยากแขวน ไม่สนใจหรอกครับว่าใครจะมองอย่างไร เพราะใจเรามีความมุ่งมั่น และบริสุทธิ์ใจ จะแขวนอะไรก็คงเหมือนๆ กัน ทุกวันนี้ก่อนออกจากบ้านมาทำงานตนก็จะอาราธนาผ้ายันต์ผืนนี้แขวนคอก่อนออกจากบ้านทำให้เรารู้สึกสบายใจทำอะไรก็ราบรื่นดีไปหมด
    อย่างไรก็ตาม"คม ชัด ลึก" ได้สอบถามนายจักรพงษ์ ทิมมณี สมาชิกสภาจังหวัดนครปฐม เขตสามพราน ได้ให้ความเห็นว่า คนที่พบเห็นส่วนใหญ่ที่ตนได้พูดคุยมาเขาไม่ได้มองว่าชายคนนี้เพี้ยนหรือบ้า แต่เขากลับมองตรงกันข้ามว่า ชื่อเสียงและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดไร่ขิง แม้แต่ผ้ายันต์ก็ยังมีคนเห็นคุณค่านำมาแขวนคอ ไม่จำเป็นเฉพาะต้องเป็นพระเครื่องเท่านั้น ทำให้คนทั่วไปเกิดแรงศรัทธาขึ้นมาอีก คราวนี้ไม่ว่าจะเป็นอะไรที่เป็นของหลวงพ่อไร่ขิง คนก็จะสรรหามาเก็บไว้ มาบูชากันไปหมด แม้แต่โบรชัวร์โฆษณา เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นมงคลจตุคาม เดี๋ยวนี้คนยังเก็บไปบูชาก็มีเป็นจำนวนมาก ในขณะที่พระพิพัฒน์วินิยาภรณ์(แย้มกิตตินธโร ป.ธ.3 พธ.ม.) เจ้าคณะอำเภอพุทธมณฑลผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงเลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ ๑ กล่าวเสริมว่าตนทราบว่ามีประชาชนได้นำเอาผ้ายันต์รุ่นมงคลจตุคามมาเลี่ยมกรอบแล้วนำเอามาห้อยคอ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากแรงศรัทธาของประชาชนที่นับถือและศรัทธาในองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งไม่จำเป็นว่าการห้อยคอจะต้องเป็นวัตถุมงคล หรือพระเครื่องเสมอไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าเขาศรัทธาอะไรมากกว่า ทุกอย่างที่เป็นของหลวงพ่อไร่ขิง มีพุทธคุณทั้งนั้น ไม่ว่าใครจะแขวนอะไรขอให้มีจิตใจตั้งอยู่ในความดีเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

    จะแขวนสักกี่องค์ดี
    "จตุคามฯ แขวนองค์เดียวพอเพียงแล้ว แต่ถ้ามีกำลังทรัพย์มากเกินพอไม่เดือดร้อนอะไรจะเช่ามาบูชาเพื่อสะสมก็ไม่มีใครว่าอะไร" นี่คือคำแนะนำของนายธนเดชรักษ์ชูชีพ หรือ "ธนเดช จตุคามฯ" แฟนพันธุ์แท้จตุคามฯปี ๒๐๐๗
    ทั้งนี้นายธนาเดชได้ฝากแง่คิดสำหรับนักเล่นตลอดจนนักสะสมองค์พ่อจตุคามฯไว้ ๔ข้อ คือ ๑.ให้พิจารณาดูจากทีมผู้จัดสร้างมีประวัติเป็นที่ยอมรับตลอดจนการจัดพิธีกรรมก็ดูจะได้มาตรฐานในทุกขั้นตอน เจตนาการสร้างที่ต้องสมเหตุสมผล ไม่พร่ำเพรื่อจนเกินไป ๒.พิจารณาดูจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนองค์กรที่สร้างคุณประโยชน์ต่อ แผ่นดินหรือประเทศชาติเป็นหลัก ด้วยหน่วยงานดังกล่าวมักมีระบบการจัดการทั้งมีการตรวจสอบที่ละเอียดซับซ้อน
    ๓.พิจารณาศิลปะ รูปแบบ พิมพ์ทรงที่สอดคล้องเข้ากับยุคสมัย (ศรีวิชัย) ต้องไม่ล้อหรือก๊อบปี้พิมพ์กันจนเอียน และ ๔.พยายามเลี่ยงผู้สร้างที่ใช้ภาพกราฟฟิกเป็นจุดขายให้ดูจากพิมพ์ทรงของจริง เพราะช่างแกะพิมพ์จำนวนมากในความเป็นจริงยังไม่สามารถตอบสนอง จินตนาการจากภาพกราฟฟิกได้
    "จตุคามฯ เป็นองค์เทพ รุ่นไหนดีไม่ดีไม่ได้อยู่ที่ท่าน หากอยู่ที่ผู้จัดสร้าง นักสร้างบางคนสร้างแล้วสร้างอีกสร้างไม่รู้จักพอ ผมไม่เชื่อหรอกว่าคนคนหนึ่งจะมีความศรัทธาต่อองค์จตุคามฯ อย่างแท้จริงโดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ผมเชื่อว่าผู้สร้างบางคนจะนึกถึงผลประโยชน์เป็นอันดับแรก เพื่อความสบายใจว่าจตุคามฯ จากวัดดีที่สุดอย่างน้อยก็ได้เห็นว่าเงินเข้าวัดไม่ได้เข้ากระเป๋านายทุน" นายธนเดชกล่าวทิ้งท้าย

    เรื่องและภาพ พีรพัฒน์-พรเพ็ญ : นครปฐม


    -->[​IMG]
    "อินเทรนด์" (in trand) หมายถึง ทันสมัย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักพูดถึงอะไรที่ทันสมัย คำคำนี้เป็น๑ คำในจำนวน ๘๐๐ คำ ที่ราชบัณฑิตยสถานถือโอกาสจัดทำ พจนานุกรมคำใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐ ขึ้นซึ่งมีคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มเติม รวมทั้งศัพท์วัยรุ่นรวมอยู่ด้วย
    ในยุคจตุคามรามเทพครองเมืองถ้าจะให้อินเทรนด์และไม่เอาท์ต้องบูชาองค์จตุคามฯ มาแขวนคออย่างน้อย ๑ องค์ ที่สำคัญคือต้องแขวนโชว์ไว้นอกเสื้อด้วย และถ้าจะให้อินเทรนด์มากยิ่งขึ้นต้องคุยเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๗และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
    แต่ถ้าจะนำทั้งสองเรื่องมารวมกันจะกลับกลายเป็นคนละเรื่องเพราะคำว่าพอเพียงสำหรับผู้ศรัทธาและผู้เช่าองค์จตุคามฯ แล้ว มีเท่าไรก็ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้เองนายทุนจึงสร้างจตุคามฯ ออกมาสร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง จนมีคำพูดออกมาว่า "คนเช่าบูชาจตุคามฯ หรือจะรวยเท่าคนสร้างจตุคามฯ"

    [​IMG]
    สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยแม้ว่าจะไม่มีเงินเช่าบูชาจตุคามฯ แต่เพื่อให้อินเทรนด์กับกระแสจตุคามฯ ต่างก็นำเอาพระขนาดใหญ่ออกมาเลี่ยมแขวนคอ อย่างเช่นที่ จ.หนองคาย ประชาชนในจังหวัดได้นำหลวงพ่อพระใสขนาดใหญ่ (ขนาดตั้งหน้ารถ) ไปเลี่ยมแขวนคอ กลายเป็นพระเครื่องอินเทรนด์กับกระแสจตุคามฯ โดยเข้ากับกระแสเศรษฐกิจแบบพอเพียง
    ส่วนที่เข้ากับกระแสเศรษฐกิจแบบพอเพียงยิ่งกว่าต้องยกให้แนวความคิดและการกะทำของนายชำนาญพรมสุรินทร์ อายุ ๔๕ ปีบ้านอยู่ ต.ลานตากฟ้าอ.นครชัยศรีจ.นครปฐมทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้โรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.สามพรานจ.นครปฐมโดยได้นำผ้ายันต์รุ่นมงคลจตุคาม ของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ผืนใหญ่เลี่ยมพลาสติกแขวนคอสร้างความแปลกตาให้ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง
    นายชำนาญบอกว่า สาเหตุที่ตนแขวนผ้ายันต์นั้น ก็สืบเนื่องมาจากว่าความศรัทธาต่อหลวงพ่อวัดไร่ขิงแต่ก็ด้วยความยากจนไม่มีเงินเพียงพอที่จะเช่าพระจึงต้องอาศัยแขวนผ้ายันต์แทน ซึ่งผ้ายันต์รุ่นนี้เป็นผ้ายันต์รุ่นมงคลจตุคาม ซึ่งตนได้รับแจกฟรีจากทางวัด แต่พระเครื่องจตุคามฯ รุ่นมงคลจตุคามนั้น ตนไม่มีเงินเพียงพอที่จะสั่งจองหรือเช่าบูชา เพราะรายได้จากการทำงานเป็นยามวันละ ๒๐๐ บาทต้องเลี้ยงดูครอบครัว และส่งลูกเรียนหนังสืออีก หากนำเงินมาเช่าพระครอบครัวตนก็คงลำบาก
    ตนจึงคิดว่าผ้ายันต์กับพระเครื่องก็คงมีพุทธคุณเหมือนกันจึงได้นำมาเลี่ยมแขวนติดตัวไว้เพื่อป้องกันภัย และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งอาจจะมีบางคนมองตนว่าบ้าหรือสติไม่ดีหรือเปล่า แต่ไม่ใช่หรอกครับ เป็นเพราะเรามีความศรัทธาและเงินน้อยแต่อยากแขวน ไม่สนใจหรอกครับว่าใครจะมองอย่างไร เพราะใจเรามีความมุ่งมั่น และบริสุทธิ์ใจ จะแขวนอะไรก็คงเหมือนๆ กัน ทุกวันนี้ก่อนออกจากบ้านมาทำงานตนก็จะอาราธนาผ้ายันต์ผืนนี้แขวนคอก่อนออกจากบ้านทำให้เรารู้สึกสบายใจทำอะไรก็ราบรื่นดีไปหมด
    อย่างไรก็ตาม"คม ชัด ลึก" ได้สอบถามนายจักรพงษ์ ทิมมณี สมาชิกสภาจังหวัดนครปฐม เขตสามพราน ได้ให้ความเห็นว่า คนที่พบเห็นส่วนใหญ่ที่ตนได้พูดคุยมาเขาไม่ได้มองว่าชายคนนี้เพี้ยนหรือบ้า แต่เขากลับมองตรงกันข้ามว่า ชื่อเสียงและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดไร่ขิง แม้แต่ผ้ายันต์ก็ยังมีคนเห็นคุณค่านำมาแขวนคอ ไม่จำเป็นเฉพาะต้องเป็นพระเครื่องเท่านั้น ทำให้คนทั่วไปเกิดแรงศรัทธาขึ้นมาอีก คราวนี้ไม่ว่าจะเป็นอะไรที่เป็นของหลวงพ่อไร่ขิง คนก็จะสรรหามาเก็บไว้ มาบูชากันไปหมด แม้แต่โบรชัวร์โฆษณา เหรียญหลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นมงคลจตุคาม เดี๋ยวนี้คนยังเก็บไปบูชาก็มีเป็นจำนวนมาก
    ในขณะที่พระพิพัฒน์วินิยาภรณ์(แย้มกิตตินธโร ป.ธ.3 พธ.ม.) เจ้าคณะอำเภอพุทธมณฑลผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงเลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ ๑ กล่าวเสริมว่าตนทราบว่ามีประชาชนได้นำเอาผ้ายันต์รุ่นมงคลจตุคามมาเลี่ยมกรอบแล้วนำเอามาห้อยคอ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากแรงศรัทธาของประชาชนที่นับถือและศรัทธาในองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งไม่จำเป็นว่าการห้อยคอจะต้องเป็นวัตถุมงคล หรือพระเครื่องเสมอไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าเขาศรัทธาอะไรมากกว่า ทุกอย่างที่เป็นของหลวงพ่อไร่ขิง มีพุทธคุณทั้งนั้น ไม่ว่าใครจะแขวนอะไรขอให้มีจิตใจตั้งอยู่ในความดีเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

    จะแขวนสักกี่องค์ดี
    "จตุคามฯ แขวนองค์เดียวพอเพียงแล้ว แต่ถ้ามีกำลังทรัพย์มากเกินพอไม่เดือดร้อนอะไรจะเช่ามาบูชาเพื่อสะสมก็ไม่มีใครว่าอะไร" นี่คือคำแนะนำของนายธนเดชรักษ์ชูชีพ หรือ "ธนเดช จตุคามฯ" แฟนพันธุ์แท้จตุคามฯปี ๒๐๐๗
    ทั้งนี้นายธนาเดชได้ฝากแง่คิดสำหรับนักเล่นตลอดจนนักสะสมองค์พ่อจตุคามฯไว้ ๔ข้อ คือ ๑.ให้พิจารณาดูจากทีมผู้จัดสร้างมีประวัติเป็นที่ยอมรับตลอดจนการจัดพิธีกรรมก็ดูจะได้มาตรฐานในทุกขั้นตอน เจตนาการสร้างที่ต้องสมเหตุสมผล ไม่พร่ำเพรื่อจนเกินไป ๒.พิจารณาดูจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนองค์กรที่สร้างคุณประโยชน์ต่อ แผ่นดินหรือประเทศชาติเป็นหลัก ด้วยหน่วยงานดังกล่าวมักมีระบบการจัดการทั้งมีการตรวจสอบที่ละเอียดซับซ้อน
    ๓.พิจารณาศิลปะ รูปแบบ พิมพ์ทรงที่สอดคล้องเข้ากับยุคสมัย (ศรีวิชัย) ต้องไม่ล้อหรือก๊อบปี้พิมพ์กันจนเอียน และ ๔.พยายามเลี่ยงผู้สร้างที่ใช้ภาพกราฟฟิกเป็นจุดขายให้ดูจากพิมพ์ทรงของจริง เพราะช่างแกะพิมพ์จำนวนมากในความเป็นจริงยังไม่สามารถตอบสนอง จินตนาการจากภาพกราฟฟิกได้


    "จตุคามฯ เป็นองค์เทพ รุ่นไหนดีไม่ดีไม่ได้อยู่ที่ท่าน หากอยู่ที่ผู้จัดสร้าง นักสร้างบางคนสร้างแล้วสร้างอีกสร้างไม่รู้จักพอ ผมไม่เชื่อหรอกว่าคนคนหนึ่งจะมีความศรัทธาต่อองค์จตุคามฯ อย่างแท้จริงโดยไม่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ผมเชื่อว่าผู้สร้างบางคนจะนึกถึงผลประโยชน์เป็นอันดับแรก เพื่อความสบายใจว่าจตุคามฯ จากวัดดีที่สุดอย่างน้อยก็ได้เห็นว่าเงินเข้าวัดไม่ได้เข้ากระเป๋านายทุน" นายธนเดชกล่าวทิ้งท้าย


    เรื่องและภาพ พีรพัฒน์-พรเพ็ญ : นครปฐม



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    --------------
    ทีมา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2007/08/15/j001_131134.php?news_id=131134
     

แชร์หน้านี้

Loading...