วิธีรักษาพระไตรสรณคมน์ไม่ให้ขาดและไม่ให้เศร้าหมอง จากตําราหลวงปู่สิงห์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 16 เมษายน 2010.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [​IMG]

    พระไตรสรณคมน์

    วิธีปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ เป็นพุทธมามกะ
    คือ เป็นอุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธสาสนาตลอดชีพ
    คำปฏิญาณตนถึงสรณะ เมื่อน้อมตนเข้ามานั่งเฉพาะหน้าพระสงฆ์ทั้งปวงแล้วถวายเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
    กราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประณมมือ เปล่งวาจาว่า
    อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ ภควา, พุทธํ ภควนตํ อภิวาเทมิ. (กราบ ๓ หน)

    สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ.. (กราบ ๓ หน)
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ.. (กราบ ๓ หน)
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ จบ)
    ว่าองค์พระไตรสรณาคมน์
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.

    ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.
    ปฏิญาณตนว่า
    เอสาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.

    อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
    ทุติยมฺปาหํ ภนเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.
    อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
    ตติยมฺปาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ.
    อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ.
    แปลว่า
    ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปริพพานนานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม

    และพระอริยสงฆ์สาวก ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ที่นับถือของข้าพเจ้า ตั้งแต่
    วันนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าสิ้นชีวิตของพระสงฆ์ทั้งปวงจงทรงจำไว้ ซึ่งข้าพเจ้าว่า
    เป็นอุบาสก (อุบาสิกา) ในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้แลฯ
    เจริญพุทธคุณ
    อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู, อนุตตโร

    ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ.
    (กราบลง หมอบอยู่ว่า)
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ, พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหาตุ อจฺจยนฺตํ,

    กาลนตเร สํวริตุ◦ ว พุทฺเธ
    (เงยขึ้น) เจริญธรรมคุณ
    สวากฺขาโต ภควตา ธมโม,สนฺทิฎฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก,โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ

    เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ.
    (กราบลง หมอบอยู่ว่า)
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ,พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหาตุ อจฺจยนฺตํ,

    กาลนตเร สํวริตุ◦ ว ธมฺเม.
    (เงยขึ้น) เจริญสังฆคุณ
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สวกสงฺโฆ, ญายปฏิปนฺโน

    ภควโต สาวกสงฺโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ
    อฎฺฐปุริสปุคฺคลา, เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย
    อญฺชลีกรณีโย,อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ
    (กราบลง หมอบอยู่ว่า)
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ,พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหาตุ อจฺจยนฺตํ,

    กาลนตเร สํวริตุ◦ ว สงเฆ.
    (เงยขึ้น กราบ ๓ หน)
    นั่งพับเพียบ ประณมมือ ฟังคำสั่งสอนในระเบียบ วิธีรักษาและปฏิบัติพระไตรสรณคมน์ต่อไป
    ผู้ที่ได้ปฏิญาณตนถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท ชายเป็นอุบาสก หญิงเป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติพระ พุทธศาสนาสืบต่อไป



    วิธีรักษาพระไตรสรณคมน์ไม่ให้ขาดและไม่ให้เศร้าหมอง ดังนี้คือ :-

    ๑. เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเคารพ ๖ ประการ คือ เคารพในพระพุทธเจ้า ๑ เคารพ ในพระธรรม ๑ เคารพในพระอริยสงฆ์สาวก ๑ เคารพในความไม่ประมาท ๑ เคารพในไตรสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๑ เคารพในปฏิสันถารการต้อนรับ ๑ ต้องเป็นผู้มีความเชื่อ ความเลื่อมใส นับถือพระรัตนาตรัยเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ของตนจริงๆ ถ้าประมาทเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
    ๒. เว้นจากการนับถือพระภูมิต่างๆ คือ ไม่นับถือภูตผีปีศาจ พระภูมิเจ้าที่ เทวบุตร เทวดา มนต์ คาถา วิชาต่างๆ ต่อไป ถ้านับถือเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อ นั้น
    ๓. ไม่เข้ารีตเดียรถีย์ นิครณฐ์ คือไม่นับถือลัทธิ วิธี ศาสนาอื่น ภายนอกพระพุทธ ศาสนามาเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลีกของตนสืบต่อไป ถ้านับถือเข้ารีตเดียรถีย์เมื่อไร ก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
    ๔.ไม่นับถือลัทธิศาสนาพราหมณ์ คือไม่ดูไม้ดูหมอ แต่งแก้แต่งบูชา เสียเคราะห์เสีย ขวัญ เป็นต้น ถ้านับถือเมื่อไรก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น
    ๕. เป็นผู้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เช่น เชื่อว่า ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ดีเป็นต้น ตลอดจน เชื่อความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ข้อนี้ต้องเป็นผู้มี สมาธิเสมอ ถ้าขาดสมาธิเมื่อไรก็ขาดศรัทธาความเชื่อมั่นนั้น ถ้าขาดศรัทธาความเชื่อเมื่อ ไรก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่องนั้น


    วิธีปฏิบัติพระไตรสรณคมน์

    ท่านสอนให้ปฏิบัติใจของตนเอง เพราะคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามนี้สำเร็จด้วยใจ ล้วนเป็นคุณสมบัติของใจทั้งนั้น ท่านจึงสอนให้ ปฏิบัติใจของตนเอง ให้เป็นคนหมั่น คนขยัน ไหว้พระทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน

    ปฐมํ ยามํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธติ

    เวลาก่อนเข้านอน ตอนหัวค่ำให้เดินจงกรม แล้วทำพิธีไหว้พระ เจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตสงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อนเข้านอน

    อฑฺฒรตฺตํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธต

    เวลาเที่ยงคืน นอนตื่นขึ้นเป็นเวลาที่สงบสงัดดี ให้เดินจงกรม ทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตใจให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ จึงนอนต่อไปอีก

    ปจฺฉิมํ ยามํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธตฯ

    เวลาปัจจุสมัย จวนใกล้รุ่ง ให้ลุกขึ้นแต่เช้า ล้างหน้า เช็ดหน้าเรียบร้อยแล้ว ทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ แล้วเดินจงกรมต่อไปอีกจนแจ้ง เป็นวันใหม่ จึงประกอบการงานต่อไป

    หนังสือพระไตรสรณคมน์และสมาธิวิธี
    พระอาจารย์สิงห์ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เรียบเรียง
    อาราธนาให้เรียบเรียงไว้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๗๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2010
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]

    ขออนุโมทนาค่ะ

     

แชร์หน้านี้

Loading...