วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 3 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td> <table width="100%"> <tbody><tr><td>
    วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้ง อยู่ที่ถนนวัดสุปัฏน์ อ. เมือง จ.อุบลราชธานี ( ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งไหลผ่านทางทิศใต้ของตัวเมืองอุบลราชธานี ) มีเนื้อที่ 21 ไร่ 38 ตารางวา เป็นวัดธรรมยุติวัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานะเป็นวัดอารามหลวงชั้นตรี วัดสุปัฏนาราม สร้างในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้เริ่มสร้างวัดในปี พ.ศ.2393 และสร้างเสร็จ พ.ศ.2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดสุปัฏนาราม อันหมายถึง วัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเป็น ท่าเรือที่ดี " ซึ่งสภาพของที่ตั้งวัดขณะนั้นเป็นที่เงียบสงัด เหมาะที่จะบำเพ็ญศาสนกิจ สะดวกในการออกบิณฑบาต ที่ไม่ไกลอยู่ติดกับฝั่งลำน้ำมูล และเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว จงไปอาธนา ท่านพนฺธุโล (ดี) มาครองวัดสุปัฏนาราม และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ ดังนี้
    1. พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 10 ชั่ง ( 800 ) บาท
    2. ตั้งนิตยภัตแก่เจ้าอาวาส เดือนละ 8 บาท
    3. จัดให้มีเลกวัด ( คนทำงานประจำวัด 60 คน)

    สิ่งสำคัญภายในวัดสุปัฎนารามวรวิหาร
    <table border="0" width="100%"> <tbody> <tr> <td> พระอุโบสถวัดสุปัฏรารามวรวิหาร ตัวพระอุโบสถที่สร้างขึ้นแต่ดั่งเดิม สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ซึ่งพระอุโบสถหลังเดิมนั้น มีความยาว 11 วา 2 ศอก กว้าง 8 ในขณะนั้น เสาไม้แก่นก่ออิฐโอกเสา หลังคาลดเป็น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องไม้ มีช่อฟ้าใบระกาประดับกระจก หน้าบันด้านตะวันออกสลักลายเครือ ตะวันตกสลักลายดอกไม้ พื้นถมดินปูด้วยกระเบื้องดินเผา และต่อมาพระอุโบสถหลังนี้ก็ได้ผุพังลง อีกทั้งบริเวณด้านหน้านั้นแคบ ไม่พอแก่กองทหาร กองตำรวจ กองลุกเสือ ที่ตั้งแถวในการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี </td> <td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    ต่อมาเจ้าอาวาสรูปที่ 7 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระพระราชมุณี เป็นเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี จึงได้นิมนต์พระมหาเถระ ข้าราชการ คหบดี หลายฝ่ายได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน และเห็นควรรื้อถอนพระอุโบสถหลังเก่าออก ปลูกสร้างใหม่ทดแทน ให้เกิดความมั่นคงถาวร โดยมีเหตุผล 2 ประการ คือ
    1.ให้พ้นทาง หากมีการตัดถนนในอนาคต
    2. ให้พ้นตลิ่งฝั่งแม่น้ำมูล โดยให้หันพระอุโบสถลงสู่แม่น้ำ (ทิศใต้)

    ซึ่งพระอุโบสถมีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูง 22 เมตร ผู้อำนวยการสร้าง ได้แก่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สถาปนิกผู้ออกแบบ คือหลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธ์) ซึ่งเป็นช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบ โดยเริ่มเตรียมวัสดุก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2460
    วิธีการก่อสร้าง ได้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสขึ้น โดยมีพระราชมุณีเจ้าคณะมณฑลเป็นประธาน หาทุนโดยเจ้าคณะมณฑลออกไปแสดงธรรมตามท้องที่ตำบลต่างๆ และให้สมุหเทศาภิบาล ซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจฝ่ายปกครอง สั่งให้ราษฎรไปฟัง และสละเงินและปัจจัยต่างๆ บูชากัณฑ์เทศน์ ลงบัญชีรายได้ไว้เป็นตำบลๆไป
    การก่อสร้างอิฐโบกปูน ครั้งแรกได้จ้างช่างจีนและช่างญวน มาทำเป็นตัวอย่าง แล้วคัดเลือกผู้สนใจร่วมทำ พอสามารถทำเองได้ ก็เลิกจ้างช่างชาวต่างชาติ ตอนแรกการใช้ปูนได้นำมาจากจังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ค่อนข้างไกลและราคาแพง ต่อมาได้สำรวจพบหินปูนชนิดเดียวกัน ในเขตตำบลตาลสุม (อำเภอตาลสุมในปัจจุบัน) อำเภอพิบูลมังสาหาร ในสมัยนั้น ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำมูลสะดวกกว่า จึงให้ราษฎรทำปูนขาย ปูนที่ทำขึ้นแม้จะไม่ขาวนักแต่คุณภาพเท่ากับซีเมนต์
    เนื่องจากการก่อสร้าง จะต้องสิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์มากมาย และสมัยนั้น ยังไม่มีผู้ที่ทำไว้จำหน่ายเหมือนปัจจุบัน จึงได้ตั้งโรงงานช่างขึ้น แล้วสอนแบบก่อสร้าง สอนวิชาปั้นและก่อเตาเผาอิฐ สอนวิธีสีข้าว โดยวัดเป็นผู้ควบคุมดูแล เจ้าหน้าที่บ้านเมืองคือสมุหเทศบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชการให้การสนับสนุนจน ได้รับความสำเร็จในที่สุด และการตั้งโรงงานนี้ นับว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เพราะเป็นจุดเริ่มต้น ที่ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ และประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมา การก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2479 สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ 70,000 บาท
    เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จุดประสงค์แรกนั้นก็คือ ต้องการให้เป็นที่ประดิษฐานของพระสัพพัญญูเจ้า ซึ่งเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม และเนื่องจากพระอุโบสถหลังนี้ ค่อนข้างกว้างใหญ่ จึงใช้ประโยชน์ในการประกอบพุทธศาสนพิธี ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมของสงฆ์โดยตรง หรือพิธีกรรมที่มีพุทธศาสนิกชนร่วมด้วยก็ตาม
    ลักษณะของพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม เป็นอาคารขนาดใหญ่ กว้าง 20 เมตร ยาว 34 เมตร สูงจากพื้นถึงช่อฟ้า 22 เมตร สร้างคล้ายทรงพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 (อิทธิพลจีน) คือตัวอาคารมีชาลา (ระเบียง) เสานางจรัล(เสานางเรียง) ทรงสี่เหลี่ยมล้อมรอบ ระหว่างเสาก่ออิฐเป็นรูปโค้งเรือนแก้ว (โค้งแหลมแบบโกธิคของฝรั่งเศส) ตัวอาคารไม่ทำหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูแทน โดยรอบทางด้านหน้าและด้านข้าง หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวมีพะไร(ปีกนก) 2 ข้าง คลุมชาลา หน้าจั่วเรียบเต็มเสมอเสาด้านหน้า (คล้ายโบสถ์อิทธิพลจีนสมัยรัชกาลที่ 3 ) มีลายปูนปั้น เป็นลายไทยผีมือช่างญวน (เป็นลายไทยที่ไม่มีเอกลักษณ์ของลายไทยอยู่เลย ตัวลายรีบ ช่องไฟกว้าง ไม่ได้สัดส่วน) ช่อฟ้ารวยลำยองเป็นรูปพญานาคแบบญวน เชิงบันไดทั้ง 4 ด้าน ปั้นปูนรูปสิงโตหมอบยิ้ม อยู่มุมละ 1 ตัว ซึ่งแตกตางไปจากโบสถ์อื่นๆ ที่นิยมทำพญานาคเฝ้าบันได ส่วนที่หน้าพระอุโบสถ มีจารึกโบราณสมัยขอมหลายชิ้น เช่น จารึกถ้ำหมาใน ทับหลัง เฉพาะทับหลัง กล่าวกันว่า เป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 12-13)
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...