วัดสิงห์......วัดดีศรีเมืองสิงห์

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 28 กันยายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>วัดสิงห์......วัดดีศรีเมืองสิงห์</TD></TR><TR><TD vAlign=top>27 กันยายน 2550 20:46 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] วัดสิงห์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี บนเนื้อที่ ๒๗ ไร่เศษ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตก หลังวัดติดกับถนนเลียบคันคลองชลประทานสายชัยนาท-อ่างทอง


    วัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำนานการสร้าง วัดสิงห์ มีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาว่ามีพี่น้อง ๒ คนเป็นชายทั้งคู่ คนพี่ชื่อ สิงห์ คนน้องชื่อ ช้าง
    ตามประวัติพี่น้องทั้ง ๒ คนนี้เป็นผู้มีอันจะกิน จึงมีดำริสร้างวัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนากันคนละวัด อยู่ใกล้ๆ กัน นายสิงห์สร้างวัดได้สำเร็จสมความมุ่งหมาย และตั้งชื่อว่า วัดสิงห์ ส่วนนายช้างมีบุญญาธิการน้อย จึงสร้างวัดไม่สำเร็จ ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏซากอุโบสถสถิตให้เห็นอยู่ด้านทิศเหนือของวัดสิงห์
    วัดสิงห์ ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง๒ ชุมชน คือ ชุมชนบ้านมอญ อยู่ด้านทิศใต้ และ ชุมชนบ้านจีน อยู่ด้านทิศเหนือ ชาวบ้านทั้ง ๒ ชุมชนนี้ต่างก็เป็นพุทธศาสนิกชน จึงใช้ วัดสิงห์เป็นศูนย์กลางในการประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเช่น ทำบุญตักบาตร บวชพระ ทำให้ชาวบ้านทั้ง ๒ ชุมชนต่างอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
    เจ้าอาวาส วัดสิงห์ ที่ได้รับการบันทึกไว้มีจำนวน๑๑ รูป คือ ๑. พระอธิการผึ่ง ๒. พระอธิการไข่ ๓. พระอธิการคำ ๔.พระอธิการอู๋ ๕.พระอธิการยอด ๖.พระอธิการสละ ๗. พระอธิการจรูญ ๘.พระอธิการทองหล่อ ๙.พระครูจับ ๑๐. พระอธิการฉวี ๑๑. พระอธิการสว่าง เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
    สำหรับพระคณาจารย์ของ วัดสิงห์ ในอดีตที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และไสยเวทเป็นอย่างสูง คือ พระอธิการคำ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ โดยท่านเป็นศิษย์ของ หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้องอ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าของตำรับสักยันต์ บุตร-ลบ(ลูกของหนุมาน ในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์) อันโด่งดัง
    ยันต์บุตร-ลบนี้นิยมสักตรงสีข้างของลำตัวมีพุทธคุณยอดเยี่ยม เชื่อถือได้ในด้านคงกระพันชาตรี และมหาอุด
    พระอธิการคำศึกษาวิชาสักยันต์บุตร-ลบจาก หลวงพ่ออ่ำ จนสำเร็จสามารถสักยันต์บุตร-ลบให้ศิษย์ได้เข้มขลังไม่แพ้อาจารย์
    ส่วนวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อลือชาของ พระอธิการคำ คือ ผ้ายันต์สิงห์เดี่ยว ซึ่งมีพุทธคุณยอดเยี่ยมด้านมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และมหาอุด
    พระอธิการคำ เป็นอาจารย์ด้านไสยเวทองค์หนึ่งของ หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในวงการพระเครื่อง โดย หลวงพ่อซวงได้มาขอถ่ายทอดวิชาการทำผ้ายันต์และวิชาสักยันต์บุตร-ลบจาก พระอธิการคำ
    สำหรับผ้ายันต์ของ หลวงพ่อซวง นั้นจัดสร้างเป็น ผ้ายันต์สิงห์คู่ เพื่อให้แตกต่างไปจากของ พระอธิการคำ ผู้เป็นอาจารย์
    วัดสิงห์ มีอาคารเสนาสนะต่างๆหลายอย่าง ที่สำคัญคือวิหารมหาอุด (มีทางเข้าออกทางเดียว) ซึ่งในอดีตใช้เป็นสถานที่สำหรับสักยันต์ และปลุกเสกวัตถุมงคล
    สำหรับปูชนียวัตถุอื่นๆก็มี พระประธานในอุโบสถ เนื้อทองเหลืองปางสมาธิ พระพุทธรูปปางต่างๆ ทั้งสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์บนหอสวดมนต์ เจดีย์ ๒ องค์ สมัยอยุธยา
    นอกจากนี้ยังมี พระพุทธฉาย ประดิษฐานอยู่ที่หน้าอุโบสถ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสมาก (เคยลงประวัติใน นสพ."คม ชัด ลึก" ฉบับวันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐)
    ในด้านความศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธฉาย ท่านเคยแสดงอภินิหารถ่ายภาพไม่ติด เมื่อคราวเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาถ่ายภาพท่าน เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโบราณปูชนียวัตถุ เนื่องจากไม่ขออนุญาตท่านก่อน ต่อมาภายหลังต้องจุดธูปบอกกล่าว ขออนุญาตท่านก่อน จึงสามารถถ่ายภาพได้
    ปัจจุบันวัดสิงห์มี พระอธิการสว่างอภินันโท อายุ ๗๐ ปี เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านทั่วไป
    ในช่วงระหว่างพรรษาปีนี้ ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น ๒ ประเภท คือ พระพิมพ์พระพุทธฉายเนื้อผงพุทธคุณ และ ผ้ายันต์สิงห์เดี่ยว ตามตำรับของวัดสิงห์ ท่านบอกว่า จะเอาไว้แจกตอนงานทอดกฐินสามัคคีของวัดสิงห์ ในวันอาทิตย์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ นี้
    พุทธศาสนิกชนที่มีความประสงค์จะเดินทางไป วัดสิงห์ ถ้าอยู่ที่กรุงเทพฯ และมีรถยนต์ส่วนตัว สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ แยกเข้าถนนหมายเลข ๓๒ (ถนนสายเอเชีย) ผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.อ่างทอง ก่อนจะเข้าเขต จ.สิงห์บุรี เล็กน้อย (กม.๑๑๙) ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณ วัดไชโยวรวิหาร(วัดหลวงพ่อโต มหาพุทธพิมพ์)
    จากนั้นให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคันคลองชลประทาน สายชัยนาท-อ่างทอง อีก ๔ กิโลเมตรก็จะถึง วัดสิงห์ ซึ่งอยู่ทางขวามือ(รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงวัดสิงห์๑๒๕ กิโลเมตร) ถ้าหากไปไม่ถูก สอบถามเส้นทางได้ที่โทร. ๐-๓๖๕๙-๘๖๘๕,๐๘-๗๑๑๘,๔๔๒๒
    สำหรับท่านที่ได้เดินทางมากราบไหว้ขอพร พระพุทธฉายที่วัดสิงห์เป็นที่เรียบร้อยแล้วขากลับถ้ามีโอกาส ขอแนะนำให้แวะรับประทานอาหารที่ ร้านกุ้งเผาทองชุบ (โทร.๐-๓๖๕๙-๙๒๕๖) ซึ่งอยู่ตรงข้ามคนละฝั่งแม่น้ำกับ วัดสิงห์ เยื้องไปทางทิศเหนือเล็กน้อย
    ร้านนี้ม.ร.ว.ถนัดศรีสวัสดิวัตน์ เป็นขาประจำและได้ให้ป้าย "เชลล์ชวนชิม" ไว้นานแล้ว เรื่องรสชาติอาหารจึงไม่ต้องห่วง ระดับ ๕ ดาวทั้งนั้น โดยเฉพาะเมนูที่ขึ้นชื่อที่สุดของร้านนี้คือ กุ้งน้ำจืดเผาตัวโต พร้อมกับน้ำจิ้มรสเด็ด (กุ้งแม่น้ำจริงๆ ไม่ใช่กุ้งเลี้ยง) สุดยอดอร่อยเหนือคำบรรยาย ไปไหว้พระทั้งที...อิ่มทั้งบุญอิ่มทั้งท้องนับเป็นชีวิตที่น่าสุขเกษมเปรมปรีดิ์จริงๆ
    ไพศาล ถิระศุภะ

    -->[​IMG]
    วัดสิงห์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี บนเนื้อที่ ๒๗ ไร่เศษ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตก หลังวัดติดกับถนนเลียบคันคลองชลประทานสายชัยนาท-อ่างทอง

    วัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำนานการสร้าง วัดสิงห์ มีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาว่ามีพี่น้อง ๒ คนเป็นชายทั้งคู่ คนพี่ชื่อ สิงห์ คนน้องชื่อ ช้าง

    [​IMG]
    ตามประวัติพี่น้องทั้ง ๒ คนนี้เป็นผู้มีอันจะกิน จึงมีดำริสร้างวัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนากันคนละวัด อยู่ใกล้ๆ กัน นายสิงห์สร้างวัดได้สำเร็จสมความมุ่งหมาย และตั้งชื่อว่า วัดสิงห์ ส่วนนายช้างมีบุญญาธิการน้อย จึงสร้างวัดไม่สำเร็จ ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏซากอุโบสถสถิตให้เห็นอยู่ด้านทิศเหนือของวัดสิงห์
    วัดสิงห์ ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง๒ ชุมชน คือ ชุมชนบ้านมอญ อยู่ด้านทิศใต้ และ ชุมชนบ้านจีน อยู่ด้านทิศเหนือ ชาวบ้านทั้ง ๒ ชุมชนนี้ต่างก็เป็นพุทธศาสนิกชน จึงใช้ วัดสิงห์เป็นศูนย์กลางในการประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเช่น ทำบุญตักบาตร บวชพระ ทำให้ชาวบ้านทั้ง ๒ ชุมชนต่างอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
    เจ้าอาวาส วัดสิงห์ ที่ได้รับการบันทึกไว้มีจำนวน๑๑ รูป คือ ๑. พระอธิการผึ่ง ๒. พระอธิการไข่ ๓. พระอธิการคำ ๔.พระอธิการอู๋ ๕.พระอธิการยอด ๖.พระอธิการสละ ๗. พระอธิการจรูญ ๘.พระอธิการทองหล่อ ๙.พระครูจับ ๑๐. พระอธิการฉวี ๑๑. พระอธิการสว่าง เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    [​IMG]
    สำหรับพระคณาจารย์ของ วัดสิงห์ ในอดีตที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน และไสยเวทเป็นอย่างสูง คือ พระอธิการคำ เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ โดยท่านเป็นศิษย์ของ หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้องอ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าของตำรับสักยันต์ บุตร-ลบ(ลูกของหนุมาน ในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์) อันโด่งดัง
    ยันต์บุตร-ลบนี้นิยมสักตรงสีข้างของลำตัวมีพุทธคุณยอดเยี่ยม เชื่อถือได้ในด้านคงกระพันชาตรี และมหาอุด
    พระอธิการคำศึกษาวิชาสักยันต์บุตร-ลบจาก หลวงพ่ออ่ำ จนสำเร็จสามารถสักยันต์บุตร-ลบให้ศิษย์ได้เข้มขลังไม่แพ้อาจารย์
    ส่วนวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อลือชาของ พระอธิการคำ คือ ผ้ายันต์สิงห์เดี่ยว ซึ่งมีพุทธคุณยอดเยี่ยมด้านมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และมหาอุด
    พระอธิการคำ เป็นอาจารย์ด้านไสยเวทองค์หนึ่งของ หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในวงการพระเครื่อง โดย หลวงพ่อซวงได้มาขอถ่ายทอดวิชาการทำผ้ายันต์และวิชาสักยันต์บุตร-ลบจาก พระอธิการคำ
    สำหรับผ้ายันต์ของ หลวงพ่อซวง นั้นจัดสร้างเป็น ผ้ายันต์สิงห์คู่ เพื่อให้แตกต่างไปจากของ พระอธิการคำ ผู้เป็นอาจารย์
    วัดสิงห์ มีอาคารเสนาสนะต่างๆหลายอย่าง ที่สำคัญคือวิหารมหาอุด (มีทางเข้าออกทางเดียว) ซึ่งในอดีตใช้เป็นสถานที่สำหรับสักยันต์ และปลุกเสกวัตถุมงคล
    สำหรับปูชนียวัตถุอื่นๆก็มี พระประธานในอุโบสถ เนื้อทองเหลืองปางสมาธิ พระพุทธรูปปางต่างๆ ทั้งสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์บนหอสวดมนต์ เจดีย์ ๒ องค์ สมัยอยุธยา
    นอกจากนี้ยังมี พระพุทธฉาย ประดิษฐานอยู่ที่หน้าอุโบสถ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสมาก (เคยลงประวัติใน นสพ."คม ชัด ลึก" ฉบับวันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐)
    ในด้านความศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธฉาย ท่านเคยแสดงอภินิหารถ่ายภาพไม่ติด เมื่อคราวเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาถ่ายภาพท่าน เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโบราณปูชนียวัตถุ เนื่องจากไม่ขออนุญาตท่านก่อน ต่อมาภายหลังต้องจุดธูปบอกกล่าว ขออนุญาตท่านก่อน จึงสามารถถ่ายภาพได้
    ปัจจุบันวัดสิงห์มี พระอธิการสว่างอภินันโท อายุ ๗๐ ปี เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นผู้มีเมตตาธรรมสูง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านทั่วไป
    ในช่วงระหว่างพรรษาปีนี้ ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น ๒ ประเภท คือ พระพิมพ์พระพุทธฉายเนื้อผงพุทธคุณ และ ผ้ายันต์สิงห์เดี่ยว ตามตำรับของวัดสิงห์ ท่านบอกว่า จะเอาไว้แจกตอนงานทอดกฐินสามัคคีของวัดสิงห์ ในวันอาทิตย์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ นี้
    พุทธศาสนิกชนที่มีความประสงค์จะเดินทางไป วัดสิงห์ ถ้าอยู่ที่กรุงเทพฯ และมีรถยนต์ส่วนตัว สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ แยกเข้าถนนหมายเลข ๓๒ (ถนนสายเอเชีย) ผ่าน จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.อ่างทอง ก่อนจะเข้าเขต จ.สิงห์บุรี เล็กน้อย (กม.๑๑๙) ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณ วัดไชโยวรวิหาร(วัดหลวงพ่อโต มหาพุทธพิมพ์)
    จากนั้นให้เลี้ยวขวาไปตามถนนเลียบคันคลองชลประทาน สายชัยนาท-อ่างทอง อีก ๔ กิโลเมตรก็จะถึง วัดสิงห์ ซึ่งอยู่ทางขวามือ(รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงวัดสิงห์๑๒๕ กิโลเมตร) ถ้าหากไปไม่ถูก สอบถามเส้นทางได้ที่โทร. ๐-๓๖๕๙-๘๖๘๕,๐๘-๗๑๑๘,๔๔๒๒
    สำหรับท่านที่ได้เดินทางมากราบไหว้ขอพร พระพุทธฉายที่วัดสิงห์เป็นที่เรียบร้อยแล้วขากลับถ้ามีโอกาส ขอแนะนำให้แวะรับประทานอาหารที่ ร้านกุ้งเผาทองชุบ (โทร.๐-๓๖๕๙-๙๒๕๖) ซึ่งอยู่ตรงข้ามคนละฝั่งแม่น้ำกับ วัดสิงห์ เยื้องไปทางทิศเหนือเล็กน้อย
    ร้านนี้ม.ร.ว.ถนัดศรีสวัสดิวัตน์ เป็นขาประจำและได้ให้ป้าย "เชลล์ชวนชิม" ไว้นานแล้ว เรื่องรสชาติอาหารจึงไม่ต้องห่วง ระดับ ๕ ดาวทั้งนั้น โดยเฉพาะเมนูที่ขึ้นชื่อที่สุดของร้านนี้คือ กุ้งน้ำจืดเผาตัวโต พร้อมกับน้ำจิ้มรสเด็ด (กุ้งแม่น้ำจริงๆ ไม่ใช่กุ้งเลี้ยง) สุดยอดอร่อยเหนือคำบรรยาย ไปไหว้พระทั้งที...อิ่มทั้งบุญอิ่มทั้งท้องนับเป็นชีวิตที่น่าสุขเกษมเปรมปรีดิ์จริงๆ


    ไพศาล ถิระศุภะ
    <TABLE align=center><TBODY></TBODY></TABLE>​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ----------
    Ref.
    http://www.komchadluek.net/2007/09/28/j001_157068.php?news_id=157068
     

แชร์หน้านี้

Loading...