วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดใต้เทิง

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 3 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [​IMG]
    วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ (วัดใต้เทิง) หรือ วัดใต้ เป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันมีเจ้าคุณฯพระสิริธรรมวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธรรมยุต) เป็นจ้าอาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ตั้งวัด 9 ไร่ 40 – 3 – 10 วา ลักษณะพื้นดินราบสูง พื้น 3 ชั้น อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำมูล ทางด้านทิศตะวันออก มีสำนกงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 ภาค 2 อุบลราชธานี และโรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล เป็นพื้นที่ติดต่อกับวัด
    <table align="left" border="0" width="10%"> <tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>
    การริเริ่มก่อสร้างวัดนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ซึ่งวัดใต้เทิง ได้จดทะเบียนเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2322 และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2441 โดยมีท้าวสิทธิสาร กับ เพี้ยเมืองแสนและราษฎร ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสูงคามสีมา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ 103/378 (ตราประทับอักษรขอม) ว่า ซึ่งมีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่คนทั้งปวงว่า “ที่เขตอุโบสถวัดใต้แขวงเมืองอุบลราชธานี โดยยาว 12 วา 1 ศอก กว้าง 7 วา 1 ศอก ท้าวสิสธิสารกับเพี้ยเมืองแสนและราษฎรไก้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นวิสุ งคามสีมา พระเจ้าทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว โปรดให้กรรมการปักคำกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศนั้นให้เป็นที่วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งตากหาก จากพระราชอาณาเขต เป็นที่เศษสำหรับพระสงฆ์มาจากทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรม มีอุโบสถกรรม เป็นต้น ประกาศพระราชมานตั้งแต่ วันที่ 29 พฤศจิกายน รศ.117 พระพุทธศาสนกาล 2441 พรรษา เป็นวันที่ 10976 ในรัชกาลปัจจุบัน”
    เมื่อ พ.ศ.2509-2519 ได้ก่อสร้างโบสถ์และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา งวดที่ 5 ลำดับที่ 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 196 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2522 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2522 กำหนดเขตกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2522
    ถ้าสังเกตุแล้ว จะเห็นได้ว่า แต่ละวัดจะมีบริเวณต่อกัน หรือไม่ก็ไม่ห่างกันนัก เช่น วัดใต้ท่าติดกับวัดใต้เทิง วัดเลียบโดยมีถนนกั้นกลางเท่านั้น และห่างไปไม่ไกล ก็ติดกับวัดกลาง ถัดไปก็เป็นวัดทุ่งศรีเมือง วัดมณีวนาราม วัดเหนือท่า(คืออนามัย 7 ) และวัดอื่นๆอีกหลายแห่งใ นตัวจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาของบรรพชนในอดีต
    ความหมายชื่อวัดใต้ (วัดใต้เทิง วัดใต้ท่า) เรื่องเดิมนั้นวัดใต้มีอยู่ 2 วัด คือวัดใต้ท่า (วัดร้าง)ตั้งอยู่ริมน้ำมูล หมายถึงวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ติดกับแม่น้ำมูล ภาษาอีสานเรียกว่า “ท่าน้ำ” หมายถึงทางลงแม่น้ำ จึงรียกว่าวัดใต้ท่า คำว่า ใต้ท่า หมายถึง วัดที่ อยู่ใกล้ทางลงแม่น้ำมูล หรือข้างล่าง อยู่ทางทิศใต้ท่าน้ำ, (คำว่าเทิง เป็นสำเนียงภาษาพื้นบ้านทางภาคอีสาน โดยมีความหมายว่า ที่สูง ข้างบนหรืออยู่สูง อยู่เหนือขึ้นไป ดังนั้น วัดใต้เทิง จึงมีความหมายว่า วัดที่ตั้งอยู่เหนือขึ้นไป ถัดขึ้นไปจากวัดใต้ท่าที่อยู่ใกล้ริมแม่น้ำมูล
     

แชร์หน้านี้

Loading...