ลมหายใจ ก็คือเวทนาใช่หรือไม่?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nongnewinbkk, 21 พฤศจิกายน 2019.

  1. nongnewinbkk

    nongnewinbkk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2013
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +239
    พิจารณาว่า ทุกอิริยาบถ มีเวทนาอยู่ กายเป็นกองทุกข์ กายมีเวทนาอยู่ เวลานั่งสมาธิเห็นกายมีเวทนา ที่จริงทุกอิริยาบถของกายคือเวทนาใช่หรือไม่? แม้แต่ลมหายใจเข้าออกก็คือเวทนา เมื่อก่อนไม่เคยรู้สึก แต่พอมาทำสมาธิ กลับรู้สึกว่า ลมหายใจก็คือทุกขเวทนาอย่างหนึ่ง นี่เข้าใจผิดหรือถูกกันแน่ ช่วยชี้แนะหน่อย ความรู้น้อยมาก
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่ผิดหรอกครับ พิจารณาว่ามันเป็นเวทนา มันก็เป็นเวทนา หายใจไม่ออก หายใจลำบาก ต่างๆนาๆ มันก็เป็นเวทนาเพราะลมหายใจ หายใจลำบาก ไม่หายใจ แล้วแต่จะพิจารณา ครับ เป็นโรคปอด หายใจลำบากต่างๆนาๆ พิจารณาลมหายใจเป็นกรรมฐานในการภาวนา มันก็เป็นกรรมฐานในการปฏิบัติ ครับ อยู่ที่ว่าเราจะพิจารณาอย่างให้ ให้จิตเราสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ครับ
    สิ่งสำคัญคือ อย่าให้ฟุ้งซ่าน เวลาปฏิบัติ ครับ ทำแล้วให้จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน

    ในการปฏิบัติกรรมฐาน เราปฏิบัติอะไรอยู่ก็ภาวนากรรมฐานกองนั้นไปไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ครับ ให้ถึงที่สุด

    กรรมฐานมี 40 ห้อง
    ควรเลือกมา 1 กรรมฐานแล้วปฏิบัติกรรมฐานกองนั้นครับ ภาวนาอานาปานสติ เป็นฐานของการปฏิบัติครับ

    จะผิดหรือถูก ต้องดูผลของการปฏิบัติ ว่า ปฏิบัติแล้ว จิตเรารวมลงสมาธิ จิตเป็นสมาธิหรือไม่ การปฏิบัตินั้น สิ่งแรก ควรทำให้จิตเป็นสมาธิก่อน จิตเข้าสมาธิ จิตเป็นผู้รู้ เมื่อจิตเป็นผู้รู้แล้ว ให้ออกพิจารณาต่อไปในสมาธิ ครับ

    ถ้ายิ่งทำแล้วยิ่งฟุ้งซ่าน ก็แสดงว่าผิด ทำให้จิตไม่สงบ สงบจากนิวรณ์ 5 จิตไม่สงบจิตลงสมาธิไม่ได้ จิตเป็นสมาธิไม่ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2019
  3. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,364
    https://palungjit.org/threads/ที่สุดแห่งการปล่อยวางคือ-ปล่อยวางตัวตน.699884/page-4

    ระวังคุยกับคนบ้านะฮับ การปฏิบัติธรรมแบบผิดๆสามารถพาคุณไปรับยาช่อง 8 ได้ดังนั้นพึงสังวรณ์ไว้ว่าให้ฟังหูไว้หูแม้กระทั่งผมฮับ
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ถ้าว่าตามตำรา
    ลมหายใจ คือกายครับ อยู่ในหมวด กายานุปัสนาสติปัฏฐาน ในบรรพ อานาปานะสติ


    ส่วนความไม่สบายกาย ความสบายกาย ความไม่ชอบใจ ความชอบใจ
    อยู่ในหมวด เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน

    ส่วน ลมหายใจ ไม่ใช่ทุกขเวเทนา

    ทุกขเวทนา
    คือ ความทุกข์ที่ดิ้นรนมีความไม่สบายกาย ไม่สบายใจเป็นต้น เรียกทุกขเวทนา
    เช่นเกิด การเจ็บปวด ตามร่างกาย เรียกทุกขเวทนาทางกาย
    เกิดความอึดอัดใจโดนด่า เกิดความไม่สบายใจ เรียก ทุกขเวทนาทางใจ เป็นต้น

    ส่วนความสบายกาย สบายใจชอบใจ เรียก สุขเวทนา เป็นต้น
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,424
    ค่าพลัง:
    +35,040
    หากว่าจะถึงขั้นที่พิจารณาได้นั้น กิริยามันคือ
    จะพิจารณาอะไร ก็ปล่อยให้จิตว่างรับรู้ภายในอยู่อย่างนั้น
    คือ. จิตจะต้องว่างก่อนจริงๆ ไม่มีอะไรมาปรุงร่วม

    ลมหายใจเป็นเสมือนเครื่องมือ ให้เข้าไปถึง
    สภาวะที่ปล่อยให้จิตว่างรับรู้ภายในนั่นเอง....

    หากกำลังสติทางธรรม ยังไม่พอ ที่จะทำให้เข้าใจ
    กิริยาว่างรับรู้ตรงนี้......

    การพิจารณาอะไร จะยังเป็นเพียงสมมุติ
    เพราะตัวจิตเองนั่นหละ ที่ยกตัวมันเองขึ้นมา
    ร่วมกับความคิด ที่มีอยู่แล้วในจิต ไม่ว่าจาก
    การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านมา หรือ บางความคิด
    ก็มาจาก ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมที่มาจากภายนอก
    แล้วดึงมาร่วม และก็ยกส่วนนี้ขึ้นมา

    เราอาจจะเผลอได้ว่า พวกความคิดที่ยกขึ้นมากับจิตนี้
    เป็นสติเป็นปัญญาแล้วเผลอไปพิจารณาได้
    ซึ่งมันอาจจะเป็นได้แค่เพียงแนวทางเดิน
    แต่หากเผลอไปคิดว่า เป็นสติเป็นปัญญาแล้ว
    มันจะกลายเป็น วิปัสสนึกได้อย่างไม่รู้ตัว

    ก็จะส่งผล ต่อความเข้าใจทางด้านนามธรรม
    ต่างๆ ไม่ว่าการรับรู้ ความเข้าใจในกิริยาต่างๆ
    ของเรายังไม่ดี ไม่ชัดเจน สับสน ได้อย่างไม่รู้ตัวครับ
     
  7. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    เป็น ทุกขเวทนา อย่างหนึ่ง

    ที่สำคัญ จะต้องเห็น ความไม่เที่ยง ของ เวทนา นั้น

    ถ้าเห็น เวทนา ลมจะเข้าจะออก เกิดจาก
    เวทนาเป็นตัวปัก ผลักดัน จิตจะฝุ้งซ่าน
    ใช้ไม่ได้ ปิติจะอั้นตู้ จิตวู๊บหายไปดื้อๆ
    ( สลบ / หรือ อาจถึงตายได้อย่างที่
    ฝาหรั่งเขาพบ การชะงักลมหายใจผิด
    จังหวะ จะทำให้ ขาดใจตายไป
    เลย... ที่เป็นข่าวอยู่พักใหญ่ เด็กวัยรุ่น
    เล่นกัน ซึ่งเอามาจากหนังซีรีย์ ....
    mental mind อะไรนี่แหละ )

    ดังนั้น

    จุดสำคัญ เห็นเป็นเวทนา หนะใช่ แต่จะต้อง
    เห็นลงด้วยความไม่เที่ยง ดับไป แล้วจะไม่
    ไปเพ่ง จับ จ้อง เวทนาเอาไว้ จะหายใจปรกติ
    ด้วยจิตมนุษยทุกประการ แต่ ก็รับรู้ได้ว่า
    "ไม่ได้หายใจ" จริงๆ ปอดมันถูกบีบคั้นให้
    ทำการหายใจของมันตลอด เพียงแต่ จิต
    นั้นสลัดคืน กาย เวทนา จิต มาอยู่ที่ ธรรมเอก

    ซึ่ง......

    เวลาตกจากสภาวะนั้น จะต้องตกด้วย ปิติ
    ฉูดฉาดมาเป็น ลำดับของการรู้ ก่อนจะตก
    ไปสู่กาย หากมิจฉาทิฏฐิแทรก จะ เกิด
    พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกแทนที่จะเป็น
    เตมียใบ้ยกโอ่งได้ทั้งใบ ก็ไหลไป
    กับ ความคิดปริวิตก

    ถ้าเป็น หลวงปู่เทสก์ ท่านจะ แนะให้ ดูจิต
    ไปเลยไม่ต้องไปเน้น เวทนา ( วิธีเห็น จิต
    ของท่านจึงง่าย สอนให้ กลั้นหายใจ ก็
    เจอจิต แล้ว )

    ใน อานาปานสติ ก็จะมี การระบุว่า "ให้
    กำหนดรู้ ซึ่งจิต"เฉยอยู่...

    พอยก เห็นจิตได้ ก็จะตามเห็น การสลัด
    คืนจิต เป็นประจำ เตะโต๊ะ ปั๊ป หายใจ
    ปรกติ เดินปรกติ ก็เป็นอัน ครอบรอบ
    การเจริญอานาปานสติ หนึ่งรอบการ
    เจริญ ( จะมีค่ามากกว่า ทำสมถะเหาะ
    ได้ 500 ชาติซึ่งเป็นสำนวน คนโบราณ
    ความหมายคือ ไม่หลงทำ สมาธิกสิณ
    มหาภูตรูปอีกเลย )



    ปล. หากข้างบนเยอะไป (ปรกติ คนที่
    เดิน อานานปานสติมาเวทนาได้ จะไม่
    ฟังคำสอนผู้อื่นแล้ว ) ให้ทำการกำหนด
    รู้ ตรวจทานง่ายๆ ว่า เห็นไตรลักษณ์ไหม

    ถ้าไม่เห็น ลงไตรลักษณ์ ไม่มี อนิจสัญญา
    อนัตสัญญา ทุกขสัญญา เกิด ดับ จิตจะ
    ไม่เป็นหนึ่ง ไม่เกิด ธรรมเอกความฝุ้งซ่าน
    จะกลืนกิน

    แค่นี้ก็ ช่วยตัวเองได้ ไม่ต้องถามใครอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2019
  8. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,907
    ค่าพลัง:
    +2,252
    สติปัฏฐาน นั้น มี สี่ทาง

    เวลา เข้าไปในเมืองแล้ว จะเหมือน
    คนไปยืนบนหอคอยกลางเมือง

    การภาวนาจริงๆ นั้น จึงไม่จำเป็น ต้องเลือก
    จ้องประตูเข้าเมืองประตูเดียว

    เพราะ อยู่บนหอคอย ย่อมสามารถเห็นได้ ครบ 4

    หาก การภาวนา ยังเลือก ประตู อยู่

    เลือกสติปัฏฐานกองเดียว จัดเป็น อุปกิเลส กำลังเกิด

    หน้าที่ของ อุปกิเลส คือ ทำให้ปักใจเชื่อ แต่
    ทว่า ก็ งง และ ไม่พบความเจริญของมรรค
    สุดท้าย แทนที่จะภาวนาเงียบๆ ก็ต้องไป
    เที่ยว ถามคนอื่น ...... หรือ บอกคนอื่น
    ให้รับรู้ว่า ตนนั้นสามารถ ( โดนหลอก
    ทั้งขึ้น ทั้งร่อง ) ใครไม่ฟังธรรมข้า แช่ง
    ชักหักกระดูก ส่งสัญญามอส tood tood

    การเลือก สติปัฏฐาน กองเดียว จะอนุโลม
    เฉพาะ เป็น จุดตั้งต้น .... ของการเข้า
    สมาธิ ในการชำนาญ วสี

    พอเข้ามาแล้ว จะไม่เลือก

    ถ้ายังเลือกกอง เลือกประตู ให้สังเกต
    ไว้ก่อนว่า โดนหลอก

    วิปัสสนา จงใจเจตนาไม่ได้

    หากยังจงใจสร้าง วิปัสสนาได้ แปลว่า
    จะเริ่มเป็น อรหันต์ไม่ตายใน7วัน ขึ้นมา
    ในโลก โออะนยิโก อีกคน
     

แชร์หน้านี้

Loading...