รัฐบาลอินเดียจัด“พิธีวัชรยานบูชา” น้อมถวายพระศพสมเด็จพระสังฆราช

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย k_kessara, 31 มีนาคม 2014.

  1. k_kessara

    k_kessara สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +11
    ถึงแม้ว่าพิธีวัชรยานบูชาที่จัดขึ้น ณ วัดบวรนิเวศจะผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม หลายๆท่านอาจจะไม่ทราบข่าวนี้นะค่ะ คิดว่าพิธีนี้ก็น่าสนใจมากทีเดียวสำหรับชาวพุทธค่ะ

    "ทราย-เนย-มนต์เพลง-เต้นรำ" ปริศนาธรรม"จากดินแดน"หลังคาโลก"

    เรื่อง-ภาพ ปรีชยา ซิงห์

    เสียงสวดมนต์ด้วยภาษาไม่คุ้นหู ทุ้มบ้าง สูงบ้าง สอดรับกับเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า จังหวะเสียดหู ดังกึกก้องทั่วอาณาบริเวณพระตำหนักเพ็ชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างงาน "วัชรยานบูชา" เมื่อช่วงค่ำของวันพุธที่ 19 มีนาคม 2557

    อันเป็นการบำเพ็ญกุศลพระศพ น้อมถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยรัฐบาลอินเดียที่จัดถวายเป็นสังฆราชบูชาแสดงกตเวทิตา หลังสมเด็จพระสังฆราช ทรงมีคุณูปการมากมายกับประเทศอินเดีย ต่อความสัมพันธ์แน่นแฟ้นของ 2 ประเทศ สืบเนื่องด้วยดีมาตลอด

    [​IMG]

    [​IMG]


    และเป็น "ครั้งแรกในประเทศไทย" ที่มีการอัญเชิญ"พระลามะ" ภายใต้การนำของ ท่านเกชิ จัมเบ ดอจี (Geshe Jambey Dorjee) หัวหน้าคณะ จากดินแดนหลังคาโลก มาร่วมประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ในการสร้าง "พุทธศิลปะ" แบบ"นิกายวัชรยาน" ผ่านเรื่องเล่าจาก "พุทธมณฑลทราย (Sand Mandhala) และเครื่องบูชาสักการะเนย (Butter Sculpture) ตามประเพณีโบราณของทิเบตและหิมาลัย

    [​IMG]
    ท่าน Geshe Jambey Dorjee

    [​IMG]


    ตลอดห้วงเวลา เกือบ 3 วันเต็ม เหล่าตัวแทนพระลามะ จากรัฐอรุณาจัลประเทศ ( Arunachal Pradesh) ต้องเพ่งสมาธิขั้นสูงสุด จากการใช้กรวยโลหะทองเหลือง ในชื่อ ชัคปอร์ (Chak-pu) และเครื่องขูดไม้ เรียกว่า ชิงก้า ( shing-ga) อุปกรณ์ช่วยที่ทำงานควบคู่ด้วยแรงมือ ค่อยๆ บรรจงสรรค์ ทราย หรือมันดาล่า หลากสี ที่บดจากหินอ่อนจนเหลือแต่เม็ดละเอียดยิบ สร้างเป็นลวดลาย แปลงผืนกระดานแผ่นเรียบอันว่างเปล่า กระทั่งกลายเป็นลวดลายอันวิจิตร

    [​IMG]


    ผลงาน "พุทธมณฑลทราย" ที่เสร็จสมบูรณ์ครั้งนี้ หากสังเกตดีๆ ตรงกลาง คือ ดอกบัว นั่นคือ ตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิม หรือพระอวโลติเกศวร เป็นรายละเอียดที่ "ลามะ" พยายามวาดคำสอนของพระพุทธศาสนา ผ่านสัญลักษณ์

    พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร อธิบายถึงการสร้าง "มันดาล่า" ว่า ความวิริยะอุตตสาหะ ของ พระลามะ ไม่ต่างจาก การกำเนิดโลกของเรา มณฑลนี้เป็นสื่อของจักรวาลของโลก การสร้างจักรวาล ก็ไม่ใช่สร้างในวันสองวัน แต่เป็นการสร้างตลอดไป มนุษย์เรามีตัวตนชัดเจนอย่างทุกวันนี้ มีทั้งดีและชั่ว แต่ตามหลักพระพุทธศาสนามันคือความไม่จีรัง ในหลักวัชรยานคือ สุญญัตตา ความละเอียดละออ ของ "พุทธมณฑลทราย ในที่สุดววันหนึ่งก็ต้องเปลี่ยนแปลง สูญสลาย...



    <TABLE border=1 cellSpacing=2 borderColor=#000000 cellPadding=2 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ในแต่ละวินาที ที่พระลามะ นั่งฝนทราย ใช้สมาธิ ปัญญาในการสร้างภาพจนออกมาเป็น พุทธมณฑลสวยงาม แต่แล้ว วันหนึ่ง สิ่งนี้ก็ต้องสูญสลายไป ดังนั้น จึงต้องมีพิธีลบ แต่ต้องเป็นการลบที่มีศิลปะ เช่นเดียวกัน ...



    ดังคำที่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรฯว่า

    "แม้โลกเราจะวิจิตรพิสดามาก ขนาดไหน ดีขนาดไหน แต่มันก็ไม่ถาวร ก็ต้องดับไป ต้องมีสัญลักษณ์ที่ทำลาย ไอ้ความสวยงาม ความเพียรที่ทุ่มเทสร้างไว้ตั้งหลายวัน เมื่อถามลามะ เขาก็ว่า เสียดายแต่จะมีประโยชน์อะไร มันคือสัจธรรม ความสวยงามทั้งหลายแหล่มันไม่จีรัง นั่นคือคำสอนพระพุทธศาสนา"




    นี่เป็นสิ่งเพียรพยายามในการถวายเครื่องบูชาตามแบบ"วัชรยาน" ซึ่งจุดประสงค์ของ"พุทธมณฑลทราย" ก็เป็นการใช้ศิลปะสอนชาวบ้านในเรื่องของธรรมมะ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ในความรื่นเริงใจ โสมนัส ทำให้เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาเกิดขึ้น

    "เนื้อหาธรรมมะนั้น สะท้อนให้เห็นถึงอนิจธรรมของโลก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป"


    <TABLE border=1 cellSpacing=2 borderColor=#000000 cellPadding=2 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    อีกหนึ่งวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น แถบทิเบต ที่สำคัญ สืบทอดมาร่วมพันปี เฉกเช่นเดียวกัน อย่าง เครื่องบูชาสักการะเนย (Butter Sculpture) ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สิ่งมีชีวิตเกิดการ"รู้แจ้ง "ด้วยสิ่งที่สามารถรับประทานได้

    พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็เหมือนกับการที่ เราชาวไทย ถวายข้าวบูชาพระพุทธ หรือถวายข้าวบิณฑบาตรพระ แต่ในแถบหิมาลัยนั้น ปลูกแต่ทุ่งข้าวสาลี อาหารที่เขากินก็เป็นแป้ง และนม จาก จามรี เมื่อภูมิประเทศอันหนาวเหน็บ ไร้ซึ่งความสดสวยของดอกไม้ ไม่มีอาหารการกินที่เลือกได้มาก ชาวบ้าน รวมถึงพระจึงได้นำ แป้ง และเนย (สกัดจากนม จามรี) มาผสมสีสันตามธรรมชาติ แล้วปั้นเป็นรูปต่างๆ ทำเป็นเครื่องบูชา สอดแทรกนิทานชาดก เป็นเรื่องเล่าคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามวัตถุดิบที่เขามีอยู่...

    เครื่องปั้นสักการะเนย ไม่ได้จำเป็นว่า ต้องเกิดจากฝีมือของพระลามะ จะเป็นชาวบ้านก็ได้ เพียงแต่ผู้ปั้น ต้องผ่านการฝึกฝนจากโรงเรียนศิลปะ ที่สอนด้านการปั้น หรือสร้างพุทธศิลป์เฉพาะ คล้ายกับสถาบันที่เน้นสอนเฉพาะด้าน อย่างมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือ โรงเรียนเพาะช่าง ของบ้านเรา



    [​IMG]
    พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร


    ระหว่างการอัญเชิญ เครื่องสักการะบูชาเนย ที่ตกแต่งด้วยการปั้นเสร็จสิ้นแล้ว ไปไว้หน้าพระโกศ สมเด็จพระสังฆราช ผู้เข้าร่วมงาน ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ต่างล้วนได้สดรับ มนต์ จากการสวดของ ลามะ (Lama Chant) ทั้ง 19 รูปที่เดินขบวนเป็นทิวแถวขึ้นไปบน พระตำหนักเพ็ชร


    ทำนองสวด ชวนขนลุก รับรู้ได้จากแรงแห่งศรัทธาอันมากล้นที่ได้ยินวันนั้น หากฟังด้วยความรู้สึกเผินๆ จะเสมือนกับว่า ใกล้เคียงกับเสียงเพลง แต่ลึกซึ้งกว่า...

    [​IMG]

    ประเพณีทางวัชรยาน การสวดมนต์จะใช้ในพิธีกรรมเพื่อการอ้อนวอน การกำหนดจิตในพิธีบูชาเทพ ตันตระ การบูชาผ้ายันต์ หรืออื่นๆ ซึ่งพระสงฆ์ในแถบหิมาลัยจะมีความสามารถในการใช้เสียงเวลาสวดมนต์ที่มีรูปแบบเฉพาะ ด้วยการควบคุมระดับเสียงสูงและต่ำที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเวลาเดียวกัน เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากพลังของลำคออย่างเดียว ตามความเชื่อว่า พลานุภาพเหล่านี้จะสามารถสื่อสารไปยังโลกหน้า หรือโลกที่แฝงอยู่ในโลกนี้ คนที่จิตใจไม่เข้มแข็งพอก็อาจพินาศได้


    บทสวดมนต์แบบลามะ ตามทำนองดนตรี หรือคาถาเหล่านี้ มีอยู่ในทุกหนแห่งของโลกที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธ นับตั้งแต่วัดในประเทศไทยไปจนถึงวัดพุทธในทิเบตและในอินเดีย เกือบทุกโรงเรียนของชาวพุทธจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นเถรวาทหรือมหายานก็ตาม


    ทว่าความพิเศษครั้งนี้เป็นที่ปรีดาอย่างยิ่งสำหรับชาวพุทธไทย ด้วยเพราะ พระลามะ ทั้ง 19 รูป ที่มานี้ ล้วนสวดอ้อนวอนให้ สมเด็จพระสังฆราชของเรา กลับชาติมาเกิดใหม่เหมือนองค์ลามะของเขา เพื่อช่วยเหลือมนุษย์...

    [​IMG]

    อีกหนึ่งพิธีกรรม ที่น่าจะมีแต่ "วัชรยาน" นิกายเดียว เท่านั้น ก็คือ รำบูชาเทพเจ้า (Cham/Sacred Dance) ซึ่งเราได้เห็น พระลามะ แปลงกายแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยเสื้อผ้า และอุปกรณ์ สีสันสดใส พร้อมสวมหน้ากาก

    การรำบูชา ถือเป็นรูปแบบของการทำสมาธิและบูชาเทพเจ้าอีกอย่างหนึ่ง ตามปกติผู้แสดงจะแบ่งเป็นนักดนตรี ใช้เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตีเพื่อกำหนดเวลาในการเต้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ เนื้อหาพรรณนาเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ปัทมสัมภวะ สั่งสอนศีลธรรมเกี่ยวกับความเมตตาปราณีต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมทั้งสร้างบุญกุศลให้แก่ทุกคนที่รับรู้ในสิ่งเหล่านั้น

    ในอินเดียการรำบูชาจะมีในภูมิภาคเทือกเขาหิมาลัย เช่น ลาดัคห์, รัฐอุตตราขัณฑ์, หิมาจัลประเทศ, สิกขิมและอรุณาจัลประเทศในระหว่างเทศกาลทางวัฒนธรรมและศาสนา

    ทว่า... การรำบูชาวัชรยาน ถวายพระศพ ที่ปะรำพิธี ในค่ำคืนนั้น ถูกนำมาจัดแสดงด้วยกัน 3 ชุด

    [​IMG]

    เริ่มที่ การรำบูชาเทวทูตจากสรวงสวรรค์ (Dance of Celestial Travelers) ประกอบด้วยพระลามะ 5 รูป อันเป็นสัญลักษณ์ของธาตุแห่งลมและปัญญาทั้ง 5 รังสรรค์จังหวะการเคลื่อนไหวราวกับเป็นเทวทูตเสด็จลงมา จากสวรรค์ เพื่อประทานพรแก่โลกมนุษย์ในเวลาที่เกิดปัญหา หรือภัยพิบัติ โดยนำเทวอำนาจมาดลบันดาลให้เกิดความสามัคคีและนำสันติสุขมาสู่โลกอีกครั้ง



    <TABLE border=1 cellSpacing=2 borderColor=#000000 cellPadding=2 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ตามด้วยชุด การรำบูชาขจัดความหลง และก่อให้เกิดปัญญาในอนิจจธรรม Lang Dang Phag-cham หรือรำบูชาของเทพดาวัวและหมู (Ox and Boars dance with masks) จรรโลงขึ้นเพื่อกำจัดพลังอันเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆ ผ่านรูปแบบ Dark po หรือ “ปางกริ้วโกรธ” โดยถือสัญลักษณ์ของอุตรภาพแห่งการแสดงอัตตาต่อภายนอก (สภาวแวดล้อม) ภายใน (อารมณ์) และความลับ (ความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจอันละเอียดอ่อน) ท่วงทำนองการรำบูชาเป็นสัญญลักษณ์ของความโสมนัสและอิสรภาพแห่งการได้เห็นสัจธรรม อันถ่องแท้








    ปิดท้ายด้วยการรำเพื่อบูชาแจ้งอนิจจธรรม DurdakGarcham หรือรำบูชาธรรมบาลแห่งยมโลก (Dance of the Skeleton Lords) เป็นระบำเทพเจ้าแห่งโครงกระดูก เพื่อย้ำเตือนแก่โลกมนุษย์ได้ตระหนักถึงธรรมชาติอันไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง เป็นการปลดปล่อยและการรักษาสมดุลของการหยั่งรู้และความเป็นจริง แสดงโดยพระลามะ 4 รูป เปรียบเสมือนกองทัพแห่งความดีในขบวนพระยมราช ผู้ซึ่งเป็น “พระธรรมบาล” หรือ ผู้ปกป้องความเป็นจริงหรือสัจธรรม ที่มาพร้อมด้วยพระธรรมอันจะชักนำจิตใจไปสู่ชีวิตอันประเสริฐ

    [​IMG]

    ความตื่นตา ที่เราได้เห็น ผ่านงาน "วัชรยานบูชา" นี้ ไม่ใช่เพียงแค่ความสนุกเพลิดเพลิน ที่ให้เพียงแต่ความรู้สึกตื่นเต้นเท่านั้น แต่นี่ เป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่ พระลามะ บรรจงทำทุกอย่าง อย่างมีความหมาย


    แต่ละ งานพุทธศิลป์ แต่ละการขับเครื่องดนตรี เปล่งเสียงสวดมนต์ ล้วนผ่านการฝึกฝนมาอย่างหนัก

    ท่วงท่าร่ายรำ ที่เห็นว่าสนุก ในสายตามนุษย์ธรรมดา ล้วนบังคับด้วยบทสวด มีวัชระ สัญลักษณ์ของวัชรยาน มีระฆัง มีกระดิ่ง มุทรา (ปาง) แต่ละมือที่วาดลวดลาย มีความหมาย การอวตาร ผ่านชุดฉูดฉาด แฝงให้เห็นถึงทั้งกิเลส และตัวธรรม เราคนธรรมดาอาจไม่เข้าใจแก่นแท้ และมองเป็นเรื่องของการชื่นชม และรู้สึกว่าได้บุญ

    นัยยะ ของ "วัชรยาน" ผ่านการสื่อสารของ "พระลามะ" ล้วน คือ "ธรรมมะ"

    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]



    นับเป็นบุญ ใต้ร่มพระกรุณาธิคุณ ของ สมเด็จพระสังฆราช ที่บันดาลให้คนไทย มีโอกาสร่วมชมและใกล้ชิดกับ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ จากวัตรปฏิบัติของ พระลามะ นิกาย "วัชรยาน" ที่ตั้งใจเดินทางมาจากดินแดนแสนไกล เพื่อเข้าร่วมน้อมถวายพระศพนี้

    ทั้งยังทำให้ เราสดรับได้ถึงแก่นแท้ แห่งธรรมที่ว่า ...

    "ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ล้วนไม่มีอะไร ยั่งยืน..."

    ที่มา: Matichon Online (22 มีนาคม 2557)
    "ทราย-เนย-มนต์เพลง-เต้นรำ" ปริศนาธรรม"จากดินแดน"หลังคาโลก" : มติชนออนไลน์

    การเต้นรำบูชา : พิธีวัชรยานบูชา ถวายสมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราช ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    https://www.youtube.com/watch?v=MwtNsVJQAyA<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ที่มา: - Springnews
     

แชร์หน้านี้

Loading...