รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 18)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 16 พฤศจิกายน 2011.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุพระโสดาบัน"
    หลักสูตรออนไลน์ 30 ชั่วโมง
    (ชั่วโมงที่ 18)


    เกริ่นนำ

    มีผู้ปราถนาดีท่านได้กรุณาแนะนำวิจารณ์ในเชิงว่ามันเป็นไปไม่ได้ในการเร่งลัดพระโสดาบัน
    ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าท่านคงทำไปแล้ว
    ซึ่งเรื่องนี้ท่านผู้ปราถนาดีนั้นจะเข้าใจว่าอย่างไร
    ผู้เขียนก็ไม่ได้เป็นห่วงท่านผู้วิจารณ์นั้น
    เพราะท่านผู้วิจารณ์ที่ว่านี้เป็นฆราวาสที่คงมีภูมิธรรมสูงแล้ว ท่านคงเอาตัวรอดได้

    แต่จะขอชี้แจงต่อท่านที่ติดตามบทเรียนนี้เพราะมีความปราถนาดีต่อกัน
    ขอชี้แจงว่าการบรรลุพระโสดาบันนั้นไม่ใช่เรื่องยาก
    ทั้งนี้ผู้เขียนไม่ได้เขียนเองคิดเอง
    ได้อ้างอิงพระพุทธเจ้าและคำสอนของครูบาอาจารย์ไว้แล้วในหลายครั้งที่ผ่านมา



    สรุปทบทวนจากชั่วโมงที่ 17

    เพราะอยากเป็นพระโสดาบันจึงปฏิบัติ
    แต่อย่าปฏิบัติเพราะอยากเป็นพระโสดาบัน

    ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติเพราะความอยากก็ไม่พบธรรมะ
    เิริ่มต้นปฏิบัติเพราะ 'ความอยากเป็นพระโสดาบัน'
    แต่สุดท้ายให้ละ 'ความอยากเป็นพระโสดาบัน'

    การรักษาศีลจึงเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ใจหาได้เป็นการรักษาศีลเพราะอยากเป็นพระโสดาบัน

    ไม่ใช่รักษาศีลเพราะอยากเป็นพระโสดาบัน
    แต่รักษาศีลเพราะจิตมีเมตตา



    (ชั่วโมงที่ 18)


    การกล่าวว่าหากพระโสดาบันเร่งลัดได้พระพุทธเจ้าคงทำไปแล้ว นั้นเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควร
    เพราะในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพนั้นปรากฏว่า
    เมื่อพระพุทธเจ้าเทศน์จบก็มีผู้บรรลุพระโสดาบันมากมายในการฟังธรรมเพียงครั้งแรก
    แม้เด็กก็บรรลุพระโสดาบัน เช่น นางวิสาขา เปสการีธิดา (ธิดาช่างหูก) และภรรยานายพรานกุกุกฏมิตร
    เหล่านี้ได้เคยนำมาเล่าไว้แล้วในบทก่อน ๆ

    ดังนั้นการตั้งกระทู้ว่าบรรลุพระโสดาบันหลักสูตร 30 ชั่วโมงนั้นไม่ได้เป็นการอวดดีกว่าพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าเคยบอกท่านพระอนุรุทธะว่า ธรรมในพระธรรมวินัยของท่านนี้ เป็นธรรมแห่งความไม่เนิ่นช้า อ้างอิง

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานท่านว่าหากตั้งใจปฏิบัติเพื่อพระโสดาบันจริง ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน อ้างอิง

    ท่านบอกว่า วิธีปฏิบัติจริง ๆ นี่ไม่มีใครมามุ่งพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี
    ก็ขั้นต้นกันจริง ๆ ก็มุ่งอรหัตตผลกันเลย เพราะว่าการมุ่งอรหัตตผลนี้
    เขาถือว่าอย่างเลวที่สุดจิตจะจับไว้เฉพาะพระโสดาบันก่อนเป็นอันดับแรก เพราะว่าเป็นของง่าย
    ความจริงการทรงพระโสดาบันไม่มีอะไรจะยาก เพียงทรงศีลบริสุทธิ์


    ขอชี้แจงต่อไปว่าการศึกษาธรรมะนั้นแบ่งออกเป็นการเรียน เรียกว่า ' ปริยัติ '
    และการลงมือทำ เรียกว่า ' ปฏิบัติ ' อ้างอิง

    การจบหลักสูตร 30 ชั่วโมงนั้นเป็นปริยัติ เป็นการจบของผู้เรียบเรียงที่นำมาเสนอ
    ส่วนการจบของผู้อ่านนั้น ขึ้นอยู่กับการนำไปปฏิบัติ

    การปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันนั้นไม่ใช่เรื่องยาก
    คือเพียงการละสังโยชน์ 3 ข้อแรก เคยอธิบายไว้แล้ว ขอแสดงอีกครั้งโดยย่อคือ
    1. สักกายทิฏฐิ สำหรับพระโสดาบันคือคิดว่าเราต้องตาย ยอมรับว่าเราเกิดมาต้องตาย
    2. วิจิกิจฉา สำหรับพระโสดาบันคือเคารพในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ไม่ลังเลสงสัยในคำสอน
    3. สีลพตปรามาส สำหรับพระโสดาบันคือมีศีล 5 บริสุทธิ์เป็นขั้นต้น
    และมีความรักในพระนิพพาน ไม่ต้องการความเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหม

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง ท่านกล่าวว่า
    พระโสดาบันก็คือชาวบ้านชั้นดี หรือถ้าเป็นพระก็เป็นพระชั้นเลว
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=t1p5RgVLUyM&feature=player_embedded#"]พระโสดาบันไม่มีอารมณ์สูงพิเศษ ถ้าเป็นพระก็เป็นพระชั้นเลว หลวงพ่อฤษีลิงดำ H 263 240p - YouTube[/ame]

    หลวงพ่อยังสอนต่อไปว่าการปฏิบัติธรรมในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม
    ให้พิจารณาว่าเป็นการละสังโยชน์หรือไม่ ให้ใช้สังโยชน์เป็นเครื่องวัด
    จะภาวนาแบบไหน จะปฏิบัติแบบสำนักใดก็ไม่เป็นไร
    แต่อย่าลืมเอาสังโยชน์เป็นเครื่องวัดการปฏิบัติ
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=-iaeFsbn6SI&feature=related"]หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,1 - YouTube[/ame]


    ที่นำมาย้ำเพื่อยืนยันว่าพระโสดาบันเป็นของไม่ยาก
    ที่คิดว่ายาก เข้าใจว่าส่วนใหญ่กังวลเรื่องศีล ว่าจะรักษาศีลไม่ได้
    ซึ่งอันที่จริงหากเข้าใจในเรื่องที่ว่าศีลจะขาดก็ต่อเมื่อเราขาดเมตตาหรือมีเจตนาจะละเมิดศีล
    คือมีเจตนาละเมิดด้วยตัวเอง ยุงยงผู้อื่น หรือยินดีที่ผู้อื่นละเมิดศีลก็ตาม
    แต่ประเภทว่าเผลอเหยียบมดไม่ถือเป็นการผิดศีล
    ในเมื่อพระพุทธเจ้าบอกว่าหากเราไม่มีเจตนาละเมิดศีล ศีลเราไม่ขาด เราจะลังเลหรือไม่
    ถ้าลังเลก็คือไม่เคารพเชื่อฟังพระพุทธเจ้า หรือยังมีความลังเลในคำสอน

    หากมีเมตตาและมีปัญญาในการรักษาศีลก็จะเห็นว่าศีลไม่ใช่เรื่องยาก
    ที่คิดว่ายากเพราะขาดความเข้าใจในเรื่องวิธีการรักษาศีล
    ซึ่งวิธีการรักษาศีลที่ประกอบด้วยเมตตาและปัญญาได้เคยกล่าวไว้แล้วในบทก่อน ๆ

    จากการที่ได้ติดตามเพื่อน ๆ ที่ได้ส่งการบ้านมานั้น
    ผู้เขียนค่อนข้างวางใจในเรื่องการรักษาศีลของเพื่อน ๆ
    แต่สิ่งที่ผู้เขียนยังเป็นห่วงคือเรื่องของการละสังโยชน์ข้อที่ 2 คือวิจิกิจฉา
    ข้อนี้ล่ะเป็นอุปสรรคทั้งที่ไม่ควรจะเป็นอุปสรรค
    เพราะเป็นอุปสรรคที่จิตใจเรามีอุปทาน จิตเราสร้างมันขึ้นมาเอง
    ดังเช่นที่ผู้เขียนเคยกล่าวไว้บทแรก ๆ ที่เล่าถึงเรื่องของธิดาช่างหูก
    ธิดาช่างหูกเธอปฏิบัติได้ถูกต้องตามอารมณ์พระโสดาบันทุกอย่าง
    ขาดอย่างเดียวคือการละวิจิกิจฉา คือเธอไม่มั่นใจ ยังมีความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ
    โชคยังดีที่พระพุทธเจ้าท่านเสด็จมาโปรด
    คือมายืนยันผลก่อนที่ธิดาช่างหูกจะตายหลังจากนั้นไม่นาน
    แล้วเราล่ะจะโชคดีอย่างนั้นหรือ

    ในเมื่อพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ยืนยันว่าหากเราละสังโยชน์ 3 ข้อแรกได้และมีจิตใจรักพระนิพพาน
    นั่นคือเธอทรงความเป็นพระโสดาบันแล้ว
    คำถามคือ เรายังลังเลสังสัยอีกหรือ ?
    ถ้าเรายังลังเล เราก็ต้องถามตัวเองว่าเราเคารพพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์จริงหรือ
    ในเมื่อพระพุทธเจ้ายืนยันว่าทำแบบนี้แล้วทรงความเป็นพระโสดาบัน
    เรายังจะกล้าเถียงอีกหรือว่าไม่ใช่ เรายังเลว เราเป็นพระโสดาบันไม่ได้หรอก

    สรุปว่าติดอยู่ตรงวิจิกิจฉานี่เอง เป็นอุปสรรคที่เราสร้างขึ้นมาเอง
    เพราะเราไม่เชื่อพระพุทธเจ้า แต่เราเชื่อคนอื่นหรือแม้กระทั่งเชื่อตัวเองว่า เราเป็นพระโสดาบันไม่ได้

    ลองถามตัวเองเรายังมีความลังเลอะไร
    - เราเชื่อว่าตัวเองต้องตายไหม
    - เราเคารพพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ อย่างแท้จริงไหม
    - เราตั้งใจรักษาศีลไหม (ละเมิดโดยไม่ตั้งใจศีลไม่ขาด)
    - เรารักพระนิพพานไหม

    สิ่งเหล่านี้เราต้องรอพระพุทธเจ้ามาพยากรณ์อย่างนั้นหรือจึงจะหมดความลังเล
    ตัวเราเองไม่สามารถขจัดความลังเลหรือ
    ต้องให้มีใครมาพยากรณ์หรือว่าเราเคารพพระรัตนตรัยจริงหรือไม่ ตั้งใจรักษาศีลหรือไม่ รักพระนิพพานหรือไม่

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์<wbr>ปรินิพพาน
    พระพุทธองค์ทรงให้เราพยากรณ์ตัวเอง โดยวางหลักธรรมไว้ให้ เรียกว่าแว่นส่องธรรม
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=eukKZ2HFu-s&feature=player_embedded"]แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน - YouTube[/ame]



    การบรรลุพระโสดาบันผ่านหลักสูตรแบบออนไลน์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสว่าพระธรรมจะเป็นตัวแทนของพระองค์
    ดังนั้นการฟังธรรมแต่ละครั้งก็เปรียบเสมือนเราได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
    อาจกล่าวได้ว่าเราสามารถเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าได้บ่อยเท่าที่เราต้องการ
    บ่อยครั้งที่ผู้เขียนหลับไปพร้อมกับธรรมะของพระพุทธองค์ผ่านเสียงเทศน์ของหลวงพี่และหลวงพ่อ
    จึงเหมือนผู้เขียนได้หลับอยู่ใกล้เบื้องพระบาทของพระพุทธองค์

    ในความโชคร้ายของการเวียนว่ายตายเกิด (โชคร้ายนี้อันที่จริงคือความโง่ หรืออวิชชา)
    นับว่าผู้เขียนยังพอมีโชคดีอยู่บ้างที่ได้มาเกิดในยุคออนไลน์และไฟล์ MP3
    เพราะหากผู้เขียนเกิดในสมัยพุทธกาลนั้นก็ไม่แน่ว่าจะสามารถละทิ้งการงาน
    เพื่อเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธองคฺ์ได้ทุกวันหรือไม่
    หรือหากโชคร้ายเกิดในดินแดนห่างไกลก็คงไม่มีโอกาสแม้ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก

    หากเพื่อน ๆ หมั่นฟังไฟล์ MP3 ที่ผู้เขียนคัดเลือกนำมาฝากให้เป็นการบ้าน
    ฟังด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาตามคือการวิปัสสนา และหมั่นทบทวน
    นำสิ่งที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการ ' ปฏิบัติโดยไม่ต้องตั้งท่านั่งหลับตา '
    ใช้สังโยชน์เป็นเครื่องวัดผลความก้าวหน้า เจริญพรหมวิหารจนเป็นสมาธิ
    ผู้่เขียนเชื่อมั่นว่าเพื่อน ๆ จะสามารถทรงอารมณ์ความเป็นพระโสดาบันได้อย่างแน่นอน

    ขอให้หมั่นฟังไฟล์ MP3 คำสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยานและของหลวงพี่จิตโต


    สวัสดี.


    - จบชั่วโมงที่ 18 -

    การบ้านของชั่วโมงที่ 18 :
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง

    [​IMG] การบ้านบทที่ 18 - 1.mp3
    [​IMG] การบ้านบทที่ 18 - 2.mp3
    <table style="width: 10px; height: 27px;" border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"><tbody><tr></tr></tbody></table>วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง

    3. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ



    ไฟล์ MP3 การบ้านของวันนี้ คือเสียงเทศน์ของท่านจิตโต
    ท่านเป็นพระลูกศิษย์ของหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง
    ดังนั้นเวลาที่หลวงพี่จิตโตกล่าวถึงคำว่า " หลวงพ่อ "
    ขอให้ทราบว่าหมายถึงหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง


    ส่งการบ้านและพูดคุยกันได้ที่นี่
    สำหรับท่านที่ไม่ได้สมัครสมาชิกเว็บพลังจิต เชิญพูดคุยแนะนำกันได้ที่ Facebook กาขาว


    ทบทวนย้อนหลัง
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 1)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 2)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 3)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 4)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 5)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 6)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 7)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 8)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 9)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 10)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 11)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 12)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 13)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 14)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 15)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 16)
    รอดพ้นภัยพิบัติ "เร่งลัดบรรลุโสดาบัน" หลักสูตร 30 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 17)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2011
  2. Lucky Leo

    Lucky Leo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +13
    Please continue your mission. Truely great idea.
    Satu.
     
  3. thitarat

    thitarat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +203
    สวัสดีค่ะ

    ขอส่งการบ้านบทที่ 18 ค่ะ

    1. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนในวันนี้ ดิฉันได้เข้าใจเพิ่มเติมจากการเน้นย้ำถึงความเป็นพระโสดาบัน และได้ฟังธรรมจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และศึกษาธรรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นโสดาบัน ทำให้เข้าใจเพิ่มเติมว่า ความเป็นพระโสดาบันนั้น ไม่ยาก เพียงต้องละสังโยชน์ และมีศีลบริสุทธิ์ มีความไม่ประมาท นึกถึงความตายในทุกขณะจิต และยินดีอย่างมากที่ได้ทราบว่า แม้พระอรหันต์ ก็ยังต้องพิจารณาอาณาปานสติ กายคยานุสติ และการนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้ทราบว่า แม้ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านก็ยังคงไม่ทิ้งซึ่งหลักธรรมขั้นต้นแม้หลักธรรมของโสดาบัน

    ส่วนวีดีโอแว่นธรรม เป็นประโยชน์ทำให้เราเห็นถึงการพยากรณ์ตนเอง ว่าตนเองเป็นโสดาบันหรือยังได้จากการพิจารณาตนเองด้วยการให้ทาน ศีล ภาวนา ความไม่ประมาทในชีวิต

    เมื่อได้เรียนรู้บทเรียนเพิ่มเติมในบทนี้ ทำให้ตัวเองมีความรู้สึกว่าการบรรลุโสดาบันเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ และเราก็สามารถตรวจสอบได้ด้วย ความรู้ใหม่ในส่วนนี้ ตั้งแต่บทที่ 16-18 ทำให้ดิฉันเข้าใจในหลักพระธรรมคำสอนได้มากขึ้น ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าเราจะสามารถตรวจวัดผลการปฏิบัติของเราได้อย่างไร หรือว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราถึงพระธรรมหรือถึงมิจฉาทิฏฐิ หรือว่า เราจะพัฒนาตนเองให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร

    ทำให้ดิฉันเข้าใจว่า ศาสนาพุทธนี้มีความเป็นวิทยาศาสตร์จริงๆ คือสามารถพิสูจน์ได้ ชี้วัดได้ ถึงแม้ว่าเรื่องที่เราศึกษานี้จะเป็นเรื่องจิต ที่เราคิดกันว่ายากแท้หยั่งถึงได้ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ดิฉันมีความสนใจที่จะเรียนรู้จิตของตนเองต่อไป ไม่เพียงแต่การเรียนรู้จิตของตนด้วยการทำสมาธิ แต่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยการศึกษา และใช้ปัญญาในการเรียนรู้ตามหลักปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพื่อให้จิตมีความก้าวหน้าในธรรมต่อไปค่ะ

    2. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น 3 ประการ คือ ได้เรียนรู้ว่า เราต้องทรงอารมณ์ไว้ไม่ให้ฟุ้ง สองอย่าง คือ ไม่ให้เกิดความฟุ้งในศีล ไม่ให้เกิดความฟุ้งในพรหมวิหารสี่

    ดิฉันได้ทราบว่าหากเกิดความฟุ้งในศีล แสดงว่าเรายังรักษาศีลจนศีลรักษาเราไม่ได้ ส่วนการเกิดความฟุ้งในพรหมวิหารสี่ แสดงว่าเรายังไม่มีสมาธิพอที่จะทำให้เราเกิดปัญญา และเรายังคงละเลยกฎของความเป็นธรรมดาเกินไป ทำให้ฟุ้ง

    ข้อค้นพบใหม่สองประการนี้ทำให้ดิฉันได้เข้าใจถึงสภาวะธรรมของตัวเองในปัจจุบัน ว่ายังคงมีปัญหาในการทรงอารมณ์ อันเป็นผลมาจากเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา ที่ยังไม่คงที่เท่าที่ควร ก่อนหน้านี้ดิฉันมีปัญหานี้ เกิดอาการฟุ้ง แต่ไม่ทราบว่าต้องตั้งอารมณ์อย่างไรต่อไป พอมาฟังก็เลยทำให้รู้ว่า เมื่อฟุ้งเรื่องศีล ก็ควรจะทรงศีลให้เป็นอธิศีล รักษาศีลด้วยจิต ด้วยศรัทธา มีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ลังเล ไม่สงสัย เมื่อไม่ลังเล ไม่สงสัย เราก็จะไม่ฟุ้ง ไม่เกิดคำถาม ด้วยเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นของดีแล้ว

    ดังนั้น การได้ยิน ได้ฟังไฟล์เสียงในครั้งนี้ ทำให้ดิฉันสามารถตั้งอารมณ์ ตั้งจิต ตั้งใจไม่ให้ฟุ้งไปในศีล และพรหมวิหารสี่ได้ด้วยการเจริญศีล สมาธิ และภาวนา ให้ทรงอารมณ์ และพยายามระลึกถึงกฎของความเป็นธรรมดาไว้ให้มั่น เพราะก่อนหน้านี้เคยคิดว่าตนเองเป็นคนดีเกินไป ช่วยเหลือทุกคนจนสุดท้ายต้องมาทุกข์เอง เคยรู้สึกว่าเป็นคนดี แต่ทำไมไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดี การรู้จักกฎของความเป็นธรรมดาในวันนี้ทำให้ดิฉันได้รู้ว่า เราเป็นคนดี แต่ยังไม่ดีพอ ดีไม่สุด เพราะเราไม่รู้จักความเป็นอุเบกขา ไม่รู้จักกฎของความเป็นธรรมดา ไม่รู้จักการละวางในสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะควบคุม หรือฝืนกฎความเป็นธรรมดาได้ ทำให้รู้ว่าถ้าจะช่วยคน ก็จงช่วยแต่พอดี พอเหมาะ พอควร ถ้าจะมีอะไรเกิดขึ้น ก็ให้ถือว่ามันเป็นกฎของความเป็นธรรมดา เมื่อฟังแล้วจิตก็ปล่อยวาง เบาไปอีกระดับ เบาไปในระดับที่ไม่ต้องมาแบกทุกข์ของคนอื่น ไม่ต้องมาแบกความกังวลของคนอื่น ต่างคนต่างมีกรรม เราช่วยเขาได้ แต่ต้องไม่เกินกฎของความเป็นธรรมดา เราช่วยเขาได้จากความทุกข์ แต่เราไม่จำเป็นต้องทุกข์ไปตามเขา

    เมื่อฟังแล้วก็เลยรู้สึกว่า ความทุกข์ในชีวิตเรามันเริ่มน้อยลงไปทุกทีๆ เพราะก่อนหน้านี้คิดว่า ตัวเอง ไม่ค่อยมีความทุกข์ในการดำรงชีิวิตที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากเวทนาของร่างกาย ดิฉันไม่มีปัญหาใหญ่ๆที่ต้องแก้ ไม่มีความทุกข์หนักในเรื่องการเรียน การงาน การใช้ชีวิต ทุกคนไม่เคยห่วงในการใช้ชีวิตของดิฉัน แต่ดิฉันกลับมีห่วงในการต้องไปแก้ไขปัญหาชีวิตให้ผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น เอาปัญหาผู้อื่นมาทุกข์อยู่เสมอ เพราะคิดว่า ตัวเองไม่ทุกข์ ต้องช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ แต่เวลาช่วยเหลือนั้นช่วยผิดวิธี แทนที่จะดึงกันให้พ้นทุกข์ กับไปแบกทุกข์ร่วมกัน ก็เลยเห็นว่าเรานี่หนอ ช่างไปสรรหาความทุกข์มาใส่ตัวทั้งที่ตัวเองไม่ทุกข์ จะทุกข์ร่วมกับเขาไปทำไม จงช่วยเท่าที่ช่วยได้ ที่เหลือวางอุเบกขาไป ทรงอารมณ์พรหมวิหารสี่ไปให้ครบ (ก่อนหน้านี้มีเมตตา กรุณา มุทิตาอย่างรุนแรง แต่ยังขาดอุเบกขา ทำให้ชีวิตที่ผ่านมาทุกข์ทรมานกับทุกข์ของคนรอบตัวเหลือเกิน) ถ้ามีเวลาพอที่จะคิดถึงความทุกข์ของผู้อื่น หรือมีความคิดที่จะแบกความทุกข์ของผู้อื่น ก็จงเอาเวลานั้นไปแบกอารมณ์ไปพระนิพพานเสียจะดีกว่า

    พอคิดได้เช่นนี้แล้วก็เลยคิดว่า เรื่องที่เราควรจะทุกข์มันเหลือน้อยลงทุกที ใจเริ่มเป็นทุกข์น้อยลงทุกที เรื่องความทุกข์ ก็คือทุกข์ของเขา เราอย่าไปฟุ้งตาม ไปหลงตามเขา ในเมื่อเราไม่มีความทุกข์ใจ มันก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ก็จงปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นไป ให้จิตนั้นพบความว่าง ไม่มีทั้งสุข ไม่มีทั้งทุกข์ ให้เป็นไปตามธรรมชาติของจิตที่แท้จริงเถิด

    อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องที่สอง ที่ได้เรียนรู้ ก็คือ ได้เข้าใจว่า ในการปฏิบัติต่อไปจากนี้ เราต้องปฏิบัติต่อไปด้วยศรัทธา ด้วยความเพียร ด้วยสติ เราต้องไม่ละศรัทธา ไม่ละความเพียร ไม่ละสติในการปฏิบัติ เพื่อให้เราสามารถทรงศีล และพรหมวิหารสี่ได้ทรงตัว ให้อารมณ์นั้นทรงตัว

    เรื่องสุดท้ายที่ได้เรียน ทำให้รู้ว่า เมื่อเราทำบุญ เราจะมีกิริยาแห่งบุญ คือ มีความรู้สึกอิ่มเอิบ เบิกบาน ดิฉันมักจะมีความรู้สึกเช่นนี้เวลาทำบุญ แต่ไม่สามารถอธิบายอารมณ์นี้ออกมาได้ กล่าวได้แต่เพียงว่ามีปิติ แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจะมีอารมณ์ปิติทุกครั้ง จนกระทั่งรู้สึกว่าปิตินี่มันจะเริ่มกลายเป็นปิติจนเป็นนิสัยแล้วนะ เริ่มกลัวว่าเราจะทำบุญเพราะหลงปิติ หลงอยากมีความอิ่มเอิบหรือเบิกบานหรือเปล่า จนกระทั่งได้ยินท่านจิตโตกล่าวในส่วนเรื่องของการมีกิริยาแห่งบุญ ทำให้ได้เข้าใจว่า มันเป็นเช่นนี้เอง ถือเป็นเรื่องปกติ ถือเป็นกิริยาแห่งบุญ เป็นเรื่องปกติของการทำบุญ ทำให้ดิฉันเริ่มมีอารมณ์ตั้งมั่นในการปฏิบัติต่อไปค่ะ

    ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของกระทู้ที่ได้กรุณาเลือกไฟล์เสียงที่เหมาะสมกับหลักสูตรและได้สรุปเนื้อหาโดยย่อให้กับผู้ที่สนใจในหลักสูตรนี้ และขออนุโมทนาสาธุการในการให้ธรรมะเป็นธรรมทานแก่ผู้ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาทุกท่าน และผู้ร่วมปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทุกท่านค่ะ

    ฐิตารัตน์
     
  4. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
  5. eee

    eee สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +23
    การบ้านของชั่วโมงที่ 18 :
    1. แสดงความคิดเห็น รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนวันนี้
    ตอบ รู้สึกว่าการปฏิบัติ แนวทางมีอยู่แล้วไม่ใช่เรื่องยากเลย สำคัญที่ต้องสม่ำเสมอและพร้อมตั้งใจจริง มีวิธีวัดผลชัดเจน ควรเจริญสติ เจริญพรหมวิหารสี่ และน้อมนำพาตนเข้ามาหาพระธรรมอยู่เสมอ กับรู้สึกโชคดีที่ได้เจอพระธรรมในรูปแบบmp3และข้อมูลดีๆในinternetค่ะ
    2. ดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ที่แนบมานี้ไปฟัง การบ้านคราวนี้มี 2 ไฟล์เสียง
    การบ้านบทที่ 18 - 1.mp3
    การบ้านบทที่ 18 - 2.mp3
    วิธีการฟัง :
    ให้ปิดไฟ หรือนั่งในที่มืดด้วยท่าสบายผ่อนคลาย
    ควรฟังในที่สงบหรือที่อันควรแก่การฟังธรรม
    ฟังอย่างตั้งใจและค่อย ๆ พิจารณาตามไปตลอดการฟัง
    ตอบ ฟังแล้วค่ะ
    3. จากไฟล์เสียงที่ได้ฟัง ท่านประทับใจหรือชื่นชอบประโยคใดเป็นพิเศษ
    ตอบ ถ้าเรายังฟุ้งแปลว่าเราปฏิบัติยังไม่ได้ผล ถ้าเราฟุ้งในศีล แปลว่า ศีลยังไม่รักษาเรา ถ้าเราฟุ้งใน พรหมวิหารสี่ แปลว่าสมาธิยังไม่ก่อกำเนิดให้ทรงตัว
    สิ่งที่เรามีมากกว่าคนอื่นเขา ก็คือ เราได้ฟังพระธรรมคำสอนจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอรหันต์ได้ถ่ายทอดมาให้เราได้ฟัง อันนี้เป็นความบริบูรณ์สมบูรณ์ที่สุดที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เราก็มีแล้ว จะพึงต้องการสิ่งใดมากไปกว่านี้เล่า
    ..แต่ในความเดือดร้อนของเรา เรากลับมีที่พึ่งอันยอดเยี่ยม
    สิ่งที่มีความสำคัญคือ เราต้องพ้นจากอบายภูมิ ชาตินี้ เราต้องไม่ตกนรก ไม่ต้องเกิดมาเพื่อเจอสิ่งเลวร้ายอีก เราต้องทำแต่ความดี ทิ้งความชั่ว ทำจิตใจของเราให้อยู่ในคุณธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเพื่อความผ่องใส
     

แชร์หน้านี้

Loading...