รบกวนหน่อยครับ ... ผมกำลังจะบวช (แต่ว่าไม่รู้อะไรเลย[ต้องการหนังสือ])

ในห้อง 'แจกฟรี' ตั้งกระทู้โดย loveboklove, 16 พฤศจิกายน 2011.

  1. loveboklove

    loveboklove Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +53
    จากที่ได้เคยปรึกษาทางเวปไปเกียวกับ บาป ที่ผมกระทำโดยมิได้ตั้งใจ

    http://palungjit.org/threads/คือว่าผม-ด่าพ่อ-แม่อะครับ.272430/

    กับ ...

    http://palungjit.org/threads/เวลาที่ผมเจอพ่อผมตอนที่อยู่ในบ้านผมๆรู้สึกอารมณ์ไม่ดีมาก-ๆ-เลย.273914/

    ผมอยากจะขอหนังสือที่มันเหมาะแก่การเตรียมตัวก่อนบวชอะครับ
    ผมอยากจะรบกวนผู้ใจบุญทั้งหลายช่วยส่งเคราะห์หนังสือให้ผมที

    ผมเคยอ่านเจอกระทู้อยู่เห็นพี่ ๆ ใจบุญ ส่งหนังสือไปให้พวกเขา ...
    ผมรบกวนหน่อยน่ะครับ อยากได้มาก ๆ เลย

    [ถ้าจะส่งซองไปให้ผมขอรบกวนตรงนี้ได้ไหมครับว่าผมไม่สะดวกส่งจริง ๆ เพราะที่ทำการมันอยู่ไกลบ้าน]
    ขอรบกวนพี่ ๆ ส่งมาให้ทีน่ะครับ ...

    ที่อยู่น่ะครับ

    ชื่อ นายกิตติกร เหลี่ยมทอง บ้านเลขที่
    44 ม.6 ต.ในคลองบางปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290

    รบกวนๆ พี่ ๆ ใจบุญทั้งหลายหน่อยน่ะครับ

    ผมขออนุโมทนาสาธุกับผู้ที่บริจาคหนังสือให้ผมในครั้งนี้ด้วยครับ

    ขออภัยหากโพสผิดที่ [ถ้าผิดยังไงก็ช่วยย้ายให้ด้วยน่ะครับ (กรุณาอย่าลบเลยนะครับ)]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2011
  2. chatpimuk

    chatpimuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +28
    มีอริยะวินัย วินัยของสงฆ์ ให้ยืมได้ไหมครับ
     
  3. loveboklove

    loveboklove Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +53
    แล้วผมจะคืนยังไงอะ T_T
     
  4. Sonaz

    Sonaz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +348
    อนุโมทนากับกุศลครั้งนี้ ด้วยครับ

    ท่านไม่ไปขอยืมที่วัดที่ท่านจะบวชละ พ่อวันบวชท่านก็เอาคืน เพื่อนผมก็ทำอย่างงี้นะ
     
  5. อติภัตโท

    อติภัตโท Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +83
    ซื้อหนังสือ มนต์พิธี ร้านขายหนังสือก็ได้ครับ
     
  6. chatpimuk

    chatpimuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +28
    ก็ส่
    จดหมายกลับมาไงครับ แต่ถ้าไม่ศึกก็ไม่ต้องคืนครับ
     
  7. หมออนามัย

    หมออนามัย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนาครับ ลองดูหนังสือมนต์พิธี และหนังสือนวโกวาทครับ
    จะเหมาะสำหรับผู้เตรียมตัวบวช
     
  8. คุณชัชช์

    คุณชัชช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    833
    ค่าพลัง:
    +725
    ขอร่วมกราบอนุโมทนาบุญกุศลในการบวชบรรพชาด้วยครับ

    การเตรียมตัวก่อนบวช

    ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน

    นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

    เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
    ๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
    ๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
    ๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
    ๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
    ๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
    ๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
    ๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
    ๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
    ๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
    ๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
    ๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
    ๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
    ๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
    ๑๔.สันถัต (อาสนะ)
    ๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง
    ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์


    ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
    ๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
    ๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
    ๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
    ๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
    ๕.รองเท้า ร่ม
    ๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
    ๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
    ๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
    ๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
    ๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
    *อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา


    คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช
    "กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพานเทอญ"


    การบวชนาคและแห่นาค
    การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
    -หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
    -แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
    -ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด
    -ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
    -ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
    -บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
    -ของถวายพระอันดับ
    -บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช
    เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

    เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช

    ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
    ๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
    ๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
    ๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
    ๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
    ๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
    ๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
    ๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

    ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่
    ๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
    ๒.เป็นคนหลบหนีราชการ
    ๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
    ๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
    ๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
    ๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย
    ๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้
    สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ

    บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ
    ๑.ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)
    ๒.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ
    ๓.สวดมนต์ไหว้พระ
    ๔.กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
    ๕.รักษาผ้าครอง
    ๖.อยู่ปริวาสกรรม
    ๗.โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ
    ๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
    ๙.เทศนาบัติ
    ๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น (ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)

    วิธีแสดงอาบัติ
    เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยานดังนี้
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
    สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง)
    สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง)
    อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
    อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
    (พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
    ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
    อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ
    (พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
    อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
    สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    นะ ปุเนวัง กะริสสาม
    นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
    นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ
    (พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
    สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
    สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
    อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
    อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
    อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย
    (พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
    อามะ อาวุโส ปัสสามิ
    (พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
    อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ
    (พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
    สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
    นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
    นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ

    เมื่อมอบตัวแล้วต้องจัดเตรียมหาเครื่องบวชคือ บริขาร ๘ ดังมีในบาลี ดังนี้
    ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สจิ จ พนฺธนํ ปริสฺสาวเนนทฏฺเฐเต ยุตุตโยคสฺส ภิกฺขุโน ได้แก่ ไตรจีวร บาตร พร้อมทั้งถลกบาตร มีด (มีดโกน) พร้อมหินลับมีด เข็มพร้อมทั้งกล่องและด้าย ประคตเอวรวมอยู่กับไตรจีวร และกระบอกกรองน้ำ

    เครื่องใช้อย่างอื่นเป็นส่วนประกอบในการบวช เช่น เสื่อ หมอน มุ้ง ร่ม รองเท้า ถุงย่าม กาน้ำ จาน ช้อน แปรง ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ เครื่องใช้สำรอง เช่น ผ้าอาบน้ำ สบง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวสำหรับนาคนุ่งวันบวช อย่างละหนึ่งผืน

    สำหรับไทยทาน ควรจัดไทยทานสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์หนึ่งที่ สำหรับถวายพระคู่สวดสองที่ และสำหรับถวายพระอันดับ ๒๒ ที่ โดยมากนิยมนิมนต์พระในพิธีบวช ๒๕ รูป พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์และคู่สวด
    นาคจะต้องเตรียมท่องคำขานนาคให้ได้ การฝึกซ้อมการขานนาคมีสองแบบคือ แบบเก่าและแบบใหม่ แบบเก่าควรปฏิบัติ ดังนี้

    ก่อนจะเข้าไปหาพระสงฆ์ทำพิธีบวช นาคจะนั่งอยู่แถวผนังโบสถ์ ด้านหน้าตรงกับพระประธาน เมื่อได้เวลาพ่อแม่พร้อมญาติ จะมอบผ้าไตรให้นาค โดยหยิบผ้าไตรจากพานแว่นฟ้า หากมีดอกไม้สดหุ้มไตรต้องหยิบมาด้วย นาคจะได้นำไปถวายพร้อมผ้าไตร เพื่อจะนำไปบูชาพระประธาน หากเป็นดอกไม้แห้งควรหยิบถอดออกไปเหลือแต่ผ้าไตรอย่างเดียว พ่อแม่จับผ้าไตรด้วยกันนั่งอยู่หน้านาค ส่วนนาคต้องนั่งคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วยื่นแขนออกไปรับไตรจีวร พ่อแม่วางให้บนท่อนแขน แล้วควรหลีกออกไปสองข้าง นาคอุ้มผ้าไตรไปหาพระอุปัชฌาย์ พอใกล้ที่นั่งสงฆ์ต้องทรุดตัวลงนั่งแล้วเดินเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ประเคนผ้าไตรให้ท่านแล้ว คอยเอี้ยวตัวมาทางขวามือรับเครื่องสักการะทุกอย่างถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง พระอุปัชฌาย์จะมอบผ้าไตรให้นาครับแล้วลุกขึ้นยืนก้มตัวพองามเตรียมว่าคำขานนาค ดังนี้

    อุกาส วันฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต มยา กตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อุนุโมทามิ ,
    อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ปพฺพชฺชํ เทถ เม ภนฺเต (นั่งคุกเข่าลงว่า) อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
    ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
    ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
    สพฺพทุกฺขนิสฺสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺ ถาย , อิมํ กาสาวํ คเหตฺวา ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต , อนุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน)

    จบแล้วน้อมถวายผ้าไตรให้กับพระอุปัชฌาย์ และกล่าวคำขอผ้าต่อไปว่า
    สพฺพทุกฺขนิสสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย , เอตํ กาสาวํ ทตฺวา ปพฺพา เชถ มํ ภนฺเต อมุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน)

    จบแล้วกราบสามครั้ง ลงนั่งพับเพียบประนมมือฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์ต่อไป จนกระทั่งสอนกัมมัฏฐาน นาคคอยว่าตามว่า
    เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ (เป็นอนุโลม)
    ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา (เป็นปฏิโลม)

    เมื่อสอนกัมมัฏฐานเสร็จแล้ว จะมอบผ้าไตรให้ไปห่ม ถึงตอนนี้ท่านจะบอกให้นาคลุกขึ้นนั่งคุกเข่า หากสวมเสื้อคลุมไว้ หรือสวมเครื่องประดับต่าง ๆ หรือผ้าสไบเฉียงไว้ ท่านจะให้ถอดออก แล้วท่านจะคล้องอังสะให้ นาคต้องก้มศีรษะเตรียมให้ท่านสวม เสร็จแล้วคอยรับผ้าไตรที่ท่านจะมอบให้ไปห่มอุ้มไว้ แล้วถอยออกมาให้พ้นพระสงฆ์ก่อนจึงลุกขึ้นเดินตามพระสงฆ์ที่ท่านให้ไปช่วยห่อผ้าให้

    เมื่อห่มผ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์จะพามานั่งหน้าพระคู่สวดที่จะให้ศีล นั่งคุกเข่าข้างหน้าปูผ้ากราบไว้แล้วรับเครื่องสักการะประเคนท่าน กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกขึ้นยืน ก้มตัวลงเล็กน้อย กล่าวคำขอศีล ดังนี้

    อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา ภตํ ปญฺญํ สามินา อมุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทานิ ,
    อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ติสรเณน สห สีลานิ เทถ เม ภนฺเต
    แล้วนั่งคุกเข่าว่า อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ
    ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ
    ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลัง ยาจามิ
    นโม ตสฺส ภควาโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (สามหน) นาคว่าตามแล้วพระอาจารย์จะบอกว่า ยมหํ วทามิ ตํ วเทหิ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ไตรสรณาคมน์ นาคว่าตามท่านทีละวรรค ดังนี้ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺป สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ

    จบแล้วพระอาจารย์ถามว่า ติสรณคมนํ นิฏฐิตํ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ศีลสิบต่อไปทีละสิกขาบท นาครับว่าตามทีละสิกขาบท ดังนี้

    ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    อทินฺนา ทานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    อพฺรหมฺ จริยา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    วิกาลโภชนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    มาลาคนฺธวิเลปน ธารณ มณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    อุจ จา สยนมหา สยนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ชาตรูป รชต ปฏิคฺคหณา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    อิมานิ ทส สิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ นาคว่าสามครั้ง แล้วกราบหนึ่งครั้ง จากนั้นลุกขึ้นยืนว่า อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา กตํ ปุญฺญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทามิ แล้วนั่งลงกราบสามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบรรพชาเป็นสามเณร

    ต่อจากนั้นนาคจะคอยรับประเคนบาตร พร้อมทั้งดอกบัวธูปเทียนหนึ่งกำ ซึ่งเตรียมใส่ไว้คู่กับบาตรจากพ่อแม่ เมื่อจะรับประเคนต้องปูผ้ากราบข้างหน้า พ่อแม่จะวางแล้วนาคอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เพื่อขอนิสสัยไปถวายบาตรแล้วคอยรับพานเทียนแพถวายพระอุปัชฌาย์ด้วย แล้วกราบสามครั้ง ลุกขึ้นยืนว่า

    อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา กตํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทามิ , อุกาส การุญฺญํ กตฺวา นิสสยํ เทถ เม ภนฺเต , นั่งลงว่า อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
    ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
    ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
    พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปฏิรูปํ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต
    พระอุปัชฌายฺกล่าวว่า โอปายิกํ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต

    นาคว่าต่อ อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร อหมฺปิ เถรสฺส ภาโร ว่าสามครั้ง แล้วกราบลงหนึ่งครั้ง จากนั้นนั่งลงฟังพระอุปัชฌาย์ให้โอวาทต่อไป จนกระทั่งท่านตั้งชื่อฉายาว่าอะไร และบอกชื่อของท่าน เมื่อคู่สวดสอบถามว่า กินฺนาโมสิ แปลว่า ท่านชื่ออะไร
    ให้นาคตอบว่า อหํ ภนฺเต ติกฺขวีโร นาม ชื่อนาค
    นาคอยรับตอบท่านว่า อาม ภนฺเต

    เมื่อคู่สวดถามว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย แปลว่า อุปัชฌาย์ของท่านชื่อ อะไร
    ให้นาคตอบว่า อุปัชฌาย์โย เม ภนฺเต อายสฺมา ปภสฺสโร นาม ชื่ออุปัชฌาย์
    นาคคอยรับตอบท่านว่า อาม ภนฺเต

    ต่อจากนั้น พระอุปัชฌาย์จะบอกชื่อบริขารให้นาค นาคต้องคอยรับว่า อาม ภนฺเต ทุกครั้ง เช่น พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยนฺเต ปตฺโต นาครับว่า อาม ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ สงฺฆาฏิ นาครับว่า อาม ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ อุตฺตราสงฺโค นาครับว่า อาม ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ อนฺตรวสโก นาครับว่า อาม ภนฺเต

    แล้วพระอุปัชฌาย์จะบอกต่อไปว่า คจฺฉ อมมฺหิ โอกาเส ติฏฐาหิ นาคไม่ต้องกล่าวอะไร แต่ให้ค่อย ๆ ถอยออกมา พอพ้นพระสงฆ์จึงลุกขึ้นเดินไปยังผนังโบสถ์ด้านหน้า อ้อมเสื่อที่ปูไว้ให้พระคู่สวดยืน ยืนประนมมือ หันหน้ามาทางพระสงฆ์

    ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะเริ่มสวดกรรมวาจาญัตติ ชาวบ้านที่มาร่วมในงานต้องนั่งอยู่กับที่ ห่างจากพระสงฆ์สองศอกขึ้นไป

    เมื่อพระคู่สวด สวดสมุมติ เป็นผู้สอบถามแล้ว จะออกไปยืนสวดบนเสื่อที่ปูไว้หน้านาคจนถึงคำว่า กุฏฺฐํ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    คณฺโฑ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    กิลา นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    โสโส นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    อปมาโร นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    มนุสฺโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    ปุริโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    ภุชิโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    อนโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    นสิ ราชภโฏ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    อนุญฺญาโตสิ มาตาปิตุหิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    ปริปุณณนฺเต ปตฺตาจีวรํ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
    กินนาโมสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต

    จากนั้น พระคู่สวดจะสั่งให้นาครออยู่ตรงนี้ก่อน ท่านจะกลับไปที่ประชุมสงฆ์ เมื่อท่านกลับไปสวดกรรมวาจาในที่ประชุมสงฆ์จนถึงคำว่า อาคจฺฉาหิ ท่านจะกวักมือเรียก นาคจะต้องเข้าไปโดยอ้อมเสื่อที่ปูไว้ พอไปใกล้พระสงฆ์แล้วนั่งคุกเข่าลง กราบเบญจางคประดิษฐ์ พระสงฆ์ซ้ายขวาสามครั้ง พระสงฆ์นั่งอันดับ จะคอยจับบาตรให้ แล้วนั่งคุกเข่า กล่าวคำขออุปสมบท ดังนี้ สงฺฆมฺ ภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
    ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
    ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
    แล้วกราบลงหนึ่งครั้ง นั่งอยู่กับที่

    พระอุปัชฌาย์ท่านจะกล่าวคำเผดียงสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์รับว่า สาธุ พร้อมกันแล้ว นาคจึงเดินเข้าไปนั่งในท่ามกลางสงฆ์ใกล้พระอาจารย์คู่สวด พระสงฆ์นั่งอันดับสองรูปริมสุด จะนั่งปิดหลังนาคทันที นาคนั่งคุกเข่าคอยฟังพระอาจารย์คู่สวด จะสวดสอบถามต่อไปเช่นเดียวกับตอนสวดสอบถามครั้งแรก นาคก็ตอบเช่นที่ตอบเมื่อตอนสวดสอบถามครั้งแรก จนถึงตอนสุดท้ายถามว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย นาคตอบ เช่น พระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปภสฺสโร ก็ตอบว่า อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต อยสฺมา ปภสฺสโร นาม

    ต่อจากนี้ พระอาจารย์คู่สวดจะสวดกรรมวาจา เป็นญัตติ จตุตถกรรมวาจา นาคต้องนั่งอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป พระอาจารย์จะสวดกรรมวาจาจนจบถึงสี่ครั้งจึงเป็นการเสร็จพิธี เมื่อเสร็จแล้ว พระใหม่ควรถอดถลกบาตรที่คล้องออกวางไว้ข้าง ๆ กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ ประนมมือคอยฟังพระอุปัชฌาย์ จะบอกสอนอนุศาสน์แปด เป็นภาษาไทยก่อน แล้วจะบอกเป็นภาษาบาลีว่า

    อนุญฺญาสิ โข ภควา อุปสมฺปาเทตฺวา จตฺตาโร นิสฺสาย จตฺตาริ จ , อกรณียานิ อาวิกฺ ขิตุ ํ
    (๑) ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ สงฺฆภนฺตํ อุทฺเทสภตฺตํ นิมนฺตนํ สลากภตฺตํ ปกฺขิกํ อุโปสถิกํ ปาฏิปทิกํ ฯ
    (๒) ปํสุกูลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ เขมํ กปฺปาสิกํ โกเสยฺยํ กมฺพลํ สาณํ ภงฺคํ ฯ
    (๓) รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ วิหาโร อฑฺฒโยโค ปาสาโท หมฺมิยํ คูหา ฯ
    (๔) ปูติมุตฺต เภชสชฺชํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชํ ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ ฯ
    (๑) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา เมถุโน ธมฺโม น ปฏิเสวิตพฺโพ อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ โย ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวติ อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย เสยฺยถาปิ นาม ปริโส สีสจฺฉินฺโน อภพฺโพ เตนิ สรีรพนฺธเน ชีวิตุ ํ เอวเมว ภิกขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาชีวํ อกรณียํ ฯ
    (๒) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อทินฺนํ เถยยสงฺฆาตํ น อาทาตพฺพํ อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย โย ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺ ขาตํ อาทิยติ อสฺสมโณ โหติ อสกฺย ปตฺติโย เสยฺถาปิ นาม ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตตตาย เอวเมว ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺฆาตํ อาทิยิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺปุตฺตีโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ ฯ
    (๓) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา สญฺจิจจ ปาโณ น โวโรเปตพฺโพ อนฺตมโส กุนฺถกิปิลฺลิกํ อุปาทาย โย ภิกขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส ตพฺภปาตนํ อุปาทาย อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา ทฺวิธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ เอวเมว ภิกฺขุ สญฺจิจจ มนุสฺสวิคคหํ ชีวิตา โวโรเปตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ ฯ
    (๔) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม น อุลฺลปิตพฺโพ อนฺตมโส สุญญาคาเร อภิรมามติ โย ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลลปติ ฌานํ วา วิโมกฺขํ วา สมาธิ วา สมาปตฺตึ วา มคฺคํ วา ผลํ วา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน อภพฺโพ ปุนวิรุฬฺหิยา เอวเมว ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสสธมฺมํ อุลฺลปิตวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียนฺติ
    อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ยาวเทว ตสฺส มทนิมมทนสฺส ปิปาสวินยสฺส อาลยสมุคฺ ฆาตสฺส วฏฺฏปจฺเฉทสฺส ตณฺหกฺขยสฺส วิราคสฺส นิโรธสฺส นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย

    ตตฺถ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสฺสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา ตสฺมาติห เต อิมสฺมึ ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย สกฺกจฺจํ อธิสีลสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา อธิจิตฺตสิกฺขา สิกขิตพฺพา อธิปญฺญาสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ ฯ
    พระใหม่รับว่า อาม ภนฺเต แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่ากราบสามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีในการบวช


    ลำดับพิธีบรรพชาอุปสมบท

    การลาญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนับถือ เป็นเรื่องที่ผู้จะบวชพึงทำ วิธีปฏิบัติคือ ให้เตรียมกระทงดอกไม้มีกรวยครอบ พร้อมธูปเทียนแพวางลงบนพาน เมื่อไปถึงผู้ที่จะรับการลา ก็เข้าไปกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง เปิดกรวยกระทงดอกไม้แล้วยกขึ้นประคองต่อหน้าผู้รับการลาพร้อมกับกล่าวคำขอขมาว่า

    "กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินต่อท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งที่รู้และไม่รู้ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งเพศพรหมจรรย์ ขอท่านโปรดอโหสิกรรมนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วย เทอญ"

    ญาติผู้ใหญ่จะเอื้อมมือมาแตะพาน แล้วกล่าวว่า

    "สาธุ ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้เธอทุกอย่าง และขอให้เธอจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขออนุโมทนาต่อท่านที่ได้บวชในพระพุทธศาสนา ทดแทนคุณบิดามารดา และจงเป็นศาสนทายาท สืบต่อพระพุทธศาสนาด้วยดีในเพศพรหมจรรย์ เทอญ"
    จบแล้วนาคจึงเอาพานวางที่พื้น กราบเบญจางคประดิษฐ์อีกสามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ เมื่อสนทนาพอสมควรแก่เวลาแล้ว บอกลาท่าน ท่านจะมอบพานดอกไม้ เทียนแพคืนให้ เพื่อจะได้นำไปใช้ลาท่านผู้อื่นต่อไป

    การปลงผม ถ้าในงานบวชนาคนั้นมีพิธีทำขวัญนาคด้วย ก็จะปลงผมก่อนวันบวชหนึ่งวัน แล้วนุ่งขาวห่มขาวเข้าพิธีทำขวัญนาค ถ้าไม่มีการทำขวัญนาคก็จะปลงผมในวันบวช โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ หรือพระภิกษุที่คุ้นเคยเป็นผู้ขลิบปลายผมให้ก่อนเป็นพิธี ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ทีโกนผมเป็นโกนผม หนวด เครา คิ้ว ให้หมดจด อาบน้ำแล้ว นุ่งขาวห่มขาว เตรียมเข้าโบสถ์เพื่อทำพิธีบรรพชาอุปสมบทต่อไป

    การนำนาคเข้าโบสถ์ ตามประเพณีนิยม มักปลงผมนาค และทำขวัญนาคที่บ้านของเจ้านาค วันรุ่งขึ้นจึงมีขบวนแห่ไปยังวัด แล้วแห่นาคไปยังโบสถ์ เวียนโบสถ์สามรอบแบบทักษิณาวรรต พร้อมด้วยเครื่องอัฏฐบริขารที่ใช้ในการบวช และของที่ถวายพระ จนครบแล้วจะให้นาคมาวันทาสีมา ส่วนเครื่องอัฏฐบริขาร และของถวายพระ จะนำไปตั้งในโบสถ์ก่อน การวันทาสีมา นาคจะจุดธูปเทียนที่เสมาหน้าโบสถ์ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำวันทาสีมา ดังนี้ แบบที่หนึ่ง อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ พุทฺธํ อภิปูชยามิ
    อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ
    อิมินา สกฺกาเร พทฺธเสมายํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ
    แล้วกราบปักดอกไม้ ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้ แบบที่สอง อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต มยา กตํ ปญฺญํ สามินา
    อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
    แล้วกราบ ปักดอกไม้ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้

    เมื่อวันทาเสมาเสร็จแล้ว นำนาคมาที่หน้าโบสถ์ นาคจะโปรยทาน เสร็จแล้วจึงจูงนาคเข้าโบสถ์ โดยบิดาจูงมือข้างขวา มารดาจูงมือข้างซ้าย พวกญาติคอยจับชายผ้าตามส่งข้างหลัง นาคต้องก้าวข้ามธรณีประตูห้ามเหยียบเป็นอันขาด เมื่อพ้นประตูไปแล้วให้เดินตรงไปที่พระปรธาน ไหว้พระประธานโดยใช้ดอกไม้ธูปเทียนอีกหนึ่งกำนำไปจุดธูปเทียนบูชาพระประธาน ใช้คำบูชาพระเหมือนคำวันทาเสมาข้างต้น แล้วกลับมานั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้แถวผนังด้านหน้าของโบสถ์

    พิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อถึงกำหนด พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนาในพิธีบวชมีพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวดและพระอันดับจะเข้าอุโบสถ นั่งตามแผนผังที่คณะสงฆ์กำหนด พิธีเริ่มโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่เข้ามานั่งข้างหน้านาค เพื่อจะมอบผ้าไตรให้นาคเข้าทำพิธีบวชต่อพระสงฆ์ต่อไป ซึ่งปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีซ้อมขานนาคที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระอุปัชฌาย์บอก อนุศาสน์เสร็จแล้ว เจ้าภาพ ญาติมิตรถวายของพระอันดับ พระใหม่ถวายพระอาจารย์คู่สวดอีกหนึ่งรูปที่ยังมิได้ถวาย

    ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์จะบอกให้พระใหม่มานั่งรับประเคนของบริวารบวชที่ด้านหน้า พระใหม่จะออกมานั่งพับเพียบอยู่ท้ายอาสนสงฆ์ ทอดผ้ากราบไว้ข้างหน้า หากผู้ชายประเคนก็รับของด้วยมือ หากเป็นผู้หญิงก็จับผ้ากราบไว้ โยมผู้หญิงจะวางบนผ้ากราบ เมื่อรับของประเคนหมดแล้ว ให้กลับนั่งหันหน้ามาทางพระสงฆ์ เตรียมกรวดน้ำ

    การกรวดน้ำ เมื่อเสร็จการรับประเคนแล้ว พระใหม่และพ่อแม่หรือผู้ปกครอง หรือเจ้าภาพในการบวชครั้งนี้ จะกรวดน้ำโดยใช้เต้ากรวดน้ำคนละที่ เมื่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในที่นั้น เริ่มบทอนุโมทนาว่า ยถา วารีวหา ปูร ....พระใหม่และญาติที่เป็นเจ้าภาพก็จะกรวดน้ำพร้อมกัน เมื่อขึ้นบท สพฺพีติโย.... ก็กรวดน้ำหมดเต้าพอดี นั่งพนมมือรับพรจากพระสงฆ์ เสร็จแล้วพระใหม่กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีการบวช หลังจากนั้นพระพี่เลี้ยงจะนำพระใหม่ขึ้นจากโบสถ์ พระใหม่ควรสะพายบาตรด้วยไหล่ขวา มือซ้ายถือพัด ส่วนของอื่นให้ผู้อื่นถือไป พระพี่เลี้ยงจะนำออกทางประตูหน้า

    คำขอบรรพชาอุปสมบทใหม่ (สำหรับนาคคนเดียว)
    เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ , ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ , ธมฺมญฺจ ภิกขุสงฺฆญฺจ , ลเภยฺยาหํ ภนฺเต ตสฺส ภควโต ธมฺมวินเย , ปพฺพชฺชํ ลเภยฺยํ อุปสมฺปทํ
    ทุติยมฺปิ....
    ตติยมฺปิ...
    อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ , อิมานิ กาสายานิ วตฺถานิ คเหตฺวา ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต อนุกมฺปํ อุปาทาย
    ทุติยมฺปิ....
    ตติยมฺปิ...

    ตจปัญจกัมมัฏฐาน โดยอนุโลม เกษา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ
    โดยปฏิโลม ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกษา

    คำขอสรณาคมน์และศีล อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจาม
    ทุติยมฺปิ.....
    ตติยมฺปิ.....

    บทนมัสการ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (สามหน)
    พระอาจารย์กล่าวว่า ยมฺหํ วทามิ ตํ วเทหิ
    ผู้บรรพชากล่าวรับว่า อาม ภนฺเต
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ.....
    ตติยมฺปิ.... พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ พระอาจารย์ว่า ติสรณคมนํ นิฏฺฐิตํ
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต

    ศีลสิบ ปาณาติ ปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ฯลฯ
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

    คำขอนิสสัย อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
    ทุติยมฺปิ .....
    ตติยมฺปิ.......
    อุปชฺชาโย เม ภนฺเต โหหิ (ว่าสามหน) พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปฏิรูปํ
    ผู้บรรพชากล่าวรับว่า สาธุ ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า โอปายิกํ
    ผู้บรรพชากล่าวรับว่า สาธุ ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ
    ผู้บรรพชากล่าวรับว่า สาธุ ภนฺเต
    อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร อหมฺปิ เถรสฺส ภาโร (ผู้บรรพชาว่าสามครั้ง)

    คำบอกสมณบริขาร พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยนฺเต ปตฺโต ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยํ สงฺฆาฏิ ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยํ อุตตราสงฺโค ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
    พระอุปัชฌาย์บอกว่า อยํ อนฺตราวาสโก ผู้บรรพชารับว่า อาม ภนฺเต
    คจฺฉ อมุมฺหิ โอกาเส ติฏฐานิ

    คำขานนาค พระคู่สวดว่า กุฏฐํ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า คณฺโฑ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า กิลาโส นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า โสโส นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า อปมาโร นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า มนุสโสสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า ปุริโสสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า ภูชิสฺโสสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า อนโณสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า นสิ ราชภโฏ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า อนุญฺญาโตสิ มาตาปิตูหิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า ปริปุณณวีสติวสฺโสสิ นาคขานว่า อหํ ภนฺเต (ปญฺญาธโร นาม)
    พระคู่สวดว่า กินฺนาโมสิ นาคขานว่า นตฺถิ ภนฺเต
    พระคู่สวดว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย นาคขานว่า อุปชฺฌาโย เม ภนฺเตอายสฺมา (ติสฺสเทโว นาม)

    คำขออุปสมบท
    สงฺฆมฺภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ , อุลฺลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ , อนุกมฺปํ อุปาทาย
    ทุติยมฺปิ......
    ตติยมฺปิ......

    บุพพกิจสำหรับภิกษุใหม่
    กิจเบื้องต้นที่พระบวชใหม่จะต้องกระทำคือการพินทุกัปปะ กับการอธิษฐานเครื่องบริขาร โดยพระพี่เลี้ยงจะแนะนำให้ คือ

    การทำพินทุกัปปะ เป็นธรรมเนียมของพระภิกษุว่า จะต้องทำเครื่องนุ่งห่ม ของใช้บางอย่างให้ถูกต้องตามพระวินัยเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ เป็นหน้าที่พระอุปัชฌาย์จะแนะนำ หรือมอบหมายให้พระรูปหนึ่งเป็นพี่เลี้ยงแนะนำการทำพินธุกัปปะให้ การทำพินธุกัปปะต้องใช้ดินสอดำหรือสีดำ ทำจุดให้เป็นวงกลมหรือเลขศูนย์เล็ก ๆ โดยใช้ดินสอลากลงไปที่มุมใดมุมหนึ่ง พอเป็นที่สังเกต พร้อมกับเปล่งคำว่า อิมํ พินทุกัปปํ กโรมิ

    เมื่อทำการพินทุกัปปะแล้วต้องทำการอธิษฐานบริขารนั้นด้วย จึงจะใช้ได้ บริขารที่กำหนดให้อธิษฐาน เช่น ไตรจีวร บาตร ผ้าปูนั่ง เป็นต้น ควรแยกอธิษฐานเป็นอย่าง ๆ ไป มีคำอธิษฐาน ดังนี้ ผ้าสังฆาฏิ อธิษฐานว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิษฐานมิ
    ผ้าอุตตราสงค์ (จีวร) อธิษฐานว่า อิมํ อุตฺตราสงฺตํ อธิษฐานมิ
    ผ้าอันตรวาสก (สบง) อธิษฐานว่า อิมํ อนฺตรวาสกํ อธิษฐานมิ
    บาตร อธิษฐานว่า อิมํ ปตฺตํ อธิษฐานมิ
    ผ้าปูนั่ง อธิษฐานว่า อิมํ นิสีทนํ อธิษฐานมิ
    ผ้าปูที่นอน อธิษฐานว่า อิมํ ปจฺจถรณํ อธิษฐานมิ
    ผ้าอาบน้ำฝน อธิษฐานว่า อิมํ วสฺสิกสาฏิกํ อธิษฐานมิ

    เนื้อที่พระภิกษุฉันไม่ได้ มีสิบอย่าง ชาวบ้านไม่ควรถวาย คือ

    1.เนื้อมนุษย์
    2.เนื้อช้าง
    3.เนื้อม้า
    4.เนื้อสุนัข
    5.เนื้องู
    6.เนื้อราชสีห์
    7.เนื้อหมี
    8.เนื้อเสือโคร่ง
    9. เนื้อเสือดาว
    10.และเนื้อเสือเหลือง

    พระภิกษุใหม่จะต้องอยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ และเล่าเรียนพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ตาม พระธรรมวินัยได้อย่างถูกต้อง ให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคติของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ให้สมกับที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา


    ----------------------------------------------

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก......

    http://www.pantown.com/board<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. sinfadza

    sinfadza Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +37
    สาธุ ชื่นใจจังเลยครับในบุญที่ท่านคิดจะบรรพชา ผมเองก็ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับผม
     
  10. loveboklove

    loveboklove Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +53
    ขอบคุณมาก ๆ ครับเดียวผมจะนำไปปฏิบัติครับผม
     
  11. wuttisak25

    wuttisak25 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +5
    อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ แล้วอย่าลืมศึกษาพระวินัยด้วยนะครับ จะได้ไม่ต้องกระทำผิดแบบไม่รู้อะไร
     
  12. ฉลามขาว

    ฉลามขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +2,730
    อนุโมทนาด้วยครับ
    จขกท. สามารถพิมพ์ข้อความตาม คห.9 มาศึกษาได้เลยนะครับ...
     
  13. B&N

    B&N Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +89
    อนุโทนาด้วยครับ........ขอให้ขอหนังสือจากวัดที่จะบวชครับเนื่องจากธรรมเนียมแต่ละที่ไม่เหมือนกันครับ แล้วที่วัดจะมีพระพี่เลี้ยงสอนให้ท่องคำขานนาคด้วยครับ ส่วนธรรมปฏิบัติก็เหมือนกันครับ แนะนำให้หาดูหาฟังที่เว็บศูนย์พุทธศรัทธาครับ แล้วก็วิมุตติดอทเน็ทครับ
     
  14. ลุงเจ

    ลุงเจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +599
    บวชแล้วหรือยังครับ
     
  15. loveboklove

    loveboklove Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +53
    ยังครับ บวช 27 ธันวาคมปีนี้ครับ [2555]
     
  16. phraedhammajak

    phraedhammajak เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,602
    ค่าพลัง:
    +2,972
    ก็ขออนุโมทนาด้วยสำหรับความตั้งใจที่ดีในการจะบวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา แต่วัดหรือสำนักที่เราจะบวช หรือบวชแล้วจะไปศึกษากับท่าน นี้สำคัญมาก หากคิดจะบวชศึกษาพระธรรมวินัยจริงๆก็ขอให้เลือกครู ให้ดี
    หลวงปู่ขาวท่านเทศน์เอาไว้ ว่า ตำราดูพระว่ามีกี่จำพวก เท่าที่ลองประมวลดูก็พอที่จะได้สัก ๔ จำพวก

    ๑.พระพิธี คือบวชเข้ามามุ่งแต่รับพิธี มีการรับทำพิธีต่างๆ ให้ชาวบ้าน เช่นฉันเช้า ฉันเพล ในพิธีต่างๆ มีขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้าน แต่งงาน งานศพ เป็นต้น ธัมธัมโมไม่กระดิกหู

    ๒.พระชี้กรรม คือ บวชเข้าไปศึกษาเล่าเรียน แล้วก็เที่ยวเทศน์สอนคนอื่นแต่ส่วนมากจะไม่ได้มุ่งสอนตน คอยชี้แนะว่าสิ่งนี้ผิดควรละ สิ่งนี้ถูกควรปฏิบัติ เป็นประเภทพระสอน

    ๓.พระนำทาง คือ พระบวชเข้าไปเพื่อมุ่งการปฏิบัติขัดเกลาจิต เป็นผู้นำในทางที่ถูกต้อง สนใจแต่ด้านการปฏิบัติอย่างเดี่ยว ไม่สนใจในการศึกษาเล่าเรียนปริยัติ ได้แก่พระสายกรรมฐาน

    ๔.พระขวางนิพพาน คือ บวชเข้ามาขวางทางบรรลุพระนิพพาน ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์แข่งกับพระพุทธเจ้า ทำตัวเป้นอันธพาลสันดาลหยาบ เป็นศัตรูต่อความดีด้วยการกระทำที่นอกรีดนอกรอยของสมณะ เช่น การประกอบดิรัจฉานวิชา การไม่ศึกษาเล่าเรียน ไม่ใส่ใจในการประพฤติปฏิบัติขัดเกลา ไม่เอื้อเฟื้อใในสิกขาวินัย เป็นต้น

    ที่นำมาเสนอนี้ก็เพื่อเป็นข้อคิดแก่ผู้คิดจะบวช ว่าพระนั้นมีหลายประเภท ก่อนจะบวชจะได้มีโอกาสเลือกวัดตามที่เราชอบ จะได้ไม่ไปคิดปรับพระในวัด เพราะเราปรับใจของเรามาก่อนแล้ว

    ถ้าหากเราอยากที่จะได้ประโยชน์ในการบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ก็จะต้องเลือกครูบาอาจารย์ที่ดีเป็นกัลยาณมิตร ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2012
  17. บุษบรรณ

    บุษบรรณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2010
    โพสต์:
    2,212
    ค่าพลัง:
    +8,603

แชร์หน้านี้

Loading...