มิลินทปัญหา คำนมัสการพระรัตนตรัย

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 14 ธันวาคม 2009.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    [​IMG]
    มิลินทปัญหา

    โดย..."วัฒนไชย" รวบรวม



    คํานมัสการพระรัตนตรัย ของ พระติปิฎกจุฬาภัยเถระ





    <DD>"..พระจริยาอันเป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณธรรมอันใหญ่พระองค์ใดมีอยู่ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้สมเด็จพระบรมครูพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีอานุภาพอันเป็นอจินไตย ผู้เป็นนายกอันเลิศของโลก สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์พระองค์ใด เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาจรณะ นําหมู่สัตว์ออกจากโลกด้วยธรรมะอันใด






    <DD>ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ธรรมะอันนั้น ซึ่งเป็นธรรมะอันสูงสุด เป็นธรรมะอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชา
    พระอริยสงฆ์ใดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ มีศีลคุณเป็นต้น เป็นผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์นั้น
    ผู้เป็นนาบุญอันเยี่ยมของโลก






    <DD>บุญอันใดที่ข้าพเจ้าทําให้เกิดขึ้นด้วยการนอบน้อมพระรัตนตรัยอย่างนี้ ด้วยเดชแห่งบุญอันนั้น จงให้อันตรายหายไปจากข้าพเจ้าในที่ทั้งปวง จงให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปราศจากอันตราย มิลินทปกรณ์ คือคัมภีร์มิลินท์อันใด ที่ประกอบด้วยปุจฉาพยากรณ์มีอยู่ ขอท่านทั้งหลายจงฟังปัญหาทั้งหลายอันละเอียดลึกซึ้ง ที่มีอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหานั้น เพราะการฟัง
    มิลินทปัญหานั้น จักทําให้เกิดประโยชน์สุข..."



    พุทธพยากรณ์ในวันปรินิพพาน







    <DD>เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับเหล่าพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จไปที่เมืองกุสินารามหานคร ในเวลาที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงบรรทมบนบัลลังก์ หันพระเศียรไปทางทิศอุดร ในระหว่างนางรังทั้งคู่ อันมีอยู่ในพระราชอุทยานของพวกมัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า






    <DD>"ภิกษุทั้งหลาย...เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้รู้ว่า สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทํากิจ
    ทั้งปวง ด้วยความไม่ประมาทเถิด ธรรมวินัยอันใด..เราบัญญัติไว้แล้ว เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ธรรมวินัยนั้นแหละ..
    จะเป็นครูของพวกเธอ






    <DD>เมื่อเราปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสป จะระลึกถึงถ้อยคําที่ไม่ดีของ สุภัททภิกขุ ผู้บวชเมื่อแก่ แล้วจะกระทํา สังคายนา เพื่อรักษาพระพุทธวจนะไว้มิให้คลาดเคลื่อน ต่อนั้นไปอีก ๑๐๐ ปี พระยสกากัณฑกบุตร ผู้จะย่ำยีซึ่งถ้อยคําของพวก ภิกษุวัชชีบุตร จะได้กระทํา สังคายนาครั้งที่ ๒






    <DD>ต่อไปอีกได้ ๒๑๘ ปี พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ผู้จะลบล้างลัทธิของพวกเดียรถีย์ภายนอก จักได้กระทํา สังคายนาครั้งที่ ๓ ต่อมาภายหลัง พระมหินทเถระ จะไปประดิษฐานศาสนาของเราลงไว้ที่ ตามพปัณณิทวีป (ลังกา)






    <DD>ต่อจากเราปรินิพพานไปล่วงได้ ๕๐๐ ปี จักมีพระราชาองค์หนึ่งชื่อว่า มิลินท์ ผู้ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ดีแล้ว จะทําให้เกิดปัญหาอันละเอียดขึ้นด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียด






    <DD>จะมีภิกษุองค์หนึ่งชื่อว่า นาคเสน ไปทําลายถ้อยคําของ มิลินทราชา ทําให้ มิลินทราชาเกิดความร่าเริงยินดีด้วยอุปมาเป็นเอนก จะทําศาสนาของเราให้หมดเสี้ยนหนามหลักตอ จะทําศาสนาของเราให้ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐๐ พรรษา..." ดังนี้






    <DD>เพราะฉะนั้นจึงได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดเกิดในตระกูลในเวลาล่วงได้ ๕๐๐ ปี จากปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วนั้น ผู้นั้นจักได้ชื่อว่า "มิลินทราชา" เสวยราชย์อยู่ใน "สาคลนคร" อันเป็นเมืองอุดม "มิลินทราชา" นั้นจักได้ถามปัญหาต่อ "พระนาคเสน" มีอุปมาเหมือนกับน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไปสู่มหาสมุทรสาครฉะนั้น






    <DD>พระองค์เป็นผู้มีถ้อยคําอันวิจิตร ได้เสด็จไปหาพระนาคเสนในเวลาราตรี มีคบเพลิงจุดสว่างไสว แล้วถามปัญหาล้วนแต่ละเอียดลึกซึ้ง ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจไว้ด้วยดี ฟังปัญหาอันละเอียดในคัมภีร์มิลินท์นั้นเถิด จะเกิดประโยชน์สุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน ดังนี้





    <DD>พระนครของพระเจ้ามิลินท์






    <DD>มีคําเล่าลือปรากฏมาว่า เมืองสาคลนคร ของชาวโยนก เป็นเมืองที่งดงามด้วยธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์ อุทยานอันมีสระน้ำสวนดอกไม้ผลไม้ ตกแต่งไว้อย่างดีมีหมู่นกมากมายอาศัยอยู่






    <DD>ป้อมปราการก็แข็งแรงปราศจากข้าศึกมารบกวนถนนหนทางภายในพระนคร เกลื่อนกล่นไปด้วยช้างม้ารถอันคล่องแคล่ว อีกทั้งหมู่สตรีล้วนมีรูปร่างสวยงาม ต่างเที่ยวสัญจรไปมา ทั้งเป็นที่พักพาอาศัยของสมณพราหมณ์ พ่อค้าสามัญชนต่างๆ






    <DD>เมืองสาคลนครนั้น สมบูรณ์ด้วยผ้า แก้วแหวนเงินทอง ยุ้งฉาง ของกินของใช้มีตลาดร้านค้าเป็นที่ไปมาแห่งพ่อค้า ข้างนอกเมืองก็บริบูรณ์ด้วยพืชข้าวกล้า อุปมาเหมือนข้าวกล้าในอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็เปรียบเหมือนกับ "อารกมัณฑาอุทยาน" อันสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ฉะนั้น

    สรุปหัวข้อปัญหา






    <DD>ท่านพรรณนามาถึงตอนนี้แล้ว จึงได้แยกเรื่องไว้ ๖ อย่างคือ บุพพโยค ๑ มิลินทปัญหา ๑ เมณฑกปัญหา ๑ อนุมานปัญหา ๑ ลักขณปัญหา ๑ อุปมากถาปัญหา ๑ฉะนั้น ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะพบกับเนื้อความในหนังสือเล่มนี้ต่อไป ผู้รวบรวมขอสรุปหัวข้อปัญหาให้ทราบไว้ก่อน ดังนี้

    ๑. บุพพโยค คือเรื่องเบื้องต้นก่อนที่จะถามปัญหา
    ๒. มิลินทปัญหา เป็นปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ถาม ปัญหาชุดนี้มี ๗ วรรค
    ๓. นอกวรรค มีเพียงปัญหาเดียว คือ โคตมีปัญหา
    ๔. เมณฑกปัญหา คือการถามปัญหาที่เป็นสองแง่ ปัญหาชุดนี้มี ๙ วรรค
    ๕. อุปมาปัญหา ว่าด้วยอุปมาต่างๆ ปัญหาชุดสุดท้ายนี้มี ๗ วรรค






    <DD>เมื่อจบการถามตอบปัญหาแล้วก็ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ต่างๆ ต่อมาพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงสละราชสมบัติ เมื่อทรงออกผนวชแล้วก็ได้สําเร็จพระอรหันต์






    <DD>เป็นอันว่า ท่านผู้อ่านก็ได้ทราบไว้ก่อนแล้วว่า หนังสือเล่มนี้มีการจัดหมวดหมู่ไว้อย่างไรบ้าง จะช่วยให้ง่ายต่อการ
    จดจํา จึงหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะมีความอุตสาหะ อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ พยายามทบทวนทําความเข้าใจในถ้อยคําของท่าน แล้วจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล






    <DD>ณ โอกาสนี้ จึงขอเชิญท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกับเรื่อง บุพพโยค คือ "เรื่องเบื้องต้น" ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป....<DD>ที่มา : http://www.tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=127#first


    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=43148[/MUSIC]




    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2009
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2010
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    ด้วยความนอบน้อมคุณพระรัตนตรัย เหนือเศียรเกล้าฯ

    ในฐานะที่ได้มีส่วนร่วมกิจเล็กๆ น้อยๆ แห่งการสืบพระบวรพระพุทธศาสนานี้
    เพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์ยิ่ง
    ด้วยความงดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด

    ขอผลานิสงฆ์แห่งมหาธรรมทาน จักบังเกิดมหาอริยะปัญญาญาณ
    เป็นกระแสบุญอันบริสุทธิ์หลั่งไหลสู่ดวงจิตของทุก ๆ ท่าน
    ที่มีส่วนร่วม และข้าพเจ้านับแต่นี้ด้วยเทอญ
    (โดยเฉพาะคุณพี่กบ คุณพี่ผ่อนคลาย และคุณ Hanashi สาธุการค่ะ)<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m195198.jpg
      m195198.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.4 KB
      เปิดดู:
      1,018
  4. นายตถาตา

    นายตถาตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    829
    ค่าพลัง:
    +705
    จากการที่ได้ฟังและดูเนื้อหามาตั้งแต่ต้นมีจุดที่อ่านไม่ตรงอยู่หลายจุดครับ อนุโมทนาแก้ด้วยครับ ตรงอักษรสีแดงคือคำที่ไม่ได้อ่านออกเสียงตามเนื้อความครับ และมีที่อ่านผิดเช่น จึงได้แยกเรื่องไว้ ๖ อย่าง(แต่ผู้อ่าน อ่านว่า จึงได้แยกเรื่องไว้ ๖ เรื่อง)

    ท่านพรรณนามาถึงตอนนี้แล้ว จึงได้แยกเรื่องไว้ ๖ อย่างคือ บุพพโยค ๑ มิลินทปัญหา ๑

    เป็นอันว่า ท่านผู้อ่านก็ได้ทราบไว้ก่อนแล้วว่า หนังสือเล่มนี้มีการจัดหมวดหมู่ไว้อย่างไรบ้าง จะช่วยให้ง่ายต่อการ

    ณ โอกาสนี้ จึงขอเชิญท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกับเรื่อง บุพพโยค


    ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะพบกับเนื้อความในหนังสือเล่มนี้ต่อไป ผู้รวบรวมขอสรุปหัวข้อปัญหาให้ทราบไว้ก่อน ดังนี้
     
  5. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894

    ขอบคุณสำหรับคอมเม้นท์ค่ะ
    ตรงที่ขาดไปเป็นความตั้งใจค่ะ เพราะตรงนั้นเป็นหนังสือท่านผู้แต่งจะเน้นว่าเป็นผู้อ่าน
    แต่ตรงนี้เป็นเสียงอ่านหนังสือ เลยตัดคำว่าผู้อ่านออกไป และดิฉันอยากเน้นตรงเป้าหมายคือ ธรรมะที่ได้จากการสนทนาระหว่างท่านพระนาคเสนกับพระเจ้ามิลินท์

    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  6. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    อ่านพระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ แล้วมาอ่านมิลินทปัญหาจะเข้าใจมากขึ้น เหมือนเป็นภาคสองเลย ธรรมะจัดสรร ขออนุโมทนาค่ะ
     
  7. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]

    ขออนุโมทนาบุญค่ะ..คุณกบ

     

แชร์หน้านี้

Loading...