มหาปัฏฐานสูตร พระธรรมเทศนาหลวงพ่อวัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 12 สิงหาคม 2018.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    กัณฑ์ที่ ๔๔
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ถควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกขฺ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกขฺ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโทสํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปาชานาติ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สมหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อวิมุตตํ วา จิตฺตํ อวิมุตตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ. วยธมฺมานุปสฺสี วาจิตฺตสฺมึ วหรติ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วาจิตฺตสมึ วิหรติ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนฺสส สติ ปจฺจุปฏฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปติสฺสติมตฺตาย อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุ-ปาทิยติ. เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรตีติ. ฯ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักแสดงใน มหาสติปัฏฐานสูตร ที่แสดงไปแล้วนั้น

    โดยอุเทศทวาร ปฏิเทศทวาร แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นอุเทศทวารนั้น
    ตามวาระพระบาลีว่า
    เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย
    แค่นี้ จบอุเทศทวารของมหาสติปัฏฐานสูตร
    แปลภาษาบาลีว่า
    เอกายโน อยํ ภิกฺขเว
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อยํ มคฺโค
    อันว่าหนทางนี้
    เอกายโน
    เป็นเอก
    เอกายโน อยํ ภิกฺขเว
    หนทางนี้เป็น หนทางเอก ไม่มีสองแพร่ง
    เป็นหนทางเดียวแท้ๆ หนทางหนึ่งแท้ๆ
    เอกนะ คือหนึ่ง
    เอโก ทฺวิ ติ จตุปญฺจ เหล่านี้ เอโก เขาแปลว่า หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป
    สตฺตาน ํวิสุทฺธิยา
    ความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
    เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก ความแห้งใจ ความปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ
    ทุกฺขโมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย
    เพื่ออัสดงคต หมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส
    ญายสฺสอธิคมาย
    เพื่อบรรลุซึ่งญาณ
    นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย
    เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    นี่แสดงดังนี้เพียงเท่านี้
    เรียกว่า อุเทศทวาร จักได้แสดงเป็นปฏินิเทศทวารสืบต่อไป

    กตเม จตฺตาโร ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา
    นี้คือ สติปัฏฐานสี่
    กตเม จตฺตาโร สติปฺฏฐานา
    สติปัฏฐาน ๔ นี่คืออะไร
    สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้างล่ะ
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

    สี่อย่างนี้เรียกว่าปฏินิเทศทวาร อุเทศทวารแสดงแล้ว อีกสองนี้เป็นปฏินิเทศทวาร อุเทศน่ะแสดงออกเป็นหนึ่งทีเดียว
    ปฏินิเทศนั้นแสดงออกไปเป็นสี่
    กาย
    เวทนา
    จิต
    ธรรม
    แปลภาษาบาลีว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า เห็นกายในกายเนืองๆ นั้นเป็นไฉนเล่า

    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
    อ้ายนี้ต้องคอยจำนะ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ถ้าเห็นเข้าแล้วทำให้
    อาตาปี เพียรเทียวเพียรให้เห็นอยู่เสมอนั้นไม่เผลอทีเดียว
    อาตาปี สมฺปชาโน
    รู้รอบคอบอยู่ เพียรแล้วก็รู้รอบคอบ
    สติมา
    มีสติด้วยไม่เผลอ รู้รอบคอบไม่เผลอ
    วิเนยฺย โลเก โทมนสฺสํ คอยกำจัด
    อภิชฌา ความเพ่งเฉพาะอยากได้และความโทมนัสเสียใจที่ไม่ได้สมบัติ
    นำอภิชฌาโทนัสในโลกออกเสีย อย่าเพ่งเฉพาะเสียใจ เพราะอยากได้แล้วไม่สมหวัง
    มันจะทำกายในกายให้เสื่อมไปเสีย
    อภิฌชา สำคัญนัก เพ่งเฉพาะอยากได้
    เมื่อไม่ได้มันก็เสียใจเพราะไม่สมหวัง
    ไอ้ดีใจเสียใจนี่แหละอย่าให้เล็ดดลอดเข้าไปได้ทีเดียว
    เมื่อเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่แล้ว
    อาตาปี มีความเพียรเร่งเร้าทีเดียว มีความรู้รอบคอบประกอบด้วยสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว
    วิเนยฺย โลเก อภิชฌณาโทมนสฺสํ
    นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้ นี่ข้อต้น

    ข้อที่สองคือ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสึ
    เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน
    มีความรู้รอบคอบ มีสติ มั่ นไม่ฟั่นเฟือน นำอภิชฺณาโทมนัสในโลกออกเสีย
    ไม่ให้ลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่ส่วนเวทนา

    จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
    เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน
    มีสัมปชัญญะ มีสติไม่พลั้งเผลอ นำอภิชฺฌาในโลกนี้ออกเสียได้
    อย่าให้ความยินดียินร้ายมันเล็ดลอดเข้าไปได้ นี่เป็นข้อสาม

    ข้อที่สี่
    ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย
    โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

    เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เมื่อเห็นแล้ว
    ให้มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือนกำจัดอภิชฺฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้
    สี่ข้อนี้แหละเรียกว่า
    ปฏินิเทศทวาร กาย เวทนา จิต ธรรม
    เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่
    นี่ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสอนต่อไปเป็นลำดับ

    เห็นกายในกาย
    นี่เห็นอย่างไร เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ เห็นชัดๆ อย่างนั้นนะ เห็นกายในกายก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดเท่ากายมนุษย์นี้แหละ นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป ทำหน้าที่ไป ผู้เห็นกายในกายก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นเอง

    เห็นเวทนาในเวทนา ล่ะ
    มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกัน เห็นนี่ ไม่ได้พูดรู้ นี่ เวทนาในเวทนานั่น เป้นอย่างไรล่ะ สุข กายนั้นเป็นสุข ก็เห็นเป็นสุข กายนั้นเป็นทุกข์ ก็กายละเอียดนั่นแหละที่เห็นนั่นแหละ กายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์ เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เห็นว่าไม่สุข ไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ อย่างนี้

    เห็นจิตในจิต ล่ะ ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ เห็นจิตได้หรือ"'' ไม่ใช่เห็นง่ายๆนี่ """
    จิตเป็นดวง นี่ เท่าดวงตาดำข้างนอกนี่แหละ
    เท่าดวงตาดำของตัวทุกคนๆ นั่นแหละ ดวงจิต เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม
    ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ เป็นประธาน
    เห็นกายในกายชัดๆ ก็เห็น"กายละเอียด"นั่น

    เห็นเวทนาในเวทนา
    เห็นกายแล้วก็เห็นเวทนา เวทนาเพราะใจกำหนดอยู่ที่จะดูกายเห็นกายนะ ต้องกำหนดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เมื่ออยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละก็นั่นแหละ ตาเห็นกาย ก็เห็นอยู่ในกลางกายมนุษย์นั่นแหละ เห็นเวทนาล่ะ เป็นอย่างไรล่ะ เห็นสุขเป็นดวงกลมใสอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ
    เห็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ เป็นดวง อยู่กลางกายมนุษย์นั้นแหละ
    เวทนาของกายมนุษย์นี้เป็นเวทนานอก
    เวทนาของกายมนุษย์ละเอียดเป็นเวทนาของกายมนุษย์ละเอียดละเอียดข้างใน
    นั่นแหละเวทนาในเวทนา


    เห็นจิตในจิตล่ะ ดวงจิต
    ก็เห็นดวงจิตของกายละเอียดนั่น เห็นดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นดวงจิตมั่นอยู่ในกลางดวงจิตนี่แหละ อยู่ในกลางดวงจิตมนุษย์หยาบนี่แหละ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดมันก็ไปเห็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่เห็นจิตในจิต

    เห็นธรรมในธรรมล่ะ ดวงธรรม
    ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบมันมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั่น พอไปเห็นกายละเอียด มันก็เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เป็นธรรมข้างใน ดวงธรรมทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนี่เป็นดวงธรรมข้างนอก เห็นจริงอย่างนี่นะ วัดปากน้ำเขาเห็นกันจริงๆ อย่างนี้ไม่ใช่เห็นเล่นๆ

    นี่ เห็นกายในกาย
    เห็นเวทนาในเวทนา
    เห็นจิตในจิต
    เห็นธรรมในธรรม
    ""''เห็นจริงๆอย่างนี้"""


    นี่ๆอุเทศทวารแล้วก็เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นไป
    กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
    วัดปากน้ำเห็นเข้าไปตั้ง ๑๘ กายนั่นแน่ะ เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ ๑๘ กายชัดๆ ทีเดียว ชัดใช้ได้ทีเดียว
    ไม่ใช่พอดีพอร้ายหละ เห็นชัดใช้ได้ทีเดียว
    ไม่ชัดแต่ว่าเห็นหล
    ะ ถ้าว่าสนใจจริงๆ ก็เห็นจริงๆเห็นจริงๆอย่างนี้
    เมื่อเห็นจริงๆเป็นจริงๆอย่างนี้แล้วละก็
    ตำราบอกไว่ตรงๆอย่างนี้แล้วมันก็ถูกตำรับตำราทีเดียว
    แล้วจะได้แสดง ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ต่อไปอีก คัมภีร์นิเทศทวารต่อไป

    มีคำถามสอดเข้ามาว่า
    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ศึกษาพระธรรมวินัย เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่นั่นเป็นไฉน
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ อันนี้แล้ว อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วารุกฺขมูลคโต วา
    นี่ปฏินิเทศทวาร
    อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญา-คารคโต วา นีสีทติ ปลฺลงกํ อาภุชิตฺวา อุชํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฐเปตฺวา โส สโต ว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฑีมํ วา อสฺสสนฺโต ฑีฆํ อสฺสสามีติ ฯเปฯ ฑีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ฯเปฯ อสฺสสนฺโต ฯเปฯ รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
    นี่เป็นปฏินิเทศทวารกว้างออกไปทีเดียว กว้างนี่แหละที่แสดงไปแล้ว ส่วนกายที่แสดงไปแล้ว ท่านจัดออกเป็น ข้อกำหนด เป็น ปัพพะ คือ เรียก อานาปานปัพพะ ข้อกำหนดด้วยลมหายใจเข้าออก

    อิ ริยาปถปัพพะ ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน

    สัมปชัญญปัพพะ ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบถแห่งอวัยวะ
    รู้อยู่เสมอนั่นเรียกว่า สัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ
    ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกายของคนเรา แห่งฟัน หนัง เนื้อ
    ตามบาลีว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ปฏิกูลนั้นไม่น่ารักน่าชมเลย ปฏิกูลแห่งร่างกายนี้ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัวตน เราเขา ที่ไหนประสมกันแล้วก็เป็นร่างกายล้วนแต่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไปนี้เป็นธาตุปัพพะพอกายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์หยาบแล้วก็เน่ากันทั้งนั้น เป็นปฏิกูลอย่างนี้ ปฏิกูลนั่นเป็นข้อที่ 5 นวสีวถิกปัพพะ ข้อกำหนดด้วยศพเก้ารูป ตายวันหนึ่งสองวันท้องเขียว น้ำเลือดน้ำหนองไหล เป็นลำดับไปจนกระทั่งเหลือแต่กระดูกนั่น นี้ได้แสดงมาแล้ว

    วันนี้จะแสดง เห็นเวทนาในเวทนา สืบต่อไปว่า

    กถญฺเจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสติ วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนํ เวทิยมาโน สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ สุขํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา อุทกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามาโน นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา ฯ

    อันนี้เวทนาไม่ใช่เป็นของฟังง่ายเลย เป็นของฟังยากนัก
    แต่ว่าท่านแสดงไว้ย่อๆ ว่า
    สุข เมื่อเราเสวยความสุขอยู่ ก็รู้ชัดว่า เวลานี้เสวยความสุขอยู่

    เมื่อเราเสวยความทุกข์อยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยความทุกข์อยู่

    เมื่อเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์อยู่

    เมื่อเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส

    เมื่อเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ว่าเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส

    เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส
    เราปราศจากความสุข นิรามิสสุข เราเสวยความสุข ปราศจากความเจือด้วยอามิสเสวยความสุข ปราศจากความเจือด้วยอามิส เสวยความไม่สุขความไม่ทุกข์ ไม่เจือด้วยอามิสก็รู้ชัดอยู่อย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนา รู้จักเวทนาอย่างนี้ แต่เวทนาที่จะแสดงวันนี้จะแสดง เวทนาในจิต

    คำว่า จิต นะ เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข
    มิฉะนั้นมันก็บังคับเราใช้มันอยู่ทุกๆ วัน
    ถ้าเราใช้มันไม่เป็นมันจะกลับมาข่มเหงเอาเราเข้า
    จิตนั่นเป็นตัวสำคัญ
    ท่านจึงได้ยืนยันตามวาระพระบาลีว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่ศึกษาในธรรมวินัย เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่นั่นเป็นไฉน
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย ผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้
    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตนี้นี่ระคนด้วยราคะ
    วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากราคะ
    สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโทสะ
    วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
    สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    จิตระคนด้วยโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโมหะ
    วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโมหะก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโมหะ
    สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่
    วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน
    มหคฺตตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคตจิตประกอบด้วยบุญกุศลยิ่งใหญ่เรียกว่ามหัดคตกุศล กุศลเกิดด้วยรูปฌาณ เป็นมหัคคตกุศล
    อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ประกอบด้วยมหรคต ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ประกอบด้วยมหรคต
    สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ อุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตยิ่งก็รู้ว่าจิตยิ่ง
    อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    จิตตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น
    อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น
    วิมุตตํ วา จตฺตั้ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น
    อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    จิตไม่หลุดพ้นพ้นก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น
    อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดังนี้แหละ ภิกษุเห็นจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ มหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อันเป็นภายนอกอยู่
    อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตตานุปสลี วิหรตี เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตทั้งเป็นภายในและภายนอก
    สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรตี เห็นธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นในจิตอยู่
    วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในจิตอยู่
    สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เป็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปซึ่งจิตในจิตอยู่ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส ก็หรือสติของเธอเข้าปรากฎว่าจิตมีอยู่
    ยาวเทว ญาณมตฺตาย สักแต่ว่ารู้
    ปติสฺสติมตฺตาย สักแต่ว่าอาศัยระลึก
    อนิสฺสิโต จ วิหรติ เป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิยึดถือไม่ได้แล้ว
    น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ยึดถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อย่างนี้แหละภิกษุ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่อง
    จิต จิตนั่นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร
    คำที่เรียกว่า “จิต” นั่น
    หนึ่งในสี่ของใจ ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็ ดวงจำ ก็โตไปอีกหน่อย อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงเห็น อยู่ในกลางกาย โตไปอีกหน่อย ดวงเห็นอยู่ข้างนอก มันซ้อนกันอยู่

    ดวงเห็นอยู่ข้างนอก ดวงจำอยู่ข้างใน อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้อยู่ข้างในดวงคิด

    ดวงรู้ เท่าตาดำข้างใน นั่นแหละเขาเรียกว่าดวง วิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นเขาเรียกว่า ดวงจิต หรือ ดวงคิด โตออกไปกว่านั้น โตออกไปกว่าดวงจิต เท่าดวงตานั่นแหละ นั่นเขาเรียกว่า ดวงใจ หรือ ดวงจำ โตกว่านั้นอีกหน่อย เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงเห็น ดวงเห็นนั้นคือดวงกายทีเดียว สี่ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ

    ดวงกาย นั่นแหละ
    เป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลางกำเนิดดวงกายนั้น อ้ายดวงใจนั่นแหละ เป็นที่ตั้งของจำ ธาตุจำอยู่ศูนย์กลางดวงใจนั่นแหละ อ้ายดวงจิตนั่นแหละเป็นที่ตั้งของคิด ธาตุคิดอยู่ศูนย์กลางจิตนั่นแหละ อ้ายดวงวิญญาณเป็นที่ตั้งของรู้ ธาตุรู้อยู่ศูนย์กลางดวงวิญญาณนั่นแหละ ธาตุเห็น จำ คิด รู้ สี่ประการนั้น ธาตุเห็นเป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุจำเป็นที่อยู่ของจำ ธาตุคิดเป็นที่อยู่ของคิด ธาตุรู้เป็นที่อยู่ของรู้ เห็น จำ คิด รู้ สี่ประการ ยกแพลบเดียวโน้นไปนครศรีธรรมราชไปแล้ว เห็นจำคิดรู้ไปแล้วยกไปอย่างนั้นแหละไปได้ ไปได้ ไปเสียลิบเลย ไปเสียไม่บอกใครทีเดียว ไปอยู่เสียที่นครศรีธรรมราชโน้น ถ้าว่าคนเขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราชไปเห็นเอากายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว อ้ายคนนี้รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนั้น แต่งเนื้อแต่งตัวเป็นอย่างนั้น เราคิดว่าเราส่งใจไปนี่นะ ส่งไปนครศรีธรรมราช อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช เห็นทีเดียว เขามีธรรมกาย อ้ายนี้มายุ่งอยู่ที่นี้แล้ว เราก็ยกเห็น จำ คิด รู้ ไปนี่ ไม่ได้ไปทั้งตัว นั่นแหละ กายละเอียดไปแล้ว ไปยุ่งอยู่โน้นแล้ว ดูก็ได้ ลองไปดูก็ได้ พวกมีธรรมกายเขามี เขาเห็นทีเดียว อ้ายนี้มายุ่งอยู่นี้แล้ว จำหน้าจำตา จำตัวได้ เอ! ก็แปลกจริงนะ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย พระพุทธศาสนาเป็นของลึกซึ้งอยู่ แต่ว่าจะส่งใจไปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามเถอะ ไปได้อย่างนี้แหละ สี่อย่างไปได้อย่างนี้ คือ เห็น จำ คิด รู้ มันหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็นกายละเอียด มันแยกกันไม่ได้ แยกไม่ได้เด็ดขาดเชียว เป็นตัวเป็นตัวตายอยู่ เหมือนกายมนุษย์นี่เราจะเอาแยกเป็นหัวใจเสีย จากหัวใจเสีย หัวใจแยกจากดวงจิตเสีย จิตแยกจากดวงวิญญาณเสียไม่ได้ ถ้าแยกไม่ได้เป็นเลยแยกตายหมด ถ้าแยกเวลาใดมนุษย์ก็ตายเวลานั้น ถ้าไม่แยกก็เป็นอย่างนี้ เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้แยกไม่ได้ แยกก็ตายเหมือนกันแยกเข้าอ้ายกายละเอียดนนตาย แยกหัวใจออกไป ดวงจำ ดวงเห็น ตาย แยกไม่ได้ หากว่ากายทิพย์ก็เหมือนกัน แยกไม่ได้ มันเป็นตัวของมันอยู่อย่างนั้นแหละ เอาแต่ตัวกายมนุษย์ละเอียด มันก็ละเอียดพอแล้ว พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็ยิ่งละเอียดไปกว่านั้นอีก ละเอียดพอแล้วหรือ พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหม ละเอียด ยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก

    นี่ถ้าว่าทำธรรมกายเป็นละก็ มันฉลาดกว่ามนุษย์หลายสิบเท่าเชียวนะ นี่พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็ฉลาดกว่าเท่าหนึ่งแล้ว สูงกว่าเท่าหนึ่งแล้ว เข้าถึงกายทิพย์ก็สองเท่าแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็สามเท่าแล้ว กายรูปพรหมสี่เท่า กายรูปพรหมละเอียดห้าเท่า กายอรูปพรหมหกเท่า กายอรูปพรหมละเอียดเจ็ดเท่า เข้าถึงกายธรรมและกายธรรมละเอียด ๘-๙ เท่า เข้าไปแล้ว มันมีความฉลาดกว่ากันอย่างนี้นะ ให้รู้จักว่าของสูงของต่ำอย่างนี้ เมื่อรู้จักอย่างนี้แล้วก็ วันนี้ที่จะแสดง จิต ตำราท่านวางไว้แค่จิตเอา ดวงจิต นี้เท่านั้น ดวงเห็นก็ไม่ได้เอามาพูด ดวงจำไม่ได้มาพูด ดวงรู้ไม่ได้มาพูด มาพูดแต่ดวงจิตดวงเดียว ที่เราแปลจิตถ้าเราเอามาใส่ปนกันกับเรื่องจิตก็ป่นปี้หมด เพราะ จิต มีหน้าที่คิดอย่างเดียวเท่านั้น แหละ ดวงรู้ ก็ มีหน้าที่รู้อย่างเดียว ไม่มีหน้าที่คิด ดวงจิตก็มีหน้าที่คิดอย่างเดียว ดวงจำก็มีหน้าที่จำอย่างเดียว ดวงเห็นก็มีหน้าที่อย่างเดียว จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้ แต่ว่า ถ้าไม่รู้หลักความจริงแน่นอนอย่างนี้ละก็ ท่านก็แปลเอาดวงจิตไปรวมเข้ากับรู้เสียว่า รู้ก็คือจิตนั่นแหละวิจิตฺตารมฺมณํ ดวงจิตวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฎฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ นี่วิจิตรด้วยอารมณฺต่างๆ อย่างนี้ ดวงจิตนั่น อีกนัยหนี่ง อารมฺมณํ วิชานาตีติ จิตฺตํ จิตรู้ซึ่งอารมณ์ จิตรู้เสียอีกแล้ว เอาละซี เอาวิญญาณไปไว้ที่ไหนแล้ว ไม่พูดดวงวิญญาณเสียอีกแล้ว พูดเป็นรู้เสียแล้ว

    เพราะฉะนั้น คำว่า จิต นี่แหละ เป็นดวงใสเท่าดวงตาดำข้างนอกใสเกินใส ปกติมโน ใจเป็นปกติ คือ ภวังคจิต จิตที่เป็น ภวังคจิตน่ะ ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใส ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใสนะ จิตที่ใสนั่นแหละ เมื่อระคนด้วยราคะเหมือนยังกับน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว มันก็ปนเป็นนะซี นี่เป็นอย่างนั้นนา เมื่อจิตระคนด้วยราคะเหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว จิตระคนด้วยโทสะ เล่า เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปน น้ำเขียวเข้าไปปนระคนเสียแล้ว จิตระคนด้วยโมหะเหมือนน้ำตมเข้าไประคนเสียแล้ว ไอ้จิตใสนะมันก็ลางไป ก็รู้นะซี

    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะก็รู้ว่าจิตระคนด้วยราคะ จิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีราคะ ไม่ปนด้วยโมหะ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตหดหู่ ที่ใสน่ะ หดหู่ไป ผู้สร้างพอรู้ว่าผู้สร้างเป็นอติวิสัย ไม่คงที่เสียแล้ว ผู้สร้างก็รู้ว่าผู้สร้าง จิตประกอบด้วยกุศลที่ระคนด้วยญาณ เป็นมหัคตจิต จิตไม่ประกอบด้วยกุศลก็เห็นจิตประกอบด้วยกุศลก็เห็นชัดๆ ดังนี้ สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่นใสมั่นดิ่งลงไปก็เห็นชัดๆ ดังนี้ รู้ชัดๆ อย่างนี้ จิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตพ้นใสพ้นจากเครื่องกิเลส ก็รู้ว่าพ้น ไม่พ้นก็รู้ว่าไม่พ้น เห็นชัดๆ อย่างนี้ เมื่อเห็นชัดเข้าดังนี้ละก็
    อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิต เป็นภายในเนืองๆ ภายใน
    น่ะคือ จิตกายละเอียดเห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตเป็นภายนอกนี้จิตของกายมนุษย์
    เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตทั้งภายในภายนอก เห็นเป็นรูปจิต เป็นจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นทั้งสองทีเดียว เห็นทั้งภายในและภายนอก เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไป ความเกิดขึ้นของจิต เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความดับไปของจิต คือความดับไปในจิต เมื่อเห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาทั้งเกิดขึ้นทั้งความดับไปเมื่อเห็นชัดดังนี้ละก็
    อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอ เข้าไปปรากฎว่าจิตมีอยู่เห็นจิตแล้ว เมื่อจิตมีสติของเธอปรากฎว่า จิตมีอยู่เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยความระลึก อันตัณหาและทิกฐิเข้าไปอาศัยไม่ได้เลย
    น จ กิญจิ โลเก อุปาทิยติ
    ไม่ถือมั่นอะไรเลยในโลก รู้ว่าปล่อยวางแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ติด ไม่แตะ ไม่อะไรแล้ว ให้รู้ชัดๆ เห็นชัดๆ อย่างนี้ อย่างนี้แหละ เรียกว่าภิกษุทั้งหลาย เห็นในจิต เนืองๆอยู่
    ด้วยประการดังนี้ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี ชี้ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย
    พอสมควรแก่เวลา เพราะได้ยินเสียงระฆังหง่างๆ อยู่แล้ว เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อธิบายอ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพได้ชี้แจงแสดงมา ตามสมควรแก่เวลาสมมติว่ายุติธรรมิกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S__7299074.jpg
      S__7299074.jpg
      ขนาดไฟล์:
      18.5 KB
      เปิดดู:
      243

แชร์หน้านี้

Loading...