มรดกโลกแห่งใหม่ วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลารามราชวรมหาวิหาร

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 1 มิถุนายน 2008.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มรดกโลกแห่งใหม่
    http://www.thairath.co.th/news.php?section=specialsunday12&content=91831


    [1 มิ.ย. 51 - 16:53]





    [​IMG]เมื่อไม่ช้านานนี่เอง ทีมงานซอกแซกแวบไปที่วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลารามราช วรมหา วิหาร หรือ วัดโพธิ์ มาอีกครั้งหนึ่ง
    ที่ต้องใช้คำว่า “อีกครั้งหนึ่ง” ก็เพราะทีมงาน ซอกแซกตั้งแต่ตัวหัวหน้าทีมและลูกทีมล้วน เคยไปวัดโพธิ์คนละบ่อยๆครั้ง หากจะนับตั้งแต่เป็นเด็กมาจนถึงป่านนี้ก็คงจะไม่ตํ่ากว่า 20 ครั้งกระมัง
    สำหรับการไปครั้งล่าสุด นอกจะไปร่วมในการ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติท่านหนึ่ง ที่ฝากอัฐิไว้ที่วัดแห่งนี้แล้ว หัวหน้าทีมซอกแซกยังถือโอกาสเดินตระเวนไปรอบๆวัด ด้วยความภาคภูมิใจ
    เนื่องเพราะเมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง วัดโพธิ์ของ เราได้รับการประกาศยกย่องจาก คณะกรรม การองค์การ การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ในที่ประชุมใหญ่ ณ ประเทศ ออสเตรเลีย ให้การรับรอง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ขึ้นทะเบียนเป็น เอกสารมรดกความทรงจำของโลก ประจำปีนี้ด้วย แห่งหนึ่ง
    เป็นที่ทราบแล้วว่า “มรดกโลก” จากการยกย่องของยูเนสโกนั้น มีหลายประเภทด้วยกัน ทั้งมรดกทางธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม
    ในส่วนของมรดกโลกทางธรรมชาตินั้น ผืนป่าใหญ่ๆของเราได้มีโอกาสจารึกและ ขึ้นบัญชีมาแล้วหลายแห่ง เช่น เขาใหญ่ และผืนป่าดงพญาเย็น และ เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่อุทัยธานี เป็นต้น
    สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมก็เช่น อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา, อุทยาน ประวัติศาสตร์ สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และอุทยาน ประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร เป็นต้น
    มรดกโลกอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขวัญ ในระยะหลังๆก็คือ “มรดกความทรง จำแห่งโลก” อันหมายถึงความสำคัญของเอกสารมรดก หรือการบันทึก ความทรงจำต่างๆ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติ
    มรดกความทรงจำแห่งโลกชิ้นแรกของประเทศ ไทยที่ยูเนสโกประกาศขึ้นบัญชีได้แก่ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นั่นเอง
    ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอกสารที่บันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตลอดจนวิถีชีวิตและนโยบายการเมืองการปกครองในยุคเก่าก่อนไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
    สำหรับปีนี้ดังที่เราทราบข่าวกันไปแล้วว่า ศิลา จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นชิ้นที่ 2
    เคียงข้างไปกับ จดหมายเหตุตุลสเลง อันเป็นเอกสารภาพถ่ายจากกัมพูชา เกี่ยวกับเหตุการณ์ ในยุค “ทุ่งสังหาร” หรือ คิลลิ่ง ฟิลด์ ที่สะเทือนใจมนุษยชาติอย่างยิ่งยวด และเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย และเอกสารภาษาชวาของอินโดนีเซีย ฯลฯ เป็นต้น
    จึงนับเป็นความภูมิใจของพวกเราชาวไทย ที่วัดโพธิ์ของเราได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่นี้ อย่างไม่ด้อยกว่าเรื่องราว หรือบันทึกเด่นๆของชาติอื่นที่เอ่ยถึง
    วัดโพธิ์เมื่อวันที่ผมไปเยี่ยมเยียนเมื่อ 2 สัปดาห์ ก่อน ยังอุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวเช่นเคย แม้จะลดลงไปบ้างหากเทียบกับช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเมืองไทยสูงสุด
    ที่น่าปลื้มใจก็คือ มีหลายๆ กลุ่มทีเดียวที่เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดที่เดิน ทางมาเที่ยว กรุงเทพมหานคร และได้ ถือโอกาสมาเยี่ยมวัดโพธิ์ด้วย
    บางกลุ่มก็เดินดู เดินอ่านข้อความต่างๆกันเอง แต่บางกลุ่มก็มีมัคคุเทศก์คอยอธิบายเป็นจังหวะๆ ไป
    ผมเดินตามกลุ่มหนึ่งอยู่พักหนึ่ง ได้ความรู้ กลับมาหลายๆเรื่องทีเดียว เพราะมัคคุเทศก์อธิบาย ได้อย่างคล่องแคล่ว มีเกร็ดมีรายละเอียดมากมาย
    อาทิ ในวัดโพธิ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งเจดีย์ มีเจดีย์ใหญ่น้อยรวมทั้งสิ้นถึง 99 องค์
    เสียดายที่ผมจำเป็นต้องรีบแยกตัวเพื่อไปร่วมงานทำบุญ มิฉะนั้นก็คงจะตามไปจนจบโปรแกรม ซึ่งจะทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมาก
    สำหรับจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ ก็เห็นจะเป็นบริเวณที่จารึกเกี่ยวกับ วิชาการนวด ต่างๆ ซึ่งมีภาพประกอบแสดงถึงจุดสำคัญๆของมนุษย์เราให้ดูด้วย
    รวมทั้งสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต่างแดนหลายคนชอบแวะไปสัมผัสก็คือ บริเวณที่จัดตั้งขึ้นเป็น โรงเรียน สอนวิชานวดแผนโบราณ ซึ่งทั้งสอนและรับนวดไปด้วย พร้อมๆกัน
    มีชื่อเต็มๆว่า โรงเรียนแพทย์แผนโบราณและ อายุรเวทวัดโพธิ์
    ผมเคยเขียนถึงไว้แล้วเมื่อหลายปีก่อน และจาก การแวะไปเยือนครั้งล่าสุดก็พบ ว่ายังมีลูกค้า ทยอยมาใช้บริการไม่ขาดสาย
    อีกสถานที่หนึ่งในวัดโพธิ์ที่ผมจะต้องไปกราบทุกครั้งก็คือ พระพุทธไสยาสน์ หรือ พระนอน วัดโพธิ์ ที่ทุกวันนี้ก็ยังมีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้อย่างหนาแน่น ในขณะ ที่นักท่องเที่ยว ก็เข้าไปชมศิลปะอันตระการตาฝีมือช่างสิบหมู่หลวงแต่ครั้งต้น กรุงรัตนโกสินทร์
    ผมขออนุญาตลงท้ายรายงานการซอกแซกวัดโพธิ์งวดนี้ด้วยบันทึกในนิตยสาร อสท.เล่มล่า สุดที่กล่าวถึงความสำคัญของศิลาจารึกวัดโพธิ์ ที่ประเทศไทย นำเสนอต่อยูเนสโกสรุป ตอนหนึ่งว่า..
    “ศิลาจารึกวัดโพธิ์เป็นการรวบรวมลายลักษณ์ อักษรภาษาไทยที่สำคัญไว้บนแผ่นหินอ่อน รวมทั้งสิ้นถึง 1,360 แผ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้จารึกสรรพวิชาความรู้ของไทยไว้ตามที่ต่างๆภายในวัด เช่น ผนังพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาราย และวิหารคด เป็นอาทิ
    เนื้อหามีทั้งด้านศาสนาและวิชาการหลายๆสาขา ตลอดทั้งความรู้และภูมิปัญญาไทย แบ่งออกเป็นหมวดๆ เช่น หมวดประวัติการสร้างวัด หมวดพุทธประวัติ หมวดจัดทำเนียบ หมวดประเพณี หมวดบทประพันธ์ หมวดวรรณคดี หมวดอนามัย เป็นต้น
    โดยเฉพาะหมวดที่จารึกอยู่ ณ บริเวณศาลาราย อันเป็นจารึกรวบรวมสรรพวิชาต่างๆ ทั้งการแพทย์ การเมืองการปกครอง และประวัติการสร้างวัด นี่เป็นส่วนสำคัญที่ ทำให้ได้รับการคัดเลือกเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในครั้งนี้”
    นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
    ที่ทรงมีพระราชดำริให้มีการจารึกวิชาความรู้ต่างๆไว้ที่วัดโพธิ์ โดยมีวัตถุประสงค์ ให้เป็นแหล่งเล่าเรียนหาความรู้สำหรับพสกนิกรในยุคสมัยของท่าน
    ในยุคดังกล่าวยังไม่มีโรงเรียน หรือมหาวิท-ยาลัยเช่นปัจจุบัน การเรียนหนังสือต้อง อาศัยวัดวาต่างๆ ซึ่งก็เป็นการสอนให้อ่านออกเขียนได้ทั่วๆไป
    แต่สำหรับวัดโพธิ์ โดยพระราชดำริของพระองค์ ท่านให้รวบรวมวิชาความรู้ ทุกแขนงเท่า ที่จะพึงมีในยุคดังกล่าวเข้าไว้ด้วยกัน จึงเท่ากับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่สอนวิชาต่างๆผ่านกำแพง โบสถ์ และศาลารายมาตราบเท่าทุกวันนี้
    โดยเฉพาะบรรดา “โพธิเวชบัณฑิต” หรือหมอนวดแผนโบราณ ศิษย์วัดโพธิ์ทั้ง หลายทำงาน ได้เงินเดือนมากกว่าปริญญาตรี ปริญญาโทเสียอีก ...ก็จบจาก มหาวิทยาลัยแห่งนี้ละครับ.
    "ซูม"
     

แชร์หน้านี้

Loading...