พุทธศาสนา กับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ ๗ (ภาคผนวก)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 30 มกราคม 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ตอนที่ ๗
    อริยมรรค มีองค์ ๘ ภาคผนวกที่ ๒ ในจำนวน ๒ ภาค
    เครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย อันเป็น ธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ นับตั้งแต่สภาพสรีระร่างกายของมนุษย์ และยังรวมไปถึงธรรมชาติแวดล้อมอื่นๆ อันได้แก่ สภาพลมฟ้าอากาศ สภาพภูมิประเทศ ทรัพยากรทางธรรมชาติต่างๆ ล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน บ้างก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน บ้างก็ทำลายกันและกัน บ้างก็เป็นเหตุให้เกิด เป็นผลให้เกิดซึ่งกันและกัน ฯลฯ กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ระบบนิเวศ”
    สำหรับมนุษย์ทั้งหลายนั้น ย่อมประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆและระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เป็นเสมือนระบบนิเวศ ในร่างกายมนุษย์ อันเป็นระบบนิเวศหรือระบบการทำงานตามธรรมชาติของร่างกาย และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบนิเวศภายนอกร่างกาย รวมเรียกว่า จิต,เจตสิก,รูป ก่อให้เกิดเป็นกลไกหรือระบบหรือเป็นผลทำให้มนุษย์เกิดมี ความหวนระลึกนึกถึง , ความคิด,ความเห็น ฯลฯ อันทำให้เกิดเป็นผลอีกขั้นหนึ่งทั้งทาง สภาพสภาวะจิตใจ คือ อารมณ์ ความรู้สึก หรือทำให้เกิดผลในทางติดต่อสื่อสารทางกายหลายรูปแบบ การติดต่อสื่อสารทางกายรูปแบบหนึ่ง ก็คือ การพูด หรือเจรจา หรือวาจา และยังทำให้เกิดผลในทางพฤติกรรมทางกายหลายๆด้าน ซึ่งล้วนมีปัจจัยหรือสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการปฏิสันถารติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันในหลากหลายรูปแบบ พฤติกรรมในการปฏิสันถาร พฤติกรรมทางกายในลักษณะต่างๆของมนุษย์ ก็ล้วนเกิดจาก จิต,เจตสิก,รูป และผลที่เกิดจาก จิต,เจตสิก,รูป ก็คือ ความหวนระลึกนึกถึง,ความคิด,ความเชื่อตาม คล้อยตาม หรือ ความเห็น,การพูด หรือเจรจา หรือวาจา ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลเป็นพฤติกรรมทางกาย หรือ “การประพฤติทางกาย หรือการงานทางกาย หรือทำการทางกาย”
    การงานทางกาย หรือ ทำการทางกาย หรือประพฤติทางกาย เป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย หรือเป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ โดยทั่วไป ล้วนย่อมมี การงานทางกาย หรือทำการทางกาย หรือประพฤติทางกาย ไปในทางที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปในทางฆ่าสัตว์หรือทำร้ายผู้อื่น,ไม่เป็นไปในทางประพฤติผิดในกาม,ไม่เป็นไปในทางลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ,ไม่เป็นไปในทางโลภอยากได้ของผู้อื่นโดยทุจริต คือไม่ล่วงละเมิดในร่างกายหรือทรัพย์สินฯ และยังมีลักษณะ การงานทางกาย หรือทำการทางกาย หรือประพฤติทางกาย อีกหลายลักษณะ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติกันอยู่เป็นกิจวัตรประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ไปจนถึงเข้านอน เพราะการงานทางกาย หรือทำการทางกาย หรือประพฤติทางกายนี้ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง หรือเป็นพฤติกรรมส่วนหนึ่ง ของการประกอบอาชีพ หรือเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งเป็นพฤติกรรมส่วนหนึ่งในการเลี้ยงชีพเลี้ยงชีวิตในสังคมของมนุษย์ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง หรือเป็นพฤติกรรมของการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งหรือเป็นพฤติกรรมในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน นับตั้งแต่ครอบครัวเป็นต้นมา และลักษณะ การงานทางกาย หรือทำการทางกาย หรือประพฤติทางกายที่ได้กล่าวไปนั้น เรียกว่า “การงานชอบ หรือ ทำการชอบ หรือประพฤติชอบ”
    จากการที่ได้กล่าวอธิบายในเรื่องของ “การงานชอบ หรือ ทำการชอบ หรือประพฤติชอบ” อันเป็นเครื่องช่วย หรือหลักวิธี หรือ เครื่องช่วย หรือเป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ ก็ย่อมเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการ เลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต ของมนุษย์ และยังเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์มรรคอื่นๆ อาจจะกล่าวว่าเป็นสิ่งประกอบของกันและกัน หรือเป็นสิ่งประกอบซึ่งกันและกัน ก็ได้เช่นกัน
    มนุษย์จะมีชีวิต หรือดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็ต้องแสวงหาปัจจัยสำหรับการดำรงชีวิต คือ ต้องแสวงหา อาหาร,ที่อยู่อาศัย,เครื่องนุ่งห่ม,และยารักษาโรค การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหา เสาะหา ปัจจัยทั้ง ๔ ประการ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงทำให้เกิด การเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือ จะเรียกว่า การทำมาหากิน ของมนุษย์ หรือจะเรียกว่า การประกอบอาชีพ และการประกอบอาชีพของมนุษย์นั้น ก็เป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ที่จะทำให้บุคคลนั้นๆบรรลุถึงความต้องการ หรือบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย นับตั้งแต่ความต้องการในการดำรงชีวิต หรือเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต ให้มีความสุขตามสภาพ หรือต้องการที่จะมุ่งสู่การหลุดพ้นแห่งกิเลสและอาสวะแห่งกิเลส
    การทำมาหากิน หรือ การเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือการประกอบอาชีพ ของมนุษย์โดยทั่วไปแล้ว ล้วนย่อมต้อง ทำมาหากิน หรือเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือประกอบอาชีพ โดยสุจริตกันอยู่แล้ว มนุษย์ทั้งหลายนับตั้งแต่ครั้งโบราณ ล้วนทำมาหากินหรือประกอบอาชีพ ด้วยการทำการเกษตรบ้าง ทำประมงบ้าง ค้าขายบ้าง ฯลฯ ไม่มีมนุษย์คนไหนอยากทำมาหากิน เลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือประกอบอาชีพ ในทางทุจริต จะมีก็เป็นเพียงส่วนน้อย อันเนื่องจากสาเหตุหลายอย่างหลายประการ แต่โดยสรุปแล้วมนุษย์
    มีเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ในการดำรงชีวิต ด้วยการทำมาหากิน หรือเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือประกอบอาชีพ ในทางสุจริต ไม่คดโกงเอาทรัพย์สิน ไม่หลอกลวงเอาทรัพย์ทั้งที่เคลื่อนที่ได้ และทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ไม่ค้ายาเสพติด ไม่ปล้นชิงทรัพย์สิน ฯลฯ รวมเรียกว่า เลี้ยงชีพชอบ หรือ เลี้ยงชีวิตชอบ หรือ อาชีพชอบ
    ส่วนเหตุที่ได้อธิบายไปแล้วว่า การทำมาหากินชอบ หรือการเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิตชอบ หรือการประกอบอาชีพชอบนั้น ย่อมมี การงานชอบ หรือทำการชอบ หรือประพฤติชอบ ประกอบอยู่ ก็เพราะการทำมาหากิน หรือการเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือประกอบอาชีพนั้น ย่อมต้องมีการประพฤติ หรือการงาน หรือ ทำการ ร่วมอยู่ประกอบอยู่ อีกทั้งยังมีองค์มรรคในข้ออื่นๆเป็นส่วนประกอบ เกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อันได้แก่ ความคิดชอบ ความระลึกนึกถึงชอบ ความซื่อตรง ไม่คิดไม่ทำเพื่อจะลักขโมยทรัพย์หรือคดโกง ไม่ประพฤติผิดทางกาม ไม่เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การเจรจาชอบ รวมไปถึงพฤติกรรมทางกาย อันได้แก่ มีการงานชอบ หรือ ทำการ หรือประพฤติชอบ ไปตามลักษณะการทำมาหากิน หรือการเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือการประกอบอาชีพนั้นๆ ซึ่งท่านทั้งหลายคงได้ประสบพบเห็น หรือได้สัมผัสรับรู้ ทั้งจากตัวท่านเอง และบุคคลรอบข้าง หรือบุคคลทั่วๆไป
    การเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต หรือการประกอบอาชีพ ทั้งหลาย ย่อมต้องอาศัยสภาพสภาวะจิตใจชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ความเพียร หรือ ความบากบั่น หรือความพยายามทำจนกว่าจะสำเร็จ” อันเป็นเครื่องมือ หลักวิธี หรือเครื่องช่วย ทั้งยังเป็นสภาพสภาวะจิตใจโดยธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการคิด การระลึกนึกถึง การพูด การประกอบกิจการงานใดใด พฤติกรรมทางกายหรือทางใจใดใด มนุษย์ย่อมมีความเพียร คือ ความพยายาม มีความบากบั่น กระทำในสิ่งเหล่านั้นจนกว่าจะสำเร็จ ตามกำลังความรู้ หรือตามสมรรถภาพ คือ ความสามารถ เป็นปกติวิสัย หรือตามความต้องการ ตามความปรารถนา ในเรื่องนั้นๆ หากบุคคลผู้ปรารถนา ที่จะละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก กิเลส และอาสวะแห่งกิเลส ในตนให้สิ้นไป ก็ต้องมีสติระลึกนึกถึงเตือนตนอยู่เสมอ เพื่อสร้าง “ความเพียรชอบ” คือ ความพยายาม,ความบากบั่น ในการที่
    ๑. ระวังป้องกันความไม่ดีทั้งทางใจและความไม่ดีทางกาย เช่น “ฆ่าสัตว์, พูดปด, พูดเท็จ, พูดส่อเสียด, พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, พูดใส่ร้าย, ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้, ลักขโมย, ประพฤติในกาม, ความจ้องอยากได้ของผู้อื่น, พยาบาทปองร้ายเขา, มีความเห็นผิดหรือความเชื่อตาม ความคล้อยตามในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม, ความลำเอียง ๔ อย่าง รวมเรียกว่า บาป และ อกุศลธรรม ” ที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
    ๒. เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๓. เพื่อสร้างความดี ทั้งทางกาย วาจา และใจ เช่น เว้นจากการฆ่าสัตว์, เว้นการพูดปด, เว้นพูดเท็จ, เว้นพูดส่อเสียด, เว้นพูดคำหยาบ, เว้นพูดเพ้อเจ้อ, เว้นพูดใส่ร้าย, ไม่ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้, ไม่ลักขโมย, ไม่ประพฤติในกาม, ไม่โลภจ้องอยากได้ของผู้อื่น, ไม่พยาบาทปองร้ายเบียดเบียนเขา, ไม่มีความเห็นผิดหรือความเชื่อตาม ความคล้อยตามในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม ,มีความยุติธรรม ไม่ลำเลียง”รวมเรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
    ๔. เพื่อความดำรงมั่น รักษา ไม่ให้เสื่อมหาย เจริญยิ่งๆขึ้นไป อย่างเต็มที่ ในความเจริญความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ความเพียรชอบหรือความพยายามหรือความบากบั่นในทางที่ดี ทั้ง ๔ ข้อที่ได้อรรถาธิบายไป ต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า เป็นเพียงข้อแนะนำ หรือเป็นเพียงคำบอกกล่าว ให้รู้จักมีความพยายาม หรือบากบั่น หรือมีความเพียร ในการที่ระวังป้องกันมิให้เกิดความชั่ว ความไม่ดีในจิตใจ, ระวังป้องไม่ให้ความชั่ว ความไม่ดีในจิตใจเกิดขึ้นอีกถ้าหากเคยเกิดขึ้นผ่านไปแล้ว ,พยายามหรือบากบั่น หรือมีความเพียร สร้างความดี ที่ยังไม่มีในจิตใจ ให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นในจิตใจ,และ พยายามหรือบากบั่น หรือมีความเพียรที่จะรักษา ความดีในจิตใจทั้งหลายที่มีอยู่ในจิตใจของตน ให้มีอยู่ตลอดไป
    ความเพียรชอบ หรือความพยายามความบากบั่น ในทางที่ดี ที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ คือ มนุษย์ประพฤติปฏิบัติกันอยู่เป็นกิจวัตร และจัดว่า เป็นเครื่องมือ หลักวิธี หรือเครื่องช่วย หรือเป็นธรรมชาติพื้นฐาน ที่จะช่วยทำให้มนุษย์ดำเนินชีวิต ดำรงชีวิต ในสังคม ได้อย่างปกติสุข เพราะมนุษย์ย่อมไม่ดิ้นรนหาเรื่องใส่ตัวด้วยการประพฤติปฏิบัติในทางที่ไม่ดี ในทางที่เป็นอกุศลธรรม แต่ในสังคมคงมีมนุษย์ที่เห็นผิดเป็นชอบอยู่บ้าง ซึ่งก็คงเป็นบ้างครั้งบางเรื่องบางสถานการณ์ นั่นก็เป็นเรื่องธรรมดา อันเกี่ยวข้องกับสภาพ จิต,และเจตสิก ซึ่งเกิดจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม ฯ ของแต่ละบุคคล ถึงอย่างไรก็ตาม หากบุคคลเหล่านั้น หรือบุคคลทั้งหลาย มีสมาธิ ก็ย่อมสามารถบังคับควบคุมมิให้ตัวเขาเกิดพฤติกรรมในทางที่ไม่ดี คือในทางที่เป็นอกุศล ทั้งทางใจ และทางกาย เพราะสมาธิ เป็นสิ่งสำคัญ เป็นเครื่องมือ เป็นหลักวิธี เป็นเครื่องช่วย หรือเป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ในการดำรงชีวิต ในการทำงาน ในการประกอบกิจกรรม
    ในเรื่องของสมาธินี้ ท่านทั้งหลายต้องศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจให้ดี ว่า สมาธิ หมายถึง ความมีใจสงบแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน ,ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต ,สำรวมใจ, ไม่มีวิตก, ไม่มีวิจาร, ละปีติสุข เกิดอุเบกขา, ไม่คิดสิ่งใด คือไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่โศกเศร้าเสียใจ และความหมายของสมาธิที่ได้กล่าวไป มีชื่อเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “สัมมาสมาธิ”
    สัมมาสมาธิ ในอริยมรรคองค์นี้ หมายถึง “ความตั้งใจชอบ” ซึ่งแท้จริงแล้ว ความตั้งใจชอบนั้น เป็นผลแห่งสมาธิ และก่อให้เกิดสมาธิ คือเป็นทั้งเผลและเหตุ เพราะ “ความตั้งใจชอบ” หรือ สัมมาสมาธิ นั้น จะเกิดขึ้นจากความคิด หรือเกิดขึ้นจากการระลึกนึกถึง กล่าวคือ เมื่อเกิดมีความคิด(วิตก)ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือระลึกนึกถึงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ได้จดจำไว้ มิใช่คิดหรือระลึกนึกถึงแบบฟุ้งซ่าน สับสน ขณะเดียวกันบุคคลนั้นๆก็ย่อมรับรู้หรือรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าได้คิดหรือระลึกนึกถึง และอาจพิจารณาไตร่ตรอง คือ คิดหรือระลึกนึกถึงทบทวนในรายละเอียด ตามความคิดตามความระลึกนึกถึงนั้นๆ(วิจาร) ก็จะเกิดสมาธิขึ้นมาชั้นหนึ่ง และเมื่อเกิดความคิด สุดท้ายหรือสิ้นสุด ตกลงใจว่าจะทำอย่างนั้น จะพูดอย่างนั้น จะปฏิบัติอย่างนั้น ก็จะเกิดสมาธิขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง สมาธิในชั้นนี้เรียกว่า “สัมมาสมาธิ” คือ “ความตั้งใจชอบ” ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะขณะที่บุคคลนั้นๆกำลังคิด หรือขณะมีความระลึกนึกถึง ตามธรรมดาแห่งธรรมชาติก็จะเป็นการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ หรือเอาใจเข้าไปจดจ่อ ทำให้เกิดสมาธิอยู่แล้ว เมื่อมีข้อตกลงใจในการคิดนั้น ก็จะเกิดความคิดว่า จะพูด จะทำ จะประพฤติปฏิบัติ ขณะที่คิดว่า จะพูด จะทำ จะประพฤติปฏิบัติ เป็นการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ หรือเอาใจจดจ่อในความคิดสุดท้ายหรือสิ้นสุด พอความคิดถึงที่สุดท้ายหรือสิ้นสุด ก็จะเกิดปีติสุข อาจเป็นปีติสุขในทางที่ดีก็ได้ อาจเกิดปีติสุขในทางที่ไม่ดีก็ได้ ล้วนย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งความคิดหรือความระลึกนึกถึงของบุคคลตามเรื่องนั้นๆ ปีติและสุขก็จะถูกกำจัดไปหรือขจัดไปหรือละไป โดยธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติแห่งภวังขณะนั้น หรือเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกายมนุษย์ในขณะนั้น ทำให้บุคคลเมื่อมีความคิดว่าจะทำ,จะพูด,จะประพฤติปฏิบัติ เป็นสุดท้าย หรือสิ้นสุด ย่อมเกิด ความมีใจสงบแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน ,ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต ,สำรวมใจ, ไม่มีวิตก, ไม่มีวิจาร, ละปีติสุข เกิดอุเบกขา เกิดเอกัคคตา (ฌาน ๔) เรียกว่า สัมมาสมาธิ เกิดขึ้น หรือ ความตั้งใจชอบเกิดขึ้น และที่ได้กล่าวอรรถาธิบายไปทั้งหมดในเรื่องของ สัมมาสมาธิ หรือ ความตั้งใจชอบนั้น อาจใช้เวลาที่เกิดในชั้นสุดท้ายหรือชั้นสิ้นสุด เพียงไม่ถึงเสี้ยววินาที
    อริยมรรค อันมีองค์ ๘ ที่ได้กล่าวอรรถาธิบายไปแล้วทั้ง ๘ องค์นั้น ล้วนเกิดจากหรือมีต้นตอมาจากธรรมชาติทั้งหลาย อันได้แก่ “ จิต,เจตสิก,รูป (รูปทั้งหมด รวมถึงขันธ์ ๕ด้วย) หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็ล้วนเกิดจากมนุษย์, สัตว์, พืช,ทั้งที่มองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้ด้วยตา รวมไปถึงสภาพลมฟ้า อากาศ การหมุนหรือการโคจรของโลก,ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯ, การสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์, วิชาการ ความรู้ในด้านต่างๆ” เป็นเครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย หรือเป็นธรรมชาติพื้นฐาน เป็นเหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดความเข้มแข็ง เกิดความมั่นใจในการดำรงชีวิต ในการดำเนินชีวิต เป็นพลังทางใจ หรือเป็นกำลังใจ มิให้เกิดความเกียจคร้าน มิให้หลงงมงาย มิให้เกิดความประมาท มิให้เกิดความฟุ้งซ่าน แต่จักทำให้เกิด ความเชื่อในทางที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม เกิดพลังแห่งความขยันหมั่นเพียร,เกิดพลังแห่งปัญญา,เกิดพลังในการกระทำด้วยความมีสติ คือกระทำในสิ่งที่ไม่มีโทษ หรือไม่เบียดเบียนผู้อื่น, เกิดพลังใจในการสงเคราะห์คือช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตามกำลังความสามารถของแต่ละบุคคล ฯลฯ
    ในการดำเนินชีวิต หรือในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ตามธรรมชาติ ตามการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน พฤติกรรม การกระทำ ใดใดก็ตามของมนุษย์ทุกคน ล้วนมีสมาธิเป็นเครื่องกำกับ เป็นเป็นสิ่งประกอบที่สำคัญ แห่งพฤติกรรม และการกระทำนั้นๆ หากไม่มีสมาธิเป็นเครื่องกำกับ หรือสิ่งประกอบ มนุษย์ทุกคนย่อมไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ไม่สามารถควบคุมความคิด ไม่สามารถควบคุมการกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจ ย่อมจะเกิดความวุ่นวายสับสน ดังนั้น สมาธิ จึงเป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ “ความตั้งใจชอบ หรือ สัมมาสมาธิ” ย่อมเป็นสิ่งสำคัญเป็นเครื่องมือ เป็นหลักวิธี หรือเป็นเครื่องช่วย เป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์ เกี่ยวข้อง กับอริยมรรคในองค์อื่นๆ หมุนวนต่อเนื่องกันไป หากบุคคลได้จดจำฝึกฝนเพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ ก็จักทำให้ผู้จดจำฝึกฝนเพิ่มเติม สามารถดำเนินชีวิต ดำรงชีวิต ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ที่ไม่ผิดต่อศีลธรรมอันดี ไม่เกินความสามารถหรือศักยภาพ ตามความต้อง หรือทำให้บุคคลผู้จดจำฝึกฝนเพิ่มเติมนั้น สามารถสร้างสภาพสภาวะจิตใจที่ดีงาม สร้างพลังใจ สร้างความเข้มแข็งไม่เกรงกลัวต่อสิ่งที่ไม่ดี สร้างความมั่นใจ ในการที่จะปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่จะนำให้บุคคลละ กำจัด ขจัด หรือสำรอก กิเลส หรืออาสวะแห่งกิเลส หรือละ กำจัด ขจัด สำรอก ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ธรรมที่เหตุแห่งนิวรณ์ ธรรมที่เป็นอกุศลธรรม มิให้เกิดขึ้นในตนเอง หรือให้หมดสิ้นไปได้ ดังความมุ่งมาดปรารถนา
    จบอริยมรรค มีองค์ ๘ ภาคผนวกที่ ๒ ในจำนวน ๒ ภาค
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
    ๑๗ - ๒๑ ต.ค. ๒๕๕๒
    แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อ ๒๒ ต.ค. ๒๕๕๒a
    พุทธศาสนา กับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ” (จบบริบูรณ์)
     

แชร์หน้านี้

Loading...