พุทธศาสนา กับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ ๖ (ภาคผนวก)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 30 มกราคม 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ภาคผนวก
    มรรค หรือ อริยมรรค ภาคผนวกที่ ๑ ในจำนวน ๒ ภาค
    มรรค หรือ อริยมรรค มีองค์ ๘ ประกอบด้วย
    ๑. สัมมาสติ ระลึกชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
    ๓. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
    ๔. สัมมาวาจา วาจาชอบ,เจรจาชอบ
    ๕. สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ,การงานชอบ,หรือประพฤติชอบ
    ๖. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ,เลี้ยงชีวิตชอบ,ประกอบอาชีพชอบ
    ๗. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ,ตั้งจิตมั่นชอบ
    อริยะมรรค มีองค์ ๘ นี้ เป็นเครื่องมือ เป็นหลักวิธี เป็นเครื่องช่วย และเป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในมนุษย์ เป็นพฤติกรรมของการดำรงชีวิตตามสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ตามสภาพสิ่งแวดล้อม ฯ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สร้างสภาพสภาวะร่างกายและจิตใจ เพื่อสะดวก เพื่อให้ง่าย เพื่อมิให้มีอุปสรรคในการที่จะปฏิบัติธรรม เพื่อละ เพื่อกำจัด เพื่อขจัด กิเลส อาสวะแห่งกิเลส แล อกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเบื้องต้น และเป็นการปฏิบัติตัว ปฏิบัติตน หรือปรับสภาพตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินชีวิต ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายล้วนปฏิบัติกันอยู่แล้วหรือเป็นพฤติกรรม ตามธรรมชาติ ตามธรรมดาของมนุษย์ทั้งหลาย
    ในเรื่องของ อริยมรรค อันมีองค์ ๘ นี้ ท่านทั้งหลายควรได้ทำความเข้าใจไว้เป็นเบื้องต้นว่า มรรค ทั้ง ๘ องค์นั้น จะเกิดเกี่ยวเนื่อง ต่อเนื่อง สืบเนื่อง สัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน บางกิจกรรม หรือบางสถานการณ์ ก็จะเกี่ยวข้อง ต่อเนื่อง สัมพันธ์กันทั้ง ๘ องค์ บางกิจกรรม หรือบางสถานการณ์ ก็จะเกี่ยวข้อง ต่อเนื่อง สัมพันธ์กันไม่ถึง ๘ องค์ อริยมรรค ทั้ง ๘ องค์ อาจจะเกิดขึ้นจาก หรือเริ่มต้นจากมรรคองค์ใดก่อนก็ได้ แต่ก็จะหมุนวน หรือเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ สืบเนื่อง ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วบ้าง ไม่รวดเร็วคือใช้เวลาบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแห่งความต้องการ หรือสถานการณ์ หรือการดำเนินชีวิต ของบุคคลนั้นๆ อริยมรรค อันมีองค์ ๘ อรรถาธิบายในรายละเอียดได้ ดังต่อไปนี้.-
    ในชีวิตประจำวันของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนย่อมมี ความหวนระลึก หรือระลึกได้ ในความรู้ด้านต่างๆ ในการประพฤติหรือปฏิบัติ ในกิจวัตรประจำวันของตัวเอง รวมไปถึงกิจวัตรประจำวันของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลนั้นๆ เป็นไปโดยธรรมชาติพื้นฐาน อันเกิดจากการที่ได้สัมผัสจากอายตนะภายนอกคือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง แสง สี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์
    การระลึกได้ หรือนึกถึง หรือความหวนระลึกของมนุษย์ทั้งหลายในกิจวัตรประจำวัน ล้วนเป็นการระลึกนึกถึง ความหวนระลึก ในทางที่ดี ที่ถูกต้อง ตามการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งได้รับการขัดเกลาทั้งทางสังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังระลึกนึกถึง ความหวนระลึก ถึงความจำ ในการเลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด เก็บรวมรวม ความรู้ ความเข้าใจต่างๆ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต แลสามารถใช้เป็นความรู้ ความเข้าใจใน การละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก สังโยชน์ หรือ นิวรณ์ ทั้งหลายอันเป็นกิเลส และอาสวะแห่งกิเลส ซึ่งล้วนย่อมเกิดจาก จิต,เจตสิก,รูป
    การระลึกได้ หรือความหวนระลึกนึกถึงนี้ ความจริงแล้ว เป็นระบบความคิด รูปแบบหนึ่งของสรีระร่างกาย คือเป็นภวังคจิต อันหมายถึงระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นธรรมชาติพื้นฐานที่มีอยู่ในตัวของทุกคนอยู่แล้ว แต่การระลึกได้ หรือความหวนระลึกนึกถึงนี้ เป็นความคิดรูปแบบหนึ่ง(จิต) ที่เกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักวิชาการแขนงต่างๆ ในการประพฤติ ปฏิบัติ ในการประกอบกิจการใดใด หรือในการกระทำใดใด(เจตสิก) ที่จดจำ(ขันธ์๕)ไว้อยู่ในสมองและหัวใจ(ขันธ์๕) เป็นข้อมูลหรือเป็นสิ่งที่ประสบมาในอดีต สามารถนำออกมาใช้ได้ เมื่อได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก โดยอายตนะภายใน คือ หู,ตา,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ มักจะเกิดต่อเนื่องจากความคิดปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา หรือเป็นธรรมพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคน ล้วนย่อมมีความคิด ล้วนต้องคิด หรือเกิดต่อเนื่องจากการได้รับการสัมผัสโดยอายตนะภายใน คือ หู,ตา,จมูก ลิ้น,กาย,ใจ จากอายตนะภายนอก คือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง,แสงสี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์
    ความคิดของมนุษย์นั้น เกิดขึ้นจากการได้รับการสัมผัสจากภายนอก หรืออาจเกิดจากการระลึกนึกถึง หรือความหวนระลึกนึกถึง สิ่งที่ได้ประสบในอดีต คือ สิ่งที่ผ่านไปแล้ว หากจะพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว ความคิดของมนุษย์ อันเป็นธรรมชาติพื้นฐานนี้ ย่อมเกิดขึ้นหลังจากได้รับการสัมผัส ผ่านไปแล้วทั้งสิ้น เพียงแต่ตามความนิยมหรือตามค่านิยมยังคงถือว่า เป็นการสัมผัส ณ.ปัจจุบัน เช่น พอได้เห็นคนผู้หนึ่ง จึงเกิดความคิด ว่าเหมือนจะจำคนผู้นั้นได้ และในเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาที ก็ระลึกหวนระลึกได้ว่า รู้จักและจำคนผู้นั้นได้ว่าชื่ออะไร อย่างนี้เป็นต้น
    ความคิดของมนุษย์ อันเป็นธรรมชาติพื้นฐานนั้น ส่วนใหญ่ล้วนนับเข้าเป็น สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ เป็นธรรมชาติ เพราะมนุษย์ทั้งหลายย่อมไม่ต้องการคิดหรือมักไม่คิดในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกไม่ควร อันเนื่องจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ถึงแม้จะมีบางบุคคล บางครั้ง บางเวลา เกิดความคิดที่ไม่ชอบ เกิดความคิดที่ไม่ดี กับบุคคลอื่นๆ ตามสภาพการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ตามสภาพแวดล้อม หรืออาจเกิดจากความเจ็บป่วย ของร่างกาย แต่เมื่อผ่านพ้นไปสักครู่ บุคคลนั้นๆ ก็ย่อมกลับมี ความคิดชอบ หรือ ดำริชอบ ในทางที่ดี ในทางที่ถูกต้อง เหมือนเดิม ซึ่งความคิดชอบหรือ ดำริชอบในทางที่ดี ในทางที่ถูกต้อง ในทางที่เป็นกุศล เช่น มีความคิดที่ต้องการออกจาก กามคือความใคร่ ออกจากความอยากได้โน่นอยากได้นี่ หรือออกจากความปรารถนาให้ได้สิ่งที่ต้องการแบบฟุ้งเฟ้อเกินควร หรือมีความคิดที่จะไม่พยาบาท หรือไม่เบียดเบียนผู้อื่น ย่อมเกิดเป็นความคิด หรือเกิดจากความคิด ในการเลือกสรร ตรวจตรา สอบรายละเอียด เก็บรวบรวม สิ่งที่ต้องการ นับตั้งแต่ ปัจจัยชั้นพื้นฐาน ไปจนถึง ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักวิชาการต่างๆ เพื่อระลึก หรือความหวนระลึกนึกถึง นำมาใช้ในการขัดเกลา ในการละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก “สิ่งที่ทำให้เกิด” สังโยชน์ นิวรณ์ทั้งหลาย หรือเพื่อละ ขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ซึ่ง กาม,ความพยาบาท,ความมีใจต้องการเบียดเบียนผู้อื่น อันเป็นกิเลสและ อาสวะแห่งกิเลส อันเกิดจากหรือมีสาเหตุมาจาก จิต,เจตสิก,รูป
    เมื่อบุคคลนั้นๆ มีความหวนระลึก หรือความตามระลึก นึกถึง และมีความคิด อันเกิดจากการได้รับสัมผัสทางอายตนะภายใน คือ หู,ตา,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ จากอายตนะภายนอก คือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง แสง สี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ แล้วมีความเชื่อ มีความเข้าใจ เชื่อตามความรู้นั้นๆ หรือเชื่อตามการประพฤติปฏิบัตินั้นๆ ตกลงใจเชื่อหรือคล้อยตาม ซึ่งในภาษาพูดทั่วไป เรียกว่า เห็นตาม เห็นด้วย มีความเชื่อตาม รวมไปถึงการประพฤติปฏิบัติตาม ในสิ่งที่ได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายใน จากอายตนะภายนอก แล้วมีความเชื่อ มีความเข้าใจ เชื่อตามความรู้นั้นๆ หรือเชื่อตามการประพฤติปฏิบัตินั้นๆ หรือ คล้อยตาม ตกลงใจเชื่อ หรือในภาษาพูดทั่วไป เรียกว่า เห็นตาม เห็นด้วย มีความเชื่อตาม นั้นก็คือ “ความเห็น”
    ความเห็น เป็นผลแห่งความระลึกนึกถึง หรือความหวนระลึก และเป็นผลจากความคิด หรือ ดำริ ซึ่งล้วนย่อมเกิดจากการได้สัมผัสทางอายตนะในคือ หู,ตา,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ จากอายตนะภายนอก คือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง แสง สี,โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์ แล้วมีความเชื่อ มีความเข้าใจ เชื่อในความรู้นั้นๆ หรือเชื่อในการประพฤติปฏิบัตินั้นๆหรือคล้อยตาม ตกลงใจเชื่อ เห็นตาม เห็นด้วย มีความเชื่อตาม หากบุคคลมีความคิดชอบ หรือดำริชอบ หรือมีความระลึกชอบ ฯลฯ ก็ย่อมเกิดความเห็นชอบ ติดตามมา
    ความเห็นชอบ ตามหลักพระอภิธรรมปิฎกนั้น หมายถึงความคิด และการระลึกนึกถึง เมื่อได้สัมผัสทางอายตนะภายใน จากอายตนะภายนอก แล้วมีความเชื่อ มีความเข้าใจ เชื่อตามความรู้นั้นๆ หรือเชื่อตามการประพฤติปฏิบัตินั้นๆ หรือคล้อยตาม ตกลงใจเชื่อ หรือ เห็นตาม เห็นด้วย มีความเชื่อตาม เช่นมีความเห็นชอบตามความเป็นไปตามธรรมชาติ ของ จิต,เจตสิก,รูป นั่นก็หมายความว่า เมื่อบุคคลได้เรียนรู้คือ ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ได้เห็น มาแล้วจนเกิดความรู้ความเข้าใจว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ , สิ่งใดคือเหตุที่ทำให้เป็นทุกข์ , สิ่งใดเป็นเหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์,สิ่งใดเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์ จึงเกิดความเห็นชอบว่า ความแก่ ,ความเจ็บ,ความตาย,ความโศกเศร้า, ความเสียใจ,ความร้องไห้คร่ำครวญ เพราะความไร้ญาติ ไร้ทรัพย์ หรือด้วยความเจ็บป่วย,ความแค้นเคือง อาฆาต พยาบาท,ความได้อยู่ร่วม หรือมีร่วม หรือใช้ร่วม ในสิ่งที่ไม่ปรารถนา ,ความไม่ได้อยู่ร่วม ไม่ได้มี หรือไม่ได้ใช้ ในสิ่งที่ปรารถนา เป็น ทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น
    ความเห็นชอบ ที่ได้กล่าวไปนั้น แท้จริงแล้ว เกิดจากการได้เรียนรู้ ได้ทำความเข้าใจ ได้วิตก ได้วิจาร ได้ระลึกนึกถึง ตามหวนระลึก ได้คิดพิจารณา จึงตกลงใจเชื่อ มีความเชื่อ มีความเข้าใจ เชื่อตามความรู้นั้นๆ หรือเชื่อตามการประพฤติปฏิบัตินั้นๆ หรือคล้อยตาม เห็นด้วย เห็นตาม ซึ่งท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจให้ดี อย่าสับสน
    เมื่อมีความเห็นชอบ เกิดขึ้นแล้วในตัวบุคคลนั้นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นติดตามมาก็คือพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ในพฤติกรรม อย่างหนึ่ง ในจำนวนหลายอย่าง ที่เกิดจากความเห็นชอบ นั้นก็คือ การพูด หรือ วาจาชอบ หรือ เจรจาชอบ นั่นเอง
    การพูด หรือ วาจาชอบ หรือ เจรจาชอบ นั้นเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ มนุษย์ที่ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ย่อมต้องใช้ การพูด หรือ วาจา หรือ เจรจา ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เป็นการติดต่อสื่อสารรูปแบบหนึ่งในจำนวนหลายๆรูปแบบ ในทุกอาชีพ ในทุกสังคม ในธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ ล้วนมีการพูด หรือ วาจา หรือ เจรจา ในทางที่ดี ในทางที่ถูกที่ควร ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดประชดแดกดัน ไม่พูดพล่ามไร้สาระ ซึ่งท่านทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้วตามการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน อันสามารถเรียกได้ว่าเป็น วาจาชอบ หรือ เจรจาชอบ
    การพูด หรือ วาจา หรือ เจรจา ล้วนเป็น เครื่องมือ หรือหลักวิธี หรือเครื่องช่วย ที่จักทำให้สภาพจิตใจของบุคคลทั้งหลายที่ได้ยิน ได้ฟัง เกิดสมาธิ เกิดสติ หรือเกิดความคิด ความระลึกนึกถึง ความหวนระลึก ความตกลงใจเชื่อ หรือคล้อยตาม อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดพฤติกรรมตามปกติวิสัยของมนุษย์ทั้งหลาย ตามสภาพการได้รับการขัดเกลาทางสังคม และสิ่งแวดล้อม หรือตามเผ่าพันธุ์ ไม่เป็นการเบียดเบียนตัวเอง และไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น รูปแบบหนึ่ง ซึ่งย่อมมีความจำเป็น และมีความสำคัญไม่ว่าบุคคลนั้นๆจะมีความต้องการ หรือมีจุดมุ่งหมายในการดำรงชีวิต รูปแบบใด หรือมีความต้องการ หรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นไปตามหลักทางศาสนาใดใดก็ตาม เหตุเพราะบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนต้องปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้อง หรือพบปะ หรือจำเป็นต้องประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน การเจรจาที่ดี หรือวาจาที่ดี หรือ การพูดในทางที่ดี หรือ วาจาชอบ ย่อมเป็นการสร้าง หรือเป็นการฝึกฝน หรือเป็นสิ่งทำให้เกิดสภาพสภาวะจิตใจ หรือเป็นสิ่งทำให้บุคคลมีการระลึกนึกถึงในทางที่ดี มีการคิดในทางที่ดี อันจักทำให้เกิดความเห็นในทางที่ดี และอื่นๆตามมา

    จบอริยมรรค มีองค์ ๘ ภาคผนวก ๑ ในสำนวนภาษาไทย
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...