พุทธวรรคที่ ๑พุทธาปทานที่ ๑ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 25 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER class=n>พระสุตตันตปิฎก</CENTER>


    </PRE>



    <CENTER class=n>เล่ม ๒๔</CENTER>


    </PRE>



    <CENTER class=n>ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑</CENTER>


    </PRE>



    <CENTER class=n>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น</CENTER>


    </PRE>



    <CENTER>พุทธวรรคที่ ๑</CENTER>


    </PRE>



    <CENTER>พุทธาปทานที่ ๑</CENTER>


    </PRE>



    <CENTER>ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า</CENTER>


    </PRE>


    [๑] พระอานนท์เวเทหมุนี มีอินทรีย์สำรวมแล้วได้ทูลถามพระตถาคตผู้ประทับ


    </PRE>
    อยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า ได้ทราบว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไรจึงได้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์?

    ในกาลนั้น
    พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐ ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า
    ชนเหล่าใด สร้างสมกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ยังไม่ได้โมกขธรรมใน ศาสนาของพระชินเจ้า ชนเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์โดยมุข คือ การ ตรัสรู้นั้นแล แม้มีอัธยาศัย มีกำลังมาก มีปัญญาแก่กล้า ย่อมได้บรรลุ ความเป็นพระสัพพัญญูด้วยเหตุแห่งปัญญา
    แม้เราเป็นธรรมราชาผู้สมบูรณ์
    ด้วยบารมี ๓๐ ทัศ ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
    นับไม่ถ้วน นมัสการพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพร้อมด้วยสงฆ์ด้วย
    นิ้วทั้ง ๑๐ แล้วกราบไหว้สัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด
    ทั้งหลายด้วยเศียรเกล้า รัตนะทั้งที่มีในอากาศและอยู่ที่พื้นดิน ในพุทธ-
    เขต มีประมาณเท่าใด เราจักนำรัตนะทั้งหมดนั้นมาด้วยใจ
    ณ พื้นที่เป็น
    รูปิยะนั้น เราได้นิรมิตปราสาทหลายชั้น อันสำเร็จด้วยรัตนะ สูง
    ตระหง่านจรดฟ้า มีเสาอันวิจิตร ได้สัดส่วน จัดไว้ดี ควรค่ามาก มี
    คันทวยทำด้วยทองคำ ประดับด้วยนกกระเรียนและฉัตร พื้นชั้นแรกเป็น
    แก้วไพฑูรย์ งามปราศจากมลทิน ไม่มีฝ้า เกลื่อนกลาดด้วยดอกบัวหลวง
    มีพื้นทองคำอย่างดี พื้นบางชั้นมีสีดังแก้วประพาฬ เป็นกิ่งน่ารื่นเริง บาง
    ชั้นแดงงาม บางชั้นเปล่งรัศมี ดังสีแมลงค่อมทอง
    บางชั้นสว่างทั่วทิศ
    ในปราสาทนั้น มีศาลาสี่หน้ามุข มีประตูหน้าต่างจัดไว้เรียบร้อย มีชุกชี
    และหลุมตาข่ายสี่แห่ง มีพวงมาลัยหอมน่ารื่นรมย์ใจห้อยอยู่ ยอด
    ปราสาทนั้นประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ มีสีเขียว เหลือง แดง ขาว
    ดำล้วน ประกอบด้วยยอดเรือนชั้นเยี่ยม
    มีสระประทุมชูดอกบานสะพรั่ง
    งามด้วยฝูงเนื้อและนก บางชั้นดาดาษด้วยดาวนักษัตร ประดับด้วยรูป
    ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ปกคลุมด้วยพวงดอกไม้ทอง ดาดาษด้วยตาข่าย
    ทองน่ารื่นรมย์ ห้อยย้อยด้วยกระดิ่งทอง เปล่งเสียงด้วยกำลังลม ปรา-
    สาทนั้นวิจิตรด้วยธงสีต่างๆ คือ ธงสีชมพู สีแดง สีเหลือง สีเขียว
    และสีทอง ปักไว้เป็นระเบียบ แผ่นกระดานต่างๆ มากหลายร้อย ทำ
    ด้วยเงิน ทำด้วยแก้วมณี ทับทิม ทำด้วยแก้วมรกต วิจิตรด้วยที่นอน
    ต่างๆ ลาดด้วยผ้าเมืองกาสีละเอียดอ่อน เราปูลาดเครื่องลาดต่างๆ
    ด้วยผ้ากัมพล ผ้าทุกุลพัสตร์ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมืองแขก และผ้าห่มเหลือง
    ทุกแห่ง ด้วยใจ
    ที่พื้นนั้นๆ ประดับด้วยยอดแก้ว คนหลายร้อยยืน
    ถือประทีปแก้วมณีอันส่งแสงเรืองอยู่ เสาระเนียด เสาซุ้มประตู ทำด้วย
    ทองชมพูนุท ไม้แก่นและเงินบ้าง มีที่ต่อหลายแห่ง จัดไว้เรียบดี วิจิตร
    ด้วยบานประตูและกลอน ย่อมยังปราสาทให้งาม สองข้างปราสาทนั้น
    มีกระถางน้ำเต็มเปี่ยมหลายกระถาง ปลูกบัวหลวงและอุบลไว้เต็ม เรานิรมิตพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้เป็นนายกของโลกทุกพระองค์ พร้อมด้วย
    พระสงฆ์สาวก ด้วยวรรณและรูปตามปกติ
    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
    พร้อมด้วยพระสาวกเข้าไปทางประตูนั้น
    หมู่พระอริยเจ้านั่งบนตั่งอันทำ
    ด้วยทองคำล้วนๆ พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมในโลก มีอยู่ ณ บัดนี้ก็ดี
    เป็นอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    ทุกพระองค์ได้ขึ้นปราสาทของเรา พระสยัมภู
    ปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อย ผู้ไม่พ่ายแพ้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ขึ้น
    ปราสาทของเราทั้งหมด
    ต้นกัลปพฤกษ์ทั้งเป็นของทิพย์และของมนุษย์
    มีมาก เรานำเอาผ้าทุกอย่างจากต้นกัลปพฤกษ์นั้น มาทำไตรจีวรถวายให้
    ท่านเหล่านั้นครอง ของเคี้ยว ของฉัน ของลิ้ม น้ำและข้าวมีสมบูรณ์
    เราใส่อาหารเต็มบาตรงามทำด้วยมณีแล้วถวายพระอริยเจ้าทั้งผองครองผ้า
    ทิพย์ ครองจีวรเนื้อเกลี้ยงอิ่มหนำสำราญด้วยน้ำตาลกรวด น้ำมัน น้ำผึ้ง
    น้ำอ้อยรสหวานฉ่ำและด้วยข้าวปายาส หมู่อริยเจ้าเหล่านี้เข้าห้องแก้ว
    สำเร็จสีหไสยาบนที่นอนอันควรค่ามาก ดังไกรสรีนอนในถ้ำที่อยู่ รู้สึกตัว
    ลุกขึ้นนั่งคู้บัลลังก์บนที่นอน เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดีในฌานอัน
    เป็นโคจรของพุทธเจ้าทุกพระองค์

    บางพวกแสดงธรรม บางพวกเข้าฌาน
    ด้วยฤทธิ์ บางพวกเข้าอัปปนาฌาน และบางพวกอบรมอภิญญาวสี บาง
    พวกแผลงฤทธิ์ คนเดียวเป็นได้หลายร้อยหลายพัน

    แม้พระพุทธเจ้าก็ถาม
    ปัญหาอันเป็นอารมณ์ คือ วิสัยของพระสัพพัญญูกะพระพุทธเจ้า ท่าน
    เหล่านั้น ย่อมตรัสรู้เหตุอันละเอียดลึกซึ้งด้วยพระปัญญา พระสาวกทูล
    ถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสาวก ท่านเหล่านั้นถามกัน
    และกัน และพยากรณ์กันและกัน พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

    และพระสาวกต่างเป็นศิษย์
    ท่านเหล่านั้นรื่นรมย์อยู่ด้วยความยินดีอย่างนี้
    อภิรมย์อยู่ในปราสาทของเรา ฉัตรและฉัตรซ้อน มีรัศมีดังไม้ไผ่แก้วตั้งไว้
    ทุกๆ องค์ทรงไว้ซึ่งฉัตรอันห้อยย้อยด้วยตาข่ายทอง ขจิตด้วยตาข่ายเงิน
    วงรอบด้วยตาข่ายมุกดา บนเศียรมีเพดานผ้า แวววาวด้วยดาวทอง งดงาม
    ดาดาษด้วยพวงมาลัยทุกๆ องค์ ทรงไว้รอบๆ ฉัตรดาดาษด้วยพวงมาลัย
    งามด้วยพวงดอกไม้หอม เกลื่อนด้วยพวงผ้า ประดับด้วยพวงแก้ว
    เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้ งดงามยิ่งนัก รมด้วยของหอมน่าพอใจ ทำด้วย
    ของหอมยาวห้านิ้ว มุงด้วยเครื่องมุงทอง ในสี่ทิศแห่งปราสาท มีสระ
    อันดาดาษด้วยปทุมและอุบล หอมตลบด้วยเกสรดอกปทุม ปรากฏ
    ดังสีทองคำ โดยรอบปราสาท มีต้นไม้ทุกชนิด ดอกบานสะพรั่ง และ
    ดอกไม้หล่นลงเอง เรี่ยรายอยู่ยังปราสาท ใกล้ๆ ปราสาทนั้นมีฝูงนกยูง
    รำแพนหาง ฝูงหงส์ทิพย์ส่งเสียง ฝูงนกการวิกขับขาน หมู่นกร้องอยู่
    โดยรอบปราสาท เสียงกลองเภรีทุกอย่างจงเป็นไป เสียงพิณทุกชนิดจง
    ดีด เสียงสังคีตทุกอย่างจงขับขาน โดยรอบปราสาท ขอบัลลังก์ทองใหญ่
    สมบูรณ์ด้วยรัศมี ไม่มีช่องประดับด้วยแก้ว จงตั้งอยู่ ในกำหนดพุทธเขต
    และในหมื่นจักรวาล ขอต้นไม้ประจำทวีปจงรุ่งเรือง เป็นไม้สว่างไสว
    เช่นเดียวกัน สืบต่อกันไปตั้งหมื่นต้น หญิงเต้นรำ หญิงขับร้อง จงเต้นรำ
    ขับร้อง หมู่นางอัปสรผู้มีอวัยวะต่างๆ กัน จงปรากฏ (ฟ้อน) อยู่โดย
    รอบปราสาท เราให้ชักธงทุกชนิดมีห้าสีงามวิจิตรขึ้นอยู่บนยอดไม้ ยอด
    ภูเขา และบนยอดสิเนรุ หมู่ชน ฝูงนาค คนธรรพ์ และเทวดาทุกท่าน
    นั้น จงมาประนมหัตถ์นมัสการเรา แวดล้อมปราสาทอยู่ กุศลกรรมอย่าง
    ใดอย่างหนึ่ง เป็นกิริยาที่เราพึงทำด้วยกาย วาจา และใจ กุศลกรรมนั้นเรา
    ทำแล้วไปในไตรทศ สัตว์เหล่าใดมีสัญญา และสัตว์เหล่าใดไม่มีสัญญา
    มีอยู่ ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีส่วนแห่งผลบุญ ที่เราทำแล้ว สัตว์
    เหล่าใดทราบบุญที่เราทำแล้ว เราให้ผลบุญแก่สัตว์เหล่านั้น บรรดาสัตว์
    เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่รู้ ขอทวยเทพจงไปบอกแก่สัตว์เหล่านั้น ปวง
    สัตว์ในโลกผู้อาศัยอาหารเป็นอยู่ทุกจำพวก ขอจงได้อาหารอันพึงใจ ด้วย
    ใจของเรา เรามีใจเลื่อมใสในทานที่เราให้แล้วด้วยใจอันผ่องใส
    เราบูชา
    พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์แล้ว
    บูชาแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
    เพราะกุศลกรรมที่เราทำดีแล้วนั้น และเพราะความปรารถนาแห่งใจ เราละ
    กายมนุษย์แล้ว ได้ไปยังดาวดึงส์พิภพ เราย่อมรู้ทั่วความเป็นเทวดาและ
    มนุษย์ในสองภพ ย่อมไม่รู้จักคติอื่น นี้เป็นผลแห่งความปรารถนาด้วยใจ
    เราเป็นใหญ่กว่าเทวดา เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ
    ไม่มีใครเสมอเราด้วยปัญญา โภชนะต่างๆ อย่างประเสริฐ และรัตนะ
    มากมาย ผ้าต่างชนิด ย่อมจากฟ้ามาหาเราพลัน เราชี้มือไปในที่ใด คือ
    ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า อาหารทิพย์ย่อมมาหาเรา
    เอง เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและ
    ในป่า รัตนะทุกอย่างย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน
    ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า ของหอมทุกชนิดย่อมมาหาเราเอง
    เราชี้มือไปในที่ใด คือที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า
    ยวดยานทุกอย่างย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา
    บนอากาศ ในน้ำและในป่า ดอกไม้ทุกชนิดย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปใน
    ที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า เครื่องประดับ
    ย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ
    ในน้ำและในป่า ปวงนางกัญญาย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่
    แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ในน้ำและในป่า น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
    ย่อมมาหาเรา เราชี้มือไปในที่ใด คือ ที่แผ่นดิน ภูเขา บนอากาศ ใน
    น้ำและในป่า ของเคี้ยวทุกอย่างย่อมมาหาเรา เราได้ให้ทานอันประเสริฐ
    นั้นในคนไม่มีทรัพย์ คนเดินทางไกล ยาจก และคนเดินทางเปลี่ยว
    เพื่อต้องการบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ เรายังภูเขาหินให้บันลืออยู่
    ยังเขาอันแน่นหนาให้กระหึ่มอยู่ ยังมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง
    อยู่ จะเป็นพระพุทธเจ้าในโลก ทิศ ๑๐ มีอยู่ในโลก ที่สุดไม่มีแก่บุคคล
    ผู้ไปอยู่ ก็ในทิศาภาคนั้น พุทธเขตนับไม่ได้ รัศมีของเราปรากฏเปล่ง
    ออกเป็นคู่ๆ ข่าย (หมู่,คู่) รัศมีมีอยู่ในระหว่างนี้ เราป็นผู้มีแสงสว่างมาก
    ปวงชนในโลกธาตุประมาณเท่านี้จงเห็นเรา จงมีใจยินดีทั้ง
    หมดเทียว จงประพฤติตามเราทั้งหมด เราตีกลองอมฤต มีเสียงบันลือ
    ไพเราะสละสลวย ปวงชนในระหว่างนี้ จงได้ยินเสียงอันไพเราะของเรา
    เมื่อฝนคือธรรมเทศนาตกลง ปวงชนจงเป็นผู้ไม่มีอาสวะ บรรดาชน
    เหล่านั้น

    สัตว์ผู้เกิดสุดท้ายภายหลัง จงเป็นพระโสดาบัน เราให้ทานที่
    ควรให้แล้ว บำเพ็ญศีลโดยไม่เหลือ ถึงที่สุดเนกขัมมบารมีแล้ว พึงได้
    บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เราเรียนถามบัณฑิตแล้ว ทำความเพียรอย่าง
    สูงสุด ถึงที่สุดขันติบารมีแล้ว พึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เรา
    กระทำอธิษฐานจิตมั่นคงแล้ว บำเพ็ญสัจจบารมีถึงที่สุด เมตตาบารมีแล้ว
    พึงได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เราเป็นผู้มีใจเสมอในอารมณ์ทั้งปวง
    คือ ในลาภ ความเสื่อมลาภ สุข ทุกข์ สรรเสริญ และนินทา พึง
    ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ท่านทั้งหลายเห็นความเกียจคร้านโดยเป็น
    ภัย และเห็นความเพียรโดยความเกษมแล้ว จงปรารภความเพียร นี้เป็น
    อนุศาสนีของพระพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายเห็นความวิวาทโดยเป็นภัย และ
    เห็นความไม่วิวาทโดยเกษมแล้ว จงสมัครสมานกัน กล่าววาจาอ่อนหวาน
    แก่กัน นี้เป็นอนุศาสนีของพระพุทธเจ้า ท่านทั้งหลายเห็นความประมาท
    โดยเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทโดยเกษมแล้ว จงอบรมอัฏฐังคิกมรรค
    นี้เป็นอนุศาสนีของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย
    มาประชุมกันอยู่มาก ทุกประการ ท่านทั้งหลายจงกราบไหว้นมัสการพระ-
    สัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ พระพุทธเจ้า
    (และ) ธรรมของพระพุทธเจ้า ใครๆ ไม่อาจคิดได้ เมื่อบุคคลเลื่อมใสใน
    พระพุทธเจ้าและพระธรรม อันใครๆ ไม่อาจคิดได้ ย่อมมีผลอันใครๆ
    คิดไม่ได้.
    ทราบว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงให้ท่านพระอานนท์รู้พระพุทธจิตของพระองค์ จึง
    ได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อพุทธาปนิยะ ด้วยประการฉะนี้.



    <CENTER>พุทธาปทานจบบริบูรณ์.</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...