พุทธภูมิ สาวกภูมิ หรือว่า สนุกปาก...แบบไหนบนชานชาลา...ป่ะ เราไปเที่ยวกันนะ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย นักเดินธรรม, 4 มกราคม 2011.

  1. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    วันนี้วันปีใหม่...คนเยอะแยะ...ไปไหนดี?

    นึกได้เห็นคนพูดกันมากมายไป "เชียงราย" ดีกว่า

    ถ่อมาถึงชานชาลาเห็น "คน" มากมาย

    เค้าเอาแต่พูดกันเรื่องไปเชียงราย

    คนที่1. พูดว่าเราอยากไปเชียงราย แต่จะไปยังไงล่ะ ไม่รู้จักสักอย่างว่าจะไปกันยังไง เอ๊ะ!!....ได้ยินเค้าบอกว่าเชียงรายเป้นเมืองทองคำ...โอ้ว เรารู้จักแล้ว รู้จักเชียงรายแล้ว...แต่ก็ไม่เคยไปแล้วก้ไม่รู้วิธีไปเลย...แต่เรารู้จักเชียงรายแล้ว

    คนที่2. พูดว่าเราอยากไปเชียงราย เรารู้ว่าต้องไปเครื่องบิน รถไฟ รถทัวร์...แต่เราไม่รู้ว่าไปคันไหน สาย ไหน เวลาใดเร็วกว่า..แล้วจะไปคันไหนดี เอ๊ะ!!...ได้ยินเค้าบอกว่าเชียงรายเป็นเมืองทองคำ...โอ้ว เรารู้จักแล้ว รู้จักเชียงรายแล้ว...แต่ก็ไม่เคยไปแม้ว่าจะพอรู้วิธีแต่ก็ไม่รู้ว่าอันไหนดีที่สุด...แต่เรารู้จักเชียงรายแล้ว

    คนที่3. พูดว่าเราอยากไปเชียงราย เรารู้ว่านั่งเครื่องบิน เวลาสิบเอ็ดโมง ของการบินไทยไปถึงไวที่สุด...เราเองก็ยังไม่เคยเห็นเชียงรายเลย แต่เราจะไปเล่าให้ทุกคนฟังว่าเรารู้แล้วว่า วิธีไหนไปเชียงรายเร็วที่สุด....เราต้องเก่งกว่าคนอื่นๆแน่นอน แล้วถ้าเค้าถามถึงเชียงรายเราก็บอกว่าเป้นเมืองทองคำไปแล้วกัน..เรารู้วิธีที่เร็วที่สุด แต่เราไม่เคยไป...แต่เรารู้จักเชียงรายแล้ว

    ทั้งสามคนพากันเดินไปทั่วชานชาลา ว่าฉันนั้นรู้จักเชียงราย...ฉันนั้นก้รู้จักเชียงราย...ฉันก็รู้ว่าเชียงรายเป็นอย่างไร...คนทั้งชานชาลาที่กำลังมืดกับวิธีไปถึงและลักษณะของเมืองเชียงรายได้ยินเข้าก็พากันแซ่ซ้อง

    โอ้...ทุกท่านรู้จักเชียงราย พาเราไปบ้างซิ เราอยากไปเชียงราย

    คนที่1. เราไม่รู้ว่าไปอย่างไรแต่เรารู้จักเชียงรายนะ...ก็เค้าบอกมา

    คนที่2. เรารู้ว่าจะไปยังไงแต่เราไม่เคยไปสักทีเพราะไม่รู้ว่าทางไหนเร็วสุด ดีสุดแต่เราก้รู้จักเชียงรายนะ...ก็เค้าบอกมา

    คนที่3. เรารู้นะว่าไปอย่างไร ดีที่สุดและเร็วที่สุด เพียงแต่เรายังไม่มีเวลาไป แต่เราก้รู้จักเชียงรายนะ...ก็เค้าบอกมา

    มหาชนต่างแซ่ซ้อง

    โอ้!! ท่านที่สามแม้ไม่เคยไปถึงเชียงราย แต่ท่านรู้แล้วว่าเชียงรายไปทางไหน วิธีใดเร็วที่สุด ท่านช่างเก่งกาจกว่าผุ้ใด ช่างยอดเยี่ยม เชียงรายเป็นเมืองอย่างไรไม่สำคัญ น่าจะเหมือนกันเพราะ....เค้าบอกมา

    โอ้!! เราไม่สนเมืองเชียงรายแล้ว แต่ท่านผุ้รู้ทางไปเก่งที่สุด เยี่ยมที่สุด ต่อไปนี้เราล้วนต่างเก่งเหมือนกันเพราะเรารู้ "ทางไปที่เร็วที่สุด" ในการไป "เชียงราย" แล้ว

    โอ้!! เชียงรายไม่ต้องไปดุกันแล้ว จะไปเมื่อไหร่ก็ไปได้ เรารู้จากท่านที่สามแล้วว่าทางนี้ดีที่สุด เร็วที่สุด เราจะไปเมื่อไหร่ก้ได้ แต่ตอนนี้เรายังไม่ไป มหาชนเราต้องไปบอกต่อว่าเชียงรายไปอย่างไร ผู้อื่นนั้นจะได้เข้าใจว่าเราเก่งกาจบ้างที่รู้ทางไปเชียงราย....เมืองเชียงรายเป้นเมืองทองคำเพราะเค้าก็เล่ากันต่อมา...คงไม่ผิดตามนี้

    โอ้!! แม้ไม่เคยไปถึงเชียงราย เพียงรู้ทางจาก...เค้าเล่าว่า เพียงรู้เมืองจาก...เค้าเล่าว่า เราก็สำคัญตนได้เหมือนคนไปเชียงรายมาแล้วเช่นกัน

    ...มหาชนต่างปลื้มใจ...

    แต่ในมหาชนนั้นก้มีคนอีกสองคนก็คือ

    บุรุษคนที่1. เราได้ยินมา เราเห็นว่าแม้คนที่ไม่รู้ทางไปใดใดเลย ก้ยังพูดถึงเมืองเชียงรายอย่างสนุกปาก แสดงว่าเชียงรายเป้นอย่างไรก้ยังไม่มีใครรู้ แม้เพียงคนที่สามบอกว่าทางนี้เร็วที่สุด เราก้ยังไม่เชื่อเพราะเค้าเองก็ยังไม่เคยลองไปและฟังเค้ามาอีกที เราจะออกเดินทางเองล่ะ ด้วยเท้าของเรา เมื่อไปถึงเราจะยังไม่บอกใคร เราจะลองนั่งรถไฟทุกสายแล้วกลับมา แล้วเราจะนั่งรถทัวร์ทุกสาย ทุกรอบแล้วกลับมา แล้วเราจะนั่งเครื่องบินทุกสายการบินและทุกิที่ยวบินแล้วกลับมา...เราจะไม่เพียงได้รู้ว่าทางไหนเร็วที่สุด ทางไหนดีที่สุด หรือเมืองเชียงรายที่แท้นั้นเป็นอย่างไร...แต่เราจะบอกทางให้แก่คนทุกคนได้รับรู้ว่า สำหรับท่านแล้ว เครื่องบิน รอบนี้ อาจเหมาะที่สุด...ในขณะที่อีกท่าน รถไฟ เที่ยวนี้ ระดับชั้นนี้ อาจเหมาะสมที่สุด...ดังนั้นจากทั้งหมดที่คิดมาเราจะเริ่มออกเดินทางด้วยเท้าของเราเองแล้วล่ะ

    บุรุษคนที่2. เราจะรอจนกว่ามีผู้ได้เดินทางจนรู้แจ้งตลอดเส้นทางและได้เห็นเมืองเชียงรายด้วยตัวเองปรากฎแล้วมาบอกทางนั้นแก่เรา เราจะเดินตามที่เขาบอกโดยไว เพื่อที่เราจะไปเชียงราย ไปพักผ่อนที่เชียงรายตามประสงค์

    วันนั้น...ที่ชานชาลา...จึงได้เห็น คนพูดจ้อกลุ่มใหญ่เรื่องเชียงราย วิธีไป แต่ก็ไม่ได้ไปไหนสักที เพราะมัวแต่ชื่นชมว่าใครรู้วิธีไปเชียงรายได้พิสดารกว่าย่อมเก่งกว่าดีกว่า จนลืมไปแล้วว่าตัวเองนั้นอยากไปเชียงราย ไม่ได้มานั่งวิพากษ์วิจารณ์ ปรุงแต่งวิธีการไปเชียงราย...ทั้งที่ไม่เคยแม้แต่สัมผัสเส้นทางที่แท้จริง ที่ไปสู่เชียงราย....

    วันนั้น...ที่ชานชาลา...จึงได้เห็น บุรุษ ผุ้ออกเดินทางโดยลำพัง เพื่อจะได้รับรู้และเห็น เชียงราย กับตัวเอง แล้วลองหาหนทางที่จะไปเชียงราย แม้จะต้องเทียวไปเทียวกลับเมืองเชียงราย นับครั้งไม่ถ้วน เพื่อหาหนทางมาแนะนำให้ทุกผุ้ทุกคนได้ไปเชียงรายด้วยวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคน....แม้จะใช้เวลานาสักเท่าใดก็ตาม....

    วันนั้น...ที่ชานชาลา...จึงได้เห็น บุรุษผู้เฝ้ารอ ใครสักคนที่รู้แจ้งเห็นจริง และได้เห็นเมืองเชียงรายด้วยตนเอง รู้ด้วยตนเองจริงๆ ไม่ได้ฟังใครเล่ามาว่าเมืองเชียงรายเป้นอย่างไร เส้นทางไหนดีที่สุด เร็วที่สุด...แล้วมาบอกแก่เขาเพื่อเขาจะได้เดินทางไปเมืองเชียงรายให้สมกับที่เค้าร่ำลือกันนั่นเอง...

    วันหนึ่ง...บุรุษคนที่ 1 กลับมาหลังจากรู้แจ้งในทางไปเชียงรายแล้ว บอกกับ บุรุษคนที่ 2 บุรุษคนที่ 2 ทำตามด้วยทางที่ดีที่สุดและเร็วที่สุด และถึงเชียงรายโดยสวัสดิภาพ...แต่บุรุษที่ 1 ก็ยังกลับมาทำแผนที่ ทิ้งไว้ เผื่อว่าวันหน้า บุรุษ คล้ายคนที่ 2 จะปรากฎขึ้นอีกและไปได้ถูกทางตามที่บุรุษที่ 1 ได้ค้นพบแล้ว....ท่ามกลางเสียงอื้ออึ้ง ที่พูดกันถึงเชียงรายจากผุ้ที่ไม่เคยไปอย่างไร้แก่นสาร และการเล่าความเปรียบตน ยกตน ถึงความเก่งของผู้ที่เอาวิธีการไปเชียงรายมาพูดถึงกันอย่างสนุกปากว่าใครรู้มากกว่าก้เก่งกว่า...แต่ก็ยังไม่เคยไปเชียงรายเช่นกัน...จนลืมไปว่า ตนมาที่ชานชาลาเพื่อไป เชียงราย ไม่ใช่มานั่งเล่าแข่งกันว่าข้ารู้ทางไปเชียงรายแบบนี้ ข้าเก่งกว่าเอง

    สุดท้ายนี้...เมื่ออกมาจากชานชาลา อยากจะถามว่า แล้วท่านผู้อ่านล่ะ...เป็นคนหรือบุรุษแบบไหนบนชานชาลานี้..ที่เรียกว่า โลก...โดยมีปลายทางของชานชาลานี้ ที่ไม่ใช่เมืองเชียงราย....แต่เป็นพระนิพพาน....

    เมื่อรู้แล้วจงปรับตัวให้เป็นไปตามครรลองและหน้าที่ของมันเสีย...สวัสดีปีใหม่ครับ
     
  2. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ถ้าไปแล้วชอบก็อยากพาคนอื่นไปด้วยนะครับ แต่ถ้าพาไปไม่ไหวจะทำอย่างไรได้ล่ะ
     
  3. manganiss

    manganiss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2009
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +636
    เป็นบทความที่เตือนสติได้ดีมากครับ อนุโมทนาครับพี่

    ฝากวลีไว้อีกอันที่ช่วยเตือนสติได้ดี

    "วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทําอะไรอยู่"
     
  4. jaya

    jaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +2,183
    อนุโมทนา....เปรียบเทียบง่ายดี
    ทางแผนที่ที่ทำไว้ มีไว้เพื่อแนะนำ ส่วนจะไปถึงเชียงรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละคน จะถึงพร้อมแค่ไหน ถ้าปัจจัยถึงพร้อมทุกด้านพอดีกัน ก็ไปถึงเชียงรายได้และรู้ได้แจ่มแจ้งเองว่าเชียงรายนั้นเป็นอย่างไร คือเดินตามมรรค ๘
    ถ้านั่งบ่น นั่งคุย ก็ได้แต่วิมานในอากาศ ตามที่ตัวสร้างเอง
    ถ้าลงมือทำ แต่ไม่ศึกษาหาความรู้ ไม่มีความอดทน ไม่ตั้งใจจริง ก็ได้แต่หลอกตัวเองไปวัน ๆ
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะ สามารถเห็นต่างได้ ไม่ใช่ว่าเราจะรู้ถูกรู้จริงในทุกเรื่อง
    ในความเห็นของเราตอนนี้ คนที่เราตื่นรู้และออกเดินทางกันแล้ว เขาจะไม่มายุ่งเรื่อง
    ทางเดินของใครต่อใครอีก เขาก็ก้มหน้าก้มตาเดินทางไปสู่จุดหมายของเขา
    ลองผิดลองถูกไปตามความเชื่อที่เลือกไว้ในการพิสูจน์สัจธรรมและความรู้ของตนเอง

    ใครจะปรามาสก่นด่า ดูถูกดูหมิ่น กล่าวหา ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องทางนี้เท่านั้น
    หรือ พวกนั้นเลียนแบบพวกนี้ พวกนี้เอาความรู้ของพวกนั้นไปอ้างเป็นของตนมั่ง
    พวกนี้จะมากลืนกิน พวกนั้นจะรุกรานความเชื่อเรา พวกเราต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
    กับพวกที่คิดต่างจากเรา พวกนั้นคิดผิดพวกนั้นไม่คิดเหมือนเราไม่คิดไม่ทำเหมือน
    ที่พวกเราและอาจารย์เราทำคือสิ่งที่ผิดพลาดไม่ถูกต้อง พวกที่เอาแต่คิดเรื่องของคนอื่น
    ลืมพิจารณาความคิดและการกระทำของตนเองมีแนวโน้มจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังมากกว่า
    จะเดินนำหน้าผู้อื่น เพราะความรู้ความเข้าใจและปฏิเวชที่ถูกทางเป็นสัจธรรมที่มีอยู่จริง

    ใครทำได้ถูกทางก็เข้าใกล้ความจริงได้ด้วยตนเองมากกว่า ในอนาคตอันใกล้ คนที่พูดจริง
    รู้จริและทำได้จริงอย่างที่พูดจะเป็นของจริงบนโลกใบนี้ ส่วนคนที่เอาแต่พูดอย่างหนึ่งแต่
    ทำอีกอย่างหนึ่งเช่นพูดเรื่องมรรค8 พรหมวิหาร4 ศีล5 ศีล8 พูดเรื่องกุศลจิต-อกุศลจิต
    ควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ พูดเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พูดเรื่องแก่นของศาสนา พูดดีได้
    ทุกเรื่องที่ศาสนาสอนไว้ แต่ อุกศลบทกรรม10 ไม่สามารถรักษาได้ตลอดรอดฝั่ง แค่สงคราม
    ทางความคิดความเชื่อของตนยังระงับไม่ได้ ความเมตตาต่อผู้อื่นด้วยใจจริงยังทำไม่ได้
    การพูดจาเพ้อเจ้อตามอารมณ์ยังระงับไม่ได้ ไม่รู้ทันอกุศลจิตของตน เหล่านี้ มีแนวโน้ม
    จะอยู่ต่อไปในโลกเดิม เพราะคิดแบบไหนก็ทำแบบนั้นอยู่อย่างเดิม

    เราก็จะดูสงครามความเชื่อในเว็บแห่งนี้ต่อไป เพราะเราไปแก้ไขคนอื่นไม่ได้ เราแก้ไขได้ที่ตัวเราเอง
    เท่านั้น คือ เดินออกจากสงครามความเชื่อ และเดินหน้าพิสูจน์ความคิดความเชื่อของ
    ตัวเราเอง ไปเท่านั้น ตราบใดที่เรายังไม่รู้จริงและรู้แจ้งในคำสอนที่เราเชื่อและศรัทธา
    เราจะบอกความเชื่อและศรัทธาของเราแก่ผู้ต้องการฟังและสนทนาอย่างเปิดใจกว้าง
    แต่จะไม่ก้าวล่วงไปถึงศรัทธาและความเชื่อของคนอื่นว่าทิฏฐิของเรานั้นที่ถูกทิฏฐิของคน
    ที่ต่างจากเราคือผิด เพราะตำราก็อ่านจากที่เดียวกัน ความรู้จากพระศาสนาก็มาจากการ
    อ่านพระไตรปิฎกเหมือนกัน สติปัฏฐาน4 ศีล สมาธิ ภาวนา กรรมฐาน40กอง ก็เป็นความรู้
    ที่พระพุทธองค์มอบไว้แก่โลก ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการปฏิบัติและเรียนรู้ของแต่
    ละคนต่างหาก ที่แตกต่างกัน เพียงแต่ถ้าเข้าใจตนเองว่าตนเองยังไม่รู้แจ้งไม่รู้จริง ย่อม
    รู้ตัวเองควรทำอะไร และไม่ควรทำอะไร เพราะมีสติปัญญารู้ว่าอะไรจริงและอะไรมันไม่จริง
    ที่เป็นของตัวเอง รู้ว่าอะไรคือทิฏฐิของตัวเอง รู้ว่าทิฏฐิต่างกันคืออะไร รู้ว่าทุกความรู้มีอยู่
    ในทุกที่ ที่เป็นที่ว่างก็มีความรู้ รู้ว่าอะไรควรยึดมั่น รู้ว่าอะไรควรปล่อยวาง และมีความยินดี
    เกิดขึ้นเสมอเมื่อความรู้แห่งพุทธองค์ แผ่ขยายกว้างออกไปถึงสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญาใน
    ทุกที่ ทุกสถาน ใครแสดงความรู้ออกมาที่มีแนวโน้มใกล้เคียงกับความรู้แจ้งที่กล่าวไว้ใน
    ตำราแห่งพุทธองค์ ย่อมเป็นข่าวดีของโลกและสังคมมนุษย์ เพราะแสดงถึงภูมิปัญญาที่มี
    ในโลกมีปัญญาแห่งพุทธะแทรกอยู่ ย่อมนำพาสังคมนั้นไปสู่ความเจริญทางปัญญาและ
    ทรงภูมิธรรมแห่งพุทธะ มีมรรค8เป็นทางแห่งดำเนินชีวิตได้ โลกย่อมจะสงบสุข

    ถึงแม้เขาจะไม่ได้บัญญัติตามตำราทางพุทธว่ามรรค8 แต่หากการปฏิบัติและปฏิปทาของเขา
    เป็นมรรค8 คนที่รู้ปริยัติถูกต้องตามจริงย่อมเข้าใจว่าใช่ทางเดียวกันหรือไม่ และเมื่อผล
    แห่งปฏิบัติไปในทางเดียวกัน มีปฏิเวชเหมือนกันได้ การเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ก็จะ
    เข้าใจกันด้วยปฏิเวชอันเดียวกัน เช่น คนที่เมตตาอย่างไร้เงื่อนไข ย่อมเข้าใจและเข้าถึง
    คนที่มีปฏิเวชแห่งเมตตาอย่างไร้เงื่อนไขเหมือนกัน โดยไม่ต้องอาศัยคำพูดใดๆถึงจะ
    พูดกันในคนละภาษาแต่มันก็คือเรื่องเดียวกัน การรักษาศีลและทำความดีก็เหมือนกัน
    ถ้าทำถูกทางจนมีปฏิเวชของคนมีศีลในจิตใจจริง มันก็จะสัมผัสถึงความดีของคนมีศีล
    ซึ่งกันและกันได้ ถึงแม้จะต่างศาสนากัน และในทางกลับกันคนที่ชอบทำร้ายคนอื่น ไม่มีศีล ไม่มีธรรม
    ถึงแม้จะนับถือศาสนาเดียวกันมันก็ทำร้ายกันทางกายวาจาใจได้ไม่เลือกชาติศาสนา

    ศาสนาไม่เคยทำร้ายใคร มีแต่คนหลงเอาศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือของตนเพื่อใช้ครอบงำคนอื่น

    เข้าใจคำสอนศาสนาผิด ก็ปฏิบัติผิด พาให้ศาสนาเสื่อมไปก็เพราะคนมันหลงผิด ก็พากันล่มจม
    เข้าใจคำสอนศาสนาถูก ก็ปฏิบัติถูก พาให้ศาสนาเจริญยิ่งๆขึ้นไป เพราะคนรู้ถูกทำถูกก็พากันเจริญ

    จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าปริยัติที่ตนรู้และเข้าใจตามทิฏฐิของตนนั้นมันต่างกับที่พระศาสดาตนบัญญัติไว้
    พระธรรมของพระศาสดาเมื่อสถิตย์ในใจปุถชนย่อมได้ชื่อว่าบิดเบือนด้วยทิฏฐิของปุถุชน มีทิฏฐิถูก
    ทางก็พาไปถูกทาง ปฏิบัติได้ถูกทาง มีทิฏฐิที่ผิดก็พาตนหลงทางปฏิบัติก็หลงทางปฏิเวชย่อมไม่เกิด
    ในใจของปุถุชนที่มีทิฏฐิหลง

    พระธรรมของพระศาสดาเมื่อสถิตย์ในพระอริยเจ้าย่อมเป็นสัจธรรม คือรู้แจ้งเห็นจริงได้ถูกต้องตามพระศาสดา

    ที่กล่าวมานั้นก็เป็นความคิดความเห็นของเราเท่านั้น ถ้ามีคนเห็นต่างกับเรา ก็เพราะ
    ทิฏฐิของเรามันต่างจากท่าน มันก็แค่เป็นเรื่องของทิฏฐิของเรานั้น อาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้
    อาจจะถูกหรือไม่ถูกก็ได้ เพราะมันเป็นแค่ทิฏฐิไม่ใช่ความรู้จริงรู้แจ้งในสัจธรรม เราก็แค่
    แสดงทิฏฐิความคิดความเชื่อของเราในที่สาธารณะเท่านั้น คนที่ไม่เห็นด้วยกับเราก็อาจจะ
    เป็นทุกข์เพราะความคิดของเราได้ ก็ไม่ต้องมาหวังดีเปลี่ยนทิฏฐิของเรานะ เพราะทิฏฐิของ
    เรามีแต่เราที่เปลี่ยนมันได้ เมื่อเราพบความจริงของสัจธรรมที่เป็นของเราเอง เราก็จะ
    เปลี่ยนของเราเองเมื่อถึงเวลาของเรา รู้จริงเมื่อไรก็เมื่อนั้น

    มาร่วมสนุกแสดงความคิดและความเชื่อของเราเฉยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2011
  6. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธมันชัดเจนอยู่แล้ว
    คนที่ฝึกฝนตนเองเดินไม่ผิดทิศผิดทางแน่ถ้าปฏิบัติตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชี้ทางไว้แล้วตั้งแต่วันแรกที่พุทธธรรมจักรหมุน
    คนที่มองไม่เห็นทุกข์อริยสัจจ์ด้วยตัวเองยากที่จะคิดเดินทาง ก็คงได้แต่เที่ยวเล่นสะเปะสะปะไปตามที่ตนเองชอบและอยาก
    ศาสนาพุทธเถรวาทนี้เป็นยาหม้อใหญ่และขมเสมอสำหรับคนที่ยังติดความสนุกเพลิดเพลินอยู่ในโลก
    ถ้าใช้google searchคำว่าปัญญาก็จะเข้าใจว่าปัญญาแบ่งได้3ระดับ
    คือปัญญาที่ได้จากการเรียนรู้จากตำหรับตำรา ปัญญาที่ได้จากการคิดค้นตรึกตรอง และปัญญาที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิต
    การเรียนรู้จากตำหรับตำรานี้แหละถ้ารู้จักกลั่นกรองก็พอจะเป็นแผนที่ให้เราเดินได้แล้ว
    ที่เหลืออยู่ก็ต้องเอาความรู้ที่ได้มานั้นมาคิดค้นตรึกตรอง
    เมื่อหมั่นอบรมบ่มนิสัยตนเองไปเรื่อยๆแล้วพุทธิปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นแหละจะเป็นเหมือนพระขรรค์เพชรที่จะตัดปัญหาของชีวิตออกไปได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มกราคม 2011
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    คนปฏิบัติธรรมนั้นความซื่อสัตย์กับตนเองเป็นเรื่องสำคัญ
    หมั่นพิจารณาถึงโลกธรรมที่เข้ามากระหน่ำเราอยู่แต่ละวันนี้แหละ
    เป็นการปฏิบัติธรรม
    อันวิญญูชนจอมปลอมนั้นเมื่อมิอาจถกกันด้วยปัญญาก็มักใช้ถ้อยคำส่อเสียด ประชดประชันเพื่อทำลายผู้อื่นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ส่วนบัณฑิตเมื่อปะทะกันทางความคิด ก็เหมือนจอมยุทธปะทะกัน ด้วยความเคารพกันอยู่ในที เมื่อการประลองจบต่างฝ่ายก็นำประสบการณ์ที่ได้มาอบรมตนเองต่อไปเป็นประโยชน์ทั้งตนเองและคู่ประลองและคนอื่นที่ได้ชมการประลองด้วย
    เป็นการประลองที่มีแต่ผู้ชนะ
    พระพุทธองค์นั้นมีหลายครั้งที่ตอบคำถามเดียร์ถีย์ต่างๆ ท่านก็เมตตาตอบไป ส่วนเดียร์ถีย์นั้นบางคนถึงกับแลบลิ้นใส่พระองค์ด้วยความไม่เชื่อ
    หลายคนคิดว่าเดียร์ถีย์ผู้นั้นบาปแท้
    แต่ผมคิดว่าธรรมย่อมให้โอกาสเสมอ หากมีวันใดที่เดียร์ถีย์นั้นมีโอกาสได้ศึกษา คิดตรึกและปฏิบัติตามแนวทางที่พระสุคตได้ชี้ไว้แล้ว เหตุการณ์ที่เขาได้พบกับพระพุทธเจ้านี้แหละจะเป็นเครื่องเตือนใจอย่างดี บทสนทนาของพระองค์กับเขานั้นน่าจะได้ฝังเมล็ดพันธ์แห่งการตื่นรู้ในสัญญาของเขา เพียงเพื่อรอเวลาอันเหมาะสมที่จะงอกงามเท่านั้น
    หากเรามัวแต่คิดว่าธุระไม่ใช่ใครจะยำหรือชำเราพระสัทธรรมอย่างไรก็ไม่ใช่กิจของเรา หรือว่าเรายังไม่เก่งกล้าพอที่จะยืนยันเป็นสักขีพยานในพระสีหนาทที่องค์พระสุคตได้บันลือเมื่อ2พันกว่าปีก่อน คนที่คิดที่พูดแบบนี้ก็เหมือนนั่งดูเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นกับบุคคลที่ตัวเองรัก เช่นบุตรีที่รักหรือมารดาอันเป็นที่รักของตนตกน้ำไปและปล่อยไปตามยถากรรมฉันท์นั้น เพราะคิดว่าฉันว่ายน้ำเป็นก็จริงแต่ฉันยังว่ายข้ามฝั่งไม่ได้ เมื่อฉันยังว่ายน้ำไม่แข็ง ฉันก็ไม่ควรกระโดดลงไป
    ในความเป็นจริงของมนุษย์เมื่อบุคคลอันเป็นที่รักตกอยู่ในอันตรายก็มีแต่สละชีวิตตนเองเพราะความรัก ไม่เห็นมีใครต้องรอให้ว่ายน้ำแข็งก่อนแล้วค่อยช่วยบุตรีหรือมารดาของตน
    ขอท่านทั้งหลายพิจารณาเถิดอันอริยมรรคนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชี้ให้เห็นแล้ว โอกาสที่เราจะเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก เหมือนกับเต่าที่อาศัยอยู่บนโลกที่มีแต่มหาสมุทรที่ทุกหนึ่งร้อยปีจะโผล่หัวขึ้นมา และมีคนโยนห่วงขนาดเท่าหัวเต่าลงไปในมหาสมุทรนั้น โอกาสที่เต่าตัวนั้นจะโผล่หัวขึ้นมาเหมาะเจาะพอดีกับห่วงนั้นยังง่ายกว่าโอกาสที่จะเกิดเป็นมนุษย์เสียอีก อย่าให้ชีวิตนี้เสียเปล่าเลย การเกิดเป็นมนษย์ได้พบพระพุทธศาสนาที่ไม่ผิดเพี๊ยนเหมือนคนไทยที่พบพุทธเถรวาทนี้ยากแสนยาก ใครจะไปรู้ว่ามรณะกาลจะมาเมื่อไรได้โปรดเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังเถิด เพราะนอกจากตัวท่านเอง ไม่มีใครอื่นจะช่วยให้ท่านรอดได้เลย
    ขอได้โปรดพิจารณา
     
  8. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ก้มหน้าก้มตาเดินทางไปสู่จุดหมาย..

    ลองผิดลองถูกไปตามความเชื่อที่เลือกไว้ในการพิสูจน์สัจธรรมและความรู้ของตนเอง..

    เมื่อเราพบความจริงของสัจธรรมที่เป็นของเราเอง เราก็จะเปลี่ยนของเราเองเมื่อถึงเวลาของเรา รู้จริงเมื่อไรก็เมื่อนั้น

    ชอบหลายประโยคที่คุณ k.kwan กล่าว..
     
  9. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    สำหรับผมนะครับ แค่ได้ยินเรื่องนิพพาน ผมก็ดีใจแล้ว เพราะหากยังมีคนพูดถึงนิพพาน สักวันก็จะต้องมีคนคิดจะไป และไปถึงในที่สุด แต่ถ้าหากทุกคนมองว่า นิพพาน เป็นเรื่องที่สูงเกินไป ยากเกินไป ไม่อยากพูดถึง สุดท้ายคนที่พูดถึงก็จะน้อยลงไป น้อยลงไป จนในที่สุดก็จะไม่มีใครพูดถึงนิพพานอีกเลย เพราะไม่มีใครรู้จักนิพพานอีกแล้ว จริงอยู่นะครับ บางท่านอาจจะพูดแบบเฟ้อไปหน่อยเรื่องนิพพาน แต่ก็ยังดีกว่าที่เขาจะไปพูดถึงเรื่องอื่นๆที่แย่กว่านั้น เช่น คลิปโป๊ เป็นต้น ซึ่งก็มีอยู่มากมาย เหมือนกับแนวคิดที่ว่า ติดวัตถุมงคลก็ยังดีกว่าติดวัตถุอัปมงคล นั่นแหละครับ
     
  10. Army56

    Army56 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,098
    ค่าพลัง:
    +1,862
    ผมก็ว่าดีนะครับ

    แต่ผมไม่ชอบเวลาที่ คัมภีร์สาธยายว่า จะไปนิพพานเหรอ ต้องสั่งสมบุญบารมี

    เป็นอสงไขย เป็นกัปป์ กัลป์ ทำให้มันดูยากเหลือเกิน


    อย่างหลวงปู่มั่น ท่านเคยปวารณาจะเป็นพระพุทธเจ้า สุดท้ายผมไม่ทราบ

    ว่าเพราะด้วยความรู้แจ้ง หรือสัญญาของท่าน สุดท้ายท่านบอกว่า

    ไม่เอาแล้วพระพุทธเจ้า ขอนิพพานเลยดีกว่า เพราะการจะเป็นพระพุทธเจ้า

    ต้องสั่งสมบารมีมากเหลือเกิน


    ผมก็ไม่ทราบว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องมีบุญเยอะขนาดนั้นจริงๆ

    หรือคนเขียนตำราไม่อยากให้คนยกตนไปเทียบกับพระพุทธเจ้า

    หรือเปล่า
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ถูกทุกข้อ ถูกทุกคนเลย อยากไปเชียงรายเหมือนกันนะ แต่ขอแวะที่อื่นก่อน จะได้เปรียบเทียบได้ถูกว่าที่ไหนดีกว่ากันแน่ (มีเวลาเหลืออีกเยอะ อีกตั้งหลายร้อย หลายพันชาติไง)
     
  12. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    อัตตา หิ อัตโน นาโถ
    ปัญญา สติ มีอยู่ในตน
    สิ่งอื่นเพียงนำมาประกอบในการพิจารณา
    จะใช้วิธีใด...ขึ้นอยู่เพียงตน
    ...การหลงการพลาด คือการเรียนรู้ที่จะหาหนทางที่ถูก
    ขึ้นอยู่ที่ว่าจะใช้เวลาในการหลงนานแค่ไหน
    ...สิ่งที่มีอยู่ในตนนั่นแหละจะนำไป
    ...การที่เหล็กจะบินในอากาศได้ มันต้องใช้องค์ประกอบ แค่ใช้ให้เป็น
     
  13. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    หลวงพ่อฤๅษีลิงดำท่านเคยกล่าวไว้ว่า
    นิพพาน = นิ + พานะ
    นิ หมายถึง ดับ หมดสิ้น
    พานะ หมายถึง กิเลสตัณหาราคะ
    นิพพานะ หมายถึง กิเลสตัณหาราคะดับ กิเลสตัณหาราคะหมดสิ้นแล้ว

    แค่คิดอยากจะไปนิพพานจิตก็เต็มไปด้วยกิเลสแล้วแล้วจะถึงพระนิพพานได้อย่างไร จริงไหมเอ่ย
     
  14. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    เป็นความคิดเห็นจากทิฐิที่ยอดเยี่ยมมากครับ

    ขอปรบมือให้ด้วยใจจริงครับ

    :cool::cool::cool::cool::cool:;ปรบมือ;ปรบมือ;ปรบมือ;ปรบมือ
    .......................................
     
  15. Bill PEA31

    Bill PEA31 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +417
    บุญไม่ทำ บารมีไม่สร้าง แถมคอยสร้างแต่กรรมชั่วใหม่ๆ แล้วเมื่อไหร่กัน
     
  16. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    หลวงปู่ดู่กล่าวไว้ว่า " อยากทำไม่ถือว่าเป็นกิเลส แต่อยากได้ผลจากการกระทำนั้นถือว่าเป็นกิเลส เช่นอยากทำงานไม่ถือว่าเป็นกิเลส แต่อยากได้เลื่อนตำแหน่งจึงมาทำงานนั่นถือว่าเป็นกิเลส...ฉันใดก็ฉันนั้น อยากทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานไม่เป็นกิเลส แต่อยากได้รับความสบายจากการหลุดพ้นในแดนนิพพาน ถือว่าเป็น กิเลส...โมทนาในความดี "
     
  17. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    อดีต อนาคต อยู่ที่ปัจจุบัน...ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราคือ(จิต) คิด...ดี(ประพฤติปฏิบัติธรรม)...และ คิด....ไม่ดี(ประพฤติปฏิบัติตามอกุศทางเสื่อม) มีทางให้เลือก...ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวเรา..............................ท่านจะเลือกทางไหนครับ....สวัสดีครับ
     
  18. นักเดินธรรม

    นักเดินธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +2,393
    และแล้ว...เหล่าคน (เสียส่วนมาก) และมนุษย์ (เสียส่วนน้อย) บนชานชาลาก็เริ่มออกมาให้เรา (ผุ้พิจารณากระทู้) เห็น (ผ่านคอมเม้นท์) กันมากมาย....แลมากมาย....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2011
  19. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right>[​IMG] </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><FORM method=post action=http://www.dhamma4u.com/index.php/component/content/article/372-2009-07-13-11-02-42.html#yvComment372>User Rating:[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG] / 0
    แย่<INPUT value=1 alt="vote 1 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=2 alt="vote 2 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=3 alt="vote 3 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=4 alt="vote 4 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=5 alt="vote 5 star" CHECKED type=radio name=user_rating>ดีที่สุด <INPUT class=button value=Rate type=submit name=submit_vote><INPUT value=vote type=hidden name=task><INPUT value=com_content type=hidden name=option><INPUT value=372 type=hidden name=cid><INPUT value=http://www.dhamma4u.com/index.php/component/content/article/372-2009-07-13-11-02-42.html#yvComment372 type=hidden name=url></FORM><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD>รวมบทความ - พุทธทาส อินทปัญโญ </TD></TR><TR><TD vAlign=top>เขียนโดย พุทธทาสภิกขุ </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top>วันจันทร์ที่ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 17:59 </TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE class=contenttoc cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH>Article Index</TH></TR><TR><TD>เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที </TD></TR><TR><TD>หน้่า 2 </TD></TR><TR><TD>ทุกหน้า </TD></TR></TBODY></TABLE>JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL
    [​IMG] นับตั้งแต่กาลที่โลกว่างเปล่า เริ่มกลายเป็น มนุษย์โลกขึ้น เมื่อหลายแสนปี มาแล้ว
    มนุษย์ ได้ใช้ มันสมอง แสวงหา ความสุข ใส่ตน เป็นลำดับๆ มาทุกๆ ยุค,
    จนในที่สุด เกิดมีผู้สั่งสอน ลัทธิแห่งความสุข นั้น ต่างๆ กัน,
    ตัวผู้สอนเรียกว่า ศาสดา,
    คำสอนที่สอนเรียกว่า ศาสนา,
    ผู้ที่ทำตาม คำสอน เรียกว่า ศาสนิก,
    ทุกอย่าง ค่อยแปรมาสู่ ความดี ยิ่งขึ้นทุกที,
    สำหรับคำสอน ขั้นโลกิยะ หรือ จรรยา ย่อมสอน มีหลักตรงกันหมด ทุกศาสนา,
    หลักอันนั้นว่า จงอย่าทำชั่ว จงทำดี ทั้งต่อ ตนเอง และผู้อื่น,
    ดังที่ทราบกันได้อยู่ทั่วไปแล้ว:
    แต่ส่วนคำสอนขั้นสูงสุด ที่เกี่ยวกับ ความสุขทางใจ อันยิ่งขึ้นไปนั้น สอนไว้ต่างกัน.
    ศาสนาทั้งหลาย มีจุดหมาย อย่างเดียวกัน เป็นแต่ สูงต่ำ กว่ากัน เท่านั้น
    ทุกองค์ศาสดา เว้นจากพระพุทธเจ้า สอนให้ยึดเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    ซึ่งสาวก ไม่มี ความรู้ พิสูจน์ ว่าเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
    เป็นผู้สร้างโลก และ อำนวยสุข แก่ สัตว์โลก เป็นที่พึ่งของตน,
    ให้นับถือบูชาสิ่งนั้น โดยแน่นแฟ้น ปราศจาก การพิสูจน์ ทดลอง แต่อย่างใด.
    เริ่มต้นแต่ยุคที่ถือผี ถือไฟ ถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงดาว ต่างๆ
    มาจนถึง ยุคถือพระเป็นเจ้า เช่น พระนารายณ์ และ พระพรหม ของ ศาสนาฮินดู
    พระยโฮวา ของ ศาสนาคริสเตียนและยิว และ
    พระอหล่า ของอิสลาม ต่างสอน ให้มอบความเชื่อ ในพระเจ้าเหล่านั้น แต่ผู้เดียว
    ว่าเป็น ผู้มีอำนาจ เหนือสิ่งใด ทั้งหมด
    ทั้งๆ ที่ไม่ต้องรู้ว่า ตัวพระเจ้า นั้นเป็น อะไรกันแน่
    และ ผิดจาก หลักธรรมดา โดยประการต่างๆ
    ต่อมา เมื่อสองพันปีเศษมาแล้ว ภายหลังแต่พระเจ้าของศาสนาพราหม์
    ก่อนแต่ พระคริสต์ และพระโมหมัด ของชาวยุโรปและอาหรับ<SUP>1</SUP>
    พระพุทธเจ้า ได้อุบัติ บังเกิด ขึ้น
    ทรงสอนการพึ่งตนเอง และ ทรงสอนหลักธรรมทางใจในขั้นสูง
    ผิดกับ ศาสนาอื่นทั้งหมด คือ :-
    หลักกรรม
    ทรงสอนเป็นใจความว่า สุขทุกข์ เป็นผลเกิดมาจาก เหตุของมันเอง
    ได้แก่ การกระทำ ของผู้นั้น
    ผลเกิดจาก การกระทำ ของผู้ใด
    ผู้นั้นต้องได้รับ อย่างแน่นอน และยุติธรรม
    ไม่มีใครอาจ สับเปลี่ยน ตัวผู้ทำ กับตัวผู้รับ
    หรือ มีอำนาจ เหนือ กฏอันนี้ได้ นี่เรียกว่า ลัทธิกรรม
    มีเป็นหลักสั้นๆ ว่า สัตว์ทั้งหลาย มีกรรม เป็นของตน
    หมุน ไปตามอำนาจเก่า ซึ่งในระหว่างนั้น ก็ทำกรรมใหม่
    เพิ่มเข้า อันจะกลายเป็น กรรมเก่า ต่อไปตามลำดับ
    เป็นเหตุและผล ของกันและกัน ไม่รู้จักสิ้นสุด
    คาบเกี่ยวเนื่องกัน เหมือนลูกโซ่ ไม่ขาดสาย
    เราเรียกความเกี่ยวพัน อันนี้กันว่า สังสารวัฏ หรือสายกรรม
    มันคาบเกี่ยว ระหว่าง นาทีนี้ กับนาทีหน้า
    หรือ ชั่วโมงนี้กับชั่วโมงหน้า
    วันนี้กับวันหน้า เดือนนี้กับเดือนหน้า
    ปีนี้กับปีหน้า จนถึง ชาตินี้กับชาติหน้า
    สับสน แทรกแซงกัน จนรู้ได้ยาก
    ว่าอันไหน เป็นเหตุของ อันไหนแน่
    ดูเผินๆ จึงคล้ายกับว่า มีใคร คอยบันดาล
    สายกรรม ประจำบุคคลหนึ่งๆ ย่อมผิดจาก ของอีกคนหนึ่ง
    เพราะฉะนั้น ต่างคน จึงต่างเป็นไปตาม แนวกรรม ของตน ไม่เหมือนกัน
    กรรมเป็นเหตุ สุขและทุกข์ เป็นผลเกิดมาแต่กรรมนั้นๆ
    หลักอนัตตา
    ทรงสอนอีกว่า ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง ไม่มีสิ่งอันควรเรียกได้ว่า ตัวตน
    สรรพสิ่งไม่มีผู้ใดสร้าง เกิดขึ้นแปลกๆ ก็เพราะปัจจัยตามธรรมชาติ
    ที่จะต้องค่อยๆ แปรไปตามลำดับ ตามกฏเกณฑ์ ของธรรมชาติ
    โดยไม่อยู่ในอำนาจของใคร เรียกว่า มันเป็นอนัตตา
    หลักอนัตตา นี้จึงมีแต่ใน พุทธศาสนา ไม่มีในศาสนาอื่น
    อันสอนว่า ทุกสิ่งพระเจ้าสร้างขึ้นเป็นตัวตน และอยู่ใต้อำนาจพระเจ้า
    ผู้เป็นเจ้า แห่งตัวตน ทั้งหลาย
    ทรงสอนว่า ไม่มีตัวตน ซึ่งเที่ยง และ ยั่งยืน
    สิ่งหนึ่ง ย่อมเกี่ยวเนื่อง มาแต่อีกสิ่งหนึ่ง และสิ่งนั้นก็เกิด ทยอยมาแต่สิ่งอื่น
    แม้สิ่งอื่นนั้น ก็เกิดทยอยมา แต่สิ่งอื่นอีก ตั้งต้นมานาน ซึ่งไม่มีใครกำหนดได้
    และจะเกิด สืบต่อกันไปข้างหน้า อีกเท่าไรแน่ ก็กำหนดมิได้ เหมือนกัน
    กฏข้อนี้เป็นไป ทำนองเดียวกัน ทั้งสิ่งที่มีวิญญาณ และที่หาวิญญาณมิได้
    สำหรับสิ่งที่หาวิญญาณมิได้ จักยกไว้ เพราะไม่เกี่ยวกับ สุขทุกข์
    ส่วนสิ่งที่มีวิญญาณ เช่น มนุษย์ และ สัตว์เดรัจฉาน ทั่วไป เป็นสิ่งควรเรียนรู้
    เพราะเกี่ยวกับ สุข ทุกข์ ในชีวิต
    มนุษย์เรา เกิดจาก การรวมพร้อมแห่ง รูปธาตุ (Physical Element)
    และนามธาตุ (Mental Element) อันมีประจำอยู่ตามธรรมดาในโลกนี้
    เมื่อสองอย่างนี้ ยังประชุมกันเข้าไม่ได้อย่างเหมาะส่วน
    ก็ยังไม่เกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมา
    เช่นเดียวกับ พืชพรรณไม้ ที่อาศัย ดินฟ้าอากาศ และเชื้อ ในเมล็ดของมันเอง
    งอกงาม กลายเป็น ต้นไม้ ใหญ่โต ขึ้นได้
    รูปธาตุ และ นามธาตุ นั้น แต่ละอย่าง
    ก็ล้วนเกิดมาจาก การรวมพร้อม ของพืชอื่น อีกต่อหนึ่ง เกิดสืบต่อกันมาเป็นลำดับ
    จนกว่า จะเหมาะ สำหรับผสมกันเข้า ในรูปใหม่เมื่อใด รูปธาตุในกายนี้ เช่น
    พืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งอาศัยสิ่งอื่นเกิดมาแล้วหลายต่อหลายทอด จนมาเป็น
    เชื้อบำรุงร่างกายนี้ โดยเป็นเชื้อให้เกิดและบำรุง ส่วนเล็กที่สุดของร่างกาย (Cell)
    ที่สำหรับจะเป็นเนื้อ หนัง กระดูก ผม ขน เล็บ ฟัน โลหิต และอื่นๆ ในร่างกายเรา
    ธาตุลม อันเกิดขึ้น จากธรรมชาติส่วนอื่นๆ ก็ได้ใช้เป็นลมหายใจ
    เข้าไป บำรุงโลหิต และ สิ่งต่างๆ โลหิตเป็นเหตุ ให้เกิดความอบอุ่น
    และความร้อนขึ้นได้
    เท่านี้ก็พอจะมองเห็นได้ว่า มันอาศัยกัน เกิดขึ้น เป็นลำดับๆ มามากมาย
    นี้เป็นการเกิด การผสม การแปร ของธรรมชาติ ฝ่ายรูปธาตุ
    ส่วนนามธาตุนั้น ยิ่งละเอียดมาก
    นามธาตุ อาศัยอยู่ได้เฉพาะใน รูปธาตุ ที่ได้ปรับปรุง กันไว้ เหมาะเจาะแล้ว
    และมีหน้าที่บังคับรูปธาตุ พร้อมทั้งตนเอง ให้ตั้งอยู่ หรือ เป็นไปต่างๆ
    ตลอดเวลาที่เข้ามา เนื่องเป็นอันเดียวกัน
    ควรเปรียบเรื่องนี้ด้วย เครื่องไดนาโมไฟฟ้า ชิ้นโลหะต่างๆ
    กว่าจะมา คุมกันเข้า จนเป็นอย่างนี้ได้นั้น
    ล้วนแต่ เกิดจากอุตุนิยมสืบมา ไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนปี
    จนมนุษย์ นำมาปรับปรุง ให้เป็นรูปต่างๆ ก็ยังหามี ไฟฟ้าเกิดขึ้นไม่
    แต่เมื่อได้ยักย้าย ประกอบกันเข้า จนถูกส่วน พร้อมด้วย อาการหมุน
    มันจึงปรากฏ แรงไฟฟ้าอย่างแรง ขึ้นได้ ไฟฟ้าบางส่วนนั้น
    ปรากฏขึ้นมาจากการหมุนของเครื่อง
    การหมุนของเครื่อง กลับได้แรงไฟนั้นเอง
    มาช่วยสนับสนุนในการหมุนบางส่วนก็มี
    ถ้ามีแต่ชิ้นโลหะก็ดี มีแต่อาการหมุน อย่างเดียวก็ดี
    หรือมีแต่กระแสไฟฟ้า อันเป็นธรรมชาติ ประจำ อยู่ใน สิ่งต่างๆ ในโลกก็ดี
    ยังไม่ประชุมกัน เข้าได้แล้ว กระแสไฟฟ้าใหม่ จะไม่ปรากฏขึ้น มาได้เลย
    ฉันใดก็ฉันนั้น รูปธาตุ หรือ ร่างกายนี้ เปรียบเหมือน เครื่องไดนาโม
    นามธาตุ เปรียบเหมือน กระแสไฟฟ้า ได้อาศัยกันกลับไปกลับมา จึงเป็นไปได้
    ทั้งแต่ละอย่างๆ ล้วนต้องอาศัย ความประจวบพร้อม แห่งเครื่องประกอบ
    ซึ่งเกิดมาแต่สิ่งอื่นหลายทอดด้วยกัน
    นามธาตุ ก็เกิดสืบมา โดยตรงจาก พวกนามธาตุ อิงอาศัย อยู่กับรูปธาตุ
    เมื่อรวมกันเข้าแล้ว เราสมมุติเรียก คนหรือสัตว์ ชื่อนั้นชื่อนี้
    เพื่อสะดวกแก่การพูดจา เช่นเดียวกับ สมมุติเรียก ชิ้นโลหะและวัตถุต่างๆ
    ว่า เครื่องไดนาโม ยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้เหมือนกัน
    หลักของการ ที่สิ่งต่างๆ เป็นเหตุผลของกัน และให้เกิดสืบสาวกันไปนี้
    เป็นปัญหา ที่ละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่งพระองค์ ได้ทรงตีแตก อย่างทะลุปรุโปร่ง
    ในตอนหัวค่ำ แห่งคืนตรัสรู้ ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
    ความรู้อันนี้ ทำให้พระองค์ ทรงรู้จักโลกดี
    พอที่จะตี ปัญหาที่สอง ออกได้ สืบไปว่า
    มนุษย์เรา ควรทำ อย่างไรกัน จึงเหมาะแก่โลก ซึ่งมีธรรมชาติ เป็นอย่างนี้
    หรือ จะอยู่เป็นสุข ในโลกอันมี สภาวะเช่นนี้ได้?
    การตีปัญหาข้อสอง ออก ได้สำเร็จผล เกิดเป็น หลักธรรมต่างๆ
    ที่พระองค์ใช้สอน บริษัทในสมัยต่อมา นั่นเอง อันรวมใจความได้สั้นๆ ว่า
    สิ่งซึ่ง เกิดมาจาก สิ่งอื่น ซึ่งไม่เที่ยงถาวร
    และ ทั้งอาการที่สืบต่อกันมา ก็ไม่ถาวรแล้ว
    สิ่งนั้นจะ เที่ยงถาวร อย่างไรได้
    ย่อม กระสับกระส่าย โยกโคลง แปรปรวน ไปตามกัน
    สิ่งที่แปรปรวน ไม่คงที่ ย่อมก่อให้เกิด ภาวะชนิดที่ ทนได้ยาก คือ
    ทำให้เจ้าของ ได้รับ ความไม่พอใจ เสียใจ และ เป็นทุกข์
    เมื่อมันแปรปรวน และ เป็นทุกข์ อยู่อย่างนี้แล้ว
    มนุษย์จึง ไม่ควร ฝืนธรรมดา สะเออะ เข้าไปรับเอา ความทุกข์นั้น
    โดยเข้าใจอ้างตัวเอง เป็นเจ้าของ ร่างกายนี้ และ ร่างกายอื่น มันไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ ของเรา เห็นได้ตรงที่ไม่อยู่ ในอำนาจเรา
    เราไม่ได้ ทำมันขึ้น นอกจาก อำนาจธรรมชาติ แห่ง นาม และ รูป เท่านั้น
    ผู้ที่เข้าไป ผูกใจ ในสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นของ ภายใน และ ภายนอกตน ก็ดี
    ว่าเป็นสิ่ง ที่จะเป็นไป ตามความประสงค์ ของตน ทุกเมื่อแล้ว
    จะเกิดเป็นปัญหา ยุ่งยากขึ้น ในใจ ของผู้นั้น มืดมิดเกิดกว่า ที่เขาจะสะสางได้
    พระองค์ จึงทรงสอน ให้หน่าย และ ละวาง สิ่งต่างๆ ด้วยการไม่ยึดถือ ทางใจ
    แม้ว่า ตามธรรมดา คนเรา จะต้อง อิงอาศัย สิ่งนั้นๆ เพื่อมีชีวิตอยู่
    หมายความว่า เราปฏิบัติ ต่อมัน ให้ถูกต้อง ก็แล้วกัน
    เมื่อเรา ไม่เข้าไป ผูกใจ ในสิ่งใด สิ่งนั้น ก็ไม่เป็นนาย บังคับใจเรา
    ให้อยาก ให้โกรธ ให้เกลียด ให้กลัว ให้เหี่ยวแห้ง หรือ ให้อาลัย ถึงมันได้
    เราจะอยู่ เป็นสุข เมื่อใจ หลุดพ้นแล้ว ก็เป็นอันว่า
    ไม่มีอะไร มาทำให้เรา กลับเป็น ทุกข์ ได้อีก จนตลอดชีวิต
    การคิดแล้วคิดอีก เพื่อตีปัญหานี้ให้แตก
    จนใจหลุดพ้น เรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน
    และ เมื่อใจเรา ไม่ค่อย ยอมคิด ให้จริงจัง ลึกซึ้ง
    เพราะอาจฟุ้งซ่าน
    ด้วยความรัก ความโกรธ ความกลัว ความขี้เกียจ หรืออะไรก็ตาม
    จะต้องทำการ ข่มใจ ให้ปลอดจาก อุปสรรคนั้นๆ เสียก่อน
    การข่มใจนั้น เราเรียกกันว่า สมถกัมมัฏฐาน
    ถ้าไม่มี อุปสรรคเหล่านี้ สมถกัมมัฏฐาน ก็ไม่เป็น ของจำเป็นนัก
    นอกจาก จะเข้าฌาน เพื่อความสุข ของพระอริยเจ้า เช่นเดียวกับ
    การหลับนอน เป็นการ พักผ่อน อย่างแสนสุข ของพวกเราๆ เหมือนกัน
    คำสั่งสอน ส่วนมาก ของพระองค์ เราจึงพบแต่วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่
    ความยึดถือ หรือ อุปาทาน
    เราจะมองเห็น อย่างแจ่มแจ้ง ได้แล้วว่า สภาพแห่งทุกข์ มีอยู่ในโลกนี้ จริง
    แต่บุคคล ผู้จะรับทุกข์ นั้นหามีไม่
    ถ้าหากเขา จะไม่หลง เข้าไปรับเอา ด้วยความ เข้าใจผิด
    ว่า สิ่งนั้นเป็นสุข และ อยากได้ หรือ หวงแหน จนเกิดการ ยึดมั่น
    หรือเข้าใจไปว่า ทั้งมัน ทั้งเขา เป็นตัวตน ที่จะอยู่ใน อำนาจของตน
    ได้ทุกอย่าง ตามแต่จะปรารถนา คิดดูก็เป็นการ น่าขัน และ น่าสลดใจ
    อย่างไม่มีเปรียบ ที่เราพากัน สมมุติเอา สิ่งที่ พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า
    "
    ว่างเปล่า" ให้ เป็นตัว เป็นตน ขึ้น แล้ว
    ทำใจตัวเอง ให้ดิ้นรน ก่อความ ยุ่งยาก ให้เกิดขึ้นในใจ
    รัก โกรธ เกลียด กลัว ไปตาม ฉาก แห่งความ แปรปรวน ของสิ่งนั้นๆ
    ซึ่งที่แท้ มันเป็นของ "ว่างเปล่า" อยู่ตลอดเวลา ตามที่ พระองค์ตรัส ไว้นั่นเอง
    คำว่า "ว่างเปล่า" ในที่นี้ คือ ไม่มีแก่นสาร ตัวตน
    ที่จะมายืนยันกับเราว่า เอาอย่างนั้น อย่างนี้กันได้
    เพราะของทุกอย่างล้วนแต่มีสิ่งอื่นปรุงแต่ง ค้ำจุนกัน มาเป็นทอดๆ
    จึงตั้งอยู่ได้พร้อมกับ การค่อยๆ แปรไป
    สิ่งที่สิ่งอื่นปรุงแต่ง จึงเป็นของว่างเปล่า ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีอิสระแก่ตน
    ใครจะเอา สัญญา มั่นเหมาะ กับสิ่งเหล่านั้น อย่างไรได้
    ในเมื่อทั้ง ผู้ถือสัญญา และ ผู้ให้สัญญา ก็ล้วนแต่ ไม่มีความเป็นใหญ่แก่ตน
    หรือมีความเป็นตัว เป็นตน ไปตามๆ กันทั้งนั้น
    ผู้ที่ขืน เข้าไปสัญญา หรือ ยึดมั่น ในสัญญา
    ก็เท่ากับ เอาความว่างเปล่า ไปผูกพัน กับ ความว่าง<SUP>2</SUP>
    จะได้ผล อันพึงใจ จากอะไรเล่า ทั้งนี้ ก็เพราะ
    การหลงยึดมั่น ของว่าง ขึ้นเป็น ตัวตน เราเรียกกันว่า อุปาทาน
    วัตถุ อันเป็นที่ตั้ง แห่งความ ยึดมั่น นั้น เรียกว่า อุปาทานขันธ์
    มีห้าอย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เพราะฉนั้น จึงตรัสรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้า เป็นที่ตั้ง แห่งความ ยึดมั่น อันเป็นทุกข์
    หลักอริยสัจ
    เราจะเรียนรู้ หลักความจริง เหล่านี้ ได้จากโรงเรียน คือร่างกายเรานี้ เท่านั้น
    ของใคร ก็ของมัน ต้องอาศัยร่างกาย เป็นที่ค้นหาความจริง เป็นครู สอนความจริง
    เพราะในร่างกายนี้ มีลักษณะพร้อม ทั้งเหตุและผล
    พอเพียงที่จะให้เราศึกษาหาความรู้
    และ ทำความมั่นใจให้แก่เราได้ พระองค์ จึงตรัสไว้ว่า
    "...แน่ะเธอ! ในร่างกาย ที่ยาว วาหนึ่งนี้ นั่นเอง อันมีพร้อมทั้ง สัญญา และ ใจ
    ฉันได้บัญญัติ โลก (คือความทุกข์),
    ได้บัญญัติ โลกสมุทัย (คือ เหตุให้เกิด ทุกข์),
    ได้บัญญัติ โลกนิโรธ (คือความดับไม่เหลือ แห่ง ทุกข์),
    และได้บัญญัติ โลกนิโรธคามินีปฏิปทา
    (
    คือการทำเพื่อให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น) ไว้"
    ในที่นี้ ตรัสเรียก สภาพธรรมดา อันเต็มไปด้วยทุกข์ว่า โลก,
    เรียก ความอยากทะเยอทะยานของสัตว์โลก
    เพราะความยึดมั่น เข้าใจผิดว่า เหตุให้เกิดโลก,
    เรียก การดับความอยากเสียแล้ว อยู่สงบเป็นสุขใจ
    เพราะไม่ยึดมั่น และเข้าใจถูก ในสิ่งต่างๆ ว่า เป็นที่ดับของโลก,
    และทรงเรียก มรรคมีองค์แปดประการ ว่า เป็นวิธีให้ถึง ความดับของโลก
    นั้น อันเป็นสิ่งที่ สัตว์ทุกคน ควรกระทำ เป็นหน้าที่ ประจำชีวิต ของตนๆ ตามนัยนี้
    เป็นอันว่า หลักใหญ่ ของพุทธศาสนา คือ การสอน ให้ดับทุกข์ ภายในใจ
    ด้วยการศึกษา หาความจริง ในกายตน
    และหยั่งรู้ ไปถึงสิ่ง และ บุคคล ที่แวดล้อมตน
    อยู่ตามเป็นจริง ไม่ติดมั่น จนเกิดทุกข์ เพราะเห็น กฏแห่งอนัตตา
    แล้วมีใจ ปลอดโปร่งสบาย
    การไม่ยึดมั่นว่า เป็นตัวตนอันจะก่อให้เกิดการเห็นแก่ตนนั้น
    เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตน และผู้อื่น หรือแก่โลกทั้งสิ้น คือ
    ตนเองจะเป็นผู้มีความสุขสงบ เยือกเย็นแสนจะเย็น7
    ส่วนผู้อื่นนั้น นอกจาก ไม่ถูกผู้นั้น มาเบียดเบียนแล้ว
    ยังอาจประพฤติ ตามเขา จนได้รับความสุข อย่างเดียว
    ไฟทุกข์ ของโลกจะดับสนิท
    หลักธรรมทั้งหลาย แม้จะมีชื่อเรียกต่างๆ กันหมดนั้น
    รวมลงได้ในหลัก คือ ความดับทุกข์ ทั้งสิ้น
    ความรู้ชนิดนี้ ย่อมนำให้เกิด ความเมตตา
    สงสารเพื่อน ที่กำลังอยู่ในทะเล แห่งสังสารวัฏ ด้วยกันอย่างแรงกล้า
    เพราะฉะนั้น เป็นอันไม่ต้องกล่าว ก็ได้ว่า
    เมตตา เป็นหลักอันสำคัญ ใน พุทธศาสนา นี้ด้วย อีกประการหนึ่ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที - หน้่า 2 </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right>[​IMG] </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><FORM method=post action=http://www.dhamma4u.com/index.php/component/content/article/372-2009-07-13-11-02-42.html?start=1#yvComment372>User Rating:[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG] / 0
    แย่<INPUT value=1 alt="vote 1 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=2 alt="vote 2 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=3 alt="vote 3 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=4 alt="vote 4 star" type=radio name=user_rating><INPUT value=5 alt="vote 5 star" CHECKED type=radio name=user_rating>ดีที่สุด <INPUT class=button value=Rate type=submit name=submit_vote><INPUT value=vote type=hidden name=task><INPUT value=com_content type=hidden name=option><INPUT value=372 type=hidden name=cid><INPUT value=http://www.dhamma4u.com/index.php/component/content/article/372-2009-07-13-11-02-42.html?start=1#yvComment372 type=hidden name=url></FORM><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD>รวมบทความ - พุทธทาส อินทปัญโญ </TD></TR><TR><TD vAlign=top>เขียนโดย พุทธทาสภิกขุ </TD></TR><TR><TD class=createdate vAlign=top>วันจันทร์ที่ 13 กรกฏาคม 2009 เวลา 17:59 </TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE class=contenttoc cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TH>Article Index</TH></TR><TR><TD>เรียนพุทธศาสนา ใน ๑๕ นาที </TD></TR><TR><TD>หน้่า 2 </TD></TR><TR><TD>ทุกหน้า </TD></TR></TBODY></TABLE>JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL
    หลักโลกิยะ และโลกุตตระ
    ผู้สำคัญในสิ่งว่างเปล่า ว่าเป็นแก่นสาร ก็คือ ผู้หลง
    หรือ เรียกตรงๆ อีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ปลูกสร้างฉางบรรจุความทุกข์ไว้ สำหรับตน
    และนั่นคือ ปกติ หรือธรรมดา ของมนุษย์ทั้งโลก ที่เรียกว่า ยังอยู่ในวิสัยโลกิยะ
    ไม่ใช่ โลกุตตระ คือ ผู้พ้นจากโลก ด้วยน้ำใจ
    บางสมัยหรือบางเรื่อง ผู้แสวงหาทุกข์มาใส่ตนได้มาก
    กลับได้รับความยกย่องนับถือ
    ทั้งนี้ เพราะพากัน หลง ในสิ่งที่ยังไม่รู้จักมันดี และนับถือโลกิยะ
    คนยากจน ซึ่งมีอยู่เป็นส่วนมาก
    ทะเยอทะยาน เงินทอง ของมหาเศรษฐี อย่างแรงกล้า
    แต่มหาเศรษฐีนั้น ไม่ได้ทะเยอทะยาน หรือ
    รู้สึกอะไรกี่มากน้อย ในเงินทองของตนเองเลย
    เป็นแต่ทะเยอทะยาน ต่อส่วนที่มากขึ้นไปกว่านั้นอีก
    ส่วนความหนักใจ ความหวั่นใจ เมื่อคิด เทียบส่วนแล้ว ย่อมมีเสมอกัน ไปหมด
    มันมีส่วนมากน้อย เท่ากับ ที่ตน สมมุติเอา ความว่างเปล่า ขึ้นเป็นตัว เป็นตน
    ตามมาก และ น้อย เพียงไร ใครสมมุติขึ้นมาก ก็ต้องแบกไว้มาก และหนักกว่า!
    พระพุทธเจ้าเอง ก็เคยทรงแบกก้อนหิน อันหนักนี้ แต่แล้วกลับทรงสลัดทิ้งเสีย !!
    เพราะพระองค์ ทรงค้นพบว่า มันคือความทุกข์ ทรมาน ของผู้เข้าใจผิด
    หลงเข้าไปยึดถือ เป็นของน่าสะอิดสะเอียน
    และตรงกันข้าม กลับเป็นของเบา สบาย
    สำหรับผู้ไม่หลงยึดถือ หรือสลัดทิ้งเสียได้แล้ว
    นี้เรียกว่า ทรงค้นพบโลกุตรธรรม
    เพราะฉะนั้น พุทธศาสนา ก็คือ คำสอนให้สลัดความทุกข์ ออกทิ้งเสีย
    ให้พ้นจาก ความทุกข์ อันเป็นของมีประจำ อยู่ในโลกแต่อย่างเดียว
    ไม่หลง ประกอบทุกข์ ขึ้นแบกไว้ ไม่ใช่ให้อ่อนแอ ร้องขอแต่ความสุข
    ทั้งที่ไม่รู้จักทุกข์ และ สลัดมันออกไปเสีย โดยรู้ว่า
    ภาวะที่หมดทุกข์ นั่นแล เป็นความสุข ที่แท้,
    มันเป็นการ กระทำชีวิต ให้กลับกลาย มาเป็น อิสระ
    จากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ อันยั่วยวนใจ ในโลก
    ภายหลังจากที่เราเองได้ยอมตน เข้าไปเป็นทาส
    ด้วยความโง่ อย่างยิ่ง ของเรามาแล้ว ตลอดสังสารวัฏ อันยาวยืด
    ซ้ำซาก ไม่มีที่สิ้นสุด ลงได้ จนกว่า เราจะรู้เท่าทันมัน
    ดวงใจอันข้ามขึ้น อยู่เหนือ โลก เช่นนี้ เรียกว่า โลกุตตรจิต
    ภาวะที่เป็นเช่นนั้น เรียกว่า โลกกุตตรธรรม โลกุตตรวิสัย, หรือ โลกุตตรภูมิ
    ในวงแห่งศาสนาอื่นๆ เมื่อศาสนิกใกล้จะตาย ย่อมร้องว่า "สวรรค์! พระเจ้า!"
    แต่สำหรับ พุทธศาสนิก ที่แท้จริง จะร้องว่า
    "ความดับสนิท อย่างไม่มีเหลือ เป็นเชื้ออีกต่อไป !"
    นี้แสดงว่า เขาเหล่าโน้น ยังอยากอยู่ในโลก-โลกสวรรค์ หรือ โลกพระเจ้า
    ส่วน พุทธศาสนิก มีจุดหมาย ปลายทาง คือ ความดับไม่มีเหลือ,
    โลกุตตระ จึงมีแต่ใน พุทธศาสนา เท่านั้น
    เมื่อมนุษย์ ยังเป็นป่าเถื่อน, รู้จัก และปรารถนา ความสุข อย่างสูงสุด
    เพียงการได้กิน ได้เสพย์ ของอร่อยๆ พออิ่มไป ขณะหนึ่งๆ เท่านั้น
    แต่ความคิด ของมนุษย์ ในอันแสวงหาความสุขที่ยิ่งขึ้นไป
    ไม่ได้หยุดเฉยอยู่ นานเข้า ค่อยมีความเห็นแปรไปสู่ ภาวะที่สูงขึ้น
    จนรู้จัก และปรารถนา ทรัพย์สมบัติ แว่นแคว้น
    ปรารถนากามสุข จนถึงสวรรค์ อันเป็น ที่สุดยอด ของกาม
    นานต่อมา มีพวกหัวคิดสูง เห็นว่า สุขในกาม ก็ยังเป็น ของเสียดแทงหัวใจ
    เท่าๆ กับ ความหวาน อร่อยของมัน เลยนึก หาความสุข อันสูงขึ้นไป
    และได้ยึดเอาว่า ความมี ความเป็น แห่งชีวิต ที่ปราศจากกาม เป็นยอดสุด
    คือ ความเป็น พรหม นั่นเอง และบัญญัติขึ้น ในยุคนั้น ว่า
    ความเป็นพรหม นั่นแหละ เป็นนิพพาน
    คำว่า นิพพาน ที่แปล ตามศัพท์ว่า ปราศจากการเสียดแทง
    ได้เกิดมีขึ้นแต่ครั้งนั้น
    ต่อมาอีกนาน พระพุทธเจ้า อุบัติขึ้น และทรงค้นพบว่า
    ภาวะ แห่งพรหม ก็ยังไม่เที่ยง แปรปรวน และแตกดับ
    เช่นเดียวกับ สิ่งที่ต่ำกว่า อื่นๆ จะเรียกว่า นิพพาน หาได้ไม่
    ยังเสียดแทงอยู่อย่างละเอียด เพราะยังมี ความสำคัญว่า ตัวตนอยู่
    จะต้องเสียดแทงใจ ในเมื่อมันแตกดับ
    เพราะยังมี ความอยาก ความปรารถนาในทางที่แม้ไม่ใช่กาม ก็จริง
    ตัณหา ยังมีอยู่ จึงทรงบัญญัติ ความดับไม่เหลือเป็นตัวตนสำหรับยึดถืออีกต่อไป
    ว่า เป็นตัวนิพพานอันแท้จริง
    อันจะไม่มีใครมาบัญญัติความสุข ให้สูงกว่านี้ขึ้นไปได้อีก
    โลกุตตรธรรม หรือ นิพพาน ที่แท้จริง จะมีแต่ในพุทธศาสนา
    นอกนั้น ยังอยู่ในวิสัยโลกทั้งสิ้น ต่างกันสักว่า ชื่อ
    เป็นมนุษย์โลกบ้าง เทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง
    พุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์
    หลักแห่งพุทธศาสนา แปลกจากศาสนาอื่น ทั้งหลาย
    โดยเป็น ศาสนา แห่งวิชาความรู้ ที่ทนต่อการพิสูจน์ ของใครๆ ได้ทั้งสิ้น
    ดังที่ตรัสไว้ว่า ธรรม ในพุทธศาสนา ย่อมทนต่อการพิสูจน์ได<SUP>้</SUP><SUP>3</SUP>
    คือ ท้าให้ใครพิสูจน์ได้ทุกอย่าง จนผู้พิสูจน์ พ่ายแพ้ภัยตัวเอง
    หมดมานะ กลับใจ ยอมนับถือ พุทธศาสนา
    คำที่กล่าวกันว่า พุทธศาสนา เหมือนกัน หรือเข้ากันได้ กับ วิทยาศาสตร์นั้น
    มีผู้ตีความกันว่า
    เพราะพุทธศาสนา แยกสังขารร่างกายออกวิเคราะห์หาความจริง
    เช่นเดียวกับ วิทยาศาสตร์ แผนปัจจุบัน แยกธาตุต่างๆ ออก
    หาคุณสมบัติชั้นละเอียด ข้าพเจ้าเห็นว่า คำกล่าวนั้น ยังไม่เพียงพอ
    กับคุณค่าอันสูงสุดแท้จริงของพุทธศาสนา เพราะถ้า กล่าวเช่นนั้นแล้ว
    วิชา สรีรศาสตร์ หรือ แพทย์ศาสตร์ อันเกี่ยวกับการแยกตรวจร่างกาย
    ก็จะกลายเป็น พุทธศาสนาไปส่วนหนึ่งด้วย
    ที่แท้ ควรกล่าวว่า เหมือนกันโดยที่ หลักวิทยาศาสตร์ ก็ทนต่อการพิสูจน์
    อาจทำการ พิสูจน์ให้ดูเอง หรือยอมให้ใครพิสูจน์ ได้ทุกท่า ทุกทาง
    จนเขาหมดท่าจะพิสูจน์ เพื่อโต้แย้งอีกต่อไป และหมดความสงสัย
    เช่นเดียวกับพุทธศาสนา ยอมให้ใครเพ่งพิสูจน์ซักไซร์อย่างไร ก็ได้
    ยอมทนอยู่ได้ จนเขาหมดวิธีพิสูจน์ และต้องเชื่อ สัจจะย่อมไม่ตาย!
    คำว่า วิทยาศาสตร์ ในที่นี้ หมายถึง วิชา (Science) ที่แท้จริง
    ทุกๆ อย่าง ไม่เฉพาะแต่การแยกธาตุ (Chemistry) เท่านั้น
    แม้คณิตศาสตร์ (Mathematics) ก็เป็นวิทยาศาสตร์ ในที่นี้ด้วย
    ถ้าท่านสงสัยว่า วิชาเลข หรือ คณิตศาสตร์ จะทนต่อพิสูจน์
    ได้เหมือน พุทธศาสนา อย่างไร ก็จงลองคิดดูอย่างง่ายๆ ที่สุดว่า
    ๒+๓=๕ เป็นต้นนี้ มันเป็นความจริงเพียงไร
    มีใครบ้างที่อาจพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ๒ บวก ๓ ได้ผลเป็นอย่างอื่นนอกจาก ๕
    ใครจะพิสูจน์ โดยวิธีไร กี่ร้อยกี่พันเท่า ก็ตาม มันยังคงเป็น ๒+๓=๕ อยู่เสมอ
    เป็นหลักที่แข็งแรง ยิ่งกว่าภูเขาหินแท่งทึบ อันอาจหวั่นไหวได้
    โดยธรรมชาติ หรืออุตุนิยมแปรปรวน
    หลักความจริง แห่งวิทยาศาสตร์ เหล่านี้มั่นคง
    มีอุปมาฉันใด พุทธศาสนา ก็มีหลักแห่งความจริง หนักแน่นมั่นคง ฉันนั้น
    แม้จะขนเอาการแยกธาตุ และตรวจค้นพิสูจน์
    อย่างที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์แผนใหม่ ทั้งหมดมาเป็นเครื่องมือพิสูจน์
    ก็ไม่อาจ พิสูจน์ พุทธศาสนา ให้เศร้าหมองไปได้
    เช่น พิธีต่างๆ เป็นต้น มาพิสูจน์ในนามว่า พุทธศาสนา ก็แล้วกัน
    ความจริง หรือพุทธศาสนา จะยังคงอยู่ชั่วโลก ไม่มีสมัย
    หรือขีดขั้น กำหนดเวลาอายุ
    เพราะเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อชำนะ ธรรมชาติด้วยความจริง
    เช่นนี้ ยังมิเป็นเครื่องชี้ อันเด่นชัดว่า พุทธศาสนา เข้ากันได้กับ วิทยาศาสตร์
    ซึ่งโลกปัจจุบัน ย่อมบูชาอย่างสนิททั่วหน้า โดยลักษณาการอย่างไรเจียวหรือ?
    และข้อสำคัญที่สุด ก็คือ เมื่อมีแต่พุทธศาสนาเท่านั้น
    ที่เข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ของโลกแล้ว
    จะยังมีศาสนาไหนอีกเล่า ที่จะเป็นศาสนาแห่งสากลโลก นอกจากพุทธศาสนา ?"
    โมกขพลาราม
    ๑ กรกฏาคม ๒๔๗๗
    ---------------------------------
    หมายเหตุส่วนตัว :-
    ที่จริงศาสนาทั้งหลายมี จุดมุ่งหมาย อย่างเดียวกัน คือความสุข
    ถ้าจะปรับกันเข้าให้สนิทก็จะลงกันได้เป็น ศาสนาเดียวกัน!
    ใครมีคุณสมบัติแค่ไหน ย่อมอยู่ในระดับแค่นั้น เหมือนพี่น้อง
    หรือ ผู้มีคุณวุฒิ ยิ่งหย่อนกว่ากัน ยืนเรียงแถวกันตามลำดับวุฒิ
    ก็จะมีแต่ ศาสนาเดียวในโลก !
    ขอแต่ อย่าถือเราถือเขา ถึงกับพยายาม ทำลายเพื่อนศาสนาอื่น เพื่อประโยชน์ตน
    ด้วย "การรุกเงียบๆ" อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แล้วกัน
    หลักศาสนาอื่นทั้งหลาย มีเพียง โลกิยะ ไม่พ้นไปได้
    ส่วนพุทธศาสนา ยังมีสูงขึ้นไปถึงโลกุตตระด้วย
    มีทั้งสองอย่าง ใครจะเลือกเอาอย่างไหนก็ได้
    หลักโลกุตตระ หรือที่เกี่ยวกับ โลกุตตระ เท่านั้น
    ที่พุทธศาสนา มีอยู่อย่างที่ศาสนาอื่นไม่มีเสียเลย
    จึง "อม" ศาสนาอื่นๆ ไว้ได้ทั้งหมด
    พุทธทาส.


    หมายเหตุประกอบ
    ๑. ศาสนาคริสต์และอิสลาม แม้เกิดทีหลังพุทธศาสนา
    แต่กลับไปมีหลักอย่างเดียวกับ ศาสนาพราหม์ในอินเดีย
    ซึ่งมีอยู่ก่อนศาสนาพุทธ ก็เพราะมีมูลรากไปจากศาสนานั้น
    โดยพวกที่ถือพระเจ้าแต่องค์เดียวของพราหม์ยุคนั้น
    แยกพวกจากอินเดียข้ามแดนไปทางตะวันตก
    คือ ปาเลสไตน์และอาหรับ (ดูพิสดารในเทศนาเสือป่า)
    ๒. ดูเรื่อง"ใครทุกข์? ใครสุข?" ประกอบ
    จะได้ความชัดเจน เมื่อสงสัยว่า ไม่มีตัวตนแล้ว ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ๓. ตรัสว่า "...เมื่อเขาใคร่ครวญต่อเนื้อความแห่งธรรมอยู่
    ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการพิสูจน์ได้
    เมื่อธรรมทั้งหลายทนต่อการพิสูจน์ได้
    เขาย่อมเกิดความพอใจและความขยันขันแข็ง.."
    จังกีสูตร ม.ม. ไตร, ล. ๑๓ น. ๖๐๕ บ. ๖๕๘.
    คัดจาก หนังสือ ชุมนุมเรื่องสั้น พุทธทาสภิกขุ พิมพ์ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...