พุทธพจน์ รวมมรรควิธีทั้งหมด เข้าสู่นิพพาน(อสังขตธรรม) โพธิปักขิยธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย roserasa, 10 พฤศจิกายน 2013.

  1. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    {๖๘๕} [๓๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
    อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทางที่ให้ถึง

    อสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
    อสังขตธรรม คืออะไร
    คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
    นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
    ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร คือ สมถะ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม

    อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
    ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึง

    อาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้ง

    หลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่า

    ประมาทอย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา


    {๖๘๖} ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอ

    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อสังขตธรรม คืออะไร
    คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
    ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
    คือ วิปัสสนา
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
    อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้ว ฯลฯ
    นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา

    {๖๘๗} ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
    คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร)
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๘๘} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
    คือ อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๘๙} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
    คือ อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓-๕)

    {๖๙๐} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
    คือ สุญญตสมาธิ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๙๑} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
    คือ อนิมิตตสมาธิ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๙๒} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
    คือ อัปปณิหิตสมาธิ

    ๖๙๓} ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร

    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๙๔} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๙๕} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๙๖} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่

    ฯลฯ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๙-๑๒)

    {๖๙๗} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร

    ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯ

    ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์๕ อุปาทานขันธ์๕ อายตนะภายใน๖ อายตนะ

    ภายนอก๖ โพชฌงค์๗ และอริยสัจ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๐/๔๔๐)
    สร้างฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจใคร่จะทำกุศล พยายาม หมายถึงทำความเพียร

    บากบั่น ปรารภความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายและทางใจ ประคองจิต

    หมายถึงยกจิตขึ้นพร้อม ๆ กับความเพียรทางกายและจิต มุ่งมั่น หมายถึงทำความ

    เพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐)
    ได้แก่สัมมัปปธาน ๔ ประการ (ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘)

    {๖๙๘} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร

    ประคองจิตมุ่งมั่นเพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๖๙๙} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร

    ประคองจิตมุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๐๐} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร

    ประคองจิตมุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ

    ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศล-ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๓-๑๖)

    {๗๐๑} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ ปธาน

    สังขาร๑ นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๐๒} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิ ปธานสังขาร
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
    ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น

    (ปธาน) คำว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร จึงหมายถึง สมาธิที่เกิดจากฉันทะและความ

    เพียรที่มุ่งมั่น วีริยสมาธิ จิตตสมาธิ
    และวีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน (องฺ. เอกก. อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕)

    {๗๐๓} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน

    สังขาร นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๐๔} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน

    สังขาร นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๗-๒๐)

    {๗๐๕} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๐๖} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๐๗} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๐๘} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๐๙} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

    {๗๑๐} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๑๑} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยพละ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๑๒} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติพละ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๑๓} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๑๔} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๖-๓๐)

    {๗๑๕} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย

    วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๑๖} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
    เจริญวีริยสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญอุเบกขา

    สัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓๑-๓๗)

    {๗๑๗} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๑๘} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
    เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ

    ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ เจริญสัมมาสติ ฯลฯ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

    {๗๑๙} ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

    อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
    นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม

    ภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้ว และทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้ว

    แก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย

    ความอนุเคราะห์ กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย

    ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท

    อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”

    พระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ สังยุตตนิกาย

    สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
    ๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร ๒. ทุติยวรรค หมวดที่ ๒
    ๑. อสังขตสูตร ว่าด้วยอสังขตธรรม
     
  2. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    สรุป มรรควิธี ที่ทรงสอนทั้งหมด คือ สมถะ วิปัสสนา กายคตาสติ สติปัฎฐานสี่
    อินทรีย์ห้า พละห้า อิทธิบาทสี่ โพชฌงค์เจ็ด สัมมัปปธานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด
     
  3. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน"

    "ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี
    อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี
    ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง
    สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
    ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ"

    มรรควิธีอีกแบบ ที่ทรงสอน คือ เจริญอนิจจสัญญา ความไม่เที่ยง
     
  4. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    ดาวน์โหลด เสียงอ่านหนังสือ(MP3) พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่รวบรวมโดยท่านพุทธทาส คือพุทธโอษฐ์ ห้าเล่ม ชุดธรรมโฆษณ์ ได้ที่นี่

    Manodham.com

    โหลดเสียงอ่านหนังสือ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้นและภาคปลาย (ท่านพุทธทาส)

    Manodham.com
    Manodham.com
     
  5. roserasa

    roserasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +243
    อาทิตตปริยายสูตร

    [๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ
    จาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป

    ล้วนเป็นปุราณชฎิล. ได้ยินว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น

    พร้อมด้วยภิกษุ๑๐๐๐ รูป.

    ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน?

    จักษุ ตาเป็นของร้อน
    รูปทั้งหลายเป็นของร้อน
    วิญญาณผู้รับรู้ ที่อาศัยจักษุเป็นของร้อน
    ผัสสะสัมผัส อาศัยจักษุเป็นของร้อน
    เวทนาความเสวยอารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุ

    สัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน

    ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือ

    โมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่และความตาย ร้อนเพราะความโศก

    เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.

    โสต หู เป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ

    ฆานะ จมูก เป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ

    ชิวหา ลิ้น เป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ

    กาย เป็นของร้อน โผฏฐัพพะการกระทบทางกาย ทั้งหลายเป็นของร้อน ...ฯลฯ

    *มนะ(ใจ) เป็นของร้อน
    ธรรมทั้งหลาย(ธัมมารมณ์) เป็นของร้อน
    วิญญาณอาศัยมนะ(มโนวิญญาณ) เป็นของร้อน
    ผัสสะอาศัยมนะ(มโนสัมผัส) เป็นของร้อน
    เวทนาความเสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะ
    มโนสัมผัส เป็นเหตุปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน

    ร้อนเพราะอะไร? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือ

    โมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่และความตาย ร้อนเพราะความโศก

    เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูปทั้งหลาย
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน วิญญาณอาศัยจักษุ
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน ผัสสะ(สัมผัส) อาศัยจักษุ
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนาความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข

    ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย...ฯลฯ

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...ฯลฯ

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...ฯลฯ

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...ฯลฯ

    *ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน มนะ(ใจ)
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน ธรรมทั้งหลาย(ธัมมารมณ์)
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน วิญญาณอาศัยมนะ(มโนวิญญาณ)
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน ผัสสะอาศัยมนะ(มโนสัมผัส)
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน เวทนาความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข
    ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย.

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้น
    แล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ

    เสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี.

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจาก

    อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    อาทิตตปริยายสูตร จบ
    อุรุเวลปาฏิหาริย์ ตติยภาณวาร จบ.
    ของบาลีสยามรัฐ
     

แชร์หน้านี้

Loading...