พุทธประเพณี (ว่าด้วยการนับอาวุโส ควรแก่การสอนสั่ง)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 10 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑


    พุทธประเพณี (ว่าด้วยการนับอาวุโส ควรแก่การสอนสั่ง)



    พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดเสียด้วยข้อปฏิบัติ. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า เธอมีพรรษาได้เท่าไร ภิกษุ?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาได้สอง พระพุทธเจ้า.
    พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสว่า ภิกษุรูปนี้เล่า มีพรรษาได้เท่าไร?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวว่า มีพรรษาเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสว่า ภิกษุรูปนี้ เป็นอะไรกับเธอ?
    ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวว่า เป็นสัทธิวิหาริก ของข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

    ทรงติเตียน​


    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ เธอยังเป็นผู้อันผู้อื่นพึงโอวาทอนุศาสน์อยู่ ไฉนจึงสำคัญตนเพื่อโอวาทอนุศาสน์ผู้อื่นเล่า เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ซึ่งมีความพัวพันด้วยหมู่เร็วเกินนัก การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้อุปสมบทรูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.


    พระอุปัชฌายะมีการศึกษาน้อยกว่าสัทธิวิหาริก​


    [๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่าเรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมให้อุปสมบท. ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาดปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมากปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญา. แม้ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อพระอุปัชฌายะว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะขึ้นโต้เถียงแก่พระอุปัชฌายะ แล้วหลีกไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้นตามเดิม.
    บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลาไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาดปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


    ทรงสอบถาม​


    พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายอ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลมให้อุปสมบท ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญา จริงหรือ?
    ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


    ทรงติเตียน​


    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลมให้อุปสมบท ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อยสัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญาเล่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ผู้ฉลาดผู้สามารถ มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.


    ทรงอนุญาตอาจารย์​


    [๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อพระอุปัชฌายะทั้งหลายหลีกไปเสียก็ดี สึกเสียก็ดี ถึงมรณภาพก็ดี ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียก็ดี ภิกษุทั้งหลายไม่มีอาจารย์ ไม่มีใครตักเตือน ไม่มีใครพร่ำสอน ย่อมนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต. เมื่อประชาชนกำลังบริโภคย่อมน้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้างข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉันแม้ในโรงอาหารก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่.
    ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาตเล่า เมื่อประชาชนกำลังบริโภคได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไป ข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้างข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉันแม้ในโรงอาหาร ก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่เลี้ยงพราหมณ์ฉะนั้น.
    ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


    ทรงสอบถาม​


    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร ... จริงหรือ?
    ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


    ทรงติเตียน
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาจารย์. อาจารย์จักตั้งจิตสนิทสนมในอันเตวาสิกฉันบุตร อันเตวาสิกจักตั้งจิตสนิทสนมในอาจารย์ฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์และอันเตวาสิกนั้น ต่างจักมีความเคารพ ยำเกรง ประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาศัยภิกษุมีพรรษา ๑๐ อยู่ อนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ ให้นิสสัย.

    วิธีถือนิสสัย​


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันเตวาสิกพึงถืออาจารย์อย่างนี้
    อันเตวาสิกนั้นพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ ๓ หน
    ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่, ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่, ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่
    อาจารย์รับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือรับว่าจงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ก็ได้ รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว, ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็นอันว่าอันเตวาสิกถืออาจารย์แล้ว.


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๙๙๙ - ๒๐๙๑. หน้าที่ ๘๒ - ๘๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=1999&Z=2091&pagebreak=1
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=88



    ด้วยผลานิสงส์การอ่านพระไตรปิฏก
    ที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้อันดีแล้วด้วยจิตบริสุทธิ์

    ขอการปฏิบัติบุญกิริยานี้บูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมคุณพระสงฆ์
    บูชาคุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ และคุณพระกรรมฐานเจ้า

    ขออานิสงฆ์มหาธรรมทานจงมีไปสู่ทุกสรรพชิวิต
    ขอให้ข้าพเจ้าและทุกดวงจิตทุกดวงวิญญาณ ได้รับรสพระธรรมแล้ว มีจิตผ่องใส
    เป็นบ่อที่เกิดแห่งคุณ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ สูตะ จาคะ
    ปัญญามีความเพียร ขันติ
    เป็นผู้กำเนิดแห่งไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะอโมหะ)
    ได้ญาณเป็นเครื่องรู้เฉพาะตนอันสูงสุด
    และห่างไกลพ้นเขตมารทั้งหลายโดยพลันและตลอดกาลเทอญ<O:p</O:p


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2506609/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2013
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    คำวัด


    อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ - “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึง ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศึกษาต่อไป ; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี


    สัทธิวิหาริก, สัทธิงวิหาริก - ศิษย์, ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌายะองค์ใด ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น หน้าที่อันอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ
    ๑. เอาธุระในการศึกษา
    ๒. สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวร และบริขารอื่นๆ
    ๓. ขวนขวายป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ
    ๔. พยาบาลเมื่ออาพาธ


    อันเตวาสิก - ผู้อยู่ในสำนัก, ภิกษุผู้ขออยู่ร่วมสำนัก, ศิษย์ (ภิกษุผู้รับให้อยู่ร่วมสำนักเรียกอาจารย์) ;
    อันเตวาสิกมี ๔ ประเภทคือ
    ๑. ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา
    ๒. อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท
    ๓. นิสสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย
    ๔. ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม


    ธรรมีกถา - การกล่าวธรรม การกล่าวเรื่องราวที่เป็นธรรม การสอนศีลธรรมแก่ประชาชนอย่างเป็นกิจจะลักษณะเป็นงานเป็นการ เป็นเรื่องเป็นราว มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ได้แก่ การแสดงปาฐกถา การบรรยายธรรม เป็นต้น


    สุตะ – ความรู้ หรือสิ่งที่ได้สดับ จากการศึกษา เป็นความรู้ที่ทำปุถุชนให้กลายเป็นอริยะ หรืออารยะได้

    ความรู้ในที่นี้ หมายถึงความรู้ในอริยธรรม คือ หลักความจริงความดีงามที่อริยชนแสดงไว้ หรือคำแนะนำสั่งสอนต่างๆ ที่แสดงหลักการครองชีวิตประเสริฐ ชี้มรรคาไปสู่ความเป็นอริยชน
    สำหรับความเป็นอริยสาวก สุตะ จะเป็นสิ่งที่มีขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์ ประสบอิสรภาพและมีความสุข
    สุตะ จึงเป็นคุณสมบัติของอริยสาวก หมายถึงความรู้ ที่จำเป็นสำหรับทุกคน เพื่อให้รู้จักวิธีที่จะดำเนินชีวิตให้ดีงาม ไปในทางที่เป็นคุณเป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เป็นส่วนเสริมสำหรับปิดกั้นโทษ ช่วยทำให้สุตะอื่นมีคุณค่าเต็มบริบูรณ์ เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาตามความเป็นจริง



    โมฆบุรุษ - บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง


    สัตบุรุษ - คนสงบ, คนดี, คนมีศีลธรรม, คนที่ประกอบด้วย สัปปุริสธรรม


    สัปปุริสธรรม - ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่าง คือ
    ๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ
    ๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล
    ๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน
    ๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ
    ๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล
    ๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน
    ๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล;

    ธรรมของสัตบุรุษ อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่าง คือ
    ๑. ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ
    ๒. ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗)
    ๓. คิดอย่างสัตบุรุษ
    ๔. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ
    ๕. พูดอย่างสัตบุรุษ
    ๖. ทำอย่างสัตบุรุษ
    (๓, ๔, ๕, ๖ คือ คิด ปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น)
    ๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น)
    ๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อแก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)


    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    มูลเหตุการอันตธานของพุทธศาสนา

    มูลเหตุการณ์อันตธานของพุทธศาสนา​


    พุทธศาสนาสูญหายด้วยเหตุ ๕ อย่างคือ
    ๑. พุทธบริษัท ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
    ๒. พุทธบริษัท ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
    ๓. พุทธบริษัท ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
    ๔. พุทธบริษัท ไม่พิจารณาธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ
    ๕. พุทธบริษัท ไม่ยอมปฏิบัติธรรมตามที่ตนเข้าใจแล้วโดยเคารพ

    (อํ. ปญฺจก)


    เหตุให้สูญหายอีก ๕ ประการ คือ
    ๑. พุทธบริษัท เรียนธรรมมาผิดๆพลาดๆ
    ๒. พุทธบริษัท เป็นคนหัวดื้อ ว่ายาก ขาดการอดทน
    ๓. พุทธบริษัท ที่เป็นพหูสูตรคงแก่เรียน เรียนจบแล้วไม่ยอมรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
    ๔. พุทธบริษัท ชั้นผู้นำหมู่คณะ เป็นคนมัวเมาลาภสักการะ
    ๕. พุทธบริษัท แตกความสามัคคีกัน

    (อํ. ปญฺจก)


    คัดจาก : พุทธวิทยาน่ารู้ (๒๐)
    โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)
    เรื่อง ความเสื่อมและภัยของพุทธศาสนา
    ที่มา : ลานธรรมอภิธรรมมูลนิธิ​
     
  4. apiraks

    apiraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +508
    นั่นสินะ, อ่านๆดูก็ไม่เห็นมีว่า พระสงฆ์ควรจะมีกุฏิติดแอร์ มีบัญชีเงินฝากตรงไหนเลย
    แล้วก็อ่านแล้วก็ไม่น่าจะมีว่า พระสงฆ์มีการปกครองด้วยสมณศักดิ์ใดๆ สมเด็จ, ราชาคณะ,
    เจ้าคณะ, เจ้าคุณ, พระครูปลัดฯ ฯลฯ ถามจริงๆพระดีไม่มีเงินวิ่งเต้นจะเป็นได้มั้ยเนี่ย

    ฆารวาสตั้งให้พระแทนที่พระจะปฏิเสธ กลับรับเอาใส่ตน มีเงินเดือนเงินฝากซะด้วย
    เรื่องเงินถ้าอยากหาเงิน เก็บเงิน ใช้เงิน ก็สึกมาเป็นโยมเถอะท่าน อย่าทำให้ศาสนา
    ต้องเสื่อมถอยมากกว่านี้อีกเลย

    กล่าวขึ้นตามหลักที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ในพระไตรปิฎกนะครับ, หากไม่ถูกใจท่านผู้ใด
    ผมขออโหสิกรรมด้วยครับ

    ขอเจริญในธรรมทุกท่านนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...