พระไตรปิฎกสองนาที

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 2 ธันวาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    พระไตรปิฎกสองนาที

    คำบรรยายพระไตรปิฏก

    ศาตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก / ราชบัณฑิต



    พระไตรปิฎก คือคัมภีร์บันทึกคำสอนของพระ พุทธศาสนา แบ่งเป็น ๓ หมวด คือ

    ๑. พระวินัยปิฎก (พระวินัย) รวมศีลของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ตลอดถึงพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ

    ๒. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) รวมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระสาวกสำคัญบางรูป มีเรื่องราวประกอบ

    ๓. พระอภิธรรมปิฎก (พระอภิธรรม) รวมธรรมะที่รจนาเป็นหลักวิชาการล้วนๆ ไม่มีเรื่องราวประกอบ

    พระไตรปิฎกเกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน เดิมรวมเป็น "ธรรมวินัย" ต่อมาได้แบ่งเป็น ๓ ปิฎก โดย "ธรรม" แบ่งเป็น พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก "วินัย" เป็นพระวินัยปิฎกได้รับการถ่ายทอดต่อมาโดยการท่องจำ และได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ ที่ประเทศศรีลังกา ภาษาพระไตรปิฎกเดิมเรียก มาคธี (ภาษามคธ) ต่อมาเรียกภาษาบาลี หรือตันติภาษา

    พระไตรปิฎกภาษาบาลีมีทั้งหมด ๔๕ เล่ม จำนวนหน้า ๒๒,๓๗๙ หน้า ไม่นับดรรชนีค้นคำ ปัจจุบันมีพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ CD-ROM ผลิตโดยมหาวิทยาลัย มหิดลอีกด้วย

    พระไตรปิฎกห้านาที

    พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์บันทึกคำสอนของพระพุทธ เจ้า ๓ หมวดใหญ่ๆ คือ

    ๑. พระวินัยปิฎก

    ว่าด้วยสิกขาบท หรือบทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งยอยออกเป็น ๓ หมวด คือ

    ๑. วิภังค์ ส่วนที่ว่าด้วยสิกขาบทในพระปาติโมกข์ (ศีลสำคัญ) ของภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์

    ๒. ขันธกะ ส่วนที่ว่าด้วยสังฆกรรม พิธีกรรม ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ วัตรปฏิบัติและมารยาท เพื่อความงามของพระสงฆ์

    ๓. บริวาร สรุปความหรือคู่มือพระวินัยปิฎกทั้งหมด อธิบายในรูปคำถามคำตอบเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งในประเด็นต่างๆ

    ๒. พระสุตตันตปิฎก

    ว่าด้วยพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า (มีของพระสาวกบางส่วน) ที่ตรัสแก่บุคคลต่างชั้นวรรณะ และพื้นฐานความรู้ ต่างวาระโอกาส เป็นรูปคำสนทนาบ้าง คำบรรยายบ้าง เป็นรูปคาถาหรือบทกวีล้วนๆ บ้าง ร้อยแก้วล้วนๆ บ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง แบ่งเป็น ๕ นิกายหรือหมวด คือ

    ๑. ทีฆนิกาย ประมวลพระสูตรขนาดยาว

    ๒. มัชฌิมนิกาย ประมวลพระสูตรขนาดปานกลาง

    ๓. สังยุตตนิกาย ประมวลพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ หรือธรรมะเรื่องเดียวกันไว้ในหมวดเดียวกัน เรียกว่า "สังยุตต์" หนึ่งๆ เช่นเรื่องเกี่ยวกับสัจจะรวมไว้ที่เดียวกัน เรียก "สัจจสังยุตต์"

    ๔. อังคุตตรนิกาย ว่าด้วยหลักธรรมที่จัดลำดับหมวด จากจำนวนน้อยไปหาจำนวนมาก เรียกว่า นิบาต เช่น เอกนิบาต (หมวดว่าด้วยธรรมหนึ่งข้อ) ทุกนิบาต (หมวดว่าด้วยธรรมสองข้อ)

    ๕. ขุททกนิบาต ประมวลเรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ที่มิได้รวบรวมไว้ในสี่นิกายข้างต้น แบ่งเป็น ๑๕ ประเภท เป็นพระสูตรสั้นๆ ก็มี เป็นบทร้อยกรองก็มี โดยเฉพาะคาถาธรรมบท มีเนื้อหาไพเราะกินใจมาก เป็นคัมภีร์เดียวที่ได้รับการแปลถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุด

    ๓. พระอภิธรรมปิฎก

    ว่าด้วยการอธิบายหลักธรรมต่างๆ ในรูปหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคล ธรรมที่นำมาอธิบายก็นำมาจากพระสูตรตางๆ นั้นเอง แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ คือ

    ๑. ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดๆ แล้วแยกออกอธิบายเป็นประเภทๆ

    ๒. วิภังค์ แยกแยะธรรมในข้อ (๑) นั้นออกแสดงให้เห็นรายละเอียด เพื่อความเข้าใจแจ่มแจ้ง

    ๓. ธาตุกถา จัดข้อธรรมต่างๆ มารวมในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดเข้ากันได้หรือไม่อย่างไร

    ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติเรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรมที่มี เช่นเรียก " โสดาบัน" เพราะเข้าถึงกระแสนิพพาน ละสังโยชน์ ๓ ได้

    ๕. กถาวัตถุ อธิบายทัศนะที่ขัดแย้งกันของนิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนา ในยุคแรกเน้นวาทะของเถรวาทว่าถูกต้อง คัมภีร์นี้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระแต่งขึ้น

    ๖. ยมก ยกธรรมขึ้นเป็นคู่ๆ เช่น กุศลกับอกุศล แล้วอธิบายโดยวิธีถามตอบ

    ๗. ปัฏฐาน อธิบายปัจจัยหรือเงื่อนไขทางธรรม ๒๔ อย่าง ว่าธรรมใดเป็นเงื่อนไขของธรรมใด

    พระไตรปิฎกพัฒนามาจาก "ธรรมวินัย" ถ่ายทอดต่อมาโดยการท่องจำ จนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อ พ.ศ.๔๕๐ ภาษาพระไตรปิฎกคือภาษามาคธี (มคธ) ต่อมาเรียกภาษาบาลีหรือตันติภาษา พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีมีทั้งหมด ๔๕ เล่ม จำนวน ๒๒,๓๗๘ หน้า ๒๔.๕๗ ล้านตัวอักษร ปัจจุบันมีพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ CD-ROM ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล

    ภาษาพระไตรปิฎก

    คนส่วนมากเข้าใจว่า ภาษาพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทก็คือ ภาษาบาลี หรือตันติภาษาเป็นภาษาเดียวกับ และ/หรือพัฒนามาจากภาษามาคธี ที่พระพุทธเจ้าใช้ในการประกาศพระศาสนา หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธวจนะได้ถูกถ่ายทอดปากต่อปากด้วยภาษาบาลีนี้ จนกระทั่งจารลงในใบลานเป็นลายลักษณ์อักษรและเก็บรักษามาจนบัดนี้

    อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงความเชื่อของพุทธศาสนิก ชนฝ่ายเถรวาท ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์อรรถกถาที่พระอรรถกถาจารย์แต่งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐ อะไรทำให้พระอรรถกถาจารย์เชื่อมั่นและยืนยันเช่นนั้นยังไม่กระจ่างชัด แต่เมื่อพิจารณาถึงประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้ไม่แน่ใจว่าภาษาในพระไตรปิฎกจะเป็นภาษาเดียวกับภาษามาคธี หรือภาษาใดๆ ในประวัติศาสตร์ ชื่อของภาษาคือ ปาลิ (บาลี) ก็เป็นปริศนาสำคัญ ยังคงรอ "คำไข" ที่กระจ่างจากนักประวัติศาสตร์อยู่จนบัดนี้ว่า เป็นชื่อของภาษาใดภาษาหนึ่งหรือไม่ ถ้าไขปริศนานี้ได้ก็เท่ากับตอบปัญหาเกี่ยวกับภาษาพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทได้ด้วย


    ˹ѧ
     
  2. ahoynt

    ahoynt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +57
    ขอบคุณครับ สองนาทีจริงๆ เริ่มจากอธิบายรวมๆ แบ่งเป็นหัวข้อหลักๆ สามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็ว เข้าใจง่าย
     

แชร์หน้านี้

Loading...