(พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม) วัดป่าสารวัน จ.นครราชสีมา

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]พระญาณวิศิษฏ์ สมิทธิวีราจารย์ [/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1](พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดป่าสารวัน จ.นครราชสีมา [/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>

    <center> พระไตรสรณคมน์
    และ
    สมาธิวิธี </center>
    คำปรารภ หนังสือพระไตรสรณคมน์นี้เป็นวิธีประกาศปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์แสดงตนเป็น พุทธมามกะด้วยทั้งใช้เป็นวิธีไหว้พระทุกวันด้วยตามระเบียบธรรมเนียมของพระ พุทธศาสนาในครั้ง พุทธกาล ก็มีพระบาลีแสดงให้ ปรากฎอยู่แล้วว่า บรรดาประชาชนทั้งหลายผู้มีศรัทธาความเลื่อมใส ได้ตั้งตนเป็นพุทธบริษัทมาแล้ว ล้วนแต่ได้ประกาศ ปฏิญญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ทั้งนั้น อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นบิดามารดาแห่งยสกุลบุตรแลสิงคาลกมาณพเป็นต้นเป็น ตัวอย่าง วิธีปฏิญญาณ ตนถึงสรณะนี้ดูเหมือนขาดคราวไม่ได้ใช้ทำกันมานาน จนพวกอุบาสกอุบาสิกากลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือผิดเป็นชอบ คือนับถือภูตผีปีศาจ นับถือเทวดาอารักษ์หลักคุณกันไปหมด ผู้ที่จะตั้งใจนับถือพระ ไตรสรณคมน์จริงๆไม่ใคร่มีเลยถึงแม้มีก็น้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้า ปรารภถึงพระพุทธศาสนา บ่อยๆ แลได้ช่วยแนะนำสั่งสอนให้ประชาชนพลเมืองทั้งหลายได้ประกาศปฏิญญาณตนถึงพระ ไตร สรณคมน์ แสดงตนเป็นพุทธมามกะก็มากมายหลายคนแล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือแจกจึงได้พิมพ์ หนังสือพระไตรสรณคมน์นี้ขึ้น
    อีกประการหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาแสดงว่า บุญกับบาปสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ บุคคล ที่ได้ทำบาปทำอกุศลไว้แล้วจะทำบุญแก้บาปก็แก้ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่จะละบาปบำเพ็ญบุญนั้น จะต้องทำอย่างไรกันก็ต้องตอบได้ง่ายๆว่า ไม่มีวิธีอย่างอื่นนอกจากวิธีแก้จิต เพราะเหตุว่า วิธีแก้จิต นี้เป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนา แลเป็นหัวใจแห่งสมถะแลวิปัสสนากัมมัฏฐานในพระบาลีก็แสดง ให้รู้แจ้งอยู่แล้วว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าก็ดี ล้วนแต่ได้ทรงแก้จิตมาแล้วทั้งนั้น จึงสำเร็จพระโพธิญาณแลสาวกบารมีญาณพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสารไปได้ เมื่อบุคคลมาแก้ไข ซึ่งจิตใจของตนให้บริสุทธิ์เรียบร้อยแล้วบาปอกุศลที่ตนทำไว้ทั้งหลายก็หลุด หายไปเอง อุทาหรณ์ ข้อนี้ พึงเห็นองคุลิมาลเป็นตัวอย่าง
    วิธีแก้จิตก็คือวิธีนั่งสมาธินี้เอง แต่ก็เป็นของที่ขาดคราวมานานจนผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา เข้าใจผิดไปว่า หมดคราว หมดสมัยหมดเขตมรรคผลธรรมวิเศษเสียแล้ว จึงทำตนให้เป็นคนจน ท้อแท้ปราชัย ไม่สามารถหาอุบายแก้ไขซึ่งจิตใจของตนต่อไปได้ มีข้อเหล่านี้แลเป็นเหตุทำให้ ข้าพเจ้าได้รับความสังเวชมาก ปรารภถึงพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น คุณหา บุญมาไชย ปลัดขวา อำเภอ พระลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้ข้าพเจ้าเรียบเรียงวิธีแก้จิตคือ สมาธิวิธีนี้ขึ้น เชื่อว่าคงเป็น ประโยชน์แก่เหล่าพุทธบริษัทผู้นับถือพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ ได้ปฏิบัติสืบไป พระครูวินัยธร (พล) พร้อมด้วยทายกทายิกา มีคุณหลวงสิริอัคคนีการและนางสิริอัคคนีการ(เยี่ยม) คุณนายเขียน ศรีมณีวงศ์ มีศรัทธา พิมพ์ไว้เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พศ ๒๔๗๗
    พระอาจารย์ สิงห์ ขนฺตยาคโม
    พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล

    <center> วิธีไหว้พระ </center>
    อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา, พุทธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ ฯ (กราบลงหนหนึ่ง)
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ ฯ (กราบลงหนหนึ่ง)
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ ฯ (กราบลงหนหนึ่ง)

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส ฯ
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส ฯ
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส ฯ

    พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ,
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ,
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.

    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ,
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ,
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.

    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ,
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ,
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.

    แปลโดยย่อว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้ากับทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวกว่าเป็นที่พึ่ง ที่นับถือของข้าพเจ้าตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าสิ้นชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้แลฯ
    <center> เจริญพุทธคุณ </center> อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมา สมฺพุทโธ, วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู, อนุตฺตโร ปุริสธมฺมสารถิ สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
    หมอบลงให้ว่า
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา, พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ, พุทโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กลนฺตเร สํวริตุง ว พุทเธ ฯ
    (เงยขึ้น)
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก, โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติฯ
    หมอบลงให้ว่า
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา, ธมฺเม กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ, ธมฺโม ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กลนฺตเร สํวริตุง ว ธมฺเมฯ
    (เงยขึ้น)
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ. สามิจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ, อาหุเณยฺโย ปาหุเณยฺโย ทกฺขิเณยโย อ�ฺชลิกรณีโย, อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ ฯ
    หมอบลงให้ว่า
    กาเยน วาจาย ว เจตสา วา, สงฺเฆ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ, สงฺโฆ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กลนฺตเร สํวริตุง ว สงฺเฆฯ
    (เงยขึ้น)
    <center> เจริญพรหมวิหารสี่ </center>
    อหํ สุขิโต โหมิ. นิทฺทุกฺโข โหมิ. อเวโร โหมิ. อพฺยาปชฺโฌ โหมิ. สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ ฯ นี่เมตตาตนแล
    สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ, สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนตุ, สพฺเพ สตฺตา อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ, สพฺเพ สตฺตา อนีฆา โหนฺตุ, สพฺเพ สตฺตา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ฯ นี้องค์เมตตาแล
    สพฺเพ สตฺตา สพฺพทุกขา ปมุญฺจนฺตุ ฯ นี้องค์กรุณาแล
    สฺพเพ สฺตตา ลทฺธสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ ฯ นี้องค์มุทิตาแล
    สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา
    ยํ กมฺมํ กริสสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสสนฺติ ฯ นี้องค์อุเบกขาแล
    <center> คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน </center>
    ยมหํ สมฺมาสมฺพุทธํ ภควนฺตํ สรณํ คโต [SIZE=+1]<sup>๑</sup>[/SIZE]
    พระผู้มีพระภาคพระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ดีแล้วโดยชอบพระองค์ใดแน่ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า เป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง
    อิมินา สกฺกาเรน ตํ ภควนฺตํ อภิปูชยามิ
    ข้าพเจ้าบูชาพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นด้วยเครื่องสักการะอันนี้ฯ (กราบลงหนหนึ่ง)
    ยมหํ สฺวากฺขาตํ ภควตา ธมฺมํ สรณํ คโต[SIZE=+1]<sup>๒</sup>[/SIZE]
    พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วเหล่าใดแน่ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริงฯ
    อิมินา สกฺกาเรน ตํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ ข้าพเจ้าบูชาพระผู้พระธรรมนั้นด้วยเครื่องสักการะอันนี้ฯ(กราบลงหนหนึ่ง)
    ยมหํ สุปฏิปนฺนํ สงฺฆํ สรณํ คโต [SIZE=+1]<sup>๓</sup>[/SIZE]
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคที่ท่านปฏิบัติดีแล้วหมู่ใดแน่ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริงฯ
    อิมินา สกฺกาเรน ตํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ
    ข้าพเจ้าบูชาพระผู้สงฆ์นั้นด้วยเครื่องสักการะอันนี้ฯ (กราบลงหนหนึ่ง)
    <center> วิธีไหว้พระอีกอย่างหนึ่ง </center>
    ยมหํ สมฺมาสมฺพุทธํ ภควนฺตํ สรณํ คโต[SIZE=+1]<sup>๔</sup>[/SIZE]
    พระผู้มีพระภาคพระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ดีแล้วโดยชอบ พระองค์ใดแน่ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า เป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง
    ตํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ
    ข้าพเจ้าไหว้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นฯ (กราบลงหนหนึ่ง)
    ยมหํ สฺวากฺขาตํ ภควตา ธมฺมํ สรณํ คโต[SIZE=+1]<sup>๕</sup>[/SIZE]
    พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วเหล่าใดแน่ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริงฯ
    ตํ ธมฺมํ นมสฺสามิ
    ข้าพเจ้าไหว้พระผู้พระธรรม์นั้นฯ (กราบลงหนหนึ่ง)
    ยมหํ สุปฏิปนฺนํ สงฺฆํ สรณํ คโต[SIZE=+1]<sup>๖</sup>[/SIZE]
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคที่ ท่านปฏิบัติดีแล้วหมู่ใดแน่ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัย ได้จริงฯ
    ตํ สงฺฆํ นมสฺสามิ ข้าพเจ้าบูชาไหว้พระผู้สงฆ์หมู่นั้นฯ(กราบลงหนหนึ่ง)
    <center> คำประกาศทาน </center>
    เรายินดีในทานการให้ของ ขอจงได้สำเร็จอาสวขัยสิ้นไปแห่งเครื่องดองสันดาน นิพฺพานปจฺจโย โหตุฯ
    <center> คำอาราธนาศิล ๕ </center>
    มยํ[SIZE=+1]<sup>๗</sup>[/SIZE] ภนฺเต ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม
    <center> คำอารธนาองค์อุโบสถ </center>
    มยํ[SIZE=+1]<sup>๘</sup>[/SIZE] ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโปสถํ ยาจาม
    <center> คำอราธนาเทศน์ </center>
    พรฺหมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ กตญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา เทเสตุ สทฺธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํฯ
    คำอาราธนาพระปริตร
    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํฯ
    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา สพฺพภยวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํฯ
    วิปตฺติปฏิพาหาย สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา สพฺพโรคฺวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํฯ

    <center> คำลาพระ </center>
    หนฺททานิ มยํ ภนฺเต อาปุจฺฉามิ พหุกิจฺจา มยํ พหุกรณียาฯ
    พระเถระท่านให้โอกาศว่า ยสฺสทานิ ตุเมฺห กาลํ มญฺญถ
    <center> คำอาราธนาเทศน์ในวันธรรมเสวนะ </center>
    จาตุทฺทสี ปณฺณรสี, ยา จ ปกฺขสฺส อฏฺฐมี กาลา พุทฺเธน ปุญฺญตา, สทฺธมฺมสฺสวนสฺสิเม ปณฺณรสี[SIZE=+1]<sup>๙</sup>[/SIZE] อภิลกฺขิตา อิธ สมาคตา สาธุ อยฺโย ภิกฺขุสงฺโฆ กโรตุ ธมฺมเทสนํ อยญฺจ ปริสา สพฺพา อาทิกตฺวา สุณาตุ ตนฺติฯ
    <center> ๑. นั่งสมาธิวิธี </center> ให้นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาวางทับมือซ้าย อุชุง กายํ ปณิธาย ตั้งกายให้ตรงคือไม่ให้ เอียง ไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลังและ อย่าก้มนักเช่นอย่างหอยนาหน้าต่ำ อย่าเงยนักเช่นอย่างนกกระแต้ (นกกระต้อยติวิค) นอนหงาย พึงดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง อุชุง จิตฺตํ ปณิธาย ตั้งจิตให้ตรง คือ อย่าส่งใจไปทาง ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และอย่าส่งใจไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา พึงกำหนด รวมเข้าไว้ ในจิตฯ

    <center> ๒. วิธีสำรวมจิตในสมาธิ </center> มนสา สํวโร สาธุ สำรวมจิตให้ดี คือให้นึกว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์สาวกอยู่ที่ใจ นึกอยู่อย่างนี้จนใจตกลงเห็นว่า อยู่ที่ใจจริงๆ แล้วทอดธุระ เครื่องกังวล ได้ว่าไม่ต้องกังวลอะไรอื่นอีก จะกำหนดเฉพาะที่ใจแห่งเดียวเท่านั้นจึงตั้งกำหนดใจนั้นไว้ นึก บริกรรม รวมใจเข้าฯ

    <center> ๓. วิธีนึกคำบริกรรม </center> ให้ตรวจดูจิตเสียก่อนว่าจิตคิดอยู่ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็นอารมณ์ที่น่ารักหรือ น่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารักพึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความรัก เมื่อติดในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความชังไม่ตั้งเที่ยง พึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้นให้เป็นคู่กันเข้าไว้ที่ ตรงหน้าซ้ายขวาแล้วตั้งสติกำหนดใจตั้งไว้ในระหว่างกลาง ทำความรู้เท่าส่วนทั้งสอง เปรียบอย่าง ถนนสามแยกออกจากจิตตรงหน้าอก ระวังไม่ให้จิตแวะไปตามทางเส้นซ้าย เส้นขวา ให้เดินตรง ตามเส้นกลาง แต่ระวังไม่ให้ไปข้างหน้า ให้กำหนดเฉพาะจิตอยู่ที่นั้นก่อน แล้วนึกคำบริกรรม ที่เลือกไว้จำเพาะพอเหมาะกับใจ คำใดคำหนึ่งเป็นต้นว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆๆๆ ๓ จบ แล้วรวมลงคำ เดียวว่า พุทฺโธๆๆ เป็นอารมณ์เพ่งจำเพาะจิตจนกว่าจิตนั้นจะวางความรักความชังได้ขาด ตั้งลงเป็น กลางจริงๆแล้วจึงกำหนดรวมทวนกระแสประชุมลงในภวังค์ ตั้งสติตามกำหนดจิตในภวังค์นั้น ให้ เห็นแจ่มแจ้ง อยู่ไม่ให้เผลอ ฯ

    <center> ๔. วิธีสังเกตจิตเข้าสู่ภวังค์ </center> พึงสังเกตจิตในเวลากำลังนึกคำบริกรรมอยู่นั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งลงเป็นกลางวางความรัก ความชังทั้งสองนั้นได้แล้ว จิตย่อมเข้าสู่ภวังคจิต(คือจิตเดิม) มีอาการต่างๆกัน บางคนรวมผับลง บางคนรวมปึบลง บางคนรวมวับแวบเข้า ไปแล้วสว่างขึ้น ลืมคำบริกรรมไป บางคนก็ไม่ลืมแต่รู้สึกเบาในกายในใจที่เรียกว่า กายลหุตา จิตฺตลหุตา กายก็เบา จิตก็เบา กายมุทุตา จิตฺตมุทุตา กายก็อ่อน จิตก็อ่อน กายปสฺสทฺธิ จิตฺตปสฺสทธิ กายก็สงบ จิตก็สงบ กายุชุกตา จิตฺตุชุกตา กายก็ตรง จิตก็ตรง กายกมฺมญฺญตา จิตฺตมญฺญตา กายก็ควรแก่การทำสมาธิ จิตก็ควร แก่การทำสมาธิ กายปาคุญฺญตา จิตฺตปาคุญฺญตา กายก็คล่องแคล่ว จิตก็คล่องแคล่ว หายเหน็ดหายเหนื่อย หายเมื่อยหายหิว หาย ปวดหลังปวดเอวก็รู้สึกว่าสบายในใจมาก พึงเข้าใจว่าจิตเข้าสู่ภวงค์แล้ว ให้หยุดคำบริกรรมเสียและวางสัญญาภายนอกให้หมด ค่อยๆตั้งสติตามกำหนดจิตจนกว่าจิตนั้นจะ หยุดและตั้งมั่นลงเป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่งก็อย่าเผลอสติ ให้พึงกำหนดอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะนั่งเหนื่อย นี้แลเรียกว่า ภาวนาอย่างละเอียด ฯ

    <center> ๕. วิธีออกจากสมาธิ </center> เมื่อจะออกจากที่นั่งสมาธิภาวนาในเวลาที่รู้สึกเหนื่อยแล้วนั้นให้พึงกำหนด จิตไว้ให้ดีแล้วเพ่งเล็งพิจารณาเบื้อง ต้นเบื้องปลายให้รู้แจ้งเสียก่อนว่า เบื้องต้นได้ตั้งสติกำหนดจิตอย่างไร พิจารณาอย่างไร นึกคำบริกรรมอะไร น้ำใจจึงสงบมาตั้งอยู่อย่างนี้ ครั้นเมื่อใจสงบแล้วได้ตั้งสติ อย่างไร กำหนดจิตอย่างไร ใจจึงไม่ถอนจากสมาธิ เมื่อพิจารณาเห็น แจ้งชัดแล้วพึงทำในใจไว้ว่า ออกจากที่นั่งแล้วนอนลงก็จะกำหนดอยู่อย่างนี้จนกว่าจะนอนหลับ แม้ตื่นขึ้นมาก็จะกำหนดอย่างนี้ ตลอดวันและคืน ยืน เดีน นั่ง นอน เมื่อทำในใจเช่นนี้แล้วจึงออกจากที่นั่งสมาธินั้น ครั้นภายหลัง จะเข้านั่งสมาธิเช่นนั้นอีกก็พึงทำพิธีอย่างที่ทำมาแล้วฯ

    <center> ๖. มัคคสมังคี </center> มรรคมีองค์อวัยวะ ๘ ประการประชุมลงเป็นเอกมรรค คือ ๗ เป็นอาการ ๘ เป็นองค์ อธิบายว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ก็คือจิตเป็นผู้เห็น สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ก็คือจิตเป็นผู้ดำริ สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบก็คือ จิตเป็นผู้นึกแล้วกล่าว สัมมากัมมันโต การงานชอบ ก็คือ จิตเป็นผู้คิดทำการงาน สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบก็คือจิต เป็นผู้คิดหาเลี้ยงชีวิต สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ก็คือจิตเป็นผู้มีเพียร มีหมั่น สัมมาสติ ความระลึกชอบก็คือ จิตเป็นผู้ระลึก ทั้ง ๗ นี้แหละ เป็นอาการ ประชุมอาการทั้ง ๗ นี้ลงเป็นองค์สัมมาสมาธิ แปล ว่า ตั้งจิตไว้ชอบ ก็คือความประกอบการกำหนดจิตนั้นไว้ให้เป็นเอกัคคตาอยู่ในความเป็นหนึ่ง ไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มี ออก ไม่มีเข้าเรียก ว่ามรรคสมังคี ประชุมมรรคทั้ง ๘ ลงเป็นหนึ่งหรือเอกมรรคก็เรียก มรรคสมังคีนี้ประชุมถึง ๔ ครั้งจึงเรียกว่ามรรค ๘ ดังแสดงมาฉะนี้แล ฯ

    <center> ๗. นิมิตตสมาธิ </center> ในเวลาที่จิตเข้าสู่ภวังค์และตั้งลงเป็นองค์มรรคสมังคีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่างๆมาปรากฏใน ขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงตั้งสติกำหนดไว้ให้ดี อย่าตกประหม่ากระดาก และอย่า ทำความกลัวจนเสียสติอารมณ์ ทำใจให้ฟุ้งซ่าน รั้งใจไม่อยู่ จะเสียสมาธิ นิมิตทั้งหลายไม่ใช่เป็น ของเที่ยง เพียงสักว่า เป็นเงาๆพอให้ปรากฏแล้วก็หายไปเท่านั้นเองฯ
    นิมิตที่ปรากฏนั้นคือ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑ นิมิตที่ปรากฏเห็นดวงหทัยของตนใส สว่างเหมือนกับ ดวงแก้วแล้วยึดหน่วงเหนี่ยวรั้งให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ได้ดีเรียก อุคคหนิมิต ไม่เป็น ของน่ากลัวฯ
    นิมิตที่ปรากฏเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติแล้วย่อมไม่กลัว ยิ่งเป็น อุบายให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะ แยกส่วนแบ่งส่วนของกายนั้นออกดูได้ดีทีเดียวและ น้อมเข้ามา พิจารณา กาย ในกายของตนให้เห็นแจ่มแจ้งจนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังน้ำใจ ให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิมีกำลังยิ่งขึ้นเรียก ปฏิภาคนิมิตฯ

    <center> ๘. วิธีเดินจงกรม </center> พึงกำหนดหนทางเส้นยาวแล้วแต่ต้องการยืนที่ต้นทาง ยกมือประณมระลึกถึงคุณพระ พุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งความสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะตั้งใจปฏิบัติเพื่อเป็นปฏิบัติ บูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก ขอให้น้ำใจของข้าพเจ้า สงบรำงับตั้งมั่นเป็นสมาธิฯ มีปัญญาเฉลียวฉลาดรู้แจ้งแทงตลอดในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุก ประการเทอญแล้ววางมือลง เอามือขวาจับมือซ้ายไว้ข้างหน้า เจริญพรหมวิหาร ๔ ทอดตาลงเบื้องต่ำ ตั้งสติกำหนดจิตนึกคำบริกรรมเดินกลับไปกลับมา จนกว่าจิดจะสงบรวมลงเป็นองค์สมาธิในขณะ จิตกำลังรวมอยู่นั้น จะหยุดยืนกำหนดจิตให้รวมสนิทเป็นสมาธิก่อนจึงเดินต่อไปอีกก็ได้ ในวิธีเดิน จงกรมนี้กำหนดจิตอย่างเดียวกันกับนั่งสมาธิ แปลกแต่ใช้อริยาบถเดินเท่านั้นฯ
    เพราะฉะนั้นท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า การทำความเพียรคือฝึกหัดจิตในสมาธินี้มีวิธี ที่จะต้องฝึกหัดในอิริยาบททั้ง ๔ จึงต้องนั่งสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้าง ยืนกำหนดจิตบ้าง นอนสีหไสยาสน์บ้าง เพื่อให้ชำนาญคล่องแคล่วและเปลี่ยนอิริยาบทให้สม่ำเสมอฯ

    <center> ๙. วิธีแก้นิมิต </center> มีวิธีที่จะแก้นิมิตให้เป็น ๓ อย่างคือ วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย คือพึงตั้งสติกำหนดจิตนั้น ไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไรๆมาปรากฏหรือรู้เห็นเป็นจริงใน จิตอย่างไรไม่ต้องหวั่นไหวไปตาม คือไม่ต้องส่งจิตคิดไป จะเป็นความคิดผิดที่เรียกว่า จิตวิปลาศ แปลว่าความคิดเคลื่อนคลาดแปลกประหลาดจากความเป็นจริง นิ่งอยู่ในสมาธิไม่ได้ ให้บังเกิดใน สัญญาความสำคัญผิดที่เรียกว่า สัญญาวิปลาศ แปลว่า หมายมั่นไปตามนิมิต เคลื่อนคลาดจากจิตผู้เป็นจริงทั้งนั้นจนบังเกิดถือทิฏฐิมานะขิ้นที่เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาศ แปลว่าความเห็นเคลื่อนคลาดจาก ความจริง คือเห็นไปหน้าเดียว ไม่แลเหลียวดูให้รู้เท่าส่วนในส่วนนอก ซื่อว่าไม่รอบคอบ เป็นจิต ลำเอียงไม่เที่ยงตรง เมื่อรู้เช่นนี้จึงไม่ควรส่งจิตไปตาม เมื่อไม่มุ่งจิตไปตามนิมิตเช่นนั้นแล้ว ก็ให้ คอยระวังไม่ให้จิตเป็นตัณหาเกิดขึ้น คือไม่ให้จิตดิ้นรนยินดีอยากเห็นนิมิตแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นก็ดี หรือยิน ร้าย อยากให้นิมิตนั้นหายไปก็ดี หรือแม้ไม่อยากพบไม่อยากเห็นซึ่งนิมิตที่น่ากลัวก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ตัณหา ถ้าเกิดมีในจิตแต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ให้รีบระงับดับเสีย คือถอนความ อยากและความไม่อยากนั้นออกเสีย เมื่อนิมิตมาก็อย่ายินดี เมื่อนิมิตหายไปก็อย่ายินร้าย หรือเมื่อ นิมิตที่น่ากลัวมีมาก็อย่าทำความกลัวและอย่าทำคดโกง อยากให้หายไปก็ไม่ว่า ไม่อยากให้หายก็ไม่ว่า อยากเห็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเห็นก็ไม่ว่า ให้เป็นสันทิฏฐิโก คือเห็นเอง อยากรู้ก็ไม่ว่า ไม่อยาก รู้ก็ไม่ว่า ให้เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ตั้งจิตไว้เป็นกลางๆ แล้วพึงทำความรู้เท่าอยู่ว่า อันนี้เป็น ส่วนจิต อันนั้นเป็นส่วนนิมิต แยกส่วนแบ่งส่วนตั้งไว้เป็นคนละอัน รักษาเอาแต่จิต กำหนดให้ตั้งอยู่ เป็นฐีติธรรมเที่ยงแน่ว ทำความรู้เท่าจิตและนิมิตทั้งสองเงื่อน รักษาไม่ให้สติเคลื่อนคลาดจากจิต ทั้งไม่ได้เผลอสติได้เป็นดี สติมา ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ วิเนยฺย โลเก อภิชฌา โทมนสฺสํ ถอนอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ แล้วก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย เมื่อประกอบข้อปฏิบัติอันนี้อยู่อย่างนี้สติก็ตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่นประชุมกันเป็นสมาธิดังนี้เรียก ญาตปริญญา แปลว่า รู้เท่าอารมณ์ฯ
    วิธีที่ ๒ ตรวจค้นปฏิภาคนิมิตคือ เมื่อเห็นว่าจิตมีกำลัง สติและสมาธิมีกำลังประชุมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแล้วพึง ฝึกหัดปฏิภาคนิมิตให้ชำนาญ คือเมื่อเห็นรูปนิมิตมาปรากฏในตาในจิต เห็นเป็นรูปคนเด็กเล็ก หญิงชาย หนุ่มน้อย บ่าวสาวหรือแก่เฒ่าชรา ประการใดประการหนึ่งก็ตาม แสดงอาการแลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิดตาเบือน อาการใดอาการหนึ่งก็ตาม ให้รีบพลิกจิตเข้ามากลับ ตั้งสติผูกปัญหาหรือทำในใจก็ได้ว่า รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชราต่อไปหรือไม่ เมื่อนึกในใจ กระนี้แล้วพึงหยุดและวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดจิตพิจารณานิ่งเฉยอยู่จนกว่าจะตกลง และแลเห็น ในใจว่า เฒ่าแก่ชราได้เป็นแท้จึงรีบพิจารณาให้เห็นแก่เฒ่าชราหลังขดหลังโขสั่นทดๆไป ในขณะ ปัจจุบันทันใจนั้น แล้วผูกปัญหาถามดูทีว่า "ตายเป็นไหมเล่า" หยุดนิ่งพิจารณาอยู่อีกจนกว่าจะ ตกลงเห็นในใจได้ว่าตายแน่ตายแท้ไม่แปรผัน จึงรีบพิจารณาให้เห็นตายลงไปอีกเล่าในขณะ ปัจจุบันทันใจนั้น "เมื่อตายแล้วจะเปื่อยเน่าแตกทำลายไปหรือไม่" หยุดนิ่งพิจารณาเฉยอยู่อีกจนกว่าจิตของเราจะตกลงเห็นว่า เปื่อยเน่าแตกทำลายไปได้แท้แน่ในใจฉะนี้แล้วก็ให้รีบพิจารณา ให้เห็นเปื่อยเน่าแตกทำลายจนละลายหายสูญลงไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟไปตามธรรมดา ธรรมธาตุ ธรรมฐีติ ธรรมนิยาม แล้วพลิกเอาจิตของเรากลับทวนเข้ามาพิจารณากายในกาย ของเราเองให้เห็นลงไปได้อย่างเดียวกันจนกว่าจะตกลงและตัดสินในใจได้ว่า ร่างกายของเรานี้ก็แก่ เฒ่าชราทุพพลภาพแตกตายทำลายเปื่อยเน่าไปเป็นเหมือนกัน แล้วรีบตั้งสติพิจารณาเห็นเป็นแก่เป็น เฒ่าชราดูทันทีและพิจารณาให้เห็นตายลงไปในขณะปัจจุบัน แยกส่วนแบ่งส่วนออกดูให้เห็นแจ้งว่า หนังเป็นอย่างไร เนื้อเป็นอย่างไร กระดูกเป็นอย่างไร ตับไตไส้พุงเครื่องในเป็นอย่างไร เป็นของงาม หรือไม่งาม ตรวจดูให้ดี พิจารณาให้ละเอียดจนกว่าจะถอนความยินดียินร้ายเสียได้แล้ว จึงพิจารณา ให้เห็นเปื่อยเน่าผุพังลงถมแผ่นดินไป ภายหลังกลับพิจารณาให้เห็นเป็นคืนมาอีกแล้วฝึกหัดทำอยู่อย่างนี้จนกว่าจะ ชำนาญ หรือยิ่งเป็นผู้มีสติได้พิจารณาเห็นเนื้อ หนัง เส้นเอ็นและเครื่องในทั้งหลาย มีตับ ไต ไส้ พุง เป็นต้น เปื่อยเน่าผุพังลงไปหมดแล้ว ยังเหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า จึงกำหนดเอา ร่างกระดูกนั้นเป็นอารมณ์ ทำไว้ในใจใคร่ครวญให้เห็นแจ้งอยู่เป็นนิตย์ จนกว่าจะนับได้ทุกกระดูก ก็ยิ่งดีเพียงเท่านี้ก็เป็นอันแก้นิมิตได้ดีที่เดียวฯ
    คราวนี้พึงทำพิธีพิจารณาเป็นอนุโลมปฏิโลมถอยขึ้นถอยลงคือตั้งสติกำหนดจิตไว้ ให้ดีแล้ว เพ่งพิจารณาให้เห็นผมอยู่บนศีรษะมีสีดำสัณฐานยาว ก็จะหงอกขาวลงถมแผ่นดินทั้งนั้น และ พิจารณาให้เห็นขนซึ่งเกิดตามขุมขนตลอดทั่วทั้งกายนอกจากฝ่ามือฝ่าเท้าก็จะลง ถมแผ่นดินเหมือนกัน พิจารณาเล็บที่อยู่ปลายนิ้วเท้านิ้วมือ ให้เห็นเป็นของที่จะต้องลงถมแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น พิจารณาฟันซึ่งอยู่ในปากข้างบนข้างล่างให้เห็นแจ้งว่า ได้ใช้เคี้ยวอาหารการกินอยู่เป็นนิตย์ แต่ก็จะ ต้องลงถมแผ่นดินเหมือนกัน คราวนี้พิจารณาถอยหลัง เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลา ยผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ยังชีวิตนี้ให้ตั้งอยู่ได้และเป็นไป ถ้าถลกหนังนี้ออกหมดแล้ว ก็ต้องตาย ตายแล้วต้องถมแผ่นดิน พิจารณาเห็นความจริงฉะนี้แล้วเลิกหนังนี้ออกวางลงไว้ที่ พื้นดินแล้วพิจารณาดูเนื้อให้เห็นแจ้งว่า เนื้อในร่างกายมีอยู่เป็นกล้ามๆแล้วกำหนดให้เน่าผุพังลงไป กองไว้ที่พื้นดิน พิจารณาเส้นเอ็นให้เห็นแจ้งว่าเส้นเอ็นทั้งหลายรัดรึงกระดูกไว้ให้ติดกัน อยู่ เมื่อเลิก เส้นเอ็นนี้ออกหมดแล้วกระดูกก็จะหลุดจากกันผุพังลงถมแผ่นดินทั้งสิ้น แล้วกำหนดเลิกเส้นเอ็นนั้น ออกเสียกองไว้ที่พื้นดินพิจารณาร่างกระดูกให้เห็นแจ้งว่ากระดูกในร่างกายนี้ มีเป็นท่อนๆ เบื้องต่ำ แต่กระดูกกระโหลกศีรษะลงไป เบื้องบนแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นมา เห็นได้กระจ่างดีพอสมควรแล้ว เพ่งเล็งพิจารณาดูเครื่องในทั้งหลายให้เห็นว่า ปอดอยู่ที่ไหน ม้ามอยู่ที่ไหน ดวงหฤทัยอยู่ที่ไหน ใหญ่น้อยเท่าไร เห็นตับไตไส้พุง อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีรูปพรรณ สัณฐานเป็นอย่างไร มีสีสัณฐ์วรรณะเป็นไฉน เครื่องในทั้งปวงนี้เป็นที่ประชุมแห่งชีวิตก็จริง แต่ก็จะ ต้องถมแผ่นดิน เมื่อพิจารณาเห็นฉะนี้แล้วพึงกำหนดให้ขาดตกลงไปกองไว้ที่พื้นดิน ยังเหลือแต่ร่าง กระดูกจึงพิจารณาดูกระดูกกระโหลกศีรษะเป็นลำดับลงมา กระดูกคอ กระดูกแขน กระดูกหัวไหล่ กระดูสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกเอว กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา กระดูกเข่า กระดูกแข้ง กระดูกพื้นเท้า พิจารณาอย่างนี้เรียก อนุโลมฯ
    คราวนี้พึงพิจารณาเป็นปฏิโลม คือพิจารณาถอยกลับขึ้นไปเบื้องบนตั้งแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้น ไปตลอดถึงกระดูกกระโหลกศีรษะ พิจารณาทวนกลับจากศีรษะถอยลงมาตรงหน้าอก พึงตั้งสติ กำหนดจิตไว้ที่ตรงหน้าอกนั้นให้มั่นคง ทำในใจว่าร่างกายทั้งหมดนี้มีจิตเป็นใหญ่ประชุมอยู่ที่จิตจึง กำหนดรวมจิตเข้าให้สงบแลตั้งอยู่เป็นเอกัคคตา วิธีที่ ๒ นี้เรียกว่า ตีรณปริญญา แปลว่าใคร่ครวญอารมณ์ฯ
    ขอเตือนสติไว้ว่า ในระหว่างที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น ห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนจากที่ คือระวัง ไม่ให้ส่งจิตไปตามอาการ จิตจะถอนจากสมาธิ เป็นใช้ไม่ได้ ข้อสำคัญให้เอาจิตเป็นหลัก ไม่ให้ ปล่อยจิต ให้มีสติเพ่งเล็งให้รอบจิต พิจารณาให้รอบกาย รักษาใจไม่ให้ฟุ้งจึงไม่ยุ่งในการพิจารณา ฯ
    วิธีที่ ๓ เจริญวิปัสนา คือเมื่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายได้ฝึกหัดจิตใจมาถึงขั้นนี้ มีกำลังพอ พิจารณาปฏิภาคนิมิตได้ชำนาญคล่องแคล่วเป็นประจักขสิทธิดังที่อธิบายมาแล้ว และกำหนดจิต รวม เข้าไว้ในขณะจิตอันเดียว ณ ที่หน้าอก ตั้งสติพิจารณาดูให้รู้รอบจิต เพ่งพินิจให้สว่างแลเห็นร่าง กระดูกทั่วทั้งกาย ยกคำบริกรรมวิปัสสนาวิโมกขปริวัตรขึ้นบริกรรมจำเพาะจิตว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา, สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา, สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา ให้เห็นร่างกระดูกทั้งหมด เป็นอนัตตา ใช่ตัวตน ไม่ควรถือเอา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ กำหนดให้เห็นกระดูกทั้งหลายหลุดจากกันหมดตกลงไปกองไว้ ที่พื้นดิน คราวนี้ตั้งสติให้ดีรักษาไว้ซึ่งจิตอย่าให้เผลอ ยกคำบริกรรมวิปัสสนานั้นอีก เพ่งพิจารณา จำเพาะจิตให้เห็นเครื่องอวัยวะที่กระจัดกระจายกองไว้ที่พื้นดินนั้น ละลายกลายเป็นดินเป็นน้ำเป็น ลม เป็นไฟ ถมแผ่นดินไปหมด กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้ เพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นพื้นแผ่นดินกว้างใหญ่ เท่าไร เป็นที่อาศัยของสัตว์โลกก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟ ยกวิปัสสนาละลาย แผ่นดินนั้นทิ้งเสียให้เห็นเป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิตคือผู้รู้ตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่และวางลงเป็นอุเบกขา เฉยอยู่กะที่ คราวนี้จะแล เห็นจิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้าวล่วงจากนิมิตได้ดี มีกำลังให้แลเห็นอำนาจอนิสงส์ของจิตที่ได้ ฝึกหัดสมาธิมา เพียงชั้นนี้ก็พอมีศรัทธาเชื่อในใจของตนได้ในการที่จะทำความเพียรยิ่งๆขึ้น ไป ฯ
    วิธี ๓ นี้ เรียกว่า ปหานปริญญา แปลว่า ละวางอารมณ์เสียได้แล้ว ฯ
    ในที่สุดนี้ มีเทวปัญหาปรากฏขึ้นเฉพาะเวลาที่รจนาหนังสือนี้สำเร็จว่า น้ำมันหอมเอ้าเท่าสยาม ดังนี้จะมีนัยอธิบายเป็น ประการใด?

    [SIZE=+1][/SIZE]สตรีว่า คตา
    [SIZE=+1][/SIZE]สตรีว่า คตา
    [SIZE=+1][/SIZE]สตรีว่า คตา
    [SIZE=+1][/SIZE]สตรีว่า คตา
    [SIZE=+1][/SIZE]สตรีว่า คตา
    [SIZE=+1][/SIZE]สตรีว่า คตา
    [SIZE=+1][/SIZE]คนเดียวให้ว่า อหํ ภนฺเต ติสรเณน ปญฺจ สห สีลานิ ยาจามิ
    [SIZE=+1][/SIZE]คนเดียวให้ว่า อหํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโปสถํ ยาจามิ
    [SIZE=+1][/SIZE]ให้เปลี่ยนตามวัน. ปณฺณรสี (๑๕ ค่ำ), จาตุทฺทสี (๑๔ ค่ำ) หรือ อฏฺฐมี (๘ ค่ำ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...