พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ สุดยอดแห่งจักรพรรดิพระเครื่อง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 1 มิถุนายน 2008.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,440
    พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่

    ชมรมพระเครื่อง

    แทน ท่าพระจันทร์




    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD style="BORDER-RIGHT: #c0c0c0 1px; BORDER-TOP: #c0c0c0 1px; BORDER-LEFT: #c0c0c0 1px; BORDER-BOTTOM: #c0c0c0 1px">[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าจะพูดกันถึงเรื่องการทำพระปลอมนั้น พระที่ทำปลอมกันมากก็จะเป็นพระในชุดเบญจภาคี เนื่องจากมีผู้ที่นิยมกันมากกว่าพระอื่นๆ โดยเฉพาะพระสมเด็จฯ จะเป็นที่ใฝ่หาของคนส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงมีการทำปลอมกันมากกว่าพระชนิดอื่นๆ และทำปลอมกันมานานมากแล้ว เท่าที่พอจะสืบสาวได้ ก็มีการทำปลอมกันมากกว่าร้อยปีแล้วครับ มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการปลอมกันอยู่ และบางรายนั้นมีการพัฒนาฝีมือได้ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะในเรื่องของพิมพ์ทรงนั้นใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่ของปลอมก็ยังเป็นของปลอมวันยังค่ำนั่นแหละครับ

    ปัญหาของพระสมเด็จก็คือ พระบางองค์เป็นพระที่ตกทอดมาตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย แต่เอาไปให้ผู้ชำนาญการดูผลที่ออกมาก็คือพระไม่แท้ เจ้าของก็สงสัยว่าปลอมได้อย่างไร เพราะเป็นของตกทอดมา นับอายุการครอบครองตกทอดมาก็เกือบร้อยปีแล้ว ก็อย่างที่ผมบอกมานั่นแหละครับ ว่าพระสมเด็จ วัดระฆังฯ นั้นมีการทำปลอมเลียนแบบมาตั้งแต่กว่าร้อยปีแล้วครับ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี นั้นท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เคารพศรัทธามาตั้งแต่ครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่แล้วและเมื่อท่านทำพระเครื่องแจกจ่ายนั้นก็มีผู้คนอยากได้กันตั้งแต่ครั้งนั้นแล้วครับ แถมเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นลงแล้วก็ยิ่งมีผู้คนเสาะหากันแล้ว ยิ่งหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านสิ้นแล้ว 1 ปี คือในปีพ.ศ.2416 ในปีนั้นมีโรคอหิวาห์ระบาด ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก โดยมีบันทึกว่าเป็นปีระกาป่วงใหญ่

    ผู้คนที่มีฐานะร่ำรวยก็หาซื้อยาฝรั่งกินกันพอบรรเทาได้ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่นั้น ล้มตายกันเป็นอันมากเนื่องจากไม่มีเงินไปซื้อยาฝรั่งกินได้ ต้องรักษากันเองตามมีตามเกิด ใช้ยาสมุนไพรบ้าง ยาคุณพระบ้าง น้ำมนต์บ้าง หายก็ดีตายก็เยอะ ในขณะนั้นชาวบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดระฆังฯ และชาวบางกอกน้อยที่หาที่พึ่งไม่ได้ แต่มีพระสมเด็จที่ได้รับจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และไม่รู้จะพึ่งใคร ก็ได้มาพึ่งบารมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นำพระสมเด็จมาแช่ทำน้ำมนต์ดื่มกิน ปรากฏว่าผู้ที่ได้ดื่มน้ำมนต์นั้นกลับหายป่วยอย่างอัศจรรย์ ข่าวได้แพร่สะพัดออกไป บ้านใครมีพระสมเด็จต่างก็นำมาทำน้ำมนต์ดื่มกินก็หายทุกรายไป จนเป็นที่เสาะหากันถึงกับมีการแลกเปลี่ยนกันด้วยราคา 1 บาท ในปี พ.ศ.นั้นถือว่าราคาสูงไม่เบานะครับ และผู้ที่ได้ครอบครองบูชาพระสมเด็จก็มีประสบการณ์เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วย ยิ่งมีการเสาะหากันใหญ่

    เมื่อมีความต้องการกันมากขึ้น ก็มีคนหัวใสคิดทำปลอมขึ้นมาตั้งแต่นั้นเรื่อยมา นับจากปีนั้นถึงปัจจุบัน หักลบกันก็มี 135 ปีมาแล้วครับ ที่ผมกล่าวมาก็เพื่อจะได้รู้ว่า พระที่ได้มาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ทวด นั้นก็มีโอกาสเป็นพระปลอมได้เช่นกันครับ แถมพระปลอมในสมัยก่อนนั้นเนื้อหาความเก่าก็ใกล้เคียงกัน แต่พระปลอมในสมัยก่อนการทำแม่พิมพ์ยังไม่ดี ยังผิดเพี้ยนเยอะมาก ผิดกับการปลอมในสมัยนี้ ซึ่งบางรายเป็นการถอดพิมพ์จากพระแท้ แม่พิมพ์จึงใกล้เคียงมากขึ้น แต่ก็ยังมีพิรุธให้จับได้อยู่ดีครับ เพราะการถอดพิมพ์รายละเอียดบางอย่างจะหายไป ส่วนการแกะแม่พิมพ์ใหม่ก็ยิ่งจะผิดเพี้ยนไปในจุดตำหนิหรือตำแหน่งครับ

    ดังนั้น การพิจารณารายละเอียดของแม่พิมพ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูว่าเป็นพระแท้หรือไม่ของพระทุกๆ ชนิด และต้องศึกษาอย่างละเอียดอย่างถ่องแท้เป็นแต่ละแม่พิมพ์ไปครับ ในวันนี้ผมมีรูปพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่มาให้ดูกันหนึ่งองค์ก่อนครับ และท่านต้องติดตามดูกันต่อในวันพรุ่งนี้ เพราะผมจะยกตัวอย่างในการดูพระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ให้ท่านลองพิสูจน์ดูสักหนึ่งจุดครับ และอย่าลืมคอลัมน์ในวันนี้ท่านเก็บไว้ก่อนอย่าเพิ่งทิ้ง ให้นำรูปพระมาเปรียบเทียบกับรูปพระที่ผมจะนำมาลงในฉบับพรุ่งนี้ครับ พบกันในภาคสองนะครับ

    ด้วยความจริงใจ

    แทน ท่าพระจันทร์ ที่มาหนังสือพิมพ์[​IMG]

    ที่มา http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538682633&Ntype=40
     

แชร์หน้านี้

Loading...