พระยามารมัจจุราช นายช่างผู้สร้างเรือน ที่เหนือกว่า พระยามารพ่อของนางตัณหา นางอรดี นางราคา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 7 มิถุนายน 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    การตั้งกระทู้นี้ของข้าพเจ้า สุ่มเสี่ยงต่อการ เป็นศัตรู กับ มารของแท้แท้
    (เป็นอยู่แล้ว ไหนไหนก็ไหนไหน^^)

    เป็นครั้งแรก ของข้าพเจ้าที่ตั้งใจ จะกระทำ เพื่อเป็นบุญกุศลปัจจัยในการที่จะได้ตรัสรู้ เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง ที่ไปถึงที่สุด แห่งวิราคธาตุวิราคธรรม ตามที่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ท่านได้กล่าวสอน ที่แห่งนั้น จะไม่มีใครมาปกครอง

    ขอถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และ พระปัจเจกพุทธบูชา
    ฝ่ายกุศลาธรรมมา แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งพระนิพพานถอดกายและพระนิพพานเป็นไม่ถอดกาย

    อนุโมทนา
    เจริญธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>มารธีตุสูตรที่ ๕</CENTER>[๕๐๕] ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคาจึงพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่

    ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจด้วยเหตุอะไร หรือ เศร้าโศกถึงผู้ชายคนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วย บ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคลผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้น ชายนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของคุณพ่อ ฯ

    [๕๐๖] พระยามารกล่าวว่า ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้ อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมาร ไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ

    [๕๐๗] ครั้งนั้นแล มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงคำของนางมารธิดาเหล่านั้น เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ

    [๕๐๘] ลำดับนั้น มารธิดา คือนางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงหลีกออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษมีต่างๆ กันแล อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรนิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อยๆ ฯ ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันนิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงถ้อยคำของมารธิดา เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ

    [๕๐๙] ลำดับนั้น มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคาพากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ร่วมกันคิดอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษมีต่างๆ กัน อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรพากันจำแลงเพศเป็นหญิงยังไม่เคยคลอดบุตรคนละร้อยๆ ฯ ลำดับนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันจำแลงเพศเป็นหญิงยังไม่เคยคลอดบุตรคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-*พระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะพวกหม่อมฉันจะขอบำเรอบาทของพระองค์ ฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ

    [๕๑๐] ฝ่ายนางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันหลีกไป ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษทั้งหลายมีต่างๆ กันอย่ากระนั้นเลย พวกเราควรจำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้วคราวเดียวคนละร้อยๆ ฯ ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันจำแลงเพศเป็นหญิงคลอดแล้วคราวเดียวคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ

    [๕๑๑] ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากันจำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้ว ๒ คราว คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-*พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ

    [๕๑๒] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากันจำแลงเพศเป็นหญิงกลางคน คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ

    [๕๑๓] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากันจำแลงเพศเป็นหญิงผู้ใหญ่คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับฯลฯ แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ

    [๕๑๔] ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงพูดกันว่า เรื่องนี้จริงดังบิดาของเราได้พูดไว้ว่า ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้ อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไป ได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ ก็ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์คนใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วยความพยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์คนนั้นพึงแตก หรือโลหิตอุ่นพึงพลุ่งออกจากปาก หรือพึงถึงกับเป็นบ้า หรือถึงความมีจิตฟุ้งซ่าน (จิตลอย)เหมือนอย่างไม้อ้อสดอันลมพัดขาดแล้ว ย่อมหงอยเหงาเหี่ยวแห้งไป แม้ฉันใดสมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ครั้นแล้ว นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

    [๕๑๕] นางตัณหามารธิดา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจากทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลัง ปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำความชั่วอะไรๆ ไว้ในบ้านหรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำมิตรภาพกับชนทั้งปวงเล่า หรือว่า ท่านทำมิตรภาพกับใครๆ ไม่สำเร็จ ฯ

    [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราชนะเสนาคือปิยรูปและสาตรูป (รูปที่รักและรูปที่พอใจ) เป็นผู้ๆ เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้ความบรรลุประโยชน์ และความ สงบแห่งหทัย ว่าเป็นความสุข ฯ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความเป็นมิตรกับชนทั้งปวง และ ความเป็นมิตรกับใครๆ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์ให้แก่เรา ฯ

    [๕๑๗] ลำดับนั้น นางอรดีมารธิดาได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ภิกษุในพระศาสนานี้ มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่าง ไหนมาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ แล้ว เวลานี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้เพ่ง- ฌานอย่างไหนมาก ฯ

    [๕๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลมีกายอันสงบแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว เป็นผู้ไม่มี อะไรๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย ได้รู้ทั่ว ซึ่งธรรม มีปรกติเพ่งอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้ ย่อม ไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ ฯ ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ อย่างนี้มาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้แล้ว บัดนี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ ซึ่งภิกษุผู้ เพ่งฌานอย่างนี้มาก ฯ

    [๕๑๙] ลำดับนั้นแล นางราคามารธิดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า พระศาสดาผู้เป็นหัวหน้าดูแลคณะสงฆ์ ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว และชนผู้มีศรัทธาเป็นอันมาก จักประพฤติตามได้แน่แท้ พระศาสดานี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย ได้ตัดขาดจากมือมัจจุราช แล้ว จักนำหมู่ชนเป็นอันมาก ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ฯ

    [๕๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตถาคตมีความแกล้วกล้าใหญ่ ย่อมนำสัตว์ไปด้วยพระสัท- ธรรมแล เมื่อตถาคตนำไปอยู่โดยธรรม ไฉนความริษยา จะพึงมีแก่ท่านผู้รู้เล่า ฯ

    [๕๒๑] ลำดับนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคาพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ฯ พระยามารเห็นมารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา มาแต่ไกลครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวพ้อด้วยคาถาทั้งหลายว่า พวกคนโง่พากันทำลายภูเขาด้วยก้านบัว ขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟันทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะทำพระโคดมให้ เบื่อเข้าต้องหลีกไป เป็นประดุจบุคคลวางหินไว้บนศีรษะแล้ว แทรกลงไปในบาดาล หรือดุจบุคคลเอาอกกระแทกตอ ฉะนั้น ฯ พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ผู้มีรูป น่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มาแล้วในที่นั้นให้หนีไป เหมือนลมพัด ปุยนุ่น ฉะนั้น ฯ
    <CENTER>จบวรรคที่ ๓</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>รวมสูตรในวรรคที่สามมี ๕ สูตร คือ สัมพหุลสูตรที่ ๑ สมิทธิสูตรที่ ๒โคธิกสูตรที่ ๓ สัตตวัสสสูตรที่ ๔ มารธีตุสูตรที่ ๕ นี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้วกะมารธิดา ฯ<CENTER>จบมารสังยุต</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>


    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER><CENTER>เถรคาถา มหานิบาต</CENTER><CENTER>๑. วังคีสเถรคาถา</CENTER><CENTER>คาถาสุภาษิตของพระวังคีสเถระ</CENTER>




    </PRE>



    ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีเยี่ยมกว่าฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์นี้ได้ฟัง
    พระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่ข้าพระองค์ทูลถาม
    แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์
    เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น

    ได้ตัดข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์มาก ได้
    เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
    ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
    หนอ ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้าพระองค์ขอนมัสการ
    ท่านพระนิโครธกัปปเถระผู้เป็นวิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาต-
    บุตรของพระองค์ มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ
    พระองค์ผู้ประเสริฐ.
    ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วยประการ
    ฉะนี้แล.




    <CENTER>จบ มหานิบาต



    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>
    ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์เฉียบแหลมองค์เดียว
    ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๗๑ คาถา พระเถระ ๒๖๔ รูป ผู้พระ-
    พุทธบุตร ไม่มีอาสวะ บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากัน
    บันลือสิงหนาทประกาศคาถาไว้รวม ๑๓๖๐ คาถาแล้ว ก็พากันนิพพานไป
    เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล.




    <CENTER>จบ เถรคาถา



    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๘๖๔๓ - ๘๘๘๑. หน้าที่ ๓๗๒ - ๓๘๑.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=8643&Z=8881&pagebreak=0
    </CENTER>
     
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ทรงกำจัดมารแล้วเปล่งอุทาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตเทียว ทรงกำจัดมารและพลแห่งมารแล้ว
    ในปฐมยาม ทรงทำลายความมืดที่ปกปิดปุพเพนิวาสญาณ,
    ในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว,
    ในปัจฉิมยาม ทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงหยั่งพระญาณลงในปัจจยาการแล้ว ทรงพิจารณาปัจจยาการนั้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลมปฏิโลม.
    ในเวลาอรุณขึ้น ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณพร้อมด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง
    เมื่อจะทรงเปล่งอุทาน ที่พระพุทธเจ้ามิใช่แสนเดียวไม่ทรงละแล้ว
    จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
    <TABLE class=D border=0 cellSpacing=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>๘. <TD>อเนกชาติสํสารํ <TD>สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ <TR vAlign=top><TD><TD>คหการกํ คเวสนฺโต <TD>ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ <TR vAlign=top><TD><TD>คหการก ทิฏฺโฐสิ <TD>ปุน เคหํ น กาหสิ <TR vAlign=top><TD><TD>สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา <TD>คหกูฏํ วิสงฺขตํ <TR vAlign=top><TD><TD>วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ <TD>ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.


    <TR vAlign=top><TD>


    <TD colSpan=2>เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยว <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>ไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์<SUP>๑-</SUP> <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว, ท่านจะทำเรือน <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>อีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่<SUP>๒-</SUP> ของท่านเราหักเสียแล้ว <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>ยอดเรือน เราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่อง <TR vAlign=top><TD><TD colSpan=2>ปรุงแต่งแล้ว, เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=21&p=8
     
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER>
    </PRE>


    <CENTER>อายาจนวรรคที่ ๓</CENTER>
    </PRE>


    <CENTER>๑. มารสูตร</CENTER>
    </PRE>


    <CENTER>ว่าด้วยการละความพอใจในขันธมาร</CENTER>
    </PRE>



    </PRE>


    [๓๘๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    </PRE>
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาสทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

    ดูกรราธะก็อะไรเล่าเป็นมาร?
    ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย. เวทนาเป็นมาร ... สัญญาเป็นมาร ... สังขารเป็นมาร ...วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย.

    ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

    <CENTER>จบ สูตรที่ ๑.</CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <CENTER></CENTER><CENTER>๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)</CENTER>






    </PRE>



    [๑๐๓] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร-
    *ราชคฤห์ ณ ที่นั้น เราเรียกเธอมาบอกว่า
    ดูกรอานนท์ พระนครราชคฤห์
    น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏ น่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว
    อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือ
    เกินกว่ากัป
    ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดี
    แล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป

    เมื่อ
    ตถาคตทำนิมิตอันหยาบ โอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้วิงวอน
    ตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่
    ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก
    เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและ
    มนุษย์ทั้งหลาย
    ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอเสียสองครั้ง
    เท่านั้น ครั้นครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้
    จึงเป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๘๘๘ - ๓๙๑๕. หน้าที่ ๗๘ - ๑๕๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1888&Z=3915&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
    จุลวรรค ภาค ๒</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <CENTER>ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์</CENTER>






    </PRE>
    .....................................................................



    พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาค
    ทรงทำนิมิตอันหยาบ กระทำโอภาสอันหยาบอยู่
    ท่านไม่ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค
    ว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่
    ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์
    สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

    ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ทูล
    อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระ-
    *สุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
    เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่าน
    ทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๗๔๙๒ - ๗๕๓๕. หน้าที่ ๓๑๐ - ๓๑๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=7492&Z=7535&pagebreak=0
     
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)</CENTER><CENTER class=l>--------------------------</CENTER>


    </PRE>

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
    แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
    อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ



    <CENTER>จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓


    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>



    บทว่า ยถยิทํ ภิกฺขเว มารพลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
    เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้กำลังอันเป็นเอกในโลกอย่างอื่นที่ข่มยาก กำจัดยาก
    เหมือนกำลังของ
    เทวบุตรมาร
    มัจจุมาร
    กิเลสมารนี้เลย
    อรหัตตผลนี้เท่านั้นย่อมข่ม ครอบงำ ท่วมทับกำลังแม้นั้นได้ เพราะเหตุนั้น พวกเธอควรทำความพากเพียรในพระอรหัตนี้เท่านั้น.
    ข้อว่า เอวมิทธํ ปุญญํ ความว่า แม้บุญที่เป็นโลกุตตระนี้ ย่อมเจริญจนตราบสิ้นอาสวะ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อยังอนุสนธิสืบต่อแห่งวัฏฏคามีกุศลให้จบลง จึงยังเทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต. ในเวลาจบพระสูตร ภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูปบรรลุพระอรหัต สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว แล.

    <CENTER>
    จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ ๓

    ------------------------------------------------------------ </CENTER>
    .. อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร จบ.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=33[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2015
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER>


    </PRE>


    <CENTER>กัณหมรรคสูตร</CENTER>


    </PRE>

    [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นมรรคาดำและธรรมที่เป็นมรรคาขาวแก่เธอทั้งหลาย


    </PRE>
    เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นมรรคาดำเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาดำ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็นมรรคาขาวเป็นไฉน สัมมาทิฐิฯลฯ สัมมาวิมุตินี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาขาว ฯ <CENTER> </CENTER><CENTER>จบสูตรที่ ๒</CENTER>

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2015
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER>




    </PRE>

    [๙๔๖] ผู้ให้สัตว์ตาย ผู้มีกรรมดำ เป็นผู้ใหญ่ ผู้ให้สัตว์ถึงความตาย ผู้ไม่ให้สัตว์พ้นไป ผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งผู้ประมาท ชื่อว่าผู้มีกรรมดำ




    </PRE>
    ในคำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.
    คำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่านี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ. คำว่า พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร เป็นบ่วงมาร เป็นเบ็ดมาร เป็นเหยื่อมาร เป็นวิสัยมาร เป็นเครื่องให้เดือดร้อนของมาร เป็นอาหารมาร เป็นเครื่องผูกของมาร

    แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.อีกอย่างหนึ่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ความไม่มี ด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร เป็นฝักฝ่ายอกุศล เป็นเครื่องให้เกิดทุกข์ เป็นสภาพมีวิบากเป็นทุกข์เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก เป็นเหตุให้เป็นไปในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นเหตุให้เป็นไปในเปรตวิสัยแม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิกาว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.



    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่ สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทา เสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.<CENTER></CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๑๒๔๘ - ๑๑๒๖๒. หน้าที่ ๔๗๒.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=11248&Z=11262&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>อริยมรรควรรคที่ ๕</CENTER><CENTER>อริยมรรคสูตร</CENTER> [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นอริยมรรคและธรรมที่มิใช่อริยมรรคแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่มิใช่อริยมรรคเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่มิใช่อริยมรรค ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็นอริยมรรคเป็นไฉนสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่เป็นอริยมรรค ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๑</CENTER><CENTER>กัณหมรรคสูตร</CENTER> [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นมรรคาดำและธรรมที่เป็นมรรคาขาวแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นมรรคาดำเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาดำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็นมรรคาขาวเป็นไฉน สัมมาทิฐิฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาขาว ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๒</CENTER><CENTER>สัทธรรมสูตร</CENTER> [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัทธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าอสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าสัทธรรม ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๓</CENTER><CENTER>สัปปุริสธรรมสูตร</CENTER> [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัปปุริสธรรมและอสัปปุริสธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปปุริสธรรมเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าอสัปปุริสธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปปุริสธรรมเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าสัปปุริสธรรม ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๔</CENTER><CENTER>อุปปาเทตัพพธรรมสูตร</CENTER> [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นและธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉนสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๕</CENTER><CENTER>อาเสวิตัพพธรรมสูตร</CENTER> [๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมที่ไม่ควรเสพเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเสพเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรเสพ ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๖</CENTER><CENTER>ภาเวตัพพธรรมสูตร</CENTER> [๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เจริญและธรรมที่ไม่ควรให้เจริญแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรให้เจริญเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรให้เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญเป็นไฉนสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรให้เจริญ ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๗</CENTER><CENTER>พหุลีกาตัพพธรรมสูตร</CENTER> [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้มากและธรรมที่ไม่ควรทำให้มากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรทำให้มากเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้มากเป็นไฉนสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรทำให้มาก ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๘</CENTER><CENTER>อนุสสริตัพพธรรมสูตร</CENTER> [๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรระลึก และธรรมที่ไม่ควรระลึกแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมที่ไม่ควรระลึกเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรระลึก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรระลึกเป็นไฉน สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรระลึก ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๙</CENTER><CENTER>สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร</CENTER> [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉนสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๑๐</CENTER><CENTER>จบอริยมรรคที่ ๕</CENTER><CENTER>จบตติยปัณณาสก์ที่ ๓</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>
    </PRE>
     
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>ปัจโจโรหณีสูตรที่ ๒</CENTER> [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พิธีปลงบาป อันเป็นอริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฐิแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-*สังกัปปะ ... แห่งมิจฉาวาจา ... แห่งมิจฉากัมมันตะ ... แห่งมิจฉาอาชีวะ ...แห่งมิจฉาวายามะ ... แห่งมิจฉาสติ ... แห่งมิจฉาสมาธิ ... แห่งมิจฉาญาณะ ...แห่งมิจฉาวิมุติแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุติ ย่อมปลงจากบาปจากมิจฉาวิมุติดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะ ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๘</CENTER>
    </PRE>
     
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background=# align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร</CENTER> [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉนสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๑๐</CENTER><CENTER>จบอริยมรรคที่ ๕</CENTER><CENTER>จบตติยปัณณาสก์ที่ ๓</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๕๘๓๑ - ๕๘๔๑. หน้าที่ ๒๕๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=5831&Z=5841&pagebreak=0
    </PRE>
     
  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>กัสสกสูตรที่ ๙</CENTER>


    </PRE>


    [๔๗๐] สาวัตถีนิทาน ฯ


    </PRE>
    ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อการกำบังตาเถิด ฯ [๔๗๑] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ถือปะฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ มีเท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า ฯ มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเราอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแก่จักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่
    โสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรากลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเราธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของเราท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ฯ

    [๔๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป จักษุเป็นของท่านรูปเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้ ดูกรมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
    โสตเป็นของท่าน เสียงเป็นของท่านอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    จมูกเป็นของท่าน กลิ่นเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ลิ้นเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่านอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ใจเป็นของท่านธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฯ

    [๔๗๓] มารกราบทูลว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา ถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น
    ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้น เราไปได้ ฯ



    [๔๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเราพระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ<CENTER></CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...